PP1 การจัดการเรียนรู้ภาษาไทย PDF

Document Details

TopnotchGyrolite5928

Uploaded by TopnotchGyrolite5928

ดร.สุนันทา กินรีวงค์

Tags

Thai language learning instructional methods learning theories education

Summary

This document presents a comprehensive overview of Thai language learning. It explores various learning theories, including behaviorism, cognitivism, and constructivism, and how they're applied in instructional contexts. It includes details on different types of activities, learning objectives, and assessment criteria.

Full Transcript

วิชา การจัดการเรียนรู้ภาษาไทย C ผู้สอน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุนันทา กินรีวงค์ คาอธิบายรายวิชา รหัสวิชา 101010307 วิชา การจัดการเรียนรู้ภาษาไทย (Instructional of Thai Language) จานวนหน่วยกิต 3(2-2-5) สืบค้น วิเคราะห์การประยุ...

วิชา การจัดการเรียนรู้ภาษาไทย C ผู้สอน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุนันทา กินรีวงค์ คาอธิบายรายวิชา รหัสวิชา 101010307 วิชา การจัดการเรียนรู้ภาษาไทย (Instructional of Thai Language) จานวนหน่วยกิต 3(2-2-5) สืบค้น วิเคราะห์การประยุกต์ใช้หลักการ แนวคิดทฤษฎีทางการสอนสู่การฝึก ปฏิ บ ั ต ิ ก ารจั ด การเรี ย นรู ้ ก ารฟั ง การพู ด การอ่ า น การเขี ย น หลั ก ภาษา วรรณคดี วรรณกรรม แนวการสอน 1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเรียนการสอน 2. กิจกรรมการเรียนการสอน 3. วิธีการสอน 4. ทักษะการสอน 5. การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน 6. การใช้สื่อ และนวัตกรรมการเรียนรู้............................สอบกลางภาค............................................. 7. การวางแผนการสอน 8. การวัดและประเมินผล 9. การจัดการเรียนรู้ทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน หลักภาษา วรรณคดีและวรรณกรรม 10. นำเสนอแผนการสอน สื่อ และสอบสอน (รายบุคคล คนละ 20 นาที).............................สอบปลายภาค........................................... การวัดและประเมินผล สอบกลางภาค 30 คะแนน สอบปลายภาค 30 คะแนน เข้าเรียน 10 คะแนน คะแนนเก็บระหว่างเรียน 10 คะแนน สอบสอน 20 คะแนน รวม 100 คะแนน บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสอน C เนื้อหาในการสอน 1. ความหมายของการเรียนรู้ 8. ลักษณะการจัดการเรียนรู้ที่ดี 2. ความมุ่งหมายของการจัดการเรียนรู้ 9. องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ 3. ทฤษฎีการเรียนรู้ 10. หลักพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้ 4. ลักษณะของการเรียนรู้ 11. ความหมายของการสอน 5. กระบวนการเรียนรู้ 12. องค์ประกอบของการสอน 6. ปัจจัยส่งเสริมการเรียนรู้ 13. หลักพื้นฐานในการสอน 7. วิธีการเรียนการสอน 14. ลักษณะการสอนที่ดี ความหมายของการเรียนรู้ การเรียนรู้ (Learning) หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเดิมสู่พฤติกรรม ใหม่ที่ค่อนข้างถาวร และเป็นผลมาจากประสบการณ์ หรือการฝึกฝน ไม่ใช่เป็นผลที่เกิดจากการ ตอบสนองตามธรรมชาติ สัญชาตญาณ วุฒิภาวะ อุบัติเหตุ หรือความบังเอิญ จากภาพ แสดงให้เห็น ว่ า การเรี ย นรู ้ เ ป็ น พฤติ ก รรมที ่ เ กิ ด ขึ ้ น มีการ จากการฝึ ก หั ด หรื อ ผู้เรียนได้รับ เกิด เปลี่ยนแปลง ได้ ร ั บ ประสบการณ์ ประสบการณ์ การ พฤติกรรมที่ และเป็ น พฤติ ก รรมที ่ หรือการฝึกหัด เรียนรู้ ค่อนข้าง ค่อนข้างถาวร ถาวร ความมุ่งหมายของการจัดการเรียนรู้ 1. การเรียนรู้มีความสำคัญการมีชีวิตรอด เช่น การเรียนรู้การแสวงหาอาหาร 2. การเรียนรู้มีความสำคัญต่อการปรับตัว เช่น ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม 3. การเรียนรู้จะช่วยให้ไม่ตกเป็นเครื่องมือของบุคคลอื่น ไม่ถูกคนอื่นหลอกได้ง่าย ๆ 4. การเรียนรู้มีความสำคัญต่อการประกอบการงานอาชีพ 5. การเรียนรู้มีความสำคัญต่อการส่งเสริม ปรับปรุง และแก้ไขบุคลิกภาพ เช่น ช่วยให้มีความรู้ ในการเลือกใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน 6. การเรียนรู้มีความสำคัญต่อความเจริญของบ้านเมืองและประเทศชาติ เช่น การนำเอา เทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ทางการเกษตร ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้ที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในยุคศตวรรษที่ 20-21 สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ 1. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม 2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม 3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มสร้างสรรค์นิยม หรือ คอนสตรักติวิสม์ 1. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม เชื่อว่า การตอบสนองการเรียนรู้ขึ้นอยู่ กั บ ครู ผ ู ้ ส อนและสภาพแวดล้ อ ม ผู ้ ส อนเป็ น ผู ้ ก ำหนด จั ด กระทำ และควบคุ ม สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยเน้นพฤติกรรมเสริมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมของผู้เรียน ทฤษฎีการเรียนรู้นี้ไม่มุ่ งเน้นศึกษากลไกการคิดในจิตใจและ ปัญญาเพราะถือว่าเป็นสิ่งที่สังเกตเห็นไม่ได้ วิธีสอนที่เหมาะสาหรับกลุ่มพฤติกรรมนิยม ได้แก่ 1. การสอนแบบบรรยาย หรือ การสาธิต/การแสดงให้ดูเป็นตัวอย่าง 2. การให้ทำแบบฝึกหัด การฝึกปฏิบัติ หรือการทำซ้ำ ๆ 3. การเล่นเกมต่าง ๆ นักจิตวิทยาคนสาคัญของกลุ่มพฤติกรรมนิยม ได้แก่ สกินเนอร์ พาฟลอฟ ธอร์นไดค์ วัตสัน เลโอนาร์ด ฮัลล์ กาเย่ 2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (cognitivism learning theory) กลุ่มทฤษฎีนี้เชื่อว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวผู้เรียน โดย มีโครงสร้างทางปัญญาทำหน้าที่รับข้อมูลและจัดระบบความรู้ ดังนั้น โครงสร้างทาง ปัญญาของบุคคลจึงมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาเมื่อได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ทำ ให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการเรียนรู้จะเกิดจากแรงจูงใจที่ทำให้อยากรู้ การ จัดโครงสร้างความรู้ การลำดับขั้นของสาระความรู้และการเสริมแรง วิธีสอนที่เหมาะสาหรับกลุ่มพุทธินิยม คือ 1. การโต้วาที การอภิปรายและการให้เหตุผล 2. การคิดแก้ปัญหาและการเรียนโดยใช้โครงงานเป็นหลัก 3. การเปรียบเทียบ (อุปมา) ถ้อยคำ หรือสำนวนอุปมาอุปไมย 4. การจำแนกแยกแยะ หรือการคิดวิเคราะห์-สังเคราะห์ 5. การให้เขียนสำนวนหรือคำประพันธ์สั้น ๆ นักจิตวิทยาคนสาคัญของกลุ่มพุทธินิยม ได้แก่ เพียเจต์ บรูเนอร์ ออซุเบล โคห์เลอร์ ทอลแมน เลวิน คอฟฟ์คา เวิร์ธไทม์เมอร์ 3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มสร้างสรรค์นิยม (Constructivism learning theory) กลุ่มสร้างสรรค์นิยม เชื่อว่า ผู้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากโลกที่อยู่มานาน ก่อนมารับ การศึกษาที่โรงเรียน การเรียนรู้ของผู้เรียนเกิดขึ้ นตามบริบทหรือสิ่งแวดล้อมรอบตั ว ผู้เรียนและผู้เรียนได้สร้างความหมายของสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นขึ้นมาเองจากประสบการณ์ ของตนและผู้เรียนได้ยึดความหมายที่สร้างขึ้นนั้นเป็นความรู้หรือศาสตร์ของตนเอง ดั ง นั้ น ผู ้ ส อนจึ ง มี ห น้ า ที ่ จ ั ด ประสบการณ์ ใ ห้ ผ ู ้ เ รี ย นเกิ ด การเรี ย นรู ้ ท ี ่ ถ ู ก ต้ อ ง เหมาะสม เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีโอกาสในการแก้ปัญหาที่มีความหมายจริง ๆ และเป็น ปั ญ หาในชี ว ิ ต จริ ง ของผู ้ เ รี ย น โดยผู ้ ส อนมี ห น้ า ที ่ แ นะแนวทางและสั ่ ง สอนหรื อ ฝึ ก (coaching) วิธีสอนที่เหมาะสาหรับกลุ่มสร้างสรรค์นิยม คือ 1. กรณีศึกษา (case studies) หรือการแก้ปัญหาเพื่อการเรียนรู้ 2. การนำเสนอผลงาน/ชิ้นงานให้ปรากฏแก่สายตาหลาย ๆ ด้าน ทั้งความรู้ สื่อ ความคิดสร้างสรรค์ 3. การกำกับดูแลหรือการฝึกงาน 4. การเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative learning) 5. การเรียนรู้โดยการสืบค้น (Discovery learning) 6. การเรียนรู้เชิงสถานการณ์ (Situated learning) นักจิตวิทยาคนสาคัญของกลุ่มสร้างสรรค์นิยม ได้แก่ จอห์น ดิวอี้ เพียเจต์ วิก๊อตสกี ไนซ์เซอร์ เพเพิร์ท กระบวนการเรียนรู้ (Learning process) 1. การรับรู้ (Perception) หมายถึง การที่ผู้รับรับเอาข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้ต่าง ๆ จาก แหล่งความรู้ที่หลากหลาย ร่วมทั้งครูผู้สอนโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ ตา หู จมูก ปาก และผิวหนัง - ตา (จากการดู มองเห็น อ่าน) - หู (จากการฟัง ได้ยิน) - จมูก (จากการดม ได้กลิ่น) - ปาก (จากการลิ้มรส) - ผิวหนัง (จากการสัมผัส) ***ข้อสังเกต จากการอ่าน เกิดประสิทธิผลในการเรียนรู้..................................................10% จากการได้ยิน เกิดประสิทธิผลในการเรียนรู.้...............................................20% จากการได้เห็น เกิดประสิทธิผลในการเรียนรู้..............................................30% จากการได้เห็นและได้ยิน เกิดประสิทธิผลในการเรียนรู.้..............................50% จากการได้พูดและได้ยิน เกิดประสิทธิผลในการเรียนรู.้...............................70% จากการได้พูดและได้ทำเกิดประสิทธิผลในการเรียนรู.้.................................90% จากการรับรู้ของบุคคลผ่านประสาทสัมผัสต่างๆ พบว่า มีประสิทธิผลในการเรียนรู้ต่างกันจากน้อยไปมาก ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า การจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ควรจัดให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง) 2. การเข้าใจ (Comprehension) หมายถึง การที่ผู้รับสามารถแปลความหมาย ตีความ หรือสรุปความสำคัญในสิ่งที่รับรู้ได้ เกิดการเชื่อมโยงประสบการณ์หรือความรู้ใหม่กบั ความรู้ เก่าได้สามารถโยงความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่ตนเองรับรู้ และสามารถอธิบายโดยให้เหตุผล ประกอบได้ 3. การปรับเปลี่ยน (Transformation) หมายถึง การที่บุคคลนำความเข้าใจที่เกิดจากการ รับรู้มาสร้างแบบแผนพฤติกรรมของตนขึ้น เช่น เมื่อตากฝนแล้วไม่สบาย เราก็จะไม่ตากฝน อีก ***บุคคลจะเกิดการเรียนรู้ได้ดีและมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการรับรู้ ประสบการณ์เดิมหรือ ความรู้เดิม และปฏิกิริยาตอบสนองตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ ปัจจัยส่งเสริมการเรียนรู้ 1. ตัวผู้เรียน วุฒิภาวะ ระดับสติปัญญา อารมณ์ ความพร้อม แรงจูงใจ สภาพร่างกาย ประสบการณ์เดิม อายุ 2. บทเรียน ความยากง่ายของ บทเรียนที่ง่ายจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้เร็วกว่าบทเรียนที่ยาก บทเรียน บทเรียนที่มีความยาวมาก ๆ ย่อมทำไห้เกิดการเรียนรู้ได้ช้ากว่า ความยาวของบทเรียน บทเรียนที่มีความสั้นกว่า การมีความหมายของ บทเรียนที่มีความหมายจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่า บทเรียน บทเรียนที่ไม่มีความหมาย วิธีการเรียนการสอน 1. การจัดกิจกรรมการ 2. การใช้เครื่องล่อใจ 3. การแนะแนวในการ เรียนการสอน เช่น การให้รางวัล การ เรียน ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน ชมเชย การแข่งขันเพื่อ การแนะแนวที่ถูกต้องเหมาะ การสอนอย่างเหมาะสม กระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจ สมจะทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดี ขึน้ 4. การส่งเสริมให้ 5. ช่วงเวลาในการเรียน 6. การฝึกฝน ผู้เรียนเกิดการถ่ายโอน ถ้าจัดให้ผู้เรียนได้เรียน ให้ผู้เรียนมีโอกาสฝึกฝน การเรียนรู้ ในช่วงก่อนพักกลางวันจะ หรือกระทำซ้ำ ๆ อยู่เสมอ ช่วยให้เรียนรู้ได้ดีกว่าเรียน จะทำให้การเรียนรู้สิ่งนั้นมี เช่น การให้นำความรู้ไปใช้ ในตอนบ่าย ความมั่นคงถาวรขึ้น ในสถานการณ์อื่น จะทำให้ การเรียนรู้คงทนยิ่งขึ้น ลักษณะการจัดการเรียนรู้ที่ดี 1. การจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน 2. การจัดการเรียนรู้มีจุดประสงค์ให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ - ด้านความรู้ ความคิด หรือด้านพุทธิพิสัย - ด้านทักษะกระบวนการ หรือด้านทักษะพิสัย - ด้านเจตคติ หรือด้านจิตพิสัย 3. การจัดการเรียนรู้จะบรรลุจุดประสงค์ได้ต้องอาศัยความรู้ความสามารถของผู้สอน ทั้งด้านวิชาการ (ศาสตร์) ทักษะ และเทคนิคการจัดการเรียนรู้ (ศิลป์) เป็นสำคัญ องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ 2. บรรยากาศทาง 3. ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง 1. ผู้เรียน จิตวิทยา ผู้เรียน ผู้สอนต้องคำนึงถึง บุคลิก อารมณ์ เป็นเครื่องบ่งชี้ถึง สามารถทางสมอง เศรษฐกิจ หรือ เงื่อนไขหรือสถานการณ์ ความถนัด ความสนใจ กฎระเบียบของผู้สอน ว่าผู้เรียนจะประสบ พัฒนาการทางร่างกาย และผู้เรียน ความสำเร็จหรือความ อารมณ์ และจิตใจของ ล้มเหลวต่อการเรียนรู้ ผู้เรียน หลักพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้ ทองคูณ หงส์พันธ์ (2546 : 9) ได้ให้หลักการจัดการเรียนรู้ไว้เป็นบัญญัติ 20 ประการ ดังนี้ 1. ศึกษาหลักสูตรให้กระจ่าง 2. วางแผนการจัดการเรียนรู้อย่างดี 3. มีกิจกรรม / ทำอุปกรณ์ 4. สอนจากง่ายไปหายาก 5. วิธีสอนหลายหลากมากชนิด 6. สอนให้คิดมากกว่าจำ 7. สอนให้ทำมากกว่าท่อง 8. แคล่วคล่องเรื่องสื่อสาร 9. ต้องชำนาญการจูงใจ 10. อย่าลืมใช้จิตวิทยา 11. ต้องพัฒนาอารมณ์ขัน 12. ต้องผูกพันห่วงหาศิษย์ 13. เฝ้าตามติดพฤติกรรม 14. อย่าทำตัวเป็นทรราช 15. สร้างบรรยากาศไม่น่ากลัว 16. ประพฤติตัวตามที่สอน 17. อย่าตัดรอนกำลังใจ 18. ใช้เทคนิคการประเมิน 19. ผู้เรียนเพลินมีความสุข 20. ผู้สอนสนุกกับการสอน ความหมายของการสอน การสอนมีความหมายครอบคลุมทั้งด้านวิธีการ ด้านผู้สอนและผู้เรียน การสอน คือ กระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนเพื่อทำให้ผู้เรียนเกิด การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนด ซึ่งต้องอาศัยทั้งศาสตร์และ ศิลป์ของผู้สอน องค์ประกอบของการสอน ครู การ ประเมิน วิธีสอน ผล ผู้เรียน สื่อการ วัตถุประ สอน สงค์ หลักสูตร หลักพื้นฐานในการสอน 1. ก่อนการสอน ผู้สอนต้องเตรียมการสอนในหัวข้อต่อไปนี้ 1.1 ศึกษาหลักสูตร คู่มือครู และเอกสารประกอบการสอนต่างๆ เพื่อจัดทำแผนการ สอน 1.2 ศึกษาผู้เรียนให้ทราบถึงความรู้พื้นฐาน ประสบการณ์เดิม ความสามารถ ความ สนใจ ฯลฯ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการเตรียมสอน 1.3 เขียนแผนการสอนให้มีครบทุกข้อ ได้แก่ จุดประสงค์การสอน เนื้อหาสาระสำคัญ ของบทเรียน วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน และการวัดผล ประเมินผล 1.4 เตรียมสื่อการเรียนการสอนเอกสารหรือข้อทดสอบ ตลอดจนสิ่งอำนวยความ สะดวกต่าง ๆ ไว้ให้พร้อมก่อนสอน 2. ขณะสอน ผู้สอนดำเนินการสอน โดยคำนึงถึงข้อต่อไปนี้ 2.1 สอนให้เป็นไปตามลำดับ 2.2 ใช้ทักษะการสอนที่เหมาะสม เช่น การอธิบาย การใช้วาจากิริยาท่าทาง การเขียน ฯลฯ 2.3 ใช้เทคนิควิธีการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผูเ้ รียน โดยใช้วิธีสอนหลายรูปแบบ 2.4 เน้นการให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนให้ได้ลงมือปฏิบัติด้วย ตนเอง 2.5 ใช้สื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมสอดคล้องกับบทเรียนและส่งเสริมการเรียนรู้ 2.6 ใช้หลักจิตวิทยาการเรียนรู้ให้ถูกต้อง เช่น การเสริมกำลังใจ การจูงใจ การฝึกหัด การให้ งานตามความสามารถ ความถนัดของแต่ละบุคคล การสอนจากง่ายไปหายาก ฯลฯ 2.7 สร้างบรรยากาศส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งด้านวัตถุและด้านจิตใจ เช่น ห้องเรียนสะอาด สว่าง กว้างขวาง ครูผู้สอนใจดี ไม่เข้มงวดดุดัน ฯลฯ 2.8 ใช้วิธีการวัดผลประเมินผลที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การสอน 3. หลังการสอน ผู้สอนควรดำเนินการ ดังนี้ 3.1 พิจารณาผลการเรียนการสอนว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ บรรลุตามจุดประสงค์ที่ กำหนดไว้มากน้อยเพียงใด ถ้ามีเพียงส่วนน้อยที่ไม่บรรลุ ควรได้จัดสอนซ่อนเสริมให้ แต่ถ้า มีผู้เรียนจำนวนมากที่ไม่บรรลุ แสดงว่าการสอน และการวางแผนการสอนมีข้อบกพร่องที่ ต้องปรับปรุงแก้ไข 3.2 ปรับปรุงแก้ไขโดยหาสาเหตุที่เกิดข้อบกพร่องแล้วแก้ไขที่จุดบกพร่องนั้น ลักษณะการสอนที่ดี 1. ทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทั้งด้านความรู้ความคิด ด้านเจตคติ และด้านทักษะ 2. มีการเตรียมการสอนเป็นอย่างดี ครบองค์ประกอบของแผนการสอน 3. ผู้สอน สอนได้สอดคล้องกับจุดประสงค์ เนื้อหา และผู้เรียน โดยใช้กิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ที่ เหมาะสม 4. ผู้เรียนได้ลงมือกระทำกิจกรรมด้วยตนเองหรือได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ทำให้ผู้เรียนเกิด การเรียนรู้ได้ดี และเกิดความกระตือรือร้นในการเรียน 5. สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของหลักสูตร เช่น เป็นคนเก่ง คนดี มีความสุข 6. คำนึงถึงประโยชน์ที่ผู้เรียนจะนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและตลอดไป เช่น การสอนโดยให้ ผู้เรียนได้คิด วิเคราะห์ 7. เร้าความสนใจผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนสนใจเรียนตลอดจนจบกระบวนการสอน เช่น Active Leaning 8. มีการวัดผลประเมินทั้งก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังการเรียน โดยอาจใช้วิธีต่างๆ เช่น การ สังเกต การซักถาม การทดสอบ เป็นต้น 9. ผู้สอนด้วยวิญญาณความเป็นครู สอนด้วยความกระตือรือร้น ตั้งใจ เต็มใจ มั่นใจ และมีบุคลิกภาพที่ดี 10. มีบรรยากาศส่งเสริมการเรียนรู้ ทั้งบรรยากาศด้านวัตถุและด้านจิตใจ 11. ผู้สอนรู้จักใช้จิตวิทยาการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม เช่น การให้รางวัลและการลงโทษที่ดีพอดี การให้ คำชม การจูงใจ 12. มีกระบวนการสอนที่ชัดเจน ทั้งขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุป 13. ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย เช่น ให้ผู้เรียนมีอิสระในการแสดงความคิดเห็น ได้ฝึกการทำงาน กลุ่มร่วมกัน สรุป หลักพื้นฐานในการสอน คือ ครูผู้สอนต้องมีก ารการเตรียมการสอนเป็นอย่าง ดี ครบองค์ประกอบของการสอน ได้แก่ การตั้งจุดประสงค์การสอน การจัดเนื้อหา สาระ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนการ ใช้สื่อการสอน และการการวัดผล ประเมินผล ทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนา ทั้งด้านความรู้ความคิดด้าน เจตคติและด้าน ทักษะ ทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ รู้จักคิดวิเคราะห์ และปฏิบัติดี เกิดการเจริญ เติบโต ทุก ๆ ด้าน คาถามท้ายบท 1. จงอธิบายปัจจัยที่ทำให้การจัดกิจกรรมเรียนการสอนประสบความสำเร็จ 2. จงอธิบายการสอนที่ดีในทัศนะของนักศึกษา 3. จงอธิบายลักษณะครูที่ดี 4. นักศึกษาคิดว่าลักษณะครูที่ดีกับลักษณะของการสอนที่ดี มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันหรือไม่ อย่างไร จงอธิบาย

Use Quizgecko on...
Browser
Browser