รวมบทที่ 1-4 วิชาการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย PDF

Document Details

AmbitiousRhodium8975

Uploaded by AmbitiousRhodium8975

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุนันทา กินรีวงค์

Tags

Thai language instruction learning theories teaching methods educational psychology

Summary

เอกสารนี้เป็นบทความเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย มันสรุปทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ: พฤติกรรมนิยม, พุทธินิยม และคอนสตรักติวิสม์ รวมถึงปัจจัยและกระบวนการเรียนรู้

Full Transcript

วิชา การจัดการเรียนรู้ภาษาไทย C ผู้สอน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุนันทา กินรีวงค์ คาอธิบายรายวิชา รหัสวิชา 101010307 วิชา การจัดการเรียนรู้ภาษาไทย (Instructional of Thai Language) จานวนหน่วยกิต 3(2-2-5) สืบค้น วิเคราะห์การประยุ...

วิชา การจัดการเรียนรู้ภาษาไทย C ผู้สอน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุนันทา กินรีวงค์ คาอธิบายรายวิชา รหัสวิชา 101010307 วิชา การจัดการเรียนรู้ภาษาไทย (Instructional of Thai Language) จานวนหน่วยกิต 3(2-2-5) สืบค้น วิเคราะห์การประยุกต์ใช้หลักการ แนวคิดทฤษฎีทางการสอนสู่การฝึก ปฏิ บ ั ต ิ ก ารจั ด การเรี ย นรู ้ ก ารฟั ง การพู ด การอ่ า น การเขี ย น หลั ก ภาษา วรรณคดี วรรณกรรม แนวการสอน 1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเรียนการสอน 2. กิจกรรมการเรียนการสอน 3. วิธีการสอน 4. ทักษะการสอน 5. การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน 6. การใช้สื่อ และนวัตกรรมการเรียนรู้............................สอบกลางภาค............................................. 7. การวางแผนการสอน 8. การวัดและประเมินผล 9. การจัดการเรียนรู้ทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน หลักภาษา วรรณคดีและวรรณกรรม 10. นำเสนอแผนการสอน สื่อ และสอบสอน (รายบุคคล คนละ 20 นาที).............................สอบปลายภาค........................................... การวัดและประเมินผล สอบกลางภาค 30 คะแนน สอบปลายภาค 30 คะแนน เข้าเรียน 10 คะแนน คะแนนเก็บระหว่างเรียน 10 คะแนน สอบสอน 20 คะแนน รวม 100 คะแนน บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสอน C เนื้อหาในการสอน 1. ความหมายของการเรียนรู้ 8. ลักษณะการจัดการเรียนรู้ที่ดี 2. ความมุ่งหมายของการจัดการเรียนรู้ 9. องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ 3. ทฤษฎีการเรียนรู้ 10. หลักพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้ 4. ลักษณะของการเรียนรู้ 11. ความหมายของการสอน 5. กระบวนการเรียนรู้ 12. องค์ประกอบของการสอน 6. ปัจจัยส่งเสริมการเรียนรู้ 13. หลักพื้นฐานในการสอน 7. วิธีการเรียนการสอน 14. ลักษณะการสอนที่ดี ความหมายของการเรียนรู้ การเรียนรู้ (Learning) หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเดิมสู่พฤติกรรม ใหม่ที่ค่อนข้างถาวร และเป็นผลมาจากประสบการณ์ หรือการฝึกฝน ไม่ใช่เป็นผลที่เกิดจากการ ตอบสนองตามธรรมชาติ สัญชาตญาณ วุฒิภาวะ อุบัติเหตุ หรือความบังเอิญ จากภาพ แสดงให้เห็น ว่ า การเรี ย นรู ้ เ ป็ น พฤติ ก รรมที ่ เ กิ ด ขึ ้ น มีการ จากการฝึ ก หั ด หรื อ ผู้เรียนได้รับ เกิด เปลี่ยนแปลง ได้ ร ั บ ประสบการณ์ ประสบการณ์ การ พฤติกรรมที่ และเป็ น พฤติ ก รรมที ่ หรือการฝึกหัด เรียนรู้ ค่อนข้าง ค่อนข้างถาวร ถาวร ความมุ่งหมายของการจัดการเรียนรู้ 1. การเรียนรู้มีความสำคัญการมีชีวิตรอด เช่น การเรียนรู้การแสวงหาอาหาร 2. การเรียนรู้มีความสำคัญต่อการปรับตัว เช่น ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม 3. การเรียนรู้จะช่วยให้ไม่ตกเป็นเครื่องมือของบุคคลอื่น ไม่ถูกคนอื่นหลอกได้ง่าย ๆ 4. การเรียนรู้มีความสำคัญต่อการประกอบการงานอาชีพ 5. การเรียนรู้มีความสำคัญต่อการส่งเสริม ปรับปรุง และแก้ไขบุคลิกภาพ เช่น ช่วยให้มีความรู้ ในการเลือกใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน 6. การเรียนรู้มีความสำคัญต่อความเจริญของบ้านเมืองและประเทศชาติ เช่น การนำเอา เทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ทางการเกษตร ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้ที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในยุคศตวรรษที่ 20-21 สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ 1. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม 2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม 3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มสร้างสรรค์นิยม หรือ คอนสตรักติวิสม์ 1. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม เชื่อว่า การตอบสนองการเรียนรู้ขึ้นอยู่ กั บ ครู ผ ู ้ ส อนและสภาพแวดล้ อ ม ผู ้ ส อนเป็ น ผู ้ ก ำหนด จั ด กระทำ และควบคุ ม สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยเน้นพฤติกรรมเสริมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมของผู้เรียน ทฤษฎีการเรียนรู้นี้ไม่มุ่ งเน้นศึกษากลไกการคิดในจิตใจและ ปัญญาเพราะถือว่าเป็นสิ่งที่สังเกตเห็นไม่ได้ วิธีสอนที่เหมาะสาหรับกลุ่มพฤติกรรมนิยม ได้แก่ 1. การสอนแบบบรรยาย หรือ การสาธิต/การแสดงให้ดูเป็นตัวอย่าง 2. การให้ทำแบบฝึกหัด การฝึกปฏิบัติ หรือการทำซ้ำ ๆ 3. การเล่นเกมต่าง ๆ นักจิตวิทยาคนสาคัญของกลุ่มพฤติกรรมนิยม ได้แก่ สกินเนอร์ พาฟลอฟ ธอร์นไดค์ วัตสัน เลโอนาร์ด ฮัลล์ กาเย่ 2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (cognitivism learning theory) กลุ่มทฤษฎีนี้เชื่อว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวผู้เรียน โดย มีโครงสร้างทางปัญญาทำหน้าที่รับข้อมูลและจัดระบบความรู้ ดังนั้น โครงสร้างทาง ปัญญาของบุคคลจึงมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาเมื่อได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ทำ ให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการเรียนรู้จะเกิดจากแรงจูงใจที่ทำให้อยากรู้ การ จัดโครงสร้างความรู้ การลำดับขั้นของสาระความรู้และการเสริมแรง วิธีสอนที่เหมาะสาหรับกลุ่มพุทธินิยม คือ 1. การโต้วาที การอภิปรายและการให้เหตุผล 2. การคิดแก้ปัญหาและการเรียนโดยใช้โครงงานเป็นหลัก 3. การเปรียบเทียบ (อุปมา) ถ้อยคำ หรือสำนวนอุปมาอุปไมย 4. การจำแนกแยกแยะ หรือการคิดวิเคราะห์-สังเคราะห์ 5. การให้เขียนสำนวนหรือคำประพันธ์สั้น ๆ นักจิตวิทยาคนสาคัญของกลุ่มพุทธินิยม ได้แก่ เพียเจต์ บรูเนอร์ ออซุเบล โคห์เลอร์ ทอลแมน เลวิน คอฟฟ์คา เวิร์ธไทม์เมอร์ 3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มสร้างสรรค์นิยม (Constructivism learning theory) กลุ่มสร้างสรรค์นิยม เชื่อว่า ผู้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากโลกที่อยู่มานาน ก่อนมารับ การศึกษาที่โรงเรียน การเรียนรู้ของผู้เรียนเกิดขึ้ นตามบริบทหรือสิ่งแวดล้อมรอบตั ว ผู้เรียนและผู้เรียนได้สร้างความหมายของสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นขึ้นมาเองจากประสบการณ์ ของตนและผู้เรียนได้ยึดความหมายที่สร้างขึ้นนั้นเป็นความรู้หรือศาสตร์ของตนเอง ดั ง นั้ น ผู ้ ส อนจึ ง มี ห น้ า ที ่ จ ั ด ประสบการณ์ ใ ห้ ผ ู ้ เ รี ย นเกิ ด การเรี ย นรู ้ ท ี ่ ถ ู ก ต้ อ ง เหมาะสม เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีโอกาสในการแก้ปัญหาที่มีความหมายจริง ๆ และเป็น ปั ญ หาในชี ว ิ ต จริ ง ของผู ้ เ รี ย น โดยผู ้ ส อนมี ห น้ า ที ่ แ นะแนวทางและสั ่ ง สอนหรื อ ฝึ ก (coaching) วิธีสอนที่เหมาะสาหรับกลุ่มสร้างสรรค์นิยม คือ 1. กรณีศึกษา (case studies) หรือการแก้ปัญหาเพื่อการเรียนรู้ 2. การนำเสนอผลงาน/ชิ้นงานให้ปรากฏแก่สายตาหลาย ๆ ด้าน ทั้งความรู้ สื่อ ความคิดสร้างสรรค์ 3. การกำกับดูแลหรือการฝึกงาน 4. การเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative learning) 5. การเรียนรู้โดยการสืบค้น (Discovery learning) 6. การเรียนรู้เชิงสถานการณ์ (Situated learning) นักจิตวิทยาคนสาคัญของกลุ่มสร้างสรรค์นิยม ได้แก่ จอห์น ดิวอี้ เพียเจต์ วิก๊อตสกี ไนซ์เซอร์ เพเพิร์ท กระบวนการเรียนรู้ (Learning process) 1. การรับรู้ (Perception) หมายถึง การที่ผู้รับรับเอาข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้ต่าง ๆ จาก แหล่งความรู้ที่หลากหลาย ร่วมทั้งครูผู้สอนโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ ตา หู จมูก ปาก และผิวหนัง - ตา (จากการดู มองเห็น อ่าน) - หู (จากการฟัง ได้ยิน) - จมูก (จากการดม ได้กลิ่น) - ปาก (จากการลิ้มรส) - ผิวหนัง (จากการสัมผัส) ***ข้อสังเกต จากการอ่าน เกิดประสิทธิผลในการเรียนรู้..................................................10% จากการได้ยิน เกิดประสิทธิผลในการเรียนรู.้...............................................20% จากการได้เห็น เกิดประสิทธิผลในการเรียนรู้..............................................30% จากการได้เห็นและได้ยิน เกิดประสิทธิผลในการเรียนรู.้..............................50% จากการได้พูดและได้ยิน เกิดประสิทธิผลในการเรียนรู.้...............................70% จากการได้พูดและได้ทำเกิดประสิทธิผลในการเรียนรู.้.................................90% จากการรับรู้ของบุคคลผ่านประสาทสัมผัสต่างๆ พบว่า มีประสิทธิผลในการเรียนรู้ต่างกันจากน้อยไปมาก ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า การจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ควรจัดให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง) 2. การเข้าใจ (Comprehension) หมายถึง การที่ผู้รับสามารถแปลความหมาย ตีความ หรือสรุปความสำคัญในสิ่งที่รับรู้ได้ เกิดการเชื่อมโยงประสบการณ์หรือความรู้ใหม่กบั ความรู้ เก่าได้สามารถโยงความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่ตนเองรับรู้ และสามารถอธิบายโดยให้เหตุผล ประกอบได้ 3. การปรับเปลี่ยน (Transformation) หมายถึง การที่บุคคลนำความเข้าใจที่เกิดจากการ รับรู้มาสร้างแบบแผนพฤติกรรมของตนขึ้น เช่น เมื่อตากฝนแล้วไม่สบาย เราก็จะไม่ตากฝน อีก ***บุคคลจะเกิดการเรียนรู้ได้ดีและมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการรับรู้ ประสบการณ์เดิมหรือ ความรู้เดิม และปฏิกิริยาตอบสนองตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ ปัจจัยส่งเสริมการเรียนรู้ 1. ตัวผู้เรียน วุฒิภาวะ ระดับสติปัญญา อารมณ์ ความพร้อม แรงจูงใจ สภาพร่างกาย ประสบการณ์เดิม อายุ 2. บทเรียน ความยากง่ายของ บทเรียนที่ง่ายจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้เร็วกว่าบทเรียนที่ยาก บทเรียน บทเรียนที่มีความยาวมาก ๆ ย่อมทำไห้เกิดการเรียนรู้ได้ช้ากว่า ความยาวของบทเรียน บทเรียนที่มีความสั้นกว่า การมีความหมายของ บทเรียนที่มีความหมายจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่า บทเรียน บทเรียนที่ไม่มีความหมาย วิธีการเรียนการสอน 1. การจัดกิจกรรมการ 2. การใช้เครื่องล่อใจ 3. การแนะแนวในการ เรียนการสอน เช่น การให้รางวัล การ เรียน ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน ชมเชย การแข่งขันเพื่อ การแนะแนวที่ถูกต้องเหมาะ การสอนอย่างเหมาะสม กระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจ สมจะทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดี ขึน้ 4. การส่งเสริมให้ 5. ช่วงเวลาในการเรียน 6. การฝึกฝน ผู้เรียนเกิดการถ่ายโอน ถ้าจัดให้ผู้เรียนได้เรียน ให้ผู้เรียนมีโอกาสฝึกฝน การเรียนรู้ ในช่วงก่อนพักกลางวันจะ หรือกระทำซ้ำ ๆ อยู่เสมอ ช่วยให้เรียนรู้ได้ดีกว่าเรียน จะทำให้การเรียนรู้สิ่งนั้นมี เช่น การให้นำความรู้ไปใช้ ในตอนบ่าย ความมั่นคงถาวรขึ้น ในสถานการณ์อื่น จะทำให้ การเรียนรู้คงทนยิ่งขึ้น ลักษณะการจัดการเรียนรู้ที่ดี 1. การจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน 2. การจัดการเรียนรู้มีจุดประสงค์ให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ - ด้านความรู้ ความคิด หรือด้านพุทธิพิสัย - ด้านทักษะกระบวนการ หรือด้านทักษะพิสัย - ด้านเจตคติ หรือด้านจิตพิสัย 3. การจัดการเรียนรู้จะบรรลุจุดประสงค์ได้ต้องอาศัยความรู้ความสามารถของผู้สอน ทั้งด้านวิชาการ (ศาสตร์) ทักษะ และเทคนิคการจัดการเรียนรู้ (ศิลป์) เป็นสำคัญ องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ 2. บรรยากาศทาง 3. ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง 1. ผู้เรียน จิตวิทยา ผู้เรียน ผู้สอนต้องคำนึงถึง บุคลิก อารมณ์ เป็นเครื่องบ่งชี้ถึง สามารถทางสมอง เศรษฐกิจ หรือ เงื่อนไขหรือสถานการณ์ ความถนัด ความสนใจ กฎระเบียบของผู้สอน ว่าผู้เรียนจะประสบ พัฒนาการทางร่างกาย และผู้เรียน ความสำเร็จหรือความ อารมณ์ และจิตใจของ ล้มเหลวต่อการเรียนรู้ ผู้เรียน หลักพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้ ทองคูณ หงส์พันธ์ (2546 : 9) ได้ให้หลักการจัดการเรียนรู้ไว้เป็นบัญญัติ 20 ประการ ดังนี้ 1. ศึกษาหลักสูตรให้กระจ่าง 2. วางแผนการจัดการเรียนรู้อย่างดี 3. มีกิจกรรม / ทำอุปกรณ์ 4. สอนจากง่ายไปหายาก 5. วิธีสอนหลายหลากมากชนิด 6. สอนให้คิดมากกว่าจำ 7. สอนให้ทำมากกว่าท่อง 8. แคล่วคล่องเรื่องสื่อสาร 9. ต้องชำนาญการจูงใจ 10. อย่าลืมใช้จิตวิทยา 11. ต้องพัฒนาอารมณ์ขัน 12. ต้องผูกพันห่วงหาศิษย์ 13. เฝ้าตามติดพฤติกรรม 14. อย่าทำตัวเป็นทรราช 15. สร้างบรรยากาศไม่น่ากลัว 16. ประพฤติตัวตามที่สอน 17. อย่าตัดรอนกำลังใจ 18. ใช้เทคนิคการประเมิน 19. ผู้เรียนเพลินมีความสุข 20. ผู้สอนสนุกกับการสอน ความหมายของการสอน การสอนมีความหมายครอบคลุมทั้งด้านวิธีการ ด้านผู้สอนและผู้เรียน การสอน คือ กระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนเพื่อทำให้ผู้เรียนเกิด การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนด ซึ่งต้องอาศัยทั้งศาสตร์และ ศิลป์ของผู้สอน องค์ประกอบของการสอน ครู การ ประเมิน วิธีสอน ผล ผู้เรียน สื่อการ วัตถุประ สอน สงค์ หลักสูตร หลักพื้นฐานในการสอน 1. ก่อนการสอน ผู้สอนต้องเตรียมการสอนในหัวข้อต่อไปนี้ 1.1 ศึกษาหลักสูตร คู่มือครู และเอกสารประกอบการสอนต่างๆ เพื่อจัดทำแผนการ สอน 1.2 ศึกษาผู้เรียนให้ทราบถึงความรู้พื้นฐาน ประสบการณ์เดิม ความสามารถ ความ สนใจ ฯลฯ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการเตรียมสอน 1.3 เขียนแผนการสอนให้มีครบทุกข้อ ได้แก่ จุดประสงค์การสอน เนื้อหาสาระสำคัญ ของบทเรียน วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน และการวัดผล ประเมินผล 1.4 เตรียมสื่อการเรียนการสอนเอกสารหรือข้อทดสอบ ตลอดจนสิ่งอำนวยความ สะดวกต่าง ๆ ไว้ให้พร้อมก่อนสอน 2. ขณะสอน ผู้สอนดำเนินการสอน โดยคำนึงถึงข้อต่อไปนี้ 2.1 สอนให้เป็นไปตามลำดับ 2.2 ใช้ทักษะการสอนที่เหมาะสม เช่น การอธิบาย การใช้วาจากิริยาท่าทาง การเขียน ฯลฯ 2.3 ใช้เทคนิควิธีการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผูเ้ รียน โดยใช้วิธีสอนหลายรูปแบบ 2.4 เน้นการให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนให้ได้ลงมือปฏิบัติด้วย ตนเอง 2.5 ใช้สื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมสอดคล้องกับบทเรียนและส่งเสริมการเรียนรู้ 2.6 ใช้หลักจิตวิทยาการเรียนรู้ให้ถูกต้อง เช่น การเสริมกำลังใจ การจูงใจ การฝึกหัด การให้ งานตามความสามารถ ความถนัดของแต่ละบุคคล การสอนจากง่ายไปหายาก ฯลฯ 2.7 สร้างบรรยากาศส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งด้านวัตถุและด้านจิตใจ เช่น ห้องเรียนสะอาด สว่าง กว้างขวาง ครูผู้สอนใจดี ไม่เข้มงวดดุดัน ฯลฯ 2.8 ใช้วิธีการวัดผลประเมินผลที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การสอน 3. หลังการสอน ผู้สอนควรดำเนินการ ดังนี้ 3.1 พิจารณาผลการเรียนการสอนว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ บรรลุตามจุดประสงค์ที่ กำหนดไว้มากน้อยเพียงใด ถ้ามีเพียงส่วนน้อยที่ไม่บรรลุ ควรได้จัดสอนซ่อนเสริมให้ แต่ถ้า มีผู้เรียนจำนวนมากที่ไม่บรรลุ แสดงว่าการสอน และการวางแผนการสอนมีข้อบกพร่องที่ ต้องปรับปรุงแก้ไข 3.2 ปรับปรุงแก้ไขโดยหาสาเหตุที่เกิดข้อบกพร่องแล้วแก้ไขที่จุดบกพร่องนั้น ลักษณะการสอนที่ดี 1. ทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทั้งด้านความรู้ความคิด ด้านเจตคติ และด้านทักษะ 2. มีการเตรียมการสอนเป็นอย่างดี ครบองค์ประกอบของแผนการสอน 3. ผู้สอน สอนได้สอดคล้องกับจุดประสงค์ เนื้อหา และผู้เรียน โดยใช้กิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ที่ เหมาะสม 4. ผู้เรียนได้ลงมือกระทำกิจกรรมด้วยตนเองหรือได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ทำให้ผู้เรียนเกิด การเรียนรู้ได้ดี และเกิดความกระตือรือร้นในการเรียน 5. สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของหลักสูตร เช่น เป็นคนเก่ง คนดี มีความสุข 6. คำนึงถึงประโยชน์ที่ผู้เรียนจะนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและตลอดไป เช่น การสอนโดยให้ ผู้เรียนได้คิด วิเคราะห์ 7. เร้าความสนใจผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนสนใจเรียนตลอดจนจบกระบวนการสอน เช่น Active Leaning 8. มีการวัดผลประเมินทั้งก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังการเรียน โดยอาจใช้วิธีต่างๆ เช่น การ สังเกต การซักถาม การทดสอบ เป็นต้น 9. ผู้สอนด้วยวิญญาณความเป็นครู สอนด้วยความกระตือรือร้น ตั้งใจ เต็มใจ มั่นใจ และมีบุคลิกภาพที่ดี 10. มีบรรยากาศส่งเสริมการเรียนรู้ ทั้งบรรยากาศด้านวัตถุและด้านจิตใจ 11. ผู้สอนรู้จักใช้จิตวิทยาการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม เช่น การให้รางวัลและการลงโทษที่ดีพอดี การให้ คำชม การจูงใจ 12. มีกระบวนการสอนที่ชัดเจน ทั้งขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุป 13. ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย เช่น ให้ผู้เรียนมีอิสระในการแสดงความคิดเห็น ได้ฝึกการทำงาน กลุ่มร่วมกัน สรุป หลักพื้นฐานในการสอน คือ ครูผู้สอนต้องมีก ารการเตรียมการสอนเป็นอย่าง ดี ครบองค์ประกอบของการสอน ได้แก่ การตั้งจุดประสงค์การสอน การจัดเนื้อหา สาระ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนการ ใช้สื่อการสอน และการการวัดผล ประเมินผล ทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนา ทั้งด้านความรู้ความคิดด้าน เจตคติและด้าน ทักษะ ทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ รู้จักคิดวิเคราะห์ และปฏิบัติดี เกิดการเจริญ เติบโต ทุก ๆ ด้าน คาถามท้ายบท 1. จงอธิบายปัจจัยที่ทำให้การจัดกิจกรรมเรียนการสอนประสบความสำเร็จ 2. จงอธิบายการสอนที่ดีในทัศนะของนักศึกษา 3. จงอธิบายลักษณะครูที่ดี 4. นักศึกษาคิดว่าลักษณะครูที่ดีกับลักษณะของการสอนที่ดี มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันหรือไม่ อย่างไร จงอธิบาย บทที่ 2 กิจกรรมการเรียนการสอน เนื้อหาในการสอน 1. ความหมายของกิจกรรมการเรียนการสอน 7. แนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับ 2. ความสำคัญของกิจกรรมการเรียนการสอน หลักสูตร 3. จุดมุ่งหมายของการจัดกิจกรรมการเรียนการ 8. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็น สอน สำคัญ 4. หลักการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 9. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการ 5. รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เรียนรู้ 6. ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 10. บทบาทของผู้สอน ความหมายของกิจกรรมการเรียนการสอน กิจกรรมการเรียนการสอน หลักสูตรฉบับปัจจุบันต้องการเน้น ที่ตัวผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง เน้นที่บทบาทของผู้เรียน แต่ผู้สอนก็ยังคงมีบทบาทร่วมด้วยเช่นกัน คือ เป็นผู้อำนวย ความสะดวก ได้แก่ เป็นผู้ให้คำปรึกษา และเป็นผู้กระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิด กิจกรรมการเรียนการสอน หมายถึง การปฏิบัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน เพื่อให้การสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และการเรียนรู้ของผู้เรียนบรรลุสู่จุดประสงค์การ สอนทีก่ ำหนดไว้ ความสาคัญของกิจกรรมการเรียนการสอน ส่งเสริมความงอกงามและพัฒนาการของเด็ก ขยายความรู้และประสบการณ์ของเด็กให้ ช่วยให้เห็นความแตกต่างระหว่างบุคคล กว้างขวาง เร้าความสนใจของ เปิดโอกาสให้นักเรียน ปลูกฝังความเป็น ปลูกฝังความ เด็ก ประสบความสำเร็จ ประชาธิปไตย รับผิดชอบ ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความ นักเรียนเกิดความเข้าใจในบทเรียน ซาบซึ้ง ความงามในเรื่องต่าง ๆ ปลูกฝังและส่งเสริมความคิดริเริ่ม ช่วยส่งเสริมทักษะต่าง ๆ สร้างสรรค์ นักเรียนได้รู้สกึ นักเรียนได้มีการ ส่งเสริมให้เด็กรู้จัก ปลูกฝังเจตคติท่ดี ี สนุกสนาน เคลื่อนไหว ทำงานเป็นกลุ่ม จุดมุ่งหมายของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 1. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาไปพร้อมกัน 2. เพื่อสนองความสามารถ ความถนัด ความสนใจของผู้เรียนทุกคน ซึ่งแต่ละคนจะมีแตกต่างกัน 3. เพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนเรียนด้วยความเพลิดเพลิน ไม่เกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายในการเรียน 4. เพื่อสนองเจตนารมณ์ของหลักสูตรให้ผู้เรียนได้คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น เกิดทักษะกระบวนการ ให้เป็นคนเก่ง คนดี มี ความสุข และมีความเป็นไทย 5. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนกล้าแสดงออก และมีส่วนร่วมในการเรียน หลักการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 3. จัดกิจกรรมให้สอดคล้องและ 1. จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับ 2. จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับ เหมาะสมกับวัย ความสามารถ เจตนารมณ์ของหลักสูตร จุดประสงค์การสอน ความสนใจของผู้เรียน ผู้สอนต้องสอนวิธีการคิด ผู้สอนต้องพิจารณาว่า ผู้เรียนจะเรียนด้วยความ วิธีการทำ วิธกี าร จุดประสงค์การสอนใน สนุกและด้วยความสนใจ แก้ปัญหาและสอนอย่าง ครั้งนั้นมุ่งเน้นพฤติกรรม มีลำดับขั้นตอนเพื่อให้ ด้านใด ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะ ตามที่หลักสูตรมุ่งหวัง 4. จัดกิจกรรมให้ 6. จัดกิจกรรมให้น่าสนใจ 7. จัดกิจกรรมโดยให้ 5. จัดกิจกรรมให้มีลาดับ สอดคล้องกับลักษณะของ โดยใช้สื่อการสอนที่ ผู้เรียนเป็นผู้กระทา ขั้นตอน เนื้อหาวิชา เหมาะสม กิจกรรม เนื้อหาวิชาแต่ละ ผู้เรียนจะเกิดความรู้ เช่น สื่อของจริง สือ่ เพื่อให้เกิดการ ประเภทต้องอาศัย ความเข้าใจอย่าง สิ่งพิมพ์ เครื่องฉาย เรียนรู้ด้วยตนเอง เทคนิควิธีสอนหรือ ต่อเนื่องไม่สับสน เป็นต้น ผู้สอนเป็นผู้อำนวย การจัดกิจกรรมที่ และสามารถโยง ใช้ให้เหมาะกับ ความสะดวก แตกต่างกัน ความสัมพันธ์ของ เนื้อหา ความรู้และ เรียนรู้วิธกี ารหา เนื้อหาที่เรียนได้ วัตถุประสงค์ของ ความรู้ การสอน 8. จัดกิจกรรมโดยใช้วิธีการ 10. จัดกิจกรรมโดยให้มี 11. จัดกิจกรรมแล้วต้องมี 9. จัดกิจกรรมโดยใช้เทคนิค ที่ท้าทายความคิด บรรยากาศที่รื่นรมย์ การวัดผลการใช้กิจกรรมนั้น วิธีการสอนที่หลากหลาย ความสามารถของผู้เรียน สนุกสนาน และเป็นกันเอง ทุกครั้ง ให้ผู้เรียนฝึกฝนวิธีการ ผู้สอนไม่ควรใช้วิธีเดียวกัน ทำให้ผู้เรียนด้วยความสุข เพื่อค้นหาข้อดี หรือ แสวงหาความรู้ และการ ตลอด ควรคิดกิจกรรม ใจ สบายใจ ไม่ตึงเครียด ข้อบกพร่อง แล้วนำผลไป แก้ปัญหาด้วยตนเอง จะ การเรียนการสอนให้ และเกิดการเรียนรู้ได้ดี ปรับปรุงแก้ไขสำหรับใช้ ทำให้ผู้เรียนเห็นคุณค่า น่าสนใจ เลือกใช้ ในครั้งต่อไป ของสิ่งที่เรียนและได้รับ เทคนิควิธีการสอนที่ ประโยชน์จากการเรียน สอดคล้องกับลักษณะ อย่างแท้จริง เนื้อหาวิชา เช่น แสดงละคร โต้วาที จัดแข่งขันการแต่งกลอน สด รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน จัดกิจกรรมได้ทั้งแบบ กลุ่มและรายบุคคล แบบยึดผู้เรียนเป็น ศูนย์กลาง เล่นเกม การทำรายงาน โครงงาน เล่านิทาน ฯ การจัดการเรียนการ สอน ครูเป็นผู้มีบทบาทใน การจัดเรียนการสอน แบบยึดครูเป็น ศูนย์กลาง การบรรยาย การสาธิต การถาม-ตอบ ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 1. ขั้นนาเข้าสู่ 2. ขั้นปฏิบัติ 3. ขั้นสรุปและ บทเรียน กิจกรรม (ขั้นสอน) วัดผล 1. ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน เป็นขั้นเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้เรียน และเร้าความสนใจให้ผู้เรียน อยากรู้ อยากเห็น อยากคิด อยากทำ เพื่อเชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่เข้าด้วยกัน หลักการนาเข้าสู่บทเรียน - น่าสนใจ หมายถึง นำให้น่าสนใจ โดยใช้เทคนิควิธีการ - ให้ตรงเรื่อง หมายถึง นำให้ตรงกับเรื่องที่สอน - ไม่เปลืองเวลา หมายถึง ควรใช้เวลาไม่มากในการนำเข้าสู่บทเรียน ร้องเพลง ให้แสดงท่าทาง เล่นเกม วิธีการที่ใช้ เล่าประสบการณ์ เล่านิทาน นาเข้าสู่บทเรียน ยกสถานการณ์ ปริศนาคำทาย จริง สนทนาซักถาม 2. ขั้นปฏิบัติกิจกรรม (ขั้นสอน) การอภิปราย การแสดง การค้นคว้า การรายงาน กลุ่ม บทบาทสมมุติ การพูดแสดง การสาธิต การเล่าเรือ่ ง การบรรยาย ความคิดเห็น ข้อควรคานึงถึงในการจัดกิจกรรมขั้นสอน 2.1 เป็นกิจกรรมที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ 2.2 เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ 2.3 เป็นกิจกรรมที่สอดคล้องกับวัย วุฒิภาวะ และความพร้อมของผู้เรียน 2.4 เป็นกิจกรรมที่สนองความต้องการ ความสนใจ และความถนัดของผู้เรียน 2.5 เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียนทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปญ ั ญา 2.6 เป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับเวลาและสภาพแวดล้อม 2.7 เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำหรือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง 2.8 เป็นกิจกรรมที่มีขั้นตอนเป็นไปตามลำดับความง่ายยาก รูปธรรมไปนามธรรมและความ เรียบง่ายไปสู่ความสลับซับซ้อน 3. ขั้นสรุปและวัดผล - เป็นขั้นการสรุปเนื้อหาที่เรียนผ่านมาแล้วทั้งหมด สรุปทั้งด้านความรู้ ความคิด เจตคติ และทักษะที่ผู้เรียนได้รับ ตลอดจนการนำไปใช้ในชีวติ ประจำวัน - ในการสรุปนี้ ผู้สอนอาจให้ผู้เรียนเป็นผู้สรุปหรือผู้สอนกับผู้เรียนร่วมกันสรุปก็ได้ - หลังจากนั้นผู้สอนควรได้วัดผลการเรียนรู้ว่าผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ หรือไม่ โดยอาจใช้วิธีให้ตอบคำถาม ให้ทำแบบทดสอบให้ทำแบบฝึกหัด หรือทำรายงานตามที่ ผู้สอนวางแผนไว้ แนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตร หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 กำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียน เมื่อจบ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้ 1. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเองมีวินัยและปฏิบัติตนตาม หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2. มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิต 3. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย 4. มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองตาม ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 5. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิต สาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข สมรรถนะสาคัญของผู้เรียน 1. ความสามารถในการ สื่อสาร 5. ความสามารถในการใช้ 2. ความสามารถในการคิด เทคโนโลยี 4. ความสามารถในการใช้ 3. ความสามารถในการ ทักษะชีวิต แก้ปัญหา คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ 6. มุ่งมั่นในการ 7. รักความเป็น กษัตริย์ ทำงาน ไทย 5. อยู่อย่าง 2. ซื่อสัตย์สุจริต 8. มีจิตสาธารณะ พอเพียง 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ สถานศึกษาสามารถกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพิ่มเติมให้สอดคล้องตามบริบท และจุดเน้นของตนเอง เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะทีพ่ ึงประสงค์ดังกล่าว หลักสูตรจึงเน้นให้จัด กิจกกรมการเรียนการสอน โดยยึดหลักการ 2 ประการ คือ 1. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 2. จัดการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นกระบวนการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ ทิศนา แขมมณี (2548) กล่าวว่า กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นการจัด การเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นตัวตั้ง โดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับผู้เรียนและประโยชน์ สูงสุดที่ผู้เรียนควรจะได้รับ และมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีบทบาท สำคัญในการเรียนรู้ ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้อย่างตื่นตัว และได้ใช้กระบวนการ เรียนรู้ต่าง ๆ อันจะนำผู้เรียนไปสู่การเกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง จัดการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นกระบวนการเรียนรู้ หมายถึง การที่ผู้สอนใช้เทคนิคการสอนหลาย ๆ แบบให้เหมาะสมกับเนื้อหาและจุดประสงค์ การสอน และเน้นการเรียนรู้อย่าง โดยมีลำดับขั้นตอนเพื่อนำไปสู่จุดประสงค์ที่กำหนดไว้ คือ 1. จัดกิจกรรมให้เป็นกระบวนการ หมายถึง การดำเนินการสอนอย่างมีขั้นตอนตั้งแต่ต้นจน จบ ตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ ผู้เรียนได้คิด ได้พูด ได้แก้ปัญหา ได้ปฏิบัติ ฯลฯ ทำให้ผ้เู รียนได้รับ ความรู้ เกิดการพัฒนาตนเองหลังทำกิจกรรมนั้นแล้ว 2. พัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสามารถเชิงกระบวนการ หมายถึง การปลูกฝังให้ผู้เรียนมี ความสามารถในการปฏิบัติเป็นขั้นตอนติดตัวไปใช้ในชีวิตจริง ผู้เรียนจะได้รับการฝึกฝนการเรียนรู้ อย่างเป็นกระบวนการ จนเกิดทักษะกระบวนการ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและชีวิตการ ทำงานของตนได้ กระบวนการสอนภาษาไทย ขั้นที่ 4 ทักษะฝึกเพิ่มพูน ให้ผู้เรียนได้ฝึกอ่าน ขั้นที่ 3 เหตุผลสรุปหลัก เขียน คิดคำเพิ่มเติม ให้ผู้เรียนเป็นผู้สรุป นอกเหนือจากตัวอย่าง ขั้นที่ 2 ให้หาข้อสังเกต หลักเกณฑ์เองจากการ เช่น การแต่งกลอน ให้ผู้เรียนได้สังเกต สังเกต โดยให้ เรียงความ ขั้นที่ 1 ตัวอย่างให้ศึกษา ลักษณะของคำที่ได้ว่า บอกความหมายและ ผู้สอนควรนำตัวอย่าง มีลักษณะเฉพาะ ลักษณะของคำหรือ คำ พยางค์ วลี อย่างไร เรื่องที่เรียนเอง ประโยคหรือเนื้อหา เช่น ใช้เสียงตัวสะกด ภาษาไทยอื่น ๆ ที่จะ ตัวใดเหมือนกัน สอนมาให้ผู้เรียนดู บทบาทของผู้สอน ผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) ในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน โดยจะทำ หน้าที่ดังนี้ เป็นผู้กำหนดบทบาทให้นักเรียนทุกคนได้มีส่วนเข้าร่วมทำกิจกกรมตามความรู้ 1. เป็นผู้จัดการ ความสามารถของตนเอง 2. เป็นผู้ร่วมทากิจกรรม เข้าร่วมทำกิจกรรมกับผู้เรียน เป็นผู้แสดงความคิดเห็นหรือแนวคิด 3. เป็นผู้ช่วยเหลือและแหล่งวิทยากร คอยให้คำตอบเมื่อนักเรียนต้องการความช่วยเหลือทางวิชาการ 4. เป็นผู้สนับสนุนและเสริมแรง ช่วยสนับสนุนด้านสื่ออุปกรณ์หรือให้คำแนะนำเพื่อกระตุ้นผู้เรียน 5. เป็นผู้ติดตามตรวจสอบ คอยตรวจสอบงานที่นักเรียนผลิตขึ้นมาก่อนที่จะส่งต่อไปให้นักเรียนคนอื่นๆ สรุป การจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นการสอน เป็ น สิ ่ ง สำคั ญ และเป็ น หั ว ใจของการนำผู ้ เ รี ย นไปสู ่ จุดมุ่งหมายของหลักสูตรที่ตั้งไว้ ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้ดีเพียงใดขึ้นอยู่กับการจัดกิจกรรมการเรียน การสอนของผู้สอนเป็นสำคัญ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต้องจัดให้สอดคล้องกับหลักสู ตร และท้องถิ่น โดยเฉพาะหลักสูตรฉบับปัจจุบัน มุ่งให้จัดโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ใช้วิธ ีสอนที่ หลากหลายและใช้กระบวนการต่าง ๆ เช่น กระบวนการคิด กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการกลุ่ม กระบวนการแก้ ป ั ญ หา กระบวนการสร้ า งค่ า นิ ย ม ฯลฯ ซึ ่ ง มี จ ุ ด มุ ่ ง หมายให้ ผ ู ้ เ รี ย นเกิ ด ทั ก ษะ กระบวนการ สามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ในชีวิตได้เหมาะสมกั บสภาพแวดล้อมและทักษะของ เนื้อหาวิชา คาถามท้ายบท 1. จงอธิบายความสำคัญของกิจกรรมการเรียนการสอน 2. จงอธิบายจุดมุ่งหมายของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 3 จงอธิบายหลักการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 4. จงอธิบายรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน บทที่ 3 วิธีการสอน เนื้อหาในการสอน 1. ความหมายของวิธีสอน 7. วิธีสอนแบบแก้ปัญหาหรือแบบวิทยาศาสตร์ 2. ประเภทของวิธีสอน 8. วิธีสอนโดยใช้บทบาทสมมุติ 3. วิธีสอนแบบบรรยาย 9. วิธีสอนแบบศูนย์การเรียน 4. วิธีสอนแบบสาธิต 10. การสอนแบบบันได 5 ขั้น 5. วิธีสอนแบบอภิปราย 11. การสอนแบบบันได 6 ขั้น 6. วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม 12. เกณฑ์การพิจารณาเลือกใช้วิธีสอน กิจกรรมก่อนเรียน (เก็บคะแนน) แบ่ ง กลุ ่ ม กลุ ่ ม ละ 4 คน และให้ ห าวิ ธ ี ก ารสอนที ่ เ หมาะสมกั บ รายวิ ช า ภาษาไทยอย่างน้อยกลุ่มละ 2 วิธีการ (ห้ามซ้ำกัน) พร้อมทั้งบอกข้อดีและข้อจำกัด ของวิธีการสอนประเภทนั้น ๆ และออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน ความหมายของวิธีสอน ทิศนา แขมมนี (2555) ให้ความหมายไว้ว่า วิธ ีสอน คือ ขั้นตอนในการ ดำเนินการสอนให้สำเร็จด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่แตกต่างกันไปตามองค์ประกอบและ ขั้นตอนสำคัญอันเป็นลักษณะเฉพาะ หรือลักษณะเด่นที่ขาดไม่ได้ของวิธีนั ้น ๆ ประเภทของวิธีสอน 1. วิธีสอนแบบครูศูนย์กลาง (Teacher-centered Method) 2. วิธีสอนแบบนักเรียนเป็นศูนย์กลาง (Student-centered Method) **** ไม่มีวิธีสอนใดที่ดีที่สุด แต่ครูผู้สอนต้องเลือกวิธีสอนที่เหมาะสมกับรายวิชา กิจกรรมการเรียนการสอน และผู้เรียน วิธีการสอนแบ่งออกได้หลายประเภท เช่น สอนแบบบรรยาย สอนแบบสาธิต สอนแบบอภิปราย สอนแบบแบ่งกลุ่มทำ สอนแบบแก้ปัญหาหรือ สอนแบบสืบสวน กิจกรรม แบบวิทยาศาสตร์ สอบสวน สอนโดยใช้บทบาท สอนโดยใช้สถานการณ์ สอนแบบศูนย์การเรียน สมมุติ จำลอง การสอนแบบบันได 5 ขั้น การสอนแบบบันได 6 ขั้น วิธีสอนแบบบรรยาย เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนพูด อธิบาย เนื้อหาหรือเรื่องราวต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียน โดย ที่ผู้สอนเป็นฝ่ายเตรียมการศึกษาค้นคว้าเนื้อ เรื่องมาแล้วเป็นอย่างดี ผู้เรี ยนเป็นฝ่าย มารับผลการศึกษาค้นคว้านั้น โดยทั่วไปมักจะเป็ นการสื่อความหมายทางเดียว คื อ จากผู้สอนไปสู่ผู้เรียน โดยผู้เรียนจะมีส่วนร่ วมในกิจกรรมการเรียนการสอนน้อย เพียงแต่ฟังจดบันทึกหรือซักถามบางครั้ง วิธีสอนแบบนี้จะยึดบทบาทของผู้สอนเป็น หลักสำคัญ ความมุ่งหมาย 1. เพื่อให้ความรู้หรือประสบการณ์ใหม่แก่ผู้เรียน เป็นความรู้ที่ค้นคว้าหาได้ ยากหรือเป็นประสบการณ์เฉพาะของผู้สอนเอง 2. เพื่อช่วยนำทางในการอ่านหนังสือของผู้เรียน และช่วยสรุปประเด็นสำคัญ ในกรณีที่ผู้สอนมอบหมายให้ไปอ่านมาล่วงหน้าแล้ว 3. เพื่อมุ่งถ่ายทอดความรู้ให้ผู้เรียนได้อ ย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยในเวลาอัน จำกัด ข้อดีและข้อจากัดของวิธีการสอนแบบบรรยาย ข้อดี 1. สามารถสอนกับผู้เรียนจำนวนมากได้ เป็นการประหยัดพลังงาน และเวลาของผู้สอน 2. สะดวกในการให้เนื้อหาทางทฤษฎีแก่ผู้เรียน 3. ผู้สอนสามารถดำเนินการคนเดียวได้ 4. สามารถที่จะปรับปรุงเนื้อหา วิธีการให้เหมาะสมกับผู้ฟัง เวลา และองค์ประกอบอื่น ๆ ได้ ดีกว่าวิธีอื่น 5. สามารถสรุปเนื้อหาจากที่ต่าง ๆ เข้าเป็นกลุ่มก้อนได้ง่าย 6. ผู้เรียนไม่ต้องทำงานมาก และรับรู้เรื่องที่เรียนตรงกันและพร้อมกัน 7. ให้ความรู้แก่ผู้เรียนได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ได้เนื้อหามาก กว้างขวาง และเที่ยงตรง ข้อจากัด 1. การบรรยายไม่คำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียน เพราะผู้ต้องรับและรู้เรื่องเดียวกันเวลา เดียวกัน 2. ผู้เรียนไม่มีโอกาสแสดงความคิดเห็น (บางครั้งมีได้บ้างแต่น้อย) ทำให้ขาดโอกาสในการฝึก ความคิดวิเคราะห์ 3. การบรรยายที่ดีต้องอาศัยทักษะและเทคนิคการพูดที่เร้าความสนใจ ซึ่งไม่สามารถทำได้ ทุก ๆ คน 4. ส่งเสริมให้ผู้เรียนจด ท่องจำ มากกว่าการศึกษาด้วยตนเอง 5. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนน้อย ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย หมดความสนใจได้ง่าย 6. ใช้ได้เหมาะสมดีเฉพาะผู้เรียนระดับอุดมศึกษา ซึ่งมีสมาธิ และความสนใจฟังบรรยายได้นาน กว่านักเรียน การนาวิธีสอนแบบรรยายไปใช้ 1. ใช้การสอบแบบบรรยายร่วมวิธีการสอนอื่นได้ เช่น ใช้การบรรยายคู่กับการอภิปราย การบรรยายกับการสาธิต 2. ใช้ทักษะการสอนหลายๆ แบบเพื่อเสริมการบรรยายให้น่าสนใจ เช่น ใช้ท่าทาง การใช้คำถาม การเสริมกำลังใจ 3. ควรมีเอกสารเติมเพื่อขยายความรู้ให้กว้างขวางกว่าที่ครูบรรยายหรืออาจเป็นหัวข้อประเด็นสำคัญ 4. ควรให้ผู้เรียนเกิดความพร้อมในการฟังเสียก่อน และควรใช้เทคนิคการจูงใจ เร้าความสนใจให้เหมาะสม 5. ควรใช้วิธีการบรรยาย เมื่อ... เมื่อต้องการเสนอข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป หรือข้อมูลที่ไม่ต้องการพิสูจน์อะไรมากนัก เมื่อต้องการให้ผู้เรียนได้รู้เนื้อหาสาระของบทเรียนตามขั้นตอนของหลักสูตรแต่มีเวลาจำกัด เมื่อต้องการให้ผู้เรียนได้รับความรู้พื้นฐานที่ผู้เรียนยังไม่เคยได้เรียนหรือเคยรับรู้มาก่อน เมื่อต้องการสรุปบทเรียนหรือสิ่งที่ได้ศึกษาค้นคว้ามาแล้ว เมื่อต้องการจะทบทวนบทเรียนที่ได้เรียนไปแล้วให้แก่ผู้เรียน วิธีการสอนแบบสาธิต เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง อาจเป็นวิทยากรที่ผู้สอนเชิญมา แสดงหรือกระทำให้ดูเป็นตัวอย่างพร้อม ๆ กับการบอก อธิบาย เพื่อให้ผู้เรียนได้ ประสบการณ์ตรงในเชิงรูปธรรม ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการสังเกตกระบวนการ ขั้นตอนการสาธิตนั้น ๆ เช่น สาธิตการอ่านออกเสีย งคำควบกล้ำ สาธิตการเขียน พยัญ ชนะ เป็ นต้ น ซึ่ ง เป็ นการสอนที่ ย ึด ผู้ ส อนเป็ น ศู นย์ ก ลางเพราะผู ้ สอนเป็ น ผู้ดำเนินการวางแผน และลงมือปฏิบัติ ผู้เรีย นอาจจะมีส่ว นร่ว มบ้างแต่ก็เพีย ง เล็กน้อย ข้อดีและข้อกาจัดของวิธีสอนแบบสาธิต ข้อดี 1. ประหยัดเวลาการลองผิดลองถูกของนักเรียน และประหยัดวัสดุในการสอนเมื่อ สาธิตให้ดูเป็นหมู่หรือทั้งชั้น 2. นักเรียนสามารถเข้าใจวิธีปฏิบัติได้ดีเพราะเป็นประสบการณ์ตรง มีตัวอย่างให้ดู จับต้องได้ และเห็นขั้นตอนในการปฏิบัติอย่างชัดเจน 3. เป็นการกระตุ้นการเรียนการสอนเพราะเปิดโอกาสให้นักเรียนร่วมกิจกรรม 4. เป็นการฝึกนักเรียนให้ผู้เรียนสังเกต หาเหตุผล และสรุปหลักเกณฑ์ได้ ข้อจากัด 1. ครูควรศึกษาภูมิหลังของนักเรียน และควรให้ความรู้พ้นื ฐานแก่นักเรียนก่อนดำเนินการสาธิต 2. ถ้าใช้กับนักเรียนกลุ่มใหญ่เกินไป ครูควรจะแน่ใจว่านักเรียนทั้งหมดเห็นการสาธิตอย่างทั่วถึง 3. ควรเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมกิจกรรมการสาธิตเท่าที่จะทำได้ 4. ครูควรเตรียม และฝึกทักษะในการแสดงเรื่องที่จะสาธิตให้พร้อม เพราะการสาธิตที่ติดขัด บกพร่องหรือมีอุบัติเหตุ อาจส่งผลเสียต่อการเรียนการสอน 5. โดยปกติการสาธิตจะใช้ควบคู่กับการบรรยายหรืออภิปราย ครูต้องเตรียมเนื้อหาการบรรยาย ให้ถูกต้อง ชัดเจน การนาวิธีการสอนแบบสาธิตไปใช้ 1. ในระหว่างที่ทำการสาธิต ผู้สอนต้องเอาใจใส่ต่อผู้เรียนทุกคน เพื่อให้ผู้เรียนทุกคนได้เห็น และสนใจการสาธิต 2. ถ้าผู้สอนเป็นผู้สาธิตเอง ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม เช่น ให้ผู้เรียน ออกมาแสดง หรือสาธิตบ้างเพื่อประเมินความเข้าใจ 3. ระหว่างที่ทำการสาธิต ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถามเพราะอาจมีบางจุดหรือบางตอน ที่ผู้เรียนสงสัย 4. ผู้สอนควรมั่นใจว่าการสาธิตนั้นๆ มีประโยชน์ต่อผู้เรียน 5. ในระหว่างการเรียนการสอนด้วยวิธีการสาธิต ผู้สอนไม่ควรบรรยายหรืออธิบายมาก จนเกินไปเพราะจะทำให้การสาธิตขาดความตื่นเต้นเร้าใจไป 6. ผู้สอนไม่ควรเร่งการสาธิตมากเกินไปจนทำให้ผู้เรียนตามไม่ทัน วิธีการสอนแบบอภิปราย เป็นวิธีสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนได้มีโอกาสสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือ พิจารณาหัวข้อที่กลุ่มมีความสนใจร่วมกัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหาคำตอบแนวทาง หรือเพื่อแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งร่วมกัน วิธีสอนแบบอภิปรายเป็นวิธีสอนแบบที่ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน มีลักษณะการเรียนรู้แบบกระตือรือร้น (Active Learning) เป็นการพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านความรู้ ด้านเจตคติ และด้านทักษะการ เรียนรู้ เช่น ทักษะการคิด การพูด การรับฟัง การแสดงความคิดเห็น การทำงาน ร่วมกับกลุ่ม เป็นต้น ความมุ่งหมาย 1. เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นร่วมกันเป็นการพัฒนาทักษะ การพูดและการคิด 2. เพื่อฝึกการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ฝึกการเป็นผู้นำ ผู้ตาม การรับฟังความ คิดเห็นของผู้อื่น และการเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่ม 3. เพื่อฝึกการค้นคว้าหาความรู้มาเพื่ออภิปรายให้ผู้อื่นรับทราบ ข้อดีและข้อจากัดของวิธีสอนแบบอภิปราย ข้อดี 1. ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และฝึกการ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น 2. ฝึกนิสัยความรับผิดชอบ การศึกษาค้นคว้าข้อมูลความรู้จากแหล่งต่าง ๆ 3. ส่งเสริมความกล้าคิด กล้าพูด กล้าตัดสินใจ กล้าแสดงออก 4. ฝึกความเป็นประชาธิปไตย เคารพสิทธิ และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 5. ผู้เรียนได้รับความรู้กว้างขวาง และได้รับประสบการณ์ตรงจากการเรียน 6. ผู้เรียนไม่เบื่อหน่ายในการเรียนเพราะเป็นผู้ปฏิบตั ิกิจกรรมตลอดการเรียน 7. ช่วยให้ผู้สอนรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคลดีขึ้น ทำให้ผู้สอนรู้ว่าใครกล้าพูด ใครสนใจ ตั้งใจ ข้อจากัด 1. ผู้เรียนบางส่วนที่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นจะไม่เกิดการเรียนรู้เท่าที่ควร 2. ต้องใช้ระยะเวลานานถ้าจะให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นอย่างทั่วถึง 3. ผู้เรียนต้องมีความรู้ ความเข้าใจ มีข้อมูลในเรื่องที่จะอภิปราย การนาวิธีสอนแบบอภิปรายไปใช้ 1. ผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นให้มาก 2. ผู้สอนควรเป็นผู้มีใจกว้าง มีน้ำใจเป็นประชาธิปไตย ยอมรับความคิดเห็นที่ได้จากการอภิปราย 3. ควรให้ผู้เรียนได้มีความพร้อมก่อนการอภิปราย โดยให้หาข้อมูลมาก่อนล่วงหน้า 4. ผู้สอนควรกำหนดหัวข้อหรือประเด็นการอภิปรายให้ชัดเจน และสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ 5. ขณะที่ผู้เรียนอภิปราย ผู้สอนควรเก็บรายละเอียดเพื่อนำมาสรุปบทเรียน วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทากิจกรรม เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนมอบหมายให้ผู้เรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ช่วยกัน ค้นคว้าหรือทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ เพื่อช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ในบทเรียนยิ่งขึ้น ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้ ดีเพราะได้ลงมือปฏิบัติงานด้ว ยตนเอง ความมุ่งหมาย 1. เพื่อฝึกทักษะการค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งวิทยาการต่าง ๆ 2. เพื่อฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่นจนเกิดทักษะกระบวนการกลุ่ม สามารถนำไปใช้เป็น ประโยชน์ในชีวิตได้ 3. เพื่อฝึกคุณลักษณะนิสัยผู้เรียน เช่น ความรับผิดชอบในการทำงาน ความมีระเบียบ วินัย ความตรงต่อเวลา ความซื่อสัตย์ ความมีน้ำใจ ฯลฯ 4. เพื่อฝึกทักษะการพูด การคิด การเขียนรายงาน การวิเคราะห์ การสรุป ฯลฯ 5. เพื่อฝึกความกล้าในการแสดงออก ข้อดีและข้อจากัดของวิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทากิจกรรม ข้อดี 1. ผู้เรียนได้ฝึกการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ฝึกหน้าที่ การเป็นผู้นำ ผู้ตาม ฝึกการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ฝึกการทำงานอย่างเป็นระบบ ฝึกความสามัคคี ฯลฯ 2. ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิด ค้นคว้า หาข้อมูลความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ด้วย ตนเอง ฝึกการเขียนรายงาน และฝึกการพูดเสนอผลงานต่อที่ประชุม 3. ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถ ความถนัด และความสนใจของ ผู้เรียนแต่ละคน 4. ผู้เรียนเรียนด้วยความกระตือรือร้น (Active Learning) เพราะได้ลงมือ ปฏิบัติกิจกรรมตลอดเวลา 5. วิธีนี้ผู้สอนสามารถใช้ประกอบการสอนได้ทุกวิชาที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้าด้วยตนเอง 6. ทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีในเวลาอันจำกัด เพราะผู้เรียนได้ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ข้อจากัด ถ้าผู้สอนไม่เตรียมขั้นตอนการสอน ไม่เตรียมสื่อการเรียนการสอน ไม่เตรียม งานมอบหมายมาอย่างกระจ่างชัดเจน ความสำเร็จของการสอนจะไม่บรรลุตาม เป้าหมาย การนาวิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทากิจกรรมไปใช้ 1. ผู้สอนต้องเตรียมการสอนและมอบหมายงานให้ผู้เรียนอย่างเหมาะสมกับวัย ความสามารถ เวลาเรียน 2. งานที่ม?

Use Quizgecko on...
Browser
Browser