ASEAN UPDATED PDF
Document Details
Tags
Summary
This document provides a summary of the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN). It covers the historical context of ASEAN's founding, key figures, general information, and the challenges ASEAN faces. It also includes information on the structure and future of ASEAN.
Full Transcript
-Updated- อาเซียน (ASEAN) : ภูมหิ ลังโดยสังเขปและประเด็นสำคัญ 1. บริบทของการก่อตั้ง อาเซียนก่อตั้งขึ้นในท่ามกลางสงครามเย็น (Cold War) การแข่งขันทางภูมิรัฐศาตร์ และทางอุดมการณ์ระหว่างค่ายตะวันตกที่เรียกตนเองว่า ‘โลกเสรี’ (Free World) นำโดยสหรัฐฯ กับ ค่ายคอมมิวนิสต์หรื...
-Updated- อาเซียน (ASEAN) : ภูมหิ ลังโดยสังเขปและประเด็นสำคัญ 1. บริบทของการก่อตั้ง อาเซียนก่อตั้งขึ้นในท่ามกลางสงครามเย็น (Cold War) การแข่งขันทางภูมิรัฐศาตร์ และทางอุดมการณ์ระหว่างค่ายตะวันตกที่เรียกตนเองว่า ‘โลกเสรี’ (Free World) นำโดยสหรัฐฯ กับ ค่ายคอมมิวนิสต์หรือ “Soviet Bloc” นำโดยสหภาพโซเวียต (Union of Soviet Socialist Republics-USSR) ก่อนการก่อตั้งอาเซียน ได้มีการตั้งองค์การ SEATO (Southeast Asia Treaty Organization) ในปี พ.ศ. 2497/1954 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย “Containment” ของสหรัฐฯ เพื่อสกัดกั้นและปิดล้อมค่ายสหภาพโซเวียต มีสมาชิก 8 ประเทศ คือ ไทย สหรัฐฯ ฟิลิปปินส์ ปากีสถาน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อังกฤษ และฝรั่งเศส และมีสำนักเลขาธิการตั้งอยู่ในประเทศไทย ต่อมามีการตั้งสมาคม ASA (Association of South-East Asia; ASA) เมื่อปี 2504 สมาชิกประกอบด้วย ไทย สหพันธรัฐมาลายา ฟิลิปปินส์ แต่ล้มเลิกในปี 2506 จากปัญหาระหว่าง มาลายากับฟิลิปปินส์เกี่ยวกับการอ้างสิทธิ์เหนือบอร์เนียวเหนือและ Sabah ในปี 2506 มีการเสนอตั้ง มาฟิลินโด (MAPHILINDO) มีสมาชิกคือมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย แต่ไม่ได้ดำเนินการสำคัญใด เนื่องจาก “นโยบาย เผชิญหน้า” (Konfrontasi) ของ ประธานาธิบดีซูการ์โนของอินโดนีเซียทีต่ ่อต้านการตั้งสหพันธรัฐมาเลเซีย อาเซียนเกิดขึ้นท่ามกลางสงครามตัวแทน (Proxy War) ระหว่างทั้งสองค่ายใน เวียดนาม ทำให้ 5 ประเทศ (อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย) หวั่นเกรงภัยคุกคาม จากคอมมิวนิสต์ กังวลต่อภัยจากจีนและโซเวียตที่สนับสนุนขบวนการ/พรรคคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค เกรงว่าตนจะกลายเป็นคอมมิวนิสต์ตาม “ทฤษฎีโดมิโน” และกังวลต่อสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงและ ความไม่แน่นอนสูง จึงร่วมกันก่อตั้งอาเซียนเพื่อต้านภัยคุกคามจากภายนอก แก้ไขปัญหาภายใน ระหว่างสมาชิก และป้องกันการแทรกแซงของอำนาจจากนอกภูมิภาค (ในช่วงปี 2509/1966 ก่อนการตั้งอาเซียน สหรัฐฯ ใช้ไทยและฟิลิปปินส์เป็นฐาน โจมตีประเทศเพื่อนบ้าน ในสงครามเวียดนาม หรือ “สงครามอินโดจีนครั้งที่ 2” ซึ่งกระทบสหภาพโซ เวียต จีน และ เวียดนามเหนือ ขณะที่ทั้ง 5 ประเทศไม่แน่ใจว่าสหรัฐฯ จะปกป้องตนตลอดไป กอปร กับในภูมิภาคมีความขัดแย้งหวาดระแวงกัน เช่น มีข้อพิพาทดินแดนระหว่างมาเลเซียกับฟิลิปปินส์ เกี่ยวกับ Sabah ความขัดแย้งระหว่างอินโดนีเซียกับมาเลเซียเกี่ยวกับเกาะบอร์เนียว (Kalimantan) โดยประธานาธิบดี Sukarno ของอินโดนีเซียใช้นโยบายเผชิญหน้า ‘Konfronstasi’ กับมาเลเซีย 2 (1963-1966) จนเกิดการสู้รบกัน นอกจากนั้น ยังมีปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างสิงคโปร์กับมาเลเซีย และระหว่างสิงคโปร์กับอินโดนีเซีย เป็นต้น) กล่าวได้ว่า อาเซียนเกิดจากเหตุผลด้านการเมืองและความมั่นคงเป็นหลัก แม้จะไม่ได้ระบุโดยตรงเช่นนั้น แต่อาเซียนก็ได้ทำเรือ่ งการเมือง พูดเรื่องการเมืองและความมั่นคงมา โดยตลอด อาเซียน มีข้อจำกัดอยู่มาก แต่ยืนยงดำรงอยู่ได้ด้วย sense of regionalism และ วัฒนธรรมองค์กร และวัฒนธรรมการเมืองแบบอาเซียน โดยอาเซียนไม่ได้ต้องการเป็น supranational organization ที่มีการบูรณาการในแบบ EU และเชื่อว่า ASEAN Way และ ASEAN characters ช่วยให้มี flexibility และ resilience 2. ข้อมูลทั่วไป การประชุม เพื่อหารือเรื่องการตั้งอาเซียนของ 5 ประเทศจัดที่บ้านแหลมแท่น เขาสาม มุก จังหวัดชลบุรี ระหว่าง 5-6 สิงหาคม 2510 (1967) อาเซียน (ASEAN) หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN : Association of South East Asian Nations) ก่อตัง้ ตามปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Declaration) หรือปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 (1967) วันดังกล่าวถือเป็น ‘วันอาเซียน’ การลงนาม ปฏิญญาฯ จัดที่วังสราญรมย์ (ที่ทำการเดิมของกระทรวงการต่างประเทศ) ผู้ก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย ปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Declaration) เป็นเอกสารที่ประเทศสมาชิกแสดงเจต จำนงร่วมก่อตั้งอาเซียน มิได้ระบุวัตถุประสงค์ของความร่วมมือในด้านการเมืองและ ความมั่นคง แต่ระบุว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อ o ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ และการบริหาร o ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค o เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ พัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค o ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี o ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และ ส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ o เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจน 3 การปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม o เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การภูมิภาคอื่นๆ และ องค์การระหว่างประเทศ ผูล้ งนาม ประกอบด้วย o นายอาดัม มาลิก (Adam Malik) – รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย o ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (Tun Abdul Razak bin Hussein) - รอง นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย o นายนาซิโซ รามอส (Narciso Ramos) – รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์ o นายเอส ราชารัตนัม (S. Rajaratnam) – รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์ o พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ – รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ของไทย การขยายสมาชิก บรูไนฯ เข้าเป็นสมาชิกในปี 2527 เวียดนามในปี 2538 สปป. ลาว และเมียนมาเข้าพร้อมกันในปี 2540 และราชอาณาจักรกัมพูชาในปี 2542 ส่วน ติมอร์-เลสเต อยู่ในกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก ที่ตั้ง สำนักเลขาธิการอาเซียน: กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย สมาชิกปัจจุบัน 10 ประเทศ (บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟลิปปนส์ สิงคโปร ไทย และเวียดนาม) Timor-Leste ถูกรับเข้าเป็นสมาชิก ในหลักการ (2022) และได้รับสิทธิเป็น observer ในการประชุมที่สำคัญ และปาปัว นิวกินี เป็นผู้สังเกตการณ์ (Observer) มาตั้งแต่ปี 1976 ประธานอาเซียน สปป. ลาว (ป 2567) มาเลเซีย (2568) และฟลิปปนส์ (2569) โดย Theme ในการเป็นประธานอาเซียนของ สปป. ลาว คือ “ ASEAN: Enhancing Connectivity and Resilience” ประชากร รวมกันประมาณ 672.39 ลานคน (2565) หรือประมาณ 1 ใน 10 ของโลก GDP รวมกันประมาณ $3.2 trillion ในปี 2022 คำขวัญอาเซียน “หนึ่งวิสยั ทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึง่ ประชาคม” หรือ“One Vision, One Identity, One Community” เลขาธิการอาเซียน เลขาธิการคนแรกคือ Hartono Dharsono ชาวอินโดนีเซีย คนปจจุบัน คือ แกว กึม ฮวน (Dr. Kao Kim Hourn) ชาวกัมพูชา คนไทยที่เคยเป็น เลขาธิการอาเซียน คือ แผน วรรณเมธี และสุรินทร์ พิศสุวรรณ 4 ASEAN Treaty of Amity and Cooperation 1976 (TAC) หรือ Bali Treaty วางหลักการ คือ o Mutual respect for the independence, sovereignty, equality, territorial integrity, and national identity of all nations (การเคารพซึ่งกันและกันในเอกราช อธิปไตย ความเสมอภาค บูรณภาพ แหงดินแดนและเอกลักษณแหงชาติของประชาชาติทั้งปวง) o The right of every State to lead its national existence free from external interference, subversion or coercion (สิทธิของทุกรัฐที่จะนํา ความคงอยูของชาติตนใหปลอดจากการแทรกแซงการบอนทําลายหรือการขู บังคับจากภายนอก) o Non-interference in the internal affairs of one another (การไม่ แทรกแซงในกิจการภายในของกันและกัน) o Settlement of differences or disputes by peaceful manner (การ ระงับขอขัดแยงหรือขอพิพาทโดยสันติวิธี) o Renunciation of the threat or use of force (การเลิกคุกคามหรือใช กําลัง) o Effective cooperation among themselves (ความรวมมือระหวางอัคร ภาคีดวยกันอยางมีประสิทธิผล) ปัจจุบนั สนธิสญ ั ญา TAC มีอัครภาคี 54 ประเทศ (ล่าสุดคือ คูเวต ปานามา เซอร์เบีย เข้าร่วมเมื่อ 4 กันยายน 2566) กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) คือธรรมนูญของอาเซียน ประกอบดวย บทบัญญัติ 13 หมวด 55 ขอ 1) ความมุงประสงคและหลักการของอาเซียน 2) สภาพบุคคลตามกฎหมายของอาเชียน 3) สมาชิกภาพ (รัฐสมาชิก สิทธิและพันธกรณี ของรัฐสมาชิก และการรับสมาชิกใหม) 4) โครงสรางองคกรของอาเซียน 5) องคกรที่มีความสัมพันธกับอาเซียน 6) การคุมกันและเอกสิทธิ์ 7) กระบวนการตัดสินใจ 8) การระงับขอพิพาท 5 9) งบประมาณและการเงิน 10) การบริหารและขั้นตอนการดําเนินงาน 11) อัตลักษณและสัญลักษณของอาเซียน 12) ความสัมพันธกับภายนอก 13) บทบัญญัติทั่วไปและบทบัญญัติสุดทาย กฎบัตรอาเซียน สร้างกลไกการทำงาน คือ o ASEAN Coordinating Council o ASEAN Political-Security Community Council o ASEAN Economic Community Council o ASEAN Socio-Cultural Community Council ส่วนในการตัดสินใจ - Decision Making มีหลักใหญ่คือ การปรึกษาหารือและ ฉันทามติและ (consultation and consensus) หากไม่สามารถหาฉันทามติได้ ให้ที่ ประชุม ASEAN Summit พิจารณาตัดสิน และในกรณีที่มีการละเมิดกฎบัตรอย่าง ร้ายแรงให้ที่ประชุม ASEAN Summit พิจารณาตัดสิน ASEAN Way วิถีอาเซียน คือหลักการที่เป็นแนวทางของอาเซียน ได้แก่การยึดหลัก ความเท่าเทียมกันของอำนาจอธิปไตย (sovereign equality) การไม่แทรกแซงกัน (Non-Interference) การไม่รุกรานกัน (Non-aggression) การตัดสินใจด้วยฉันทามติ (consensus) และการแก้ไขปัญหาโดยสันติ (peaceful settlement) นอกจากนั้น อาเซียนนิยมใช้การทูตแบบ behind the scene หรือ Quiet Diplomacy ในการ แก้ไขปัญหาแหลมคมละเอียดอ่อน โดยมีวัฒนธรรมในการปรึกษาหารือ (consultation) การมี dialogue การไม่เผชิญหน้า (non-confrontation) และใช้ ประโยขน์จากพลัง ‘convening power’ ในการเป็นเวทีแก้ไขคลี่คลายปัญหาของ ภูมิภาค อย่างค่อยเป็นค่อยไป (incremental progress) และ moving at a pace comfortable to all สัญลักษณ์ของอาเซียน (ASEAN Emblem) 6 รวงข้าวสีเหลือง 10 มัด ผูกไว้ด้วยกัน หมายถึง การที่ทั้ง 10 ประเทศรวมกันเพื่อ มิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน อยู่ในพื้นที่วงกลมสีแดง ขอบสีขาวและน้ำ เงินแสดงถึงความเป็นเอกภาพ มีคำว่า “asean” สีน้ำเงินอยู่ใต้ภาพ แสดงถึงความ มุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อความมั่นคง สันติภาพ เอกภาพ และความก้าวหน้า ธงประจำอาเซียน ธงอาเซียน แสดงถึงเสถียรภาพ สันติภาพ ความสามัคคี และพลวัต สีของธง ได้แก่ น้ำเงิน แดง ขาว และเหลือง เป็นสีหลักในธงชาติของประเทศสมาชิก สีนำ้ เงิน แสดงถึงสันติภาพและเสถียรภาพ สีแดง หมายถึงความกล้าหาญและ ความก้าวหน้า สีขาว แสดงความบริสุทธิ์ สีเหลือง หมายถึงความเจริญรุ่งเรือง รวงข้าว แสดงถึงความใฝ่ฝันให้อาเซียนผูกพันกันด้วยมิตรภาพเป็นหนึ่งเดียว วงกลมแสดงถึง เอกภาพของอาเซียน เพลงประจำอาเซียน เพลง “The ASEAN Way” แต่งเนื้อร้องโดยพยอม วลัยพัชรา และแต่งทำนองและเรียบเรียง โดยกิตติคุณ สดประเสริฐ ร่วมกับสำเภา ไตรอุดม ดอกไม้ประจำชาติสมาชิกอาเซียน o ไทย ดอกราชพฤกษ์ หรือดอกคูณ o กัมพูชา ดอกลำดวน o ลาว ดอกจำปา/ลีลาวดี 7 o เมียนมา ดอกประดู่ o เวียดนาม ดอกบัว o สิงคโปร์ แวนด้า o มาเลเซีย พู่ระหง/ชบาแดง o บรูไนฯ ดอก Simpor ดอกส้านชวา o อินโดนีเซีย กล้วยไม้ราตรี o ฟิลิปปินส์ ดอกพุดแก้ว การประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) เป็นการประชุมของประมุขหรือ หัวหน้ารัฐบาล ซึ่งประธานอาเซียนเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม 2 ครั้งต่อปีหรือเรียก ประชุมพิเศษหรือเฉพาะกิจเมื่อมีความจำเป็น (ไทยเป็นประธาน ASEAN Summit ครั้งแรกในปี 2538 ล่าสุดในปี 2562) โดย ASEAN Summit จัดครั้งแรกที่บาหลี อินโดนีเซียในปี 2519/1976 สำนักเลขาธิการอาเซียน อยูท่ ี่กรุงจาการ์ตา เป็นหน่วยงานกลางถาวรของอาเซียน โดยมีเลขาธิการอาเซียนเป็นหัวหน้า และมีเจ้าหน้าที่ประจำรับผิดชอบงานเลขานุการ ของอาเซียน (ปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่รวมมากกว่า 400 คน) เลขาธิการอาเซียน แต่งตั้งโดยที่ประชุม ASEAN Summit มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปีโดยไม่มีการต่ออายุ คัดเลือกจากคนชาติประเทศสมาชิก หมุนเวียนกันไปตาม ตัวอักษรของชื่อประเทศในภาษาอังกฤษ และมีรองเลขาธิการ 4 คน สำนักงานอาเซียนแห่งชาติ (ASEAN National Secretariat) เป็นหน่วยงานระดับ กรมในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิก ASEAN Community ประชาคมอาเซียน 8 ASEAN Economic Community (AEC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีสาขาเร่ง การรวมตัว 12 สาขา ได้แก่ การทองเที่ยว สินคาเกษตร สินคาประมง ยานยนต ผลิตภัณฑไม ยาง สิ่งทอ การบิน อิเล็กทรอนิกส เทคโนโลยีสารสนเทศ สุขภาพ และ logistics Dialogue Partners ประเทศคู่เจรจา มี 11 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ รัสเซีย สหรัฐฯ อังกฤษ และ EU (ออสเตรเลีย เป็นประเทศคู่เจรจาประเทศแรกของอาเซียน) Sectoral Dialogue Partners ของอาเซียนมี 8 ประเทศ ได้แก่ บราซิล, โมร็อกโก, นอร์เวย์, ปากีสถาน, แอฟริกาใต้, สวิตเซอร์แลนด์, Türkiye และ UAE Development Partners ของอาเซียน 6 ประเทศ ได้แก่ ชิลี ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ และเปรู Comprehensive Strategic Partnership (CSP) มีกับ 5 ประเทศ ได้แก่ o ออสเตรเลีย o จีน o อินเดีย o ญี่ปุ่น o สหรัฐฯ o คาดว่า เกาหลีใต้จะได้รับ CSP ในปี 2568 Master Plan on ASEAN Connectivity (MPAC) คือแผนแม่บทด้านความ เชื่อมโยงของอาเซียน ประกอบด้วยความเชื่อมโยงด้าน infrastructure ด้าน กฎระเบียบ และด้านประชาชน ASEAN Centrality หมายถึงการที่อาเซียนเปนแกนกลางของระบบความสัมพันธ และระเบียบภูมิภาค โดยอาศัย ASEAN-led mechanism และ ‘convening power’ เป็นเครื่องมือสร้างความเป็นแกนกลาง ASEAN Centrality ปรากฏเด่นชัดครั้งแรกใน ASEAN Charter 2008 ในความมุ่ง ประสงค์ข้อที่ 15 ว่า “เพื่อธำรงไว้ซึ่งความเป็นแกนกลางและบทบาทเชิงรุกของ อาเซียนในฐานะพลังขับเคลื่อนหลักในความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างอาเซียน 9 กับหุ้นส่วนภายนอกภูมิภาค...” อย่างไรก็ตาม นิยามของ ASEAN Centrality มีความ หลากหลาย ซึ่งรวมถึง o อาเซียนแสดงบทบาทความเป็นศูนย์กลาง (Central Role) ในปฏิสัมพันธ์กับ ประเทศในเอเชีย-แปซิฟิก เป็นศูนย์กลางของเครือข่าย ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศในภูมิภาค o การมี Leader Role/Driver Seat ในปฏิสัมพันธ์กับประเทศ ในภูมิภาคเอเชีย- แปซิฟิก ใช้ ASEAN-led mechanism ในการจัดการประเด็นปัญหา เช่น ASEAN+1, ASEAN+3, ARF, EAS, ADMM plus เป็นต้น o อาเซียนเป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) ในปฏิสัมพันธ์กับประเทศใน ภูมิภาค เป็น “จุดนัดพบ” (Meeting Places) ระหว่างมหาอำนาจ รัฐขนาด กลาง รัฐขนาดเล็กในเอเชีย-แปซิฟิก o อาเซียนเป็นจุดเชื่อมต่อ (Hub or Node) ในปฏิสัมพันธ์กับประเทศในภูมิภาค เป็น platform ในการสร้างเครือข่ายเชื่อมต่อระหว่างประเทศต่าง ๆ ASEAN-led Mechanism หมายถึง ▪ ASEAN+1 คือกรอบการเจราจาหารือระหว่างอาเซียนกับอีกประเทศนอก อาเซียน เช่น เจราจากับจีนในปัญหาทะเลจีนใต้ และการหารือกับมหาอำนาจ เช่น สหรัฐฯและกับญี่ปุ่น และอินเดีย เป็นต้น ▪ ASEAN +3 คือกรอบการเจราจาหารือระหว่างอาเซียน กับจีน ญี่ปุ่นและ เกาหลีใต้ ▪ ASEAN+6 คือกรอบการเจราจาหารือระหว่างอาเซียน กับจีน ญี่ปุ่นและ เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ▪ ASEAN Regional Forum (ARF) มีสมาชิก 26 ประเทศ +EU ประกอบด้วยอาเซียน 10 + Australia, Canada, China, European Union, India, Japan, South Korea, North Korea, Mongolia, New Zealand, Pakistan, Papua New Guinea, the Russian Federation, United States เป็นต้น โดยหลักการสำคัญของ ARF คือ Confidence Building Measures (CBMs) และการทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy) ▪ East Asia Summit (EAS) หรืออาเซียน+8 (อาเซียน และจีน ญี่ปุน เกาหลี ใต อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด สหรัฐ และ รัสเซีย) 10 ▪ ADMM Plus คือที่ประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน+8 (อาเซียน และจีน ญี่ปุน เกาหลีใต อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด สหรัฐ และ รัสเซีย) ASEAN Outlook on the Indo Pacific 2019 (AOIP) เป็นเอกสารแสดงทัศนะของอาเซียนต่อสภาวะการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ของ มหาอำนาจในอินโด-แปซิฟิก โดยอาเซียนจะไม่เลือกข้าง และใช้ ASEAN-led mechanism ในการแก้ปัญหา AOIP วางทิศทางความร่วมมือของอาเซียนกับภายนอกในอินโด-แปซิฟิกในจุดเน้น 4 ด้าน ได้แก่ “maritime cooperation; connectivity; sustainable development goals; and economic and other development” AOIP ถูกวิจารณ์ว่า ไม่มีความก้าวหน้าในทางปฏิบัติ ซึ่งต่อมาในปี 2565 อาเซียนได้ ออกเอกสาร ASEAN Declaration on Mainstreaming the AOIP เพื่อหวัง ขับเคลื่อนการดำเนินการภายใต้ AOIP โดยร่วมมือกับจีน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย และ EU เป็นต้น 3. Timeline เหตุการณ์สำคัญหลังการก่อตั้งอาเซียน พ.ศ. 2514 จัดทำปฏิญญากำหนดให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้เป็นเขตแห่ง สันติภาพเสรีภาพ และความเป็นกลาง (Zone of Peace, Freedom, and Neutrality : ZOPFAN) ระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศที่กัวลาลัมเปอร์ พ.ศ. 2517 ออสเตรเลียเป็น Dialogue Partner ประเทศแรกของอาเซียน พ.ศ. 2518 นิวซีแลนด์เข้าเป็น Dialogue Partner ลำดับที่ 2 ของอาเซียน พ.ศ. 2519 มีจัดประชุม ASEAN Summit เป็นครั้งแรกที่ Bali มีการประกาศ “ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน” (The Declaration of ASEAN Concord/ Bali Concord I) การจัดทำสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในภูมิภาค เอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation : TAC) และความตกลง ว่าด้วยการจัดตั้งสำนักเลขาธิการอาเซียน พ.ศ. 2520 มีการประชุม ASEAN Summit ครั้งที่ 2 ที่กัวลาลัมเปอร์ และในปีนี้ EU เป็น Dialogue Partner อย่างเป็นทางการของอาเซียน 11 พ.ศ. 2530 มีการประชุม ASEAN Summit ครั้งที่ 3 ที่มะนิลา ปฏิญญามะนิลา (Manila Declaration 1987) ยืนยันความสําคัญของการรวมตัวของอาเซียนทั้งทาง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม พ.ศ. 2532 อาเซียนผลักดันใหเวียดนามถอนทหารออกจากกัมพูชา พ.ศ. 2534 ลงนามความตกลงกรุงปารีส ยุติปัญหากัมพูชา พ.ศ. 2535 อาเซียนโดยการผลักดันของประเทศไทยลงนามจัดตั้งเขตการค้าเสรี อาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA) มีการจัดทํา ASEAN Declaration on the South China Sea พ.ศ. 2537 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้าน การเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค เอเชีย - แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum : ARF) ครั้งแรกที่กรุงเทพฯ พ.ศ. 2538 จัดทำสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ (Treaty on the Southeast Asia Nuclear Weapon - Free Zone : SEANWFZ) หรือ Bangkok Treaty พ.ศ. 2540 ผู้นำอาเซียนรับรองเอกสารวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 (ASEAN Vision 2020) ระหว่างการประชุมที่กัวลาลัมเปอร์ พ.ศ. 2541 จัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน (ASEAN Investment Area : AIA) ซึ่งต่อมา ครอบคลุมความร่วมมือด้านการค้าและบริการ มีเป้าหมายให้มีการเปิดเสรีครอบคลุม ทุกสาขาบริการภายในปี พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2543 อาเซียนจัดตั้ง Chiangmai Initiative ร่วมกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เพื่อ สนับสนุนการเงินแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจในภูมิภาค (ต่อมาพัฒนาเป็น Chiangmai Initiative Multilateralization- CMIM) พ.ศ. 2544 มีปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการดำเนินการร่วมกันในการต่อต้านการก่อการ ร้าย (ASEAN Declaration on Joint Action to Counter Terrorism) พ.ศ. 2545 อาเซียนกับจีนจัดทํา Declaration on the Conduct of Party in the South China Sea หรือ DOC เปนปฏิญญาแรกกับจีนในเรื่องทะเลจีนใต้ พ.ศ. 2546 ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 9 ที่บาหลี ผู้นำอาเซียนลงนามใน ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ฉบับที่ 2 (Declaration of ASEAN Concord II 12 หรือ Bali Concord II) เห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ภายในปี 2563 ประกอบด้วย ▪ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ▪ ประชาคมการเมืองและความมั่นคง (ASEAN Security Community) ▪ ประชาคมทางสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community) พ.ศ. 2550 ในการประชุมสุดยอดอาเซียนที่เซบู ฟิลิปปินส์ ที่ประชุมมี Cebu Declaration ตกลงให้เร่งรัดสร้างประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 (2015) และผู้นำ อาเซียนได้รับรองกฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) ระหว่าง ASEAN Summit ครั้ง ที่ 13 ที่สิงคโปร์ (ครบรอบ 40 ปีของอาเซียน) พ.ศ. 2551 กฎบัตรอาเซียนมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2551 พ.ศ. 2552 มีปฏิญญา Cha am-Hua Hin Declaration on the Roadmap for an ASEAN Community พ.ศ. 2553 ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 17 ที่กรุงฮานอย ผู้นําอาเซียนได้ให้ การรับรองแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน เพื่อเร่งรัดการ เชื่อมโยงในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านกฎระเบียบ และด้านประชาชน พ.ศ. 2554 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในปฏิญญาบาหลีว่าด้วยประชาคมอาเซียนใน ประชาคมโลก หรือ ปฏิญญาบาหลี 3 (Bali Concord III) แสดงวิสัยทัศน์หลังเป็น ประชาคมอาเซียนในปี 2015 โดยคงความเป็นแกนกลางของอาเซียนในความสัมพันธ์ กับภายนอก พ.ศ. 2555 เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2555 ผู้นำอาเซียนได้ให้การรับรองปฏิญญา อาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน พ.ศ. 2555 มีการลงนาม ASEAN Agreement on the Movement of Natural Person อนุญาตให้มีการเคลื่อน ย้าย Business Visitor) และ Intra - Corporate Transferee) ครอบคลุมบุคลากรใน 25 สาขา อาทิ บริการวิศวกรรม บริการ คอมพิวเตอร์ บริการวิจัยและการพัฒนา บริการด้านการเงิน บริการด้านโทรคมนาคม บริการด้านสุขภาพ และบริการด้านโรงแรม เป็นต้น พ.ศ. 2556 เริ่มเจรจา Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP) ซึ่งต่อมากลายเป็น FTA ที่ใหญ่ที่สุดในโลก พ.ศ. 2558 อาเซียนกลายเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) พ.ศ. 2563 ทุกประเทศอาเซียนลงนามใน Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP) 13 พ.ศ. 2565 รับ Timor-Leste เข้าเป็นสมาชิกในหลักการ 4. ประเด็นท้าทายที่สำคัญในปัจจุบัน ปัญหาเอกภาพ Unity of ASEAN อาเซียนมีปญหาในเรื่องความเปนเอกภาพใน การแสดงจุดยืน หรือการตัดสินใจรวมกัน หลายครั้งอาเซียนไมสามารถพูดเป็นเสียงเดียวกันได โดยเฉพาะในภาวะที่อาเซียนกำลังตกอยู่ท่ามกลางโลกแบบ Multipolarity และการแข่งขันช่วงชิง อำนาจอิทธิพลที่เรียกว่า Great Power Competition/Strategic Competition ระหว่างจีนกับ สหรัฐฯ ซึ่งแต่ละประเทศอาเซียนมีท่าที มีแนวทาง และการจัดลำดับความสำคัญและผลประโยชน์ใน ความสัมพันธ์กับมหาอำนาจทั้งสองฝ่ายแตกต่างกัน (แม้ทั้งจีนและสหรัฐฯ ต่างมีสถานะ Comprehensive Strategic Partnership -CSP ของอาเซียน) เช่น ในขณะนี้ กัมพูชา เมียนมา สปป. ลาวมีความใกล้ชิดพึ่งพาจีน ฟิลิปปินส์เพิ่มพูนความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ ด้านความมั่นคงเพื่อ counterbalance จีนในปัญหาทะเลจีนใต้ ส่วนประเทศอื่นๆ ใช้แนวทางที่เรียกว่า “Hedging Strategy” (กระจายความเสี่ยง รักษาสมดุลความสัมพันธ์กับทั้งสองฝ่าย และแยกประเด็น ความสัมพันธ์ในแต่ละเรื่องว่าจะให้น้ำหนักแก่ฝ่ายใด ท่าเรียกว่า Sectoral Hedging หรือ Strategic Hedging เช่น เรื่องเศรษฐกิจให้น้ำหนักแก่จีน เรื่องความมั่นคงเน้นร่วมมือกับสหรัฐฯ เป็นต้น) นอกจากนี้ สมาชิกอาเซียนมีท่าทีแตกต่างกันในประเด็นต่างๆ เช่น ทะเลจีนใต้ (เช่น กัมพูชา สปป. ลาว เมียนมา ไทย ไม่อยากเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ เพราะไม่มีปัญหาในเรื่องนี้) ความสัมพันธ์กับ รัสเซีย ปัญหาปาเลสไตน์ และกาซา ความสัมพันธ์กับอิสราเอล (ความไม่เป็นเอกภาพระหว่างประเทศ อาเซียนที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิสราเอลกับประเทศที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับ อิสราเอล) และปัญหาโรฮิงญาในรัฐยะไข่ในเมียนมา เป็นต้น ปัญหาของวิถีอาเซียน ‘ASEAN Way’ แนวทางในการทำงาน การตัดสินใจตามวิถี อาเซียนในตามหลักการ Consensus และ Non-interference ของ ASEAN Way ถูกวิจารณ์ว่า เป็น อุปสรรคขัดขวาง ทำให้การทำงานและการแก้ไขปัญหาล่าช้า ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เช่น ในการ แก้ไขปัญหาเมียนมา แต่อาเซียนเห็นว่า “จุดอ่อนของอาเซียนคือจุดแข็งของอาเซียน” ซึ่งรวมทั้ง ‘Culture of Consultation’ และการทูตแบบหลังฉาก (behind the scene) หรือการทูตเงียบ (Quiet Diplomacy) ของอาเซียน ASEAN Centrality ความเป็นแกนกลางของอาเซียน อาเซียนมีกลไกที่นำโดย อาเซียน รวมทั้ง ARF, EAS, ADMM+, เป็นเวทีประชุมปรึกษาหารือ แก้ไขปัญหาในภูมิภาคและ ละแวกใกล้ภูมภิ าค เช่น ปัญหาทะเลจีนใต้ คาบสมุทรเกาหลี แต่ปัจจุบันกำลังถูกท้าทายโดยกรอบ กลไกแบบ minilateralism หลากหลาย เช่น QUAD และ AUKUS ทำให้อาเซียนถูกตั้งคำถามว่า มี ความเป็นแกนกลางในการแก้ไขปัญหา ยังเป็น “driver,” เป็น “institutional hub” หรือเป็นจุด 14 “fulcrum” ของการแก้ไขปัญหาในภูมิภาคอยูจ่ ริงเพียงใด แม้ในทางวาทกรรมทั้งสหรัฐฯ และจีนต่าง บอกว่า ตนให้ความสำคัญต่อ ASEAN Centrality ก็ตาม ความแตกต่างหลากหลาย รวมทั้งความแตกต่างในระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศผู้ก่อตั้ง 5 ประเทศ กับประเทศอินโดจีน และเมียนมา ความแตกต่างทางศาสนา และ รูปแบบระบอบการเมืองการปกครอง และบาดแผลทางประวัติศาสตร์ (historical baggage) ที่ยัง ตกค้างทำให้หลายครั้งขาดความไว้เนื้อเชื่อใจ (เช่น ระหว่างไทยกับมาเลเซียในปัญหาจังหวัดชายแดน ภาคใต้) ปัญหาเมียนมา หลังรัฐประหารในเมียนมาในปี 2021 อาเซียนมีฉันทามติ 5 ขอ (Five-Point Consensus-5PC) แต่จนปัจจุบันรัฐบาลเมียนมาไม่ได้ปฏิบัติตามฉันทามติ 5 ขอ (ASEAN Leaders’ Five-Point Consensus -5PC)) ขณะที่อาเซียนเน้นในด้านการช่วยเหลือทาง มนุษยธรรม ผ่าน AHA Center ทำให้กระทบต่อความน่าเชื่อถือของอาเซียน และถูกวิจารณ์ว่า ไม่ สามารถแก้ไขปัญหาในภูมิภาคของตนได้ ทั้งนี้ อาเซียนได้ตั้ง Special Envoy of the ASEAN Chair on Myanmar ด้วย (คนปัจจุบันคือนาย Alounkeo Kittikhoun ของ สปป.ลาว) (ฉันทามติ 5 ข้อ ของอาเซียนเรื่องเมียนมา คือ 1. จะต้องยุติความรุนแรงในเมียนมา โดยทันที และทุกฝ่ายจะต้องใช้ความยับยั้งชั่งใจอย่างเต็มที่ 2. การเจรจาที่สร้างสรรค์ระหว่างทุกฝ่ายที่ เกี่ยวข้องจะเริ่มต้นขึ้น เพื่อหาทางออกอย่างสันติเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน 3. ทูตพิเศษ (Special Envoy) ของประธานอาเซียนจะอำนวยความสะดวกเป็นสื่อกลางของกระบวนการเจรจา โดยความช่วยเหลือของเลขาธิการอาเซียน 4. อาเซียนจะให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมผ่านทาง ศูนย์ประสานงานอาเซียนเพื่อความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมด้านการจัดการภัยพิบัติ- AHA Center และ 5. ทูตและคณะผู้แทนพิเศษจะเดินทางไปเยือนเมียนมาเพื่อพบปะกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง) ปัญหาทะเลจีนใต ประเทศอาเซียน 4 ประเทศ คือ บรูไนฯ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม มีปัญหาอ้างสิทธิ์ในทะเลจีนใต้กับจีน การที่จีนพยายามควบคุมพื้นที่เกือบทั้งหมด ของทะเลจีนใต้ทำให้กระทบความสัมพันธ์กับประเทศเหล่านี้ เช่น ฟิลิปปินส์ มีการกระทบกระทั่งกับ จีนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ประธานาธิบดี Marcos Jr. ขึ้นสู่อำนาจในปี 2022 รวมทั้งบริเวณสั น ดอน Scarborough Shoal และ Second Thomas Shoal ในหมู่ เ กาะ Spratly ขณะที่ เวียดนามมีประเด็นการอ้างสิทธิหมู่เกาะ Paracels และกระทบกระทั่งกับจีนเป็นระยะ (มาเลเซีย อินโดนีเซีย และบรูไนฯ มีประเด็นปัญหากับจีนในเรื่องนี้เช่นกันแต่ระดับของปัญหาและความกังวล น้อยกว่า) o ในปี ในปี 2002 อาเซียนได้ลงนามใน Declaration on the Conduct of Parties 15 in the South China Sea – DOC มีเนื้อหาว่า ในเรื่องทะเลจีนใต้ นั้น ทุกฝ่ายจะยึดมั่นในกฎบัตร สหประชาชาติ อนุสัญญา UNCLOS 1982 และสนธิสัญญา TAC ของอาเซียน แต่ DoC ไม่มีผลผูกพัน และไม่มีผลผูกพันกับจีน o ในปี 2023 อาเซียนได้มีเอกสาร Guidelines for Accelerating the Early Conclusion of an Effective and Substantive Code of Conduct (COC) in the South China Sea last year และขณะนี้ การเจรจาจัดทำ Code of Conduct (CoC) เป็นไปตาม Single Draft COC Negotiating Text (SDNT) โดยการเจรจาเกี่ยวกับ COC เริ่มมาตั้งแต่ปี 2018 5. ปัญหาอื่นๆ ของอาเซียน ประเด็นสำคัญที่อาเซียนถูกวิจารณ์ ได้แก่ o เรื่องเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน รวมทั้งประเด็นเกี่ยวกับชาวโรฮิงญา o ประเด็นเกี่ยวกับประชาธิปไตย และประเด็นปัญหาประชาธิปไตยในประเทศต่างๆ รวมทั้งกัมพูชา และไทย o ปัญหาประสิทธิภาพ ความเชื่องช้า จากระบบฉันทามติและการมุ่งรักษา Status Quo o การขาดสภาพบังคับของข้อมติ ข้อตัดสินใจต่างๆ 16 o ประเด็นการมี relevance ในสถานการณ์ภูมิภาคในระยะปัจจุบัน โดยมีคำถามว่า แนวทางในแบบดั้งเดิมของอาเซียนยังใช้ได้เพียงใดในโลกที่เปลี่ยนไปแล้วและเต็มไป ด้วยปัญหาท้าทายใหม่ๆ ในขณะนี้ 6. แนวโน้มทีน่ ่าติดตามต่อไป การเพิ่มพูนปฏิสัมพันธ์และขยายความร่วมมือกับ Global South การขยายความสัมพันธ์กับประเทศ Middle Power เช่น ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ อินเดีย ญี่ปุ่น เป็นต้น การบริหารจัดการความสัมพันธ์กับมหาอำนาจ และ minilaterals ของมหาอำนาจ เช่น QUAD, SQUAD, AUKUS การจัดทำ ASEAN Community Vision 2045 7. ประโยชน์ที่ไทยได้รับจากอาเซียน อาเซียนเป็นหนึ่งในเสาหลักในการดำเนินโยบายการต่างประเทศของไทย อาเซียนเป็นเวทีที่ ไทยสามารถใช้ในการดำเนินสัมพันธ์กับนานาประเทศและหุ้นส่วนนอกภูมิภาค เป็นกลไกสร้างความไว้ เนื้อเชื่อใจ รักษาสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาค อาเซียนเป็นประโยชน์ต่อไทยในด้านต่างๆ เช่น เป็นเวทีในการปรึกษาหารือ ร่วมกันแก้ไขปํญหา อาเซียนเป็นคู่ค้า และตลาดสำคัญของไทย จึงเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ เพิม่ โอกาสการค้า การลงทุนของไทย ไทยสามารถใช้อาเซียนผลักดันประเด็นที่ต้องการ เพิ่มอำนาจต่อรองในเวทีการเมือง เวทีเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และในการต่อรองกับ มหาอำนาจ เป็นประโยชน์ต่อการเผชิญภัยความมั่นคงรูปแบบใหม่ต่างๆ (non-traditional security threat) เป็นประโยชน์ด้าน physical connectivity เป็นประโยชน์ด้านการเผชิญภัยพิบัติต่างๆ 8. ข้อสังเกต และข้อมูลอื่นๆ การรวมกลุ่มของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อนการก่อตั้งอาเซียน ได้แก่ o องค์การสนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South East Asia Treaty Organization : SEATO) ในปี 2492 17 o สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asia : ASA) ในปี 2504 o องค์การกลุ่มประเทศมาเลเซีย-ฟิลิปปินส์-อินโดนีเซีย หรือมาฟลิินโด (MAPHILINDO) ในปี 2506 อาเซียนประกอบด้วยประเทศต่างๆ ที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่ละประเทศ ต่างมีภูมิหลังทางประวัติศาสตร์และลักษณะทางภูมศิ าสตร์พื้นฐานทางสังคม วัฒนธรรม การเมือง ระบบ กฎหมายแตกต่างกัน เมื่อก่อตั้งอาเซียนแล้วต่างประสงค์ ให้อาเซียนมีความยืดหยุ่น และประนีประนอม เปิดโอกาสให้ทุกภาคีได้มีส่วนร่วมใน การเจรจาและเห็นพ้องต้องกัน อาเซียนจึงพัฒนาแบบค่อยเป็นค่อยไป อาเซียน เป็นหนึ่งในองค์การภูมิภาคที่มีขนาดใหญ่ ปัจจุบันอยู่ในที่ตั้งซึ่งมีความสำคัญ ทางภูมิรัฐศาสตร์และภูมิยุทธศาสตร์สูง จากการที่ทั้งสหรัฐฯ และจีน แข่งขันกันรุนแรง ในภูมิภาค Indo-Pacific และ Asia-Pacific โดยต่างต้องการดึงอาเซียนเป็นพวก ต่าง ต้องการทำให้ภูมิภาคนี้ เป็นเขตอิทธิพล (Sphere of Influence) ของตน ซึ่งการ แข่งขันรวมทั้งในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง (Mekong Subregion) อาเซียนอยู่ในภูมิศาสตร์สำคัญ มีจุดยุทธศาสตร์สำคัญคือช่องแคบมะละกา (Straits of Malacca) และทะเลจีนใต้ (South China Sea) เมื่อรวมกันทั้งหมด ปัจจุบันอาเซียนมีขนาดเศรษฐกิจเป็นอันดับ 5 ของโลก ปัจจุบันจีน เป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของอาเซียน อาเซียนมีเขตการค้าเสรีกับ Australia, China, India, Japan, New Zealand เกาหลีใต้ เป็นต้น ประเทศอาเซียนที่เป็นสมาชิก CPTPP ได้แก่ บรูไนฯ มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม อานันท์ ปันยารชุน เป็นผู้ริเริ่มผลักดันการจัดตั้ง ASEAN Free Trade Area (AFTA) เมื่อปี 2535 Mr. ASEAN ในระเริ่มแรกตั้งอาเซียนหมายถึง พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอร์มันตร์ ไทยเคยเป็นผู้ประสานงานของอาเซียนในด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน (ASEAN Coordinator on Sustainable Development Cooperation) ในปี 2559 ไทยได้จดั ตั้งศูนย์อาเซียนเพื่อการศึกษาและการหารือด้านการ พัฒนาที่ยั่งยืน (ASEAN Centre for Sustainable Development Studies and Dialogue: ACSDSD) เมื่อ ปี 2562 เอกสารมุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก (ASEAN Outlook on the Indo-Pacific: AOIP) ได้มีขึ้นในช่วงทีไ่ ทยเป็นประธานอาเซียนในปี 2562 18 อาเซียนมีความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับองค์การระหว่างประเทศและองค์การ ภูมิภาคต่างๆ ได้แก่ UN o Community of Latin American and Caribbean States (CELAC) o Economic Cooperation Organization (ECO) o Eurasian Economic Union (EAEU) o Gulf Cooperation Council (GCC) o Indian Ocean Rim Association (IORA) o Pacific Alliance (PA) o Pacific Islands Forum (PIF) o Shanghai Cooperation Organization (SCO) o Southern Common Market (MERCOSUR) o South Asian Association for Regional Cooperation (SAARC) อาเซียนจัดประชุมสุดยอดกับ GCC (Gulf Cooperation Council) ครั้งแรกที่กรุงริยาด ซาอุดีอาระเบีย เมื่อเดือนตุลาคม 2566 Special Envoy of ASEAN on Myanmar ผู้แทนพิเศษอาเซียนว่าด้วยเมียนมา ปัจจุบัน คือนาย อาลุนแก้ว กิตติคุน (Alounkeo Kittikhoun) ของ สปป ลาว ปัจจุบัน (2567) ไทยเป็นประเทศผู้ประสานงานอาเซียนกับเกาหลีใต้ ASEAN Express คือการขนส่งสินค้าวทางราง/รถไฟ ระหว่างมาเลเซีย-ไทย-สปป. ลาว-จีน (เมือง Chongqing) เปิดดำเนินการเมื่อเดือน ก.ค. 2567 ปัจจุบันอาเซียนกำลังเจรจาปรับปรุง FTA กับจีน เรียกว่า Upgraded ASEAN-China FTA 3.0 9. เอกสารสำคัญของอาเซียน Bangkok Declaration (1967) ZOPFAN: Zone of Peace, Freedom, and Neutrality (1971) TAC: Treaty of Amity and Cooperation (1976) ASEAN Concord I (1976) ASEAN Declaration on the South China Sea (1992) SEANWFZ: Treaty on the Southeast Asia Nuclear Weapon-Free Zone (1995) ASEAN Vision 2020 (1997) Declaration on the Conduct of Parties in the South China Sea (2002) 19 ASEAN Concord II (2003) ASEAN Charter (2007) Master Plan of ASEAN Connectivity (2010) ASEAN Concord III (Bali Concord III 2011) ASEAN Human Rights Declaration (2012) ASEAN Communication Master Plan (2014) Kuala Lumpur Declatation on the Establishment of ASEAN Community (2015) Kuala Lumpur Declaration on ASEAN 2025: Forging Ahead Together (2015) ASEAN Outlook on the Indo Pacific (2019) ศัพท์สำคัญเกี่ยวกับอาเซียน ASEAN Coordinating Council คณะมนตรีประสานงานอาเซียน ประกอบด้วยรัฐมนตรี ต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศทำหน้าที่ในการเตรียมการประชุมสุดยอด อาเซียน และประสานงานกับคณะมนตรีประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน คณะมนตรี ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ADMM - ASEAN Defense Ministers’ Meeting การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ADMM-Plus : ASEAN Defense Ministers’ Meeting-Plus การประชุมรัฐมนตรีกลาโหม อาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา ประกอบด้วย ประเทศสมาชิกอาเซียนกับประเทศคู่ เจรจา 8 ประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย รัสเซีย และ สหรัฐฯ AEC ASEAN Economic Community ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นหนึ่งในเสาหลักของ ประชาคมอาเซียน มีผลเมื่อ 31 ธันวาคม 2558 มุ่งให้อาเซียนมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการการลงทุน แรงงานฝีมือ และเงินทุนที่เสรีมากขึ้น รวมทั้งการเคลื่อนยายแรงงานฝมือ 7 สาขาวิชาชีพ คือ แพทย ทันตแพทย พยาบาล วิศวกร สถาปนิก นักสำรวจ นักบัญชี AEM (ASEAN Economic Minister) รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนซึ่งมีการประชุมเป็นประจำ ทุกปี โดยแต่ละประเทศสมาชิก อาเซียนจะเวียนกันเป็นเจ้าภาพการประชุมตามลำดับอักษร เพื่อวาง นโยบายและ กำ หนดแนวทางในการขยายขอบเขตความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของอาเซียน 20 AMM (ASEAN Foreign Ministers Meeting) การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของอาเซียน AFTA ASEAN Free Trade Area เขตการค้าเสรีอาเซียน จัดตั้งขึ้นตามมติของที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้ง ที่4เพื่อส่งเสริมการค้า เสรีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน โดยให้มีการลดอัตราภาษีศุลกากร ที่ เท่ากันตามระยะเวลาที่กำหนด เริ่มตั้งแต่ 2536 AHA Center ASEAN Coordinating Centre for Humanitarian Assistance on Disaster Management AICHR ASEAN Inter - Governmental Commission on Human Rights คณะกรรมาธิการ ระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน AIPA, ASEAN Inter-Parliamentary Assembly (AIPA) สมัชชารัฐสภาอาเซียน APT ASEAN Plus Three (ASEAN+3) อาเซียนบวกสาม หรือ อาเซียน+3 เป็นกรอบความร่วมมือ ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศและ ประเทศคู ่เจรจาของอาเซียนในเอเชีย ตะวันออกเฉียงเหนือ 3 ประเทศ ได้แก่จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลีอาเซียน+3 เริ่มต้นเมื่อปี 2540 ARF (ASEAN Regional Forum) เป็นกลไกที่อาเซียนจัดตั้งขึน้ เพื่อหารือประเด็นการเมืองและความมั่นคงทั้งในและนอกภูมิภาค มี สมาชิก 26 ประเทศกับ 1 กลุ่มประเทศ (EU) คืออาเซียน 10 ประเทศ ประเทศคู่เจรจาของอาเซียน 9 ประเทศ (สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลีรัสเซีย และ อินเดีย) ผู้สังเกตการณ์พิเศษของอาเซียน (Special Observer) 1 ประเทศ ได้แก่ ปาปัวนิวกินี ประเทศอื่นในภูมิภาค 6 ประเทศ ได้แก่ มองโกเลีย เกาหลีเหนือ ปากีสถาน ติมอร์-เลสเต บังกลาเทศ และศรีลังกา และสหภาพยุโรป การดําเนินงานในกรอบ ARF มี 3 ลําดับขั้น ได้แก่ (1) Confidence Building (2) Preventive Diplomacy และ (3) Conflict Resolution ASEAN Community ประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย 3 เสาหลัก คือ ประชาคมการเมืองและ ความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและ วัฒนธรรม โดยอาเซียนได้เข้าสู่การเป็น ประชาคมอาเซียนวันที่ 31 ธันวาคม 2558 21 ASEAN Connectivity มีสามดาน คือ ดานกายภาพ (physical) เช่น infrastructure ดานสถาบัน (กฎระเบียบ) และในระดับประชาชน ASEAN Dialogue Partners คู่เจรจาของอาเซียน ประกอบด้วย 11 DP ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา จีน อินเดีย ญี่ปนุ่ สาธารณรัฐเกาหลี นิวซีแลนด์ รัสเซีย สหรัฐฯ อังกฤษ และ EU ASEAN Sectoral Dialogue Partners คู่เจรจาเฉพาะด้านของอาเซียน ปัจจุบันมีเพียงประเทศ เดียวคือ ปากีสถาน ทั้งนี้คู่เจรจาเฉพาะด้าน มิได้ รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ อาเซียน (PMC) ASEAN 2025 ASEAN 2025: Forging Ahead Together วิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน ค.ศ. 2025 ASEAN Outlook on the Indo-Pacific (AOIP) เป็นเอกสารวิสัยทัศน์ของอาเซียนเกี่ยวกับ Indo- Pacific เน้นความร่วมมือใน 4 ด้าน คือ ความร่วมมือใน Maritime Domain ความยั่งยืน (Sustainability) การเชื่อมโยง (Connectivity) และเศรษฐกิจ ASEAN Center for Public Health Emergencies and Emerging Diseases (ACPHEED ศูนย์อาเซียนด้านการรับมือกับภาวะฉุกเฉินและโรคอุบัติใหม่ สำนักงานเลขาธิการตั้งอยุ่ในกรุงเทพฯ ACMECS (Ayeyawady, Chao Phraya, Mekong Economic Cooperation Strategy) ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชา ลาว สหภาพพม่า ไทย และ เวียดนาม โดยมี การพัฒนาความร่วมมือ 6 สาขา ประกอบด้วย การอำนวยความ สะดวกด้านการค้าและการลงทุน ความร่วมมือด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมการ เชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมในภูมิภาค การ ท่องเที่ยว การพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์ (HRD) และสาธารณสุข BALI Concord I (1976) ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนฉบับที่ 1 มีเป้าหมายหลักในการรักษาเสถียรภาพและความ มั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยวางกรอบความร่วมมือ 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ด้านวัฒนธรรมและการสื่อสาร ความมั่นคง และการพัฒนากลไกอาเซียน BALI Concord II (2003) ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนฉบับที่ 2 วางเป้าหมายที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ภายในปี 2020 (2563) 22 EAS - East Asia Summit หรืออาเซียน+8 (ประกอบด้วยอาเซียน 10 ประเทศ และจีน ญี่ปุน เกาหลีใต อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด สหรัฐ และ รัสเซีย) GMS – Greater Mekong Subregion เป็นความร่วมมือของ 6 ประเทศ คือ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน (ยูนนาน) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางการค้า การ ลงทุนอุตสาหกรรม การเกษตร และบริการ สนับสนุนการจ้างงานและยกระดับความเป็นอยู่ของ ประชาชน ในพื้นที่ให้ดีขึ้น ส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือทางเทคโนโลยีและการศึกษาระหว่าง กัน ตลอดจนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ส่งเสริมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมและ เพิ่มขีด ความสามารถรวมทั้งโอกาสทางเศรษฐกิจในเวทีการค้าโลก IMT-GT (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle) โครงการพัฒนาความร่วมมือทาง เศรษฐกิจ 3 ฝ่าย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย โดยมี เป้าหมายเพื่อเกื้อกูลกันทางเศรษฐกิจและสังคม ระหว่าง 3 ประเทศ โดยส่งเสริมการใช้ ทรัพยากรทางเศรษฐกิจร่วมกัน R3A เป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อระหว่างประเทศ 3 ประเทศคือ ไทย-ลาว-จีน หรือที่ เรียกสั้นๆว่า คุนมั่น กงลู่ เป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่าง กรุงเทพฯ-คุนหมิง ASA สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South-East Asia: ASA) ก่อตั้งเมื่อปี 2504 มีสมาชิกคือ ไทย มลายา ฟิลิปปินส์ แต่ต่อมามีปัญหาระหว่างฟิลิปปินส์กับมาเลเซียเรื่อง Sabah ทำให้เลิกไปช่วงประมาณปี 2508-2509 ASEAN Comprehensive Strategic Partnership (CSP) อาเซียนมี CSP กับจีน สหรัฐฯ ออสเตรเลีย (ประเทศแรกที่ได้สถานะ CSP คือ จีน) ACSDSD- ASEAN Centre for Sustainable Development Studies and Dialogue ตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ ASEAN Centre for Climate Change (ACCC) ตั้งอยู่ที่บรูไนฯ ASEAN Centre for Biodiversity ตั้งอยู่ที่ Las Banos, Laguna ในฟิลิปปินส์ AHA Centre - ASEAN Coordinating Centre for Humanitarian Assistance on Disaster Management ตั้งอยู่ที่จาการ์ตา Disaster Emergency Logistics System for ASEAN (DELSA) ในไทยตัง้ อยู่ที่จังหวัดชัยนาท AUN ASEAN University Network (AUN) ตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ AIA ASEAN Investment Area (AIA) เขตการลงทุนอาเซียน 23 24