🎧 New: AI-Generated Podcasts Turn your study notes into engaging audio conversations. Learn more

ชุดที่ 9 ทฤษฎีองค์การ_220914_151621.pdf

Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

Full Transcript

เอกสารฉบับนี้ เป็นลิขสิทธิ์ของนายศิริชัย วิชชุวัชรากร ห้ามผู้ใดทำซ้ำ ดัดแปลง จำหน่าย หรือเผยแพร่โดยเด็ดขาด !! ชุดที่ ๙ ทฤษฎีองค์การ (Organization Theory) การจัดองค์การ หมายถึง การจัดระบบความสัมพันธ์ระหว่าง...

เอกสารฉบับนี้ เป็นลิขสิทธิ์ของนายศิริชัย วิชชุวัชรากร ห้ามผู้ใดทำซ้ำ ดัดแปลง จำหน่าย หรือเผยแพร่โดยเด็ดขาด !! ชุดที่ ๙ ทฤษฎีองค์การ (Organization Theory) การจัดองค์การ หมายถึง การจัดระบบความสัมพันธ์ระหว่างส่วนงานต่าง ๆ และบุคคลในองค์การ โดย กำหนดภารกิจ อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบให้ชัดแจ้ง เพื่อให้การดำเนินงานตามภารกิจขององค์การบรรลุ วัตถุประสงค์และเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ทฤษฎีองค์การแบ่งได้เป็น ๓ ทฤษฎี ๑. ทฤษฎีสมัยดั้งเดิม (Classical organization theory) “คนเป็นเครื่องมือที่ทำให้องค์การไปสู่จุดหมายปลายทางได้” ทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิมได้เริ่มคิดค้น และก่อตั้งขึ้นเมื่อปลายศตวรรษที่ ๑๙ จากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ในปลายศตวรรษที่ ๑๙ นี้ แนวความคิด เกี ่ ย วกั บ องค์ ก ารก็ เ ปลี ่ ย นแปลงตามไปด้ ว ย เพื ่ อ ให้ ส อดคล้ อ งกั บ ก าร เปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งสภาพแวดล้อมของสังคมยุคนั้นเป็นสังคมอุตสาหกรรม ทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม จึงมี โครงสร้ างที ่ แน่นอน มีก ารกําหนดกฎเกณฑ์ และเวลาอย่ างมีระเบี ย บแบบแผน มุ ่ ง ให้ ผ ลผลิ ตมี ประสิท ธิ ผ ลและ ประสิทธิภาพ จากลักษณะดังกล่าว ทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม จึงมีลั กษณะที่มุ่งเน้นเฉพาะความเป็นทางการความมี รูปแบบขององค์การเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อจะได้ผลผลิตสูง และรวดเร็วของมนุษย์เสมือนเครื่องจักรกล กล่าวอีกนัยหนึ่ง ทุก อย่างจะเป็นไปตามกฎเกณฑ์ ตามกรอบและโครงสร้างที่กําหนดไว้อย่างแน่นอนปราศจากความยืดหยุ่น (Flexibility) กลุ่มนักวิชาการที่มีบทบาทมากในทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม คือ Frederick Taylor ผู้เป็นเจ้าตํารับการบริหาร แบบวิทยาศาสตร์ Max Weber เจ้าตํารับระบบราชการ Lyndall Urwick และ Luther Gulick ผู้มีชื่อเสียงเรื่องทฤษฎี องค์การและกระบวนการบริหารงาน เป็นต้น ๒. ทฤษฎีสมัยใหม่ (Neo-Classical organization theory) “มนุษยสัมพันธ์ของคนเป็นปัจจัยสำคัญและมีอิทธิพลต่อการเพิ่มผลผลิตขององค์การ” โดยเน้นให้เห็นถึงความสำคัญของคนที่ทำหน้าร่วมกันในองค์การ ถือว่าองค์การประกอบไปด้วยบุคคลซึ่ง ทำงานโดยมีเป้าหมายร่วมกัน และกลุ่มคนงานจะเป็นผู้มีส่วนร่วมในการกำหนดผลผลิตด้วย ความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคลเป็นปัจจัยที่สำคัญและมีอิทธิพลต่อการกำหนดการผลิต กล่าวโดยสรุปว่า ทฤษฎีนี้ได้เน้นเรื่องมนุษย์สัมพันธ์ โดย ได้มีการศึกษาและค้นพบว่าบุคคลแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกัน ขวัญในการทำงานเป็นสิ่งสำคัญ การเข้ามีส่วนร่วม ในกิจกรรมและการตัดสินใจระหว่างฝ่ายบริหาร และฝ่ายคนงานย่อมจะสร้างความพึงพอใจให้กับทุกฝ่ายโดยได้สร้าง ผลผลิตอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยได้ ซึ่งมนุษยสัมพันธ์นี้เกิดประโยชน์ในการผ่อนคลาย จะทำให้ความตายตัวในโครงสร้าง ขององค์การสมัยดั้งเดิมลง สมัครติวโทร ๐๘๙-๒๗๑๐-๗๗๗ / ๐๘๑-๘๗๖๕-๘๗๗ ๑ ID LINE: NareeNadear / Sichai_Law เนื้อหาครอบคลุมการสรรหาให้ดำรงตำแหน่งสายงานผู้บริหารด้วยวิธีการคัดเลือกและสอบคัดเลือก (รอบ ๔) ทฤษฎีที่มีส่วนสำคัญมากต่อขบวนการมนุษย์สัมพันธ์ ได้แก่ Elton Mayo ซึ่งได้การทดลองวิจัยและค้นพบว่า ขวัญของคนงานมีความสำคัญต่อการเพิ่มการผลิ ต กลุ่มคนงานจะพยายามสร้างบรรทัดฐานของกลุ่มตน และคนงานจะ ทำงานเป็นทีมโดยมีการกำหนดมาตรฐานของกลุ่มขึ้นเอง ๓. ทฤษฎีสมัยปัจจุบัน (Modern organization theory) “เน้นที่การวิเคราะห์องค์การในเชิงระบบ (Systems Analysis of Organization)” แนวการพัฒนาทฤษฎีองค์การสมัยใหม่ยังคงใช้ฐานแนวความคิด และหลักการของทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม และสมัยใหม่มาปรับปรุงพัฒนา ซึ่งมีความเชื่อว่าองค์การอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย ฉะนั้นควรเน้นการ วิเคราะห์ และสังเคราะห์สิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยการศึกษาองค์การที่ดีที่สุดควรจะเป็นวิธีการศึกษาวิเคราะห์องค์การ ในเชิงระบบ (System Analysis) ซึ่งประกอบด้วยตัวแปรต่าง ๆ มากมายทั้งภายในและภายนอกองค์การ ล้วนแล้วแต่มี ผลกระทบต่อโครงสร้างและการจัดองค์การทั้งสิ้น แนวความคิดเชิงระบบนี้ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่เป็นพื้นฐาน ๕ ส่วน ๑. สิ่งนําเข้า (Input) ๒. กระบวนการ (Process) ๓. สิ่งส่งออก (Output) ๔. ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) ๕. สภาพแวดล้อม (Environment) ดังนั้น องค์การจึงต้องมีการปรับตัวตลอดเวลา เพราะตัวแปรต่าง ๆ มีลักษณะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ประเภทขององค์การ ๑. องค์การแบบเป็นทางการ (formal organization) เป็นองค์การที่มีการจัดโครงสร้างอย่างเป็นระเบียบแบบแผนแน่นอน การจัดตั้งมีกฎหมายรองรับ บางแห่ง เรียกว่า “องค์การรูปนัย” ได้แก่ บริษัท มูลนิธิ หน่วยราชการ กรม โรงพยาบาล โรงเรียน ฯลฯ ซึ่งการศึกษาเรื่อง องค์การและการจัดการจะเป็นการศึกษาในเรื่องขององค์การประเภทนี้ทั้งสิ้น ๒. องค์การแบบไม่เป็นทางการ (informal organization) เป็นองค์การที่รวมกันหรือจัดตั้งขึ้นด้วยความพึงพอใจและมีความสัมพันธ์กันเป็นส่วนตัว ไม่มีการจัดระเบียบ โครงสร้างภายใน มีการรวมตัวกันอย่างง่ายๆ และเลิกล้มได้ ง่าย องค์การแบบนี้เรียกว่า “องค์การอรูปนัย ” หรือ “องค์การนอกแบบ” เช่น ชมรมต่าง ๆ หรือกลุ่มต่าง ๆ อาจเป็นการรวมกลุ่มกันตามความสมัครใจของสมาชิกกลุ่ม ซึ่ง เนื่องมาจากรายได้ อาชีพ รสนิยม ศาสนา ประเพณี ตำแหน่งงาน ฯลฯ สมัครติวโทร ๐๘๙-๒๗๑๐-๗๗๗ / ๐๘๑-๘๗๖๕-๘๗๗ ๒ ID LINE: NareeNadear / Sichai_Law เอกสารฉบับนี้ เป็นลิขสิทธิ์ของนายศิริชัย วิชชุวัชรากร ห้ามผู้ใดทำซ้ำ ดัดแปลง จำหน่าย หรือเผยแพร่โดยเด็ดขาด !! หลักการจัดองค์การ หลักการจัดองค์การ “OSCAR” ของ Henri Fayol กล่าวว่า หลักในการจัดองค์การที่ดีจะต้องมีองค์ประกอบ และแนวปฏิบัติดังต่อไปนี้ ๑. หลักวัตถุประสงค์ (Objective) องค์การต้องมีวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน นอกจากนั้นตำแหน่ง ยังต้องมีวัตถุประสงค์ย่อยกำหนดไว้เพื่อว่าบุคคลที่ดำรงตำแหน่งจะได้พ ยายามบรรลุวัตถุประสงค์ย่อย ซึ่งช่วยให้ องค์การบรรลุวัตถุประสงค์รวม ๒. หลักความรู้ความสามารถเฉพาะอย่าง (Specialization) การจัดแบ่งงานควรจะแบ่งตามความถนัด พนักงานควรจะรับมอบหน้าที่เฉพาะเพียงอย่างเดียวและงานหน้าที่ที่คล้ายกันหรือสัมพันธ์กัน ควรจะต้องอยู่ ภายใต้ บังคับบัญชาของคนคนเดียว ๓. หลักการประสานงาน (Coordination) การประสานงานกัน คือ การหาทางทำให้ทุก ๆ ฝ่ายร่วมมือกัน และทำงานสอดคล้องกัน โดยใช้หลักสามัคคีธรรม เพื่อประโยชน์ขององค์การ ๔. หลักของอำนาจหน้าที่ (Authority) ทุกองค์การต้องมีอำนาจสูงสุด จากบุคคลผู้มีอำนาจสูงสุดนี้ จะมีการ แยกอำนาจออกเป็นสายไปยังบุคคลทุก ๆ คนในองค์การ หลักนี้บางทีเรียกว่า “Scalar Principle (หลักความลดหลั่น ของอำนาจ)” บางทีเรียกว่า “Chain of command (สายการบังคับบัญชา)” ๕. หลักความรับผิดชอบ (Responsibility) อำนาจหน้าที่ควรจะเท่ากับความรับผิดชอบ คือบุคคลใดเมื่อ ได้รับมอบหมายความรับผิดชอบก็ควรจะได้รับมอบหมายอำนาจให้เพียงพอ เพื่อทำงานให้สำเร็จด้วยดี โครงสร้างองค์การ โครงสร้างขององค์การสามารถแบ่งแยกออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ ๕ ประเภท ดังนี้ ๑. โครงสร้างองค์การตามหน้าที่การงาน หมายถึง โครงสร้างที่จัดตั้งขึ้นโดยแบ่งไปตามประเภทหรือหน้าที่ การงาน เพื่อแสดงให้เห็นว่าในแต่ละแผนกนั้นมีหน้าที่ต้องกระทำอะไรบ้าง ซึ่งผลดีก่อให้เกิดการได้คนมีความสามารถ ทำงานในแผนกนั้น ๆ ทั้งยังฝึกบุคคลในแผนกนั้น ๆ ให้มีความเชี่ยวชาญกับหน้าที่ของงานนั้นอย่างลึกซึ้ง สมัครติวโทร ๐๘๙-๒๗๑๐-๗๗๗ / ๐๘๑-๘๗๖๕-๘๗๗ ๓ ID LINE: NareeNadear / Sichai_Law เนื้อหาครอบคลุมการสรรหาให้ดำรงตำแหน่งสายงานผู้บริหารด้วยวิธีการคัดเลือกและสอบคัดเลือก (รอบ ๔) ๒. โครงสร้างองค์การตามสายงานหลัก หมายถึง การจัดรูปแบบโครงสร้างให้มีสายงานหลัก และมีการบังคับ บัญชาจากบนลงล่างลดหั่นเป็นขั้น ๆ จะไม่มีการสั่ง การแบบข้ามขั้นตอนในสายงาน ซึ่งโครงสร้างแบบนี้เหมาะสม สำหรับองค์การต่าง ๆ ที่ต้องการให้มีการขยายตัวในอนาคตได้ เพราะเพียงแต่เพิ่มเติมโครงสร้างในบางสายงานให้มีการ ควบคุมบังคับบัญชาลดหลั่นลงไปอีกได้ การจัดองค์การแบบนี้ อาจจะคำนึงถึงสภาพของงานที่เป็นจริง เช่น แบ่งตาม ลักษณะของผลิตภัณฑ์ หรือแบ่งตามอาณาเขต หรือแบ่งตามประเภทของลูกค้า หรือแบ่งตามกระบวนการ ผลดีของ โครงสร้างแบบนี้มีหลายประการ เช่น การจัดโครงสร้างด้วยรูปแบบที่เข้าใจง่าย การบังคับบัญชาตามสายงานเป็น ขั้นตอน ดังนั้นจุดใดที่มีการปฏิบัติงานล่าช้าก็สามารถตรวจสอบได้รวดเร็วจากผู้บังคับบัญชาในระดับนั้นได้ง่าย ๓. โครงสร้างองค์การแบบคณะที่ปรึกษา หมายถึง การจัดโครงสร้างโดยการให้มีที่ปรึกษาเข้ามาช่วยการ บริหารงาน เช่น ที่ปรึกษานายกฯ ที่ปรึกษาผู้ว่าฯ กทม. เป็นต้น เพราะว่าที่ปรึกษามีความรู้ ความชำนาญเฉพาะด้าน โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีส มัยใหม่ ซึ่งต้ อ งอาศั ย ผู ้ เชี ่ ย วชาญมาช่ ว ยหรื อ คอยแนะนำ ทำให้ อ งค์ ก ารมองเห็น ความสำคัญของการมีที่ปรึกษาขึ้น อย่างไรก็ตาม พวกที่ปรึกษาไม่มีอำนาจในการสั่งการใด ๆ นอกจากคอยป้อนข้อมูล ให้ผู้บริหารเป็นผู้ชี้ขาดอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งการจัดองค์การรูปแบบนี้มีผลดีคือ ทำให้การดำเนินงานต่าง ๆ มีการวางแผนและ ประเมินสถานการณ์ล่วงหน้าได้ มีที่ปรึกษาคอยให้ความกระจ่างและประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ และทำให้การ ทำงานใช้หลักเหตุและผลมากขึ้น ๔. โครงสร้างองค์การแบบคณะกรรมการบริหาร หมายถึง การจัดโครงสร้างองค์การโดยให้มีการบริหารงาน ในลั ก ษณะคณะกรรมการ เช่ น คณะกรรมการบริ ห ารงานรถไฟแห่ ง ประเทศไทย คณะกรรมการ อสมท. และ คณะกรรมการบริหารบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ เป็นต้น ผลดีจะช่วยขจัดปัญหา การบริหารงานแบบผูกขาดของคนคนเดียว หรือการใช้แบบเผด็จการเข้ามาบริหารงาน นอกจากนั้น การตั้งคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยบุคคลมาจากหลาย ๆ สมัครติวโทร ๐๘๙-๒๗๑๐-๗๗๗ / ๐๘๑-๘๗๖๕-๘๗๗ ๔ ID LINE: NareeNadear / Sichai_Law เอกสารฉบับนี้ เป็นลิขสิทธิ์ของนายศิริชัย วิชชุวัชรากร ห้ามผู้ใดทำซ้ำ ดัดแปลง จำหน่าย หรือเผยแพร่โดยเด็ดขาด !! ฝ่ายจะทำให้ทุกคนเข้าใจปัญหาและก่อให้เกิดการยอมรับในปัญหาที่ฝ่ายอื่นเผชิญอยู่ทำให้การประสานงานเป็นไปได้ ง่ายขึ้น ข้อเสีย คือ เกิดการสูญเสียทรัพยากรโดยใช่เหตุเนื่องจากเวลาส่วนใหญ่ใช้ไปในการประชุมถกเถียงกัน หรืออาจ เกิดการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ในระดับคณะกรรมการหรือยอมประนีประนอมกันเพื่อให้ได้ข้อยุติที่รวดเร็ว ทำให้การ ตั้งคณะกรรมการไร้ผล ๕. โครงสร้างองค์การงานอนุกรม หมายถึง หน่วยงานช่วยหรือเรียกว่า “หน่วยงานแม่บ้าน” ซึ่งเป็นงาน เกี่ยวกับธุรกิจและอำนวยความสะดวก เช่น งานเลขานุการ และงานตรวจสอบภายใน เป็นต้น กระบวนการจัดองค์การ กระบวนการจัดองค์การประกอบด้วยกระบวนการ ๓ ขั้นตอน ดังนี้ ๑. พิจารณาการแยกประเภทงาน จัดกลุ่มงาน และออกแบบงานสำหรับผู้ทำงานแต่ละคน ก่อนอื่นผู้บริหารจะต้องพิจารณาตรวจสอบแยกประเภทดูว่ากิจการของตนนั้นมีงานอะไรบ้างที่จะต้องจัดทำ เพื่อให้กิจการได้รับผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ขั้นต่อมาก็คือการจัดกลุ่มงานหรือจำแนกประเภทงานออกเป็นประเภท โดยมีหลักที่ว่างานที่เหมือนกันควรร่วมอยู่ด้วยกัน เพื่อให้เป็นไปตามหลักการของการแบ่งงานกันทำ โดยการจัดจำแนก งานตามหน้าที่แต่ละชนิดออกเป็นกลุ่ม ๆ ตามความถนัดและตามความสามารถของผู้ที่จะปฏิบัติ ๒. ทำคำบรรยายลักษณะงาน ทำคำบรรยายลักษณะงานระบุขอบเขตของงานและมอบหมายงาน พร้อมทั้งกำหนดความรับผิดชอบ และให้ อำนาจหน้าที่ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ - ระบุให้เห็นถึงขอบเขตของงานที่แบ่งให้สำหรับแต่ละคนตามที่ได้วางแผนไว้ในขั้นแรกเพื่อให้ทราบว่า งานแต่ ละชิ้นที่ได้แบ่งไว้นั้นจะเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร ชนิดไหน มีขอบเขตและปริมาณมากน้อยแค่ไหน โดยการระบุชื่อเป็น ตำแหน่งพร้อมกับให้รายละเอียดเกี่ยวกับงานชิ้นนั้นเอาไว้ สมัครติวโทร ๐๘๙-๒๗๑๐-๗๗๗ / ๐๘๑-๘๗๖๕-๘๗๗ ๕ ID LINE: NareeNadear / Sichai_Law เนื้อหาครอบคลุมการสรรหาให้ดำรงตำแหน่งสายงานผู้บริหารด้วยวิธีการคัดเลือกและสอบคัดเลือก (รอบ ๔) - ขั้นต่อมาผู้บริหารก็จะดำเนินการพิจารณามอบหมายให้แก่ผู้ทำงานในระดับรองลงไป (สำหรับงานที่มอบหมาย ได้) การมอบหมายงานประกอบด้วยการกำหนดความรับผิดชอบที่ชัดแจ้งเกี่ยวกับงานที่มอบหมายให้ทำพร้อมกันนั้นก็ มอบหมายอำนาจหน้าที่ให้เพื่อใช้สำหรับการทำงานตามความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จสิ้นไปได้ ๓. จัดวางความสัมพันธ์ การจัดวางความสัมพันธ์จะทำให้ทราบว่า ใครต้องรายงานต่อใคร เพื่อให้งานส่วนต่าง ๆ ดำเนินไปโดย ปราศจากข้อขัดแย้งมีการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระเบียบเพื่อให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันทำงานมุ่งไปสู่จุดหมายอันเดียวกัน สมัครติวโทร ๐๘๙-๒๗๑๐-๗๗๗ / ๐๘๑-๘๗๖๕-๘๗๗ ๖ ID LINE: NareeNadear / Sichai_Law

Use Quizgecko on...
Browser
Browser