การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management : NPM) PDF
Document Details
Uploaded by SharperFife201
Chonradsadornumrung School
ศิริชัย วิชชุวัชรากร
Tags
Summary
เอกสารนี้กล่าวถึงแนวคิดและเหตุผลของการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management: NPM) รวมถึงประเด็นสำคัญต่างๆ เช่น อิทธิพลของแนวคิดเสรีนิยมใหม่ การเปลี่ยนแปลงบริบททางการเมือง และวิกฤติเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงหลักการสำคัญของการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่
Full Transcript
เอกสารฉบับนี้ เป็นลิขสิทธิข์ องนายศิริชัย วิชชุวัชรากร ห้ามผู้ใดทำซ้ำ ดัดแปลง จำหน่าย หรือเผยแพร่โดยเด็ดขาด !! ชุดที่ ๕ การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management : NPM) ๑. ความหมายของการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ การ...
เอกสารฉบับนี้ เป็นลิขสิทธิข์ องนายศิริชัย วิชชุวัชรากร ห้ามผู้ใดทำซ้ำ ดัดแปลง จำหน่าย หรือเผยแพร่โดยเด็ดขาด !! ชุดที่ ๕ การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management : NPM) ๑. ความหมายของการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) คือ การปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการภาครัฐ โดยนำหลักการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบราชการและการแสวงหาประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการที่มุ่งสู่ความเป็น เลิศ โดยการนำเอาแนวทางหรือวิธีการบริหารงานของภาคเอกชนมาปรับใช้กับการบริหารงานภาครัฐ เช่น การ บริหารงานแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ การบริหารงานแบบมืออาชีพ การคำนึงถึงหลักความคุ้มค่า การจัดการโครงสร้างที่ กะทัดรัดและแนวราบ การเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาแข่งขันการให้บริการสาธารณะ การให้ความสำคัญต่อค่านิยม จรรยาบรรณวิชาชีพ คุณธรรมและจริยธรรม ตลอดทั้งการมุ่งเน้นการให้บริการแก่ประชาชนโดยคำนึงถึงคุณภาพเป็น สำคัญ ๒. เหตุผลของการปฏิรูประบบราชการ การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management: NPM) เข้ามาแทนที่การบริหารงานภาครัฐแบบ ดั้งเดิม ด้วยเหตุผลสำคัญ ๕ ประการ ดังนี้ ๒.๑ อิทธิพลของแนวคิดเสรีนิยมใหม่ และการถูกวิพากษ์วิจารณ์ของแนวคิดแบบดั้งเดิม กลุ่มเสรีนิยมใหม่ (Neo-liberals) ได้วิพากษ์วิจารณ์การบริหารงานภาครัฐในช่วงปี ค.ศ. ๑๙๗๐ ว่ารัฐบาลไร้ ความสามารถในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ โดยการให้บริ การของรัฐมีลักษณะผูกขาด ไม่ได้ให้ความสำคัญกับความ ต้องการหรือผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับผู้รับบริการมากนัก ซึ่งชี้ให้เห็นถึงบทบาทของรัฐบาลที่ไม่มีความเหมาะสม ขณะเดียวกันได้วิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องขนาดและต้นทุนในการบริหารงานภาครัฐด้วย ทั้งนี้ กลุ่มเสรีนิยมใหม่เชื่อว่าการ เปิดให้มีการแข่งขันทางการตลาดอย่างเสรี ย่อมนำไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากตลาดช่วยสร้างการ กระจายทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ขณะเดียวกัน กลุ่มเสรีนิยมใหม่มองว่านักการเมืองและข้าราชการระดับสูงมักยึดถือในอำนาจและผลประโยชน์ ของตนเองและหน่วยงาน มากกว่าการตระหนักถึงการลดต้นทุน ประหยัด และความคุ้มค่า รวมถึงมีความพยายาม ขยายภาระหน้าที่ของตนให้กว้างขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งลักษณะดังกล่าว ได้น ำไปสู่ระบบราชการที่มีขนาดใหญ่ เทอะทะ และมี ลำดับชั้นการบังคับบัญชาที่ยาว อันจะเป็นปัจจัยให้เกิด การควบคุม สั่งการจากบนลงล่างที่ยากมากขึ้น และเมื่อปัญหา เหล่านั้นสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ ย่อมก่อให้เกิดความล้มเหลวของระบบราชการ สมัครติวโทร ๐๘๙-๒๗๑๐-๗๗๗ / ๐๘๑-๘๗๖๕-๘๗๗ ๑ ID LINE: NareeNadear / Sichai_Law เนื้อหาครอบคลุมการสรรหาให้ดำรงตำแหน่งสายงานผู้บริหารด้วยวิธีการคัดเลือกและสอบคัดเลือก (รอบ ๔) ๒.๒ การเปลี่ยนแปลงบริบททางการเมือง การเปลี่ยนแปลงบริบททางการเมือง ถือเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการนำแนวคิดการจัดการภาครัฐ แนวใหม่มาปรับใช้ ตัวอย่างเช่น ในปี ค.ศ. ๑๙๗๘ สหรัฐอเมริกามีการส่งเสริมให้น ำแนวคิดการตลาดมาปรับใช้ใน ภาครัฐ ขณะที่ในปี ค.ศ. ๑๙๗๙ ประเทศอังกฤษโดยรัฐบาลฝ่ายอนุรักษ์นิยมได้ใช้มาตรการในลักษณะเดียวกันนี้ในการ บริหารงานภาครัฐเป็นระยะเวลานาน รวมถึงประเทศอื่น ๆ ในตะวันตกด้วย ดังนั้น ชี้ให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงบริบท ทางการเมือง โดยการนำของกลุ่มเสรีนิยมได้นำไปสู่การใช้แนวความคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่อย่างกว้างขวางขึ้น เรื่อย ๆ ๒.๓ วิกฤติเศรษฐกิจที่แต่ละประเทศต้องเผชิญ ระบบเศรษฐกิจและการคลังที่อยู่ในภาวะวิกฤติ ทั้งการใช้จ่ายเงินในจำนวนที่สูง และปัญหาดุลการชำระเงินที่ เกิดขึ้นในประเทศอังกฤษในปี ค.ศ. ๑๙๗๐ ได้นำไปสู่การปฏิรูปการบริหารงานครั้งสำคัญ เนื่องจากกองทุนการเงิน ระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) มองว่าการที่ประเทศอังกฤษเกิดภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ มีต้นเหตุหลักมาจากการไม่เปลี่ยนแปลงแนวทางการให้บริการของรัฐ ทั้งนี้ ภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นไม่ใช่เฉพาะในประเทศ อังกฤษเท่านั้น หลาย ๆ ประเทศต่างประสบปัญหาดังกล่าว จึงเชื่อว่า แนวทางในการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด คือ การที่ รัฐบาลไม่เข้าไปแทรกแซง แต่ปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด ๒.๔ การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ช่วงปลายศตวรรษที่ ๒๐-๒๑ มีการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างกว้างขวาง ทำให้การ ติดต่อสื่อสารมีความสะดวกและรวดเร็วขึ้น ซึ่งเอื้อต่อการจัดการแบบเครือข่ายขององค์การ ทั้งภายในและภายนอก องค์การ นอกจากนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารยังช่วยสร้างข้อมูลข่าวสารที่เป็นระบบ และมีความน่าเชื่อถือ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนสนับสนุนแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ทั้งสิ้น ๒.๕ การเพิ่มบทบาทของหน่วยงานที่ให้คำปรึกษาด้านการจัดการ บทบาทของหน่วยงานให้ค ำปรึกษาด้านการจัดการ มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทรับทำบัญชี สถาบันการเงินระหว่างประเทศ และการจัดการระหว่างประเทศ เป็นต้น ส่งผลให้มีการปฏิรูประบบราชการเกิดขึ้น เนื่องจากหน่วยงานเหล่านี้เป็นตัวกลางในการสื่อสารเทคนิค แนวทางการจัดการที่ใช้ในภาคเอกชนมาสู่ภาครัฐ ๓. หลักการสำคัญของการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ ๓.๑ การให้ผู้จัดการมืออาชีพเป็นผู้ด ำเนินงาน กล่าวคือ มีการระบุบุคคลที่จะทำหน้าที่ตัดสินใจในองค์การ อย่างชัดเจน ประกอบกับให้ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการมีความเป็นอิสระในการดำเนินงานอย่างเหมาะสม หรือเรียกได้ว่า ให้ผู้จัดการมืออาชีพเป็นผู้ด ำเนินงานในภาครัฐ เพื่อสามารถหาผู้รับผิดชอบที่แท้จริงเมื่อเกิดปัญหาจากการปฏิบัติงาน หรือเกิดผลของงานในลักษณะใดลักษณะหนึ่งขึ้น สมัครติวโทร ๐๘๙-๒๗๑๐-๗๗๗ / ๐๘๑-๘๗๖๕-๘๗๗ ๒ ID LINE: NareeNadear / Sichai_Law เอกสารฉบับนี้ เป็นลิขสิทธิข์ องนายศิริชัย วิชชุวัชรากร ห้ามผู้ใดทำซ้ำ ดัดแปลง จำหน่าย หรือเผยแพร่โดยเด็ดขาด !! ๓.๒ ความชัดเจนของตัวชี้วัดและมาตรฐานการปฏิบัติงาน กล่าวคือ ให้ความสำคัญกับการนิยามเป้าหมาย วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดของความสำเร็จที่ชัดเจน เพื่อมีทิศทางในการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายนั้น ซึ่งมักจะ กำหนดเป็นเชิงปริมาณ ๓.๓ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ กล่าวคือ ให้ความสำคัญกับผลสำเร็จของภารกิจมากกว่าการเน้นที่กระบวนการ ทั้งนี้ การจัดสรรทรัพยากรและการให้รางวัลสัมพันธ์กับการวัดผลการปฏิบัติงาน ๓.๔ การแบ่งแยกหน่วยงาน หมายถึง การแบ่งหน่วยงานของรัฐให้เป็นหน่วยย่อยในลักษณะบริษัทตาม ประเภทของการผลิต เพื่อแบ่งแยกหน่วยผลิตและหน่วยบริการออกจากกัน และเน้น การกระจายอำนาจในเรื่ อง งบประมาณ รวมถึงดำเนินงานแบบเครือข่ายระหว่างหน่วยงาน แทนที่รูปแบบเดิมที่เป็นไปตามสายการบังคับบัญชาใน แนวตั้ง ตลอดจนมีการจ้างเหมาหน่วยงานอื่น ๆ เข้ามาช่วยดำเนินการ ๓.๕ การให้ความสำคัญกับการแข่งขัน โดยดำเนินการในลักษณะการประมูลและทำสัญญา เพื่อลดต้นทุน และเพิ่มมาตรฐานการปฏิบัติงาน ๓.๖ การใช้รูปแบบการจัดการจากภาคเอกชน กล่าวคือ การนำรูปแบบการจัดการของภาคเอกชนมาปรับใช้ ในภาครัฐ และเปลี่ยนมุมมองใหม่จากการให้บริการภาครัฐในลักษณะกองทัพมาเป็นการจัดการที่อาศัยความยืดหยุ่นใน การจ้างงาน ประกอบกับจูงใจด้วยการให้รางวัลและมีการประชาสัมพันธ์โฆษณามากขึ้น ๓.๗ การใช้ทรัพยากรอย่างก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด หมายถึง ความประหยัดและความมีวินัยในการใช้ ทรัพยากร รวมถึงมีการตรวจสอบการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่น้อยลง แต่ได้ผลงานมากขึ้น ๔. บริหารงานภาครัฐแนวใหม่ในประเทศไทย ประเทศไทยมีการบริหารงานภาครัฐตามแนวทางการจัดการภาครัฐแนวใหม่ นับตั้งแต่สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะ รัชต์ ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๐๒-๒๕๐๖ โดยมีการตั้งคณะที่ปรึกษาระเบียบบริหารและองค์การของรัฐขึ้น เพื่อพิจารณา เกี่ยวกับการแบ่งส่วนราชการ ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๒๓ สมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ มีมาตรการไม่ให้มีการจัดตั้ง ส่วนราชการขึ้นใหม่ตั้งแต่ระดับกระทรวง ทบวง กรม และกองโดยไม่จ ำเป็น ขณะเดียวกันได้ออกมาตรการจำกัดการ ขยายตัวของข้าราชการและลูกจ้างในส่วนราชการไม่ให้เกินร้อยละ ๒ ต่อปี ซึ่งนับเป็นการปฏิรูปตามแนวทางการจัดการ ภาครัฐแนวใหม่อย่างชัดเจน จากนั้น สมัย รัฐ บาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ช่ว งปี พ.ศ. ๒๕๓๑-๒๕๓๔ ได้มีการออกระเบียบสำนัก นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของหน่วยงานภาครัฐ โดยมุ่งเน้น การปรับปรุงและพัฒนาระบบ ราชการให้สามารถบริการประชาชนได้อย่างรวดเร็ว และในช่วงถัดมาสมัยรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๓๔-๒๕๓๕ ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายประเด็น ได้แก่ มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมใน การบริหารงานภาครัฐมากขึ้น กล่าวคือ มีการกระจายงานที่ไปยังเอกชน ประกอบกับมีการปรับปรุงกฎระเบียบต่าง ๆ ที่สนับสนุนให้เอกชนรายย่อยสามารถเข้ามาแข่งขันในกิจกรรมต่า ง ๆ กับเอกชนรายใหญ่ที่เคยได้รับสิทธิผูกขาดจากรัฐ ในอดีต หรือเรียกได้ว่าเป็นการสร้างระบบการแข่งขันลดการผูกขาดของภาครัฐ และให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น สมัครติวโทร ๐๘๙-๒๗๑๐-๗๗๗ / ๐๘๑-๘๗๖๕-๘๗๗ ๓ ID LINE: NareeNadear / Sichai_Law เนื้อหาครอบคลุมการสรรหาให้ดำรงตำแหน่งสายงานผู้บริหารด้วยวิธีการคัดเลือกและสอบคัดเลือก (รอบ ๔) รัฐบาลต่อ ๆ มามีการใช้แนวทางการจัดการภาครัฐแนวใหม่อย่างต่อเนื่อง จนมาถึงช่วงปี พ.ศ. ๒๕๓๙-๒๕๔๐ สมัยรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ มีการปฏิรูประบบราชการที่น่าสนใจ คือ แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ซึ่งแสดงให้เห็นว่านายกรัฐมนตรีให้ ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว และมีการออก ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิรูประบบราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ รวมถึงมีการจัดทำแผนแม่บทการปฏิรูป ระบบราชการฉบับแรกของประเทศไทย ในปี พ.ศ. ๒๕๔๐-๒๕๔๔ ตลอดจนมีการร่างกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน ส่งเสริมการให้บริการประชาชน ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๔๔-๒๕๔๙ สมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีการปรับปรุงระเบียบราชการแผ่นดิน โดยมี การประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ ซึ่งมุ่งเน้นในเรื่องผลสัมฤทธิ์ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การลดภารกิจ และการยุบเลิกหน่วยงานที่ ไม่จำเป็น รวมถึงการกระจายอำนาจภารกิจ และทรัพยากรให้แก่ท้องถิ่น อีกทั้งการกระจายอำนาจการตัดสินใจ การอำนวยความ สะดวก และการตอบสนองความต้องการประชาชน ในขณะเดียวกันมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ซึ่งส่งผลให้ประเทศไทยมีกระทรวงรวม ๒๐ กระทรวง และเปลี่ยนชื่อกระทรวงใหม่บางส่วนให้ สอดคล้องกับภารกิจ จำนวน 2 กระทรวงปรับภารกิจแต่ยังคงใช้ชื่อเดิม ๑๒ กระทรวง รวมถึงจัดตั้งกระทรวงขึ้นใหม่ ๖ กระทรวง นอกจากนี้ ได้จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบการปฏิรูประบบ ราชการ ทั้งการจัดระเบียบข้าราชการ กระทรวง ทบวง กรม และจัดระเบียบราชการ ตลอดจนมีการประกาศใช้ พระ ราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ โดยมุ่งเน้นที่ประโยชน์สุขของ ประชาชน ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง มุ่งผลสัมฤทธิ์ ประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า ลดขั้นตอนและระยะเวลาในการปฏิบัติ ราชการ รวมถึงการบริการประชาชนที่สะดวกและรวดเร็ว ในช่วงยุคปัจจุบัน พ.ศ. ๒๕๕๙ สมัยรัฐบาลพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา เน้นการเชื่อมโยงข้อมูลและการ ดำเนินการระหว่างหน่วยงานรัฐกับเอกชนด้านแรงงาน เพื่อลดความเหลื่อมล้ ำของสังคม และสร้างโอกาสการเข้าถึง บริการของรัฐ ให้องค์กรภาคประชาสังคม ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนทั่วไปมีโอกาสร่วมจัด การศึกษาที่มีคุณภาพและทั่วถึง กระจายอำนาจการบริหารจัดการศึกษาสู่สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา และองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นตามศักยภาพและความพร้อม โดยให้สถานศึกษาสามารถเป็นนิติบุคคล และบริหารจัดการได้อย่าง อิสระและคล่องตัวขึ้น การใช้กลไกตลาดดูแลราคาสินค้าเกษตรประเภทที่ราคาต่ ำผิดปกติให้สูงขึ้นตามสมควร รวมถึง สนับ สนุน ให้ภ าคเอกชนเข้ามามีส ่ว นร่ว มภาคขนส่งเพิ่มขึ้น อีกทั้งพัฒ นาและปรับปรุง ระบบบริห ารจัดการของ รัฐ วิส าหกิจ ให้มีป ระสิทธิภ าพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ โดยจัดทำยุทธศาสตร์ การพัฒ นารัฐ วิส าหกิจที่ช ัดเจน ขณะเดียวกันมีการปรับปรุงระบบราชการให้ยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ การตอบสนองความต้องการของประชาชนในฐานะที่เป็นศูนย์กลาง ตลอดจนจัดตั้งศูนย์บริการสาธารณะแบบครบวงจร ที่ครอบคลุมการให้บริการหลากหลายตามชุมชนต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนสามารถเดินทางไปติดต่อขอรับบริการได้ โดยสะดวก การให้บริการถึงตัวบุคคลผ่านระบบศูนย์บริการร่วม ณ จุดเดียว (One Stop Service) และระบบรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ที่สมบูรณ์แบบ ยกระดับสมรรถนะของหน่วยงานรัฐ สร้างนวัตกรรมในการทำงานอย่างประหยัด มี ประสิทธิภาพ และมีระบบบูรณาการ สมัครติวโทร ๐๘๙-๒๗๑๐-๗๗๗ / ๐๘๑-๘๗๖๕-๘๗๗ ๔ ID LINE: NareeNadear / Sichai_Law เอกสารฉบับนี้ เป็นลิขสิทธิข์ องนายศิริชัย วิชชุวัชรากร ห้ามผู้ใดทำซ้ำ ดัดแปลง จำหน่าย หรือเผยแพร่โดยเด็ดขาด !! ๕. การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม ค่านิยมของระบบราชการและพัฒนาข้าราชการ คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้กำหนดกรอบการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม ค่านิยม ของระบบราชการและพัฒนาข้าราชการ โดยมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ คือ “I AM READY” ๑. Integrity = ทำงานอย่างมีศักดิ์ศรี ๒. Activeness = ขยันตั้งใจทำงาน เชิงรุก ๓. Morality = มีศีลธรรม คุณธรรม ๔. Relevancy = รู้ทันโลก ปรับตัวทันโลก ตรงกับสังคม ๕. Efficiency = มุ่งเน้นประสิทธิภาพ ๖. Accountability = รับผิดชอบต่อผลงานและสังคม ๗. Democracy = มีใจและการกระทำเป็นประชาธิปไตย มีส่วนและโปร่งใส ๘. Yield = มีผลงาน มุ่งเน้นผลงาน Integrity คือ ทำงานอย่างมีศักดิ์ศรี ข้าราชการจะต้องมีจรรยาบรรณในวิชาชีพของตน มีความเสียสละ อุทิศ ตนในการทำงาน มุ่งประโยชน์ส่วนรวม และที่สำคัญต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตต่อหน้าที่การงาน ไม่ทุจริตคอรัปชั่น Activeness คือ ขยันตั้งใจทำงานหรือเรียกว่าการปฏิบัติงานเชิงรุก ซึ่งข้าราชการจะต้องปฏิบัติงานอย่างเต็ม กำลังความสามารถและเป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา องค์ความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานเป็นปัจจัย สำคัญที่จะทำให้งานประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ ยังต้องมีทัศนคติเชิงบวกและความคิดสร้างสรรค์ Morality คือ มีใจเป็นธรรม มีคุณธรรม ปฏิบัติราชการด้วยใจบริสุทธิ์และกุศลเจตนา โดยข้าราชการจะต้องไม่ เลือกปฏิบัติ ยึดหลักความเป็นธรรมและเสมอภาค รวมทั้งคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ Relevancy คือ มีการเรียนรู้และปรับตัวให้ทันโลกทันปัญหาและสิ่งท้าทายต่าง ๆ โดยจะต้องมีการพัฒนา ข้าราชการอย่างต่อเนื่องให้มีความเป็นเลิศในวิชาชีพ มีการนำความรู้และวิทยาการสมัยใหม่มาใช้ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน Efficiency คือ การทำงานที่มุ่งเน้นประสิทธิภาพ ซึ่งแสดงให้เห็น จากการจัดการภายในที่ดีของหน่วยงานทำ ให้ผลผลิตที่ได้มีมาตรฐาน ประหยัดทรัพยากรและเกิดความคุ้มค่า Accountability คือ การมีความรับผิดชอบต่อผลสำเร็จของงานและต่อสาธารณะ ข้าราชการจะต้องตระหนัก ในความรับผิดชอบของตน พร้อมเสมอที่จะรับการตรวจสอบทั้งจากภายในและภายนอกหน่วยงาน โดยหน่วยงาน จะต้องมีระบบการให้รางวัลและลงโทษที่มีประสิทธิภาพ Democracy คือ มีใจและการกระทำที่เป็นประชาธิปไตย มีส่วนร่วม โปร่งใส โดยจะต้องสร้างเครือข่ายในการ ทำงาน ประสานสัมพันธ์กับทุกกลุ่มให้เข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนและการตัดสินใจในการปฏิบัติงาน Yield คือ มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ และปฏิบัติงานโดยเน้นผลสัมฤทธิ์เป็นสำคัญ โดยจะต้องตั้งเป้าหมายของ การทำงานแล้วปฏิบัติให้สำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ รวมทั้งสามารถวัดและประเมินผลงานได้ สมัครติวโทร ๐๘๙-๒๗๑๐-๗๗๗ / ๐๘๑-๘๗๖๕-๘๗๗ ๕ ID LINE: NareeNadear / Sichai_Law เนื้อหาครอบคลุมการสรรหาให้ดำรงตำแหน่งสายงานผู้บริหารด้วยวิธีการคัดเลือกและสอบคัดเลือก (รอบ ๔) บรรณานุกรม ชมภูนุช หุ่นนาค. (๒๕๖๐). การจัดการภาครัฐแนวใหม่: การเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างผลิตภาพสูงสุด NEW PUBLIC MANAGEMENT: CHANGES FOR MAXIMIZING PRODUCTIVITY. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์) ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม. ทศพร ศิริสัมพันธ์ และคณะ. (๒๕๔๖). การพัฒนาระบบและกลไกการตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มานิตย์ จุมปา. (๒๕๔๕). คำอธิบายกฎหมายปฏิรูประบบราชการ (พ.ศ. ๒๕๔๕). กรุงเทพฯ: วิญญูชน. เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (๒๕๔๕). การปฏิรูประบบราชการภายใต้กระแสการจัดการภาครัฐใหม่ และข้อวิพากษ์. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์ สมัครติวโทร ๐๘๙-๒๗๑๐-๗๗๗ / ๐๘๑-๘๗๖๕-๘๗๗ ๖ ID LINE: NareeNadear / Sichai_Law