สรุปสาระสาคัญ พรบ.จัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ. 2560 PDF

Summary

นี่คือสรุปสาระสำคัญของพระราชบัญญัติจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ครอบคลุมหัวข้อต่างๆ เช่น หลักการและเหตุผล, นิยามศัพท์, คณะกรรมการ, วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง, และบทเฉพาะกาล

Full Transcript

สรุปสาระสาคัญ พระราชบัญญัติจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 หัวข้อ สาระสาคัญ หลักการและเหตุผล 1. การจัดซื้อจัดจ้างมีกรอบการปฏิบัติงานเป็นมาตรฐานเดียวกัน...

สรุปสาระสาคัญ พระราชบัญญัติจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 หัวข้อ สาระสาคัญ หลักการและเหตุผล 1. การจัดซื้อจัดจ้างมีกรอบการปฏิบัติงานเป็นมาตรฐานเดียวกัน 2. มุ่งเน้นการเปิดเผยข้อมูลเพื่อความโปร่งใส และมีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม 3. คานึงถึงวัตถุประสงค์การใช้งานเป็นสาคัญเพื่อให้เกิดความคุ้มค่า 15 หมวด 132 มาตรา ประกอบด้วย มาตรา 1-5 บทนิยาม มาตรา 6-15 หมวด 1 บททั่วไป มาตรา 16-19 หมวด 2 การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน มาตรา 20-45 หมวด 3 คณะกรรมการ - คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ - คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ - คณะกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ - คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต - คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน มาตรา 46-50 หมวด 4 องค์กรสนับสนุนดูแลการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหาร พัสดุภาครัฐ มาตรา 51-53 หมวด 5 การขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ มาตรา 54-68 หมวด 6 วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง มาตรา 69-78 หมวด 7 วิธีการจ้างที่ปรึกษา มาตรา 79-92 หมวด 8 วิธีการจ้างออกแบบและควบคุมงาน มาตรา 93-99 หมวด 9 การทาสัญญา มาตรา 100-105 หมวด 10 การบริหารสัญญาและการตรวจรับพัสดุ มาตรา 106-108 หมวด 11 การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบการ มาตรา 109-111 หมวด 12 การทิ้งงานและการเพิกถอนการเป็นผู้ทิ้งงาน มาตรา 112-113 หมวด 13 การบริหารพัสดุ มาตรา 114-119 หมวด 14 การอุทธรณ์ มาตรา 120-121 หมวด 15 บทกาหนดโทษ มาตรา 122-132 บทเฉพาะกาล การบังคับใช้ ให้ยกเลิก บทบัญญัติเกี่ยวกับ การพัสดุ การจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริห ารพัสดุใน กฎหมาย ระเบียบ ข้อ บัง คับ ประกาศ ข้ อบัญ ญัติ และข้ อก าหนดใดๆ ของ หน่วยงานของรัฐที่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้ นิยามศัพท์สาคัญ “การจัดซื้อจัดจ้าง” หมายความว่า การดาเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งพัสดุโดยการซื้อ จ้าง เช่า แลกเปลี่ยน หรือโดยนิติกรรมอื่นตามที่กาหนดในกฎกระทรวง “พัสดุ” หมายความว่า สินค้า งานบริการ งานก่อสร้าง งานจ้างที่ปรึกษา และงาน จ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง รวมทั้งการดาเนินการอื่นตามที่กาหนดใน กฎกระทรวง “สินค้า” หมายความว่า วัส ดุ ครุภัณฑ์ ที่ ดิน สิ่งปลูก สร้าง และทรัพย์สินอื่นๆ รวมถึงงานบริการที่รวมอยู่ในสินค้านั้นด้วย แต่มูลค่าของงานบริการต้องไม่สูงกว่า ของมูลค่า “สินค้า” นั้น “งานบริการ” หมายความว่า งานจ้างบริการ งานจ้างเหมาบริการ งานจ้างทาของ และการรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จากบุคคลธรรมดาหรือนิติ บุคคล “งานก่อสร้าง”หมายความว่า งานก่อสร้าง งานก่อสร้างสาธารณูปโภค หรือสิ่ง ปลูกสร้างอื่นใด และการซ่อมแซม ต่อเติม ปรับปรุง รื้อถอน หรือการกระทาอื่นใด ที่มีลักษณะทานองเดียวกับ กับอาคาร สาธารณูปโภค หรือสิ่งปลูกสร้างนั้น รวมถึง งานบริการที่รวมอยู่ในสินค้านั้น แต่มูลค่าของงานบริการต้องไม่สูงกว่ามูลค่า “งาน ก่อสร้าง”นั้น “อาคาร” หมายความว่า สิ่งปลูกสร้างถาวรที่ บุคคลเข้าอยู่หรือใช้สอยได้ เช่น อาคารที่ ท าการ โรงพยาบาล โรงเรี ยน สนามกี ฬ า หรือ สิ่ง ปลู ก สร้างอื่นๆที่ มี ลักษณะเดียวกัน รวมถึงงานอื่นๆซึ่งสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยสาหรับ “อาคาร” นั้น เช่น เสาธง รั้ว ท่อระบายน้า ถังน้า ถนน ประปา ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ ลิฟท์ หรือเครื่องตกแต่ง “สาธารณูปโภค” หมายความว่า งานที่เกี่ยวกับการประปา การไฟฟ้า การสื่อสาร การโทรคมนาคม การระบายน้า การขนส่งทางท่อ ทางบก ทางน้า ทางอากาศ ทาง ราง หรืออื่นๆที่เกี่ยวข้อง “งานจ้างที่ปรึกษา” หมายความว่า งานจ้างจากบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล เพื่อ เป็ น ผู้ ใ ห้ ค าปรึ ก ษาหรื อ แนะน าแก่ ห น่ ว ยงานของรั ฐ ในด้ า นวิ ศ วกรรม สถาปัตยกรรม ผัง เมือง กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ การเงิน การคลัง สิ่ง แวดล้อม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สาธารณสุข ศิลปวัฒนธรรม การศึกษาวิจัย หรือด้านอื่นที่ อยู่ในภารกิจของหน่วยงานภาครัฐ “งานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง” หมายความว่า งานจ้างจากบุคคล ธรรมดาหรือนิติบุคคลเพื่อออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง “การบริหารพัสดุ” หมายความว่า การเก็บ การบันทึก การเบิกจ่าย การยืม การ ตรวจสอบ การบารุงรักษา และการจาหน่ายพัสดุ “ราคากลาง” หมายความว่า ราคาที่ใช้เป็นฐานสาหรับเปรียบเทียบราคาที่ผู้ยื่น ข้อเสนอได้ยื่นเสนอไว้ ซึ่งสามารถจัดซื้อจัดจ้างได้จริง มีดังนี้ 1. ราคาที่ได้จากการคานวณ ตามหลักเกณฑ์ที่คระกรรมการราคากลางกาหนด 2. ราคาที่ได้มาจากฐานข้อมูลราคาอ้างอิงที่กรมบัญชีกลางจัดทา 3. ราคามาตรฐานที่สานักงบประมาณหรือหน่วยงานกลางอื่นกาหนด 4. ราคาที่ได้จากการสืบราคาจากท้องตลาด 5. ราคาที่เคยซื้อหรือจ้างครั้งหลังสุดภายในระยะเวลา 2 ปีงบประมาณ 6. ราคาอื่นตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐ กรณีที่มีราคาตามข้อ 1 ให้ใช้ราคาตามข้อ 1 ก่อน ถ้าไม่มีราคาตามข้อ 1 แต่มีคา ราตามข้อ 2 หรือ 3 ให้ใช้ราคาตามข้อ 2 หรือ 3 ก่อน โดยจะใช้ราคาตามข้อ 2 หรือ 3 ให้คานึงถึงประโยชน์ของหน่วยงานของรัฐเป็นสาคัญ กรณีที่ไม่มีราคาตามข้อ 1 2 และ 3 ให้ใช้ราคาตามข้อ 4 5 และ 6 ตามลาดับ ก่อน โดยจะใช้ราคาตามข้อ 4 5 และ 6 ให้คานึงถึงประโยชน์ของหน่วยงานของ รัฐเป็นสาคัญ “เงินงบประมาณ” หมายความว่า - เงินงบประมาณตามกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย กฎหมายว่าด้วยวิธีการ งบประมาณ หรือกฎหมายว่าด้วยการโอนงบประมาณ - เงินซึ่งหน่วยงานของรัฐได้รับโดยได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี ให้โดยไม่ต้องนาส่ง คลังตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง - เงินซึ่งหน่วยงานของรัฐได้รับโดยไม่ต้องนาส่งคลังเป็นรายได้ของแผ่นดินตาม กฎหมาย - เงิน ภาษีอากร ค่าธรรมเนียม หรือผลประโยชน์อื่นที่ตกเป็นรายได้ของราชการ ส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายหรือทีร่ าชการส่วนท้องถิ่นมีอานาจเรียกเก็บตามกฎหมาย - เงินกู้ เงินช่วยเหลือ และเงินอื่นตามที่กาหนดในกฎกระทรวง “หน่วยงานของรัฐ ” หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่ว นภูมิ ภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ องค์การ มหาชน องค์กรอิสระ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ หน่วยธุรการของศาล มหาวิทยาลัย ในกากับของรัฐ หน่วยงานสังกัดรัฐสภาหรือในกากับของรัฐสภา หน่วยงานอิสระ ของรัฐ และหน่วยงานอื่นตามที่กาหนดในกฎกระทรวง “เจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหาร พัสดุ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้มีอานาจให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัด จ้างหรือการบริหารพัสดุของหน่วยงานของรัฐ หมวด 1 มาตรา 6 บททั่วไป หน่วยงานของรัฐสามารถขอออกกฎ ระเบียบภายใต้พระราชบัญญัติขึ้นใช้เอง เพื่อความยืดหยุ่นและคล่องตัว กรณีรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐที่ประสงค์จะจัดให้มีระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อบัญญัติเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุขึ้นใช้เองทั้งหมดหรือ แต่บ างส่วน เพื่ อเกิ ดความยืดหยุ่นและมี ความคล่องตัว ให้ก ระท าได้ โดยต้อ ง ดาเนินการให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การจัดซื้อจั ดจ้างและการบริหารพัสดุตาม แนวทางพระราชบัญญัตินี้ ระเบีย บ ข้อ บัง คับ หรื อข้ อบั ญ ญั ติดั ง กล่ าวต้อ งได้รั บ ความเห็ นชอบจาก คณะกรรมการนโยบายและให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา 7 พระราชบัญญัตินมี้ ิให้ใช้บังคับแก่ 1. รัฐวิสาหกิจทีเ่ กี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง 2. ยุทธโธปกรณ์, ความมั่นคง 3. เพื่อการวิจัยและพัฒนา 4. ใช้เงินกู,้ เงินเหลือจากต่างประเทศ 5. ใช้เงินตามข้อ 2.4 ร่วมกับเงินงบประมาณ 6. สถาบันอุดมศึกษา สถานพยาบาล โดยไม่ใช่เงินงบประมาณ มาตรา 8 หลักการจัดซื้อจัดจ้าง การจัดซื้ อ จัด จ้างและการบริห ารพั ส ดุข องหน่วยงานของรัฐต้ องก่ อให้ เ กิ ด ประโยชน์สูงสุดแก่หน่วยงานของรัฐและต้องสอดคล้องกับหลักการ ดังนี้ คุ้ ม ค่ า : พั ส ดุ ที่ จั ด ซื้ อ จั ด จ้ า งต้ อ งมี คุ ณ ภาพหรื อ คุ ณ ลั ก ษณะตอบสนอง วัตถุประสงค์การใช้งานและมีราคาเหมาะสม โปร่งใส : เปิดเผยข้อมูล เปิดโอการให้แข่งขันอย่างเป็นธรรม มีระยะเวลาเพียงพอ ต่อการยื่นข้อเสนอ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล : มีการวางแผนการจัดซื้อจัดจ้างล่วงหน้าและมี กาหนดเวลาที่เหมาะสม โดยมีการประเมินผล ตรวจสอบได้ : เก็บข้อมูลเป็นระบบเพื่อประโยชน์ต่อการตรวจสอบ มาตรา 9 การกาหนดคุณลักษณะเฉพาะ ห้ามมิให้กาหนดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุให้ใกล้เคียงกับยี่ห้อใดยี่หอ้ หนึ่ง หรือ ของผู้ขายรายใดรายหนึ่งโดยเฉพาะ เว้นแต่ พั ส ดุที่ จะท าการจัดซื้อจัดจ้างตามวัตถุป ระสงค์นั้นมียี่ห้อเดียวหรือ จะต้องใช้อะไหล่ของยี่ห้อใดให้ระบุยี่ห้อนั้นได้เลย มาตรา 10 ห้ามไม่ให้หน่วยงานภาครัฐเปิดเผยข้อเสนอที่เป็นสาระสาคัญ และเป็นข้อมูล ทางเทคนิคของผู้ยื่นข้อเสนอ ซึ่งอาจก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างผู้ยื่น ข้อ เสนอด้วยกั นต่อผู้ซึ่ง มิ ไ ด้เ กี่ ยวข้องกั บ การจัดซื้อ จัดจ้างครั้ง นั้นหรือต่อผู้ยื่ น ข้อเสนอรายอื่น มาตรา 11 ให้หน่วยงานของรัฐจัดทาแผนจัดซื้อจัดจ้างประจาปี และประกาศเผยแพร่ใน ระบบสารสนเทศของกรมบัญ ชีก ลางและของหน่วยงานของรัฐ ตามวิ ธีก ารที่ กรมบัญชีกลางกาหนด และให้ปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ปิดประกาศของ หน่วยงานภาครัฐ เว้นแต่ 1. มีความจาเป็นเร่งด่วน/พัสดุที่ใช้ในราชการลับ 2. ฉุกเฉิน/ขายทอดตลาด 3. จ้างทีป่ รึกษา วงเงินไม่เกินที่กาหนด 4. จ้างออกแบบหรือควบคุมงานทีม่ ีความจาเป็นเร่งด่วนหรือเกี่ยวกับความมั่นคง ของชาติ มาตรา 15 ผู้มีอานาจอนุมั ติสั่งซื้อหรือ สั่งจ้างพัสดุโดยวิธีใดตามพราชบัญ ญัตินี้ จะเป็นผู้ ดารงตาแหน่งใดและภายในวงเงินเท่าใด ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกาหนด หมวด 2 มาตรา 16-18 การมีส่วนร่วมของภาค กาหนดให้ภาคประชาชนเข้ามามี ส่วนร่วมในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ใน ประชาชนและ ลักษณะของการทาข้อตกลงคุณธรรม ตามโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริต ผู้ประกอบการในการ ในการจัด ซื้ อ จั ด จ้า งภาครัฐ โดยข้อ ตกลงเป็ น ไปตามคณะกรรมการ ค.ป.ท. ป้องกันการทุจริต ประกาศกาหนดในราชกิจจานุเบกษา ระหว่าง หน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการ ผู้เข้ายื่นข้อเสนอ และผู้สังเกตการณ์ โดยต้องตกลงกันว่าจะไม่กระทาการทุจริตใน การจัดซื้อจัดจ้าง หมวด 3 มาตรา 20-45 คณะกรรมการ กาหนดให้มีคณะกรรมการ 5 ชุด ดังนี้ 1. คณะกรรมการนโยบายการจัดซือ้ จัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ 2. คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ 3. คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต 4. คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และร้องเรียน หมวด 4 มาตรา 46-50 องค์กรสนับสนุนดูแลการ กรมบัญชีกลาง มีหน้าที่ ดังนี้ จัดซื้อจัดจ้างและการ 1. ดูแลและพัฒนาระบบการจัดซื้อจัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิก ส์ e-GP และ บริหารพัสดุภาครัฐ ประกาศเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างในระบบเครือข่ายสารสนเทศของ กรมบัญชีกลาง 2. จัดท าฐานข้อมู ล ราคาอ้างอิง ของพัส ดุเ พื่อให้ห น่วยงานของรัฐใช้เ ป็นข้อมู ล ประกอบการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุนั้น 3. รวบรวม วิเคราะห์ และประเมินผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัตินี้ 4. กาหนดและจัดให้มีหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาเจ้าหน้าที่ให้มี ความรู้และความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ตามหลักวิชาชีพและ พ.ร.บ.นี้ 5. ปฏิบัติงานธุรการ งานประชุม งานวิชาการ การศึกษาหาข้อมูล และกิจกรรม ต่างๆที่เกี่ยวข้อง หมวด 5 มาตรา 51-53 การขึ้นทะเบียน 1. คณะกรรมการราคากลางมี อ านาจประกาศก าหนดหลัก เกณฑ์ ในการขึ้ น ผู้ประกอบการ ทะเบียนผู้ประกอบการก่อสร้างและผู้ประกอบการงานก่อสร้างต้องเป็นผู้ที่ได้ขึ้น ทะเบียนไว้กับกรมบัญชีกลาง ๒. ในกรณีเห็นสมควร คณะกรรมการราคากลางอาจจะประกาศกาหนดหลักเกณฑ์ ให้ ผู้ ป ระกอบการพั ส ดุ อื่ น นอกเหนื อ จากผู้ ป ระกอบการงานก่ อ สร้ า ง เป็ น ผู้ ป ระกอบการที่ จ ะเข้ า ร่ ว มเป็ น ผู้ ยื่ น ข้ อ เสนอต่ อ หน่ ว ยงานของรั ฐ ได้ และ ผู้ประกอบการนั้นเป็นผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมบัญชีกลาง 3. กรมบัญชีกลางขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการรายใดแล้ว หน่วยงานของรัฐอื่นไม่ ต้องจัดให้มีการขึ้นทะเบียนอีก หมวด 6 มาตรา 54-68 การจัดซื้อจัดจ้าง วิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ 3 วิธี 1) วิ ธี ป ระกาศเชิ ญ ชวนทั่ ว ไป ได้ แ ก่ การที่ ห น่ ว ยงานของรั ฐ เชิ ญ ชวน ผู้ประกอบการทั่วไปที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกาหนด ให้เข้า ยื่นข้อเสนอ 2) วิธีคัดเลือก ได้แก่ การที่หน่วยงานของรัฐเชิญ ชวนเฉพาะผู้ป ระกอบการที่ มี คุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกาหนด ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสามรายให้ เข้ายื่นข้อเสนอเว้นแต่ในงานนั้นมีผู้ประกอบการที่มี คุณสมบัติตรงตามที่กาหนด น้อยกว่าสามราย 3) วิธีเฉพาะเจาะจง ได้แก่ การที่ หน่วยงานของรัฐเชิญชวนผู้ป ระกอบการที่ มี คุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่ ห น่วยงานของรัฐก าหนดรายใดรายหนึ่ง ให้เ ข้ายื่น ข้ อ เสนอหรื อ ให้ เ ข้ า มาเจรจาต่ อ รองราคารวมทั้ ง การจั ด ซื้ อ จั ด จ้ า งพั ส ดุ กั บ ผู้ประกอบการโดยตรงในวงเงินเล็กน้อยตามที่กาหนดในกฎกระทรวง การจัดซื้อจัดจ้างให้ใช้วิธีประกาศเชิญชวนก่อน เว้นแต่ ประกาศแล้วไม่มีผู้ยื่นข้อเสนอ เป็นพัสดุที่มีคุณลักษณะเฉพาะเป็นพิเศษ หรือซับซ้อน จาเป็นเร่งด่วน มีข้อจากัดด้านเทคนิค ต้องระบุยี่ห้อ ต้องซื้อจากต่างประเทศ พัสดุลับ งานจ้างซ่อม กรณีอื่นตามที่กาหนดในกฎกระทรวง การจัดซื้อจัดจ้างให้ใช้วิธีเฉพาะเจาะจง ดังนี้ ใช้วิธีประกาศเชิญชวนและวิธีคัดเลือกแล้ว แต่ไม่มีผู้ ยื่นข้อเสนอ/ไม่มีผู้ได้รับการ คัดเลือก จัดซื้อจัดจ้างในวงเงินไม่เกินวงเงินที่กาหนดในกฎกระทรวง มีคุณสมบัติโดยตรงรายเดียว ฉุกเฉิน อุบัติเหตุ ภัยธรรมชาติ จัดซื้อจัดจ้างเพิ่มเติมเพื่อความสมบูรณ์หรือต่อเนื่อง เป็นพัสดุที่ขายทอดตลาด ซื้อที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง เฉพาะแห่ง กรณีอื่นตามที่กาหนดในกฎกระทรวง หมวด 7 มาตรา 69-78 งานจ้างที่ปรึกษา งานจ้างที่ปรึกษา มี 3 วิธี ดังนี้ (เดิมมีตกลงราคา กับวิธีคัดเลือก) 1.วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป : งานที่ไม่ซับซ้อน งานประจา 2.วิธีคัดเลือก : เชิญชวนเฉพาะที่ปรึกษาที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่กาหนด ซึ่ง ต้องไม่น้อยกว่า 3 ราย 3.วิธีเฉพาะเจาะจง : - ใช้ทั้งวิธีประกาศเชิญชวนและวิธีคัดเลือกแต่ไม่มีผู้ยื่นข้อเสนอ - การจ้างในวงเงินครั้งหนึ่งไม่เกินวงเงินที่กาหนดในกฎกระทรวง - เป็ น งานที่ จ าเป็ นต้ อ งจ้ า งที่ ป รึ ก ษารายเดิ ม ท าต่ อ จากงานที่ ไ ด้ ท าไว้ แ ล้ ว เนื่องจากเหตุผลทางเทคนิค - เป็นงานจ้างที่มีที่ปรึกษาเพียงรายเดียว - เป็นงานที่มีความจาเป็นเร่งด่วนหรือเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติ หมวด 8 มาตรา 79-92 งานจ้างออกแบบหรือ 1. วิธีประกาศเชิญชวน : ให้ใช้กับงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง ที่มี ควบคุมงานก่อสร้าง ลักษณะไม่ซับซ้อน 2. วิธีคัดเลือก : เชิญชวนให้ผู้บริการที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่กาหนดซึ่งต้อง ไม่น้อยกว่า 3 รายให้เข้ายื่นข้อเสนอ มีลักษณะงานซับซ้อน เป็นงานออกแบบหรือ ใช้ความคิด 3. วิธีเฉพาะเจาะจง : เป็นงานที่เลือกจ้างผู้ให้บริการรายใดรายหนึ่งที่เคยทราบ หรือเคยเห็นความสามารถแล้ว ตามที่คณะกรรมการจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจงได้ เสนอแนะ วงเงินไม่ เกินที่ก าหนดในกฎกระทรวง เป็นงานเร่งด่วนหรือเกี่ยวกั บ ความมั่นคงของชาติ จาเป็นต้องใช้รายเดิมทาต่อจากงานที่ทาไว้แล้ว 4. วิธีประกวดแบบ : เป็นงานจ้างออกแบบหรือคุมงานก่อสร้างงานที่มีลักษณะ พิเศษ เป็นที่เชิดชูคุณค่าทางด้านศิลปกรรมหรือสถาปัตยกรรมของชาติ หมวด 9 มาตรา 93-99 การทาสัญญา ก าหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องท าสัญญาตามแบบที่คณะกรรมการนโยบาย กาหนด โดยความเห็นชอบของสานักงานอัยการสูงสุด ทั้งนี้ แบบสัญญา ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ด้วย ในกรณีที่ ห น่ วยงานของรั ฐไม่ ได้ ท าสัญ ญาตามแบบหรือ ไม่ อ าจใช้ สัญ ญาที่ สานักงานอัยการสูงสุดให้ความเห็นชอบได้ หรือไม่อาจส่งให้สานักงานอัยการสูงสุด เห็นชอบได้ทันเวลา ให้สามารถส่งให้สานักงานอัยการสูงสุดเห็นชอบได้ในภายหลังได้ สัญญาที่ทาในราชอาณาจักรต้องมีข้อตกลงในการห้ามคู่สัญญาจ้างช่วงให้ผู้อื่นทา อีก ทอดหนึ่ง ไม่ว่าทั้ง หมดหรือบางส่วน เว้นแต่การจ้างช่วงแต่บ างส่วนที่ได้รั บ อนุญาตจากหน่วยงานของรัฐที่เห็นคู่สัญญาแล้ว หน่วยงานอาจมีข้อตกลงเป็นหนัง สือ โดยไม่ ทาตามแบบสัญญา เฉพาะในกรณี ดังต่อไปนี้ 1. การจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีคัดเลือก หรือโดยวิธีเฉพาะเจาะจง หรือการจ้างที่ ปรึกษาโดยวิธีเฉพาะเจาะจง 2. การจัดซื้อจัดจ้างจากหน่วยงานภาครัฐ 3. คู่สัญญาสามารถส่งมอบพัสดุได้ครบถ้วน ภายใน 5 วันทาการ นับแต่วันถัด จากวันทาข้อตกลง 4. กรณีอื่นตามที่คณะกรรมการนโยบายกาหนด สัญญาที่มีการลงนามและแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาหรือข้อตกลง ต้องเผยแพร่ใน ระบบของกรมบัญชีกลาง ของหน่วยงาน หมวด 10 มาตรา 100-105 การบริหารสัญญาและ การบริหารสัญญาและการตรวจรับพัสดุให้ผมู้ ีอานาจแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับ การตรวจสอบพัสดุ พัส ดุเ พื่อ รับผิดชอบการบริห ารสัญญาหรือข้อตกลงและการตรวจรับ พัสดุ โดย องค์ประกอบ องค์ประชุม และหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุให้เป็นไป ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกาหนด หมวด 11 มาตรา 106-108 การประเมินผลการ ก าหนดให้ ผ ลการประเมิ น เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของเกณฑ์ ใ นการพิ จ ารณาคั ด เลื อ ก ปฏิบัติงานของ คุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ายื่นข้อเสนอหรือเข้าทาสัญญากับหน่วยงานของรัฐ โดยผู้ที่ ผู้ประกอบการ ไม่ผ่านเกณฑ์ที่กาหนดจะถูกระงับการยื่นข้อเสนอและทาสัญญาเกี่ยวกับหน่วยงาน ของรัฐไว้ชั่วคราว จนกว่าจะมีผลการปฏิบัติงานผ่านเกณฑ์ที่กาหนด หมวด 12 มาตรา (109-111) การทิ้งงานและการเพิก ผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญา ที่มีลักษณะเป็นการทิ้งงาน ดังนี้ ถอนการเป็นผูท้ ิ้งงาน 1. เป็นผู้ยื่นข้อเสนอที่ได้รับการคัดเลือกแล้ว ไม่ยอมไปทาสัญญาหรือข้อตกลง เป็นหนังสือภายในเวลาที่กาหนด 2. คู่สัญญา ไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือ 3. ผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญา มีลักษณะเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่าง เป็นธรรม 4. เมื่อผลของการปฏิบัติตามสัญญาของที่ปรึกษาหรือผู้ให้บริการงานออกแบบ หรืองานก่อสร้าง มีข้อบกพร่อง ผิดพลาด หรือก่อให้เกิดข้อผิดพลาด 5. ผู้ให้บริการมีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้ประกอบการงานก่อสร้าง หมวด 13 มาตรา 112-113 การบริหารพัสดุ ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการควบคุมและดูแลพัสดุที่อยู่ในความครอบครองให้มี การใช้และการบริห ารพัส ดุที่เ หมาะสม คุ้ มค่า และเกิ ดประโยชน์ม ากที่สุด ซึ่ง รวมถึงการเก็บ การบันทึ ก การเบิกจ่าย การยืม การตรวจสอบ การบารุงรักษา และการจาหน่าย ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกาหนด หมวด 14 มาตรา 114-119 การอุทรณ์ ก าหนดให้ผู้ซึ่ง ได้ยื่นข้อเสนอจัดซื้อจัดจ้างพัส ดุกั บ หน่วยงานของรัฐมีสิท ธิ อุทธรณ์ในเรื่อง ดังนี้ 1. การเลือกใช้วิธีจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ หรือเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาผล 2. หน่วยงานของรัฐมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กาหนด ใน พระราชบัญญัตินี้ 3. กฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศที่ออกตามความนี้ พระราชบัญญัติ นี้ เป็นเหตุให้ตนไม่ได้รับการประกาศผลเป็นผู้ชนะ หรือไม่ ได้รับการคัดเลือกเป็น คู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ โดยต้องยื่นอุทธรณ์ต่อหน่วยงาน ภายใน 7 วันทาการนับแต่วันประกาศผล การจัดซื้อจัดจ้างในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง ให้หน่วยงานของรัฐพิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายใน 7 วันทา การนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ในกรณี ที่ เ ห็ น ด้ ว ยกั บ อุ ท ธรณ์ ก็ ใ ห้ ด าเนิ น การตามความเห็ น นั้ น ภายใน กาหนดเวลาดังกล่าว หากไม่ เ ห็นด้วยไม่ ว่าจะทั้ ง หมดหรือบางส่วน ให้ร ายงานความเห็นพร้อม เหตุผลไปยังคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 3 วันทาการ นับแต่วันที่ครบ กาหนดเวลาดังกล่าว เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้รับรายงานจากหน่วยงานของรัฐแล้ว ให้พิจารณาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับรายงานดังกล่าว หากเรื่องใดไม่อาจพิจารณาได้ทันในกาหนดนั้น ให้คณะกรรมการพิจารณา อุทธรณ์ขยายระยะเวลาออกไปได้ไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกิน 15 วันนับแต่วัน ครบกาหนดเวลาดังกล่าว กรณีที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นว่าอุท ธรณ์ฟังขึ้นและมีผลต่อการ จัดซื้อจัดจ้างมีนัยสาคัญ ให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์สั่งให้หน่วยงานของรัฐ ดาเนินการจัดซื้อจัดจ้างใหม่ หรือเริ่มจากขั้นตอนใดตามที่เ ห็นสมควร ในกรณีที่ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นว่าอุทธรณ์ฟังไม่ขึ้นหรือไม่มีผลต่อการจัดซื้อ จัดจ้างอย่างมีนัยสาคัญ ให้แจ้งหน่วยงานของรัฐเพื่อดาเนินการจัดซื้อจัดจ้างต่อไป ถ้าผู้อุทธรณ์ผู้ใดไม่พอใจคาวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และ เห็นว่าหน่วยงานของรัฐต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหาย ผู้นั้นมีสิทธิฟ้องต่อศาลเพื่อ เรียกให้หน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าเสียหายได้ แต่การฟ้องคดีดังกล่าวไม่มีผลกระทบ ต่อการจัดซื้อจัดจ้างที่หน่วยงานของรัฐได้ลงนามในสัญญาจัดซื้อจัดจ้างนั้นแล้ว หมวด 15 มาตรา 120-121 บทลงโทษ เจ้าหน้าที่หรือผู้มีอานาจหน้าที่ในการดาเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือ การพั ส ดุ ปฏิ บั ติ ห รื อ ละเว้ น การปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ใ นการจั ด ซื้ อ จั ด จ้ า งตาม พระราชบั ญ ญั ติ นี้ กฎกระทรวง ระเบี ย บ หรื อ ประกาศที่ อ อกตามความใน พระราชบัญญัตินี้ โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ใดผู้หนึ่ง โดยกาหนดให้ ต้องระวางโทษจาคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 10 ปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสี่แสน บาท หรือทั้งจาทั้งปรับ ผู้ใดเป็นผู้ใ ช้ห รือผู้สนับ สนุนในการกระท าความผิดดัง กล่าวต้องระวางโทษ ตามที่กาหนดไว้สาหรับความผิดดังกล่าวด้วย ก าหนดโทษส าหรับ ผู้ ที่ ไม่ ป ฏิบัติ ตามคาสั่ง ของคณะกรรมการวิ นิจ ฉัยหรื อ หลักฐานประกอบการพิจารณาอุทธรณ์ เพื่อเป็นการบังคับให้ผู้ที่เกี่ยวข้องให้ความ ร่วมมือในการส่งเอกสารหรือหลักฐานประกอบ การพิจารณาของคณะกรรมการ วินิจฉัยหรือคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โดยกาหนดให้มีความผิดฐานขัดคาสั่ง เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา บทเฉพาะกาล ให้ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และระเบียบสานัก นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 และบรรดา ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ ข้อบัญญัติ และข้อกาหนดใดๆ เกี่ยวกั บพัสดุ การ จัดซื้อจัดจ้าง หรือการบริหารพัสดุของหน่วยงานของรัฐอื่นที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของ ระเบียบส านักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 หรือระเบียบสานั ก นายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2549 แล้วแต่ กรณี รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรีที่ เกี่ยวกับ พัสดุ การจัดซื้อจัดจ้าง หรือการบริหาร พั ส ดุ ข องหน่ ว ยงานของรั ฐ ยั ง คงบั ง คั บ ได้ ต่ อ ไปเท่ าที่ ไ ม่ ขั ด หรื อ แจ้ ง กั บ พระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะมีกฎกระทรวง ระเบียบหรือประกาศในเรื่องนั้น ๆ ตาม พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ สรุปโดย นางสาวปิยรัตน์ ศรีม่วงกลาง นักจัดการงานทั่วไป ที่มา : พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ที่มา : https://www.lankrabue.go.th/dnm_file/project/30725033_center.PDF ที่มา : http://www.ogad.ago.go.th/supply/images/summary-procument-2560.pdf

Use Quizgecko on...
Browser
Browser