Summary

This document details the Thai Public Procurement Act, focusing on specific sections and procedures. It outlines government procurement rules and regulations. Government contracts and administrative procedures are covered, setting the stage for relevant activities.

Full Transcript

หน้า ๒๘ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๒๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ (๔) ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ อื่ น ตามที่ กํ า หนดในพระราชบั ญ ญั ติ นี้ ห รื อ ตามที่ ค ณะกรรมการนโยบาย รัฐมนตรี หรือคณะ...

หน้า ๒๘ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๒๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ (๔) ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ อื่ น ตามที่ กํ า หนดในพระราชบั ญ ญั ติ นี้ ห รื อ ตามที่ ค ณะกรรมการนโยบาย รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย ผลการดํ า เนิ น การตาม (๑) (๒) และ (๓) ให้ ป ระกาศในระบบเครื อ ข่ า ยสารสนเทศของ กรมบัญชีกลางตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกําหนด การยื่นข้อร้องเรียนและการพิจารณาข้อร้องเรียนตาม (๒) ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกําหนด ในกรณี ที่ พิ จ ารณาข้ อ ร้ อ งเรี ย นตาม (๒) แล้ ว รั บ ฟั ง ได้ ว่ า หน่ ว ยงานของรั ฐ มิ ไ ด้ ป ฏิ บั ติ ตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎกระทรวงหรือระเบียบที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ ให้คณะกรรมการ พิจารณาอุทธรณ์มีอํานาจสั่งระงับการจัดซื้อจัดจ้างไว้ก่อนได้ เว้นแต่จะได้ลงนามในสัญญาจัดซื้อจัดจ้างแล้ว ในกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กระทําการตามหน้าที่โดยสุจริต ย่อมได้รับการคุ้มครอง ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางปกครอง มาตรา ๔๔ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทําการใด ๆ แทนได้ ให้นําบทบัญญัติมาตรา ๒๕ มาใช้บังคับกับการประชุมของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม ให้นําบทบัญญัติมาตรา ๔๓ วรรคห้า มาใช้บังคับกับการกระทําการตามหน้าที่ของคณะอนุกรรมการ โดยอนุโลม มาตรา ๔๕ คณะกรรมการพิ จ ารณาอุ ท ธรณ์ มี อํ า นาจเรี ย กให้ เ จ้ า หน้ า ที่ ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง หรื อ บุ ค คลอื่ น ใดมาชี้ แ จงหรื อ ให้ ถ้ อ ยคํ า หรื อ ให้ ส่ ง เอกสารหรื อ หลั ก ฐานที่ เ กี่ ย วข้ อ งเพื่ อ ประกอบ การพิจารณาได้ หมวด ๔ องค์กรสนับสนุนดูแลการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ มาตรา ๔๖ ให้ ก รมบั ญ ชี ก ลางมี ห น้ า ที่ ใ นการดู แ ลและพั ฒ นาระบบการจั ด ซื้ อ จั ด จ้ า ง ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ และการประกาศเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างในระบบเครือข่ายสารสนเทศ ของกรมบัญชีกลาง เพื่อให้สาธารณชนสามารถเข้าตรวจดูได้ มาตรา ๔๗ ให้กรมบัญชีกลางมีหน้าที่จัดทําฐานข้อมูลราคาอ้างอิงของพัสดุเพื่อให้หน่วยงาน ของรัฐใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุนั้น และให้เผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวในระบบเครือข่าย สารสนเทศของกรมบัญชีกลาง การกําหนดราคาอ้างอิงของพัสดุต้องคํานึงถึงราคาตลาดของพัสดุนั้น และการกําหนดราคา อ้างอิงของพัสดุอย่างเดียวกันจะไม่ใช้ราคาเดียวกันทั่วประเทศก็ได้ กรมบัญชีกลางต้องปรับปรุงฐานข้อมูลตามวรรคหนึ่ง อย่างน้อยปีละสองครั้ง หน้า ๒๙ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๒๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ มาตรา ๔๘ ให้กรมบัญชีกลางมีหน้าที่รวบรวม วิเคราะห์ และประเมินผลการปฏิบัติงาน ตามพระราชบัญญัตินี้ และจัดทํารายงานเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการดําเนินการพร้อมข้อเสนอแนะ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐเสนอคณะกรรมการนโยบาย อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เพื่อประโยชน์ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้หน่วยงานของรัฐส่งรายงานผลการปฏิบัติงาน ตามพระราชบัญญัตินี้ต่อกรมบัญชีกลาง ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง รายงานตามวรรคหนึ่ง เมื่อคณะกรรมการนโยบายให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ประกาศในระบบ เครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง มาตรา ๔๙ ให้ ก รมบั ญชี ก ลางมี หน้ า ที่ใ นการกํา หนดและจั ด ให้ มี หลั ก สู ต รการฝึ ก อบรม เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้และความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหาร พั ส ดุ ภ าครั ฐ ตามหลั ก วิ ช าชี พ และตามพระราชบั ญ ญั ติ นี้ ทั้ ง นี้ กรมบั ญ ชี ก ลางจะดํ า เนิ น การเอง หรือจะดําเนินการร่วมกับหน่วยงานอื่นหรือเอกชนที่เกี่ยวข้องก็ได้ ให้เจ้าหน้าที่ซึ่งผ่านการฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งและได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งที่ปฏิบัติงาน เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มหรือเงินอื่นทํานองเดียวกัน ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีที่เป็นข้าราชการพลเรือน ให้เจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งที่ปฏิบัติงาน เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุเป็นตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการพลเรือนและในการกําหนดให้ได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษให้คํานึงถึงภาระหน้าที่ และคุณภาพของงาน โดยเปรียบเทียบกับผู้ปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษด้วย ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกําหนด (๒) ในกรณีที่ไม่เป็นข้าราชการพลเรือน ให้เจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งที่ปฏิบัติงาน เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุเป็นตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษตามกฎหมายเกี่ยวกับการบริหาร งานบุคคลของหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่นั้นสังกัดอยู่และมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรือเป็นตําแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินอื่นทํานองเดียวกันตามกฎหมายเกี่ยวกับ การบริหารงานบุคคลของหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่นั้นสังกัดอยู่ แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ในการกําหนด ให้ได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษหรือเงินอื่นทํานองเดียวกันให้เปรียบเทียบกับเงินเพิ่มสําหรับ ตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษหรือเงินอื่นทํานองเดียวกันของหน่วยงานของรัฐประเภทเดียวกัน มาตรา ๕๐ ให้ ก รมบั ญ ชี ก ลางมี ห น้ า ที่ ป ฏิ บั ติ ง านธุ ร การ งานประชุ ม งานวิ ช าการ การศึกษาหาข้อมูล และกิจการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้แก่คณะกรรมการนโยบาย คณะกรรมการวินิจฉัย คณะกรรมการราคากลาง คณะกรรมการ ค.ป.ท. คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และคณะอนุกรรมการ ที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการดังกล่าว รวมทั้งให้มีอํานาจหน้าที่อื่นตามที่กําหนดในพระราชบัญญัตินี้ หน้า ๓๐ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๒๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ หมวด ๕ การขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ มาตรา ๕๑ ให้คณะกรรมการราคากลางมีอํานาจประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา ให้งานก่อสร้างในสาขาใด เป็นงานก่อสร้างที่ผู้ประกอบการงานก่อสร้างในสาขานั้นจะเข้าร่วมเป็นผู้ยื่นข้อเสนอ ต่อหน่วยงานของรัฐได้ ผู้ประกอบการงานก่อสร้างในสาขานั้นต้องเป็นผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมบัญชีกลาง คณะกรรมการราคากลางอาจประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา ให้งานก่อสร้างในสาขาใด ที่ผู้ ประกอบการงานก่อ สร้ างในสาขานั้น ต้อ งขึ้ น ทะเบีย นไว้กั บกรมบัญ ชีกลางตามวรรคหนึ่ ง ต้ อ งใช้ เงินงบประมาณในวงเงินเท่าใดหรือต้องใช้ผู้ประกอบวิชาชีพในสาขาใดด้วยก็ได้ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้างที่จะเข้าร่วมเป็น ผู้ยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการราคากลางประกาศกําหนด ในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ จะต้องเปิดโอกาสให้ผ้ปู ระกอบการงานก่อสร้างทุกรายมีสิทธิขอขึ้นทะเบียนได้ ตลอดเวลา มาตรา ๕๒ ในกรณี ที่ เ ห็ น สมควร คณะกรรมการราคากลางอาจประกาศกํ า หนดใน ราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้ประกอบการพัสดุอื่นนอกเหนือจากผู้ประกอบการงานก่อสร้าง เป็นผู้ประกอบการ ที่จะเข้าร่วมเป็นผู้ยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐได้ ผู้ประกอบการนั้นต้องเป็นผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับ กรมบัญชีกลางก็ได้ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการพัสดุอื่นที่จะเข้าร่วมเป็น ผู้ยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการราคากลางประกาศกําหนด ในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ จะต้องเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการทุกรายมีสิทธิขอขึ้นทะเบียนได้ตลอดเวลา มาตรา ๕๓ ให้กรมบัญชีกลางประกาศรายชื่อผู้ประกอบการงานก่อสร้างตามมาตรา ๕๑ และผู้ประกอบการพัสดุอื่นตามมาตรา ๕๒ ที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้วในระบบเครือข่ายสารสนเทศของ กรมบัญชีกลาง และให้ปรับปรุงความถูกต้องของข้อมูลให้เป็นปัจจุบันทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล ในกรณีที่กรมบัญชีกลางได้ขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้างและผู้ประกอบการพัสดุอื่น ตามวรรคหนึ่ ง ไว้แ ล้ ว หน่ ว ยงานของรั ฐไม่ ต้ อ งจัด ให้ มี ก ารขึ้ น ทะเบี ย นผู้ ป ระกอบการประเภทนั้ น อี ก และให้ห น่ว ยงานของรัฐ กํา หนดคุณ สมบัติ ผู้มี สิ ทธิ เข้ ายื่ นข้ อ เสนอตามมาตรา ๕๑ หรื อมาตรา ๕๒ ในประกาศเชิญชวนให้เข้าร่วมการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐนั้นด้วย คุ ณ สมบั ติ แ ละลั ก ษณะต้ อ งห้ า มของผู้ ป ระกอบการที่ มี สิ ท ธิ ข อขึ้ น ทะเบี ย น การตรวจสอบ คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามหรือการตรวจติดตาม การเพิกถอนรายชื่อออกจากทะเบียน และอัตรา ค่าธรรมเนียมการขอขึ้นทะเบียน รวมทั้งหลักเกณฑ์และวิธีการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ในกรณี ที่กรมบัญชีกลางไม่ขึ้นทะเบียนให้ผู้ประกอบการ ให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎกระทรวง หน้า ๓๑ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๒๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ หมวด ๖ การจัดซื้อจัดจ้าง มาตรา ๕๔ บทบัญญัติในหมวดนี้ให้ใช้บังคับกับการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ ยกเว้นงานจ้างที่ปรึกษา และงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง มาตรา ๕๕ การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุอาจกระทําได้โดยวิธี ดังต่อไปนี้ (๑) วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป ได้แก่ การที่หน่วยงานของรัฐเชิญชวนผู้ประกอบการทั่วไปที่มี คุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกําหนดให้เข้ายื่นข้อเสนอ (๒) วิธีคัดเลือก ได้แก่ การที่หน่วยงานของรัฐเชิญชวนเฉพาะผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติ ตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกําหนดซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสามรายให้เข้ายื่นข้อเสนอ เว้นแต่ในงานนั้น มีผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กําหนดน้อยกว่าสามราย (๓) วิธี เ ฉพาะเจาะจง ได้ แก่ การที่ หน่ ว ยงานของรั ฐเชิ ญ ชวนผู้ ป ระกอบการที่ มีคุ ณ สมบั ติ ตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกําหนดรายใดรายหนึ่งให้เข้ายื่นข้อเสนอ หรือให้เข้ามาเจรจาต่อรองราคา รวมทั้งการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุกับผู้ประกอบการโดยตรงในวงเงินเล็กน้อยตามที่กําหนดในกฎกระทรวง ที่ออกตามความในมาตรา ๙๖ วรรคสอง มาตรา ๕๖ การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ ให้หน่วยงานของรัฐเลือกใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปก่อน เว้นแต่ (๑) กรณีดังต่อไปนี้ ให้ใช้วิธีคัดเลือก (ก) ใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปแล้ว แต่ไม่มีผู้ยื่นข้อเสนอ หรือข้อเสนอนั้นไม่ได้รับ การคัดเลือก (ข) พัสดุที่ต้องการจัดซื้อจัดจ้างมีคุณลักษณะเฉพาะเป็นพิเศษหรือซับซ้อนหรือต้องผลิต จําหน่าย ก่อสร้าง หรือให้บริการโดยผู้ประกอบการที่มีฝีมือโดยเฉพาะ หรือมีความชํานาญเป็นพิเศษ หรือมีทักษะสูง และผู้ประกอบการนั้นมีจํานวนจํากัด (ค) มีความจําเป็นเร่งด่วนที่ต้องใช้พัสดุนั้นอันเนื่องมาจากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่อาจคาดหมายได้ ซึ่งหากใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปจะทําให้ไม่ทันต่อความต้องการใช้พัสดุ (ง) เป็นพัสดุที่โดยลักษณะของการใช้งาน หรือมีข้อจํากัดทางเทคนิคที่จําเป็นต้องระบุยี่ห้อ เป็นการเฉพาะ (จ) เป็นพัสดุที่จําเป็นต้องซื้อโดยตรงจากต่างประเทศ หรือดําเนินการโดยผ่านองค์การ ระหว่างประเทศ (ฉ) เป็นพัสดุที่ใช้ในราชการลับ หรือเป็นงานที่ต้องปกปิดเป็นความลับของหน่วยงานของรัฐ หรือที่เกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ หน้า ๓๒ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๒๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ (ช) เป็นงานจ้างซ่อมพัสดุที่จําเป็นต้องถอดตรวจ ให้ทราบความชํารุดเสียหายเสียก่อน จึ ง จะประมาณค่ า ซ่ อ มได้ เช่ น งานจ้ า งซ่ อ มเครื่ อ งจั ก ร เครื่ อ งมื อ กล เครื่ อ งยนต์ เครื่ อ งไฟฟ้ า หรือเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ซ) กรณีอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง (๒) กรณีดังต่อไปนี้ ให้ใช้วิธีเฉพาะเจาะจง (ก) ใช้ ทั้ ง วิ ธี ป ระกาศเชิ ญ ชวนทั่ ว ไปและวิ ธี คั ด เลื อ ก หรื อ ใช้ วิ ธี คั ด เลื อ กแล้ ว แต่ ไ ม่ มี ผู้ยื่นข้อเสนอ หรือข้อเสนอนั้นไม่ได้รับการคัดเลือก (ข) การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่มีการผลิต จําหน่าย ก่อสร้าง หรือให้บริการทั่วไป และมีวงเงิน ในการจัดซื้อจัดจ้างครั้งหนึ่งไม่เกินวงเงินตามที่กําหนดในกฎกระทรวง (ค) การจั ด ซื้ อ จั ด จ้ า งพั ส ดุ ที่ มี ผู้ ป ระกอบการซึ่ ง มี คุ ณ สมบั ติ โ ดยตรงเพี ย งรายเดี ย ว หรือการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุจากผู้ประกอบการซึ่งเป็นตัวแทนจําหน่ายหรือ ตัวแทนผู้ให้บริการโดยชอบ ด้วยกฎหมายเพียงรายเดียวในประเทศไทยและไม่มีพัสดุอื่นที่จะใช้ทดแทนได้ (ง) มีความจําเป็นต้องใช้พัสดุนั้นโดยฉุกเฉิน เนื่องจากเกิดอุบัติภัยหรือ ภัยธรรมชาติ หรือเกิดโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ และการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป หรือวิธีคัดเลือกอาจก่อให้เกิดความล่าช้าและอาจทําให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง (จ) พัสดุที่จะทําการจัดซื้อ จัดจ้างเป็นพัสดุที่เกี่ยวพันกับพัสดุที่ได้ทําการจัดซื้อจัดจ้าง ไว้ก่อนแล้ว และมีความจําเป็นต้องทําการจัดซื้อจัดจ้างเพิ่มเติมเพื่อความสมบูรณ์หรือต่อเนื่องในการใช้พัสดุนั้น โดยมูลค่าของพัสดุที่ทําการจัดซื้อจัดจ้างเพิ่มเติมจะต้องไม่สูงกว่าพัสดุที่ได้ทําการจัดซื้อจัดจ้างไว้ก่อนแล้ว (ฉ) เป็ น พั ส ดุ ที่ จ ะขายทอดตลาดโดยหน่ ว ยงานของรั ฐ องค์ ก ารระหว่ า งประเทศ หรือหน่วยงานของต่างประเทศ (ช) เป็นพัสดุที่เป็นที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างซึ่งจําเป็นต้องซื้อเฉพาะแห่ง (ซ) กรณีอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง รัฐมนตรีอาจออกกฎกระทรวงตาม (๑) (ซ) หรือ (๒) (ซ) ให้เป็นพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริม หรือสนับสนุนตามมาตรา ๖๕ (๔) ก็ได้ หากรัฐมนตรีออกกฎกระทรวงตาม (๒) (ซ) เป็นพัสดุที่รัฐต้องการ ส่งเสริมหรือสนับสนุนตามมาตรา ๖๕ (๔) แล้ว เมื่อหน่วยงานของรัฐจะทําการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุนั้น ให้ใช้วิธีเฉพาะเจาะจงตาม (๒) (ซ) ก่อน ในกรณีหน่วยงานของรัฐในต่างประเทศหรือมีกิจกรรมที่ต้องปฏิบัติในต่างประเทศจะทําการจัดซื้อ จัดจ้างโดยใช้วิธีคัดเลือกหรือวิธีเฉพาะเจาะจง โดยไม่ใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปก่อนก็ได้ รัฐมนตรีอาจออกระเบียบเพื่อกําหนดรายละเอียดอื่นของการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุตามวรรคหนึ่ง เพิ่มเติมได้ตามความจําเป็นเพื่อประโยชน์ในการดําเนินการ มาตรา ๕๗ รายละเอียดของวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุในหมวดนี้ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกําหนด

Use Quizgecko on...
Browser
Browser