กายภาพบำบัดในการกีฬา (Intro PT) PDF

Document Details

BelievableMoscovium

Uploaded by BelievableMoscovium

มหาวิทยาลัยพะเยา

ดร.กภ. สมฤทัย พุ่มสลุด

Tags

กายภาพบำบัด การกีฬา เวชศาสตร์การกีฬา สุขภาพ

Summary

เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 381110 บทนำวิชาชีพกายภาพบำบัด เรื่อง กายภาพบำบัดในการกีฬา โดย อ.ดร.กภ. สมฤทัย พุ่มสลุด จากสาขาวิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

Full Transcript

เอกสารประกอบการสอน รายวิชา 381110 บทนำวิชาชีพกายภาพบำบัด เรื่อง กายภาพบำบัดในการกีฬา อ.ดร.กภ. สมฤทัย พุ่มสลุด...

เอกสารประกอบการสอน รายวิชา 381110 บทนำวิชาชีพกายภาพบำบัด เรื่อง กายภาพบำบัดในการกีฬา อ.ดร.กภ. สมฤทัย พุ่มสลุด สาขาวิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ________________________________________________________________________________ วัตถุประสงค์ เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนนิสิตสามารถ 1. อธิบายบทบาทของนักกายภาพบาบัดในการกีฬาเบื้องต้นได้ 2. อธิบายลักษณะงานทางด้านกายภาพบาบัดในการกีฬาได้ ________________________________________________________________________________ บทบาทของนักกายภาพบำบัดในการกีฬา เป้าหมายของการให้บริการด้านกายภาพบำบัด ในการกีฬาคือการส่งเสริมให้ประชาชนและนักกีฬา สามารถเล่นกีฬาได้อย่างปลอดภัย ปราศจากการบาดเจ็บและส่งเสริมสมรรถนะทางการกีฬาให้พร้อมที่สุด เท่าที่นักกีฬาแต่ล ะคนจะไปถึงได้ (individual’s best performance) ในระดับนานาชาติ กายภาพบำบัด ทางการกีฬาเป็นสาขาหนึ่งของความเชี่ย วชาญในวิชาชีพกายภาพบำบัด และได้มีการจัดตั้ง International federation of sports physiotherapy (IFSP) เป็ น subgroup ของ World confederation of physical therapy (WCPT) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีสมาชิกรวม 101 ประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย เพื่อกำหนดมาตรฐาน ของการให้บริการและการศึกษาด้านกายภาพบำบัดทางการกีฬา บทบาทของนักกายภาพบำบัดในการกีฬาครอบคลุมงานในหลายด้านของเวชศาสตร์การกีฬาดังนี้ 1. ส่งเสริมสุขภาพหรือสมรรถภาพร่างกาย นักกายภาพบำบัดทางการกีฬาจะช่วยให้ผู้ที่ต้องการเล่นกีฬามีการพัฒนาสมรรถนะทางการกีฬาโดย วิธีการต่าง ๆ ข้อมูลพื้นฐานของการส่งเสริมสมรรถภาพได้จากการตรวจประเมินระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ และระบบหัวใจและการไหลเวียนเลือด ผลการประเมินดังกล่าวจะชี้ให้เห็นภาพรวมของจุดแข็งและจุดด้อยทาง กายของแต่ละบุคคล จากนั้นจึงนำภาพรวมลักษณะทางกายนี้ไปเทียบกับระดับสมรรถนะทางกายที่ต้องการใน แต่ละชนิดกีฬาเพื่อ ออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกายที่มีลักษณะเฉพาะ สามารถลดจุดอ่อนทางด้านความ อ่อนตัว ความแข็งแรง ความทนทาน และความสามารถในการใช้พลังงานได้ เพื่อการเสริมสร้างสมรรถนะและ ลดความเสี่ยงที่จะเกิดการบาดเจ็บของนักกีฬา เช่น การให้คำแนะนำวิธีการฝึกเพื่อเพิ่มความแข็งแรง ความ ยืดหยุ่น ความทนทานของกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ การติดตามผลการฝึกจะช่วยให้สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการฝึก ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นในแต่ละช่วงเวลา 1 2. ป้องกันการบาดเจ็บ นักกายภาพบำบัดอาศัยความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวของร่างกายร่วมกับการคิด วิเคราะห์ถึงสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บในนักกีฬา ซึ่งเมื่อทราบแล้วก็สามารถหาวิธี ป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บขึ้นได้ วิธีการป้องกันนั้นมีหลากหลายรูปแบบ เช่น การยืดกล้ามเนื้อ การเพิ่ม ความแข็งแรงและความทนทานให้กับเอ็นข้อต่อ เอ็นกล้ามเนื้อ รวมถึงตัวกล้ามเนื้อ การแก้ไขการเคลื่อนไหวที่ ผิดปกติให้กลับคืนสู่ปกติ การเตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนเล่นกีฬา การลดความเหนื่อยล้าของร่างกายภาย หลังจากการเล่นกีฬา หรือการใช้อุปกรณ์เสริมต่าง ๆ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ เป็นต้น 3. ตรวจประเมินการบาดเจ็บ นักกายภาพบำบัดทางการกีฬาต้องมีองค์ความรู้ทั้งกายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา พยาธิวิทยา และชีวกล ศาสตร์ที่เกี่ยวกับกีฬาเป็นอย่างดี และต้องมีทักษะที่ดีในการตรวจประเมินการบาดเจ็บทั้งในระยะเฉียบพลัน และระยะเรื้อรัง ทั้งที่ได้รับการผ่าตัดรักษาแล้ว และไม่ได้รับการผ่าตัดรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจ ประเมินการบาดเจ็บของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ เพื่อการประเมินคุณภาพและลักษณะการเคลื่อนไหวที่ เฉพาะเจาะจง ซึ่งหากนักกีฬามีการเคลื่อนไหวที่ถูกต้องตามหลักชีวกลศาสตร์ ก็จะทำให้นักกีฬาสามารถเล่น กีฬาได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น 4. รักษาการบาดเจ็บและฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย การรักษาการบาดเจ็บและการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายในนักกีฬาสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ตามลักษณะของสถานที่ปฏิบัติงาน ได้แก่ การปฏิบัติงานภาคสนาม (on-field management) และการ ปฏิบัติงานในคลินิก (off-field management) การปฏิบัติงานภาคสนาม เกิดขึ้นในระหว่างที่นักกีฬาทำการแข่งขัน โดยนักกายภาพบำบัดจะประจำ อยู่ข้างสนามเพื่อทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือนักกีฬาที่ได้รับบาดเจ็บในระหว่างการแข่งขัน การปฏิบัติงาน ภาคสนามมักเกี่ยวข้องกับการตรวจประเมินว่านักกีฬาที่ได้รับบาดเจ็บสามารถแข่งขันต่อได้หรือไม่ จำเป็นต้อง มีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างไรบ้าง และถ้านักกีฬาสามารถแข่งขันต่อ ได้ ควรมีการป้องกันไม่ให้เกิดการ บาดเจ็บเพิ่มมากขึ้นอย่างไรบ้าง สำหรับในกรณีที่มีแพทย์ประจำสนามแข่งขันด้วย นักกายภาพบำบัดจะทำ หน้าที่เป็นผู้ช่วยแพทย์ในการให้การดูแลนักกีฬา การปฏิบัติงานในคลินิก เกิดขึ้นหลังจากการแข่งขัน อาจเป็นการดูแลต่อเนื่องมาจากการดูแลเบื้ องต้น ข้างสนามหรือเป็นการให้การรักษาแก่นักกีฬาที่มีอาการบาดเจ็บเรื้อรัง ซึ่งการดูแลนักกีฬาที่ได้รับบาดเจ็บก็ คล้ายคลึงกับบุคคลทั่วไป โดยใช้วิธีการทางกายภาพบำบัดที่เหมาะสมกับปัญหา แต่มีสิ่งสำคัญที่ควรระลึกถึง เป็นพิเศษเมื่อให้การดูแลเรื่องการบาดเจ็บและการฟื้น ฟูสมรรถภาพร่างกายของนักกีฬาอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ ทำการวิเคราะห์หาสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บขึ้นและออกแบบโปรแกรมการฟื้นฟู สมรรถภาพร่างกายให้เหมาะสมกับนักกีฬาแต่ละประเภท การรักษาอาการบาดเจ็บระยะเฉียบพลัน (acute injuries) ควรเน้นการรักษาที่กระตุ้นกระบวนการ หายของการบาดเจ็ บ (healing process) ซึ ่ ง ในสถานการณ์ เ ช่น นี้ อาจเกิ ด ความขั ด แย้ ง กัน ระหว่า งนัก กายภาพบำบัดและนักกีฬากับผู้ฝึกสอนกีฬา เนื่องจากตัวนักกีฬาและผู้ฝึกสอนต้องการที่จะให้นักกีฬากลับไป 2 แข่งขันโดยเร็วที่สุด จึงมีความต้องการที่จะให้นักกายภาพบำบัดเร่งรัดกระบวนการฟื้นฟูการบาดเจ็บ ปั ญหา เหล่านี้นักกายภาพบัดจำเป็นต้องอธิบายถึงกระบวนการหายจากการบาดเจ็บให้นักกีฬาและผู้ฝึกสอนเข้าใจ บทบาทหน้าที่ข้างต้นเป็นมาตรฐานสำหรับนักกายภาพบำบัดที่ปฏิบัติงานทางด้านกีฬา ซึ่งหน้าที่ ทั้งหมดจัดเป็นสิ่งที่นักกายภาพบำบัดต้องทำในทุก ๆ ช่วงของการแข่งขัน แต่ในการแข่งขันกีฬาอาชีพนั้นมักจะ มีการจัดการแข่งขันให้อยู่ในช่วงเวลาที่แน่นอน ดังนั้น เพื่อความชัดเจนในการให้การดูแลสุขภาพร่างกายของ นักกีฬา จะขอแบ่งการแข่งขันออกเป็นฤดูกาลต่าง ๆ ดังนี้ o ก่อนฤดูกาลแข่งขัน (pre-season) ในกีฬาระดับชาติหรือระดับโลก มักจัดการแข่งขันให้อยู่ในช่วงเวลาที่แน่นอน หรือทีมกีฬา มักจะจัดปฏิทินการแข่งขันให้กับนักกีฬาในทีมของตนเอง แต่ในกีฬาหลายประเภทก็มิได้มีการแบ่งช่วงเวลา อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม การแบ่งเวลาอย่างเหมาะสมนั้นจะเป็นประโยชน์สำหรับนักกีฬาอย่างมาก เพราะ ทำให้นักกีฬามีช่วงเวลาพักผ่อนทำกิจกรรมอย่างอื่นนอกเหนือจากการเล่นหรือแข่งขันกีฬา ในช่วงก่อนฤดูการแข่งขัน นักกายภาพบำบัดจะมีหน้าที่ในการให้ความรู้แก่นักกีฬาและผู้ ฝึกสอนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การกีฬาและเวชศาสตร์การกีฬา เช่น เรื่องการบาดเจ็บ เรื่องของการทำงานของ กล้ามเนื้อและข้อต่อในการเล่นกีฬาประเภทนั้น ๆ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่จะเกิดขึ้น การประเมินสมรรถภาพร่างกายเพื่อให้ข้อคิดเห็นในการพัฒนาศักยภาพในการเล่น กี ฬา เฉพาะประเภท และเพื่อหาอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นในช่วงก่อนฤดูกาลแข่งขันหรืออาการบาดเจ็บที่ เป็น เรื้อรังมาก่อนเป็นสิ่งสำคัญต่อการเตรียมพร้อมนักกีฬาให้สามารถเล่นกีฬาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในกรณีที่ ตรวจพบการบาดเจ็บ นักกายภาพบำบัดจะใช้วิธีทางกายภาพบำบัดรักษาควบคู่ไปกับการฝึกสมรรถภาพ ร่างกายให้นักกีฬาฟื้นตัวและกลับไปแข่งขันกีฬาได้อีกครั้ง o ฤดูกาลแข่งขัน (competition-season) ก่อนเวลาแข่งขัน นักกายภาพบำบัดมีหน้าที่เตรียมความพร้อมให้กับนักกีฬา เช่น พันผ้าเทป กาว แนะนำการใช้อุปกรณ์พยุงข้อต่อ แนะนำการยืดกล้ามเนื้อและอบอุ่นร่างกาย เป็นต้น ในขณะแข่งขัน นักกายภาพบำบัดมีหน้าที่ตรวจประเมินนักกีฬาที่ได้รับบาดเจ็บ เคลื่อนย้าย ผู้ป่วยโดยมิให้เกิดความกระทบกระเทือนหรือบาดเจ็บมากยิ่งขึ้น และให้การดูแลรักษาเบื้องต้นก่อนส่งต่อไปรับ การรักษาที่จำเป็นต่อไป หลังเสร็จสิ้นการแข่งขัน ในกรณีที่นักกีฬาจำเป็นต้องได้รับการรักษาทางกายภาพบำบัด นัก กายภาพบำบัดจะต้องใช้เครื่องมือและวิธีการรักษาทางกายภาพบำบัดเพื่อทำให้นักกีฬาหายจากการบาดเจ็บ และกลับไปแข่งขันได้ในแมทช์ต่อ ๆ ไป o หลังฤดูกาลแข่งขัน (post/Off-season) หลังจบฤดูกาลแข่งขัน นักกายภาพบำบัดมีหน้าที่สรุปข้อมูลประจำปีว่านักกีฬาแต่ละคนมีการ บาดเจ็บที่ไหน อย่างไรบ้าง หลังจากได้ข้อมูลดังกล่าวมาแล้วก็จะต้องหาทางป้องกันให้เกิดการบาดเจ็บนั้น ๆ น้อยลงในฤดูกาลต่อไป 3 นอกจากนี้นักกายภาพบำบัดยังมีหน้าที่รักษาและฟื้นฟูนักกีฬาที่ได้รับบาดเจ็บมาจากช่วง ฤดูกาลแข่งขัน รวมไปถึงการออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อคงสภาพร่างกายของนักกีฬาให้มีความ พร้อมเสมอก่อนเข้าสู่ช่วงก่อนฤดูกาลแข่งขันและฤดูกาลแข่งขัน ลักษณะงานทางด้านกายภาพบำบัดในการกีฬา นักกายภาพบำบัดประจำทีมสโมสรกีฬา นักกายภาพบำบัดประจำทีมสโมสรนักกีฬาจะทำหน้าที่ให้ความรู้ความเข้าใจแก่นักกีฬาในการดูแล ตนเองเพื่อป้องกันหรือฟื้นฟูอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา และเพื่อช่วยดูแลนักกีฬาประจำสโมสรที่มีการ บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ทั้งการลงแข่งในสนามและการฝึกซ้อม โดยจะมีการตรวจวิเคราะห์ และให้การรักษา อย่างถูกต้องและทันท่วงที นักกายภาพบำบัดประจำสมาคมกีฬา นักกายภาพบำบัดประจำสมาคมกีฬานั้น จะอยู่ประจำสมาคมกีฬาต่าง ๆ ที่ประเทศไทยมี ขึ้นอยู่กับ การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) โดยหน้าที่หลัก ได้แก่ การป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสภาพร่างกายนักกีฬาทีม ชาติให้ทันการแข่งขันที่จะจัดขึ้น ทั้งในระดับประเทศและระดับสากล รวมถึงมีการร่วมเดินทางไปกับนักกีฬา เพื่อคอยดูแลนักกีฬาระหว่างการจัดการแข่งขันด้วย นักกายภาพบำบัดส่วนตัวประจำตัวนักกีฬา หากเป็นนักกีฬาอาชีพที่มีรายได้จากการเล่นกีฬา อาจมีการจ้างนักกายภาพบำบัดส่วนตัวเพื่อเดินทาง ไปกับนักกีฬาในการแข่งขันต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยนัก กายภาพบำบัดจะมีหน้าที่ดูแล นักกีฬาคนนั้น ๆ เพียงคนเดียว ไม่ได้ดูแลทั้งทีมเหมือนนักกายภาพบำบัดประจำทีมหรือประจำสมาคมกีฬา สิ่งที่นักกายภาพบำบัดทางการกีฬาพึงทราบ นักกายภาพบำบัดที่ทำหน้าที่ดูแลนักกีฬาควรพึงทราบในเรื่องต่อไปนี้ 1. นักกีฬาเป็นบุคคลที่ “active” นักกีฬาเป็นกลุ่มบุคคลที่มีลักษณะนิสัยชื่นชอบการทำกิจกรรมทางกาย ดังนั้นการที่นักกีฬาได้รับ บาดเจ็บแล้วทำให้ต้องหยุดการเล่นหรือแข่งขันเป็นระยะเวลาหนึ่งนั้น นักกายภาพบำบัดควรทราบว่าสิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ไม่พึงปารถนาของนักกีฬาเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะนักกีฬาอาชีพ เนื่องจากการที่ไม่สามารถลงแข่งขันได้ นั้นอาจหมายถึงการถูกแย่งตำแหน่งตัวจริงไปหรือการถูกผู้เล่นอื่นขึ้นมาแทนที่ การสูญเสียอันดับโลก และ สูญเสีย รายได้ อั น มหาศาล ดังนั้น ก่ อ นการตัด สิ นใจแนะนำนั ก กี ฬ าที ่ ได้รั บ บาดเจ็ บให้ ห ยุด แข่ ง ขั น นัก กายภาพบำบัดจึงควรใช้วิจารณญาณอย่ างรอบคอบเพื่อให้แน่ใจว่าคำแนะนำดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อตัว นักกีฬามากที่สุด นอกจากนี้ยังต้องอธิบายให้นักกีฬาเข้าใจถึงเหตุผลในการตัดสินใจดังกล่าวรวมทั้งผลเสียที่ อาจเกิดขึ้นในอนาคตหากนักกีฬาไม่หยุดแข่งขันหรือจำกัดการเล่นในระยะนี้ และจากการที่นักกีฬาเป็นบุคคลที่ แอคทีฟนั้น ทำให้นักกีฬามีความต้องการที่จะหายจากการบาดเจ็บให้เร็วที่สุด จากความต้องการนี้เองทำให้นัก 4 กายภาพบำบัดต้องหาหนทางในการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายนักกีฬาให้กลับคืนสู่สภาพปกติโดยเร็ว ที่ส ุด ซึ่งค่อนข้างที่จะแตกต่างไปจากการรักษาผู้ป่ว ยทั่ว ไปตรงที่ ระยะเวลาในการรักษาไม่ใช่ปัจจัยที่มี ความสำคัญที่สุดที่ต้องคำนึงในการวางแผนการรักษา 2. นักกายภาพบำบัดทางการกีฬาพึงมีทักษะอื่น ๆ นอกเหนือจากศาสตร์ของตน การดูแลนักกีฬานั้น ต้องการทักษะและความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ หลายด้านประกอบกัน จึงเป็นที่มาของ คำว่า “เวชศาสตร์การกีฬา” อย่างไรก็ตาม นักกีฬาหรือทีมกีฬามักจะมีเพียงแพทย์และ/หรือนักกายภาพบำบัด ที่จะคอยให้การดูแลและให้คำปรึกษาเท่านั้น ดังนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่นักกายภาพบำบัดทางการกีฬาต้องมี ความรู้และทักษะอื่น ๆ นอกเหนือจากศาสตร์ที่เกี่ยวกับกายภาพบำบัดบ้าง เพื่อสามารถให้การดูแลและให้ คำปรึกษาแก่นักกีฬาและฝู้ฝึกสอนได้ตามความจำเป็น เช่น ความรู้เกี่ยวกับหลักโภชนาการสำหรับนักกีฬา ทักษะการทำแผลหรือการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ความรู้เกี่ยวกับหลักการรักษาทางการแพทย์ในโรคต่าง ๆ หลักการฝึกเพื่อเพิ่มสมรรถภาพร่างกายในการเล่นกีฬา หลักจิตวิทยาทางการกีฬา เป็นต้น 3. นักกายภาพบำบัดทางการกีฬาพึงมีใจรักกีฬา นักกายภาพบำบัดที่จะมาทำงานดูแลนักกีฬานั้น จะต้องมีอุปนิสัยที่สำคัญคือ ต้องเป็นผู้ที่รักกีฬาเป็น พื้นฐานอยู่ก่อน การที่นักกายภาพบำบัดมีใจรักกีฬาจะมีประโยชน์ต่อการทำงานในด้านนี้หลายประการ ได้แก่ o ทำให้นักกายภาพบำบัดมีความเข้าใจถึงจิตใจของนักกีฬาดียิ่งขึ้น เนื่องจากผู้ที่มีใจรัก กีฬาด้วยกันเท่านั้นที่จะเข้าใจถึงความสำคัญของการเล่นกีฬาว่าเป็นอย่างไร ซึ่งความเข้าใจนี้จะช่วยให้นัก กายภาพบำบัดมีความมุ่งมั่นในการที่จะช่วยให้นักกีฬาหายจากอาการบาดเจ็บเพื่อกลับไปเล่นกีฬาได้โดยเร็ว ที่สุด o ทำให้นักกายภาพบำบัดวางแผนการรักษาได้ดียิ่งขึ้นเพราะมีความเข้าใจในเรื่องของการ เคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นขณะเล่นกีฬา สามารถวิเคราะห์หาสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดการบาดเจ็บได้ดี ยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม การเล่นกีฬาแต่ละประเภทก็มีลักษณะการเคลื่อนไหวร่างกายที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นหากนัก กายภาพบำบัดมีโอกาสชมการฝึกซ้อมของนักกีฬา ดูการแข่งขัน หรือถ้านักกายภาพบำบัดเล่นกีฬานั้น ๆ ด้วย ตนเองก็จะมีข้อได้เปรียบมากขึ้น ช่วยให้การวางแผนและออกแบบการออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพ ร่างกายให้มีความจำเพาะสำหรับกีฬาประเภทนั้นมากขึ้น ________________________________________________________________________________ คำถำมท้ำยบท 1. บทบาทของนักกายภาพบำบัดในการกีฬาประกอบไปด้วยอะไรบ้าง 2. หน้าที่ของนักกายภาพบำบัดในการกีฬาระหว่างฤดูการแข่งขันประกอบด้วยอะไรบ้าง 3. จงยกตัวอย่างลักษณะงานของนักกายภาพบำบัดในการกีฬามา 1 ประเภท ________________________________________________________________________________ 5 เอกสารอ้างอิง 1. Králová, D.M., Rezaninová, J. The role of physiotherapist in sport. 10th International Conference on Kinanthropology; 2015. 2. ดรุณวรรณ สุขสม. การบาดเจ็บจากการกีฬา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย; 2552. 3. ประวิตร เจนวรรธนะกุล. กายภาพบำบัดทางการกีฬา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551. 6

Use Quizgecko on...
Browser
Browser