Gender Dysphoria Update PDF

Summary

This document describes Gender Dysphoria, a condition where a person's gender identity differs from their biological sex. It examines the biological and psychosocial factors impacting this condition and discusses diagnosis and treatment options. The text may be of relevance to understanding gender identity and development.

Full Transcript

ภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกาเนิด/ภาวะทุกข์ใจในเพศสภาพ (Gender Dysphoria) นิยาม คนข้ามเพศ (Transgender person) หมายถึง ผู้ที่มีเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกาเนิด ภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกาเนิด /ภาวะทุกข์ใจในเพศสภาพ (Gender dysphoria) หมายถึง ภาวะที่เกิด ความไม่พอใจอย่างมากในอัตลักษณ์ทางเพศหรือบท...

ภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกาเนิด/ภาวะทุกข์ใจในเพศสภาพ (Gender Dysphoria) นิยาม คนข้ามเพศ (Transgender person) หมายถึง ผู้ที่มีเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกาเนิด ภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกาเนิด /ภาวะทุกข์ใจในเพศสภาพ (Gender dysphoria) หมายถึง ภาวะที่เกิด ความไม่พอใจอย่างมากในอัตลักษณ์ทางเพศหรือบทบาททางเพศของตนเองที่ไม่สอดคล้องกับเพศกาเนิด มีความต้องการที่จะ มีร่างกายของอีกเพศหนึ่งหรือต้องการให้สังคมยอมรับตนเองในอีกเพศหนึ่ง ระบาดวิทยา เด็กที่มีภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกาเนิดมักจะถูกนามาพบแพทย์ตั้งแต่วัยประถมศึกษา อันที่จริงอาการนี้มักเกิด ก่อนอายุ 3 ขวบแล้ว อัตราส่วนเด็กชายต่อเด็กหญิง คือ 4-5 ต่อ 1 ถ้าเป็นวัยรุ่นอัตราส่วนเด็กชายต่อเด็กหญิงจะพอ ๆ กัน เด็ก เหล่านี้จานวนหนึ่งก็ไม่ได้ กลายเป็นคนข้ามเพศเมื่อเป็นผู้ใหญ่ ขณะที่ผู้ใหญ่เป็นคนข้ามเพศจานวนหนึ่งก็ไม่ได้มีอาการมาตั้งแต่ วัยเด็ก ในวัยผู้ใหญ่ พบภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกาเนิดร้อยละ 0.5-4.2 เป็นอัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง 3-5 ต่อ 1 ผู้ใหญ่ทมี่ ีภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกาเนิด ส่วนใหญ่ในวัยเด็กมีอาการเพียงรู้สึกว่าตนเองแตกต่างจากเด็กเพศเดียวกัน สาเหตุ ในปัจจุบัน ยังไม่มีคาอธิบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับสาเหตุการเกิดภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกาเนิด แต่มีสมมติฐานดังนี้ ปัจจัยทางชีวภาพ ตามปกติทารกในครรภ์อ่อน ๆ จะเป็นผู้หญิง แต่ถ้าทารกเป็นเพศชายซึ่งถูกกาหนดโดย โครโมโซม XY โครโมโซม Y จะทาให้ฮอร์โมน androgen สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทาให้เกิดการพัฒนา อวัยวะเพศชายและลักษณะต่าง ๆ ที่เป็นผู้ชาย ทาให้ ร่างกายและอัตลักษณ์ทางเพศเป็นผูช้ าย แต่ถ้าทารกถูกกาหนดให้เป็นเพศหญิงโดยโครโมโซม XX ก็จะไม่มีฮอร์โมน androgen ที่สูง ความเป็นผู้หญิงในทารก แต่แรกก็จะพัฒนาต่อไปจนมี ร่างกายและอัตลักษณ์ทางเพศเป็นผู้หญิงเต็มที่ ดังนั้นในบุคคลที่ มีอัตลักษณ์ทางเพศไม่ตรงกับเพศกาเนิด สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเพศขณะที่อยู่ในครรภ์ได้ ปัจจัยทางจิตสังคม โดยส่วนใหญ่ เด็กจะพัฒนาอัตลักษณ์ทางเพศได้ สอดคล้องเพศกาเนิด การสร้างอัตลักษณ์ทางเพศ อาจเกิดจาก ปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ 1. Temperament ของตัวเด็ก 2. การทาหน้าที่และทัศนคติของบิดามารดา 3. วัฒนธรรมซึ่งเกี่ยวกับการยอมรับความแตกต่างระหว่างเพศกาเนิดและอัตลักษณ์ทางเพศ การแสดงออกเป็นชายหรือเป็นหญิงจึงเกิดจากการเรียนรู้จากปัจจัยข้างต้น เด็กชายบางคนก็มี temperament ที่ ละเอียดและอ่อนไหวต่อความรู้สึก ขณะที่เด็กผู้หญิงบางคนก็ก้าวร้าวและมีพลัง ซึ่งในปั จจุบันหลายสังคมและวัฒนธรรมก็ ยอมรับการสลับบทบาททางเพศได้มากขึ้น คุณภาพของความสัมพันธ์ระหว่างมารดากับบุตรในขวบปีแรกมีความสาคัญมากต่อการสร้างอัตลักษณ์ทางเพศ ตามปกติแล้วมารดาและบิดาเป็นต้นแบบของคนที่เขาจะรักในอนาคต บิดาเป็นแบบอย่างของความเป็นผู้ชาย มารดาเป็น ต้นแบบของความเป็นผู้หญิง การเลี้ยงดูที่อบอุ่นจะช่วยทาให้กระบวนการแยกออกมาเป็นตัวของตัวเองราบรื่น ภูมิใจในเพศ ของตนเอง ปัญหาอัตลักษณ์ทางเพศอาจจะเกิดขึ้นถ้าบุตรรู้สึกไม่มีคุณค่าและมีปัญหาตอนที่จะต้องแยกตัวเป็นเพศของตัวเอง อาการและอาการแสดง เด็กที่มีภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกาเนิด จะมีพฤติกรรมต่าง ๆ ที่สะท้อนว่า บทบาททางเพศนั้นไม่สอดคล้องกับ เพศกาเนิด เช่น จะชอบแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าของเพศอื่น ชอบเล่นกับเพื่อนที่เป็นเพศอื่น ชอบการละเล่นและชอบของเล่นที่เพศ อื่นมักชื่นชอบและในขณะเล่นก็จะเล่นบทบาทเป็นเพศอื่น เด็กอาจต้องการมี primary/secondary sex characteristics ตาม เพศที่ตนเองต้องการ เด็กอาจจะแสดงความต้องการอยากจะมีอวัยวะเพศที่แตกต่างออกไป อาจถ่ายปัสสาวะในท่านั่งหรือยืนที่เป็นของอีก เพศหนึ่ง อาการข้างต้นจะต้องเกิดร่วมกับมีความทุกข์ถึงขั้นมีนัยสาคัญทางคลินิกหรือตัวเด็กเองจะต้องได้รับผลกระทบเป็น ความบกพร่องในด้านใดด้านหนึ่งที่สาคัญของชีวิต (impairment) ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ผู้ใหญ่ที่คอยดูแลเกิดความไม่สบายใจที่บุตร หลานของตนเองมีบทบาททางเพศเป็นแบบเพศอื่นเท่านั้น ในวั ย รุ่ น และผู้ ใ หญ่ อาการที่ เ ห็ น ได้ ชั ด คื อ มี ค วามอึ ด อั ด ไม่ มั่ น ใจกั บ รู ป ร่ า งและ primary/secondary sex characteristics ของตนเอง มองสิ่งเหล่านี้เป็นส่วนเกิน ต้องการกาจัดออก หรือ ต้องอาพราง หากความรู้สึกอึดอัด ทุกข์ ทรมานนี้ เป็นมากจนรบกวนการใช้ชีวิตหรือส่งผลให้เกิดความบกพร่องด้านใดด้านหนึ่งที่สาคัญของชีวิต คนเหล่านี้ก็มักจะมา ปรึกษาแพทย์เพื่อเข้าสู่กระบวนการข้ามเพศ หรือ การยืนยันเพศสภาพ (gender affirming therapy) เกณฑ์การวินิจฉัย ในเด็ก เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกาเนิด ตาม DSM-5 มีดังต่อไปนี้ A. มีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความไม่สอดคล้องกันอย่างมากระหว่างเพศที่ตนรับรู้หรือแสดงออก กับ เพศกาเนิดมา เป็นเวลาต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน โดยมีอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 6 ข้อ โดยที่ ต้องมีข้อ A1 ร่วมด้วย A1. มีความรู้สึกอย่างแรงกล้าที่จะเป็นอีกเพศหนึ่งหรือยืนกรานว่าตนเป็นอีกเพศหนึ่ง A2. เด็กที่เกิดเป็นเพศชาย มีความชื่นชอบที่จะแต่งตัวแบบเพศหญิงหรือชอบเครื่องแต่งกายของเพศหญิง เป็นอย่างมาก ส่วนเด็กที่เกิดเป็นเพศหญิง มีความชื่นชอบที่จะแต่งตัวแบบเพศชายหรือยืนกรานที่จะไม่แต่งกายแบบเพศหญิง A3. ในการเล่นบทบาทสมมติ (make-believe play) หรือการเล่นตามจินตนาการ จะชื่นชอบเล่นบทบาท เป็นอีกเพศหนึ่ง A4. มีความชื่นชอบต่อของเล่น การละเล่น หรือกิจกรรมของอีกเพศเป็นอย่างมาก A5. มีความชื่นชอบที่จะมีเพื่อนเป็นอีกเพศอย่างมาก A6. เด็กที่เกิดเป็นเพศชาย ปฏิเสธที่จะเล่นของเล่น การละเล่น หรือกิจกรรมของเด็กผู้ชาย ส่วนเด็กที่เกิด เป็นเพศหญิง ปฏิเสธที่จะเล่นของเล่น การละเล่น หรือกิจกรรมของเด็กผู้หญิง A7. ไม่ชอบลักษณะทางกายภาพของเพศตนเอง A8. มีความต้องการที่จะมีprimary และ/หรือ secondary sex characteristics ที่ตรงกับเพศที่ตนรับรู้ หรือแสดงออก B. อาการข้างต้นทาให้เกิดความทุกข์ใจอย่างมาก หรือส่งผลให้เกิดความบกพร่องในการทาหน้าที่ทางสังคม การเรียน หรือหน้าที่ด้านอื่น ๆ ที่สาคัญ ระบุลักษณะดังต่อไปนี้ With a disorder of sex development เมื่ อ มี โ รคของการพั ฒ นาการของเพศ (disorder of sex development) เช่ น congenital adrenogenital disorder ซึ่ ง อาจจะเป็ น congenital adrenal hyperplasia หรื อ androgen insensitivity syndrome ในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกาเนิด ตาม DSM-5 มีดังต่อไปนี้ A. มี ค วามไม่ ส อดคล้ อ งกั น อย่ า งมากระหว่ า งเพศสภาพที่ ต นรั บ รู้ ห รื อ แสดงออก (experienced/ expressed gender) กับเพศกาเนิด เป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน โดยมีอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 2 ข้อ A1. มีความไม่สอดคล้องอย่างมากระหว่างอัตลักษณ์ทางเพศที่ตนรับรู้หรือแสดงออกกับ primary และ/ หรือ secondary sex characteristics A2. มีความต้องการอย่างยิ่งที่จะกาจัด primary และ/หรือ secondary sex characteristics เนื่องจากมี ความไม่สอดคล้องอย่างมากกับอัตลักษณ์ทางเพศที่ตนรับรู้หรือแสดงออก A3. มีความต้องการอย่างยิ่งที่จะมีprimary และ/หรือ secondary sex characteristics ของอีกเพศหนึ่ง A4. มีความต้องการอย่างยิ่งทีจ่ ะเป็นอีกเพศหนึ่ง (รวมถึงเพศอื่นนอกเหนือจากเพศกาเนิดของตน) A5. มี ค วามต้ อ งการอย่ า งยิ่ ง ที่ จ ะได้ รั บ การปฏิ บั ติ เ ช่ น เดี ย วกั บ ตนเป็ น อี ก เพศหนึ่ ง (รวมถึ ง เพศอื่ น นอกเหนือจากเพศกาเนิดของตน) A6. มีความเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าตนมีความรู้สึกและการตอบสนองต่าง ๆ เหมือนตนเป็นอีกเพศหนึ่ง B. อาการข้างต้นทาให้ เกิดความทุกข์ใจอย่างมากหรือส่งผลให้เกิดความบกพร่องในการทาหน้าที่ทางสังคม อาชีพ หรือหน้าที่ด้านอื่น ๆ ที่สาคัญ ระบุลักษณะดังต่อไปนี้ With a disorder of sex development เมื่อมีโรคของการพัฒนาการของเพศ เช่น congenital adrenogenital disorder ซึ่งอาจจะเป็น congenital adrenal hyperplasia หรือ androgen insensitivity syndrome Posttransition เมื่อบุคคลทีม่ ีภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกาเนิด และเพิ่งเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้ชีวิต ตามเพศที่ต้องการและ กาลังเตรียมการรับหรือได้ผ่านการรักษาด้วยฮอร์โมนของเพศตรงข้ามอย่างสม่าเสมอหรือได้รับการผ่าตัด เพื่อยืนยันเพศ (gender affirming surgery) เพื่อช่วยให้มี เพศตามที่ต้องการแล้ว เช่น การผ่าตัดองคชาติออก การทา vaginoplasty ใน natal male และการผ่าตัดเอาเต้านมออกหรือการทา phalloplasty ใน natal female การวินิจฉัยแยกโรค ควรวิ นิ จ ฉั ย แยกโรคออกจาก transvestic disorder, body dysmorphic disorder และ โรคกลุ่ ม จิ ต เภท (schizophrenia spectrum) การดาเนินโรคและการพยากรณ์โรค อัตลักษณ์ทางเพศ มักจะเริ่มเกิดในวัยเด็กอายุประมาณ 3 ขวบ เด็กจะเริ่มแสดงพฤติกรรมและความสนใจที่เกี่ยวข้อง กับเพศ บางคนอาจจะเริ่มแสดงความต้องการเป็น เพศอย่างอื่น เด็กที่มีปัญหาอัตลักษณ์ทางเพศจึงมักถูกนามาพบแพทย์ใน ขณะที่อยู่ในวัยเรียนเพราะเป็นวัยที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมชั้น เด็กที่ถูกวินิจฉัยว่ามีภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกาเนิด ไม่จาเป็นว่าจะต้องกลายเป็นคนข้ามเพศในวัยผู้ใหญ่เสมอไป และประมาณครึ่งหนึ่ง เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่จะกลับไปมีอัตลักษณ์ทาง เพศตามที่ถูกกาหนดมาตั้งแต่เกิด ผู้ใหญ่ที่เป็นคนข้ามเพศอาจเคยมีภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกาเนิดที่รุนแรงในวัยเด็กได้ ผู้ใหญ่ทมี่ ีภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกาเนิดบางคนก็สามารถซ่อนอัตลักษณ์ทางเพศหรือบทบาททางเพศที่ต้องการ ไว้ได้ด้วยการมีกิจกรรมและการงานที่เป็นแบบฉบับของเพศที่ถูกกาหนดมาตั้งแต่เกิดหรือตามความคาดหวังของสังคม เด็กที่มีภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกาเนิด มีแนวโน้มที่จะมีโรคซึมเศร้า (depressive disorders) โรควิตกกังวล (anxiety disorders) โรคการควบคุมแรงกระตุ้น (impulse-control disorders) ได้บ่อย ผู้ใหญ่ที่มีภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับ เพศกาเนิด ก็จะมีอัตราการเป็นโรคอารมณ์เศร้า โรควิตกกังวล มีการพยายามฆ่าตัวตาย (suicidal attempt) พฤติกรรมทา ร้าย ตนเอง (self-mutilation) และโรคติดสารเสพติด (substance use disorder) ได้บ่อยกว่าประชากรทั่วไป พบว่าคนข้าม เพศมีอัตราการพยายามฆ่าตัวตายในตลอดช่วงชีวิตประมาณร้อยละ 40 แนวทางการดูแล ก่อนอื่น สาหรับการซักประวัติและประเมินผู้ที่มีภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกาเนิด ผู้ประเมินเองควรเริ่มจากการ ทาความเข้าใจถึงความหลากหลายทางเพศที่มีอยู่ในสังคม รวมถึงให้การดูแลอย่างเท่าเทียมและเคารพในความเป็นมนุษย์ซึ่ง อาจเริ่มด้วยการถามชื่อหรือสรรพนามที่บุคคลประสงค์จะใช้ ร่วมกับใช้คาว่า “คุณ” นาหน้าชื่อที่ต้องการให้เรียก แทนการใช้ คานาหน้า เช่น นาย/ นาง/ นางสาว ในการสัมภาษณ์ให้ใช้คาพูดที่สุภาพ หลีกเลี่ยงคาที่มีลักษณะตีตราหรือไม่เหมาะสม เช่น คาว่า เบี่ยงเบนทางเพศ เพศที่สาม ชายจริงหญิงแท้ ผิดเพศ เป็นต้น รวมถึงเน้นการสร้างบรรยากาศที่เป็นมิตรและปลอดภัย สาหรับการให้คาแนะนาและให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ที่มีภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกาเนิด นั้น มีจุดประสงค์ เพื่อให้ผู้มารับบริการสารวจและทาความเข้าใจในอัตลักษณ์ทางเพศของตน และสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางสรีระร่างกาย เพื่อให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์ทางเพศอย่างปลอดภัยทั้งกายและจิตใจ รวมถึงสามารถใช้ชีวิตตามบทบาททางเพศที่ต้องการได้ ทั้งนี้การดูแลผู้ที่ มีภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกาเนิด ต้องคานึงถึงความเป็นปัจเจก แต่ละบุคคลมีเป้าหมายและความ ต้องการแตกต่างกันไป ดังนั้นรายละเอียดของคาแนะนาและการวางแผนช่วยเหลือจะต้องปรับให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ได้แก่ 1. ส่งเสริมให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ ในกรณีนี้ ให้เข้าใจว่า การมีอัตลักษณ์ทางเพศไม่ สอดคล้องกับเพศกาเนิดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ และมีแนวทางช่วยเหลือเพื่อลดความอึดอัด ความทรมานใจที่เกิดขึ้นจากความไม่ สอดคล้องนี้ สาหรับเด็ก ควรแนะแนวทางให้เด็กสารวจอัตลักษณ์ทางเพศของตนเองและเพศที่ตนเองสนใจ เป้าหมายคือการ พัฒนาทักษะชีวิต และการคบเพื่อน โดยบิดามารดาจะต้องให้กาลังใจเด็กโดยไม่ชี้นาไปในทางใดทางหนึ่ง ให้ความรู้เรื่อง บทบาททางเพศที่เหมาะสม และส่งเสริมการแสดงออกทางเพศตรงตามอัตลักษณ์ทางเพศของตนเอง ส่วนการรักษาที่มุ่งเน้นให้ เด็กเปลี่ยนกลับมาเป็นเพศเดิมตามกาเนิดนั้น ปัจจุบันไม่ได้รับการยอมรับเนื่องจากในระยะยาวพบว่ามีผลเสียมากกว่า 2. สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทั้งทางการแสดงออก และทางสรีระร่างกายเพื่อให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์ทางเพศ อย่างปลอดภัย ทั้งกายและจิตใจ เมื่อมีความพร้อม ซึ่งแนวทางที่มีในปัจจุบัน ได้แก่ การให้ฮอร์โมนเพศ (gender-affirming hormone therapy) และการผ่าตัดเพื่อข้ามเพศ (gender-affirming surgery) ดังนั้น หากบุคคลมีความประสงค์จะรับทราบ ข้อมูลและรับบริการ สามารถแนะนาให้ไปพบทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่จะดูแลเรื่องนี้โดยตรง ได้แก่ 2.1 จิตแพทย์: ทาการซักประวัติอย่างละเอียด ให้การวินิจฉัย ประเมินความพร้อมและให้คาปรึ กษาที่ สอดคล้องกับบริบทที่เป็น 2.2 อายุรแพทย์ด้านต่อมไร้ท่อ: ให้คาปรึกษาและให้ฮอร์โมนเพื่อข้ามเพศ 2.3 สูตินรีแพทย์: ให้คาปรึกษาและให้ฮอร์โมนเพื่อข้ามเพศ รวมถึงการผ่าตัดทางนรีเวชที่เกี่ยวข้อง 2.4 ศัลยแพทย์ตกแต่ง: ให้คาปรึกษาและผ่าตัดเพื่อข้ามเพศ ได้แก่ การผ่าตัดหน้าอก การผ่าตัดแปลงเพศ เป็นต้น 3. บุคคลมักมีปัญหาในด้านขาดความเข้าใจและการสนับสนุนจากคนรอบข้าง โดยเฉพาะครอบครัว จึงควรแนะนาให้ มีการพูดคุย ทาความเข้าใจกัน โดยควรมีการสารวจว่า เขามีความพร้อมที่จะเปิดใจคุยกับครอบครัวหรือไม่ มีการเตรียมความ พร้อมด้วยการฝึกการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ฝึกตั้งรับและทาความเข้าใจปฏิกิริยาของครอบครัวที่อาจเกิดขึ้นทั้งในแง่ดี และไม่ดีหลังพูดคุย ทั้งนี้ในหลายๆครั้ง แพทย์อาจมีส่วนช่วยเป็นตัวกลางในการสื่อสารระหว่างบุคคลกับครอบครัวเพื่อสร้าง ความเข้าใจที่ถูกต้องและการสนับสนุนที่เหมาะสม 4. เนื่องจากความอึดอัดและความทรมานใจที่เกิดขึ้นจากความไม่สอดคล้องกันระหว่างเพศกาเนิดและอัตลักษณ์ทาง เพศมักดาเนินมาอย่างยาวนาน และกระบวนการช่วยเหลือเพื่อเปลี่ยนแปลงสรีระก็ต้องใช้เวลา จึงต้องแนะนาให้มีการหมั่น สังเกตสภาวะทางอารมณ์ หากพบว่ามีความโศกเศร้า กังวล เครียดอย่างต่อเนื่องหรืออาการเหล่านี้รุนแรง กระทบต่อการใช้ ชีวิตประจาวัน ควรรีบมาพบแพทย์ สรุป ภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกาเนิ ด/ภาวะทุกข์ใจในเพศสภาพ เป็นภาวะที่พบได้ในหลายช่วงวัย ซึ่งพบได้มากขึ้น เรื่อย ๆ ใน สังคมปัจจุบัน แพทย์จึงต้องทาความเข้าใจเกี่ยวกับ ภาวะนี้เพื่อนาไปสู่การดูแลอย่างเป็นองค์รวมร่วมกับ สหสาขา วิชาชีพ เอกสารอ้างอิง Standards of Care for the Health of Transgender and Gender Diverse People, Version 8, International Journal of Transgender Health คู่มือการให้บริการสุขภาพคนข้ามเพศประเทศไทย.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านสุขภาพ คนข้ามเพศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2563 (https://online.pubhtml5.com/yxcv/ouia/#p=1) ศิริวรรณ ปิยวัฒนเมธา, สุชาติ พหลภาคย์. โรคไม่สบายใจเกี่ยวกับเพศ. ใน: นวนันท์ ปิยะวัฒน์กูล, กุศลาภรณ์ ชัย อุดมสม, ศิริวรรณ ปิยวัฒนเมธา, นรักษ์ ชาติบัญชาชัย. บรรณาธิการ. จิตเวชศาสตร์ = Psychiatry.ขอนแก่น. พิมพ์ ครั้งที่ 3. สยามทองกิจ; 2563. หน้า 133-41. รายชื่อหนังสือและเอกสารที่แนะนาให้อ่านเพิ่มเติม 1. เอกสารประกอบการสอน หัวข้อ encouraging development across life span: sex roles, gender identity and interpersonal relationships 2. แนวทางการทางานกับเด็กโดยคานึงถึงความหลากหลาย โดยองค์กรช่วยเหลือเด็ก (https://thailand.savethechildren.net/sites/thailand.savethechildren.net/files/library/SOGIESC_Man ual_1.pdf) 3. Rainbow Health Ontario (https://www.rainbowhealthontario.ca) 4. World Professional Association for Transgender Health (WPATH) (https://www.wpath.org) 5. Diagnostic and statistical manual of mental disorders 5th ed. ภาคผนวก ความหลากหลายทางเพศ (Gender variance/ gender non-conforming) เป็นเรื่องปกติ ไม่ถือเป็นโรคทางจิตเวช ความหลากหลายทางเพศนั้นมีหลายลักษณะ โดยพิจารณาจาก 4 ปัจจัย ได้แก่ 1. อัตลักษณ์ทางเพศหรือเพศสภาพ (gender identity) 2. เพศก าเนิ ด (biological sex/ sex assigned at birth) 3. รสนิ ย มทางเพศ (sexual orientation) 4. การ แสดงออกทางเพศ (gender expression) ดังนี้ 1. อัตลักษณ์ทางเพศหรือเพศสภาพ (Gender identity) หมายถึง เพศที่บุคคลนั้น ๆ รับรู้จากภายในตนเอง 1.1. Cisgender person คนตรงเพศ คือ คนที่มีอัตลักษณ์ทางเพศที่สอดคล้องกันกับเพศกาเนิด 1.2. Transgender person คนข้ามเพศ คือ คนที่มีอัตลักษณ์ทางเพศไม่สอดคล้องกับเพศกาเนิด 1.3. Gender queer/ non-binary คือ คนที่มีอัตลักษณ์ทางเพศที่ไม่ได้เป็นไปตามกรอบการแบ่งแยกอัตลักษณ์ทางเพศ ตามระบบสองเพศ (binary คือการมองอัตลักษณ์ทางเพศที่มีเพียงแค่ชาย-หญิง) 1.4. Gender fluid คือ คนที่มองอัตลักษณ์ทางเพศที่มีความลื่นไหล ไม่ตายตัว สามารถเปลี่ยนแปลงได้ 2. เพศกาเนิด (Biological sex/ sex assigned at birth) หมายถึง เพศที่ถูกกาหนดโดยปัจจัยทางชีววิทยาตั้งแต่วันที่บุคคล ถือกาเนิด 2.1. เพศชาย (โครโมโซม XY มีอัณฑะ อวัยวะเพศชาย อสุจิ) 2.2. เพศหญิง (โครโมโซม XX มีรังไข่ มดลูก อวัยวะเพศหญิง) 2.3. บุคคลที่มีลักษณะทางสรีรวิทยาทั้งสองเพศ (Intersex: มีอวัยวะสืบพันธุ์ของทั้งสองเพศ อวัยวะเพศกากวม มีระดับ ฮอร์โมนเพศผิดปกติ หรือ โครโมโซมผิดปกติ) 3. รสนิยมทางเพศ (Sexual orientation) หมายถึง ความรู้สึกดึงดูดทางจิตใจหรือทางเพศ 3.1. Heterosexuality 3.2. Homosexuality รสนิยมทางเพศที่ชอบเพศเดียวกัน เช่น gay lesbian 3.3. Queer คากว้างๆที่ หมายถึง รสนิยมทางเพศที่ไม่ได้อยู่ในกรอบของ heterosexuality 3.4. Bisexuality รสนิยมที่รักได้สองเพศ 3.5. Pansexuality รสนิยมที่รักได้หลายเพศ 3.6. Asexuality ไม่มีแรงดึงดูดทางเพศ 4. การแสดงออกทางเพศ (Gender expression) หมายถึง การแสดงออก ท่าที การแต่งกาย บทบาททางเพศ 4.1. Masculine การแสดงออกมีความเป็นชาย 4.2. Feminine การแสดงออกมีความเป็นหญิง 4.3. Androgyny การแสดงออกทางเพศแบบผสมผสานมีทั้งความเป็นชายและหญิง

Use Quizgecko on...
Browser
Browser