Consciousness (sheet) PDF
Document Details
Uploaded by EminentCarnelian307
null
อาจารย์แพทย์หญิง กองกาญจน์ จันทน์จารุสิริ
Tags
Summary
This document is a lecture sheet on the topic of consciousness, thoughts, and intelligence. It includes details on consciousness, levels of consciousness (conscious, preconscious, unconscious), sleep and dreams, different types of thinking, problem-solving, and intelligence.
Full Transcript
เอกสารประกอบการสอน เรื่อง จิตสำนึก ความคิด และเชาวน์ปัญญา รายวิชา 1501 112 เวชศาสตร์พฤติกรรม (Behavioral Medicine) หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 โดย อาจารย์แพทย์หญิง กองกาญจน์ จันทน์จารุสริ ิ จิตสำนึก (Consciousness) จิตสำนึก หรือ Consciousness หมายถึง ความสามารถในการตระหนักรู้ (Awareness) ถึ...
เอกสารประกอบการสอน เรื่อง จิตสำนึก ความคิด และเชาวน์ปัญญา รายวิชา 1501 112 เวชศาสตร์พฤติกรรม (Behavioral Medicine) หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 โดย อาจารย์แพทย์หญิง กองกาญจน์ จันทน์จารุสริ ิ จิตสำนึก (Consciousness) จิตสำนึก หรือ Consciousness หมายถึง ความสามารถในการตระหนักรู้ (Awareness) ถึงความคิดและ อารมณ์ความรู้สึกที่อยู่ภายใน รวมถึงการรับรู้และสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกได้ ในทางจิตวิทยา ทฤษฎีเกี่ยวกับ “จิตสำนึก” ถูกพูดถึงอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ของ Sigmund Freud ซึ่งเป็นแพทย์ด้านระบบประสาท (Neurologist) ชาวออสเตรีย ได้กล่าวถึงระดับการรับรู้ ของจิตใจ (Topographic model of the mind) ไว้ว่า จิตใจของคนเราสามารถแบ่งตามระดับการรับรู้ออกได้เป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1. จิตสำนึก (The conscious) เป็นส่วนของจิตใจที่รับรู้ความเป็นไปของสิ่งรอบตัวและสิ่งที่อยู่ภายใน เช่น ความคิด (Thought) อารมณ์ (Feeling) และการรับสัมผัสต่างๆ (Sensation) 2. จิตก่อนสำนึก (The preconscious หรือ subconscious) เป็นส่วนของจิตใจที่ตามปกติแล้ว เรา ไม่ได้ตระหนักถึง และไม่ได้อยู่ในการรับรู้ แต่หากใช้ความตั้งใจก็จะนำขึ้นมาสู่จิตสำนึกได้ เช่น การพยายามนึกถึง เหตุการณ์บางอย่างที่เคยเกิดขึ้นในอดีต การนึกถึงเบอร์โทรศัพท์ของเพื่อนสนิท 3. จิตใต้สำนึก (The unconscious) เป็นส่วนของความรู้สึกนึกคิดหรือความต้องการที่อยู่ลึกที่สุด ใน จิตใจ ซึง่ มนุษย์ไม่สามารถรับรู้หรือระลึกได้ โดย Freud ได้เปรียบเทียบจิตใต้สำนึกนี้ว่า คล้ายกับส่วนล่างของก้อน ภูเขาน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่จมอยู่ใต้พื้นผิวน้ำ จิตใต้สำนึกมีลักษณะเฉพาะคือ เป็นข้อมูลที่ถูกเก็บกดไว้ (Repression) จากระดับจิตสำนึก เมื่อการเก็บกดนั้นอ่อนกำลังลง ความคิดความรู้สึกหรือความต้องการในจิตใต้สำนึกอาจปรากฏ ขึ้นสู่จิตสำนึกได้ในลักษณะต่างๆ เช่น ความฝัน (Dreams) จินตนาการ (Fantasy) การพลั้งปาก (Slip of tongue) หรือการสะกดจิต (Hypnosis) และแม้ว่าข้อมูลในจิตใต้สำนึกจะถูกเก็บไว้ในส่วนลึกที่สุดของจิตใจ แต่สิ่งเหล่านี้ก็ ยังคงมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและคำพูดของมนุษย์ในลักษณะต่างๆ ได้ การนอนหลับและการฝัน (Sleep and Dreams) มีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลกระทบต่อระดับความรู้สึกตัว ทั้งปัจจัยที่เกิดขึ้นตามธรรมดาและเป็นภาวะปกติ ของร่างกาย ได้แก่ การนอนและการฝัน (Sleeping and dreaming) และปัจจัยจากภายนอก ได้แก่ ยานอนหลับ ยาแก้ปวดบางชนิด และ สารเสพติด เช่น แอลกอฮอล์ โคเคน ยาบ้า กัญชา เฮโรอีน เป็นต้น ในที่นี้จะขอกล่าวถึง เฉพาะเรื่องการนอนและการฝันพอสังเขป ดังนี้ 1 ภาพที่ 1 แสดง Topographic model of the mind ในทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของ Sigmund Freud การนอนหลับและการฝันเป็นธรรมชาติที่สำคัญของมนุษย์ จากการศึกษาวงจรการนอนหลับของมนุษย์ โดยใช้การบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง (Electroencephalogram; EEG) และการกลอกลูกตา (Electrooculogram; EOG) สามารถแบ่งการนอนออกได้เป็น 2 แบบ ดังนี้ 1. การนอนหลับชนิดไม่มีการกลอกลูกตาอย่างรวดเร็ว (Non-rapid eye movement) หรือ NREM sleep เป็นช่วงที่ชีพจรจะเต้นช้าลง หายใจช้า ความดันโลหิตลดต่ำลงเล็กน้อย และอาจมี involuntary body movement เกิดขึ้นได้ NREM sleep จำแนกออกเป็น 4 ขั้นตอนย่อย คือ - NREM 1 เป็นระยะเปลี่ยนผ่านจากการตื่นมาสู่การหลับ จึงเป็นช่วงที่หลับตื้นที่สุด สามารถปลุกตื่นได้ ง่าย บางคนอาจเห็นภาพคล้ายความฝัน แต่ยังไม่ใช่การฝันที่แท้จริง ระยะนี้จะใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที - NREM 2 เป็นการหลับที่ลึกกว่าระยะแรก ปลุกตื่นยากขึ้น - NREM 3 และ 4 เป็นระยะหลับลึก (deep sleep) ปลุกตื่นยาก ไม่ค่อยตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นเร้า ภายนอก ในระยะสามารถมีการฝันเกิดขึ้นได้ แต่หากถูกปลุกตื่นในระยะนี้จะมีลักษณะสับสน (disorientation) และไม่สามารถจดจำความฝันได้ 2. การนอนหลับชนิดมีการกลอกลูกตาอย่างรวดเร็ว (Rapid eye movement) หรือ REM sleep เป็นระยะของการนอนหลับที่มีการกลอกลูกตาอย่างรวดเร็ว ชีพจรเต้นเร็วขึ้น หายใจเร็วขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น 2 เล็กน้อย และกล้ามเนื้อลายทั่วตัวผ่อนคลายมากที่สุด ทำให้ไม่สามารถขยับตัวได้ ระยะนี้เป็นระยะที่เกิดการฝันได้ มาก และการถูกปลุกตื่นจากระยะนี้จะสามารถจดจำความฝันได้ การนอนหลับเริ่มจากระยะที่ยังตื่นอยู่เข้าสู่การนอนหลับในระยะ NREM 1, 2, 3 และ 4 ก่อนเข้าสู่ REM sleep เสมอ โดยเกิดสลับกันเป็นวงจร ในแต่ละคืนมีวงจรการนอนหลับเกิดขึ้น 4 – 5 วงจร และกินเวลาวงจรละ 90 – 110 นาที NREM sleep เกิดขึ้นมาในช่วงหนึ่งในสามต้นของการนอนหลับ และ REM sleep ในช่วงต้นจะ เกิดขึ้นเพียงสั้นๆ แต่จะไปเกิดมากในช่วงครึ่งท้ายของการนอน ดังภาพที่ 2 ภาพที่ 2 แสดงวงจรการหลับตื่น ความคิด (Thinking) ความสามารถในการรับรู้ หรือการเข้าใจ เช่น การคิด การให้เหตุผล และการแก้ปัญหา เป็นคุณลักษณะ เด่นของสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่ามนุษย์ และยังรวมไปถึงสัตว์บางชนิดที่มีระบบประสาทที่สมบูรณ์ การท้าทายและการเผชิญกับปัญหา โดยทั่วไปแล้วจะถูกแก้ไขโดยการจัดลำดับความคิด และมีการใช้ เหตุผลเสมอ ซึ่งพลังของความคิดและเหตุผลจะเป็นเครื่องมือที่ส ำคัญที่จะนำไปสู่การมีสวัสดิภาพที่ดี และการใช้ ชีวิตอย่างมีความหมายของคนในสังคม ความคิด คือ ความสามารถในการรับรู้และเข้าใจสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจ และสามารถนำมาใช้ในการถาม คำถามและแก้ปัญหาอย่างมีกระบวนการ โดยการแสดงความคิดเห็นหรือใช้สัญลักษณ์ในการแสดงออก ประเภทของความคิด 1. การคิดวิเคราะห์ (Analytical thinking) คือ การคิดจำแนกแยกแยะองค์ประกอบต่าง ๆ ของวัตถุใด วัตถุหนึ่งหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้น เพื่อให้เกิดความรู้ความ เข้าใจมากยิ่งขึ้น เพื่อหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลมาอธิบายสิ่งนั้น และเพื่อประเมินหรือใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจ 3 2. การคิดสังเคราะห์ (Synthesis thinking) คือ การนำข้อมูลหรือความรู้ที่ผ่านการคิดวิเคราะห์มาแล้ว หรือนำองค์ประกอบของเรื่องต่าง ๆ มาผสมผสานรวมกันอย่างกลมกลืนและเป็นระบบ ทำให้มีความซับซ้อนมาก ขึ้น เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่มีคุ ณสมบัติเฉพาะและแตกต่างไปจากเดิม เช่น การผสมผสานความรู้เกี่ยวกับการ ออกกำลังกาย ความรู้เกี่ยวกับดัชนีมวลกาย (BMI) และความอ้วน นำไปสู่การสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ด้านการ ออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก เป็นต้น 3. การคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) คือ การขยายขอบเขตความคิดออกไปจากกรอบความคิด เดิมที่มีอยู่ ไปสู่ความคิดใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน เพื่อค้นหาคําตอบที่ดีที่สุดให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นการ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่ต่างไปจากเดิม องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ ความคิดนั้นต้องเป็นสิ่งใหม่ไม่เคยมี มาก่อน (New Original) ใช้การได้ (Workable) และมีความเหมาะสม (Appropriate) ซึ่งจะได้ผลลัพธ์ที่ต่างไปโดย สิ้นเชิงหรือที่เรียกว่า "นวัตกรรม" (Innovation) 4. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical thinking) เป็นทักษะในการคัดสรรข้อมูลที่เชื่อถือได้และตรง ประเด็นมาสนับสนุนหรือคัดค้านความคิดของตนเอง แยกแยะความเห็นส่วนตัว อคติ และตรรกะที่ผิดเพี้ยนจาก ความจริงได้ สามารถโต้แย้งด้วยเหตุผลที่มีนํ้าหนัก เห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงของเหตุปัจจัย มองประเด็นนั้น ๆ ใน หลายแง่มุม จนสามารถอนุมานข้อสรุปที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ในที่สุด การคิดอย่างมีวิจารณญาณต้องอาศัย การมี สติ ความอยากรู้อยากเห็น การคิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบ การตั้งคําถาม และการค้นหาคําตอบ การให้เหตุผลและการแก้ปัญหา (Reasoning and problem solving) การให้เหตุผล (Reasoning) การให้เหตุผล คือ กระบวนการที่อาศัยข้อมูลต่างๆ มาใช้สร้างข้อสรุปและนำไปสู่การตัดสินใจ ในช่วง หลายศตวรรษที่ผ่านมานักปรัญชาได้มีการพยายามศึกษาค้นคว้าถึงหลักการพื้นฐานในการให้เหตุผลของมนุษย์ แต่ ยังไม่เป็นที่แน่ชัดนัก อย่างไรก็ตามเมื่อไม่นานมานี้นักปรัชญาได้ค้นพบว่ามนุษย์มีวิธีคิดและแก้ปัญหาอย่างไร ดัง รายละเอียดต่อไปนี้ - Syllogistic reasoning คือการหาข้อสรุปจากสมมติฐานที่มีอยู่ โดยเริ่มจากการมีสมมติฐานชุดหนึ่งที่ เชื่อได้ว่าถูกต้อง แล้วนำมาคิดเพื่อหาข้อสรุป หากสมมติฐานนั้นถูกต้องแล้วข้อสรุปย่อมถูกต้องตามไปด้วย ยกตัวอย่างเช่น สมมติฐาน 1: A = B สมมติฐาน 2: B = C ข้อสรุป: ดังนั้น A = C การให้เหตุผลแบบเชื่อมโยงนี้ ยังมีอีก 2 รูปแบบที่สำคัญคือ - Inductive reasoning การให้เหตุผลเชิงอุปนัย หรือการอุปมาน คือ การให้เหตุผลโดยอาศัยข้อสังเกต หรือสมมติฐานจากการทดลอง มาสรุปเป็นข้อตกลงหรือข้อสรุปทั่วไป ยกตัวอยางเช่น 4 ตัวอย่างที่ 1 ข้อสังเกตที่ 1: แมวต้องกินอาหาร ข้อสังเกตที่ 2: สุนัขต้องกินอาหาร ข้อสังเกตที่ 3: นกต้องกินอาหาร ข้อสังเกตที่ 4: คนต้องกินอาหาร ข้อสรุป: ดังนั้น สิ่งมีชีวิตต้องกินอาหาร ตัวอย่างที่ 2 ข้อสังเกต: นิดสังเกตว่าทุกครั้งที่สั่งผัดไทยแม่ค้าจะใส่ต้นกุยช่ายมาด้วย ข้อสรุป: ดังนั้น ผัดไทยต้องใส่ต้นกุยช่าย - Deductive reasoning การให้เหตุผลเชิงนิรนัย หรือการอนุมาน คือ การให้เหตุผลโดยอาศัย ข้อเท็จจริงหรือข้อสรุปทั่วไปมาสนับสนุน เชื่อมโยง จนได้ข้อสรุปออกมาเป็นข้อสรุปย่อย ยกตัวอยางเช่น ตัวอย่างที่ 1 ข้อเท็จจริงที่ 1: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกตัวเป็นสัตว์เลือดอุ่น ข้อเท็จจริงที่ 2: สุนัขเลี้ยงลูกด้วยนม ข้อสรุป: ดังนั้น สุนัขเป็นสัตว์เลือดอุ่น ตัวอย่างที่ 2 ข้อเท็จจริงที่ 1: จำนวนที่หารด้วย 2 ลงตัว เรียกว่า จำนวนคู่ ข้อเท็จจริงที่ 2: 16 หารด้วย 2 ลงตัว ข้อสรุป: ดังนั้น 16 เป็นจำนวนคู่ การแก้ปัญหา (Problem solving) ในชีวิตประจำวันของมนุษย์มีเรื่องให้ต้องคิดและตัดสินใจมากมาย ทำให้ในทุกๆการคิดและตัดสินใจของ เราไม่สามารถประมวลผลข้อมูลโดยการให้เหตุผลและการเชื่อมโยงแบบตั้งใจได้ทั้งหมด จึงทำให้ต้องพึ่งพาระบบ การตัดสินใจที่เป็นทางลัด (Cognitive shortcut) ซึ่งเป็นไปแบบอัตโนมัติและไม่ได้ใช้ความพยายามมากมายนัก 1. Algorithms คือ กฎหรือกระบวนการแก้ปัญหา ซึ่งเมื่อนำไปใช้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับปัญหานั้นๆ แล้ว จะทำให้ได้คำตอบของปัญหาและข้อสรุปที่ถูกต้อง Algorithms สามารถนำมาใช้ได้แม้ผู้ใช้จะไม่รู้ที่มา เพียง แค่รู้ว่าว่าใช้อย่างไรก็เพียงพอ เช่น สูตรของสามเหลี่ยมมุมฉาก A2 + B2 = C2 ที่ถึงแม้จะไม่รู้ที่มาของสูตรนี้ ก็ยัง สามารถนำมาใช้คำนวณหาด้านของสามเหลี่ยมมุมฉากได้ แต่สำหรับบางปัญหาก็ไม่ได้มี algorithms เป็นตัวช่วย เสมอไป บางครั้งมนุษย์จึงใช้ทางลัดอีกแบบที่เรียกว่า Heuristics 2. Heuristics คือ กระบวนการคิดรูปแบบหนึ่งที่อาจนำไปสู่การแก้ปัญหาหรือทางออก โดยอาศัย ประสบการณ์ส่วนตัว ซึ่งผลที่ออกมาอาจถูกต้องหรือไม่ถูกต้องก็ได้ เช่น ในการเล่นเกม OX (Tic-Tac-Toe) ผู้เล่น บางคนมักเริ่ม X ลงในช่องตรงกลางก่อน แม้ว่าจะมีโอกาสชนะมากกว่า แต่ก็ไม่ได้การันตีว่าการใช้กลยุทธนี้จะทำ ให้ชนะเสมอไป Heuristics ที่มักทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการตัดสินใจ ได้แก่ 5 - Representativeness heuristics คือ การตัดสินผู้อื่นหรือสิ่งอื่นตามประสบการณ์ในอดีตของตน โดย คิดไปว่าผู้นั้นหรือสิ่งนั้นเป็นตัวแทนของกลุ่มคนหรือบางสิ่งที่เราเคยพบเจอมาก่อน เช่น การพบเห็นคนที่สักทั้งตัว แล้วตัดสินว่าเขาเป็นคนไม่ดี อาจเป็นเพราะเคยมีประสบการณ์หรือพบเห็นว่านักโทษคดีอุกฉกรรจ์มีรอยสักเต็มตัว เป็นต้น - Availability heuristics คือ การตัดสินความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ต่างๆ จากข้อมูลที่ตนเอง สามารถระลึกถึงได้ง่ายในความทรงจำ โดยปราศจากการคิดวิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง กล่าวคือเหตุการณ์ใดที่เราระลึก ถึงได้ง่ายจะมีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่าในความคิดของเรา เช่น คนมักกลัวเครื่องบินตกมากกว่าอุบัติเหตุจราจร หรือ คนมักกลัวตายจากการถูกฟ้าผ่ามากกว่าตายจากการตกบันได ซึ่งตามสถิติแล้วเครื่องบินตกและถูกฟ้าผ่าเกิดขึ้น น้อยกว่าอุบัติเหตุจราจรและการตกบันได ทั้งนี้เป็นเพราะเครื่องบินตกหรือฟ้าผ่ามักเป็นข่าวใหญ่ ทำให้ผู้คนระลึก ถึงได้ง่ายกว่านั่นเอง เชาวน์ปัญญา (Intelligence) ในอดีตมีการให้คำนิยามของ “เชาวน์ปัญญา” หรือ Intelligence แตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรา อาศัยอยู่ในแถบชนบทของแอฟริกา คนที่เก่งและฉลาดคือคนที่มีทักษะในการล่าสัตว์สูง ในทางตรงข้ามถ้าเราอาศัย อยู่ในเขตเมืองของออสเตรเลีย คนที่เก่งและฉลาดคือคนที่เรียนเก่ง จบการศึกษาสูง และประสบความสำเร็จทาง ธุรกิจ หรือ ในวัฒนธรรมตะวันตกคนฉลาดคือคนที่สามารถจัดระเบียบและแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ส่วน ในวัฒนธรรมตะวันออกคนฉลาดคือคนที่เข้าใจและเชื่อมโยงสิ่งต่างๆได้ดี ซึ่งนิยามแต่ละแบบก็ล้วนสมเหตุสมผลใน บริบทนั้นๆ ปัจจุบันนักจิตวิท ยาได้ศึกษารวบรวมและให้คำนิยามของ “เชาวน์ปัญญา” ไว้ว่า เชาวน์ปัญญา คือ ความสามารถในการทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ การคิดอย่างมีเหตุผล และการใช้ทรัพยากรที่มีในการแก้ปัญหาอย่างมี ประสิทธิภาพ รวมถึงการมีศักยภาพในการเรียนรู้จากประสบการณ์ด้วย ทฤษฎีโครงสร้างทางเชาวน์ปัญญา 1. ทฤษฎีสององค์ประกอบ (Bi-Factor Theory) ทฤษฎีถูกกล่าวถึงในปี 1927 โดยนักจิตวิทยาชาวอังกฤษชื่อ Charles E. Spearman เขาเชื่อว่าเชาวน์ ปัญญาของคนเราไม่น่าจะมีเพียงแค่องค์ประกอบเดียว แต่ควรประกอบไปด้วย 2 องค์ประกอบ ซึ่งในแต่ละบุคคลก็ จะมีองค์ประกอบทั้งสองนี้แตกต่างกันไป ได้แก่ 6 - องค์ป ระกอบที่เ ป็ น ความสามารถทั ่ว ไป (General factor: G-factor) เป็นความสามารถพื้น ฐานที่ นำไปใช้ในการทำกิจกรรมทั่ว ๆ ไปทุกชนิด ประกอบด้วย ความจำ ไหวพริบ การสังเกต ความมีเหตุผล การ ตัดสินใจ ความคล่องแคล่ว เป็นต้น - องค์ป ระกอบที่เป็น ความสามารถเฉพาะ (Specific factor: S-factor) เป็นความสามารถในการทำ กิจกรรมเฉพาะอย่างที่ไม่เกี่ยวข้องกัน เป็นความสามารถพิเศษของแต่ละบุคคล เช่น ความสามารถทางคณิตศาสตร์ ทางภาษา ทางวิทยาศาสตร์ ทางศิลปะ เครื่องยนต์กลไก ดนตรี ขับร้อง กีฬา เป็นต้น 2. ทฤษฎีเชาวน์ปัญญาของ Cattell (Cattell’s Theory of Fluid and Crystallized Intelligence) ทฤษฎีนี้ถูกคิดค้นโดย R. B. Cattell ในปี 1967 เขาเชื่อว่าเชาวน์ปัญญาเป็นพฤติกรรมทางสมองของ มนุษย์ แบ่งออกเป็นลักษณะใหญ่ ๆ ได้ 2 ลักษณะคือ - Fluid intelligence เป็นสมรรถภาพหรือความสามารถที่เป็นอิสระจากการเรียนรู้และประสบการณ์ แต่ เป็นผลมาจากพันธุกรรมหรือมีมาแต่กำเนิด สมรรถภาพนี้แทรกอยู่ในทุกกิจกรรมทางสมอง ไม่ว่าจะเป็นความคิด ความจำ การแก้ป ัญหา การใช้เหตุผ ล การอุปมาอุปไมย การอนุมาน การเชื่อมโยง และความเข้าใจ ในการ เปลี่ยนแปลงของอนุกรม - Crystallized intelligence เป็นสมรรถภาพของสมองหรือความสามารถที่ขึ้นอยู่กับการเรียนรู้และ ประสบการณ์ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต เช่น ความเข้าใจภาษา เข้าใจตัวเลข ความรู้และทักษะที่เกิดจากการฝึกฝน 3. ทฤษฎีพหุปัญญาของ Gardner (Gardner’s Multiple Intelligence) ผู้บุกเบิกทฤษฎีนี้ คือ Howard Gardner ทฤษฎีนี้มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการ ได้แก่ - คนแต่ละคนมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างกันไป และมีความสามารถในด้านต่าง ๆ ไม่เท่ากัน ซึ่ง เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน - เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่ แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม ซึง่ Gardner ได้เสนอว่า เชาวน์ปัญญาของบุคคลมี 8 ด้าน ดังนี้ 3.1 ด้านภาษา (Linguistic Intelligence) ความสามารถในการใช้ภาษารูปแบบต่างๆ สามารถรับรู้ เข้าใจภาษา และสามารถสื่อภาษาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ตามที่ต้องการ สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น เช่น กวี นักเขียน นักพูด นักหนังสือพิมพ์ ครู ทนายความ หรือนักการเมือง 3.2 ด้ า นการใช้ เ หตุ ผ ลเชิ ง ตรรกะและคณิ ต ศาสตร์ (Logical - Mathematical Intelligence) ความสามารถในการคิดแบบมีเหตุและผล การคิดเชิงนามธรรม การคิดคาดการณ์ และการคิดคำนวณทาง คณิตศาสตร์ สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น เช่น นักบัญชี นักสถิติ นักวิจัย นักคณิตศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ วิศวกร หรือโปรแกรมเมอร์ 3.3 ด้านการมองเห็นและมิติสัมพันธ์ (Visual/Spatial Intelligence) ความสามารถในการรับรู้ทาง สายตาได้ดี สามารถมองเห็นพื้นที่ รูปทรง ระยะทางและตำแหน่ง อย่างสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน มีความไวต่อการรับรู้ 7 ในเรื่องทิศทาง สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น เช่น นักประดิษฐ์ วิศวกร สถาปนิก จิตรกร นักวาดการ์ตู น ช่างภาพ นักปั้น หรือดีไซเนอร์ 3.4 ด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ (Bodily - Kinesthetic Intelligence) ความสามารถ ในการควบคุมและแสดงออกโดยใช้อวัยวะต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงความสามารถในการใช้มือประดิษฐ์ ความ คล่องแคล่ว ความแข็งแรง ความรวดเร็ว ความยืดหยุ่น ความประณีต และความไวทางประสาทสัมผัส สำหรับผู้ที่มี ปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักกีฬา นักแสดง นักเต้น หรือนักแสดงกายกรรม 3.5 ด้านดนตรี (Musical Intelligence) ความสามารถในการเข้าถึงสุนทรียะทางดนตรี ทั้งการรับรู้ การจดจำและการแสดงออก สามารถจดจำจังหวะทำนองและโครงสร้างทางดนตรีได้ดี สามารถเล่นดนตรี ร้องเพลง หรือแต่งเพลงได้ดี สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น เช่น นักร้อง นักดนตรี หรือนักแต่งเพลง 3.6 ด้า นมนุษยสั ม พัน ธ์ (Interpersonal Intelligence) ความสามารถในการเข้า ใจผู้ อื ่น ทั้งด้า น อารมณ์ ความคิดและเจตนาที่ซ่อนเร้น มีความไวในการสังเกตสีหน้าท่าทาง น้ำเสียง สามารถตอบสนองได้อย่าง เหมาะสม สร้างมิตรภาพได้ง่าย เจรจาต่อรอง ลดความขัดแย้ง เป็นปัญญาด้านที่จำเป็นต้องมีอยู่ในทุกคน สำหรับผู้ ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น เช่น นักการฑูต นักจิตวิทยา พนักงานขาย พนักงานต้อนรับ ประชาสัมพันธ์ นักการเมือง หรือนักธุรกิจ 3.7 ด้ า นการเข้ า ใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence) ความสามารถในการรู ้ เ ท่ าทั น อารมณ์ ความคิด ความปรารถนา และตัวตนของตนเอง มองภาพตนเองตามความเป็นจริง รู้จุดอ่อ นจุดแข็ง สามารถ ควบคุมตนเองให้แสดงออกอย่างเหมาะสมตามกาลเทศะ รู้ว่าเมื่อไหร่ควรเผชิญหน้า ควรหลีกเลี่ยง หรือต้องขอ ความช่วยเหลือ เป็นปัญญาด้านที่จำเป็นต้องมีอยู่ในทุกคน สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น เช่น นักคิด หรือนัก ปรัชญา 3.8 ด้านธรรมชาติวิทยา (Nationalism Intelligence) ความสามารถในการรู้จักและเข้าใจธรรมชาติ อย่างลึก ซึ ้ง เข้าใจกฎเกณฑ์ และปรากฏการณ์ธ รรมชาติ ต่ างๆ มีความไวในการสั งเกตธรรมชาติร อบตัว มี ความสามารถในการจำแนกแยกแยะประเภทของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น เช่น นักธรณีวิทยา นักธรรมชาติวิทยา นักวิทยาศาสตร์ หรือนักวิจัย แบบทดสอบวัดเชาวน์ปัญญา (Intelligent Tests) ได้มีความพยายามศึกษาเพื่อวัดระดับความสามารถทางเชาว์ปัญญาของมนุษย์มาตั้งแต่ในอดีต ทั้งนี้เพราะ เชื่อว่าระดับความสามารถทางเชาวน์ปัญญาจะเป็นตัวทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสำเร็จในชีวิต ของ บุคคลผู้นั้นได้ ในประเทศไทยมีแบบทดสอบที่นิยมนำมาใช้วัดระดับเชาวน์ปัญญาทั้งในเด็กและในผู้ใหญ่ ดังนี้ 1. Stanford – Binet Intelligence Scale ใช้ในเด็กตั้งแต่อายุ 2 – 7 ปี ลักษณะเป็นข้อสอบที่จัดไว้เป็น ชุดตามช่วงอายุนั้น ๆ รายงานผลเป็น อายุสมอง (Mental age) 8 2. Wechsler Intelligence Scale for Children (WISC) ใช้ในเด็กอายุ 6 ปี ถึง 16 ปี 11 เดือน 30 วัน 3. Wechsler Adult Intelligence Scale (WAIS) ใช้ในบุคคลอายุตั้งแต่ 16 ปี ขึ้นไป 4. แบบวั ด เชาวน์ ป ั ญ ญา Progressive Matrices พั ฒ นามาจากแนวคิด ทฤษฎีส ององค์ ประกอบของ Spearman บนพื้นฐานแนวคิด G-factor แบบทดสอบมีลักษณะเป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรงเรขาคณิต จึงเหมาะกับการทดสอบบุคคลที่ ไม่ได้รับการศึกษา เพราะไม่มีตัวแปลเรื่องภาษามาเกี่ยวข้อง จึงสามารถนำไปใช้ ทดสอบในคนที่มาจากวัฒนธรรมต่าง ๆ อย่างแพร่หลายที่สุด ค่าคะแนนที่ว ั ดออกมาได้ ในแต่ล ะแบบทดสอบ ส่ว นใหญ่จะอยู่ ในรูป ของระดับเชาวน์ป ัญ ญา หรือ Intelligence Quotient (IQ) แต่บางแบบทดสอบจะวัดออกมาเป็นร้อยละ (Percentile) และ Mental age โดย การเทียบ Mental age ให้เป็นค่า IQ ใช้สูตร ดังนี้ IQ = Mental age x 100 Chronological age โดย Chronological age คือ อายุจริงของผู้ถูกทดสอบ เมื่อคำนวณได้ค่า IQ แล้วสามารถนำมาแบ่งระดับ เชาวน์ปัญญาได้ ดังนี้ IQ ตั้งแต่ 130 ขึ้นไป 120 -129 110 -119 90 - 109 80 - 89 70 - 79 50 - 69 35 - 49 20 - 34 ต่ำกว่า 20 ระดับเชาวน์ปัญญา Very superior (อัจฉริยะ) Superior (ฉลาดมาก) High average (ฉลาด) Average (ปกติ) Low average (ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย) Borderline (คาบเส้น) Mild intellectual disability (สติปัญญาบกพร่องระดับน้อย) Moderate intellectual disability (สติปัญญาบกพร่องระดับปานกลาง) Severe intellectual disability (สติปัญญาบกพร่องระดับรุนแรง) Profound intellectual disability (สติปัญญาบกพร่องระดับรุนแรงมาก) 9 ภาพที่ 3 กราฟการกระจายของระดับเชาวน์ปัญญา ลักษณะการกระจายของระดับเชาวน์ปัญญาของกลุ่มประชากรใด ๆ มักเป็นรูประฆังคว่ำ หรือ Normal distribution โดยค่าปกติของ IQ อยู่ที่ 90 - 109 ความผิดปกติของเชาวน์ปัญญา จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นว่า ค่าปกติของ IQ อยู่ที่ 90 - 109 ดังนั้นหาก IQ มากกว่าหรือน้อยกว่าค่าเฉลี่ย ล้วนสามารถทำให้เกิดปัญหาพฤติกรรมตามมาไม่มากก็น้อย ยิ่ง IQ ต่างจากค่าเฉลี่ยมากเท่าใด ยิ่งมีโอกาสเกิด ปัญหาพฤติกรรมมากขึ้น ภาวะความผิดปกติของเชาวน์ปัญญา ได้แก่ 1. ภาวะสติปัญญาบกพร่อง (Intellectual disability; ID) ภาวะสติปัญญาบกพร่อง เป็นภาวะที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โดยมีค่า IQ < 70 ร่วมกับมีความ บกพร่องในการทำหน้าที่ของตน (Adaptive functioning) ที่ควรทำได้ตามอายุ พบได้ประมาณร้อยละ 1-2 ของ ประชากร โดยสามารถจำแนกความรุนแรงตามค่า IQ และ adaptive function ได้ดังนี้ - ภาวะสติปัญญาบกพร่องระดับน้อย หรือ Mild ID ระดับ IQ อยู่ที่ 50 - 69 พบได้ประมาณร้อยละ 85 ของบุคคลที่มีภาวะสติปัญญาบกพร่องทั้งหมด มักได้รับการวินิจฉัยเมื่อเข้าโรงเรียนแล้ว โดยพบว่ามีปัญหาด้านการ เรียน ดูไม่สมวัย ถูกชักนำได้ง่าย แต่ส่วนใหญ่เด็กจะดูแลตนเองได้ ยกเว้นงานที่มีความซับซ้อนจะต้องช่วยเหลือ มากกว่าเพื่อน ในวัยผู้ใหญ่ฝึกให้ทำงานที่ไม่ต้องใช้ความคิดมากนักได้ แต่อาจต้องช่วยเหลือบาง เรื่อง เช่น การ เดินทาง การเงิน - ภาวะสติปัญญาบกพร่องระดับปานกลาง หรือ Moderate ID ระดับ IQ อยู่ที่ 35 - 49 พบได้ประมาณ ร้อยละ 10 ของบุคคลที่มีภาวะสติปัญญาบกพร่องทั้งหมด มักมีพัฒนาการทางภาษาและทักษะอื่นๆล่าช้าตั้งแต่ ก่อนวัยเรียน จำเป็นต้องได้รับ การช่วยเหลือในด้านสังคมและทักษะการสื่อสารอย่างมาก สามารถฝึกหัดให้ ช่วยเหลือตนเองได้ แต่ยังต้องอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิด สามารถฝึกอาชีพจนทำงานที่ไม่ต้องอาศัยทักษะได้ แต่ยังต้องการความช่วยเหลือจากผู้ร่วมงานอย่างมาก อาจมีปัญหาพฤติกรรมร่วมด้วยได้ เช่น พฤติกรรมก้าวร้าว เป็นต้น 10 - ภาวะสติปัญญาบกพร่องระดับรุนแรง หรือ Severe ID ระดับ IQ อยู่ที่ 20 - 34 พบได้ประมาณร้อยละ 3 - 4 ของบุคคลที่มีภาวะสติปัญญาบกพร่องทั้งหมด มักวินิจฉัยได้ตั้งแต่อายุยังน้อย มีความจำกัดด้านภาษาอย่าง มาก สามารถฝึกการช่วยเหลือตนเองขั้นพื้นฐานได้ แต่ยังต้องการการดูแลตลอดชีวิต กลุ่มนี้มักมีสาเหตุทางกาย เห็นรูปร่างหน้าตาผิดปกติได้ชัดเจน อาจพบโรคร่วม เช่น โรคลมชักและมีปัญหาพฤติกรรมร่วมด้วยได้ มาก เช่น ก้าวร้าว ทำร้ายตนเอง ทำร้ายผู้อื่น ขว้างปาข้าวของเวลาไม่พอใจ เนื่องจากสื่อสารความต้องการไม่ได้ - ภาวะสติปัญญาบกพร่องระดับรุนแรงมาก หรือ Profound ID ระดับ IQ ต่ำกว่า 20 พบได้ประมาณ ร้อยละ 1 - 2 ของบุคคลที่มีภาวะสติปัญญาบกพร่องทั้งหมด มีพัฒนาการล่าช้าชัดเจนตั้งแต่วัยทารก แสดงอารมณ์ และความต้องการผ่านทางสีหน้าท่าทางได้ ต้องอาศัยการฝึกอย่างมากเพื่อให้บอกความต้องการได้บ้าง ต้องการการ ดูแลใกล้ชิดตลอดเวลา มักมีอายุขัยประมาณ 20 ปี 2. เด็กปัญญาเลิศ (Gifted Child) เด็กปัญญาเลิศ หมายถึง บุคคลที่มีเชาวน์ปัญญาและความสามารถสูงกว่าบุคคลทั่วไปอย่างเด่นชัด โดย ความสามารถนี้ไม่ได้หมายถึงสติปัญญาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงความสามารถด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น ด้านการเคลื่อนไหว ด้านดนตรี ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านธรรมชาติวิทยา เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามการวัด ความสามารถด้านอื่น ๆ ว่าสูงกว่าระดับค่าเฉลี่ยหรือไม่นั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ในทางปฏิบัติจึงยังนิยมใช้ค่าระดับ เชาวน์ปัญญาเป็นเกณฑ์ในการวินิจฉัยเด็กปัญญาเลิศ โดยทั่วไปนิยมตัดที่ IQ ตั้งแต่ 130 ขึ้นไป เพราะเป็นค่าที่สูง กว่าค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation; S.D.) 2 เท่า ลักษณะของเด็กปัญญาเลิศในวัยเด็กเล็ก มักมีพัฒนาการทั้งในด้านกล้า มเนื้อมัดใหญ่มัดเล็ก ภาษา และ สังคม เร็วกว่าเด็กทั่วไป อาจแสดงพฤติกรรมอยากรู้อยากเห็น กระตือรือร้น ความจำดี ชอบทำงานที่ซับซ้อ น มีวิธี พูดหรือให้ความสนใจในเรื่องที่โตกว่าวัย เรียนรู้และเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ต่อมาในวัยเรียนและวัยรุ่น มักจะมีผลการเรียนดีหรือมีความสามารถด้านใดด้านหนึ่งโดดเด่นออกมา สนใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ชอบหาวิธีใหม่ ๆ ในการแก้ปัญหา แต่ในขณะเดียวกันก็มีความอ่อนไหวทางอารมณ์ได้ง่าย มีอารมณ์รุนแรง และชอบความสมบูรณ์ แบบ หากอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมกับระดับความสามารถก็จะทำให้เด็ก มีปัญหาพฤติกรรมได้มากกว่าเด็ก ทั่วไป หลายครั้งที่เด็กแสดงออกเป็นพฤติกรรมไม่ร่วมมือในชั้นเรียน ซนไม่นิ่ง เสียงดังรบกวนผู้อื่น จนถูกครูดุบ่อย คล้ายเด็กสมาธิสั้น ซึ่งเป็นผลมาจากการที่เด็กเรียนรู้ได้เร็ว รับรู้เรื่องที่ครูสอนหมดแล้ว ทำให้เกิดความรู้สึกเบื่อ หน่าย ขาดความกระตือรือร้น ไม่อยากเรียนตามมา แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีความจำเป็นต้องตรวจประเมินภาวะ สมาธิสั้นในเด็กปัญญาเลิศ ด้วย เพราะสามารถเกิดร่วมกันได้ และเมื่อให้การรักษาอย่างเหมาะสมจะทำให้เด็ก ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น 11 เอกสารอ้างอิง 1. Feldman RS. Understanding psychology. 10th ed. New York: McGraw-Hill; 2011. 2. จินตนา สิงขรอาจ. การทดสอบทางจิตวิทยา. ใน: กุศลาภรณ์ ชัยอุดมสม, ภัทรี พหลภาคย์, ภาพันธ์ วัฒนวิกย์กิจ, พงศธร พหล ภาคย์, บรรณาธิการ. จิตเวชศาสตร์ Psychiatry. พิมพ์ครั้งที่ 1. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2559. หน้า 79-86. 3. จุฑามาส วรโชติกำจร. เด็กปัญญาเลิศและเด็กถูกเร่งรัด. ใน: สุรียล์ ักษณ์ สุจริตพงศ์, รวิวรรณ รุ่งไพรวัลย์, ทิพวรรณ หรรษคุณา ชัย, บานชื่น เบญจสุวรรณเทพ, อดิศร์สุดา เฟื่องฟู, จริยา จุฑาภิสิทธิ์, พัฏ โรจน์มหามงคล, บรรณาธิการ. ตำราพัฒนาการและ พฤติกรรมเด็กเล่ม 4. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ชมรมพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก; 2561. หน้า 401-9. 4. มาโนช หล่อตระกูล. ทฤษฎีจติ วิเคราะห์. ใน: มาโนช หล่อตระกูล, ปราโมทย์ สุคนิชย์, บรรณาธิการ. จิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558. หน้า 28-34. 5. สัญชัย กุลาดี, ปราโมทย์ สุคนิชย์. อาการและอาการแสดงทางจิตเวช. ใน: มาโนช หล่อตระกูล, ปราโมทย์ สุคนิชย์, บรรณาธิการ. จิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558. หน้า 59-67. 6. สุรชัย เกื้อศิริกลุ , ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล. ปัญหาการนอนหลับ. ใน: มาโนช หล่อตระกูล, ปราโมทย์ สุคนิชย์, บรรณาธิการ. จิต เวชศาสตร์ รามาธิบดี. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558. หน้า 281-99. 7. อวยชัย โรจนนิรันดร์กิจ, ปาริชาต ขำสำราญ. การทดสอบทางจิตวิทยา. ใน: มา?