ลักษณะทางกายภาพของประเทศไทย PDF
Document Details
Uploaded by PreferablePine
Ho Chi Minh City University of Social Sciences and Humanities
Tags
Summary
เอกสารนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพของประเทศไทย รวมถึงการแบ่งภูมิภาค ที่ตั้ง ขนาด และแนวพรมแดน พร้อมรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และฤดูกาล
Full Transcript
บทที่ 1 ลักษณะทางกายภาพของประเทศไทย ประเทศไทยตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของคาบสมุทรอินโดจีน ปัจจุบันได้แบ่งพื้นที่ภูมิภาค ทางภูมิศาสตร์ออกเป็น 6 ภาค1 ประกอบด้วยภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ 1. ทําเลที่ตั้ง รูปร่าง ขนาด และแนวพรมแดนของประเทศไทย...
บทที่ 1 ลักษณะทางกายภาพของประเทศไทย ประเทศไทยตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของคาบสมุทรอินโดจีน ปัจจุบันได้แบ่งพื้นที่ภูมิภาค ทางภูมิศาสตร์ออกเป็น 6 ภาค1 ประกอบด้วยภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ 1. ทําเลที่ตั้ง รูปร่าง ขนาด และแนวพรมแดนของประเทศไทย 1.1 ที่ตั้ง ประเทศไทยตั้งอยู่ในทวิปเอเชียในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณคาบสมุทรอินโดจีน และคาบสมุทรมลายู มีพิกัดภูมิศาสตร์ ดังนี้ จุดเหนือที่สุด พื้นที่อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ละติจูด 20 องศา 28 ลิปดาเหนือ จุดใต้ที่สุด พื้นที่อําเภอเบตง จังหวัดยะลา ละติจูด 5 องสา 37 ลิปดาเหนือถึง จุดตะวันออกที่สุด พื้นที่อําเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี ลองจิจูด 105 องศา 38 ลิปดาตะวันออก จุดตะวันตกที่สุด พื้นที่อําเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ลองจิจูด 97 องศา 21 ลิปดาตะวันออก 1 เดิมประเทศไทยแบ่งภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ต่มภาคการปกครองออกเพียง 4 ภาค ประกอบด้วย ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ต่อมาใน พ.ศ. 2520 คณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติได้ แบ่งภูมิภาคทางภูมิศาสตร์เพิ่มขึ้นอีก 2 ภาค ประกอบด้วย ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก รวมเป็น 6 ภาค โดยการแบ่งภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ครั้งนี้ได้อาศัยหลักเกณฑ์สําคัญ 2 ประการ คือ (1) การเรียกชื่อ ภูมิภาคตามทิศทางที่ตั้งของภูมิภาคนั้นๆ และ (2) การรวมกลุ่มจังหวัดที่มีลักษณะทางกายภาพ และ เศรษฐกิจ วัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกันเข้าไว้ด้วยกันในแต่ละภาค (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ภูมิลักษณ์ ประเทศไทย, กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534, หน้า 7-8 ) 5 1.2 รูปร่าง ประเทศไทยมีลักษณะยาวเรียวทางตอนใต้มากกว่าความกว้างทางตอนเหนือและตอนกลาง จึงมีผู้เปรียบรูปร่างคล้ายขวานโบราณ บางว่าคล้ายหัวช้าง 2 นอกจากนี้ยังมีผู้เปรียบเทียบรูปร่าง ของประเทศคล้ายรูปกระบวยตักน้ํา ความยาวจากใต้ถึงเหนือสุดนับจากพื้นที่ อําเภอเบตง จังหวัดยะลา ถึงพื้นที่อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย วัดระยะตามแนวลองจิจูด 101 องศาตะวันออก มีระยะทางประมาณ 1,650 กิโลเมตร ความกว้างวัดระยะตามละติจูด 15 องศาเหนือ จากพื้นที่อําเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ถึงพื้นที่อําเภอสิรินธร จังหวัด อุบลราชธานี มีระยะทางประมาณ 800 กิโลเมตร และบริเวณแผ่นดินที่แคบที่สุดจะอยู่บริเวณ 2 6 ชายแดนกัมพูชากับพื้นที่ตำบลหาดเล็ก อําเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด คือมีระยะทางเพียง 0.450 กิโลเมตรเท่านั้น 1.3 ขนาด ประเทศไทยมีขนาดพื้นที่ 513, 115.029 ตารางกิโลเมตร จัดเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่เป็น อันดับ 3 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซียและพม่า 1.4 แนวพรมแดน ประเทศไทยมีอาณาเขต ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านทางบก รวม 4 ประเทศ คือ 7 สหภาพพม่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ราชอาณาจักรกัมพูชา และมาเลเซีย รวมความยาวของแนวพรมแดนทางบก 5,326 กิโลเมตร ส่วนอาณาเขตติดต่อทางทะเล มีฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย ยาว 1,878 กิโลเมตร และฝั่งทะเลด้านทะเลอันดามัน ยาว 937 กิโลเมตร รวมความยาวของชายฝั่งทะเลทั้งสองด้าน 2,815 กิโลเมตร พรมแดนทางบกที่อยู่ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน มีดังนี้ คือ พรมแดนติดต่อกับสหภาพพม่า มีความยาว 2,202 กิโลเมตร เป็นความยาวตามสันปันน้ําของ ทิวเขาแดนลาว ทิวเขาถนนธงชัย และทิวเขาตะนาวศรี รวม 1,664 กิโลเมตร และความยาวตาม ร่องน้ําลึกของแม่น้ํารวก แม่น้ําสาย แม่น้ําสาละวิน แม่น้ําเมย แม่น้ํากระบุรี รวม 538 กิโลเมตร อยู่ในเขตพื้นที่ของ 10 จังหวัด คือ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง พรมแดนติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีความยาว 1,750 กิโลเมตร เป็นความยาวตามสันปันน้ําของทิวเขาหลวงพระบาง และภูแดนเมือง ซึ่งเป็นช่วงหนึ่งของทิวเขา พนมดงรัก รวม 650 กิโลเมตร และความยาวตามร่องน้ําลึกของแม่น้ําเหือง และแม่น้ําโขง รวม 1,100 กิโลเมตร อยู่ในพื้นที่ของ 11 จังหวัด คือ เชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี และอํานาจเจริญ พรมแดนติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา มีความยาว 789 กิโลเมตร เป็นความยาวตามแนว สันปันน้ําของภูเขาพนมดงรัก ทิวเขาบรรทัดและเขาพนมคอสวาย รวม 526 กิโลเมตร ความยาว ตามร่องน้ําลึกของครองน้ําใส คลองด่าน คลองลึก และแม่น้ําไฟลิน รวม 215 กิโลเมตร 8 และความยาวในแนวเส้นตรงเชื่อมต่อกันในพื้นที่ราบอีก 57 กิโลเมตร อยู่ในเขตของพื้นที่ของ 7 จังหวัด คือ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ สระแก้ว จันทบุรี และตราด พรมแดนติดต่อกับมาเลเซีย มีความยาว 576 กิโลเมตร เป็นความยาวตามสันปันน้ําของทิวเขา สันการาคีรี 481 กิโลเมตร และความยาวตามร่องน้ําลึกของแม่น้ําโก-ลก 95 กิโลเมตร อยู่ในเขตพื้นที่ของ 4 จังหวัด คือ สตูล สงขลา ยะลา และนราธิวาส 2. ลักษณะภูมิประเทศของประเทศไทย ลักษณะภูมิประเทศของประเทศไทยแบ่งเป็น 6 เขต ตามการแบ่งภาคภูมิศาสตร์ ดังนี้ 2.1 ภาคเหนือ 9 ประกอบด้วยพื้นที่ของ 9 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลําพูน ลําปาง แพร่ อุตรดิตถ์ น่าน พะเยา และเชียงราย ภูมิสัณฐานของภาคเหนือประกอบด้วยเขตภูเขา หุบเขา และที่ราบระหว่างภูเขา ทิวเขาสําคัญ ของภาคเหนือต่อเนื่องมาจากมณฑลยูนนานตอนใต้ของจีนและที่ราบสูงฉานในพม่า ประกอบด้วยทิวเขาแดนลาว ทิวเขาถนนธงชัย ทิวเขาผีปันน้ํา และทิวเขาหลวงพระบาง ทิวเขาหลักทั้ง 4 เป็นพื้นที่กําเนิดแม่น้ําสายสําคัญที่ปันน้ําออกแม่น้ําปิง แม่น้ําวังแม่น้ํายม แม่น้ําน่าน ที่ไหลลงทางใต้รวมกันเป็นแม่น้ําเจ้าพระยาในภาคกลาง แม่น้ําที่ไหลขึ้นทางเหนือ ไหลลงแม่น้ําโขง ได้แก่ แม่น้ํากก แม่น้ําอิง แม่น้ําฝาง แม่น้ําจัน ส่วนแม่น้ําที่ไหลไป ทางตะวันตกไหลลงสู่แม่น้ําสาละวิน ได้แก่ แม่น้ําปาย และแม่น้ําขุนยวม แม่น้ําสายต่างๆ เหล่านี้เมื่อผ่านลงมายังหุบเขาและที่ราบจะนําตะกอนและดินโคลนทับถมจนเป็นบริเวณที่มีดินอุ ดมสมบุรณ์เหมาะในการเพาะปลูกและตั้งถิ่นฐาน ที่ราบระหว่างภูเขาขนาดใหญ่ ได้แก่ ที่ราบเชียงใหม่ ที่ราบเชียงราย พะเยา 2.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วยพื้นที่ของ 19 จังหวัด ได้แก่ เลย หนองบัวลําภู อุดรธานี หนองคาย สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ของแก่น ชัยภูมิ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อํานาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุริทร์ บุรีรัมย์ และนครราชสีมา ภูมิสัณฐานเด่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือเป็นดินแดนที่มีขอบด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ ของภาคเป็นภูเขาหรือที่ราบสูงซอยแบ่งเป็นภูเขาหินทราย เป็นภูเขายอดตัด ได้แก่ ภูหลวง 11 ภูกระดึง ภูเขียว และทิวเขาพนมดงรัก ตอนกลางเป็นแอ่งที่ราบที่แบ่งเป็น 2 แอ่งด้วยทิวเขา ภูพาน แอ่งที่ราบตอนล่างเรียกว่า “แอ่งโคราช” ส่วนแอ่งที่ราบตอนบนเรียกว่า “แอ่งสกลนคร” บริเวณจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี จะพบภูมิสัณฐานแบบภูเขาไฟ ที่ปัจจุบันดับสนิทแล้ว เช่นเขาพนมรุ้ง เขาอังคาร เขากระโดง ในจังหวัดบุรีรัมย์ เขาสวาย ในจังหวัดสุรินทร์ เป็นต้น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือพื้นที่มากกว่าร้อยละ 60 มีระดับความสูงต่ํากว่า 200 เมตร จากระดับ น้ําทะเลจังจัดเป็นที่ราบ การไหลของแม่น้ําจะคดเคี้ยวและจะพบภูมิประเทศแบบกุด (oxbow lake) ทั่วไป ที่ราบดังกล่าวจึงถูกน้ําท่วมทุกปี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกมากกว่า ภาคกลาง และภาคเหนือ แต่สภาพพื้นที่เป็นดินร่วนปนทราย น้ําซึมผ่านได้ง่าย ดินจึงไม่สามารถเก็บความชุ่มชื้นได้นาน สภาพพื้นที่จึงแห้งแล้งทันทีในหลังฤดูฝน ดังนั้น จึงควรหาพื้นที่กักเก็บน้ําไว้ใช้ให้พอเพียงตลอดปี 12 2.3 ภาคกลาง ประกอบด้วยพื้นที่ของ 22 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กําแพงเพชร ชัยนาท นครนายก นครปฐม นครสวรรค์ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี อ่างทอง และอุทัยธานี ภูมิสัณฐานของภาคกลางแบ่งเป็น 2 บริเวณ ดังนี้ 1) บริเวณที่ราบลุ่มน้ําตอนบนและบริเวณขอบที่ราบตอนล่าง ลักษณะเป็นที่ราบที่แม่น้ํา นําตะกอนมาทับถม เนื่องจากพื้นที่ตอนบนมีเนินและเขาเตี้ย สภาพของที่ราบจึงมี ลักษณะเป็น ที่ราบลูกฟูก มีระดับสูงๆ ต่ําๆ ลาดลงสู่ที่ราบภาคกลางตอนล่าง ที่จังหวัดนครสวรรค์ 2) บริเวณที่ราบลุ่มน้ําตอนล่าง หรือบริเวณดินดอนสามเหลี่ยม เกิดจากการทับถมของ ตะกอนแม่น้ําสายต่างๆ ได้แก่ แม่น้ําเจ้าพระยา แม่น้ําท่าจีน แม่น้ําแม่กลอง แม่น้ําน้อย แม่น้ําป่าสัก แม่น้ําลพบุรี และแม่น้ําบางปะกง ที่ราบบริเวณดังกล่าว เป็นที่ราบลุ่มมาก น้ําจังระบายได้ช้าในฤดูฝน จึงเกิดน้ําท่วมและมีน้ําแช่ขังเป็นเวลา นาน จึงเกิดน้ําเน่าเสีย เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง 14 2.4 ภาคตะวันออก ประกอบด้วยพื้นที่ของ 7 จังหวัด ได้แก่ ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภูมิสัญฐานแบ่งเป็น 4 เขต ดังนี้ 1) เขตที่ราบลุ่มน้ํา ได้แก่ที่ราบของแม่น้ําบางปะกงที่ไหลผ่านจังหวัดปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา 2) เขตที่ราบลาดเนินหรือพื้นที่ลูกฟูก เป็นลักษณะเด่นของภาคตะวันออกจะอยู่ บริเวณตอนกลางของภาค ลักษณะเป็นเนินตะกอนที่ถูกน้ํากัดเซาะเป็นช่วงๆ สัณฐานเป็นเนินทราย บริเวณจังหวัดจันทบุรีและตราดพบแหล่งพลอยในพื้นที่ ภูเขาไฟเก่า 3) เขตพื้นที่เขาและภูเขา มี 2 แนวคือ แนวแรก ต่อเนื่องกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ในพื้นที่ของจังหวัดปราจีนบุรีและสระแก้ว ส่วนแนวที่สอง อยู่ทางทิศตะวันออก ได้แก่ ภูเขาในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี และตราด 4) ที่ราบชายฝั่งทะเลและเกาะ ภาคตะวันออกมีทาดทรายสวยงาม เช่น ทาดบางแสน หาดพัทยา หาดจอมเทียน หาดแม่พิมพ์ เป็นต้น และมีเกาะชายฝั่งสวยงาม ได้แก่ เกาะช้าง เกาะกูด เกาะสีชัง และเกาะล้าน 2.5 ภาคตะวันตก ประกอบด้วยพื้นที่ของ 5 จังหวัด ได้แก่ ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ภูมิสัณฐานของภาคตะวันตกเป็นภูเขาต่อเนื่องมาจากภาคเหนือ คือ ทิวเขาถนนธงชัยตะวันตก อยู่ในจังหวัดตากและตอนบนของกาญจนบุรี นอกจากนั้น มีทิวเขาตะนาวศรี ทอดแนวกั้น 15 ชายแดนพม่ากับไทยจนสุดเขตภาคตะวันตกที่ประจวบคีรีขันธ์ ดังนั้นภาคตะวันตกจึงประกอบด้วยทิวเขาทอดแนวยาวมาก จึงมีหุบเขาแคบๆ หุบเขาต่างๆ จะมีแม่น้ําไหลผ่าน ได้แก่ แม่น้ําแควน้อย (แม่น้ําไหรโยค) แม่น้ําแควใหญ่ (แม่น้ําศรีสวัสดิ์) บริเวณแถบนี้เป็นภูเขาหินปูน จึงพบถ้ําสวยงามจํานวนมาก ทางด้านทิศตะวันออกของทิวเขาที่จังหวัดตาก กาญจนบุรีจะเป็นที่ราบลาดเชิงเขา แถบราชบุรี และเพชรบุรี มีที่ราบลุ่มที่เกิดจากตะกอนที่แม่น้ําแม่กลองและแม่น้ําเพชรบุรีนํามาทับถม บริเวณชายฝั่งทะเลจะเป็นที่ราบหาดเลน บริเวณปากแม่น้ําแม่กลองมีสันดอนแม่น้ําที่รู้จักกันดีคือ “ดอนหอยหลอด” ถัดจากปากแม่น้ํา เพชรบุรีที่บ้านแหลม ชายละเลตั้งแต่หาดเจ้าสําราญ ชะอํา หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ ภูมิประเ?สจะพบเป็นที่ราบชายฝั่งทะเลที่เกิดจากการทับถมตะกอนทราย ดินเหนียวดดยการกระทําของคลื่น ลักษณะเด่นของที่ราบชายฝั่งทะเลแถบนี้เป็นเนินทรายที่ลมหอบทรายไปกองอยู่ในแผ่นดิน ปัจจุบันใช้เป็นพื้นที่ปลูกมะพร้าวและสับปะรด นอกชายฝั่งมีเกาะ เกาะบางเกาะปัจจุบัน มีตะกอนเชื่อมเกาะจนเป็นดินแดนเดียวกัน เช่น เขาช่องกระจก เป็นต้น 2.6 ภาคใต้ ประกอบด้วยพื้นที่ของ 14 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา ภูเก็ต กระบี่ นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ภูมิสัญฐานของภาคใต้เป็นคาบสมุดที่มีทิวเขาตะนาวศรีต่อเนื่องไปจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีทิวเขาภูเก็ตวางทอดแนวชิดชายฝั่งทะเลอันดามันจากระนองลงไป 16 ตอนกลางมีทิวเขานครศรีธรรมราชและทิวเขาสันกาลาคีรีกั้นชายแดนไทยกับมาเลเซีย ลักษณะภาคใต้แบ่งได้สองแบบ คือ ฝั่งทะเลอันดามันกับฝั่งทะเลอ่าวไทย 1) ฝั่งทะเลอันดามัน จะมีเกาะชายฝั่งทะเลจํานวนมาก มีหาดทรายแคบ มีอ่าวขนาดเล็ก ทําให้เกิดเป็นชายฝั่งเว้าแหว่งมาก ตัวอย่างหมู่เกาะสําคัญ ได้แก่ เหมู่เกาะในอุทยาน แห่งชาติอ่าวพังงา อุทยานแห่งชาติตะรุเตา เกาะพีพีดอน และสิมิลัน 2) ฝั่งทะเลอ่าวไทย มีเกาะชายฝั่งขนาดใหญ่ มีหาดทรายยาวเกือบตลอดชายฝั่ง และ ทะเลตื้น มีทะเลภายใน (lagoon) เรียกว่า “ทะเลสาบสงขลา” เกาะขนาดใหญ่ ได้แก่ เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า หมู่เกาะสําคัญคืออุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง 3. ลักษณะภูมิอากาศของประเทศไทย 3.1 อุณหภูมิของอากาศ ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนของซีกโลกเหนือ มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 27 องศาเซลเซียส เพราะได้รับแสงอาทิตย์อย่างเต็มที่อยู่ตลอดปี แต่ในภูมิภาคต่างๆ พบว่า มีสภาพ อุณหภูมิที่แตกต่างกัน เช่น ในเขตภาคเหนือ จะมีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ําที่สุดของประเทศ ทั้งนี้ เนื่องจากภาคเหนือมีที่ตั้งตามละติจูดที่ห่งจากเส้นศูนย์สูตรมากกว่าภาคอื่นๆ ดังนั้น จึงได้รับ อิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือยาวนานกว่าภูมิภาคอื่นๆ นอกจากนี้ภาคเหนือมีพื้นที่ที่มีภูมิประเทศแบบภูเขาและที่สูง ในกรณีที่ภาคกลางมีอุณหภูมิที่ สูงกว่าภาคอื่นๆ เนื่องจากภาคกลางตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อับฝน (rainshadow) 17 3.2 ปริมาณน้ําฝน โดยทั่วไป ปริมาณน้ําฝนส่วนใหญ่ของประเทศไทยอยู่ในเกณฑ์ดี คือได้รับปริมาณน้ําฝนโดยเฉลี่ย 1,695 มิลลิเมตรต่อปี โดยมีฝนตกมากในช่วงที่เป็นฤดูฝน โดยภูมิภาคต่างๆ จะได้รับน้ําฝน กระจายแตกต่างกันตามสภาพภูมิประเทศ ลักษณะที่ตั้งใกล้ใกลจากทะเล ทิศทางของลมประจํา อิทธิพลของพายุหมุนและฤดูกาล บริเวณที่มีฝนตกชุกและมีปริมาณน้ําฝนมากอยู่ด้านหน้าทิวเขาหรือด้านรับลมมรสุมตะวันตก เฉียงใต้ อันได้แก่ พื้นที่ทางด้านตะวันตกของภาคใต้ และบริเวณภาคตะวันออก โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่อําเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด มีปริมาณน้ําฝนตลอดปีเฉลี่ย 4,737.1 มิลลิเมตร ส่วนพื้นที่ที่มีฝนตกน้อยจะอยู่ทางด้านพื้นที่อับฝน ซึ่งได้แก่ บริเวณตอนกลาง ของภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันตก ด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้มีฝนตกชุกเกือบตลอดปี ยกเว้นช่วงฤดูร้อน พื้นที่ที่มีฝนตกมากที่สุดของภาคใต้ จะอยู่ในจังหวัดระนอง คือมีปริมาณน้ําฝนตลอดปีเฉลี่ย 4,119,3 มิลิเมตร 3.3 ลมและทิศทางลม ในรอบปีหนึ่งๆ ประเทศไทยจะมีลมพัดผ่านหลายชนิด ได้แก่ ลมประจําเวลา ลมประจําถิ่น ลมประจําฤดู และพายุหมุน ลมดังกล่าวมีช่วงเวลาในการพัดผ่านต่างๆ กัน และมีความยาวนาน ในการปกคลุมต่างกันด้วย หากจะพิจารณาโดยสังเขปจะมีลมพัดผ่านและมีอิทธิพลต่อพื้นที่ ดังนี้ ต้นเดือนพฤษภาคม จะมีลมที่พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปขึ้นฝั่งฝนช่วงต้นฤดูฝน เป็นลม ประจําถิ่นที่มีความเร็วในการเคลื่อนที่น้อยเรียกชื่อ “ลมพัทธยา” กลางเดือนพฤษภาคม ลมตะวันตกเฉียงใต้จะมีกําลังแรงขึ้น จึงพัดเข้าสู่ทุกภูมิภาค นําความชื้น 18 เข้าไปทําให้เกิดฝนตกกระจายเป็นช่วงเวลานานกลางเดือนตุลาคม จึงเรียกว่า “ลมมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้” ระยะนี้ประเทศไทยเป็นช่วงฤดูฝน ประมาณกลางเดือนกรกฎาคมถึงเดือนพฤศจิกายน จะมีพายุหมุนก่อตัวขึ้นในทะเลจีนใต้ หากพายุหมุนเคลื่อนผ่านประเทศไทยจะทําให้มีปริมาณน้ําฝนเพิ่มมากขึ้น พายุหมุนแต่ละครั้งที่เกิดจะมีอิทธิพลต่อลมฟ้าอากาศของไทยประมาณ 3 - 7 วัน พายุหมุน มีชื่อเฉพาะตามความเร็วศูนย์กลาง ถ้ามีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางน้อยกว่า 60 กิโลเมตร ต่อชั่วโมงเรียกว่า “พายุดีเปรสชั่น” (depression) พายุที่มีความเร็วปานกลางระหว่าง 62-117 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเรียกว่า “พายุโซนร้อน” พายุที่มีกําลังแรงที่สุดคือตั้งแต่ 118 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง เรียกว่า “พายุไต้ฝุ่น” พายุหมุนทั้งสามเคลื่อนที่ผ่านจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก กลางเดือนพฤศจิกายน มี “ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ” ต้นลมพัดมาจาก บริเวณตอนกลาง ของจีน ที่มีอากาศหนาวจึงนําความเย็นแผ่ลงมา ระยะนี้ ความชื้นจะลดลง อากาศเริ่มแห้ง ในบริเวณประเทศไทยตอนบน แต่เมื่อลมมรสุมพัดผ่านอ่าวไทยไปขึ้นภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยจะยังมีฝนตกต่อเนื่องไปอีก กลางเดือนกุมภาพันธ์ ลงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนืออ่อนลง เปิดโอกาสให้ลมฝ่ายใต้ พัดจาก ทิศใต้และตะวันออกเฉียงใต้ นําความชื้นเข้าไป ระยะนี้จึงมั้กมีหมอกเกิดขึ้นในตอนเช้า เนื่องจากอุณหภูมิภายในยังเย็นอยู่ นับจากต้นเดือนมีนาคมเป็นต้นไป อากาศค่อยๆ ร้อนมากขึ้น ลมฝ่ายใต้จึงนําความชื้น เข้าสู่แผ่นดิน และหากมีลมตะวันตกเฉียงใต้เคลื่อนมาเป็นบางระยะนั้น จะทําให้เกิดพายุ ฝนฟ้าคะนอง มีลมแรง บางครั้งมีลูกเห็บตกด้วยปรากฏการณ์ดังกล่าวอาจล่วงเลยไปถึง 19 เดือนเมษายนเรียกว่า “พายุฤดูร้อน” 3.4 ฤดูกาล เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาแบ่งเขตประเทศไทยเป็น 2 เขต คือ ประเทศไทยตอนบน (หมายถึงทุกจังหวัดยกเว้นภาคใต้) และประเทศไทยตอนล่าง (หมายถึงภาคใต้นับตั้งแต่ จังหวัดเพชรบุรีลงไป) ดังนั้น จึงมีฤดูกาลและช่วงเวลา ดังนี้ 1) ประเทศไทยตอนบน มีฤดูกาล 3 แบบ ดังนี้ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม - กลางเดือนตุลาคม รวม 5 เดือน ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม - กลางเดือนกุมภาพันธ์ รวม 4 เดือน ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ - กลางเดือนพฤษภาคม รวม 3 เดือน 2) ประเทศไทยตอนล่าง มีฤดูกาล 2 แบบ ดังนี้ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม - กลางเดือนธันวาคม รวม 7 เดือน ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนธันวาคม - กลางเดือนพฤษภาคม รวม 5 เดือน 4. การแบ่งภาคตามอุตุนิยมวิทยาของไทย กรมอุตุนิยมวิทยาได้แบ่งภาคของประเทศไทย โดยพิจารณาจากองค์ประกอบของลมฟ้าอากาศ ประจําถิ่น ได้ 5 ภาค ดังนี้ 4.1 ภาคเหนือ ประกอบด้วย 15 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลําพูน ลําปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขไทย ตาก กําแพงเพชร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และพิจิตร 4.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 19 จังหวัด ได้แก่ หนองคาย เลย หนองบัวลําภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬาสินธุ์ ขอยแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร 20 อํานาจเจริญ ชัยภูมิ นาครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี 4.3 ภาคกลาง ประกอบด้วย 18 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง สระบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร 4.4 ภาคตะวันออก ประกอบด้วย 8 จังหวัด ได้แก่ นครนายก ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว ชนบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด 4.5 ภาคใต้ ซึ่งแบ่งออกได้ 2 ส่วน ดังนี้ 1) ภาคใต้ฝั่งตะวันออก หรือภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ประกอบด้วย 10 จังหวัด ได้ แก่ เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนาราธิวาส 2) ภาคใต้ฝั่งตะวันตกหรือภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน ประกอบด้วย 6 จังหวัดได้แก่ ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรังและสตูล -----*****----- 1. ดูจากแผนที่แสดงที่ตั้งจังหวัดของประเทศไทย (หน้าถัดไป) จงบอกชื่อของบรรดาจังหวัด ในแต่ละ ภูมิภาค 2. ระบุข้อมูลของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องต่อไปนี้ - ความยาวของแนวพรมแดนโดยรวามของประเทศ - ราชชื่อและจํานวนจังหวัดที่มีพื้นที่เป็นแนวพรมแดนติดต่อกับประเทศพม่า ลาว กัมพูชาและมาเลเซีย 21 3. นักศึกษาทบทวนบทเรียนเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพเชิงรายภาคในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง แล้วแบ่งกลุ่มร่วมกันจัดอภิปรายหน้าชั้นเรียน 4. จากการเรียนรู้เกี่ยวกับลักษณะกายภาพของประเทศไทย จงพูดถึงลักษณะกายภาพของ เวียดนาม เช่น ทําเลที่ตั้ง แนวพรมแดน การแบ่งภาค ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิอากาศ เป็นต้น 22