🎧 New: AI-Generated Podcasts Turn your study notes into engaging audio conversations. Learn more

แผนการสอนประจาบทที่ 9 โรคสัตว์น้ำ PDF

Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

Summary

This document outlines a lesson plan for a chapter on aquatic animal diseases. It covers topics like diseases caused by pathogens, environmental factors, and nutritional deficiencies, along with prevention and treatment methods.

Full Transcript

แผนการสอนประจาบทที่ 9 โรคสัตว์น้ำ และวิธีการป้องกันรักษาโรค หัวข้อเนือ้ หา โรคสัตว์น้ำ และวิธีการป้องกันรักษาโรค 1. โรคในสัตว์น้ำที่เกิดจากเชื้อโรค 2. การเกิดโรคจากสิ่งแวดล้อมหรือสารพิษ 3. การเกิดโรคจากสุขภาพและการขาดสารอาหาร 4. ห...

แผนการสอนประจาบทที่ 9 โรคสัตว์น้ำ และวิธีการป้องกันรักษาโรค หัวข้อเนือ้ หา โรคสัตว์น้ำ และวิธีการป้องกันรักษาโรค 1. โรคในสัตว์น้ำที่เกิดจากเชื้อโรค 2. การเกิดโรคจากสิ่งแวดล้อมหรือสารพิษ 3. การเกิดโรคจากสุขภาพและการขาดสารอาหาร 4. หลักการป้องกันโรคสัตว์น้ำ 5. การรักษาโรค 6. สรุปประจำบท แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 9 เอกสารอ้างอิง วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม 1. อธิบายอาการโรคในสัตว์น้ำที่เกิดจากเชื้อโรคได้ 2. อธิบายการเกิดโรคจากสิ่งแวดล้อมหรือสารพิษในสัตว์น้ำได้ 3. อธิบายการเกิดโรคจากสุขภาพและการขาดสารอาหารได้ 4. อธิบายหลักการป้องกันโรคสัตว์น้ำได้ 5. อธิบายการรักษาโรคในสัตว์น้ำได้ วิธีการสอนและกิจกรรมประจำบทที่ 9 1. ชี้แจงคำอธิบายรายวิชา วัตถุประสงค์ เนื้อหา และเกณฑ์การให้คะแนนรายวิชา 2. ผู้สอนอธิบายเนื้อหาโรคสัตว์น้ำ และวิธีการป้องกันรักษาโรคตามเอกสารประกอบการสอน 3. บรรยายประกอบการฉายภาพสไลด์ (โปรแกรม PowerPoint) 4. นำเสนอรายงาน ซักถาม และแลกเปลี่ยนแนวคิด และเสนอแนะแนวความคิด 5. สรุปเนื้อหาประจำบท 6. ชี้แจงหัวข้อที่จะเรียนในครั้งต่อไป เพื่อให้ผู้เรียนไปศึกษาก่อนล่วงหน้า 7. เสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมให้กับนักศึกษาก่อนเรียนและก่อนเลิกเรียน สื่อการเรียนการสอน 1. เอกสารประกอบการสอน 2. เครื่องคอมพิวเตอร์ 3. ภาพสไลด์ (โปรแกรม PowerPoint) 4. โทรศัพท์แบบสมาร์ทโฟน 5. ใบงาน การวัดผลและประเมินผล 1. สังเกตการตอบคำถาม และการตั้งคำถาม 2. สังเกตการอภิปรายร่วมกันขณะทำงานเป็นกลุ่ม 3. วัดจากพฤติกรรม ความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรม 4. การนำเสนอรายงาน 5. แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน 6. แบบฝึกหัดท้ายบท บทที่ 9 โรคสัตว์น้ำ และวิธีการป้องกันรักษาโรค โรคสัตว์น้ำ (Aquatic Animal Diseases) ตามที่ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 7428-2555 เรื่องการปฏิบัติที่ดีสำหรับการควบคุมโรคสัตว์น้ำใน สถานประกอบการตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 โรคสัตว์น้ำ หมายถึง โรคสัตว์ น้ำที่เกิดจากการติดเชื้อ ทั้งที่ปรากฏและไม่ปรากฏอาการ (สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร แห่งชาติ, 2555) โรคสัตว์น้ำเกิดขึ้นได้จากสาเหตุหลักที่สำคัญ 3 ประการคือ 1) ชนิด ปริมาณและความ รุนแรงในการก่อโรคของเชื้อโรค 2) สุขภาพร่างกายของสัตว์น้ำที่อ่อนแอ และ 3) สภาพสิ่งแวดล้อมที่ไม่ เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ การเกิดโรคอาจเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง หรือ 2 ในสาม หรือ ทั้งสามสาเหตุเกิดขึ้นพร้อมกัน ล้วนสามารถก่อให้เกิดโรคในสัตว์น้ำได้ทั้งสิ้น โดยความเสียหายที่เกิดขึ้นก็ ขึ้นอยู่กับทั้ง 3 สาเหตุนี้เช่นเดียวกัน ดังนี้ 9.1 โรคในสัตว์น้ำที่เกิดจากเชื้อโรค เชื้อโรคที่สามารถก่อโรคในสัตว์น้ำมีด้วยกันหลายประเภท เช่นเดียวกับในสัตว์ชนิดอื่น โดย สามารถแบ่งประเภทเชื้อโรค (ปภาศิริ, 2538, สุปราณี แลละคณะ, 2546,) และอาการของสัตว์น้ำที่แสดง อาการของโรคได้ดังต่อไปนี้ 9.1..1 โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคมีอยู่ทั่วไปในน้ำ อาจติดอยู่กับวัสดุในน้ำ ของเสียที่ถูก ขับถ่ายออกมาจากสิ่งมีชีวิตในน้ำ อยู่ในตัวสัตว์น้ำที่เป็นโรคและพาหะ หรือติดมากับอาหาร ฯลฯ เชื้อ แบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำมีหลายชนิด มีทั้งประเภทที่สามารถทำให้ปลาเป็นโรคได้ด้วยตัวของมัน เอง (Primary Pathogen) และประเภทที่ทำให้ปลาเป็นโรคหลังจากมีเชื้อชนิดอื่น ๆ ทำให้ปลาเป็นโรค หรือเกิดบาดแผลอยู่ก่อน เชื้อแบคทีเรียจะผ่านเข้าทางผิวหนังของปลาได้ยาก นอกเสียจากว่าผิวหนังปลา เกิดบาดแผล เชื้อแบคทีเรียยังสามารถเข้าสู่ร่างกายของปลาได้ทางปาก โดยติดไปกับอาหารและอวัยวะที่ ประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่อ่อนนิ่มหรือบอบบาง เช่น เหงือก ช่องทวาร ช่องเพศ และตา 9.1.1.1 โรค Motile Aeromonas เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Aeromonas hydrophila เป็นแบคทีเรียชนิดแกรมลบ สามารถเจริญได้ทั้งในสภาพที่มีออกซิเจน และไม่มีออกซิเจน อุณหภูมิที่ เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตอยู่ในช่วงระหว่าง 25 ํ-30 ํ องศาเซลเซียส ความเป็นกรดเป็นด่าง 5.5-9.0 ส่วนใหญ่พบในแหล่งน้ำที่มีปริมาณอินทรีย์สารมาก เช่น น้ำทิ้งจากแหล่งชุมชน เป็นต้น มักพบก่อโรคใน สัตว์น้ำจืดหรือสัตว์เลือดเย็นชนิดอื่น ๆ เช่น จระเข้ งู เต่า ตะพาบน้ำ ปลานิล (ชนกันต์, 2556) ในสภาวะ ปกติเชื้อแบคทีเรีย A. hydrophila ไม่ทำให้เกิดปัญหาในสัตว์น้ำ แต่เมื่อใดที่สัตว์น้ำเกิดความเครียด (Stress) เนื่องจากอุณหภูมิต่ำ หรือความแตกต่างของอุณหภูมิน้ำในรอบวันมีช่วงกว้างทำให้สัตว์น้ำปรับตัว ไม่ทัน ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำต่ำเป็นเวลานาน ปริมาณแอมโมเนียในน้ำมากเกินไป เลี้ยงปลาใน อัตราหนาแน่นสูง การเกิดบาดแผล เชื้อแบคทีเรีย A. hydrophila เข้าสู่ร่างกายได้โดยทางปากหรือทาง ผิวหนังและเหงือกที่มีบาดแผล โดยเชื้อเพิ่มจำนวนมากขึ้นในบริเวณที่เข้าไป แล้วแพร่กระจายไปตาม กระแสเลือดทั่วร่างกาย 9.1.1.2 โรค Pseudomonas Septicemia มักพบในปลาน้ำจืดทั่วไป เช่น ปลานิล (กลุ่มตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง, มปป.) และมักพบในปลาที่มีเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่น ๆอยู่ด้วย เช่น A. hydrophila , Edward siellatarda เป็นต้น เชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas ชนิดที่สำคัญ ได้แก่ P. Fluorescens เป็นแบคทีเรียชนิดแกรมลบ สามารถสร้างสารเรืองแสงได้ (Fluorescent Pigments) โคโลนีมีลักษณะกลม เรียบ พบในดินและน้ำ สามารถแยกเชื้อชนิดนี้ได้จากปลาที่เน่าเปื่อย การติดเชื้อ แบคทีเรีย Pseudomonas sp. ส่วนมากเป็นลักษณะ Secondary Infection คือ ปลาอ่อนแอและเครียด เนื่องจากสภาพแวดล้อมต่างๆ เชื้อแบคทีเรียและสารพิษที่เชื้อแบคทีเรียสร้างขึ้นจะทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อ และอวัยวะต่าง ๆ ปลาที่ป่วยเป็นโรค Pseudomonas Septicemia มักจะมีอาการ โคนครีบ ในปาก ขากรรไกรล่าง และรอบๆ ทวารหนักมีสีแดง อาการภายในพบว่าจะมีอาการตกเลือดที่เยื่อบุช่องท้อง และ อวัยวะภายใน ในลำไส้มีของเหลวปนเลือด ตกเลือดในกล้ามเนื้อ พบทั่วไปในโลกทั้งน้ำจืดและทะเลการระบาคของโรคส่วนใหญ่จากปลาในบ่อเลี้ยงปลา สวยงามต่าง ๆ จำพวก mirror and lesther carps กลุ่มปลาซัลมอนโดยเฉพาะปลา เทร้าปลา goldfish ปลา golden shiners ปลา channel catfish ปลา moribund white catfish กลุ่ม labyrinth fishes เช่ น colisa, gouramis, paradise fish (Macropodus opercularis) และ Trichogaster trichopterus (ปภาศิริ, 2537) ปลาที่ติดเชื้อ Pseudomonad septicemia มักจะอยู่ในสิง่แวดล้อมที่ไม่ดีเนื่องจากการ เลี ้ ย งรวมกั น หนาแน่ น มากเกิ น ไป ความไม่ ส มดุ ล ของอาหาร จะทำให้ ป ลาอ่ อ นแอทำให้ เชื้ อ Pseudomonas จะเข้าทำอันตรายเป็น secondary infection ทันที ปลาจะมีอาการเหมือนกับการติด เชื้อ Aeromonas hydrophila จะมีจุดเลือด (petechiae และ red spots) ตามผิวตัวและครีบ รวมทั้ง ช่องท้องและอวัยวะภายในทั้งหมด ท้องบวมน้ำ ผิวตัวสีเปลี่ยนไป เมื่อเขี่ยเชื้อย้อมสีจะพบว่ามีการสร้าง capsule ล้อมรอบตัวและมีการสร้างเมือกบนอาหารเลี้ยงเชื้อ 9.1.1.3 โรคคอลัมนาริส (Columnaris Disease) หรือโรค Cotton-wool Disease เกิดจาก เชื้อแบคทีเรีย Flexibacter columnaris เป็นเชื้อแบคทีเรียที่พบทั่วไปในน้ำจืด มีปะปนอยู่กับเมือกของ ปลาปกติ หรือปลาป่วย ในสภาพปกติปลาจะไม่เกิดเป็นโรคขึ้นเอง แต่มักจะเกิดกับปลาหรือสัตว์น้ำที่ ร่างกายอ่อนแอและเครียด เนื่องจากได้รับบาดเจ็บหรือบอบซ้ำจากการจับหรือขนส่งลำเลียง อุณหภูมิที่ เหมาะสมต่อการเกิดโรค อยู่ในช่วงระหว่าง 28 ํ- 30 ํ องศาเซลเซียส ปลาที่มีบาดแผลบริเวณลำตัว ครีบ หรือเหงือก เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย F. columnaris จะปรากฏมีเมือกมากจากนั้นจะมีลักษณะสีเทาหรือ มีจุดเลือดบริเวณที่เกิดโรค ส่วนมากพบเกิดโรคใน ปลาดุก ปลาช่อน และปลาบู่ 9.1.1.4 โรคท้องบวม (Abdominal dropsy) ส่วนใหญ่เกิดจากแบคทีเรีย ปลาจะมีอาการเซื่อง ซึม ไม่เคลื่อนไหว อาศัยอยู่ใต้ผิวน้ำหรือจมก้นบ่อ ปลาไม่ค่อยกินอาหารในแบบเฉียบพลัน บริเวณส่วนท้อง จะบวมมาก มีน้ำสีแดงออกจากช่องท้อง และอาจเกิดเกล็ดตั้งร่วมด้วย กรณีเกิดอาการเรื้อรัง ผิวหนังของ ปลาจะมีรอยช้ำ ตกเลือด ภาพที่ 9.1 อาการท้องบวมในปลาดุก ที่มา : https://www4.fisheries.go.th/local/file_ document/20200417191606_1_file.pdf 9.1.1.5 โรคเกล็ดพอง (Scale protrusion) ปลาที่เป็นโรคนี้จะมีอาการเกล็ดตามตัวตั้งและกาง ออก ลำตัวบวมพอง บริเวณฐานของซอกเกล็ดมีอาการตกเลือด ปลาที่ป่วยจะไม่กินอาหารและจะลอยตัว ขึ้น มาบนผิว น้ ำแล้ว จึง ตายไปในที่ส ุด สาเหตุ เ กิด จากเชื้อแบคทีเรีย และโปรโตรซัว บางชนิด เช่น Aeromonas hydrophila และ Glossatella sp. ภาพที่ 9.2 เกล็ดพองในปลามังกร ที่มา : 9.1.1.6 โรค Furunculosis สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อ Aeromnas salmonicda มักพบใน กลุ่มปลาแซลมอน ชนิด brook trout (Salmon fontinalis) brown trout และ rainbow trout ปลา คาร์พ ปลาดุก ปลาทอง, และปลาในอะควาเรียมอีกหลายชนิด ทั้งปลาทะเลและปลาน้ำจืด ปลาที่อาศัยใน สิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี จะติดเชื้อได้ง่าย และมักเกิดแผลเล็ก ๆ ที่ผิวหนังหรือลำไส้ และตายใน 3-4 วันต่อมา ปลาจะเริ่มตายเป็นจำนวนมากเด่นชัด ในระหว่างวันที่ 4-9 หลังจากเกิดการระบาดของโรค ตัวที่ยังมีชีวิต จะแสดงอาการเป็นตุ่มพุพองตามผิวตัว ในช่วง 8 - 14 วัน ปลาป่วยจะมีอาการว่ายน้ำเชื่องช้า ผิวตัวจะเข้มขึ้น ไม่กินอาหาร โคนครีบตกเลือด รอบ ๆ ทวาร อักเสบ อวัยวะภายในมีจุดเลือด (petechial hemorrhage ) บริเวณเหงือกผนังทางเดินอาหาร รังไข่ หัวใจ กระเพาะ ลม กล้ามเนื้อ ตับ ตับอ่อน ไต ม้าม ในลำไส้จะเต็มไปด้วยน้ำเลือด 9.1.1.7 โรค Vibriosis Ulcer Disease, Red Ped, Red Boil, Salt Water Furunculosis โรคนี้มีสาเหตุเกิดจากเชื้อ Vibrio sp. โดยการติดต่อของโรคจากปลาตัวหนึ่งไปสู่ปลาอีกตัว หนึ่งได้โดยตรง มักพบในสัตว์น้ำกร่อยหรือสัตว์ทะเล นอกจากนี้ยังพบในปลาน้ำจืด เช่นปลา rainbow trout herring (Clupea pallasi), roach (Rutilis rutilis), gurnards (Triglidae), wrasses (Labridae) และ queen fish (Seriphus politus) ปลาที่ป่วยเป็นโรค Vibriosis จะมี petechiae ที่ปาก, กระพุ้ง แก้ม,และผิวตัวด้านท้อง ชั้น ผิวหนังและกล้ามเนื้อเกิดฝีภายในมีน้ำเหลืองหนองเลือดคั่งที่ผิวหนังและครีบ ลำไส้อักเสบ ม้ามโต ไตบวม และเซลไตตาย ถ้าทำอันตรายต่อกุ้งทะเล ทั้งกุ้งวัยรุ่นและกุ้งโตเต็มวัย จะมีอาการว่ายน้ำมีทิศทางไม่ แน่นอน กล้ามเนื้อบริเวณท้องขุ่นมัว เม็ดสีกระจายเป็นบริเวณกว้าง 9.1.1.8 โรคกุ้งเรืองแสง โรคเพชรพลอย เกิดจากเชื้อ Vibrio harvaeyi เป็ น โรคที ่ ม ั ก เกิ ด ในกุ ้ ง ทะเลเศรษฐกิ จ ได้ แ ก่ ก ุ ้ ง แชบ๊ ว ย (Penaeus merguiensis) กุ้งกุลาดำ (P. monodon) และกุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii) และสร้างความเสียหายมากอีกโรคหนึ่ง ในช่วงลูกกุ้งวัยอ่อน ระยะ nauplius จะ sensitivity หากเกิดการ ติดเชื้อจะเกิดความเสียหายมากที่สุด รองลงมาคือระยะ mysis และระยะ Post lava ลูกกุ้งที่ติดเชื้อจะมีอาการอ่อนแอไม่ว่ายน้ำ ไม่กินอาหาร ตัวขุ่นขาว พบเชื้อแบคทีเรียใน กระแสเลือด ลูกกุ้งจะตายภายใน 1-2 วัน หลักจากติดเชื้อ เมื่อสังเกตลูกกุ้งในเวลากลางคืนที่มืดสนิทจะ เห็นแสงสีเขียวกระจายล่องลอยไปตามการเคลื่อนไหวของน้ำ โรคเรืองแสงจะ 9.1.1.9 ชื่อโรค Columnaris Disease, Cotton Wool Disease, Mouth Funcus ระบาดในปลาน้ำอุ่นและปลาน้ำเย็นทั่ว ๆ ไปทั้งปลาที่มีเกล็ดและไม่มีเกล็ด ปลายสวยงาม โรคจะเกิดกับปลาที่ไม่มีเกล็ดจำพวก buffalofishes (Ictiobus bubalus) และ Megastomatobus cyprinella และปลาสวยงาม เช่น black mallies การระบาดของโรคจะเกิดกับปลาน้ำจืด มีรายงาน เล็กน้อยที่เกิดกับปลาทะเล เช่น พบเชื้อจากบาดแผลส่วนหางของปลา pink salmon Onchorynchus gorbuscha ในปลาน้ำกร่อย เช่น white perch Roccus americanus ในประเทศไทยรายงานปลาที่เป็น โรคคอลัมนาริส ได้แก่ ปลาดุก ปลาช่อน ปลาบู่ ปลากะพงขาว เชื้อ Flexibacter (Chondrococcus) columnaris เป็นแบคทีเรียแกรมลบแท่งยาวหรือ เป็นสายต่อกัน มีระยะฟักตัว เรียกว่า microcyst หรือ fruiting body โรคคอลัมนารีสในปลา ลักษณะ ภายนอกผิวตัวที่ติดเชื้อจะด่างเป็นแถบ ๆ การเจริญของเชื้อบนเหงือกและผิวตัวปลาจะเกิดลักษณะ column-like และ stack ที่เกิดจากการทับถมของเชื้อจะนูนขึ้นบนชิ้นส่วนของเหงือกและเนื้อเยื่อปลา เมื่อวางในน้ำที่สะอาด เชื้อจะเจริญในแนวขนานซึ่งกันและกันบนอาหารเลี้ยงเชื้อ เชื้อสามารถทำให้ครีบ กร่อนเหงือกกร่อน ผิวหนังเป็นรอยด่างสีเทาหรือขาว บางครั้งพบจุดเลือดบนลำตัว 9.1.1.10 โรคเหงือกกร่อน, Bacterial Gill Disease, Eastern Gill Disease สาเหตุของโรคเกิดจากแบคที่เรียกลุ่ม Fexibacteria และชนิดอื่น ๆ ที่พบอยู่ทั่วไป เช่น Pseudomonads, Aeromonads และ Flavobacteria จะทำอันตายต่อเหงือกหลังจากที่ปลา อ่อนแอ เนื่องจากปลาขับของเสียแอมโมเนีย ออกมาทำให้เหงือกเกิดระคายเคือง อาการของโรค ปลาป่วย จะสังเกตจากเหงือกที่กร่อน ชนิดของปลาที่เป็นโรค ปลาทุกชนิดมีโอกาสเป็นโรคเหงือกกร่อน ปลาที่อยู่ใน น้ำที่มีตะกอนสารแขวนลอยมาก ๆ จะทนทานต่อโรคนี้ได้มากกว่า 9.1.2 โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อไวรัสมีขนาดเล็กมากเป็นสารประกอบสารพันธุกรรมของ กรดนิวคลีอิค (Nucleic Acid) ซึ่งอาจจะเป็น Deoxyribo Nucleic Acid (DNA) หรือ Ribonucleic (RNA) อย่างใดอย่างหนึ่ง ขนาด 20-300 นาโมเมตร โรคในสัตว์น้ำที่เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งพบมากในประเทศไทย ได้แก่ 9.1.2.1 โรคลิมโฟซิสติส มีลักษณะเป็นแบบเรื้อรังไวรัสจะพัฒนาอย่างช้า ๆ ในเซลล์ ของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเซลล์ที่มีการติดเชื้อจะมีขนาดใหญ่ขึ้นมาก แต่เซลล์อื่น ๆ ที่ติดกับเซลล์ที่เป็นโรคยัง ปกติ ลักษณะที่เกิดขึ้นดูคล้ายกับเนื้องอกชนิดที่ไม่ร้ายแรง โดยทั่วไปโรคนี้ไม่ทำให้ปลาตายโรคลิมโฟซิสติส ซึ่งเกิดกับปลากะพงขาวที่เลี้ยงในกระชัง ในบริเวณทะเลสาบสงขลา ปลากะพงขาวเป็นโรคนี้ประมาณ 3 เดือน ในระหว่างที่ปลาเป็นโรคปลายังคงกินอาหาร และเจริญเติบโตตามปกติ ปลาที่เป็นโรคมีอาการเป็น ตุ่มนูนขึ้นมาบนผิวหนังส่วนต่าง ๆ เมื่อเอามือลูบมีลักษณะอ่ อนนุ่ม ถ้านำตุ่มเหล่านี้มา Smear บนสไลด์ และส่องดูด้วยกล่องจุลทรรศน์ พบว่า มีเซลล์ขนาดใหญ่รวมเป็นกลุ่มยื่นนูนออกมาจนปิดบริเวณปาก หรือ บริเวณช่องเหงือก ซึ่งอาจกระทบกระเทือนการกินอาหารของปลา หรือทำให้การหายใจไม่สะดวก 9.1.2.2 โรคหูดปลา สาเหตุของโรค เกิดจากไวรัสพวก ลิมโฟซิสติส (lymphocystis) เข้าไปทำให้เซลล์ผิวหนังขยายตัวอย่างผิดปกติ อาการ มีตุ่มใสเล็กๆ คล้ายเม็ดสาคูจับกันเป็นก้อน ติดอยู่ ตามครีบ และครีบหาง พบเฉพาะในปลากะพงขาว ภาพที่ 9.3 หูดปลา ที่มา : 9.1.2.3 โรคระบบประสาทตาและสมองตาย สาเหตุของโรค เกิดจาก 90-100 เชื้อไวรัส ในกลุ่ม Nodavirusเข้าไปทำลายระบบประสาทสมอง และตา การรักษา ยังไม่มียาและสารเคมีที่ใช้ในการ รักษา อาการเริ่มต้นด้วยการลอยตัวขึ้นมาที่ผิวน้ำเป็นครั้งคราว โดยว่ายน้ำขึ้นมาหมุนตัวควงสว่าน แล้ว จมลงไปอีกอาการเช่นนี้ เป็นอยู่นานประมาณ 2-3 วัน ก็จะลอยตัวอยู่ที่ผิวน้ำอย่างถาวร และเปลี่ยนเป็น อาการตัวงอ ท้องบวมมากกว่าปกติ ในปลาวัยอ่อนและวัยรุ่นจะตาย 90-100% ภายใน 1-2 วัน หลังจาก แสดงอาการ แต่ในปลาขนาดโตกว่านั้นจะตายช้าอาจใช้เวลานาน 7-30 วัน 9.1.2.4 โรค Lymphocystis โรคชนิดนี้มีลักษณะเรื้อรัง ในปลาเลี้ยงและปลาธรรมชาติ ทั้งน้ำจืด น้ำกร่อยและปลาทะเล แต่ไม่เคยมีรายงานการพบเชื้อนี้ในกลุ่มปลาซัลมอน โดยทั่วไปแล้วโรคนี้ ไม่ทำให้ปลาตาย อาการของปลาที่เป็นโรค สังเกดได้ง่าย จากตัวปลาจะปรากฎตุ่มคล้ายหูดบนผิวหนังและ ครีบ อาจเป็นเซลเดียว หรือรวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ มีสีขาวจนถึงขาวปนเทาเมื่อสัมผัสจะอ่อนนุ่ม ลักษณะ ของตุ่ม เกิดจากการที่ไวรั สไปทำให้เซลมีขนาดใหญ่ขึ้น และปรากฏ inclusion body ในเซล ลักษณะตุ่ม นูนคล้าย ๆ กับเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงตุ่มอาจแตกออกและปล่อยเชื้อไวรัสลงสู่น้ำ ผิวหนังบริเวณนั้นจะ หายเป็นปกติ เมื่อเวลาผ่านไปสภาพสิ่งแวดล้อมรอบตัวปลาสะอาดขึ้น ปลาก็จะหายจากโรคนี้ โดยตุ่มหูด จะหายหมดไป ในประเทศไทย พบในปลากระพงขาว ปลาตะกรับ และปลาข้าวเม่าน้ำลึก 9.1.2.5 โรค KHV (Koi Herpesvirus Disease) ปลาป่วยมีอาการซึม อยู่รวมกันเป็น กลุ่ม ตามลำตัวมีเมือกมาก มีแผลเลือดออกตามลำตัวและด้านท้อง บางครั้งพบแผลตื้นๆ ร่วมด้วย ในปลา ทีม่ ีการติดเชื้ออย่างรุนแรงพบอาการเหงือกเน่าและมีคราบสีขาวอมเหลืองแทรกอยู่ (เนื่องจากเซลล์เหงือก ตาย) ปลาอ่อนแอกินอาหารน้อยลงหรือไม่กินอาหารว่ายน้ำเสียการทรงตัว ลอยอยู่ ใกล้ผิวน้ำ และตาย อย่างช้าๆ โดยอัตราการตายสูงถึง 50-100% โรคไวรัสเคเอชวี เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีสารพันธุกรรมชนิด ดี เอ็นเอ (DNA) ดำรงชีวิตที่อุณหภูมิต่ำได้ดีกว่าว่าที่อุณหภูมิสูง โดยอุณหภูมิที่ เหมาะสมสำหรับ การ เจริญเติบโตของเชื้อชนิดนี้อยู่ระหว่าง 18 - 28 องศาเซลเชียส นอกจากนี้ภาวะความเครียดต่างๆ เช่น การ ขนส่ง การติดเชื้อปรสิตหรือแบคทีเรีย และคุณภาพน้ำที่ไม่เหมาะสม จะช่วยเสริมให้เกิดโรคได้ง่ายและรน แรงขึ้น สามารถตรวจพบเชื้อไวรัสเอชวี ในอวัยวะต่างๆ ของปลา โดยเฉพาะที่เหงือก ไต ม้าม และเมือก มักพบในปลาคาร์พและปลาไน โรคนี้เป็นเชื้อที่เกิดจากไวรัสจึงไม่ มีวิธีการรักษา ควรป้องกันด้วยการ หลีกเลี่ยงการนำเข้าปลาจากฟาร์มหรือพื้นที่ ที่ประสบปัญหาโรคชนิดนี้ (สถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำจืด , มปป.) 9.1.3 สาเหตุการเกิดโรคจากปรสิต 9.1.3.1 ปรสิตภายใน (Internal parasites) โรคพยาธิที่เกิดภายใน (Intra parasite) ส่วนใหญ่ที่พบบริเวณทางเดินอาหารภายใน ช่องท้อง หรือกระเพาะอาหาร หรือฝังตัวในเหงือกหรือกล้ามเนื้อ เกิดจากได้รับเชื้อโรคกลุ่มหนึ่งคือ พยาธิ ใบไม้ (Digenetic trematode) พยาธิหัวหนาม (Acanthocephalus) พยาธิตัวกลม (Nematode) และ พยาธิตัวแบน (Cestode) ซึ่งส่วนมากจะพบในปลาที่ชอบกินปลาอื่นเป็นอาหาร (สุปราณี, 2546) (1.) โรคที่เกิดจากเชื้อพยาธิใบไม้ พวก Trematode เป็นพยาธิใบไม้ที่ทำให้เกิดโรค ปลานั้น พบทั้งขณะที่เป็นตัวเต็มวัยแล้วและตัวอ่อน ตัวเต็มวัยของพยาธิใบไม้จะพบได้ในทางเดินอาหาร ภายในช่องท้องตัวอ่อนซึ่งพบฝังตัวอยู่บริเวณเหงือก และอวัยวะภายในต่าง ๆ ทำให้เกิดความเสียหายกับ เนื้อเยื่อของเหงือกเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในลูกปลาที่เป็นโรคนี้จะมีอาการ กระพุ้งแก้มเปิดอ้า อยู่ตลอดเวลา ว่ายน้ำทุรนทุราย ลอยตัวที่ผิวน้ำ ผอม เหงือกบวมอาจมองเห็นจุดขาว ๆ คล้ายเม็ดสาคู ขนาดเล็กเป็นไตแข็งบริเวณเหงือกได้ และปลาจะทยอยตายเรื่อย ๆ ปลาหลายชนิดใน แหล่งน้ำธรรมชาติ อาจพบพยาธิใบไม้เต็มวัยได้ ส่วนพยาธิใบไม้ตัวอ่อนพบมากในปลาจีน ดุก นิล สวาย และปลาสวยงาม (2.) โรคจากเชื้อพยาธิตัวกลม ได้แก่ Nematodaชนิดที่พบมาก Spinitectus sp. โรค นี้มักพบในปลาที่อยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ หรือปลาที่เลี้ยงในกระชัง ตัวเต็มวัยของพยาธิชนิดนี้มักพบใน ทางเดินอาหารและหลังลูกตา ตัวอ่อนจะพบได้ในเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อและอวัยวะภายในต่าง ๆ พบ บริเวณหลังลูกตาจะทำให้ปลามีอาการตาโปน หรือขุ่นขาว พยาธิตัวกลมนี้มีขนาดใหญ่มองเห็นด้วยตา เปล่า มีลำตัวยาวเป็นแท่งทรงกระบอกสีขาวขุ่น ครีม หรือ แดง อาการ หากปลาเป็นโรคพยาธิภายในแล้ว จะเกิดอาการผอมแห้ง ไม่ยอมกินอาหาร ตามปกติ และเป็นโอกาสให้เชื้อโรคชนิดอื่นเข้ามาแทรกซ้อนได้ ภาพที่ 9.4 พยาธิตัวกลม ที่มา : ภาพที่ 9.5 พยาธิหัวหนาม ที่มา : (3.) โรคว่ายหมุนเป็นวงกลมไม่หยุด (Whirling Disease) อาการ ลักษณะการว่ายของปลาจะเหมือนกับการวนเวียนรอบ ๆเสา เป็นรูปวงกลมไม่ หยุดหากหยุดว่ายปลาจะไม่มีลักษณะผิดปกติอื่น ๆ เลย แต่จะไม่โต สาเหตุ เกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ชื่อ LentosporaCerebalisมาเกาะอาศัยอยู่บนส่วนหัว กะโหลกและเจาะเข้าถึงสมองส่วนที่บังคับการทรงตัวของปลา ทำให้ปลามีอาการว่ายหมุนเป็นวงกลมไม่ หยุด 9.1.3.2 ปรสิตภายนอก (External parasites) (1.) โรคครีบและหางเปื่อย ปลาที่เป็นโรคนี้ จะมีอาการเซื่องซึมไม่ค่อยกิน อาหารและมักจะว่ายน้ำสั่นกระตุกเป็นพัก ๆ ครีบและหางจะขาดแหว่งคล้ายถูกกัด บริเวณปลายครีบและ หางจะมีสีขาวขุ่นหรือแดง และค่อย ๆ ลุกลามไปเรื่อย ๆ จนครีบและหางของปลาหดหายไป ซึ่งจะทำให้ ปลาตายในที่สุด โรคนี้เกิดจากปลาได้รับเชื้อโปรโตซัว และมีการติดเชื้อแบคทีเรียรวมด้วย ภาพที่ 9.6 ครีบและหางเปื่อย ที่มา : (2.) โรคสนิมเหล็ก ปลาที่เป็นโรคนี้จะว่ายน้ำทุรนทุรายบางครั้งพบว่ากระพุ้งแก้มเปิดอ้า มากกว่าปกติ อาจมีแผลตกเลือดหรือรอยด่างสีน้ำตาลหรือเหลืองคล้ายสีสนิมตามลำตัว ครีบหางตกหรือลู่ ลง ปลาจะทยอยตายติดต่อกันทุกวัน ปรสิตที่ทำให้เกิดโรคนี้ในปลาน้ำจืดมีชื่อว่า โอโอดีเนียม (Oodinium sp.) หรือพิสชิโนโอดิเนียม (Piscinoodinium sp.) แต่ถ้าทำให้เกิดโรคในปลาน้ำกร่อยหรือปลาทะเลมีชื่อ ว่า อะมิโลโอดิเนียม (Amyloodinium sp.) ปรลิตพวกนี้เป็นปรลิด เซลล์เดียวชนิดที่มีรูปร่างกลมรี ลี เหลืองปนน้ำตาล หรือเหลืองปนเขียวแบบสีละท้อนแสงภายในเซลล์มืองค์ประกอบที่คล้ายสบู่อยู่เป็น จำนวนมากสามารถเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็วโดยการแบ่งเซลล์ ถ้าปลาไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ปลาจะตายหมดบ่อ โรคนี้ผบมากในลูกปลายนาดเล็ก เช่น ปลาดุก ปลาช่อน ปลากราย และปลาสวยงาม เป็นต้น (3.) โรคจุด ขาว (lch.white spot disease) ปลาที่ป่วยจะมีจุดขาว ๆ ขนาดเล็ก ประมาณ 0.5-1.00 มม. ปรากฎขึ้นตามลำตัวครีบและเหงือกแล้วเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเห็นชัดเจน ปลาที่ เป็นโรคนี้จะว่ายน้ำ แกว่งลำตัวไปมาและพยายามจะถูลำตัวกับพื้นก้อนหินหรือต้นไม้น้ำ เพื่อให้จุดขาว เหล่านี้หลุดออกไปเมื่อมีอาการดังกล่าวมาแล้วจะไม่ค่อยยอมกินอาหารปลาบางชนิดจะลอยคอขึ้นมาอยู่ บนผิวน้ำหรือบางชนิดจะซุกตัวอยู่ตามมุมนิ่ง ๆ สำหรับปลาที่มีสีอ่อนจะสังเกตุยาก สาเหตุเกิดจาก เชื้อจุลินทรีย์ในน้ำชนิดหนึ่งชื่อ lchthyophthirius sp. มีขนาดเล็กเกาะอยู่เชื้อนี้จะขยายพันธุ์อยู่บนผิว ของปลาที่สุขภาพอ่อนแอ (อาการอ่อนแอนี้อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำมาก ๆ ) ปรลิตที่ ทำให้เกิดโรคนี้ในปลาน้ำจืดมีชื่อว่า อิ๊กทีอ๊อฟทีเรียส มัลติฟิลิส (Icthyopthirius mulifliis) หรือเรียกสั้นๆ ว่า อิ๊ก แต่ถ้าทำให้เกิดโรคในปลาน้ำกร่อยมีชื่อว่า คริบโตคารืออน อิริเทนส์ (Cyptocon imilons) ซึ่งเป็น โปรโตชัวชนิดที่กินเซลล์ผิวหนังเป็นอาหาร สามารถลังเกตโปรโตชัว ชนิดนี้ได้ง่ายๆ คือ มีนิวเคลียลเป็นรูป เกือกม้าขนาดใหญ่ เมื่อปรลิต ชนิดนี้โตเต็มที่จะออกจากตัวปลาจมตัวลงสู่บริเวณก้นบ่อปลา และสร้าง เกราะหุ้มตัว และแบ่งเซลล์ตัวอ่ อนจำนวมากภายในเกราะ เมื่อ สภาวะแวดล้อมเหมาะสมเกราะจะแตก ออก ตัวอ่อนจึงเข้าเกาะผิวหนังของปลาต่อไป สามารถติดตอจากปลาที่เปนโรคไปสู ปลาปกติไดภายใน 2 วัน วงจรชีวิตของปรสิตชนิดนี้ใชเวลา 4 วันในการพัฒนาจากร ะยะ trophont ในผิวหนัง ระหวางชั้น dermis และ epidermis ของปลาที่เปนโรค โดยพัฒนาเปนระยะ tomont และออกจากตัวปลา ตกสูพื้น แลวมีการสราง จากนั้นมีการแบงตัวภายในเปนตัวออนระยะ ciliophore จํานวนมาก จนกระทั่งเซลล แม แตก ตัวออนระยะดังกลาวจะออกมาจากเกราะ เปนตัวออนระยะ theront ตัวออนร ะยะนี้ว ายน้ําเข าเกาะ ปลาตัวใหม ตัวออนระยะ theront จะพัฒนาเปนระยะ trophont ใตผิวหนังระหวางชั้น dermis และ epidermis ของปลาตัวใหม เมื่อเวลาผานไป 4 วัน (นิรัติศัย และธีรวุฒิ, 2551) ภาพที่ 9.7 เชื้อ lchthyophthirius multifilis ในปลาทอง () และ ระยะ to mont ที่เข้าเกราะ ที่มา : นิรัติศัย และธีรวุฒิ (2551) (4.) โรคเห็บระฆัง โรคนี้จะทำให้ปลาเกิดอาการระคายเคือง เนื่องจากพยาธิในกลุ่ม Trichodinids ซึ่งเป็นปรสิตเซลล์เดียวรูปร่างกลมๆ มีแผ่นขอหนามอยู่กลางเซลล์เข้าไปเกาะอยู่ตามลำตัว และเหงือกปลา มีการเคลื่อนที่ไปมาจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งอยู่ตลอดเวลาทำให้ปลาเกิดเป็นแผลขนาดเล็ก ตามผิวตัวและเหงือก มักพบในลูกปลาถ้าพบเป็นจำนวนมากทำให้ปลาตายได้ หมดบ่อหรือหมดตู้ ปลาที่ พบว่าเป็นโรคนี้มีหลายชนิด เช่น ปลาดุก ปลาช่อน ปลากะพงขาว ปลานิล เป็นต้น ภาพที่ 9.8 เห็บระฆัง ที่มา : สุปราณี (2546) (5.) โรคเห็บปลา (Argulus disease) อาการ ลักษณะมีเม็ดกลมแบนใส ๆ เกาะ อยู่ตามลำตัวปลาลักษณะ การว่ายน้ำจะผิดปกติ ชอบถูลำตัวกับพื้น ก้อนหินหรือไม้น้ำ การกินอาหาร น้อยลงแล้วถ้าอาการมากขึ้นจะไม่ยอมว่ายไปมา สาเหตุ เกิดจากเชื้อ Argulus sp. ทำให้ลำตัวจะมีรอย แดง เมื่อตรวจดูจะเห็นเห็บเกาะแน่นลักษณะคล้ายจานแบน ๆ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-10มม. มีสี เขียวอ่อนหรือสีเหลืองอ่อนแกมเขียวและน้ำตาล มีอวัยวะคล้ายเหล็กใน (Sting) แทงเข้าไปในใต้ผิวหนัง ของปลาเพื่อดูดเลือดหรือของเหลวในเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังปลาเป็นอาหาร บริเวณปากจะมีต่อมพิษเพื่อปล่อย สารพิษมาทำอันตรายต่อปลา ภาพที่ 9.9 เห็บปลา ที่มา : (6.) โรคหนอนสมอ (Lerneosis) โรคจากเชื้อหนอนสมอ หรือ Lernaeaหนอนสมอ หรือ Lernaea sp. จัดอยู่ใน Phylum Arthropoda Class Crustacean มีชื่อเรียก ทั่วไปว่า Anchor Worm เพราะว่าส่วนหัวมีลักษณะคล้าย สมอ ลำตัวเป็นรูปทรงกระบอก ขนาดความยาวประมาณ 0.2-4.3 มิลลิเมตร ส่วนท้องสั้นมี 3 ปล้อง ด้าน ท้ายลำตัวมีถุงไข่ (Egg Sac) 1 คู่ รูปร่างยาวรี มีไข่เรียงกันอยู่หลายแถว เมื่อไข่แก่เยื่อหุ้มไข่จะแตกออก ไข่ ฟักออกเป็นตัวอ่อน และลอกคราบไปจนถึงระยะโคพีโพดิด (Copepodid) (รูปที่ 5.9) จึงเกาะตัวปลาเพื่อ กินเมือกตามตัวปลาเป็นอาหาร ตัวเมียเกาะอยู่กับปลาจนเป็นตัวเต็มวัยและวางไข่ต่อไป หนอนสมอตัวเมีย เป็นปรสิตของปลาน้ำจืดที่มีเกล็ดทั่วไป เช่น ปลาบู่ทราย ปลาจีน ปลาช่อน ปลาไน เป็นต้น หนอนสมอ เกาะบนลำตัวปลาได้แทบทุกแห่ง เช่น โคนครีบ ลำตัว ช่องปาก รอบ ๆ ตา เป็นต้น โดยหนอนสมอจะฝัง ส่วนหัวเข้าไปใต้ผิวหนัง เพื่อดูดกินเลือดและของเหลว ตำแหน่งที่เกาะมีอาการตกเลือดและรอยช้ำ เกล็ด หลุด ทำให้เชื้อราและแบคทีเรียติดได้ สาเหตุ เกิดจากเชื้อ Lernaea sp. รูปร่างเพรียวยาวขนาด 6-12มม. กว้าง 0.5-1.2มม. โรคนี้จะเกิดกับปลาน้ำจืดทั่ว ๆ ไป แทบทุกชนิด หนอนสมอจะใช้ส่วนหัว และอกฝังใน เนื้อเยื่อตามผิวหนังปลา และจะยื่นส่วนท้ายของลำตัวที่เป็นทรงกระบอกออกมานอกผิวปลา อาการปลา จะมีอาการซึมลง ผอมแห้งกระพุ้งแก้มเปิดอ้า บริเวณผิวหนัง ปากและครีบจะมีรอยสีแดงเป็นจ้ำ ๆ (ปภาสิริ , 2524) ภาพที่ 9.10 ปลาที่เป็นโรค เนื่องจาก หนอนสมอ ที่มา : (7.) โรคพลิสโตฟอโรซิส (Plistophorosis) ลักษณะของลำตัวปลาและเหงือกจะซีดขาว ว่าย น้ำตะแครงข้าง การทรงตัวผิดปกติ ผอมแห้ง ชอบแยกตัวออกจากกลุ่ม และจะตายไปในที่สุด สาเหตุเกิด จากเชื้อโปรโตซัวชนิดหนึ่งคือ Plistophora sp. ซึ่งค้นพบครั้งแรกในปลานีออน(Neon tetra) บางครั้งมีผู้ เรียกชื่อโรคนี้ว่า"โรคนีออนเตตร้า" (8.) โรคปลิงใส (Monogene) ปลาที่ติดปรสิตปลิงใสจะมีอาการซึม เบื่ออาหาร และมีการว่าย น้ำแฉลบเอาข้างตัวถูกับพื้นตู้เป็นครั้งคราว ครีบของปลาโดยทั่วไปยังมีลักษณะปกติ ภาพที่ 9.11 ปลิงใส Dactylogyrus sp. (ปภาสิริ , 2524) ที่มา : 9.1.4 โรคที่เกิดจากเชื้อรา โรคเชื้อรา (Fugas Disease) มีลักษณะคล้ายก้อนสำลีบาง ๆ เกาะติดอยู่ตามผิวหรือปาก ปลา หากเป็นมาก ๆ อาจตายได้ภายใน 5-7 วัน สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Saprolegniasis และ Achlyasis เกาะอยู่ตามบริเวณบาดแผลของผิวหรือปากปลา อาการบาดแผลเหล่านี้จะเกิดจาก การถูกขีดข่วนแล้วไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที เชื้อรานี้จะค่อย ๆกินลึกลงไปในเนื้อปลาหากไม่รีบ รักษาอาจทำให้ปลาตาย ชนกันต์ (2556) รายการการเกิดเชื้อราในปลานิลพบเป็นกลุ่ม Achly sp. หรือ Saprolegnia sp. โดยพบสปอร์ของเชื้อราอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำ ส่วน ใหญ่จะติดเชื้อใน ไข่ที่มีการฟักที่ไม่ดี มักเป็นการติดเชื้อ แทรกซ้อน (secondary infection) คือมีปรสิตภายนอก หรือเชื้อแบคทีเรียเช่นแอโรโมแนสเข้าทำอันตราย โรคปลานิล ลูกปลาเป็นโรค Epitheliocystis ติดเชื้อแบคทีเรีย ลักษณะเป็นซีสต์บริเวณซี่เหงือกสีน้ำตาลเหลือง โรคติดเชื้อแบคทีเรียมักจะเป็น การติดเชื้อภายใน ซึ่งต้องรักษาด้วยอาหารผสมยาปฏิชีวนะ โดยทั่วไปปลา ที่ติดเชื้อแบคทีเรียจะ มีการตกเลือดหรือเป็นแผลฝี บริเวณผิวลำตัว รอบตาและปาก บางครั้งจะพบว่า ท้องบวม ตา โปน กลุ่มยาที่ใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อ แบคทีเรีย ได้แก่ ออกซิเตตร้าซัยคลิน เททราซัยคลิน ออกโซลินิคแอซิค (oxolinic acid) นาลิดิกแอซิค (nalidixic acid) และซัลฟาเมทท็อกซิน/ออ เมโทรพริม (sulfamethoxaxde/trimethoprim) ควรใช้ยาติดต่อ กัน 5 – 14 วัน ขึ้นอยู่กับชนิด ของยา หรือเมื่อปลาเกิดบาดแผลจากการจับและบอบช้ำจาก การขนส่ง เชื้อราสามารถที่จะไป เจริญบนบาดแผล ดังกล่าว ทำให้เห็นเป็นปุยสีขาวหรือสีน้ำตาลปรากฏอยู่ สารเคมีใช้ในการรักษา คือฟอร์มาลินและด่างทับทิม ภาพที่ 9.12 เชื้อราในปลามังกร ที่มา : 9.2 การเกิดโรคจากสิ่งแวดล้อมหรือสารพิษ สภาพสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ การเปลี่ยนแปลงของ สภาพแวดล้อมมีผลต่อการป่วย การเกิดโรค หรือการตายของสัตว์น้ำ ที่สร้างความเสียหายได้ในปริมาณ มากและในระยะเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งประกอบด้วยหลายปัจจัย ได้แก่ ค่าคุณภาพน้ำ เช่น ปริมาณออกซิเจน ละลยายในน้ำ ปริมาณเกลือแร่ ริมาณแอมโมเนียในน้ำ ระดับอุณหภูมิ ปริมาณสารพิษในน้ำ เป็นต้น 9.2.1 สารพิษที่เกิดจากพวก Micro Organism เกิดเป็นจำนวนมาก ๆ ในแหล่งน้ำที่มีแร่ธาตุ อาหารอุดมสมบูรณ์หรือมี cell ผิดปกติกว่า 100 ? 103 cell/cc Phyrophytaกลุ่ม Dino-flagellates มักเกิดในทะเลผลิตสารพิษเรียก Piocine Toxin ทำให้ Cell ตาย Chrysophytaกลุ่ม Phyto-flagellate มักเกิดบริเวณน้ำกร่อยผลิตสารพิษ Icthyotoxin , Cyanophytaกลุ่ม Blue Green Algae เกิดในแหล่ง น้ำสร้างสารพิษเรียกว่า Itchyo Toxins ทำให้น้ำขาด O2 เนื่องจากก๊าซพิษ ได้แก่ คลอรีน (Cl2) ในรูป กรด Hypochlorus HOCL พบในน้ำประปาทั่วไป ในน้ำไม่ควรมีเกิน 0.2 mg/L การลดความเป็นพิษ เติม อากาศให้ระเหย หรือเติม Na2S2O3 5H2O 3-5 mg/l ถ้าปริมาณ NH3 สูงความเป็นพิษยิ่งมากขึ้น แอมโมเนีย (NH3) ในแหล่งน้ำไม่ควรเกิน 0.02 mg/L ส่วนไฮโดรเจนซัลไฟด์ H2S ไม่ควรเกิน 0.002 mg/L ถ้ามากกว่านี้จะเป็นพิษต่อสัตว์น้ำ ออกซิเจน (O2) ในการเติมอากาศลงน้ำมากเกินกว่า 10-20 mg/L โอกาสเกิดฟองอากาศในเลือดของสัตว์น้ำมีมากขึ้นหรือหากน้ำมีปริมาณ O2 ต่ำกว่า 3 mg/L ลักษณะอาการของโรคที่เกิดจากสภาพแวดล้อม โดยทั่วไปจะตายเป็นจำนวนมากในเวลารวดเร็วและ ส่วนมากร่างกายจะไม่มีบาดแผล หรือมองไม่เห็นภายนอก 9.2.2 การเกิดฟองอากาศ (Gas bubble disease) อาการ : ส่วนมากจะเกิดกับลูกปลาที่เลี้ยงในบ่อที่มีแสงแดดจัด และมีสาหร่ายในน้ำ ปริมาณสูง (สังเกตจากน้ำในบ่อจะมีสีเขียวมาก) ซึ่งสาหร่ายจะทำให้เกิดการสังเคราะห์แสง และเกิดก๊าซ ออกซิเจนมากเกิน ไป ส่วนในตอนเย็นออกซิเจนลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ปลาปรับตัวไม่ทัน เห็นเป็น ฟองอากาศในตัวปลาโดยเฉพาะลูกปลา 9.3 การเกิดโรคจากสุขภาพและการขาดสารอาหาร ส่วนใหญ่พบเนื่องจาก การเลี้ยงที่หนาแน่น การเตรียมสูตรอาหารผิด หรือการสูญเสีย สารอาหารในระหว่างการผลิต เช่น ถูกความร้อนหรือการละลายที่พบบ่อย ได้แก่การขาดโปรตีนและ วิตามินและแร่ธาตุ ทำให้สัตว์น้ำเบื่ออาหารและเติบโตช้า ประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อต่ำ ลำตัวคดงอหรือกะโหลกยุบ โรคที่พบเช่น 9.3.1 โรคเกิดจากขาดวิตามิน (1.) ขาดวิตามินซี วิตามินชนิดนี้เป็นสารอาหารที่ละลายน้ำได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน จึง สูญเสียง่าย อาการที่พบโตช้า สร้างกระดูกผิดปกติ ตัวคดงอ เส้นเลือดเปราะ แผลหายช้า ติดเชื้อแบคทีเรีย ได้ง่าย ปลาดุกที่เป็นโรค พบมากเมื่อเลี้ยงหนาแน่น ส่วนใหญ่พบในลูกปลา (สุปราณี, 2546) ภาพที่ 9.13 โรคเกิดจากการขาดวิตามินซี ที่มา : (2.) ขาดวิตามินเอ จะส่งผลต่อการทำงานของระบบย่ออาหรและระบบประสาท ทำให้ การเจริญเติบโตของปลาช้าลง (3.) ขาดวิตามิบี 1หรือวิตามินบีรวม ทำให้ภูมิต้านทานของปลาลดลง อาจก่อให้เกิด อาการอื่นๆด้วย 9.3.2 โรคเสียการทรงตัว (Air bladder disease) เกิดจากการกินอาหารมากจนเกิน ไป กระเพาะอาหารย่อยอาหารไม่ทัน อาหารเหล่านี้ก็จะไปกดกระเพาะลมที่ใช้ในการทรงตัวให้พองขึ้นไม่ เท่ากัน ทำให้เสียการทรงตัว อาการของปลาที่ป่ วยจะว่ายน้ำอุ้ยอ้ายลำตัวบิดไปมา แทนที่จะสะบัดหาง อย่างเดียวปลามักจะจมอยู่ก้นตู้ ครีบทุกครีบจะกางออก เวลาว่ายจะไม่สามารถหยุดตัวเองได้ จึงทำให้เกิด การชนตู้อยู่บ่อย ๆ ถ้ามีอาการมากบางครั้งจะหงายท้องลอยอยู่บนผิวน้ำ แต่ก็จะพยายามกลับตัวให้ลอย ตามปกติ หากกลับไม่ได้บ่อยครั้งก็จะตายไปในที่สุด 9.3.3 โรคสันหลังหัก (Spinal Paralysis) เกิดจากการให้สารเคมีบางชนิดมากเกินไป การโดน ไฟฟ้าช็อต หรือฟ้าผ่าปลาจะดิ้นทุรนทุรายอย่างแรง ซึ่งจะทำให้หลังหัก การที่ปลากระโดดออกจากบ่อ หรือวิ่งชนตู้ปลาอย่างแรง ทำให้หลังหัก อาการลักษณะการว่ายของปลาจะอุ้ยอ้าย เมื่อสังเกตดูใกล้ ๆ จะ พบว่าลำตัวจะคดหรือลำตัวแข็งทื่อ พอจะว่ายได้บางครั้งลำตัวคดในแนวตั้งคือ หางกระดกขึ้นมา ปลาจะมี อายุอยู่ต่อไปอีกหลายปีไม่ตายในทันที 9.3.3 โรคแพ้ความเค็มของบ่อปูน เกิดจากการย้ายปลาลงบ่อปูนที่สร้างใหม่ หรือมีน้ำผสมปูน หลงเหลืออยู่ โดยเมือกของผิวปลาโดนด่างในปูนกัด จนหมดภูมิต้านทานจากเชื้อโรคที่อยู่ในน้ำ จึงทำให้ ผิวหนังอักเสบ อาการ ผิวปลาจะเป็นผื่นแดง (Bloodshot) ปลาจะซึมลงไม่ยอมว่ายน้ำ และหากเป็นมาก อาจถึงตายได้ 9.4 หลักการป้องกันโรคสัตว์น้ำ (Disease Preventation) การป้องกันโรค ถือเป็นปัจจัยสำคัญถึงความสำเร็จของการเลี้ยงสัตว์น้ำ เพราะการป้องกันจะ ประหยัดและคุ้มกว่าการรักษาโรค แม้จะทำได้ยากแต่ก็มีแนวทางที่สามารถกระทำได้ดังนี้ 1. การคัดเลือกชนิดของพันธุ์ปลาและแหล่งที่มา ต้องสืบประวัติว่าไม่เคยมาจากแหล่งที่ มีโรคระบาดมาก่อน ต้องตัดเลือกพันธุ์ที่มีลักษณะสมบูรณ์แข็งแรง ก่อนทำการปล่อยต้องพักปลาก่อน เพื่อ ลดการบอบช้ำและบาดแผลจากการขนส่ง ถ้าหากไม่แน่ใจเนื่องจากอาจมีเชื้อที่ติดมากับตัวปล า ก่อน ปล่อยต้องกำจัดด้วยยาเหลือง ฟอร์มาลิน เกลือแกง 0.1-0.5 % ขณะขนส่งหรือด่างทับทิม ตามความ เข้มข้นที่เหมาะสม 2. การเตรีย มบ่อให้ดีที่ส ุด โดยกำจัดศัตรูปลาก่อนปล่อยออกให้ห มด รวมทั้งพวก Intermidiate Host ตากบ่อให้แห้ง ใส่ปูนขาวและปุ๋ย การปล่อยปลาในอัตราส่วนที่เหมาะสม ตลอดจน การให้อาหาร หลังปล่อยต้องหมั ่นตรวจสอบการเจริญ เติ บโตของปลา ลักษณะของปลา ตลอดจน คุณสมบัติของน้ำที่สำคัญ เช่น ออกซิเจนในน้ำ ความเป็นกรด-ด่าง แอมโมเนีย ไฮโดรเจนซัลไฟด์ อุณหภูมิ หรือการใช้ครอรีน50 กก./ไร่ ก่อนถ่ายเทน้ำเข้าบ่อ การตรวจสอบปริมาณอาหารธรรมชาติและความ หนาแน่นของพืชน้ำ เช่น การป้องกันการ Bloom ของ Planktons 3. การสร้างความต้านทานให้แก่ตัวปลา เช่น การคัดเลือกพันธุ์ปลาและชนิดมาเลี้ยง Elbinger and Aulestadรายงานว่าปลา Atlantic Salmon ที่คัดมาจากโรคเพาะฟักกับพวกที่ไม่ได้คัด ปรากฏว่าพวกที่คัดพันธุ์แสดงอาการของโรค Furunculosisและโรค Vibriosisน้อยกว่าพวกที่ไม่ได้คัดพันธุ์ 4. ต้องระวังในเรื่องคุณภาพของน้ำ ถ้าพบว่าเกิดการระบาดของโรคปลาธรรมชาติหรือ ฟาร์มปลาใกล้เคียง ไม่ควรระบายน้ำเข้าบ่อปลา ให้ใส่ปูนขาวในบ่อปลาอัตราประมาณ 60 กิโลกรัม/ไร่ ทุก ๆ 4 อาทิตย์ และใส่เกลือแกงประมาณ 200-300 กิโลกรัม/ไร่ เมื่อสังเกตเห็นว่าน้ำเริ่มเสีย (โสภาและคณะ ,2527) ปูน ขาวช่ว ยทำให้ความเป็นด่างของน้ ำเพิ่ม ขึ้น และทำให้ความเป็นกรดเป็นด่า งของน้ ำ ไม่ เปลี่ยนแปลงมากเกินไป นอกจากนี้ ปูนขาวยังทำให้สารแขวนลอยในน้ำ เช่น สารอินทรีย์ต่าง ๆ ตกตะกอน อีกด้วย ส่วนเกลือแกงช่วยลดความเป็นพิษของไฮโดรเจนซัลไฟล์ แอมโมเนีย และไนไตรท์ 5. การให้อาหารต้องระวังอย่าให้มีอาหารเหลืออยู่ เพราะว่าจะทำให้คุณภาพน้ำเน่าเสีย ควรให้อาหารครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อย ๆ ครั้ง และปริมาณอาหารเพียงพอกับความต้องการของปลา 9.5 การรักษาโรค (Therapy of Aquatic Animal Diseases) 9.5.1 วิธีการรักษาโรค โดยใช้สารเคมีหรือยาปฏิชีวนะมีดังนี้ 1. การแช่ (Baths) เหมาะสมกับสัตว์น้ำที่อยู่ในถังหรือบ่อขนาดเล็ก ใช้สารเคมีความเข้ม ขันต่ำ แช่ สัตว์น้ำนาน 30-60 นาที วิธีการนี้มักมีปัญหาเรื่องออกซิเจนที่ละลายน้ำจะหมดไปและมีการ สะสม แอมโมเนีย จึงควรมีการเพิ่มออกซิเจน ลงในน้ำโดยการพ่นฟองอากาศ 2. การแช่ระยะยาว (Prolonged immersion) เหมาะกับสัตว์น้ำที่เลี้ยงในบ่อดินที่มีการ ถ่ายเทน้ำเล็กน้อย หรือไม่ถ่ายน้ำเลย จะใช้สารเคมีความเข้มข้นต่ำ แช่สัตว์น้ำนาน12 ชั่วโมง 3. การจุ่ม (Dips) เหมาะกับสัตว์น้ำที่มีจำนวนน้อย จะใช้สารเคมีความเข้มขันสูงมากจุ่ม สัตว์น้ำนาน 1 - 5 นาที วิธีการนี้จะก่อให้เกิดความเครียดต่อสัตว์น้ำมาก 4. Flushes เหมาะกับสัตว์น้ำที่เลี้ยงในบ่อดิน ดูน้ำที่ไหลได้ จะใช้สารเคมีมีความเข้มข้น ต่ำปล่อยที่ทางน้ำเข้า ให้สารเคมีเจือจางไปตามน้ำที่ไหลไป 5. Flowing treatment เป็นวิธีการใส่สารเคมีที่รู้ปริมาตรและความเข้มข้ นที่ต้องการ ลง ในบ่อ ผ่านทางท่อในช่วงเวลาที่กำหนด ซางบังคับการทำงานโดยแบตเตอร์รี่ หรือไฟฟ้า วิธีนี้สะดวกต่อผู้เลี้ยง มาก 6. ให้กิน โดยผสมลงในอาหาร นิยมใช้ในการเลี้ยงบ่อดินซึ่งมีปลาเป็นจำนวนมากการใช้ ยาฉาบในอาหารเม็ด จะใช้ gelatine หรือ corn oil ช่ว ยให้ยาเกาะติดแน่น หรือถูกดูดซึมเข้า ใน อาหารเม็ดดีขึ้น 7. การฉีด (Injection) การฉีดยาแก่ปลาป่วย เพื่อต้องการให้ได้รับยาเข้าร่างกายอย่าง รวดเร็วนิยมใช้กับปลาขนาดใหญ่ ราคาแพง จำนวนน้อย สามารถฉีดเข้าทางกล้ามเนื้อ ,ช่องท้องหรือ เส้น เลือด 9.5.2 การรบกวนจากพาราไซท์หรือพยาธิ (Parasitic Infestations) ฟอร์มาลิน (40% Formaldehyde) นิยมใช้มากที่สุดในการกำจัดพาราไซท์ ที่รบกวน ภายนอกสัตว์น้ำ นิยมรักษาโดยวิธี bath,flush หรือ flowing treatment ความเข้มข้น 1,600 -2,000 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถควบคุมเชื้อราบนไข่ปลา เมื่อแช่นาน 15 นาที ความเข้มข้น 167-200 มิลลิกรัม ต่อลิตร แช่นาน 1 ชั่วโมง หรือ 500 มิลลิกรัมต่อลิตรนาน 30 นาที หรือ 25 มิลลิกรัมต่อลิตรแซ่ตลอดไป ใช้ในการรักษาโปรโตชัวภายนอก เช่น Costia, Trichodina, Monognetic trematode ฟอร์มาลินควร เก็บไว้ในขวดทึบสงเมื่อใดมีตะกอนสีขาวหรือสีขุ่นแสดง ว่ามี paraformaldehyde ซึ่งเป็นพิษมากกว่า ฟอร์มาลินมาก ไม่ควรนำมารักษาโรค ฟอร์มาลินมี reducing agent เป็นส่วนประกอบ จะทำให้ออกซิเจน ในน้ำลดลง จึงควรให้เครื่องให้อากาศ ตลอดเวลาที่รักษาโรคด้วยฟอร์มาลิน โรคจุดขาวที่เกิดจากโปรโตซัวชื่อ Ich ให้รักษาด้ว ยสารเคมี 2 ชนิดผสมกันระหว่าง malachite green 1 -2 มิลลิกรัมต่อลิตร และ 167 -250 มิลลิกรัมต่อลิตรของฟอร์มาสินแซ่ปลา นาน 1 ชั่วโมง (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเป็นกรดเป็นด่าง และความกระด้างของน้ำด้วย)ในประเทศ อิสราเอลรักษา ปลาในบ่อที่เป็นโรคจุดขาวด้วย malachite green 0.15 มิลลิกรัมต่อลิตร นาน 12 ชั่วโมง (Sarig, 1971) พยาธิภายนอกชนิดอื่น ๆ เช่น monogenetic trematode, crustacean เช่น Lernaea, Argulus ให้รักษาด้วย organophosphate เช่น Mesoton หรือ Neguvon (trichlorphon) หรือ Dipterex 0.25 มิลลิกรัมต่อลิตร แช่ตลอดไปหรือ 1% ( 10,000 มิลลิกรัมต่อ ลิตร ) จุ่ม 2-3 นาที หรือใช้ Bromex 0.1 มิลลิกรัมต่อลิตรนาน 12 ชั่วโมง พาราไซท์ภายนอก และโรค Columnaris ใช้ด่างทับทิม (KMnO4 ) 1,000 มิลลิกรัมต่อ ลิ ดรจุ่มนาน 10 -40 วินาที หรือ 10 มิลลิกรัมต่อลิตร แช่นาน 30 นาที หรือ 3-5 มิลลิกรัมต่อลิตรแช่ ตลอดไป เกลือหรือโซเดี่ยมคลอไรด์ป้องกันการเป็นโรคในระหว่างการลำเลียงขนส่งใช้อัตรา 1- 3% นาน 30 นาที -2 ชั่วโมง ในปลาน้ำจืด คอปเปอร์ซัล เฟต ใช้กำจัดพาราไซด์ภายนอก ในน้ำที่มีความกระด้างสูงใช้อัตรา 500 มิลลิกรัมต่อลิตร จุ่มนาน 1 นาที ผสมกับ 1 มิลลิลิตรของ glacial acetic acid ต่อน้ำ 1 ลิตร สำหรับ Cutrine (Chelated copper compound) จะมีความเป็นพิษน้อยกว่าคอปเปอร์ซัลเฟต ยาเหลือง (acriflavine, Trypaflavin ) ใช้ป้องกันโรคอัตรา 5- 10 มิลลิกรัมต่อ ลิตรแช่ ปลานาน 12 ชั่วโมง ปูนขาว Calcium oxide (quicklime ) ใช้ป้องกันเชื้อโรคที่ก้นบ่อ ใช้อัตรา 200 กรัม ต่อ ตารางเมตร หรือ 60 - 100 กิโลกรัมต่อไร่ 9.5.3 การรักษาโรคที่เกิดจากเชื้อรา (Fungal Infections) เชื้อราที่ทำอันตรายต่อปลาน้ำจืดและไข่ มักจะเป็น Saprolegnia รักษาโดยใช้มาลาไคท์ กรีน 67 มิลลิกรัมต่อลิตร จุ่ม 1 นาที หรือ 1 -2 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยวิธี bath, flush หรือ flowing treatment ซึ่งขึ้นอยู่กับความกระด้างของน้ำและอายุของปลา หรือ 0.15 มิลลิกรัมต่อลิตร นาน 1 ชั่วโมง สำหรับไข่ปลาอัตรา 2 มิลลิกรัมต่อลิตร นาน 1 ชั่วโมง Detrapan นิยมใช้กันมากในประเทศฝรั่งเศล ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ พ่อแม่พันธุ์ปลาขณะวางไข่ ในอัตรา 0.25 มิลลิลิตรต่อปลาหนัก 1 กิโลกรัม ฉีด 2 ครั้ง ทุก 48 ชั่วโมง Treflan รักษาโรคราในสัตว์ทะเลและไข่ ในอัตรา 0.0 1 มิลลิกรัมต่อลิตร แช่ตลอดเวลา 9.5.4 การรักษาโรคติดเชื้อจากแบคทีเรีย 9..5.4.1 การจัดจำแนกยาต้านจุลชีพ (Classification of antimicrobial drugs) ยาต้านจุลชีพ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม ตามลักษณะการมีผลทำลายหรือยับยั้ง การ เจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ดังนี้คือ กลุ่มที่ 1 ยาที่มีผลไปยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย (Primarily bacteriostatic) ได้แก่ ยาซัลฟา, ยา Tetracyclines, ยา Erythromycin (ที่มีความเข้มขันต่ำ),ยา Lincomycin, ยา Clindamycin, ยา Tiamulin และยา Nitrofuran (ที่มีความเข้มข้น ในสารละลายด่าง) การใช้ยานี้ในสัตว์ อายุมาก อายุน้อยเกินไป อ่อนแอหรือขาดอาหาร จำเป็นต้องใช้อย่างระมัดระวังหรือหลีกเลี่ยงไม่ใช้ยากลุ่ม นี้เลย กลุ่มที่ 2 ยาที่มีผลไปทำลายหรือฆ่าเชื้อแบตทีเรีย (Primarily bactericidal) ได้แก่ยากลุ่ม Penicillins, ยากลุ่ม Cephalosporins ยากลุ่ม Amino glycosides (Streptomycin,Neomycin , Kanamycin, Gentamicin) ยา Colistin, ยา Erythromycin (ที่มาความเข้มข้นสูง) Novobiocin (ที่มี ความเข้มขันสูง) ยา Vancomycin ยา Bacitracin, ยา Polymyxins และยา Nitrofuran (ที่มีความ เข้มข้นสูงในสารละลายกรด) มักจะใช้ยานี้กับ สัตว์ที่อายุมาก อายุน้อยเกินไป อ่อนแอ ขาดอาหารหรือใน รายที่ระบบภูมิคุ้มกันไม่ทำงาน ตารางที่ 9.1 ปริมาณสารเคมีที่ใช้ในการรักษาโรคปลา สารเคมี สรรพคุณ วิธีการใช้และปริมาณ หมายเหตุ กรดน้ำส้ม(Acetic ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและ อัตราส่วน 1:20(5%) Acid) พาราสิตภายนอก จุ่มนานประมาณ 1 นาที (กรดน้ำส้ม 1 ส่วนต่อน้ำ 20 ส่วน) ยาเหลือง(Acriflarin) ฆ่าเชื้อแบคทีเรียบนไข่ อัตราส่วน ลักษณะเป็นผง ปลา (ยาเหลืองจะมี 1:2000(500ppm.) ละเอียดสีส้มแก่ เมื่อ ผลกระทบกระเทือนต่อ ละลายน้ำแล้วจะมีสี แช่นานประมาณ 20 เซลล์ของไข่ปลา) แดงปนส้ม นาที ป้องกันเชื้อแบคทีเรียใน 1-3 ppm. ระหว่างการลำเลียงขนส่ง สารเคมี สรรพคุณ วิธีการใช้และปริมาณ หมายเหตุ ชั่งน้ำหนักหรือวัดขนาด ปลา ป้องกันเชื้อแบคทีเรีย 10 ppm. แช่นาน ประมาณ 2-12 ชั่วโมง คลอรีน(Chlorine) ฆ่าเชื้อต่างๆทั้งหมด 10 ppm. นาน ประมาณ 30 นาที ดิพเทอเร็กซ์ ปลิงใส เห็บ หนอนสมอ 0.25-0.50 ppm. แช่ (Dipteret) ตลอดไปสัปดาห์ละ 1 ครั้ง นานประมาณ 4 สัปดาห์ 125-250 ppm. นาน ลักษณะเป็นของเหลว ประมาณ 1 ชั่วโมง ใส ไม่มีสีจนถึงสีเหลือง ฟอร์มาลิน(Formalin) โปรโตซัวและพาราสิต หรือ 15-40 ppm. แช่ อ่อน มีกลิ่นฉุ่นมาก อื่นๆ นานตลอดไป ควรเก็บไว้ในขวดที่ โรคเชื้อรา 1600-2000 ppm. ป้องกันแสงได้ นานประมาณ 15 นาที ฟอร์มาลินที่จะนำมาใช้ ไม่ควรมีเมทิลแอลกอ ฮอร์ผสมอยู่เพราะเป็น พิษกับปลา มาลาไคท์กรีน โปรโตซัว 0.1 ppm. แช่ตลอดไป ลักษณะเป็นผลึกสี (Malachite Green) เชื้อรา 5ppm. นานประมาณ เขียวเหลืองละลายน้ำ 15 นาที ได้ดี ควรเลือกซื้อมาลา ไคท์กรีนชนิดที่จัดอยู่ ในประเภทยา สารเคมี สรรพคุณ วิธีการใช้และปริมาณ หมายเหตุ (Medical Grade) เพราะไม่มีสารสังกะสี ซึ่งเป็นพิษต่อปลา เมทิลีนบลู โรคจุดขาว (Ichth- 2-5 ppm. แช่ ลักษณะเป็นผลึกสี yophthirius sp.) และ ตลอดไป น้ำตาลปนแดง เมื่อ โปรโตซัวชนิดอื่นๆ ละลายน้ำจะมีสีน้ำเงิน ด่างทับทิม แบคทีเรียภายนอก เช่น 2-4 ppm. แช่ ลักษณะผลึกสีม่วงเข้ม (Potassium FlexibacterColumnaris ตลอดไป เหมาะกับตู้ ละลายน้ำแล้วจะมีสี Permanganate) ปลาหรือบ่อปลาที่มีน้ำ ม่วง ระหว่างการแช่ สะอาดปราศจากความ ปลาจะต้องเพิ่ม เป็นกรดเป็นด่าง ออกซิเจนเสมอ คือ ด่างทับทิมจะทำ

Use Quizgecko on...
Browser
Browser