ชุดที่ 8 การจัดการความรู้ PDF

Summary

This document details knowledge management (KM). It explains the relationship between data, information, knowledge, and wisdom. The document also discusses the importance of knowledge management in today's rapidly changing world, highlighting the need for organizations to effectively manage and utilize their knowledge resources.

Full Transcript

เอกสารฉบับนี้ เป็นลิขสิทธิ์ของนายศิริชัย วิชชุวัชรากร ห้ามผู้ใดทำซ้ำ ดัดแปลง จำหน่าย หรือเผยแพร่โดยเด็ดขาด !! ชุดที่ ๘ การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) การจัดการความรู้ หมายถึง การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู...

เอกสารฉบับนี้ เป็นลิขสิทธิ์ของนายศิริชัย วิชชุวัชรากร ห้ามผู้ใดทำซ้ำ ดัดแปลง จำหน่าย หรือเผยแพร่โดยเด็ดขาด !! ชุดที่ ๘ การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) การจัดการความรู้ หมายถึง การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กรซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล หรือ เอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้ง ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ และปัญญา ข้อมูล (Data) คือ ข้อมูลดิบ เป็นการนำความรู้แบบความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) และความ รู้ที่ ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) มาจัดเก็บ ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นยังไม่มีการประมวลและนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เป็นข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล กลั่นกรอง วิเคราะห์ สังเคราะห์มาแล้วอย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการ และมีการเติมไลเซนส์ของตัวเองเข้าไปด้วย เช่น ต้องการเผยแพร่ ความรู้เกี่ยวกับข้อมูล พรบ. ฉบับใหม่ จึงได้นำมากลั่นกรอง วิเคราะห์ และเขียนออกมาเป็นบทความซึ่งได้มาจากการไป สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ สตง. แล้วนำมาเขียนเป็นบทความที่วิเคราะห์ถึงจุดผิดพลาดที่เกิดขึ้นบ่อยจากการปฏิบัติงาน และ วิธีการทำงานที่ถูกต้องต้องทำอย่างไร ความรู้ (Knowledge) คือ สารสนเทศที่ผ่านกระบวนการคิด เรียบเรียง เปรียบเทียบ เชื่อมโยงกับความรู้อื่น จนเกิดเป็นความเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์ได้ ปัญญา (Wisdom) คือ ความรู้ ความเข้าใจที่สามารถประพฤติปฏิบัติได้ และสามารถใช้ความรู้ความเข้าใจ เพื่อการทำงานหรือประกอบกิจกรรมใดใดก็ได้ ยกตัวอย่าง สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ต้องการทำ KM เรื่อง เทคนิคการ สร้างไม้ระนาดแบบศิลปินเอกครูกล้วยน้ ำหว้า โดยการสัมภาษณ์ครูกล้วยน้ ำหว้ามา และนำข้อมูลมาเขียน วิเคราะห์ สังเคราะห์ใหม่เป็นสารสนเทศ (Information) จากนั้นนำสารสนเทศที่ได้มากลั่นกรองให้เป็นความรู้ (Knowledge) โดยศิลปินแห่งชาติ และครูกล้วยน้ำหว้า จากนั้นนำ KMนี้ มาทำให้เป็น Wisdom โดยผ่านการจัดฝึกอบรมให้แก่เด็กรุ่น ใหม่ ๆ แล้วทดสอบให้ทำไม้ระนาดแบบครูกล้วยน้ำหว้า ผลปรากฏว่าเด็กที่ผ่านการอบรมสามารถทำไม้ระนาดได้จริง ๆ เหตุผลที่จะต้องมีการจัดการความรู้ โลกยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในด้านต่าง ๆ เช่น สารสนเทศ ความรู้ เทคโนโลยี การตลาด ความต้องการของลูกค้า คู่แข่ง ฯลฯ โดยมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ๆ ได้แก่ สมัครติวโทร ๐๘๙-๒๗๑๐-๗๗๗ / ๐๘๑-๘๗๖๕-๘๗๗ ๑ ID LINE: NareeNadear / Sichai_Law เนื้อหาครอบคลุมการสรรหาให้ดำรงตำแหน่งสายงานผู้บริหารด้วยวิธีการคัดเลือกและสอบคัดเลือก (รอบ ๔) - สินค้าและการผลิตที่ต้องพึ่งพาความรู้และสารสนเทศ เช่น สินค้าไฮเทคต่างๆ มีความสำคัญทั้งด้านคุณค่า และมูลค่ามากกว่าสินค้าและการผลิตที่พึ่งพาแรงงาน เครื่องจักร และทรัพยากรธรรมชาติ - การแข่งขันเปลี่ยนจากใครมีขนาดใหญ่กว่ามาเป็นใครเร็วกว่า - ความได้เปรียบด้านการผลิตที่อาศัยความรู้ ทักษะและเทคโนโลยี สำคัญกว่าด้านเครื่องจักร เครื่องมืออุปกรณ์ - ความคิดสร้างสรรค์ใช้สร้างความได้เปรียบได้ดีกว่าการใช้ทุน - การสร้าง การกระจาย และการใช้ความรู้ซึ่งอาจเรียกรวมกันว่าการจัดการความรู้ กลายเป็นตัวขับเคลื่อน หลักของเศรษฐกิจยุคปัจจุบัน เพื่อให้เกิดการเติบโต สร้างความมั่งคั่ง และสร้างงานในอุตสาหกรรมทุกรูปแบบ โลกของการทำงานก็เปลี่ยนแปลงไป เช่น - งานที่ใช้แรงงานกลายเป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ - งานที่ทำซ้ำเหมือนเดิมทุกวันกลายเป็นงานสร้างสรรค์ - งานที่ใช้ทักษะเพียงด้านเดียวกลายเป็นงานที่จำเป็นต้องใช้ทักษะหลาย ๆ ด้าน - งานตายตัวตามหน้าที่กลายเป็นงานยืดหยุ่นตามโครงการ - งานใครงานมันเปลี่ยนเป็นงานของทีม ในปัจจุบันการทำงานก็มีปัญหาเกี่ยวกับความรู้ เช่น - เวลามีปัญหาในการทำงานไม่ทราบว่าจะไปถามผู้ที่เก่งในเรื่องนั้น ๆ ได้ที่ไหน - การแบ่งปัน แลกเปลี่ยนความรู้ทำในวงแคบ เฉพาะคนที่สนิทสนมกันเท่านั้น - ไม่ได้ถือว่าการแลกปันความรู้เป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน จึงต้องให้มีปัญหาเสียก่อนถึงจะมีการแลกปันและ จะแลกปันกันเฉพาะเรื่องที่เป็นปัญหาเท่านั้น - ไม่มีการเผยแพร่แบ่งปันความรู้ที่ได้จากการไปร่วมประชุม อบรม สัมมนา ให้แก่คนอื่น ๆ ที่ไม่ได้ไป - การค้นหาข้อมูลที่ต้องการส่วนใหญ่ใช้เวลานาน หาไม่ค่อยพบ - ข้อมูลที่หาได้มักจะไม่ทันสมัย ไม่สมบูรณ์หรือไม่ตรงตามความต้องการ - การทำงานไม่เกิดการต่อยอดงาน ต้องเริ่มที่ศูนย์อยู่เรื่อยไป - มักมีการทำงานผิดพลาดซ้ำ ๆ ในเรื่องเดิม ๆ เพราะขาดความรู้ที่ถูกต้อง - ไม่ค่อยมีความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ - การฝึกอบรมอย่างเดียวไม่เพียงพอ เพราะจะมีการนำไปใช้ประโยชน์แค่ 10 % และภายใน 2 สัปดาห์หาก ไม่ได้นำกลับมาใช้อีก ทักษะหรือความรู้ต่าง ๆ จะหายไปร่วม 87 % - ความรู้อยู่ที่ตัวบุคลากร เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น เกษียณอายุ ลาออก ย้ าย เปลี่ยนหน้าที่ ก็เกิดผล กระทบกับงานและองค์กร - องค์กรมี “วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ” หรือ “Best Practice” แต่ไม่ค่อยนำมาใช้ ไม่เคยนำไปขยายผลให้กับ หน่วยงานอื่น และบางทีองค์กรก็ไม่รู้ว่า Best Practice ของตนคืออะไร องค์กรไม่มีการเก็บรวบรวมประสบการณ์ที่ได้จากการทำงานโดยเฉพาะการดำเนินโครงการสำคัญ ๆ สมัครติวโทร ๐๘๙-๒๗๑๐-๗๗๗ / ๐๘๑-๘๗๖๕-๘๗๗ ๒ ID LINE: NareeNadear / Sichai_Law เอกสารฉบับนี้ เป็นลิขสิทธิ์ของนายศิริชัย วิชชุวัชรากร ห้ามผู้ใดทำซ้ำ ดัดแปลง จำหน่าย หรือเผยแพร่โดยเด็ดขาด !! การเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบันและโลกของการทำงาน รวมทั้งปัญหาในการทำงานในปัจจุบันผลักดันให้ องค์กรต้องมีการค้นหา สร้าง รวบรวม กลั่นกรอง จัดเก็บ ความรู้อย่างเป็นระบบเพื่อให้บุคลากรที่ต้องการใช้เข้าถึง ความรู้นั้นได้ตลอดเวลา บุคลากรทั้งผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารก็จะต้องมีการเรียนรู้ มีการสร้างและใช้ความรู้ในการ ทำงานอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ซึ่งไม่เพียงจะช่วยให้องค์กรอยู่รอดปลอดภัยในโลกที่เปลี่ยนแปลงเร็วและมีการ แข่งขันสูง ยังมีความเติบโตก้าวหน้าอย่างยั่งยืนอีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีเหตุผลอื่น ๆ อีกอย่างน้อย 3 ประการที่สนับสนุนการนำการจัดการความรู้มาเป็นตัวช่วยในการ ทำงานในองค์กร 1. องค์กรชั้นนำระดับโลก เช่น Microsoft, Xerox, Roche, Chevron ฯลฯ ล้วนแต่ใช้การจัดการความรู้เป็น ตัวขับเคลื่อนงานในมิติ/แง่มุมต่างๆ กัน ซึ่งอาจกล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่า การใช้การจัดการความรู้เป็นตัวขับเคลื่อนงาน ทำให้องค์กรอย่าง Microsoft, Xerox, Roche, Chevron ฯลฯ ก้าวไปเป็นองค์กรระดับโลก 2. เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา (MBNQA : The Malcolm Baldrige National Quality Award) ซึ่งเป็นต้นแบบรางวัลคุณภาพแห่งชาติให้กับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย (TQA : Thailand Quality Award สำหรั บ องค์ ก รภาคเอกชน, PMQA : Public Sector Management Quality Award สำหรับองค์กรภาคราชการ) กำหนดเรื่องการจัดการความรู้ไว้ในหมวด 4 จากองค์ประกอบสำคัญ 7 หมวด ข้อนี้ก็เป็น การยืนยันอย่างชัดเจนว่า การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือหรือตัวช่วยสำคัญสำหรับองค์กรที่มุ่งความเป็นเลิศ 3. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธกี ารบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 11 กำหนดให้ องค์กรภาคราชการมีหน้าที่ในการจัดการความรู้ โดยมีเกณฑ์รางวัลคุณภาพ PMQA ที่สำนักงาน ก.พ.ร.ประยุกต์มาจาก MBNQA เป็นตัวชี้วัดในคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปี ข้อนี้ก็เป็นหลักฐานยืนยันว่า การจัดการความรู้เป็น เครื ่ อ งมื อ หรื อ ตั ว ช่ ว ยสำคั ญ ขององค์ ก รภาคราชการในการยกระดั บ คุ ณ ภาพมาตรฐานการทำงานไปสู ่ ร ะดั บ มาตรฐานสากล ประโยชน์ในการจัดการความรู้ 1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร 2. ป้องกันการสูญหายของภูมิปัญญา ในกรณีที่บุคคลากรเกษียณอายุ ลาออก หรือเสียชีวิต 3. เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและความอยู่รอด 4. เป็นการลงทุนในต้นทุนมนุษย์ ในการพัฒนาความสามารถที่จะแบ่งปันความรู้ที่ได้เรียนรู้มาให้กับคนอื่นๆ ในองค์กร และนำความรู้ไปปรับใช้กับงานที่ทำอยู่ให้เกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น เป็นการการพัฒนาคน และพัฒนา องค์กร 5. ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตัดสินใจและวางแผนดำเนินงานให้รวดเร็ว และดีขึ้น เพราะมีสารสนเทศ หรือแหล่งความรู้เฉพาะที่มีหลักการ เหตุผล และน่าเชื่อถือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ สมัครติวโทร ๐๘๙-๒๗๑๐-๗๗๗ / ๐๘๑-๘๗๖๕-๘๗๗ ๓ ID LINE: NareeNadear / Sichai_Law เนื้อหาครอบคลุมการสรรหาให้ดำรงตำแหน่งสายงานผู้บริหารด้วยวิธีการคัดเลือกและสอบคัดเลือก (รอบ ๔) 6. ผู้บังคับบัญชาสามารถทำงานเชื่อมโยงกับผู้ใต้บังคับบัญชาให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น ช่วยเพิ่มความกลมเกลียวใน หน่วยงาน 7. เมื่อพบข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน ก็สามารถหาวิธีแก้ไขได้ทันท่วงที 8. แปรรูปความรู้ให้เป็นทุน ซึ่งเป็นการสร้างความท้าทายให้องค์กรผลิตสินค้าและบริการจากความรู้ที่มี เพื่อ เพิ่มคุณค่า และรายได้ให้กับองค์กร 9. เพื่อการสร้างสรรค์ และบรรลุเป้าหมายของจินตนาการที่ยิ่งใหญ่ 10. เปลี่ยนวัฒนธรรม จากวัฒนธรรมอำนาจในแนวดิ่ง ไปสู่วัฒนธรรมความรู้ในแนวราบ ซึ่งทุกคนมีสิทธิในการ เรียนรู้เท่าเทียมกัน ประเภทของความรู้ 1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่อยู่ในตัวของแต่ละบุคคล เกิดจากประสบการณ์ การเรียนรู้ หรือพรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถ ถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้ยาก พัฒนาและแบ่งปันกันได้ เป็นความรู้ที่ก่อให้เกิดความได้ เปรียบ ในการแข่งขัน เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้งจึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม 2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่ที่เป็นเหตุเป็นผล ผ่านการวิเคราะห์ สังเคราะห์จน เป็นหลักทั่วไป ไม่ขึ้นอยู่กับบริบทใดโดยเฉพาะสามารถรวบรวมและถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็น ลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี หนังสือ คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม สมัครติวโทร ๐๘๙-๒๗๑๐-๗๗๗ / ๐๘๑-๘๗๖๕-๘๗๗ ๔ ID LINE: NareeNadear / Sichai_Law เอกสารฉบับนี้ เป็นลิขสิทธิ์ของนายศิริชัย วิชชุวัชรากร ห้ามผู้ใดทำซ้ำ ดัดแปลง จำหน่าย หรือเผยแพร่โดยเด็ดขาด !! การปรับเปลี่ยนและการสร้างความรู้ การปรับเปลี่ยนและการสร้างความรูท้ ั้งสองประเภทนี้เกิดขึ้นได้ 4 รูปแบบ ดังนี้ 1. Socialization การแบ่งปันและสร้าง Tacit Knowledge จาก Tacit Knowledge ของผู้ที่สื่อสารระหว่าง กันโดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรง เช่น หัวหน้างานสอนงานให้ลูกน้อง ด้วยการพูดคุย ทำให้ดู อาจให้ลูกน้องลอง ทำด้วย ลูกน้องก็ได้รับความรู้จากหัวหน้างาน บางทีความรู้ใหม่ก็เกิดขึ้นจากการสอนงานนี้ด้วย 2. Externalization การแปลง Tacit Knowledge ให้ ก ลายเป็ น Explicit Knowledge เช่ น ลู ก น้ อ งเมื่ อ เรียนรู้วิธีทำงานจากหัวหน้าแล้ว จดบันทึกความรู้หรือเขียนเป็นรายงานความรู้ คนอื่น ๆ ก็สามารถใช้เป็นแหล่งความรู้ ต่อไป 3. Combination การสร้ า ง Explicit Knowledge จาก Explicit Knowledge ด้ ว ยการรวบรวมความรู้ ประเภท Explicit Knowledge จากแหล่งต่างๆ มาสร้างเป็น Explicit Knowledge ใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้ในการทำงาน เช่น หัวหน้างานทำการรวบรวมความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ทั้งนอกและในองค์กร รวมทั้งความรู้ที่มีอยู่เดิมมาสรุปเป็น ความรู้ใหม่และเผยแพร่ หรือทำการเรียบเรียงความรู้จากภาษาต่างประเทศ 4. Internalization การแปลง Explicit Knowledge มาเป็ น Tacit Knowledge โดยการนำความรู ้ เ ชิ ง ทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติงานทำให้เกิดความรู้เพิ่ม เช่น หัวหน้างานค้นคว้ าศึกษาวิธีทำงานจากเอกสารต่าง ๆ นำมาปรับใช้ กับงานของตนเองจนเกิดทักษะและความชำนาญในเรื่องนั้น เกิดเป็น Tacit Knowledge ของตน ซึ่งสามารถจะบันทึก ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร หรือแลกเปลี่ยนกับคนอื่น ๆ ต่อไป กระบวนการจัดการความรู้ 1. การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification) คือ การค้นหาว่ามีความรู้อะไรบ้างในองค์การ ที่มีผู้ที่เกี่ยวข้องหรือลูกค้าต้องการทราบ การกำหนดหัวข้อใน การทำ KM นั้น ต้องเป็นหัวข้อที่ลึกและแคบ และคำนึงถึงประโยชน์ของการทำ KM ว่าทำแล้วจะมีคนสนใจหรือไม่ 2. การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition) คือ การกำหนดวิธีการในการดึงความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ที่อยู่กระจัดกระจายมารวมไว้ การสร้างความรู้ขึ้นจาก ความรู้เดิมที่มีอยู่หรือนำความรู้จากภายนอกองค์การมาใช้ เพื่อให้องค์การมีความรู้ที่จำเป็นต้องมีแต่ยังไม่มี 3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization) คือ การจัดเก็บความรู้ให้เป็นระบบ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาและนำความรู้ดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น การ จัดเก็บเป็นคู่มือ วีดีโอ เป็นต้น สมัครติวโทร ๐๘๙-๒๗๑๐-๗๗๗ / ๐๘๑-๘๗๖๕-๘๗๗ ๕ ID LINE: NareeNadear / Sichai_Law เนื้อหาครอบคลุมการสรรหาให้ดำรงตำแหน่งสายงานผู้บริหารด้วยวิธีการคัดเลือกและสอบคัดเลือก (รอบ ๔) 4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement) คือ การประมวลความรู้ให้อยู่ในรูปแบบและภาษาที่เข้าใจง่ายและสะดวกต่อการใช้ ซึ่งทำได้หลายลักษณะ เช่น การจัดทำหรือปรับปรุงรูปแบบของเอกสารให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งองค์การ ทำให้การป้อนข้อมูล การจัดเก็บ การค้นหา และการใช้ข้อมูลทำให้สะดวกและรวดเร็ว กล่าวอย่างง่ายก็คือ การกลั่นกรองความรู้คือการเปลี ่ ย น สารสนเทศ เป็นความรู้โดยอาจจะเชิญผู้เชี่ยวชาญมาวิพากษ์ แสดงความคิดเห็นสารสนเทศนั้น ๆ 5. การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access) คือ วิธีการในการจัดเก็บและกระจายความรู้เพื่อให้ผู้อื่นใช้ประโยชน์ได้ ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นต้องผ่านทาง ICT เสมอไป ขึ้นกับบริบทขององค์กรนั้น ๆ 6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing) คือ การแบ่งปันความรู้ประเภทความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) โดยวิธีต่าง ๆ เช่น การจัดทำเอกสาร จัดทำฐานความรู้ การแบ่งปันความรู้ที่ดีนั้น ไม่ใช่แค่การให้เข้ามาอ่านอย่างเดียวแต่ต้องมีช่องทางให้ได้แสดงความ คิดเห็น วิพากษ์ได้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น การทำ KM บนกลุ่มเฟซบุ๊ค 7. การเรียนรู้ (Learning) คือ บุคลากรเกิดการเรียนรู้ ซึ่งอาจสังเกตได้จากความสามารถในการทำงานที่ดีขึ้น มีประสิทธิภาพสูงขึ้น สามารถแก้ปัญหาในงานได้ดีขึ้น และ/หรือเกิดความรู้ใหม่ ๆ ขึ้น กล่าวอย่างง่ายก็คือ การเรียนรู้คือได้เกิด wisdom (ปัญญา) ขึ้นแล้ว แสดงให้เห็นว่าคนเรียนรู้แล้วเกิดผลอะไรขึ้น เช่น การทำ KM เรื่องการป้องกันการทุจริตในองค์กร เมื่อได้เผยแพร่ KM เรื่องนี้ออกไปแล้ว ปัญหาการทุจริตในองค์กรลดลง นั่นแสดงว่าผู้ปฏิบัติงานได้เรียนรู้จากการทำ KM สมัครติวโทร ๐๘๙-๒๗๑๐-๗๗๗ / ๐๘๑-๘๗๖๕-๘๗๗ ๖ ID LINE: NareeNadear / Sichai_Law เอกสารฉบับนี้ เป็นลิขสิทธิ์ของนายศิริชัย วิชชุวัชรากร ห้ามผู้ใดทำซ้ำ ดัดแปลง จำหน่าย หรือเผยแพร่โดยเด็ดขาด !! โมเดลปลาทู “โมเดลปลาทู” เป็นโมเดลอย่างง่ายที่เปรียบการจัดการความรู้เหมือนกับปลาทูหนึ่งตัวที่มี 3 ส่วน คือ 1. ส่วน “หัวปลา” (Knowledge Vision- KV) คือ วิสัยทัศน์ของการจัดการความรู้ เป็นการกำหนดเป้าหมายของการจัดการความรู้ว่าดำเนินการไปเพื่อ วัตถุประสงค์อะไร เช่น เพื่อพัฒนาสมรรถนะของพนักงานสู่ความเป็นเลิศ เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการสินค้า OTOP ระดับ 5 ดาว เป็นต้น ซึ่งการกำหนดวิสัยทัศน์ของการจัดการความรู้ในแต่ละประเด็น ก็เปรียบเสมือนหัวปลาที่ บอกทิศทางในการว่าย ว่าจะเคลื่อนที่ ไปทางใด โดยเป้าหมายสำคัญที่กำหนดขึ้นต้องสอดคล้อง และสนับสนุนกับ วิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ขององค์กร 2. ส่วน “ตัวปลา” (Knowledge Sharing-KS) คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจ และยากที่สุดสำหรับการจัดการความรู้เพราะโดยทั่วไปคนมักคิด ว่า ผู้มีความรู้คือผู้ที่มีอ ำนาจ ถ้าต้องถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้อื่นก็จะรู้สึกไม่มั่นคง ไม่มีอ ำนาจ อาจโดนคนอื่นแย่ง ตำแหน่ง แย่งหน้าที่การงาน ดังนั้น ในการจัดการความรู้ในส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จึงมุ่งหวังจัดการให้เกิดเหตุ ปัจจัย และสิ่งแวดล้อมที่จะส่งเสริมให้คนตระหนัก และพร้อมที่จะแบ่งปันและเรียนรู้ร่วมกัน 3. ส่วน “หางปลา” (Knowledge Assets-KA) คือ ความรู้ที่ถูกจัดเก็บอยู่ในคลังความรู้ โดยความรู้ที่ถูกจัดเก็บต้องเป็นความรู้ที่จ ำเป็น มีความสำคัญ และ สอดคล้องกับเป้าหมายในการจัดการความรู้ จะไม่จัดเก็บความรู้ที่นอกเหนือ จากนั้นในคลังความรู้นี้ โดยจะต้องมีการ วางระบบในการจัดเก็บ มีการจัดหมวดหมู่ รวมถึงมีระบบที่ท ำให้ผู้ใช้สามารถสืบค้น และค้นคืนได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งต้อง สมัครติวโทร ๐๘๙-๒๗๑๐-๗๗๗ / ๐๘๑-๘๗๖๕-๘๗๗ ๗ ID LINE: NareeNadear / Sichai_Law เนื้อหาครอบคลุมการสรรหาให้ดำรงตำแหน่งสายงานผู้บริหารด้วยวิธีการคัดเลือกและสอบคัดเลือก (รอบ ๔) อาศัยการสนับสนุนของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงความรู้ที่จัดเก็บไว้ได้ทกุ ที่ ทุกเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเตอร์เน็ต ที่ท ำหน้าที่เป็นพื้นที่เสมือน ให้คนสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ง่ายขึ้น รวมถึงต้องมีการตรวจสอบ ปรับปรุงให้ความรู้ที่ถูกจัดเก็บในคลังความรู้มีความถูกต้อง ทันสมั ยอยู่เสมอ และที่สำคัญ ความรู้ที่ถูกจัดเก็บต้องถูกกำกับด้วยบริบทของเรื่องทุกครั้ง พร้อมกันนี้ควรมีการระบุถึงแหล่งข้อมูล ซึ่งได้แก่ ผู้ให้ข้อมูล และข้อมูลสำหรับการติดต่อ เป็นต้น สมัครติวโทร ๐๘๙-๒๗๑๐-๗๗๗ / ๐๘๑-๘๗๖๕-๘๗๗ ๘ ID LINE: NareeNadear / Sichai_Law

Use Quizgecko on...
Browser
Browser