🎧 New: AI-Generated Podcasts Turn your study notes into engaging audio conversations. Learn more

สรุปประวัติศาสตร์ม.6 ปลายภาค67-1.pdf

Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

Full Transcript

สรุปพัฒนาการยุโรปสมัยใหม่ สิ่งที่เกิดขึ้นในพัฒนาการยุโรปสมัยใหม่ 1) การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) 2) การเกิดรัฐชาติและระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ 3) การสารวจทางทะเล (Marine Exploration) 4) การปฏิรูปศาสนา (Religion R...

สรุปพัฒนาการยุโรปสมัยใหม่ สิ่งที่เกิดขึ้นในพัฒนาการยุโรปสมัยใหม่ 1) การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) 2) การเกิดรัฐชาติและระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ 3) การสารวจทางทะเล (Marine Exploration) 4) การปฏิรูปศาสนา (Religion Reformation) 5) การปฏิวัติการเกษตร (Agricultural Revolution) 6) การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ (Scientific Revolution) 7) การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) 8) การปฏิวัติทางการเมือง (Political Revolution) 9) ขุนนางถูกลดบทบาทลง 1. สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) 1.1 ความหมายสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) เป็นช่วงเวลาที่ชาวยุโรปหันมาสนใจศิลปะและวิทยาการของกรีก โรมันในสมัยโบราณ ทาให้ให้เกิดแรงบันดาลใจในการสรรสร้างศาสตร์ความรู้ 1.2 สาเหตุของการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ 1) การขยายตัวทางเศรษฐกิจการค้า 2) การติดต่อกับโลกตะวันออกในสงครามครูเสด 3) มีการแข่งขันสะสมงานศิลปะที่เลียนแบบกรีก-โรมัน 1.3 ลักษณะของการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ 1.3.1 แนวคิดมนุษยนิยม การศึกษาปรัชญากรีกโรมันให้เป็นแนวทางในการดาเนินชีวิตและแก้ปัญหาสังคมและการเมือง บิดาแห่งมนุษยนิยม คือ ฟรันเซสโก เปตราก ชาวอิตาลี ชาวยุโรปเริ่มให้ความสนใจต่อชีวิตในปัจจุบันและความสวยงามของโลก โดยเห็นว่ามนุษย์สามารถ แสวงหาความสุขได้แม้จะมีบาปติดตัวมาจากอาดัมและอีฟซึ่งเป็นบรรพบุรุษคู่แรกของมนุษย์ที่ละเลยคาสั่งของพระเป็น เจ้าและหลงเชื่อปีศาจ ทั้งมนุษย์ยังมีความสามารถที่จะพัฒนาตัวเองได้ 1.3.2 มรดกทางวัฒนธรรม 1) ศิลปะ วรรณกรรม เปตราก บิดาแห่งแนวคิดมนุษยนิยม ประพันธ์ Sonnet เป็นรูปแบบฉัทลักษณ์ โจวานนี บ็อกกัซซิโอ แต่งเรื่อง Decameron เป็นเรื่องเล่าชวนหัวเสียดสีสังคมจานวน 100 เรื่อง นิโคโล มาเคียเวลลี เขียนงานเรื่อง เจ้า(The Prince)ผู้ปกครองต้องใช้อานาจและกลโกง เซอร์ธอมัส มอร์ เขียนเรื่อง ยูโทเปีย (UTOPIA) กล่าวถึงเมืองในอุดมคติที่ปราศจากความเลวร้าย วิลเลียม เช็กสเปียร์ เขียนบทละคร โรมิโอ&จูเลียต และเวนิสวาณิช มาซักซิโอ จิตรกรอิตาลีคนแรกที่นาเทคนิคการวาดภาพ 3 มิติมาใช้ มิเกลันเจโล รูปสลักเดวิด ปิเอตา จิตรกรรมฝาผนังของโบสถ์ซีสติน ภาพThe Last Judgment เลโอนาร์โด ดา วินชี ภาพอาหารมื้อสุดท้าย ภาพโมนาลิซา 2) ด้านดาราศาสตร์ นิโคลัส โคเปอร์นิคัส เสนอว่าโลกกลม ไม่ได้เป็นศูนย์กลางของจักรวาลแต่เป็นบริวารดวงอาทิตย์ 3) ด้านการพิมพ์ โยฮัน กูเตนเบิร์ก คิดค้นการพิมพ์ที่ใช้วิธีการเรียงตัวอักษรได้สาเร็จเป็นครั้งแรก ส่งผลต่อการขยายแนวคิดของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ทาให้การเผยแพร่ ความรู้เป็นไปอย่างกว้างขวาง 1.4 ผลของการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ 1.4.1 ด้านการเมือง 1) เกิดการสร้างรัฐชาติและการปกครองแบบรวมศูนย์ เกิดแนวคิดรัฐชาติ เกิดการปกครองรวมศูนย์อานาจเป็นของกษัตริย์ 2) การแบ่งแยกศาสนาจากรัฐ เกิดแนวคิดในการแบ่งแยกอานาจของศาสนจักรและรัฐ ผู้ปกครองต้องคานึงถึงความมั่นคงและผลประโยชน์ของรัฐมากกว่าหลักศีลธรรมเพียงอย่างเดียว 1.4.2 ด้านเศรษฐกิจ 1) การเกิดระบบทุนนิยมและการค้าเสรี เปลี่ยนระบบเศรษฐกิจยุโรปจากเกษตรกรรมไปสู่เศรษฐกิจแบบทุนนิยม 2) การเกิดตลาดการเงินสมัยใหม่ เกิดระบบธนาคารการให้สินเชื่อ การลงทุน และการประกันภัย เงินกลายเป็นพื้นฐานของระบบการเงินสมัยใหม่ทั่วโลก 3) การขยายตัวของการค้าโลก 1.4.3 ด้านสังคม 1) การเติบโตของมนุษยนิยม (Humanism) 2) การเปลี่ยนแปลงบทบาทของชนชั้นทางสังคม: บทบาทของชนชั้นกลาง เช่น พ่อค้า นายทุน และช่างฝีมือ มีบทบาทมากขึ้นในสังคม บทบาทของชนชั้นขุนนางลดลง 3) ศิลปะและวิทยาศาสตร์เจริญรุ่งเรืองขึ้น ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 2. การสารวจทางทะเล ยุคแห่งการสารวจทางทะเลและการค้นพบ (Age of Exploration) เริ่มขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 15 - 17 เป็นยุคที่ชาวยุโรปมองหาเส้นทางการค้าในดินแดนที่ห่างไกลมากขึ้น ส่งผลให้เกิดเส้นทางการเดินเรือใหม่ระหว่างดินแดนต่าง ๆ รอบโลกที่ไม่เคยได้รับการค้นพบมาก่อน ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรมของโลกไปอย่างถาวร 2.1 สาเหตุของการสารวจเส้นทางการเดินเรือ 1) เส้นทางการค้าทางบกกับโลกตะวันออกถูกตัดขาด(สาคัญสุด) 2) ความต้องการสินค้าจากโลกตะวันออก 3) ความต้องการขยายอานาจของกษัตริย์ 4) ความต้องการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ 2.2 ปัจจัยที่ทาให้เกิดการสารวจทางทะเล 1) การใช้เทคโนโลยีการเดินเรือที่พัฒนาขึ้น (สาคัญสุด) เช่น แผนที่ เข็มทิศ อุปกรณ์การเดินเรือต่าง ๆ ประกอบกับความรู้ทางดาราศาสตร์ 2) กระแสแนวคิดมนุษยนิยม มนุษย์เชื่อมั่นในการแสวงหาความรู้ความจริงด้วยตัวเอง เป็นการกระตุ้นให้ผู้คนแสวงหาความรู้ และความสนใจในวัฒนธรรมต่างแดน 2.3 ผลจากการสารวจทางทะเล 1) มีการค้นพบดินแดนใหม่ 2) เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม 3) การเพิ่มขึ้นของการค้าระหว่างยุโรปกับเอเชียและอเมริกา ***ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการสารวจทางทะเลของยุโรปในศตวรรษที่ 16 4) พ่อค้ากลายเป็นอาชีพที่สาคัญมากในสังคม 5) การเผยแผ่ศาสนาคริสต์ 6) การแแพร่ระบาดของโรคระบาด * วิทยาการจากไบเซนไทน์ถูกเผยแผ่ในอิตาลีไม่ใช่ผลจากการสารวจทางทะเล ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 3. การปฏิรูปศาสนาในยุโรป 3.1 สาเหตุของการปฏิรูปศาสนาในยุโรป 1) การขายใบไถ่บาปของศาสนจักรโรมันคาทอลิก 2) การซื้อขายตาแหน่งสันตะปาปาและตาแหน่งผู้นาศาสนจักร 3) การประดิษฐ์แท่นพิมพ์เครื่องแรกของโลกโดย โยฮันน์ กูเตนเบิร์ก (Johannes Gutenberg) 3.2 ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดการปฏิรูปศาสนามากที่สุด ความไม่พอใจต่อการขายใบไถ่บาป 3.3 ผลของการปฏิรูปศาสนาในยุโรป 1) ชาวคริสต์ในยุโรปตะวันตกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม 1.1) กลุ่มคาทอลิกที่ยังคงสนับสนุนสันตะปาปาแห่งโรม 1.2) กลุม่ โปรเตสแตนต์ แยกนิกายออกมาเป็นหลายนิกาย i. นิกายลูเทอร์ แพร่หลายในเยอรมันและประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวีย ii. นิกายคาลวิน/คัลแวงป์/เพรสไบซีเรียน แพร่หลายใน สวิตเซอร์แลนด์ เป็นผลสืบเนื่องจากการก่อตั้งนิกายลูเทอร์ iii. นิกายอังกฤษหรือแองกลิคัน เป็นนิกายประจาประเทศอังกฤษ 2) การปฏิรูปซ้อน/การปฏิรูปภายในคาทอลิค 3) ชาวยุโรปมีอิสระในการเลือกนับถือศาสนา 4) เกิดสงคราม 30 ปี ระหว่างรัฐโปรเตสแตนต์กับรัฐกับโรมันคาทอลิก 5) เกิดการรวมชาติจากศาสนาที่พลเมืองส่วนใหญ่นับถือ ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 4. การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ 4.1 คาอธิบาย คือการพัฒนาความก้าวหน้าในวิทยาการ เกิดขึ้นในยุโรปเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีการค้นคว้าแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ โลกและจักรวาล ทาให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เจริญรุ่งเรือง เป็นผลให้ชาติตะวันตกพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว 4.2 ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ 1) การฟื้นฟูศิลปวิทยาการและแนวคิดมนุษยนิยม (สาคัญสุด) 2) การพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ของโยฮันน์ กูเตนเบิร์ก 3) การสารวจทางทะเลและการติดต่อกับโลกตะวันออก 4) การเดินทางรอบโลกและค้นพบดินแดนใหม่ 4.3 ตัวอย่างการค้นพบในสมัยปฏิวัติวิทยาศาสตร์ 1) ทฤษฎีวิวัฒนาการ โดย ชาลส์ ดาร์วิน 2) ทฤษฎีวิทยาศาสตร์ โดย ฟรานซิส เบคอน (อย่าจาสลับกับฟรานซิส บีแซร์ ที่เขียนรัฐธรรมนูญให้ร.7) 3) ทฤษฎีระบบสุริยะจักรวาล โดย นิโคลัส โคเปอร์นิคัส เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ เพราะทาให้เกิดการตั้งคาถามต่ออานาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์และพิสูจน์ความจริงด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ 4) ทฤษฎีการโคจรของดาวเคราะห์ โดย โยฮันเนส เคปเลอร์ 4.4 เหตุผลที่ทาให้วิทยาศาสตร์พัฒนาอย่างก้าวหน้าต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน กระบวนการเรียนรู้ มีเหตุผล พิสูจน์ได้ มีการพัฒนาองค์ความรู้ให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ มีขั้นตอนการสังเกต วิเคราะห์และอธิบายเหตุผล ***วิทยาศาสตร์ไม่ได้ถูกหลอมรวมเข้ากับความเชื่อทางศาสนาคริสต์ ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 5. การปฏิวัติเกษตรกรรม (Agricultural Revolution) 5.1 ความหมายของการปฏิวัติเกษตรกรรม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงจุดมุ่งหมายการผลิตทางการเกษตรจากการผลิตเพื่อบริโภคภายในครัวเรือนมาเป็น การผลิตเพื่อจาหน่ายตามความต้องการของตลาดโดยมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตมากขึ้น 5.2 สาเหตุของการปฏิวัติเกษตรกรรม 1) การเพิ่มขึ้นของประชากรของอังกฤษ (สาคัญสุด) 2) การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าเกษตร 3) ความต้องการวัตถุดิบและผลผลิตทางการเกษตรเพื่อป้อนโรงงานอุตสาหกรรม 4) การลงทุนทางด้านการเกษตรอย่างมากมายของบรรดานายทุน 5.3 เหตุการณ์ที่เป็นการปฏิวัติเกษตรกรรมโดยตรงในยุโรป 1) การล้อมรั้วที่ดินและการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 2) การใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคนและสัตว์ในพื้นที่ทางการเกษตร 3) การแบ่งสรรที่ดินทางการเกษตรให้แก่ชาวนา เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม 5.4 ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการปฏิวัติเกษตรกรรม 1) มีอาหารเพียงพอสาหรับประชากร 2) ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว 3) นายทุนสนใจในการลงทุนด้านเกษตรกรรมเพื่อป้อนตลาด *ทาให้มีการทาเกษตรกรรมเพื่อครัวเรือนน้อยลง ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 6. การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) 6.1 ความหมายของการปฏิวัติอุตสาหกรรม การปฏิวัติอุตสาหกรรม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตจากเดิม ที่เคยใช้แรงงานคนและสัตว์ พลังงานธรรมชาติ หรือเครื่องมือง่าย ๆ ในสังคมเกษตรกรรม เปลี่ยนมาใช้ เครื่องจักรกลผลิตสินค้าในระบบ โรงงานอุตสาหกรรม ทาให้ได้ผลผลิตในปริมาณมาก 6.2 สาเหตุของการปฏิวัติอุตสาหกรรม 1) การขยายตัวทางการค้า (สาคัญสุด) 2) ผลจากการปฏิวัติเกษตรกรรม 3) การเมืองมีความมั่นคงมากขึ้น 4) ความก้าวหน้าจากการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ 6.3 ปัจจัยที่สนับสนุนให้อังกฤษเป็นประเทศแรกที่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 18 1) มีแหล่งวัตถุดิบจากอาณานิคมในทวีปเอเชียและแอฟริกา 2) ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และการปฏิวัติเกษตรกรรม 3) การค้าเจริญรุ่งเรือง ตลาดการค้าขยายตัว และมีการพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่ง *ไม่มีเรื่องของความศรัทธาในเรื่องชะตากรรมของมนุษย์ว่าถูกกาหนดไว้แล้วโดยพระผู้เป็นเจ้า 6.4 การปฏิวัติอุตสาหกรรมในสมัยใหม่ที่ 2 ระยะ 6.4.1 การปฏิวัติอตุ สาหกรรมระยะที่ 1 เป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคเครื่องจักรไอน้า ใช้ถ่านหินเป็นพลังงานเชื้อเพลิง เริ่มนามาใช้กับอุตสาหกรรมการปั่นด้าย การทอผ้าฝ้าย ผ้าขนสัตว์ เครื่องปั่นด้ายพลังน้าของริชาร์ด อาร์คไรท์ เป็น สิ่งประดิษฐ์ที่ทาให้อุตสาหกรรมทอผ้าของ อังกฤษขยายตัวอย่างรวดเร็ว 6.4.2 การปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะที่ 2 เป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคเหล็กกล้า เป็นยุคที่ใช้พลังงานไฟฟ้า แก๊ส ธรรมชาติ น้ามันปิโตรเลียม และพลังงานนิวเคลียร์เป็นหลัก อุตสาหกรรมที่สาคัญ คือ อุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรกลที่ทาด้วยเหล็กกล้า (Steel) มีการประดิษฐ์ใยสังเคราะห์และวัสดุที่เป็นโลหะมีน้าหนักเบา แข็งแรง ทนทานและไม่เกิดสนิม เช่น ไนลอน พลาสติก และเซรามิก เพื่อใช้ผลิตเครื่องจักรกล ยานพาหนะ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ความแตกต่างระหว่างการปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะที่ 2 กับ การปฏิวัติอุตสาหกรรมในระยะที่ 1 คือ การเริ่มนาปิโตรเลียมมาใช้เป็นเชื้อเพลิงมากขึ้น 6.5 ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรม 1) ความต้องการวัตถุดิบที่เพิ่มมากขึ้น 2) ความต้องการแรงงานในโรงงานเพิ่มขึ้น 3) ประชากรย้ายถิ่นฐานจากชนบทเข้ามาทางานในเมืองมากขึ้น 4) อัตราการตายของประชากรลดลง 6.6 ผลกระทบของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในมิติสังคม เศรษฐกิจและการเมือง ผลกระทบทางสังคม: การขยายตัวของเมือง : ผู้คนจานวนมากย้ายถิ่นฐานจากชนบทเข้ามาทางานในเมืองใหญ่ การเกิดชนชั้นแรงงาน : คนจานวนมากที่ย้ายเข้ามาทางานในโรงงานกลายเป็นชนชั้นแรงงาน การเกิดชนชั้นนายทุน : การปฏิวัติอุตสาหกรรมทาให้เกิดความมั่งคั่งในกลุ่มผู้ประกอบการและนายทุน การใช้แรงงานผู้หญิงและเด็ก : โดยทางานในโรงงานเป็นเวลานานและได้รับค่าจ้างต่า ทาให้เกิดการ เรียกร้องสิทธิในการทางานและสวัสดิการที่ดีขึ้นในภายหลัง ผลกระทบทางเศรษฐกิจ: ลดต้นทุนการผลิตและทาให้สินค้าราคาถูกลง การการขยายตัวของระบบทุนนิยม การขยายตัวของตลาดโลก การพัฒนาระบบการเงินและธนาคาร ผลกระทบทางการเมือง: การเกิดสหภาพแรงงาน : *เพื่อเรียกร้องสิทธิและสวัสดิการที่ดีขึ้น และปกป้องสิทธิของแรงงาน การเปลี่ยนแปลงในระบบการเมือง: ชนชั้นนายทุนและชนชั้นแรงงานเริ่มมีบทบาทมากขึ้นในทาง การเมือง ทาให้เกิดความเคลื่อนไหวทางสังคมที่เรียกร้องสิทธิในการเลือกตั้ง การมีส่วนร่วมทางการเมือง และ การปฏิรูปกฎหมายแรงงาน การเพิ่มอานาจของรัฐชาติ : รัฐชาติต่างๆ ในยุโรปเริ่มให้ความสาคัญกับการส่งเสริมอุตสาหกรรมและ การค้า เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ รัฐจึงมีบทบาทในการสนับสนุนการสร้าง โครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบการขนส่งและการสื่อสาร ลัทธิจักรวรรดินิยม : มีการล่าอาณานิคมเพื่อแสวงหาวัตถุดิบและตลาดใหม่ ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 7. ยุคภูมิธรรม(Age of Enlightenment) 7.1 ความหมายของยุคภูมิธรรม “สังคมยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นยุคแห่งภูมิธรรม” เพราะเป็นช่วงเวลาที่สังคมยุโรปมีความเจริญรุ่งเรือง ทางด้านภูมิปัญญาและวิชาการ โดยให้ความสาคัญกับการใช้เหตุผล ผู้มีความรู้ มีสติปัญญา หรือเป็นนักคิด ได้รับการยกย่องจากสังคมมากขึ้น 7.2 แนวคิดและสภาวะในยุคแห่งความรู้แจ้ง (Age of Enlightenment) 1) การแสวงหาความจริงโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ 2) การให้ความสาคัญต่อความสามารถและสติปัญญาของมนุษย์ 3) การไม่ยอมรับในเรื่องของอารมณ์และปลีกตนจากอิทธิพลของศาสนจักร 7.3 ตัวอย่างแนวคิดที่เกิดขึ้นในยุคภูมิธรรม 1) แนวคิดชาตินิยม สร้างความรู้สึกแน่นแฟ้นว่าประชาชนทุกคนในรัฐนั้นเป็นพวกเดียวกันด้วยวิธีการ ได้แก่ การสร้าง สัญลักษณ์ร่วมกัน เช่น การใช้ธงชาติ การเดินขบวนฉลองในวันชาติ นาประวัติศาสตร์ของประเทศบรรจุไว้ ในตาราเรียน *ต้องการใช้ชาติตนเหนือกว่าชาติอื่น→นาไปสู่ความขัดแย้งให้เกิดขึ้นในโลกสมัยใหม่และสมัยปัจจุบัน 2) แนวคิดจักรวรรดินิยม มีการล่าอาณานิคมเพื่อแสวงหาวัตถุดิบและตลาดใหม่ เน้นขยายอานาจและแสวงหาผลประโยชน์ในดินแดนที่อ่อนแอกว่า * ผลกระทบจากแนวคิดจักรวรรดินิยม : การล่าอาณานิคม สงครามโลกครั้งที่ 1 การรวมกลุ่มของ ประเทศมหาอานาจ (ไม่เกี่ยวกับการปฏิวัติฝรั่งเศส) 3) แนวคิดเสรีนิยม เป็นแนวคิดที่เรียกร้องเสรีภาพทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย เสรีภาพในความหมายของเสรีนิยม หมายถึง (freedom under the law) 4) แนวคิดสังคมนิยม เป็นแนวคิดในการสนับสนุนให้สังคมชุมชนครอบครองกรรมสิทธิ์ส่วนรวมร่วมกัน เป็นระบบเศรษฐกิจที่มี การวางแผนจากส่วนกลางเพื่อผลประโยชน์ของชุมชนโดยส่วนรวม นักคิดคนสาคัญคือ คาร์ล มากซ์ (Karl Marx) เขียนหนังสือเรื่องแถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ แนวคิดนี้นาไปสู่ การปฏิวัติรสั เซียโดยพรรคบอลเชวิค, การปฏิวัติในจีนโดย เหม๋า เจ๋อ ตุง 7.4 การปฏิวัติทางการเมือง 1) การปฏิวัติของอังกฤษ ค.ศ. 1603 มักถูกเรียกการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ (Glorious Revolution) เพราะเป็นการปฏิวัติที่ไม่มีการเสียเลือดเนื้อ และได้รับการสนับสนุนจากชนทุกชั้น รัฐสภาอังกฤษและได้เชิญพระเจ้าวิลเลียม บุตรเขย ของพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ขึ้นครองราชย์ โดยพระองค์ ทรงสัญญาว่าจะปฏิบัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมืองที่รัฐสภาเป็นผู้จัดร่างถวาย ซึ่งให้อานาจรัฐสภาและให้สิทธิเสรีภาพแก่ชาวอังกฤษ ผลของการปฏิวัติทาให้การบริหารประเทศของกษัตริย์ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา เกิดกฎบัตรแมคนาคาตาร์ = รัฐธรรมนูญฉบับแรกของโลก เพราะระบุสิทธีเสรีภาพของประชาชน เป็น ก้าวแรกของของประชาธิปไตย อังกฤษจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นประเทศแม่แบบของการปกครองแบบประชาธิปไตย 2) การปฏิวัติของชาวอเมริกัน ใช้สโลแกน "ไม่เสียภาษี หากไม่มีผู้แทน” สาเหตุของการปฏิวัติของชาวอเมริกัน ชาวอังกฤษที่อพยพไปตั้งรกรากในสหรัฐอเมริกาไม่พอใจที่แผ่นดินแม่เก็บภาษีสูงมากจึงนาไปสู่การ ประกาศอิสรภาพ ในปี 1776 ผลของการปฏิวัติของชาวอเมริกัน  เกิดประเทศใหม่ คือ สหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดีเป็นประมุข  มีอิทธิพลต่อการปฏิวัติฝรั่งเศส  ชาวอเมริกายึดมั่นในสิทธิเสรีภาพและอิสรภาพ  ชาวอเมริกันยึดมั่นในความมีเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตย *ไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส 3) การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 ใช้สโลแกน “เสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ” สาเหตุการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 1. การประกาศอิสรภาพของอเมริกาในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 2. การเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจจากภาคเกษตรกรรมขยายออกไปสู่ภาคอุตสาหกรรม 3. พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ทรงใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยในการทาสงครามและค่าใช้จ่ายในราชสานัก *ไม่เกี่ยวกับแนวคิดสังคมนิยมของคาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) 14 กรกฎาคม 1789 ชาวฝรั่งเศสจึงได้ปฏิวัติเพื่อล้มล้างอานาจการปกครอง กษัตริย์ และต่อมาได้ จัดตั้งระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ เป็นประชาธิปไตย การปฏิวัติฝรั่งเศสถือเป็นแบบอย่างการปฏิวัติประชาธิปไตยที่สาคัญหลายประการ เช่น การประกาศหลักสิทธิมนุษยชนและพลเมือง การเผยแพร่แนวคิดเสรีภาพ เสมอภาคและภราดรภาพ การเผยแพร่อุดมการณ์เสรีนิยมของชนชั้นกลางและปัญญาชน

Use Quizgecko on...
Browser
Browser