🎧 New: AI-Generated Podcasts Turn your study notes into engaging audio conversations. Learn more

4. ชุดที่ 13 พ.ร.บ. การจัดซื้อจัดจ้าง หน้า 16-20.pdf

Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

Full Transcript

หน้า ๒๘ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๒๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ (๔) ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ อื่ น ตามที่ กํ า หนดในพระราชบั ญ ญั ติ นี้ ห รื อ ตามที่ ค ณะกรรมการนโยบาย รัฐมนตรี หรือคณะ...

หน้า ๒๘ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๒๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ (๔) ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ อื่ น ตามที่ กํ า หนดในพระราชบั ญ ญั ติ นี้ ห รื อ ตามที่ ค ณะกรรมการนโยบาย รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย ผลการดํ า เนิ น การตาม (๑) (๒) และ (๓) ให้ ป ระกาศในระบบเครื อ ข่ า ยสารสนเทศของ กรมบัญชีกลางตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกําหนด การยื่นข้อร้องเรียนและการพิจารณาข้อร้องเรียนตาม (๒) ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกําหนด ในกรณี ที่ พิ จ ารณาข้ อ ร้ อ งเรี ย นตาม (๒) แล้ ว รั บ ฟั ง ได้ ว่ า หน่ ว ยงานของรั ฐ มิ ไ ด้ ป ฏิ บั ติ ตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎกระทรวงหรือระเบียบที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ ให้คณะกรรมการ พิจารณาอุทธรณ์มีอํานาจสั่งระงับการจัดซื้อจัดจ้างไว้ก่อนได้ เว้นแต่จะได้ลงนามในสัญญาจัดซื้อจัดจ้างแล้ว ในกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กระทําการตามหน้าที่โดยสุจริต ย่อมได้รับการคุ้มครอง ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางปกครอง มาตรา ๔๔ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทําการใด ๆ แทนได้ ให้นําบทบัญญัติมาตรา ๒๕ มาใช้บังคับกับการประชุมของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม ให้นําบทบัญญัติมาตรา ๔๓ วรรคห้า มาใช้บังคับกับการกระทําการตามหน้าที่ของคณะอนุกรรมการ โดยอนุโลม มาตรา ๔๕ คณะกรรมการพิ จ ารณาอุ ท ธรณ์ มี อํ า นาจเรี ย กให้ เ จ้ า หน้ า ที่ ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง หรื อ บุ ค คลอื่ น ใดมาชี้ แ จงหรื อ ให้ ถ้ อ ยคํ า หรื อ ให้ ส่ ง เอกสารหรื อ หลั ก ฐานที่ เ กี่ ย วข้ อ งเพื่ อ ประกอบ การพิจารณาได้ หมวด ๔ องค์กรสนับสนุนดูแลการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ มาตรา ๔๖ ให้ ก รมบั ญ ชี ก ลางมี ห น้ า ที่ ใ นการดู แ ลและพั ฒ นาระบบการจั ด ซื้ อ จั ด จ้ า ง ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ และการประกาศเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างในระบบเครือข่ายสารสนเทศ ของกรมบัญชีกลาง เพื่อให้สาธารณชนสามารถเข้าตรวจดูได้ มาตรา ๔๗ ให้กรมบัญชีกลางมีหน้าที่จัดทําฐานข้อมูลราคาอ้างอิงของพัสดุเพื่อให้หน่วยงาน ของรัฐใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุนั้น และให้เผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวในระบบเครือข่าย สารสนเทศของกรมบัญชีกลาง การกําหนดราคาอ้างอิงของพัสดุต้องคํานึงถึงราคาตลาดของพัสดุนั้น และการกําหนดราคา อ้างอิงของพัสดุอย่างเดียวกันจะไม่ใช้ราคาเดียวกันทั่วประเทศก็ได้ กรมบัญชีกลางต้องปรับปรุงฐานข้อมูลตามวรรคหนึ่ง อย่างน้อยปีละสองครั้ง หน้า ๒๙ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๒๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ มาตรา ๔๘ ให้กรมบัญชีกลางมีหน้าที่รวบรวม วิเคราะห์ และประเมินผลการปฏิบัติงาน ตามพระราชบัญญัตินี้ และจัดทํารายงานเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการดําเนินการพร้อมข้อเสนอแนะ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐเสนอคณะกรรมการนโยบาย อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เพื่อประโยชน์ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้หน่วยงานของรัฐส่งรายงานผลการปฏิบัติงาน ตามพระราชบัญญัตินี้ต่อกรมบัญชีกลาง ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง รายงานตามวรรคหนึ่ง เมื่อคณะกรรมการนโยบายให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ประกาศในระบบ เครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง มาตรา ๔๙ ให้ ก รมบั ญชี ก ลางมี หน้ า ที่ใ นการกํา หนดและจั ด ให้ มี หลั ก สู ต รการฝึ ก อบรม เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้และความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหาร พั ส ดุ ภ าครั ฐ ตามหลั ก วิ ช าชี พ และตามพระราชบั ญ ญั ติ นี้ ทั้ ง นี้ กรมบั ญ ชี ก ลางจะดํ า เนิ น การเอง หรือจะดําเนินการร่วมกับหน่วยงานอื่นหรือเอกชนที่เกี่ยวข้องก็ได้ ให้เจ้าหน้าที่ซึ่งผ่านการฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งและได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งที่ปฏิบัติงาน เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มหรือเงินอื่นทํานองเดียวกัน ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีที่เป็นข้าราชการพลเรือน ให้เจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งที่ปฏิบัติงาน เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุเป็นตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการพลเรือนและในการกําหนดให้ได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษให้คํานึงถึงภาระหน้าที่ และคุณภาพของงาน โดยเปรียบเทียบกับผู้ปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษด้วย ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกําหนด (๒) ในกรณีที่ไม่เป็นข้าราชการพลเรือน ให้เจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งที่ปฏิบัติงาน เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุเป็นตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษตามกฎหมายเกี่ยวกับการบริหาร งานบุคคลของหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่นั้นสังกัดอยู่และมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรือเป็นตําแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินอื่นทํานองเดียวกันตามกฎหมายเกี่ยวกับ การบริหารงานบุคคลของหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่นั้นสังกัดอยู่ แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ในการกําหนด ให้ได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษหรือเงินอื่นทํานองเดียวกันให้เปรียบเทียบกับเงินเพิ่มสําหรับ ตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษหรือเงินอื่นทํานองเดียวกันของหน่วยงานของรัฐประเภทเดียวกัน มาตรา ๕๐ ให้ ก รมบั ญ ชี ก ลางมี ห น้ า ที่ ป ฏิ บั ติ ง านธุ ร การ งานประชุ ม งานวิ ช าการ การศึกษาหาข้อมูล และกิจการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้แก่คณะกรรมการนโยบาย คณะกรรมการวินิจฉัย คณะกรรมการราคากลาง คณะกรรมการ ค.ป.ท. คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และคณะอนุกรรมการ ที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการดังกล่าว รวมทั้งให้มีอํานาจหน้าที่อื่นตามที่กําหนดในพระราชบัญญัตินี้ หน้า ๓๐ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๒๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ หมวด ๕ การขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ มาตรา ๕๑ ให้คณะกรรมการราคากลางมีอํานาจประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา ให้งานก่อสร้างในสาขาใด เป็นงานก่อสร้างที่ผู้ประกอบการงานก่อสร้างในสาขานั้นจะเข้าร่วมเป็นผู้ยื่นข้อเสนอ ต่อหน่วยงานของรัฐได้ ผู้ประกอบการงานก่อสร้างในสาขานั้นต้องเป็นผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมบัญชีกลาง คณะกรรมการราคากลางอาจประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา ให้งานก่อสร้างในสาขาใด ที่ผู้ ประกอบการงานก่อ สร้ างในสาขานั้น ต้อ งขึ้ น ทะเบีย นไว้กั บกรมบัญ ชีกลางตามวรรคหนึ่ ง ต้ อ งใช้ เงินงบประมาณในวงเงินเท่าใดหรือต้องใช้ผู้ประกอบวิชาชีพในสาขาใดด้วยก็ได้ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้างที่จะเข้าร่วมเป็น ผู้ยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการราคากลางประกาศกําหนด ในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ จะต้องเปิดโอกาสให้ผ้ปู ระกอบการงานก่อสร้างทุกรายมีสิทธิขอขึ้นทะเบียนได้ ตลอดเวลา มาตรา ๕๒ ในกรณี ที่ เ ห็ น สมควร คณะกรรมการราคากลางอาจประกาศกํ า หนดใน ราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้ประกอบการพัสดุอื่นนอกเหนือจากผู้ประกอบการงานก่อสร้าง เป็นผู้ประกอบการ ที่จะเข้าร่วมเป็นผู้ยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐได้ ผู้ประกอบการนั้นต้องเป็นผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับ กรมบัญชีกลางก็ได้ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการพัสดุอื่นที่จะเข้าร่วมเป็น ผู้ยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการราคากลางประกาศกําหนด ในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ จะต้องเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการทุกรายมีสิทธิขอขึ้นทะเบียนได้ตลอดเวลา มาตรา ๕๓ ให้กรมบัญชีกลางประกาศรายชื่อผู้ประกอบการงานก่อสร้างตามมาตรา ๕๑ และผู้ประกอบการพัสดุอื่นตามมาตรา ๕๒ ที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้วในระบบเครือข่ายสารสนเทศของ กรมบัญชีกลาง และให้ปรับปรุงความถูกต้องของข้อมูลให้เป็นปัจจุบันทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล ในกรณีที่กรมบัญชีกลางได้ขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้างและผู้ประกอบการพัสดุอื่น ตามวรรคหนึ่ ง ไว้แ ล้ ว หน่ ว ยงานของรั ฐไม่ ต้ อ งจัด ให้ มี ก ารขึ้ น ทะเบี ย นผู้ ป ระกอบการประเภทนั้ น อี ก และให้ห น่ว ยงานของรัฐ กํา หนดคุณ สมบัติ ผู้มี สิ ทธิ เข้ ายื่ นข้ อ เสนอตามมาตรา ๕๑ หรื อมาตรา ๕๒ ในประกาศเชิญชวนให้เข้าร่วมการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐนั้นด้วย คุ ณ สมบั ติ แ ละลั ก ษณะต้ อ งห้ า มของผู้ ป ระกอบการที่ มี สิ ท ธิ ข อขึ้ น ทะเบี ย น การตรวจสอบ คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามหรือการตรวจติดตาม การเพิกถอนรายชื่อออกจากทะเบียน และอัตรา ค่าธรรมเนียมการขอขึ้นทะเบียน รวมทั้งหลักเกณฑ์และวิธีการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ในกรณี ที่กรมบัญชีกลางไม่ขึ้นทะเบียนให้ผู้ประกอบการ ให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎกระทรวง หน้า ๓๑ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๒๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ หมวด ๖ การจัดซื้อจัดจ้าง มาตรา ๕๔ บทบัญญัติในหมวดนี้ให้ใช้บังคับกับการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ ยกเว้นงานจ้างที่ปรึกษา และงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง มาตรา ๕๕ การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุอาจกระทําได้โดยวิธี ดังต่อไปนี้ (๑) วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป ได้แก่ การที่หน่วยงานของรัฐเชิญชวนผู้ประกอบการทั่วไปที่มี คุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกําหนดให้เข้ายื่นข้อเสนอ (๒) วิธีคัดเลือก ได้แก่ การที่หน่วยงานของรัฐเชิญชวนเฉพาะผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติ ตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกําหนดซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสามรายให้เข้ายื่นข้อเสนอ เว้นแต่ในงานนั้น มีผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กําหนดน้อยกว่าสามราย (๓) วิธี เ ฉพาะเจาะจง ได้ แก่ การที่ หน่ ว ยงานของรั ฐเชิ ญ ชวนผู้ ป ระกอบการที่ มีคุ ณ สมบั ติ ตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกําหนดรายใดรายหนึ่งให้เข้ายื่นข้อเสนอ หรือให้เข้ามาเจรจาต่อรองราคา รวมทั้งการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุกับผู้ประกอบการโดยตรงในวงเงินเล็กน้อยตามที่กําหนดในกฎกระทรวง ที่ออกตามความในมาตรา ๙๖ วรรคสอง มาตรา ๕๖ การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ ให้หน่วยงานของรัฐเลือกใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปก่อน เว้นแต่ (๑) กรณีดังต่อไปนี้ ให้ใช้วิธีคัดเลือก (ก) ใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปแล้ว แต่ไม่มีผู้ยื่นข้อเสนอ หรือข้อเสนอนั้นไม่ได้รับ การคัดเลือก (ข) พัสดุที่ต้องการจัดซื้อจัดจ้างมีคุณลักษณะเฉพาะเป็นพิเศษหรือซับซ้อนหรือต้องผลิต จําหน่าย ก่อสร้าง หรือให้บริการโดยผู้ประกอบการที่มีฝีมือโดยเฉพาะ หรือมีความชํานาญเป็นพิเศษ หรือมีทักษะสูง และผู้ประกอบการนั้นมีจํานวนจํากัด (ค) มีความจําเป็นเร่งด่วนที่ต้องใช้พัสดุนั้นอันเนื่องมาจากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่อาจคาดหมายได้ ซึ่งหากใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปจะทําให้ไม่ทันต่อความต้องการใช้พัสดุ (ง) เป็นพัสดุที่โดยลักษณะของการใช้งาน หรือมีข้อจํากัดทางเทคนิคที่จําเป็นต้องระบุยี่ห้อ เป็นการเฉพาะ (จ) เป็นพัสดุที่จําเป็นต้องซื้อโดยตรงจากต่างประเทศ หรือดําเนินการโดยผ่านองค์การ ระหว่างประเทศ (ฉ) เป็นพัสดุที่ใช้ในราชการลับ หรือเป็นงานที่ต้องปกปิดเป็นความลับของหน่วยงานของรัฐ หรือที่เกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ หน้า ๓๒ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๒๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ (ช) เป็นงานจ้างซ่อมพัสดุที่จําเป็นต้องถอดตรวจ ให้ทราบความชํารุดเสียหายเสียก่อน จึ ง จะประมาณค่ า ซ่ อ มได้ เช่ น งานจ้ า งซ่ อ มเครื่ อ งจั ก ร เครื่ อ งมื อ กล เครื่ อ งยนต์ เครื่ อ งไฟฟ้ า หรือเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ซ) กรณีอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง (๒) กรณีดังต่อไปนี้ ให้ใช้วิธีเฉพาะเจาะจง (ก) ใช้ ทั้ ง วิ ธี ป ระกาศเชิ ญ ชวนทั่ ว ไปและวิ ธี คั ด เลื อ ก หรื อ ใช้ วิ ธี คั ด เลื อ กแล้ ว แต่ ไ ม่ มี ผู้ยื่นข้อเสนอ หรือข้อเสนอนั้นไม่ได้รับการคัดเลือก (ข) การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่มีการผลิต จําหน่าย ก่อสร้าง หรือให้บริการทั่วไป และมีวงเงิน ในการจัดซื้อจัดจ้างครั้งหนึ่งไม่เกินวงเงินตามที่กําหนดในกฎกระทรวง (ค) การจั ด ซื้ อ จั ด จ้ า งพั ส ดุ ที่ มี ผู้ ป ระกอบการซึ่ ง มี คุ ณ สมบั ติ โ ดยตรงเพี ย งรายเดี ย ว หรือการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุจากผู้ประกอบการซึ่งเป็นตัวแทนจําหน่ายหรือ ตัวแทนผู้ให้บริการโดยชอบ ด้วยกฎหมายเพียงรายเดียวในประเทศไทยและไม่มีพัสดุอื่นที่จะใช้ทดแทนได้ (ง) มีความจําเป็นต้องใช้พัสดุนั้นโดยฉุกเฉิน เนื่องจากเกิดอุบัติภัยหรือ ภัยธรรมชาติ หรือเกิดโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ และการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป หรือวิธีคัดเลือกอาจก่อให้เกิดความล่าช้าและอาจทําให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง (จ) พัสดุที่จะทําการจัดซื้อ จัดจ้างเป็นพัสดุที่เกี่ยวพันกับพัสดุที่ได้ทําการจัดซื้อจัดจ้าง ไว้ก่อนแล้ว และมีความจําเป็นต้องทําการจัดซื้อจัดจ้างเพิ่มเติมเพื่อความสมบูรณ์หรือต่อเนื่องในการใช้พัสดุนั้น โดยมูลค่าของพัสดุที่ทําการจัดซื้อจัดจ้างเพิ่มเติมจะต้องไม่สูงกว่าพัสดุที่ได้ทําการจัดซื้อจัดจ้างไว้ก่อนแล้ว (ฉ) เป็ น พั ส ดุ ที่ จ ะขายทอดตลาดโดยหน่ ว ยงานของรั ฐ องค์ ก ารระหว่ า งประเทศ หรือหน่วยงานของต่างประเทศ (ช) เป็นพัสดุที่เป็นที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างซึ่งจําเป็นต้องซื้อเฉพาะแห่ง (ซ) กรณีอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง รัฐมนตรีอาจออกกฎกระทรวงตาม (๑) (ซ) หรือ (๒) (ซ) ให้เป็นพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริม หรือสนับสนุนตามมาตรา ๖๕ (๔) ก็ได้ หากรัฐมนตรีออกกฎกระทรวงตาม (๒) (ซ) เป็นพัสดุที่รัฐต้องการ ส่งเสริมหรือสนับสนุนตามมาตรา ๖๕ (๔) แล้ว เมื่อหน่วยงานของรัฐจะทําการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุนั้น ให้ใช้วิธีเฉพาะเจาะจงตาม (๒) (ซ) ก่อน ในกรณีหน่วยงานของรัฐในต่างประเทศหรือมีกิจกรรมที่ต้องปฏิบัติในต่างประเทศจะทําการจัดซื้อ จัดจ้างโดยใช้วิธีคัดเลือกหรือวิธีเฉพาะเจาะจง โดยไม่ใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปก่อนก็ได้ รัฐมนตรีอาจออกระเบียบเพื่อกําหนดรายละเอียดอื่นของการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุตามวรรคหนึ่ง เพิ่มเติมได้ตามความจําเป็นเพื่อประโยชน์ในการดําเนินการ มาตรา ๕๗ รายละเอียดของวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุในหมวดนี้ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกําหนด

Use Quizgecko on...
Browser
Browser