รธน. 2560 PDF

Summary

นี่คือคู่มือเตรียมสอบครูผู้ช่วย วิชากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติราชการ โดยครูพี่หนึ่ง จักรยาน ครอบคลุมเนื้อหาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และการแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2564

Full Transcript

คู่มอื เตรียมสอบครูผูช้ ว่ ย By ครูพหี่ นึง่ จักรยาน เล่ม 2 วิชากฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องกับการปฏิบตั ริ าชการ หน้า 1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2564 สมเด็จพระเจ้าอยู...

คู่มอื เตรียมสอบครูผูช้ ว่ ย By ครูพหี่ นึง่ จักรยาน เล่ม 2 วิชากฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องกับการปฏิบตั ริ าชการ หน้า 1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2564 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงลงพระปรมาภิไธย ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต ตราไว้/บังคับใช้ ณ วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 เวลา 15.00 น. เป็นปีที่ 2 ในรัชกาลปัจจุบัน เป็นรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 20 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2564  ให้ไว้ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564  ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564  มีผลบังคับใช้ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564  ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สาระสำคัญ : แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 83 มาตรา 86 และมาตรา 91 โดยปรับหลักเกณฑ์จำนวน ส.ส. และแก้ไขหลักเกณฑ์การคำนวณ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ มี 16 หมวด 279 มาตรา 1 บทเฉพาะกาล ❖ หมวด 1 บททั่วไป ❖ หมวด 2 พระมหากษัตริย์ ❖ หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ❖ หมวด 4 หน้าที่ของปวงชนชาวไทย ❖ หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ❖ หมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ ❖ หมวด 7 รัฐสภา  ส่วนที่ 1 บททั่วไป  ส่วนที่ 2 สภาผู้แทนราษฎร  ส่วนที่ 3 วุฒิสภา  ส่วนที่ 4 บทที่ใช้แก่สภาทั้งสอง  ส่วนที่ 5 การประชุมร่วมกันของรัฐสภา ❖ หมวด 8 คณะรัฐมนตรี ❖ หมวด 9 การขัดกันแห่งผลประโยชน์ ❖ หมวด 10 ศาล  ส่วนที่ 1 บททั่วไป  ส่วนที่ 2 ศาลยุติธรรม  ส่วนที่ 3 ศาลปกครอง  ส่วนที่ 4 ศาลทหาร เตรียมสอบครูผชู้ ว่ ย By ครูพี่หนึ่ง จักรยาน สงวนลิขสิทธิต์ ามกฎหมาย หน้า 2 คู่มอื เตรียมสอบครูผชู้ ว่ ย By ครูพหี่ นึง่ จักรยาน วิชากฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องกับการปฏิบตั ริ าชการ ❖ หมวด 11 ศาลรัฐธรรมนูญ ❖ หมวด 12 องค์กรอิสระ  ส่วนที่ 1 บททั่วไป  ส่วนที่ 2 คณะกรรมการการเลือกตั้ง  ส่วนที่ 3 ผู้ตรวจการแผ่นดิน  ส่วนที่ 4 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ  ส่วนที่ 5 คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน  ส่วนที่ 6 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ❖ หมวด 13 องค์กรอัยการ ❖ หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น ❖ หมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ❖ หมวด 16 การปฏิรูปประเทศ ❖ บทเฉพาะกาล เตรียมสอบครูผชู้ ว่ ย By ครูพี่หนึ่ง จักรยาน สงวนลิขสิทธิต์ ามกฎหมาย คู่มอื เตรียมสอบครูผูช้ ว่ ย By ครูพหี่ นึง่ จักรยาน เล่ม 2 วิชากฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องกับการปฏิบตั ริ าชการ หน้า 3 หมวด 1 บททัว่ ไป ➔ มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้ ➔ มาตรา 2 ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ➔ มาตรา 3 อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้น ทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาลตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ➔ มาตรา 4  ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความ คุ้มครองปวงชนชาวไทยย่อมได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญเสมอกัน ➔ มาตรา 5  รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณี ใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข หมวด 2 พระมหากษัตริย์ ➔ มาตรา 6  องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ผู้ใด จะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้ ➔ มาตรา 7  พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก ➔ มาตรา 8  พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย ➔ มาตรา 9  พระมหากษั ต ริ ย ์ ท รงไว้ ซ ึ ่ ง พระราชอำนาจที ่ จ ะสถาปนาและถอดถอนฐานั น ดรศั ก ดิ์ และพระราชทานและเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ➔ มาตรา 10  พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและทรงแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็น ประธานองคมนตรี 1 คน และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 18 คน ประกอบเป็นคณะองคมนตรี คณะองคมนตรี ม ี ห น้ า ที ่ ถ วายความเห็ น ต่ อ พระมหากษั ต ริ ย ์ ใ นพระราชกรณี ย กิ จ ทั ้ ง ปวง ที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ➔ มาตรา 11  การเลือกและแต่งตั้งองคมนตรีหรือการให้องคมนตรี พ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตามพระ ราชอัธยาศัย ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานองคมนตรี หรือให้ ประธานองคมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรีอื่น หรือให้ องคมนตรีอื่นพ้นจากตำแหน่ง ➔ มาตรา 12  องคมนตรีต้องไม่เป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือดำรงตำแหน่งทาง การเมืองอื่น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่อื่นของ รัฐ หรือสมาชิกหรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง หรือข้าราชการเว้นแต่การเป็นข้าราชการในพระองค์ ในตำแหน่งองคมนตรี และต้องไม่แสดงการฝักใฝ่ในพรรคการเมืองใด ๆ ➔ มาตรา 12  ก่อนเข้ารับหน้าที่ องคมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ เตรียมสอบครูผชู้ ว่ ย By ครูพี่หนึ่ง จักรยาน สงวนลิขสิทธิต์ ามกฎหมาย หน้า 4 คูม่ อื เตรียมสอบครูผู้ชว่ ย By ครูพหี่ นึง่ จักรยาน วิชากฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องกับการปฏิบตั ริ าชการ ➔ มาตรา 14  องคมนตรีพ้นจากตำแหน่งเมื่อตาย ลาออก หรือมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง ➔ มาตรา 15  การแต่งตั้งและการให้ข้าราชการในพระองค์พ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย การจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ ให้เป็นไปตามพระราช อัธยาศัยตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกา ➔ มาตรา 16  ในเมื่อพระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือจะทรงบริหารพระราชภาระ ไม่ได้ด้วยเหตุใดก็ตาม จะทรงแต่งตั้งบุคคลคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นคณะขึ้น ให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์หรือไม่ก็ได้ และในกรณีที่ทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลง นามรับสนองพระบรมราชโองการ ➔ มาตรา 17  ระหว่างที่ไม่มีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์เป็นการชั่วคราว หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ➔ มาตรา 25  สิ ท ธิ แ ละเสรี ภ าพของปวงชนชาวไทย นอกจากที่ บั ญ ญั ติ คุ ้ ม ครองไว้ เป็น การเฉพาะ ในรัฐธรรมนูญแล้ว การใดที่มิได้ห้ามหรือจำกัดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือในกฎหมายอื่น บุคคลย่อมมีสิทธิและ เสรีภาพที่จะทำการนั้นได้และได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ตราบเท่าที่การใช้สิทธิหรือเสรีภาพ เช่นว่านั้น ไม่กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอัน ดีของประชาชน และไม่ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น ➔ มาตรา 26  การตรากฎหมายที่มีผลเป็นการจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติเงื่อนไขไว้ กฎหมายดังกล่าวต้องไม่ขัดต่อหลักนิติ ธรรม ไม่เพิ่มภาระหรือจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุและจะกระทบต่อศักดิ์ศรีความ เป็นมนุษย์ของบุคคลมิได้ รวมทั้งต้องระบุเหตุผลความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพไว้ด้วย ➔ มาตรา 27 บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่า เทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน ➔ มาตรา 28 บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายการจับและการคุมขังบุคคลจะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาล ➔ มาตรา 31 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการนับถือศาสนาและย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติห รือ ประกอบพิธีกรรมตามหลักศาสนาของตน ➔ มาตรา 34  บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น การจำกัดเสรีภาพดังกล่าวจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตาม บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิหรื อเสรีภาพของบุคคล อื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันสุขภาพของประชาชน เสรีภาพทางวิชาการย่อมได้รับความคุ้มครอง แต่การใช้เสรีภาพนั้นต้องไม่ขัดต่อหน้าที่ของปวงชน ชาวไทยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และต้องเคารพและไม่ปิดกั้นความเห็นต่างของบุคคลอื่น ➔ มาตรา 35  บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวสารหรือการแสดงความ คิดเห็นตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ การสั่งปิดกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นเพื่อลิดรอนเสรีภาพ ตามวรรคหนึ่ง จะกระทำมิได้ เตรียมสอบครูผชู้ ว่ ย By ครูพี่หนึ่ง จักรยาน สงวนลิขสิทธิต์ ามกฎหมาย คู่มอื เตรียมสอบครูผูช้ ว่ ย By ครูพหี่ นึง่ จักรยาน เล่ม 2 วิชากฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องกับการปฏิบตั ริ าชการ หน้า 5 ➔ มาตรา 36 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการติดต่อสื่อสารถึงกันไม่ว่าในทางใด ๆ ➔ มาตรา 37  บุคคลย่อมมีสิทธิในทรัพย์สินและการสืบมรดก ➔ มาตรา 38  บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการเดินทางและการเลือกถิ่นที่อยู่ ➔ มาตรา 39  การเนรเทศบุคคลสัญชาติไทยออกนอกราชอาณาจักร หรือห้ามมิให้ผู้มีสัญชาติไทยเข้ามาใน ราชอาณาจักร จะกระทำมิได้การถอนสัญชาติของบุคคลซึ่งมีสัญชาติไทยโดยการเกิด จะกระทำมิได้ ➔ มาตรา 40  บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบอาชีพ ➔ มาตรา 42  บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหกรณ์ สหภาพ องค์กร ชุมชนหรือหมู่คณะอื่น ➔ มาตรา 43  บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิ (1) อนุรักษ์ ฟื้นฟู หรือส่งเสริมภูมิปัญญา ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม และจารีตประเพณีอันดีงาม ทั้งของท้องถิ่นและของชาติ (2) จัดการ บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทาง ชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืนตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ (3) เข้าชื่อกันเพื่อเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐให้ดำเนินการใดอันจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนหรือชุมชน หรืองดเว้นการดำเนินการใดอันจะกระทบต่อความเป็นอยู่อย่างสงบสุขของประชาชนหรือชุมชนและได้รับแจ้งผล การพิจารณาโดยรวดเร็ว ทั้งนี้ หน่วยงานของรัฐต้องพิจารณาข้อเสนอแนะนั้นโดยให้ประชาชนที่เกี่ยวข้องมีส่วน ร่วมในการพิจารณาด้วยตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ (4) จัดให้มีระบบสวัสดิการของชุมชน  สิทธิของบุคคลและชุมชนหมายความรวมถึง สิทธิที่จะร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือรัฐในการ ดำเนินการดังกล่าวด้วย ➔ มาตรา 44  บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ➔ มาตรา 45  บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งพรรคการเมืองตามวิถีทางการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามที่กฎหมายบัญญัติ ➔ มาตรา 46  สิทธิของผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครอง ➔ มาตรา 47  บุคคลย่อมมีสิทธิได้ร ับบริการสาธารณสุขของรัฐบุคคลผู้ยากไร้ย่อมมีสิทธิได้รับบริ การ สาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายบัญญัติบุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัด โรคติดต่ออันตรายจากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ➔ มาตรา 48  สิทธิของมารดาในช่วงระหว่างก่อนและหลังการคลอดบุตรย่อมได้รับความคุ้มครอง และช่วยเหลือตามที่กฎหมายบัญญัติ บุคคลซึ่งมีอายุเกิน 60 ปีและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ และบุคคลผู้ยากไร้ย่อมมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ ➔ มาตรา 49  บุ ค คลจะใช้ ส ิ ท ธิ ห รื อ เสรี ภ าพเพื ่ อ ล้ ม ล้ า งการปกครองระบอบประชาธิ ป ไตยอั น มี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมิได้ ผู้ใดทราบว่ามีการกระทำดังกล่าว ย่อมมีสิทธิร้องต่ออัยการสูงสุด เพื่อร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าวได้ ในกรณีที่อัยการสูงสุดมีคำสั่ง ไม่รับดำเนินการตามที่ร้องขอ หรือไม่ดำเนินการภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ ผู้ร้องขอ จะยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญก็ได้ เตรียมสอบครูผชู้ ว่ ย By ครูพี่หนึ่ง จักรยาน สงวนลิขสิทธิต์ ามกฎหมาย หน้า 6 คู่มอื เตรียมสอบครูผูช้ ว่ ย By ครูพหี่ นึง่ จักรยาน วิชากฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องกับการปฏิบตั ริ าชการ หมวด 4 หน้าที่ของปวงชนชาวไทย จำ (ข้อสอบ) ➔ มาตรา 50  บุคคลมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (1) พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข (2) ป้องกันประเทศ พิทักษ์รักษาเกียรติภูมิ ผลประโยชน์ของชาติ และสาธารณสมบัติของแผ่นดินและร่วมมือ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (3) ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด (4) เข้ารับการศึกษาอบรมในการศึกษาภาคบังคับ (ป.1-ม.3) (5) รับราชการทหารตามที่กฎหมายบัญญัติ (6) เคารพและไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น (7) ไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือลงประชามติอย่างอิสระโดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม (8) ร่วมมือและสนับสนุนการอนุรักษ์และคุ้มครองสิ่งแวดล้อม,มรดกทางวัฒนธรรม (9) เสียภาษีอากรตามที่กฎหมายบัญญัติ (10) ไม่ร่วมมือหรือสนับสนุนการทุจริตและประพฤติมิชอบทุกรูปแบบ หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ออกข้อสอบบ่อยมาก ➔ มาตรา 53  รัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ➔ มาตรา 54  รัฐต้องดำเนินการ ให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา 12 ปีตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจน จบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย (อนุบาล 1 - ม.3)  เกร็ดความรู้ (โจทย์ถามตัวไหนนั้น ตอบตัวนั้นอย่าสับสน) จำ (ข้อสอบ) √ การจัดการศึกษาตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 = 12 ปี (อนุบาล 1- ม.3) √ การจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 = ไม่น้อยกว่า 12 ปี √ การจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 = 9 ปี (ป.1 - ม.3) √ การจัดการศึกษาตามคำสั่ง คสช. มาตรา 44 (เรียนฟรี 15 ปี) = 15 ปี (อนุบาล 1- ม.6)  ให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาเพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัยโดยส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วม  ให้ประชาชนได้รับการศึกษาตามความต้องการในระบบต่าง ๆส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิตและจัดให้ มีการร่ว มมือ ระหว่า งรัฐ องค์กรปกครองส่ว นท้อ งถิ่น เอกชนในการจัดการศึกษาทุกระดับโดยรัฐ มีหน้าที่ ดำเนินการ กำกับ ส่งเสริม และสนับสนุนให้การจัดการศึกษาคุณภาพและได้มาตรฐานสากล ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่า ด้วยการศึกษาแห่งชาติ  การศึกษาทั้งปวงต้องมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติสามารถเชี่ยวชาญได้ตามความถนัด ของตน และมีความรับผิดชอบต่อครอบครัวชุมชน สังคม และประเทศชาติ  ให้จ ัด ตั้ง กองทุน เพื่อใช้ใ นการช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ในการศึกษา และเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู เตรียมสอบครูผชู้ ว่ ย By ครูพี่หนึ่ง จักรยาน สงวนลิขสิทธิต์ ามกฎหมาย คู่มอื เตรียมสอบครูผูช้ ว่ ย By ครูพหี่ นึง่ จักรยาน เล่ม 2 วิชากฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องกับการปฏิบตั ริ าชการ หน้า 7 หมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ ➔ มาตรา 65  รั ฐ พึ ง จั ด ให้ ม ี ย ุ ท ธศาสตร์ ช าติ เ ป็ น เป้ า หมายการพั ฒ นาประเทศอย่ า งยั ่ ง ยื น ตามหลั ก ธรรมาภิบาลยุทธศาสตร์ชาติ เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ ➔ มาตรา 66  รัฐพึงส่งเสริมสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศโดยถือหลักความเสมอภาคในการปฏิบัติต่อกัน และไม่แทรกแซงกิจการภายในของกันและกัน ให้ความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศและคุ้มครอง ผลประโยชน์ของชาติและของคนไทยในต่างประเทศ ➔ มาตรา 67  รัฐพึงอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ➔ มาตรา 76  รัฐพึงพัฒนาระบบการบริหารราชการแผ่นดินทั้งราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคส่วนท้องถิ่น และงานของรัฐอย่างอื่น ให้เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยหน่วยงานของรัฐต้องร่วมมือ และช่วยเหลือกันในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดิน การจัดทำบริการสาธารณะและการใช้ จ่ายเงินงบประมาณมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน รวมตลอดทั้งพัฒนาเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ มีความซื่อสั ตย์ สุจริ ต และมีทัศนคติ เป็ นผู้ ให้ บริ การประชาชนให้เกิ ดความสะดวก รวดเร็วไม่ เลื อกปฏิบ ั ติ และปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ รัฐพึงดำเนิน การให้ม ีกฎหมายเกี่ย วกับการบริห ารงานบุคคลของหน่ว ยงานของรัฐ ให้เป็นไปตามระบบ คุณธรรม โดยกฎหมายดังกล่าวอย่างน้อยต้องมีมาตรการป้องกันมิให้ผู้ใดใช้อำนาจ หรือกระทำการโดยมิชอบที่เป็น การก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิ บั ติ หน้ า ที ่ หรือกระบวนการแต่ งตั้ ง หรื อการพิ จารณาความดีค วามชอบของ เจ้าหน้าที่ของรัฐ  รัฐพึงจัดให้มีมาตรฐานทางจริยธรรม เพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้เป็นหลักในการกำหนดประมวลจริยธรรม สำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานนั้นๆ ซึ่งต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐานทางจริยธรรมดังกล่าว หมวด 7 รัฐสภา ส่วนที่ 1 บททั่วไป ➔ มาตรา 79  รัฐสภาประกอบด้วย จำนวนสมาชิก 700 คน ( 5 ปีแรกให้มีจำนวน 750 คน )  สภาผู้แทนราษฎร (ส.ส. 500 คน) ออกข้อสอบบ่อย  วุฒิสภา (ส.ว. 200 คน) ใน 5 ปีแรกหลังจากเลือกตั้งให้มีวุฒิสภาจำนวน 250 คน  รวมเป็นจำนวน 700 คน (5 ปีแรก รวมเป็นจำนวน 750 คน)  บุคคลจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาในขณะเดียวกันมิได้ ➔ มาตรา 80 ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภา ในกรณีที่ไม่มีประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือประธานสภาผู้แทนราษฎรไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ ประธานรัฐสภาได้ ให้ประธานวุฒิสภาทำหน้าที่ประธานรัฐสภาแทน ➔ มาตรา 81  ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญและร่างพ.ร.บ. จะตราขึ้นเป็นกฎหมายได้ก็แต่โดยคำแนะนำ และยินยอมของรัฐสภา ➔ มาตรา 82  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิก ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกว่าสมาชิกภาพของ สมาชิกคนใดคนหนึ่งแห่งสภานั้นสิ้นสุดลง เตรียมสอบครูผชู้ ว่ ย By ครูพี่หนึ่ง จักรยาน สงวนลิขสิทธิต์ ามกฎหมาย หน้า 8 คูม่ อื เตรียมสอบครูผชู้ ว่ ย By ครูพหี่ นึง่ จักรยาน วิชากฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องกับการปฏิบตั ริ าชการ ส่วนที่ 2 สภาผู้แทนราษฎร ออกข้อสอบบ่อย ➔ มาตรา 83  สภาผู้แทนราษฎร สมาชิกจำนวน 500 คน ดังนี้ (1) การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง  จำนวน 400 คน แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 1 พ.ศ. 2564 (2) บัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง  จำนวน 100 คน แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 1 พ.ศ. 2564 ➔ มาตรา 84  ในการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อมีสมาชิก ส.ส. ได้รับเลือกตั้งถึงร้อยละ 95 ของจำนวนสมาชิก ส.ส.ทั้งหมดแล้วหากมีความจำเป็นจะต้อง เรียกประชุมรัฐสภาก็ให้ดำเนินการเรียกประชุมรัฐสภาได้ ➔ มาตรา 85  สมาชิก ส.ส. ซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ โดยให้แต่ละเขตเลือกตั้งมีสมาชิก ส.ส. ได้เขตละ 1 คน และผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งได้คนละหนึ่งคะแนน ออกข้อสอบบ่อย ➔ มาตรา 95  คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (1) มีสัญชาติไทย แต่บุคคลแปลงสัญชาติ ต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี (2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีในวันเลือกตั้ง (3) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน ➔ มาตรา 96  บุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง ออกข้อสอบบ่อย (1) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช (2) อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่ว่าคดีนั้นจะถึงที่สุดแล้วหรือไม่ (3) ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย (4) วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ➔ มาตรา 97  คุณสมบัติผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) (1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด (2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีนับถึงวันเลือกตั้ง (3) เป็นสมาชิกพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน ถ้ามีเหตุยุบสภาระยะเวลา 90 วันดังกล่าวให้ลดลงเหลือ 30 วัน (4) ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ด้วย (ก) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี (ข) เป็นบุคคลซึ่งเกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง (ค) เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปีการศึกษา (ง) เคยรับราชการหรือปฏิบัต ิหน้า ที่ใ นหน่วยงานของรัฐ หรือเคยมีชื่ ออยู่ใ นทะเบี ยนบ้า นในจัง หวั ด ที่สมัครเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี เตรียมสอบครูผชู้ ว่ ย By ครูพี่หนึ่ง จักรยาน สงวนลิขสิทธิต์ ามกฎหมาย คู่มอื เตรียมสอบครูผูช้ ว่ ย By ครูพหี่ นึง่ จักรยาน เล่ม 2 วิชากฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องกับการปฏิบตั ริ าชการ หน้า 9 ➔ มาตรา 98  บุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) (1) ติดยาเสพติดให้โทษ (2) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต (3) เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ (4) เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 96(1)(2) หรือ (4) (5) อยู่ระหว่างถูกระงับการใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งชั่วคราวหรือถูกเพิกถอนสิทธิสมัครฯ (6) ต้องคำพิพากษาให้จาคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล (7) เคยได้รับโทษจำคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึง 10 ปีนับถึงวันเลือกตั้งเว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือ ความผิดลหุโทษ (8) เคยถูกสั่งให้พ้นจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเพราะทุจริตต่อหน้าที่ (9) เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอันถึงที่สุดให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติ หรือเคยต้องคำ พิพากษาอันถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกเพราะกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (10) เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำ ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ (11) เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำการอันเป็นการทุจริตในการเลือกตั้ง (12) เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำนอกจากข้าราชการการเมือง (13) เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (14) เป็นสมาชิกวุฒิสภาหรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาซึ่งสิ้นสุดลงยังไม่เกิน 2 ปี (15) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ,รัฐ,รัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ (16) เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ (17) อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดารงตำแหน่งทางการเมือง (18) เคยพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุตามมาตรา 144 หรือมาตรา 235 วรรคสาม ➔ มาตรา 99  อายุของสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) มีกำหนดคราวละ 4 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง ➔ มาตรา 100  สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เริ่มตั้งแต่วันเลือกตั้ง เตรียมสอบครูผชู้ ว่ ย By ครูพี่หนึ่ง จักรยาน สงวนลิขสิทธิต์ ามกฎหมาย หน้า 10 คู่มอื เตรียมสอบครูผชู้ ว่ ย By ครูพี่หนึง่ จักรยาน วิชากฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องกับการปฏิบตั ริ าชการ ส่วนที่ 3 วุฒิสภา ➔ มาตรา 107  วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 200 คน ซึ่ง มาจากการเลือ กกันเองของบุคคล ซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์อาชีพ ลักษณะ หรือประโยชน์ร่วมกัน หรือทำงานหรือเคยทำงานด้าน ต่าง ๆที่หลากหลายของสังคม โดยในการแบ่งกลุ่มต้องแบ่งในลักษณะที่ทำให้ประชาชนซึ่งมีสิทธิสมัครรับเลือก ทุกคนสามารถอยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ การเลือกสมาชิกวุฒิสภาให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ➔ มาตรา 108  สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ ก. คุณสมบัติ (1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด (2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีในวันสมัครรับเลือก (3) มีความรู้ เชี่ยวชาญ และประสบการณ์ หรือทำงานในด้านที่สมัครไม่น้อยกว่า 10 ปี (4) เกิด มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ทำงาน หรือมีความเกี่ยวพันกับพื้นที่ที่สมัคร ข. ลักษณะต้องห้าม (1) เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง (2) เป็นข้าราชการ (3) เป็นหรือเคยเป็นสมาชิก ส.ส. เว้นแต่ได้พ้นการเป็น ส.ส.เป็นมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี (4) เป็นสมาชิกพรรคการเมือง (5) เป็นหรือเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองเว้นแต่พ้นมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีนับถึงวันสมัครรับเลือก (6) เป็นหรือเคยเป็นรัฐมนตรี เว้นแต่ได้พ้นมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีนับถึงวันสมัครรับเลือก (7) เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเว้นแต่ได้พ้นมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีนับถึงวันสมัคร รับเลือก (8) เป็นบุพการี คู่สมรส หรือบุตรของผู้ด ำรงตำแหน่ง ส.ส. ส.ว.ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือ ผู้บริหารท้องถิ่นผู้สมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาในคราวเดียวกันหรือผู้ดำรงตำแหน่งในศาลรัฐธรรมนูญหรือใน องค์กรอิสระ (9) เคยดำรงตำแหน่ง ส.ว. ตามรัฐธรรมนูญนี้ ➔ มาตรา 109 อายุ ข องวุ ฒ ิ ส ภา (ส.ว.) มี ก ำหนดคราวละ 5 ปี น ั บ แต่ ว ั น ประกาศผลเลื อ กสมาชิก เมื่ออายุของวุฒิสภาสิ้นสุดลงให้ ส.ว. อยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมี ส.ว. ขึ้นใหม่ ส่วนที่ 4 บทที่ใช้แก่สภาทั้งสอง ➔ มาตรา 114–155  เนื้อหาในส่วนนี้ไม่เกี่ยวข้องกับที่เราอ่านสอบโดยตรง หากต้องการศึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้อ่านฉบับจริงครับ ส่วนที่ 5 การประชุมร่วมกันของรัฐสภา ➔ มาตรา 156–157  เนื้อหาในส่วนนี้ไม่เกี่ยวข้องกับที่เราอ่านสอบโดยตรง หากต้องการศึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้อ่านฉบับจริงครับ เตรียมสอบครูผชู้ ว่ ย By ครูพี่หนึ่ง จักรยาน สงวนลิขสิทธิต์ ามกฎหมาย คู่มอื เตรียมสอบครูผูช้ ว่ ย By ครูพหี่ นึง่ จักรยาน เล่ม 2 วิชากฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องกับการปฏิบตั ริ าชการ หน้า 11 หมวด 8 คณะรัฐมนตรี ออกข้อสอบบ่อย ➔ มาตรา 158  พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คน คณะรัฐมนตรีไม่เกิน 36 คน นายกรัฐมนตรี 1 คนและรัฐมนตรีอื่นไม่เกิน 35 คน มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามหลักความรับผิดชอบร่วมกัน นายกรัฐมนตรีต้องแต่งตั้งจากความเห็นชอบของ ส.ส. ประธาน ส.ส. เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกิน 8 ปีมิได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่ แต่มิให้นับรวมระยะเวลาในระหว่างที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ ต่อไปหลังพ้นจากตำแหน่ง ➔ มาตรา 159  ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี จากมติของ ส.ส. ต้องกระทำโดยการลงคะแนนโดยเปิดเผย และมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน สมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของ ส.ส. ➔ มาตรา 160  รัฐมนตรีต้อง (1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด (2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี (3) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า (4) มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ (5) ไม่มีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจริยธรรมอย่างร้ายแรง (6) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 98 (7) ไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุกแม้คดีนั้นจะยังไม่ถึงที่สุด หรือมีการรอการลงโทษ เว้นแต่ความผิดลหุโทษ (8) ไม่เป็นผู้เคยพ้นจากตำแหน่ง มาแล้วยังไม่ถึง 2 ปีนับถึงวันแต่งตั้ง ➔ มาตรา 167  รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (1) ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามมาตรา 170 (2) อายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร (3) คณะรัฐมนตรีลาออก (4) พ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุตามมาตรา 144  เมื่อรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งตาม (1) (3) หรือ (4) ให้ดำเนินการเพื่อให้มีคณะรัฐมนตรีขึ้นใหม่ ตามมาตรา 158 และมาตรา 159 ➔ มาตรา  170 ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว เมื่อ (1) ตาย (2) ลาออก (3) สภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่ไว้วางใจ (4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 160 (5) กระทำการอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 186 หรือมาตรา 187 (6) มีพระบรมราชโองการให้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีตามมาตรา 171 นอกจากเหตุที่ทำให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามวรรคหนึ่งแล้ว ความเป็นรัฐมนตรีของ นายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดเวลา เตรียมสอบครูผชู้ ว่ ย By ครูพี่หนึ่ง จักรยาน สงวนลิขสิทธิต์ ามกฎหมาย หน้า 12 คูม่ อื เตรียมสอบครูผูช้ ว่ ย By ครูพี่หนึง่ จักรยาน วิชากฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องกับการปฏิบตั ริ าชการ ➔ มาตรา 179  พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษ ➔ มาตรา183  เงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่น ขององคมนตรี ประธานและรอง ประธานสภาผู ้ แ ทนราษฎร ประธานและรองประธานวุ ฒ ิ ส ภา ผู ้ น ำฝ่ า ยค้ า นในสภาผู ้ แ ทนราษฎร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา หมวด 9 การขัดแห่งผลประโยชน์ ➔ มาตรา 184–168  เนื้อหาในส่วนนี้ไม่เกี่ยวข้องกับที่เราอ่านสอบโดยตรง หากต้องการศึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้อ่านฉบับจริงครับ หมวด 10 ศาล ส่วนที่ 1 บททั่วไป ➔ เนื้อหาในส่วนนี้ไม่เกี่ยวข้องกับที่เราอ่านสอบโดยตรง หากต้องการศึกษาเพิ่มเติมแนะนำให้อ่านจากฉบับจริง ส่วนที่ 2 ศาลยุติธรรม ➔ มาตรา 195  ให้มีแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา โดยองค์คณะผู้พิพากษา ประกอบด้วยผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาหรือผู้พิพากษาอาวุโสซึ่งเคย ดำรงตำแหน่ ง ไม่ ต ่ ำ กว่ า ผู ้ พ ิ พ ากษาศาลฎี ก า ซึ ่ ง ได้ ร ั บ คั ด เลื อ กโดยที ่ ป ระชุ ม ใหญ่ ศ าลฎี ก าจำนวน ไม่น้อยกว่า 5 แต่ไม่เกิน 9 คน ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณา คดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยให้เลือกเป็นรายคดี ส่วนที่ 3 ศาลปกครอง ➔ มาตรา 197  ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครองอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทาง ปกครองตามกฎหมายหรือเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครอง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ ส่วนที่ 4 ศาลทหาร ➔ มาตรา 199  ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่ผู้กระทำความผิดเป็นบุคคลซึ่งอยู่ในอำนาจ ศาลทหารและคดีอื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ หมวด 11 ศาลรัฐธรรมนูญ ออกข้อสอบบ่อย ➔ มาตรา 200  ศาลรั ฐ ธรรมนู ญ ประกอบด้ ว ย ตุ ล าการศาลรั ฐ ธรรมนู ญ จำนวน 9 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ➔ มาตรา 201  ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด (2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 45 ปี แต่ไม่ถึง 68 ปี (3) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า (4) มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ (5) มีสุขภาพที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เตรียมสอบครูผชู้ ว่ ย By ครูพี่หนึ่ง จักรยาน สงวนลิขสิทธิต์ ามกฎหมาย คู่มอื เตรียมสอบครูผูช้ ว่ ย By ครูพหี่ นึง่ จักรยาน เล่ม 2 วิชากฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องกับการปฏิบตั ริ าชการ หน้า 13 หมวด 12 องค์กรอิสระ ออกข้อสอบบ่อย ➔ มาตรา 216  นอกจากคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะในส่วนที่ว่าด้วย องค์กรอิสระแต่ละองค์กรแล้ว ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามทั่วไป ดังต่อไปนี้ด้วย (1) มีอายุไม่ต่ำกว่า 45 ปี แต่ไม่เกิน 70 ปี (2) มีคุณสมบัติตามมาตรา 201 (1) (3) (4) และ (5) (3) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 202 องค์กรอิสระมีวาระการดำรงตำแหน่ง 7 ปี ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา มาตรา องค์คณะ จำนวนคน ดำรงตำแหน่ง คุณสมบัติ (วาระ) 222 - 223 ค ณ ะ ก ร ร ม ก า ร ก า ร 7 คน 7 ปี ตามเงื่อนไขในมาตรา 222-223 เลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตาม คำแนะนำของวุฒิสภา ให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว 228 - 231 ผู้ตรวจการแผ่นดิน 3 คน 7 ปี ตามเงื่อนไขในมาตรา 228 -231 ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจาก ผู้ซึ่งได้รับการสรรหาโดยคณะกรรมการ การสรรหา ให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว 232 - 237 คณะกรรมการป้ อ งกัน 9 คน 7 ปี ตามเงื่อนไขในมาตรา 232 -237 และปราบปรามการทุจ ริ ต ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตาม แห่งชาติ (ป.ป.ช.) คำแนะนำของวุฒิสภาจากผู้ซึ่งได้รับการ สรรหาโดยคณะกรรมการการสรรหา ให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว 238 - 245 คณะกรรมการตรวจเงิน 7 คน 7 ปี ตามเงื่อนไขในมาตรา 238 -245 แผ่นดิน (คตง.) ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตาม คำแนะนำของวุฒิสภาจากผู้ซึ่งได้รับการ สรรหาโดยคณะกรรมการการสรรหา ให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว 246 - 247 ค ณ ะกรรมการสิ ท ธิ 7 คน 7 ปี ตามเงื่อนไขในมาตรา 246 -247 มนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจาก ผู้ซึ่งได้รับการสรรหาโดยคณะกรรมการ การสรรหา ให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว เตรียมสอบครูผชู้ ว่ ย By ครูพี่หนึ่ง จักรยาน สงวนลิขสิทธิต์ ามกฎหมาย หน้า 14 คู่มอื เตรียมสอบครูผูช้ ว่ ย By ครูพี่หนึง่ จักรยาน วิชากฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องกับการปฏิบตั ริ าชการ หมวด 13 องค์กรอัยการ ➔ มาตรา 248  องค์กรอัยการมีหน้าที่และอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและกฎหมายพนักงาน อัยการมีอิสระในการพิจารณาสั่งคดีและการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปโดยรวดเร็ว เที่ยงธรรมและปราศจากอคติ ทั้งปวงและไม่ให้ถือว่าเป็นคำสั่งทางปกครอง หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น ➔ มาตรา 250  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่และอำนาจ ดูแลและจัดทำบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามหลักการ พัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น ➔ มาตรา 252  สมาชิกสภาท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นให้มาจากการเลือกตั้งหรือมาจาก ความเห็นชอบของสภาท้องถิ่นหรือในกรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ จะให้มาโดยวิธีอื่นก็ได้ แต่ต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนด้วย ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ ➔ มาตรา 254  ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสิทธิเข้าชื่อกันเพื่อเสนอ ข้ อ บั ญ ญั ต ิ ห รื อ เพื ่ อ ถอดถอนสมาชิ ก สภาท้ อ งถิ ่ น หรื อ ผู ้ บ ริ ห ารท้ อ งถิ ่ น ได้ ต ามหลั ก เกณฑ์ วิ ธ ี ก าร และเงื่อนไขที่กฎหมายบัญญัติ หมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ➔ มาตรา 255  การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่เป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ จะกระทำมิได้ หมวด 16 การปฏิรูปประเทศ ➔ มาตรา 257  เป้าหมายของการปฏิรูปประเทศ มีดังต่อไปนี้ (1) ประเทศชาติมีความสงบเรียบร้อย มีความสามัคคีปรองดองมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงและมีความสมดุลระหว่างการพัฒนาด้านวัตถุกับการพัฒนาด้านจิตใจ (2) สังคมมีความสงบสุข เป็นธรรมและมีโอกาสอันทัดเทียมกันเพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำ (3) ประชาชนมีความสุข มี คุณภาพชีวิตที่ดี และมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศและการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ➔ มาตรา 258  ให้ดำเนินการปฏิรูปประเทศอย่างน้อย ในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ ก. ด้านการเมือง ข. ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ค. ด้านกฎหมาย ง. ด้านกระบวนการยุติธรรม เตรียมสอบครูผชู้ ว่ ย By ครูพี่หนึ่ง จักรยาน สงวนลิขสิทธิต์ ามกฎหมาย คู่มอื เตรียมสอบครูผูช้ ว่ ย By ครูพหี่ นึง่ จักรยาน เล่ม 2 วิชากฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องกับการปฏิบตั ริ าชการ หน้า 15 จ. ด้านการศึกษา ข้อสอบ (1) ให้สามารถเริ่มดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาตามมาตรา 54 วรรค สอง เพื่อให้เด็กเล็กได้รับการพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาให้สมกับวัยโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย (2) ให้ดำเนินการตรากฎหมายเพื่อ จัดตั้งกองทุน ตามมาตรา 54 วรรค 6 ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีนับแต่ วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ (3) ให้มีกลไกและระบบการผลิต คัดกรองและพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพครูและอาจารย์ ให้ได้ผู้มีจิตวิญญาณ ของความเป็ น ครู มี ค วามรู ้ ค วามสามารถอย่ า งแท้ จ ริ ง ได้ ร ั บ ค่ า ตอบแทนที ่ เ หมาะสมกั บ ความสามารถ และประสิทธิภาพในการสอน รวมทั้งมีกลไกสร้างระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลของผู้ประกอบวิชาชีพครู (4) ปรับปรุงการจั ดการเรี ยนการสอนทุกระดั บเพื่อ ให้ ผู ้ เรี ยนสามารถเรียนได้ตามความถนั ดและปรั บ ปรุง โครงสร้างของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว โดยสอดคล้องกันทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่ ฉ. ด้านเศรษฐกิจ ช. ด้านอื่น ๆ บทเฉพาะกาล ➔ มาตรา 267  ให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปเพื่อจัดทำร่าง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญดังต่อไปนี้ให้แล้วเสร็จ(ภายใน 240 วัน)และเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป ประกอบด้วยกฎหมายลูกดังนี้ (1) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (2) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา (3) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (4) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (5) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ (6) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (7) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน (8) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (9) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน (10) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ➔ มาตรา 268  ให้ ด ำเนิ น การเลื อ กตั ้ ง สมาชิ ก สภาผู ้ แ ทนราษฎรตามรั ฐ ธรรมนู ญ นี ้ ใ ห้ แ ล้ ว เสร็ จ ภายใน 150 วั น นั บ แต่ ว ั น ที ่ พ ระราชบั ญ ญั ต ิ ป ระกอบรั ฐ ธรรมนู ญ ตามมาตรา 267 (1) (2) (3)และ (4) มีผลใช้บังคับแล้ว ➔ มาตรา 279  บรรดาคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวัน ป ร ะ ก า ศ ใ ช ้ ร ั ฐ ธ ร ร ม น ู ญ น ี ้ ห ร ื อ ท ี ่ จ ะ อ อ ก ใ ช ้ บ ั ง ค ั บ ต ่ อ ไ ป ต า ม ม า ต ร า 265 ว ร ร ค 2 มี ผ ลใช้ บ ั ง คั บ โดยชอบด้ ว ยรั ฐ ธรรมนู ญ นี ้ ต ่ อ ไป การยกเลิ ก คำสั ่ ง คสช. ให้ ก ระทำเป็ น พระราชบัญญัติ เตรียมสอบครูผชู้ ว่ ย By ครูพี่หนึ่ง จักรยาน สงวนลิขสิทธิต์ ามกฎหมาย หน้า 16 คูม่ อื เตรียมสอบครูผูช้ ว่ ย By ครูพี่หนึง่ จักรยาน วิชากฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องกับการปฏิบตั ริ าชการ แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2564 1. ลำดับศักดิ์ของกฎหมายในระบบกฎหมายไทย แบ่งอย่างละเอียดเป็นกี่ชั้น ก. 3 ชั้น ข. 5 ชั้น ค. 7 ชั้น ง. 9 ชั้น 2. ลำดับศักดิ์ในระบบกฎหมายไทยสูงที่สุด คือข้อใด ก. พระบรมราชโองการ ข. พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ค. ข้อบัญญัติท้องถิ่น ง. รัฐธรรมนูญ 3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นฉบับที่เท่าใด ก. 18 ข. 19 ค. 20 ง. 21 4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีการแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่เท่าใด ก. ไม่มีการแก้ไข ข. (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2563 ค. (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2564 ง. (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2564 5. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับปัจจุบัน กำหนดให้อำนาจอธิปไตยเป็นของใคร ก. พระมหากษัตริย์ ข. คณะรัฐมนตรี ค. ศาล ง. ปวงชนชาวไทย 6. ใครเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับปัจจุบัน ก. พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ข. พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ ค. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ง. พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ 7. พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติผ่านทางใด ก. ศาล ข. องคมนตรี ค. รัฐสภา ง. คณะรัฐมนตรี 8. พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจตุลาการผ่านทางใด ก. รัฐสภา ข. คณะรัฐมนตรี ค. ศาล ง. องคมนตรี 9. พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจบริหารผ่านทางใด ก. รัฐสภา ข. คณะรัฐมนตรี ค. ศาล ง. องคมนตรี 10. ใครเป็นประธานองคมนตรี ก. พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ข. พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ ค. นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ง. พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เตรียมสอบครูผชู้ ว่ ย By ครูพี่หนึ่ง จักรยาน สงวนลิขสิทธิต์ ามกฎหมาย คู่มอื เตรียมสอบครูผูช้ ว่ ย By ครูพหี่ นึง่ จักรยาน เล่ม 2 วิชากฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องกับการปฏิบตั ริ าชการ หน้า 17 11. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้บุคคลมีหน้าที่เ ข้า รับการศึกษาอบรม ในการศึกษาตามข้อใด ก. ระดับอาชีวศึก?

Use Quizgecko on...
Browser
Browser