รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 PDF
Document Details
Uploaded by TruthfulTungsten
2560
Tags
Summary
This document is the Thai Constitution of 2017 (BE 2560). It details the fundamental principles and governing structures of Thailand. The document covers topics including the scope of power, rights, freedoms, and responsibilities of citizens and government.
Full Transcript
สารบัญ หน้า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ คาปรารภ....
สารบัญ หน้า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ คาปรารภ...........................................................................................................................................................๑ หมวด ๑ บททั่วไป (มาตรา ๑-๕)..........................................................................................๓ หมวด ๒ พระมหากษัตริย์ (มาตรา ๖-๒๔)...........................................................................๔ หมวด ๓ สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย (มาตรา ๒๕-๔๙).......................................๗ หมวด ๔ หน้าที่ของปวงชนชาวไทย (มาตรา ๕๐)............................................................ ๑๓ หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ (มาตรา ๕๑-๖๓)........................................................................... ๑๔ หมวด ๖ แนวนโยบายแห่งรัฐ (มาตรา ๖๔-๗๘)................................................................ ๑๗ หมวด ๗ รัฐสภา (มาตรา ๗๙-๑๕๗)................................................................................... ๒๐ ส่วนที่ ๑ บททั่วไป (มาตรา ๗๙-๘๒)................................................................ ๒๐ ส่วนที่ ๒ สภาผู้แทนราษฎร (มาตรา ๘๓-๑๐๖)............................................... ๒๒ ส่วนที่ ๓ วุฒิสภา (มาตรา ๑๐๗-๑๑๓)............................................................ ๓๐ ส่วนที่ ๔ บทที่ใช้แก่สภาทัง้ สอง (มาตรา ๑๑๔-๑๕๕)...................................... ๓๒ ส่วนที่ ๕ การประชุมร่วมกันของรัฐสภา (มาตรา ๑๕๖-๑๕๗).......................... ๔๕ หมวด ๘ คณะรัฐมนตรี (มาตรา ๑๕๘-๑๘๓).................................................................... ๔๖ หมวด ๙ การขัดกันแห่งผลประโยชน์ (มาตรา ๑๘๔-๑๘๗)............................................... ๕๒ หมวด ๑๐ ศาล (มาตรา ๑๘๘-๑๙๙).................................................................................... ๕๔ ส่วนที่ ๑ บททั่วไป (มาตรา ๑๘๘-๑๙๓)........................................................... ๕๔ ส่วนที่ ๒ ศาลยุตธิ รรม (มาตรา ๑๙๔-๑๙๖)..................................................... ๕๕ ส่วนที่ ๓ ศาลปกครอง (มาตรา ๑๙๗-๑๙๘).................................................... ๕๖ ส่วนที่ ๔ ศาลทหาร (มาตรา ๑๙๙).............................................................................๕๗ หมวด ๑๑ ศาลรัฐธรรมนูญ (มาตรา ๒๐๐-๒๑๔)...........................................................................๕๗ หมวด ๑๒ องค์กรอิสระ (มาตรา ๒๑๕-๒๔๗)...................................................................... ๖๒ ส่วนที่ ๑ บททั่วไป (มาตรา ๒๑๕-๒๒๑)........................................................... ๖๒ ส่วนที่ ๒ คณะกรรมการการเลือกตัง้ (มาตรา ๒๒๒-๒๒๗)............................... ๖๓ ส่วนที่ ๓ ผู้ตรวจการแผ่นดิน (มาตรา ๒๒๘-๒๓๑)........................................... ๖๖ ส่วนที่ ๔ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (มาตรา ๒๓๒-๒๓๗)........................................................................... ๖๗ หน้า ส่วนที่ ๕ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (มาตรา ๒๓๘-๒๔๕)........................ ๗๐ ส่วนที่ ๖ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (มาตรา ๒๔๖-๒๔๗).............. ๗๒ หมวด ๑๓ องค์กรอัยการ (มาตรา ๒๔๘)............................................................................. ๗๓ หมวด ๑๔ การปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา ๒๔๙-๒๕๔).................................................. ๗๔ หมวด ๑๕ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (มาตรา ๒๕๕-๒๕๖)........................................... ๗๕ หมวด ๑๖ การปฏิรูปประเทศ (มาตรา ๒๕๗-๒๖๑)............................................................. ๗๗ บทเฉพาะกาล (มาตรา ๒๖๒-๒๗๙)....................................................................................... ๘๑ ภาคผนวก หมายกาหนดการ พระราชพิธีประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ หน้า ๑ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ เมษายน ๒๕๖๐ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ตราไว้ ณ วันที่ ๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๐ เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลปัจจุบัน ศุ ภ มั ส ดุ พระพุ ท ธศาสนกาลเป็ น อดี ต ภาค ๒๕๖๐ พรรษา ปั จ จุ บั น สมั ย จั น ทรคติ นิ ย ม กุกกุฏสมพัตสร จิตรมาส ชุณหปักษ์ ทสมีดิถี สุริยคติกาล เมษายนมาส ฉัฏฐสุรทิน ครุวาร โดยกาลบริเฉท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ประกาศว่า นายกรัฐมนตรีได้นําความกราบบังคมทูลว่า นับแต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕ เป็นต้นมา การปกครองของประเทศไทยได้ดํารงเจตนารมณ์ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขต่อเนื่องมาโดยตลอด แม้ได้มีการยกเลิก แก้ไขเพิ่มเติม และประกาศใช้ รัฐธรรมนูญเพื่อจัดระเบียบการปกครองให้เหมาะสมหลายครั้ง แต่การปกครองก็มิได้มีเสถียรภาพหรือ ราบรื่นเรียบร้อยเพราะยังคงประสบปัญหาและข้อขัดแย้งต่าง ๆ บางครั้งเป็นวิกฤติทางรัฐธรรมนูญที่หา ทางออกไม่ได้ เหตุส่วนหนึ่งเกิดจากการที่มีผู้ไม่นําพาหรือไม่นับถือยําเกรงกฎเกณฑ์การปกครองบ้านเมือง ทุจริตฉ้อฉลหรือบิดเบือนอํานาจ หรือขาดความตระหนักสํานึกรับผิดชอบต่อประเทศชาติและประชาชน จนทําให้การบังคับใช้กฎหมายไม่เป็นผล ซึ่งจําต้องป้องกันและแก้ไขด้วยการปฏิรูปการศึกษาและการบังคับใช้ กฎหมาย และเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบคุณธรรมและจริยธรรม แต่เหตุอีกส่วนหนึ่งเกิดจากกฎเกณฑ์ การเมืองการปกครองที่ยังไม่เหมาะสมแก่สภาวการณ์บ้านเมืองและกาลสมัย ให้ความสําคัญแก่รูปแบบ และวิธีการยิ่งกว่าหลักการพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่อาจนํากฎเกณฑ์ที่มีอยู่มาใช้แก่พฤติกรรม ของบุคคลและสถานการณ์ในยามวิกฤติที่มีรูปแบบและวิธีการแตกต่างไปจากเดิมให้ได้ผล หน้า ๒ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ เมษายน ๒๕๖๐ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๕๘ จึงได้บัญญัติให้มีคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญมีหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญเพื่อใช้เป็นหลัก ในการปกครอง และเป็นแนวทางในการจัดทํากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่น โดยได้กําหนดกลไก เพื่อจัดระเบียบและสร้างความเข้มแข็งแก่การปกครองประเทศขึ้นใหม่ด้วยการจัดโครงสร้างของหน้าที่ และอํานาจขององค์กรต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ และสัมพันธภาพระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารให้เหมาะสม การให้สถาบันศาลและองค์กรอิสระอื่นซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ สุจริต เที่ยงธรรมและมีส่วนในการป้องกันหรือแก้ไขวิกฤติของประเทศตามความจําเป็น และความเหมาะสม การรับรอง ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทยให้ชัดเจนและครอบคลุม อย่างกว้างขวางยิ่ งขึ้น โดยถือว่าการมีสิ ทธิเสรีภาพเป็น หลักการจํากัด ตัดสิท ธิเสรี ภาพเป็นข้อ ยกเว้ น แต่การใช้สิทธิเสรีภาพดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์เพื่อคุ้มครองส่วนรวม การกําหนดให้รัฐมีหน้าที่ ต่อประชาชนเช่นเดียวกับการให้ประชาชนมีหน้าที่ต่อรัฐ การวางกลไกป้องกัน ตรวจสอบ และขจัดการทุจริต และประพฤติมิชอบที่เข้มงวด เด็ดขาด เพื่อมิให้ผู้บริหารที่ปราศจากคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล เข้ามามีอํานาจในการปกครองบ้านเมืองหรือใช้อํานาจตามอําเภอใจ และการกําหนดมาตรการป้องกัน และบริ ห ารจั ด การวิ ก ฤติ ก ารณ์ ข องประเทศให้ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพยิ่ ง ขึ้ น ตลอดจนได้ กํ า หนดกลไกอื่ น ๆ ตามแนวทางที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ระบุไว้ เพื่อใช้เป็นกรอบ ในการพัฒนาประเทศตามแนวนโยบายแห่งรัฐและยุทธศาสตร์ชาติซึ่งผู้เข้ามาบริหารประเทศแต่ละคณะ จะได้กําหนดนโยบายและวิธีดําเนินการที่เหมาะสมต่อไป ทั้งยังสร้างกลไกในการปฏิรูปประเทศในด้านต่าง ๆ ที่สําคัญและจําเป็นอย่างร่วมมือร่วมใจกัน รวมตลอดทั้งการลดเงื่อนไขความขัดแย้งเพื่อให้ประเทศมีความสงบสุข บนพื้นฐานของความรู้รักสามัคคีปรองดอง การจะดําเนินการในเรื่องเหล่านี้ให้ลุล่วงไปได้ จําต้องอาศัย ความร่วมมือระหว่างประชาชนทุกภาคส่วนกับหน่วยงานทั้งหลายของรัฐตามแนวทางประชารัฐภายใต้กฎเกณฑ์ ตามหลั ก การปกครองในระบอบประชาธิ ป ไตยและประเพณี ก ารปกครองที่ เ หมาะสมกั บ สถานการณ์ และลักษณะสังคมไทย หลักความสุจริต หลักสิทธิมนุษยชน และหลักธรรมาภิบาล อันจะทําให้สามารถ ขับเคลื่อนประเทศให้พัฒนาไปข้างหน้าได้อย่างเป็นขั้นตอนจนเกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ทั้งในทาง การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคมตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในการดําเนินการดังกล่าว คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้สร้างความรับรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน ในหลักการและเหตุผลของบทบัญญัติต่าง ๆ เป็นระยะ ๆ เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงร่างรัฐธรรมนูญ และความหมายโดยผ่านทางสื่อต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสารัตถะของ ร่างรัฐธรรมนูญด้วยการเสนอแนะข้อควรแก้ไขเพิ่มเติม เมื่อการจัดทําร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ ก็ได้เผยแพร่ ร่างรัฐธรรมนูญและคําอธิบายสาระสําคัญของร่างรัฐธรรมนูญโดยสรุปในลักษณะที่ประชาชนสามารถเข้าใจ เนื้อหาสําคัญของร่างรัฐธรรมนูญได้โดยสะดวกและเป็นการทั่วไป และจัดให้มีการออกเสียงประชามติ หน้า ๓ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ เมษายน ๒๕๖๐ เพื่อให้ความเห็นชอบแก่ร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ในการนี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้มีมติเสนอประเด็น เพิ่มเติมอีกประเด็นหนึ่งเพื่อให้มีการออกเสียงประชามติในคราวเดียวกันด้วย การออกเสียงประชามติ ปรากฏผลว่า ประชาชนผู้ มีสิทธิออกเสี ยงประชามติ โดยคะแนนเสี ยงข้ างมากของผู้ มาออกเสียงประชามติ เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญและประเด็นเพิ่มเติมดังกล่าว คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจึงดําเนินการแก้ไข ร่างรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับผลการออกเสียงประชามติในประเด็นเพิ่มเติม และได้ส่งให้ ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่าเป็นการชอบด้วยผลการออกเสียงประชามติแล้วหรือไม่ ซึ่งต่อมาศาลรัฐธรรมนูญ ได้วินิจฉัยให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมข้อความบางส่วน และคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ได้ดําเนินการแก้ไขตามคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว นายกรัฐมนตรีจึงนําร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้า ทูลกระหม่อมถวาย ต่อมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ ๔) พุทธศักราช ๒๕๖๐ บัญญัติให้นายกรัฐมนตรีขอรับพระราชทานร่างรัฐธรรมนูญนั้น คืนมาแก้ไขเพิ่มเติมเฉพาะบางประเด็นได้ เมื่อดําเนินการแล้วเสร็จ นายกรัฐมนตรีจึงนําร่างรัฐธรรมนูญนั้น ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย สืบไป ทรงพระราชดําริว่าสมควรพระราชทานพระราชานุมัติ จึงมีพระราชโองการดํารัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมให้ตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้ ขึ้นไว้ ให้ใช้แทนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ซึ่งได้ตราไว้ ณ วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ ตั้งแต่วันประกาศนี้เป็นต้นไป ขอปวงชนชาวไทย จงมีความสมัครสโมสรเป็นเอกฉันท์ ในอันที่จะปฏิบัติตามและพิทักษ์รักษา รั ฐธรรมนู ญแห่ งราชอาณาจั กรไทยนี้ เพื่ อธํ ารงคงไว้ ซึ่ งระบอบประชาธิ ปไตยและอํ านาจอธิ ปไตยของ ปวงชนชาวไทย และนํ ามาซึ่ งความผาสุ กสิ ริ สวั สดิ์ พิ พั ฒนชั ยมงคล อเนกศุ ภผลสกลเกี ยรติ ยศสถาพรแก่ อาณาประชาราษฎรทั่วสยามรัฐสีมา สมดั่งพระราชปณิธานปรารถนาทุกประการ เทอญ หมวด ๑ บททั่วไป มาตรา ๑ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้ มาตรา ๒ ประเทศไทยมี ก ารปกครองระบอบประชาธิ ป ไตยอั น มี พ ระมหากษั ต ริ ย์ ทรงเป็นประมุข มาตรา ๓ อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อํานาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หน้า ๔ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ เมษายน ๒๕๖๐ รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไป ตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และหลักนิติธรรม เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของ ประชาชนโดยรวม มาตรา ๔ ศั ก ดิ์ ศ รี ค วามเป็ น มนุ ษ ย์ สิ ท ธิ เสรี ภ าพ และความเสมอภาคของบุ ค คล ย่อมได้รับความคุ้มครอง ปวงชนชาวไทยย่อมได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญเสมอกัน มาตรา ๕ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ หรือการกระทําใด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติหรือการกระทํานั้นเป็นอันใช้บังคับ มิได้ เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้กระทําการนั้นหรือวินิจฉัยกรณีนั้น ไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หมวด ๒ พระมหากษัตริย์ มาตรา ๖ องค์พระมหากษัตริย์ทรงดํารงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้ มาตรา ๗ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก มาตรา ๘ พระมหากษัตริย์ทรงดํารงตําแหน่งจอมทัพไทย มาตรา ๙ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจทีจ่ ะสถาปนาและถอดถอนฐานันดรศักดิ์ และพระราชทานและเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มาตรา ๑๐ พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและทรงแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรี คนหนึ่งและองคมนตรีอื่นอีกไม่เกินสิบแปดคนประกอบเป็นคณะองคมนตรี คณะองคมนตรี มี ห น้ า ที่ ถ วายความเห็ น ต่ อ พระมหากษั ต ริ ย์ ใ นพระราชกรณี ย กิ จ ทั้ ง ปวง ที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๑ การเลือกและแต่งตั้งองคมนตรีหรือการให้องคมนตรีพ้นจากตําแหน่ง ให้เป็นไป ตามพระราชอัธยาศัย ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานองคมนตรีหรือ ให้ประธานองคมนตรีพ้นจากตําแหน่ง ให้ ป ระธานองคมนตรี เ ป็ น ผู้ ล งนามรั บ สนองพระบรมราชโองการแต่ ง ตั้ ง องคมนตรี อื่ น หรื อ ให้องคมนตรีอื่นพ้นจากตําแหน่ง หน้า ๕ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ เมษายน ๒๕๖๐ มาตรา ๑๒ องคมนตรีต้องไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือดํารงตําแหน่ง ทางการเมืองอื่น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่อื่น ของรัฐ หรือสมาชิกหรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง หรือข้าราชการเว้นแต่การเป็นข้าราชการในพระองค์ ในตําแหน่งองคมนตรี และต้องไม่แสดงการฝักใฝ่ในพรรคการเมืองใด ๆ มาตรา ๑๓ ก่ อ นเข้ า รั บ หน้ า ที่ องคมนตรี ต้ อ งถวายสั ต ย์ ป ฏิ ญ าณต่ อ พระมหากษั ต ริ ย์ ด้วยถ้อยคํา ดังต่อไปนี้ “ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อ พระมหากษัตริย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ” มาตรา ๑๔ องคมนตรีพ้นจากตําแหน่งเมื่อตาย ลาออก หรือมีพระบรมราชโองการให้พ้นจาก ตําแหน่ง มาตรา ๑๕ การแต่ งตั้ งและการให้ข้ าราชการในพระองค์ พ้ นจากตํ าแหน่ ง ให้เป็ นไปตาม พระราชอัธยาศัย การจั ด ระเบี ย บราชการและการบริ ห ารงานบุ ค คลของราชการในพระองค์ ให้ เ ป็ น ไปตาม พระราชอัธยาศัยตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๑๖ ในเมื่อพระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือจะทรงบริหาร พระราชภาระไม่ได้ด้วยเหตุใดก็ตาม จะทรงแต่งตั้งบุคคลคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นคณะขึ้น ให้เป็น ผู้ สํ า เร็ จ ราชการแทนพระองค์ ห รื อ ไม่ ก็ ไ ด้ และในกรณี ที่ ท รงแต่ ง ตั้ ง ผู้ สํ า เร็ จ ราชการแทนพระองค์ ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ มาตรา ๑๗ ในกรณี ที่ พ ระมหากษั ต ริ ย์ มิ ไ ด้ ท รงแต่ ง ตั้ ง ผู้ สํ า เร็ จ ราชการแทนพระองค์ ตามมาตรา ๑๖ หรือในกรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่สามารถทรงแต่งตั้งผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์เพราะ ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะหรือเพราะเหตุอื่น แต่ต่อมาคณะองคมนตรีพิจารณาเห็นว่ามีความจําเป็นสมควร แต่งตั้งผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์และไม่อาจกราบบังคมทูลให้ทรงแต่งตั้งได้ทันการ ให้คณะองคมนตรี เสนอชื่อบุคคลคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นคณะ ตามลําดับที่โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมกําหนดไว้ก่อนแล้ว ให้ เ ป็ น ผู้ สํ า เร็ จ ราชการแทนพระองค์ แล้ ว แจ้ ง ประธานรั ฐ สภาเพื่ อ ประกาศในพระปรมาภิ ไ ธย พระมหากษัตริย์ แต่งตั้งผู้นั้นขึ้นเป็นผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ มาตรา ๑๘ ในระหว่างที่ไม่มีผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ตามมาตรา ๑๗ ให้ประธาน องคมนตรีเป็นผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์เป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน ในกรณีที่ผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามมาตรา ๑๖ หรือมาตรา ๑๗ ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ประธานองคมนตรีทําหน้าที่ผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์เป็นการชั่วคราว ไปพลางก่อน หน้า ๖ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ เมษายน ๒๕๖๐ ในระหว่างที่ประธานองคมนตรีเป็นผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ตามวรรคหนึ่ง หรือในระหว่างที่ ประธานองคมนตรีทําหน้าที่ผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ตามวรรคสอง ประธานองคมนตรีจะปฏิบัติหน้าที่ ในฐานะเป็ น ประธานองคมนตรี มิ ไ ด้ ในกรณี เ ช่ น ว่ า นี้ ให้ ค ณะองคมนตรี เ ลื อ กองคมนตรี ค นหนึ่ ง ขึ้ น ทําหน้าที่ประธานองคมนตรีเป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน มาตรา ๑๙ ก่อนเข้ารับหน้าที่ ผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามมาตรา ๑๖ หรือมาตรา ๑๗ ต้องปฏิญาณตนในที่ประชุมรัฐสภาด้วยถ้อยคํา ดังต่อไปนี้ “ข้าพเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ (พระปรมาภิไธย) และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้ และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ” ผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งเคยได้รับการแต่งตั้งและปฏิญาณตนมาแล้ว ไม่ต้องปฏิญาณตนอีก มาตรา ๒๐ ภายใต้บังคับมาตรา ๒๑ การสืบราชสมบัติให้เป็นไปโดยนัยแห่งกฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗ การแก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม กฎมณเฑี ย รบาลว่ า ด้ ว ยการสื บ ราชสั น ตติ ว งศ์ พระพุ ท ธศั ก ราช ๒๔๖๗ เป็นพระราชอํานาจของพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ เมื่อมีพระราชดําริประการใด ให้คณะองคมนตรีจัดทํา ร่างกฎมณเฑียรบาลแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลเดิมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อมีพระราชวินิจฉัย เมื่อทรงเห็นชอบและทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว ให้ประธานองคมนตรีดําเนินการแจ้งประธานรัฐสภา เพื่อให้ประธานรัฐสภาแจ้งให้รัฐสภาทราบ และให้ประธานรัฐสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ มาตรา ๒๑ ในกรณีที่ราชบัลลังก์หากว่างลงและเป็นกรณีที่พระมหากษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้ง พระรั ช ทายาทไว้ ต ามกฎมณเฑี ย รบาลว่ า ด้ ว ยการสื บ ราชสั น ตติ ว งศ์ พระพุ ท ธศั ก ราช ๒๔๖๗ แล้ ว ให้คณะรัฐมนตรีแจ้งให้ประธานรัฐสภาทราบ และให้ประธานรัฐสภาเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อรับทราบ และให้ประธานรัฐสภาอัญเชิญองค์พระรัชทายาทขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์สืบไป แล้วให้ประธาน รัฐสภาประกาศให้ประชาชนทราบ ในกรณีที่ราชบัลลังก์หากว่างลงและเป็นกรณีที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่งตั้งพระรัชทายาทไว้ ตามวรรคหนึ่ง ให้คณะองคมนตรีเสนอพระนามผู้สืบราชสันตติวงศ์ตามมาตรา ๒๐ ต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอต่อรัฐสภาเพื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบ ในการนี้ จะเสนอพระนามพระราชธิดาก็ได้ เมื่อรัฐสภา ให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ประธานรัฐสภาอัญเชิญองค์ผู้สืบราชสันตติวงศ์ขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์สืบไป แล้วให้ประธานรัฐสภาประกาศให้ประชาชนทราบ หน้า ๗ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ เมษายน ๒๕๖๐ มาตรา ๒๒ ในระหว่างที่ยังไม่มีประกาศอัญเชิญองค์พระรัชทายาทหรือองค์ผู้สืบราชสันตติวงศ์ ขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ตามมาตรา ๒๑ ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ เป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน แต่ในกรณีที่ราชบัลลังก์หากว่างลงในระหว่างที่ได้แต่งตั้งผู้สําเร็จราชการ แทนพระองค์ไว้ตามมาตรา ๑๖ หรือมาตรา ๑๗ หรือระหว่างเวลาที่ประธานองคมนตรีเป็นผู้สําเร็จราชการ แทนพระองค์ตามมาตรา ๑๘ วรรคหนึ่ง ให้ผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์นั้น ๆ แล้วแต่กรณี เป็นผู้สําเร็จราชการ แทนพระองค์ต่อไป ทั้งนี้ จนกว่าจะได้ประกาศอัญเชิญองค์พระรัชทายาทหรือองค์ผู้สืบราชสันตติวงศ์ ขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ ในกรณีที่ผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งได้รับการแต่งตั้งไว้และเป็นผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ ต่อไปตามวรรคหนึ่ง ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ประธานองคมนตรีทําหน้าที่ผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ เป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน ในกรณีที่ประธานองคมนตรีเป็นผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ตามวรรคหนึ่ง หรือทําหน้าที่ ผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์เป็นการชั่วคราวตามวรรคสอง ให้นํามาตรา ๑๘ วรรคสาม มาใช้บังคับ มาตรา ๒๓ ในกรณีที่คณะองคมนตรีจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๑๗ หรือมาตรา ๒๑ วรรคสอง หรือประธานองคมนตรีจะต้องเป็นหรือทําหน้าที่ผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ตามมาตรา ๑๘ วรรคหนึ่ ง หรื อ วรรคสอง หรื อ มาตรา ๒๒ วรรคสอง และอยู่ ใ นระหว่ า งที่ ไ ม่ มี ป ระธานองคมนตรี หรื อ มี แ ต่ ไม่ สามารถปฏิ บั ติ หน้ าที่ ได้ ให้ คณะองคมนตรี ที่ เหลื ออยู่ เลื อกองคมนตรี คนหนึ่ งเพื่ อทํ าหน้ าที่ ประธานองคมนตรี หรือเป็นหรือทําหน้าที่ผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ตามมาตรา ๑๘ วรรคหนึ่ ง หรือวรรคสอง หรือตามมาตรา ๒๒ วรรคสอง แล้วแต่กรณี มาตรา ๒๔ การถวายสั ต ย์ ป ฏิ ญ าณต่ อ พระมหากษั ต ริ ย์ ต ามรั ฐ ธรรมนู ญ หรื อ กฎหมาย พระมหากษั ต ริ ย์ จ ะโปรดเกล้ า โปรดกระหม่ อ มให้ ก ระทํ า ต่ อ พระรั ช ทายาทซึ่ ง ทรงบรรลุ นิ ติ ภ าวะแล้ ว หรือต่อผู้แทนพระองค์ก็ได้ ในระหว่ า งที่ ยั ง มิ ไ ด้ ถ วายสั ต ย์ ป ฏิ ญ าณตามวรรคหนึ่ ง จะโปรดเกล้ า โปรดกระหม่ อ มให้ ผู้ ซึ่ ง ต้องถวายสัตย์ปฏิญาณปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนก็ได้ หมวด ๓ สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา ๒๕ สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย นอกจากที่บัญญัติคุ้มครองไว้เป็นการเฉพาะ ในรัฐธรรมนูญแล้ว การใดที่มิได้ห้ามหรือจํากัดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือในกฎหมายอื่น บุคคลย่อมมีสิทธิ และเสรีภาพที่จะทําการนั้นได้และได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ตราบเท่าที่การใช้สิทธิหรือเสรีภาพ เช่นว่านั้นไม่กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ของประชาชน และไม่ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น หน้า ๘ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ เมษายน ๒๕๖๐ สิทธิหรือเสรีภาพใดที่รัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ หรือให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ แม้ยังไม่มีการตรากฎหมายนั้นขึ้นใช้บังคับ บุคคลหรือชุมชนย่อมสามารถ ใช้สิทธิหรือเสรีภาพนั้นได้ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ สามารถยกบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญเพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้ บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายจากการถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพหรือจากการกระทําความผิดอาญา ของบุคคลอื่น ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการเยียวยาหรือช่วยเหลือจากรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ มาตรา ๒๖ การตรากฎหมายที่มีผลเป็นการจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลต้องเป็นไป ตามเงื่ อนไขที่ บัญญัติ ไว้ในรั ฐธรรมนูญ ในกรณี ที่รัฐธรรมนูญ มิได้บัญ ญัติเงื่อ นไขไว้ กฎหมายดั งกล่า ว ต้ อ งไม่ ขั ด ต่ อ หลั ก นิ ติ ธ รรม ไม่ เ พิ่ ม ภาระหรื อ จํ า กั ด สิ ท ธิ ห รื อ เสรี ภ าพของบุ ค คลเกิ น สมควรแก่ เ หตุ และจะกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลมิได้ รวมทั้งต้องระบุเหตุผลความจําเป็นในการจํากัดสิทธิ และเสรีภาพไว้ด้วย กฎหมายตามวรรคหนึ่ ง ต้ อ งมี ผ ลใช้ บั ง คั บ เป็ น การทั่ ว ไป ไม่ มุ่ ง หมายให้ ใ ช้ บั ง คั บ แก่ ก รณี ใ ด กรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง มาตรา ๒๗ บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับความคุ้มครอง ตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องถิ่นกําเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือเหตุอื่นใด จะกระทํามิได้ มาตรการที่รัฐกําหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือ ส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิหรือเสรีภาพ ได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น หรือเพื่อคุ้มครองหรืออํานวยความสะดวกให้แก่เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ หรือผู้ด้อยโอกาส ย่อมไม่ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม บุคคลผู้เป็นทหาร ตํารวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ และพนักงานหรือลูกจ้างขององค์กร ของรัฐย่อมมีสิทธิและเสรีภาพเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป เว้นแต่ที่จํากัดไว้ในกฎหมายเฉพาะในส่วนที่ เกี่ยวกับการเมือง สมรรถภาพ วินัย หรือจริยธรรม มาตรา ๒๘ บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การจับและการคุมขังบุคคลจะกระทํามิได้ เว้นแต่มีคําสั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่น ตามที่กฎหมายบัญญัติ การค้นตัวบุคคลหรือการกระทําใดอันกระทบกระเทือนต่อสิทธิหรือเสรีภาพในชีวิตหรือร่างกาย จะกระทํามิได้ เว้นแต่มีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติ หน้า ๙ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ เมษายน ๒๕๖๐ การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมจะกระทํามิได้ มาตรา ๒๙ บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่ได้กระทําการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลา ที่กระทํานั้นบัญญัติเป็นความผิดและกําหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษที่บัญญัติไว้ใน กฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทําความผิดมิได้ ในคดีอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจําเลยไม่มีความผิด และก่อนมีคําพิพากษา อันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทําความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทําความผิดมิได้ การควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจําเลยให้กระทําได้เพียงเท่าที่จําเป็น เพื่อป้องกันมิให้มีการหลบหนี ในคดีอาญา จะบังคับให้บุคคลให้การเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเองมิได้ คําขอประกันผู้ต้องหาหรือจําเลยในคดีอาญาต้องได้รับการพิจารณาและจะเรียกหลักประกัน จนเกินควรแก่กรณีมิได้ การไม่ให้ประกันต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ มาตรา ๓๐ การเกณฑ์ แ รงงานจะกระทํ า มิ ไ ด้ เว้ น แต่ โ ดยอาศั ย อํ า นาจตามบทบั ญ ญั ติ แห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อป้องกันภัยพิบัติสาธารณะ หรือในขณะที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือประกาศใช้กฎอัยการศึก หรือในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือการรบ มาตรา ๓๑ บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนาและย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติ หรื อ ประกอบพิ ธี ก รรมตามหลั ก ศาสนาของตน แต่ ต้ อ งไม่ เ ป็ น ปฏิ ปั ก ษ์ ต่ อ หน้ า ที่ ข องปวงชนชาวไทย ไม่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน มาตรา ๓๒ บุคคลย่อมมีสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และครอบครัว การกระทําอันเป็นการละเมิดหรือกระทบต่อสิทธิของบุคคลตามวรรคหนึ่ง หรือการนําข้อมูล ส่วนบุคคลไปใช้ประโยชน์ไม่ว่าในทางใด ๆ จะกระทํามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ที่ตราขึ้นเพียงเท่าที่จําเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ มาตรา ๓๓ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในเคหสถาน การเข้าไปในเคหสถานโดยปราศจากความยินยอมของผู้ครอบครอง หรือ การค้ นเคหสถาน หรือที่รโหฐานจะกระทํามิได้ เว้นแต่มีคําสั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ มาตรา ๓๔ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น การจํากัดเสรีภาพดังกล่าวจะกระทํามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอํานาจ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของ บุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันสุขภาพของ ประชาชน เสรีภาพทางวิชาการย่อมได้รับความคุ้มครอง แต่การใช้เสรีภาพนั้นต้องไม่ขัดต่อหน้าที่ของ ปวงชนชาวไทยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และต้องเคารพและไม่ปิดกั้นความเห็นต่างของบุคคลอื่น มาตรา ๓๕ บุ ค คลซึ่ ง ประกอบวิ ช าชี พ สื่ อ มวลชนย่ อ มมี เ สรี ภ าพในการเสนอข่ า วสาร หรือการแสดงความคิดเห็นตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ หน้า ๑๐ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ เมษายน ๒๕๖๐ การสั่งปิดกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นเพื่อลิดรอนเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง จะกระทํามิได้ การให้นําข่าวสารหรือข้อความใด ๆ ที่ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนจัดทําขึ้นไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจ ก่อนนําไปโฆษณาในหนังสือพิมพ์หรือสื่อใด ๆ จะกระทํามิได้ เว้นแต่จะกระทําในระหว่างเวลาที่ประเทศ อยู่ในภาวะสงคราม เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย การให้ เ งิ น หรื อ ทรั พ ย์ สิ น อื่ น เพื่ อ อุ ด หนุ น กิ จ การหนั ง สื อ พิ ม พ์ ห รื อ สื่ อ มวลชนอื่ น ของเอกชน รัฐจะกระทํามิได้ หน่วยงานของรัฐที่ใช้จ่ายเงินหรือทรัพย์สินให้สื่อมวลชนไม่ว่าเพื่อประโยชน์ในการโฆษณา หรื อ ประชาสั ม พั น ธ์ หรื อ เพื่ อ การอื่ น ใดในทํ า นองเดี ย วกั น ต้ อ งเปิ ด เผยรายละเอี ย ดให้ ค ณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดินทราบตามระยะเวลาที่กําหนดและประกาศให้ประชาชนทราบด้วย เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชนย่อมมีเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง แต่ให้คํานึงถึงวัตถุประสงค์ และภารกิจของหน่วยงานที่ตนสังกัดอยู่ด้วย มาตรา ๓๖ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการติดต่อสื่อสารถึงกันไม่ว่าในทางใด ๆ การตรวจ การกัก หรือการเปิดเผยข้อมูลที่บุคคลสื่อสารถึงกัน รวมทั้งการกระทําด้วยประการใด ๆ เพื่อให้ล่วงรู้หรือได้มาซึ่งข้อมูลที่บุคคลสื่อสารถึงกันจะกระทํามิได้ เว้นแต่มีคําสั่งหรือหมายของศาล หรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ มาตรา ๓๗ บุคคลย่อมมีสิทธิในทรัพย์สินและการสืบมรดก ขอบเขตแห่งสิทธิและการจํากัดสิทธิเช่นว่านี้ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทํามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ที่ ต ราขึ้ น เพื่ อ การอั น เป็ น สาธารณู ป โภค การป้ อ งกั น ประเทศ หรื อ การได้ ม าซึ่ ง ทรั พ ยากรธรรมชาติ หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น และต้องชดใช้ค่าทดแทนที่เป็นธรรม ภายในเวลาอันควรแก่เจ้าของ ตลอดจนผู้ ท รงสิ ท ธิ บ รรดาที่ ไ ด้ รั บ ความเสี ย หายจากการเวนคื น โดยคํ า นึ ง ถึ ง ประโยชน์ ส าธารณะ ผลกระทบต่อผู้ถูกเวนคืน รวมทั้งประโยชน์ที่ผู้ถูกเวนคืนอาจได้รับจากการเวนคืนนั้น การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ให้กระทําเพียงเท่าที่จําเป็นต้องใช้เพื่อการที่บัญญัติไว้ในวรรคสาม เว้นแต่เป็นการเวนคืนเพื่อนําอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนไปชดเชยให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ที่ถูกเวนคืนตามที่กฎหมายบัญญัติ กฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ต้องระบุวัตถุประสงค์แห่งการเวนคืนและกําหนดระยะเวลา การเข้ า ใช้ อ สั ง หาริ ม ทรั พ ย์ ใ ห้ ชั ด แจ้ ง ถ้ า มิ ไ ด้ ใ ช้ ป ระโยชน์ เ พื่ อ การนั้ น ภายในระยะเวลาที่ กํ า หนด หรือมีอสังหาริมทรัพย์เหลือจากการใช้ประโยชน์ และเจ้าของเดิมหรือทายาทประสงค์จะได้คืน ให้คืนแก่ เจ้าของเดิมหรือทายาท หน้า ๑๑ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ เมษายน ๒๕๖๐ ระยะเวลาการขอคืนและการคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนที่มิได้ใช้ประโยชน์ หรือที่เหลือจาก การใช้ประโยชน์ให้แก่เจ้าของเดิมหรือทายาท และการเรียกคืนค่าทดแทนที่ชดใช้ไป ให้เป็นไปตามที่ กฎหมายบัญญัติ การตรากฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์โดยระบุเจาะจงอสังหาริมทรัพย์หรือเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ที่ถูกเวนคืนตามความจําเป็น มิให้ถือว่าเป็นการขัดต่อมาตรา ๒๖ วรรคสอง มาตรา ๓๘ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการเดินทางและการเลือกถิ่นที่อยู่ การจํากัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทํามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ที่ตราขึ้ นเพื่อ ความมั่นคงของรั ฐ ความสงบเรียบร้อยหรือ สวัสดิภาพของประชาชน หรือ การผั งเมือ ง หรือเพื่อรักษาสถานภาพของครอบครัว หรือเพื่อสวัสดิภาพของผู้เยาว์ มาตรา ๓๙ การเนรเทศบุคคลสัญชาติไทยออกนอกราชอาณาจักร หรือห้ามมิให้ผู้มีสัญชาติไทย เข้ามาในราชอาณาจักร จะกระทํามิได้ การถอนสัญชาติของบุคคลซึ่งมีสัญชาติไทยโดยการเกิด จะกระทํามิได้ มาตรา ๔๐ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบอาชีพ การจํากัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทํามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ที่ ต ราขึ้ น เพื่ อ รั ก ษาความมั่ น คงหรื อ เศรษฐกิ จ ของประเทศ การแข่ ง ขั น อย่ า งเป็ น ธรรม การป้ อ งกั น หรือขจัดการกีดกันหรือการผูกขาด การคุ้มครองผู้บริโภค การจัดระเบียบการประกอบอาชีพเพียงเท่าที่จําเป็น หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น การตรากฎหมายเพื่อจัดระเบียบการประกอบอาชีพตามวรรคสอง ต้องไม่มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติ หรือก้าวก่ายการจัดการศึกษาของสถาบันการศึกษา มาตรา ๔๑ บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิ (๑) ได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยงานของรัฐ ตามที่กฎหมายบัญญัติ (๒) เสนอเรื่องราวร้องทุกข์ต่อหน่วยงานของรัฐและได้รับแจ้งผลการพิจารณาโดยรวดเร็ว (๓) ฟ้องหน่วยงานของรัฐให้รับผิดเนื่องจากการกระทําหรือการละเว้นการกระทําของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ มาตรา ๔๒ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหกรณ์ สหภาพ องค์กร ชุมชน หรือหมู่คณะอื่น การจํากัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทํามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ที่ตราขึ้นเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อการป้องกันหรือขจัดการกีดกันหรือการผูกขาด หน้า ๑๒ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ เมษายน ๒๕๖๐ มาตรา ๔๓ บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิ (๑) อนุรักษ์ ฟื้นฟู หรือส่งเสริมภูมิปัญญา ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม และจารีตประเพณี อันดีงามทั้งของท้องถิ่นและของชาติ (๒) จัดการ บํารุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลาย ทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืนตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ (๓) เข้าชื่อกันเพื่อเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐให้ดําเนินการใดอันจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน หรือชุมชน หรืองดเว้นการดําเนินการใดอันจะกระทบต่อความเป็นอยู่อย่างสงบสุขของประชาชนหรือชุมชน และได้รับแจ้งผลการพิจารณาโดยรวดเร็ว ทั้งนี้ หน่วยงานของรัฐต้องพิจารณาข้อเสนอแนะนั้นโดยให้ ประชาชนที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการพิจารณาด้วยตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ (๔) จัดให้มีระบบสวัสดิการของชุมชน สิทธิของบุคคลและชุมชนตามวรรคหนึ่ง หมายความรวมถึงสิทธิที่จะร่วมกับองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นหรือรัฐในการดําเนินการดังกล่าวด้วย มาตรา ๔๔ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ การจํากัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทํามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ที่ตราขึ้นเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยสาธารณะ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ของประชาชน หรือเพื่อคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น มาตรา ๔๕ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งพรรคการเมืองตามวิถีทางการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามที่กฎหมายบัญญัติ กฎหมายตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการบริหารพรรคการเมือง ซึ่งต้องกําหนด ให้เป็นไปโดยเปิดเผยและตรวจสอบได้ เปิดโอกาสให้สมาชิกมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางในการกําหนดนโยบาย และการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง และกําหนดมาตรการให้สามารถดําเนินการโดยอิสระไม่ถูกครอบงําหรือชี้นํา โดยบุคคลซึ่งมิได้เป็นสมาชิกของพรรคการเมืองนั้น รวมทั้งมาตรการกํากับดูแลมิให้สมาชิกของพรรคการเมือง กระทําการอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง มาตรา ๔๖ สิทธิของผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครอง บุคคลย่อมมีสิทธิรวมกันจัดตั้งองค์กรของผู้บริโภคเพื่อคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค องค์กรของผู้บริโภคตามวรรคสองมีสิทธิรวมกันจัดตั้งเป็นองค์กรที่มีความเป็นอิสระเพื่อให้เกิดพลัง ในการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคโดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และวิธีการจัดตั้ง อํานาจในการเป็นตัวแทนของผู้บริโภค และการสนับสนุนด้านการเงินจากรัฐ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ มาตรา ๔๗ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐ บุคคลผู้ยากไร้ย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายบัญญัติ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หน้า ๑๓ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ เมษายน ๒๕๖๐ มาตรา ๔๘ สิทธิของมารดาในช่วงระหว่างก่อนและหลังการคลอดบุตรย่อมได้รับความคุ้มครอง และช่วยเหลือตามที่กฎหมายบัญญัติ บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ และบุคคลผู้ยากไร้ย่อมมีสิทธิ ได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ มาตรา ๔๙ บุคคลจะใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมิได้ ผู้ใดทราบว่ามีการกระทําตามวรรคหนึ่ง ย่อมมีสิทธิร้องต่ออัยการสูงสุดเพื่อร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทําดังกล่าวได้ ในกรณีที่อัยการสูงสุดมีคําสั่งไม่รับดําเนินการตามที่ร้องขอ หรือไม่ดําเนินการภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้รับคําร้องขอ ผู้ร้องขอจะยื่นคําร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญก็ได้ การดําเนินการตามมาตรานี้ไม่กระทบต่อการดําเนินคดีอาญาต่อผู้กระทําการตามวรรคหนึ่ง หมวด ๔ หน้าที่ของปวงชนชาวไทย มาตรา ๕๐ บุคคลมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (๒) ป้องกันประเทศ พิทักษ์รักษาเกียรติภูมิ ผลประโยชน์ของชาติ และสาธารณสมบัติของแผ่นดิน รวมทั้งให้ความร่วมมือในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (๓) ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด (๔) เข้ารับการศึกษาอบรมในการศึกษาภาคบังคับ (๕) รับราชการทหารตามที่กฎหมายบัญญัติ (๖) เคารพและไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น และไม่กระทําการใดที่อาจก่อให้เกิด ความแตกแยกหรือเกลียดชังในสังคม (๗) ไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือลงประชามติอย่างอิสระโดยคํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ เป็นสําคัญ (๘) ร่วมมือและสนับสนุนการอนุรักษ์และคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลาย ทางชีวภาพ รวมทั้งมรดกทางวัฒนธรรม (๙) เสียภาษีอากรตามที่กฎหมายบัญญัติ (๑๐) ไม่ร่วมมือหรือสนับสนุนการทุจริตและประพฤติมิชอบทุกรูปแบบ หน้า ๑๔ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ เมษายน ๒๕๖๐ หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ มาตรา ๕๑ การใดที่ รั ฐ ธรรมนู ญ บั ญ ญั ติ ใ ห้ เ ป็ น หน้ า ที่ ข องรั ฐ ตามหมวดนี้ ถ้ า การนั้ น เป็นการทําเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนโดยตรง ย่อมเป็นสิทธิของประชาชนและชุมชนที่จะติดตาม และเร่ งรั ด ให้ รั ฐดํ าเนิ น การ รวมตลอดทั้ งฟ้ อ งร้ อ งหน่ว ยงานของรัฐ ที่เ กี่ ย วข้ อ ง เพื่อ จั ดให้ ป ระชาชน หรือชุมชนได้รับประโยชน์นั้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ มาตรา ๕๒ รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย บูรณภาพ แห่งอาณาเขตและเขตที่ประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย เกียรติภูมิและผลประโยชน์ของชาติ ความมั่นคงของรัฐ และความสงบเรี ย บร้ อ ยของประชาชน เพื่ อ ประโยชน์ แ ห่ ง การนี้ รั ฐ ต้ อ งจั ด ให้ มี ก ารทหาร การทู ต และการข่าวกรองที่มีประสิทธิภาพ กําลังทหารให้ใช้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศด้วย มาตรา ๕๓ รัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด มาตรา ๕๔ รั ฐ ต้ อ งดํ า เนิ น การให้ เ ด็ ก ทุ ก คนได้ รั บ การศึ ก ษาเป็ น เวลาสิ บ สองปี ตั้ ง แต่ ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย รั ฐ ต้ อ งดํ า เนิ น การให้ เ ด็ ก เล็ ก ได้ รั บ การดู แ ลและพั ฒ นาก่ อ นเข้ า รั บ การศึ ก ษาตามวรรคหนึ่ ง เพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย โดยส่งเสริมและสนับสนุน ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการดําเนินการด้วย รัฐต้องดําเนินการให้ประชาชนได้รับการศึกษาตามความต้องการในระบบต่าง ๆ รวมทั้งส่งเสริม ให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต และจัดให้มีการร่วมมือกันระหว่างรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน ในการจัดการศึกษาทุกระดับ โดยรัฐมีหน้าที่ดําเนินการ กํากับ ส่งเสริม และสนับสนุนให้การจัดการศึกษา ดังกล่าวมีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติซึ่งอย่างน้อย ต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดทําแผนการศึกษาแห่งชาติ และการดําเนินการและตรวจสอบการดําเนินการ ให้เป็นไปตามแผนการศึกษาแห่งชาติด้วย การศึกษาทั้งปวงต้องมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ สามารถเชี่ยวชาญได้ ตามความถนัดของตน และมีความรับผิดชอบต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ในการดําเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาตามวรรคสอง หรือให้ประชาชนได้รับ การศึกษาตามวรรคสาม รัฐต้องดําเนินการให้ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการศึกษา ตามความถนัดของตน ให้จัดตั้งกองทุนเพื่อใช้ในการช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อลดความเหลื่อมล้ําในการศึกษา และเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู โดยให้รัฐจัดสรรงบประ?