ระบบราชการ 4.0 PDF
Document Details
Tags
Related
- Theories on the Origin of Government PDF
- 24- Questions Territorial Government PDF
- Guide : la transformation digitale des Mairies PDF
- Government Schemes (July 1st-31st 2024) PDF
- Agriculture And Food Management: Plenty Of Upside Left If We Get It Right PDF
- Modul Organisasi Digital Pelatihan Kepemimpinan Administrator PDF 2021
Summary
เอกสารนี้อธิบายถึงระบบราชการ 4.0 ในประเทศไทย โดยเน้นการบูรณาการของภาครัฐและภาคส่วนอื่นๆ เพื่อสร้างนวัตกรรมและประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ประชาชน
Full Transcript
ระบบราชการ 4.0 ยึดหลักธรรมาภิบาลเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เปิดกว้างและ เชื่อมโยงกัน สานพลัง สร้าง ทุกภาคส่วน นวัตกรรม...
ระบบราชการ 4.0 ยึดหลักธรรมาภิบาลเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เปิดกว้างและ เชื่อมโยงกัน สานพลัง สร้าง ทุกภาคส่วน นวัตกรรม ระบบราชการ ต้องเป็นที่พึ่ง ของประชาชน และเชื่อถือ ไว้วางใจได้ ยึดประชาชนเป็น มีขีดสมรรถนะสูง ศูนย์กลาง และทันสมัย ปรับสู่ ความเป็นดิจิทัล สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ระบบราชการ 4.0 เพื่อรองรับต่อยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ภาครัฐหรือระบบราชการจะต้องทํางานโดยยึดหลัก ธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน (Better Governance, Happier Citizens) หมายความว่า ระบบราชการต้องปรับเปลี่ยน แนวคิดและวิธีการทํางานใหม่เพื่อพลิกโฉม (transform) ให้สามารถเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจ และเป็นพึ่งของประชาชนได้อย่างแท้จริง (Credible and Trusted Government) ดังนี้ 1 เปิดกว้างและเชื่อมโยงกัน (Open & Connected Government) ต้องมีความเปิดเผยโปร่งใสในการทํางาน โดยบุคคลภายนอกสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ของทางราชการ หรือมีการแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกัน และสามารถเข้ามาตรวจสอบการ ทํางานได้ ตลอดจนเปิดกว้างให้กลไกหรือภาคส่วนอื่น ๆ เช่น ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ได้เข้ามามีส่วนร่วม และโอนถ่ายภารกิจที่ภาครัฐไม่ควรดําเนินการเองออกไปให้แก่ ภาคส่วนอื่น ๆ เป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการแทน โดยการจัดระเบียบความสัมพันธ์ในเชิง โครงสร้างให้สอดรับกับการทํางานแนวระนาบ ในลักษณะของเครือข่าย มากกว่าตาม สายการบังคับบัญชาในแนวดิ่ง ขณะเดียวกันก็ยังต้องเชื่อมโยงการทํางานในภาครัฐ ด้วยกันเองให้มเี อกภาพและสอดรับประสานกัน ไม่ว่าจะเป็นราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น 2 ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen-Centric Government) ต้องทํางานในเชิงรุกและมองไปข้างหน้า โดยตั้งคําถามกับตนเองเสมอว่า ประชาชนจะได้อะไร มุ่งเน้น แก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยไม่ต้องรอให้เข้ามาติดต่อขอรับบริการ หรือร้องขอความช่วยเหลือจากทางราชการ (Proactive Public Services) รวมทั้งใช้ประโยชน์จาก ข้อมูลภาครัฐ (Big Government Data) และระบบดิจิทัลสมัยใหม่ในการจัดบริการสาธารณะที่ ตรงกับความต้องการของประชาชน (Personalized หรือ Tailored Services) พร้อมทั้ง อํานวยความสะดวก โดยมีการเชื่อมโยงกันเองของทางราชการเพื่อให้บริการได้เสร็จสิ้น ในจุดเดียว ประชาชนสามารถเรียกใช้บริการของทางราชการได้ตลอดเวลา ตามความต้องการของตนและผ่านการติดต่อได้หลายช่องทางผสมผสานกัน ทั้งการติดต่อมาด้วยตนเอง เว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย หรือแอปพลิเคชั่นทางโทรศัพท์มือถือ 3 มีขด ี สมรรถนะสูงและทันสมัย (Smart & High Performance Government) ต้องทํางานอย่างเตรียมการณ์ไว้ล่วงหน้า มีการวิเคราะห์ความเสี่ยง สร้างนวัตกรรมหรือ ความคิดริเริ่มและประยุกต์องค์ความรู้ในแบบสหสาขาวิชาเข้ามาใช้ในการตอบโต้กับ โลกแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน เพื่อสร้างคุณค่า มีความยืดหยุ่นและ ความสามารถในการตอบสนองกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างทันเวลา ตลอดจนเป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง และปรับตัวเข้าสู่สภาพความเป็น สํานักงานสมัยใหม่ รวมทั้งทําให้ข้าราชการมีความผูกพันต่อการปฏิบัติราชการ และปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเหมาะสมกับบทบาทของตน ปัจจัยแห่งความสําเร็จของระบบราชการ 4.0 ความสําเร็จของการพัฒนาไปสู่ระบบราชการ 4.0 ต้องอาศัยปัจจัยสําคัญอย่างน้อย 3 ประการ ได้แก่ การสานพลังระหว่างภาครัฐและ การสร้างนวัตกรรม การปรับเข้าสู่ความเป็นดิจิทัล ภาคส่วนอื่นๆ ในสังคม (Innovation) (Digitization / Digitalization) (Collaboration) เป็นการยกระดับการทํางานให้ เป็นการคิดค้นและแสวงหาวิธีการ เป็นการผสมผสานกันของ สูงขึ้นไปกว่าการประสานงานกัน หรือ solutions ใหม่ ๆ ทําให้เกิด การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล (coordination) หรือทํางาน big impact เพื่อปรับปรุงและ ผ่านระบบคลาวด์ (cloud ด้วยกัน (cooperation) ไปสู่ ออกแบบการให้บริการสาธารณะ computing) อุปกรณ์ประเภท การร่วมมือกัน (collaboration) และนโยบายสาธารณะให้สามารถ สมาร์ทโฟน และ เครื่องมือเพื่อการ อย่างแท้จริง โดยจัดระบบให้มีการ ตอบโจทย์ความท้าทายของ ใช้งานร่วมกัน (collaboration วางแผนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ประเทศ หรือตอบสนองปัญหา tool) ทําให้สามารถติดต่อกันได้ และเป้าหมายที่ต้องการร่วมกัน ความต้องการของประชาชน อย่างเรียลไทม์ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด และ มีการระดมและนําเอาทรัพยากร ได้อย่างมีคุณภาพ อันแปรผัน สามารถวิเคราะห์ข้อมูล ทุกชนิดเข้ามาแบ่งปันและ ไปตามสภาพพลวัตของ อันสลับซับซ้อนต่าง ๆ ได้ และ ใช้ประโยชน์ร่วมกัน มีการยอมรับ การเปลี่ยนแปลง โดยอาศัยรูปแบบ ช่วยให้บริการของทางราชการ ความเสี่ยงและรับผิดชอบต่อ ห้องปฏิบัติการ (GovLab/Public สามารถตอบสนองความคาดหวัง ผลสําเร็จที่เกิดขึ้นร่วมกันเพื่อ Sector Innovation Lab) และใช้ ของประชาชนที่ต้องการให้ พัฒนาประเทศหรือแก้ปัญหา กระบวนการความคิดเชิงออกแบบ ดําเนินการได้ในทุกเวลา ทุกสถานที่ ความต้องการของประชาชนที่มี (Design Thinking) ในลักษณะที่ ทุกอุปกรณ์และช่องทาง ความสลับซับซ้อนมากขึ้น จนไม่มี ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อ ได้อย่างมั่นคง ปลอดภัย และ ภาคส่วนใดในสังคมจะสามารถ สร้างความเข้าใจและเข้าถึง ประหยัด ดําเนินการได้ลุล่วงด้วยตนเอง ความรู้สึกนึกคิด (Empathize) โดยลําพังอีกต่อไป หรือเป็นการ ก่อนจะสร้างจินตนาการ (Ideate) บริหารกิจการบ้านเมืองในรูปแบบ พัฒนาต้นแบบ (Prototype) “ประชารัฐ” ทําการทดสอบ ปฏิบัติจริงและ ขยายผลต่อไป ในส่วนของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ต้องได้รับการปรับเปลี่ยนกระบวนการ ทางความคิด (mindset) ให้ตนเองมีความเป็นผู้ประกอบการสาธารณะ (Public Entrepreneurship) เพิ่มทักษะให้มีสมรรถนะที่จําเป็น และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ของตน อันจะช่วยทําให้สามารถแสดงบทบาทของการเป็นผู้นําการเปลี่ยนแปลง (change leader) เพื่อสร้างคุณค่า (public value) และประโยชน์สข ุ ให้แก่ประชาชน ตารางสรุปเปรียบเทียบระหว่างระบบราชการแบบเดิมและระบบราชการแบบใหม่ เดิม ใหม่ (ระบบราชการ 4.0) การทํางานแยกตามภารกิจของแต่ละหน่วยงาน แม้มีการทํางาน การทํางานร่วมกันแบบบูรณาการอย่างแท้จริง ในเชิงยุทธศาสตร์ ประสานงานกันระหว่างหน่วยงานแต่ยังไม่ใช่การบูรณาการ ตั้งแต่ระดับการวางนโยบายไปจนถึงการนําไปปฏิบัติ อย่างแท้จริง (Autonomy, Seperation) (Collaboration) การทํางานยังไม่อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างเต็มรูปแบบและ การทํางานมีการเชื่อมโยงผ่านระบบดิจท ิ ล ั อย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่ตน ้ ยังเป็นการทํางานตามสายการบังคับบัญชาในแนวดิ่ง จนจบกระบวนการ เชื่อมโยงทุกส่วนราชการในการบริการประชาชน (Fragmentation, Hierarchy, Silo, Vertical Approach) และมีการบังคับบัญชาในแนวนอน (End-to-end process flow, Cross-boundary management, Program/Project Management Office, Horizontal approach) ให้บริการเป็นมาตรฐานเดียวกันอย่างตายตัวตามสิทธิพื้นฐานของ ให้บริการตามความต้องการเฉพาะบุคคลซึ่งสามารถออกแบบ / บุคคลที่รัฐกําหนด (Standardization) เลือกรูปแบบ / วิธีการในการขอรับบริการได้ (Customization, Personalization) ระบบทํางานในแบบอนาล็อก (Analog) ระบบการทํางานที่ปรับเป็นดิจิทัลเต็มรูปแบบ (Digitization) การดําเนินงานเชิงรับ ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น (Passive) การดําเนินงานที่ตอบสนองทันที/ทันเวลา/เชิงรุก ทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีการคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า (Pro-Active) ยึดกฎเกณฑ์ และมุ่งเน้นแต่การปฏิบัติงานตามเป้าหมาย สร้างนวัตกรรม มีการควบคุมอย่างชาญฉลาด มุ่งผลสัมฤทธิ์ใน (Rule-based, Performance-oriented) การปฏิบัติงาน (Innovation, Smart regulation, Results- oriented) ปฏิบัติงานตามนโยบาย ขับเคลื่อนโดยภาครัฐเป็นศูนย์กลาง ปฏิบัติงานโดยเน้นให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen-centric) (Government-driven) ระบบการทํางานที่ล่าช้า มีต้นทุนสูง (Red tape, Costly) สร้างคุณค่าในการให้บริการแก่ประชาชน ทําน้อยได้มาก (Creating value for the public, Doing more and better with less) เปิดเผยข้อมูลตามที่ร้องขอเฉพาะราย / เปิดเผยข้อมูลจํากัด เปิดเผยข้อมูลเป็นปกติ (default) ในรูปแบบที่สามารถนําไปใช้ได้ (Close system, Upon Request only) ทันทีโดยไม่ต้องร้องขอ (Open system, Open access) การปฏิบัติงานตามขั้นตอนแบบเดิมๆ (Routine Work) สามารถแก้ไขปัญหาโดยไม่จําเป็นต้องใช้วิธีการทํางานรูปแบบเดิม และสามารถตอบสนองได้ทันที (Non-routine problem solving, Real time capability) ต่างหน่วยต่างทํางานกันลําพังโดยไม่มีการแบ่งปันทรัพยากร แบ่งปันทรัพยากรในการทํางานร่วมกัน เพื่อลดต้นทุน เพื่อใช้งานร่วมกัน (Stand alone) เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน (Shared Services) วางนโยบาย และปฏิบัติงานโดยใช้ความรู้สึก และคาดเดาเอาเอง ปฏิบัติงานบนพื้นฐานของข้อมูล ความต้องการของประชาชน และ (Intuition) วางนโยบายที่สามารถนําไปปฏิบัติให้เกิดผลได้จริง (Data-driven, Demand-driven, Actionable policy solutions) บริการประชาชนเฉพาะในเวลาราชการ (Office-hours only) บริการประชาชนตลอดเวลา (On-demand serivecs) มีความเชี่ยวชาญ/ชํานาญเฉพาะทาง (Expert/Specialist) มีความสามารถในการใช้ความรู้ สติปัญญา และข้อมูลสารสนเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาและสร้างคุณค่า (Knowledge worker) มีความสามารถในการเรียนรู้ (Educability) มีเหตุผลในเชิงจริยธรรม (Ethicability) ข้าราชการแบบดั้งเดิม (Public administrator) มีความเป็นผู้ประกอบการสาธารณะ (Public Entrepreneurship) สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ยึดหลักธรรมาภิบาลเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน : Better Governance, Happier Citizens www.opdc.go.th