การออกแบบผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น PDF
Document Details
อ.รัชฎาพร
Tags
Summary
เอกสารนี้กล่าวถึงแนวคิดและหลักการของการออกแบบผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงการคิดเชิงออกแบบและความสาคัญของสุนทรียศาสตร์
Full Transcript
การออกแบบผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น การออกแบบ หมายถึง การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ หรือปรับปรุงดัดแปลงสิ่งที่ มีอยู่ให้ดีขึ้น และมีรูปแบบที่เปลี่ยนไปจากเดิม การถ่ายทอดรูปแบบจาก ความคิดออกมาเป็นผลงาน ที่ผู้อื่นสามารถมองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้ ซึ่ง การออกแบบครอบคลุมถึงการออกแบบวัตถุ ระบบ หรือ ปฏิสั...
การออกแบบผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น การออกแบบ หมายถึง การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ หรือปรับปรุงดัดแปลงสิ่งที่ มีอยู่ให้ดีขึ้น และมีรูปแบบที่เปลี่ยนไปจากเดิม การถ่ายทอดรูปแบบจาก ความคิดออกมาเป็นผลงาน ที่ผู้อื่นสามารถมองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้ ซึ่ง การออกแบบครอบคลุมถึงการออกแบบวัตถุ ระบบ หรือ ปฏิสัมพันธ์ของ มนุษย์ และยังรวมไปถึง การคิดเชิงออกแบบ (design thinking) แบบที่ ออกมาอาจเป็นสิ่งที่เป็นไปได้จริง หรือแบบที่เป็นเพียงนามธรรมก็ได้ ผู้ที่ออกแบบจะเรียกว่า นักออกแบบ ซึ่งหมายถึงคนที่ทางาน วิชาชีพในสาขาการออกแบบที่แตกต่างกันไป เช่น นักออกแบบ แฟชั่น, นักออกแบบแนวความคิด หรือนักออกแบบเว็บไซต์ การออกแบบนั้นมีความจาเป็นที่ต้องพิจารณา ด้าน สุนทรียศาสตร์ ประโยชน์ใช้สอย หลักเศรษฐศาสตร์ และมุมมองสังคมการเมือง ทั้งในสิ่งที่ ออกแบบและขั้นตอนการออกแบบ การออกแบบอาจเกี่ยวข้องกับการค้นหา ข้อมูล ความคิด การทาแบบจาลอง การปรับแก้แบบแบบมีปฏิสัมพันธ์ และ การรื้อแบบใหม่ (re-design) ขณะที่ความหลายหลายของการออกแบบอาจ รวมไปถึง เสื้อผ้า ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ ตึกระฟ้า เอกลักษณ์ องค์กร การจัดการกระบวนการทางธุรกิจ หรือแม้กระทั่งกระบวนการ ออกแบบเอง สุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) เป็นสาขาหนึ่งของปรัชญาที่ว่าด้วย ธรรมชาติของความงามและรสนิยม รวมทั้งปรัชญาศิลปะ (ซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งของปรัชญาและสาขาหนึ่งของสุนทรียศาสตร์) สุนทรียศาสตร์วิเคราะห์คุณค่าทางอารมณ์และความรู้สกึ ส่วนตัว ของบุคคลหนึ่ง หรือบางครั้งอาจกล่าวได้ว่าปรัชญาสาขานี้เป็นการ ตัดสินความรู้สึกและรสนิยม การแบ่งประเภทของงานออกแบบ งานออกแบบเป็นสื่อกลาง ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ และมนุษย์ กับวัตถุ ดังนั้นงาน ออกแบบจึงไม่อาจทาได้เพียงเพื่อความต้องการส่วนตนแต่จะต้อง คานึงถึงความต้องการของผู้อนื่ และสภาพแวดล้อมด้วย สภาพแวดล้อม ในที่นี้ คือ สภาพวัตถุ วัฒนธรรมและพฤติกรรมของคนในสังคม ซึ่งอาจ แบ่งประเภทของงาน ออกแบบกว้างๆ ได้เป็น 3 ประเภท คือ 1. งานออกแบบเพื่อประโยชน์ใช้สอย 2. งานออกแบบเพื่อการติดต่อสื่อสาร 3. งานออกแบบเพื่อคุณค่าทางความงาม นักออกแบบ (Designer) คือ บุคคลผู้ซึ่งมีความสามารถพิเศษในทาง ความคิดสร้างสรรค์และสามารถในการคิดแก้ปัญหาให้สอดคล้องกลมกลืน เข้ากับความเจริญทางเทคโนโลยี นักกออกแบบไม่จาเป็นต้องมีความเก่งกาจในการวาดเขียน แต่นัก ออกแบบที่ดีพร้อมควรจะมีความสามารถในการเขียนและวาดรูปอีกทัง้ ควรมีความรู้ความเข้าใจในด้านศิลปะ (Arts) อันเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อ อารมณ์และจิตใจของมนุษย์ด้วยเทคโนโลยีได้ด้วย นักกออกแบบอาจเป็นวิศวกร นักประดิษฐ์ หรือบุคคลในอาชีพใด ๆ ที่ มีความคิดสร้างสรรค์ หรือมีพรสวรรค์พิเศษสามารถคิดแก้ปัญหาเพื่อ สรรสร้างสิ่งใหม่ ๆ ที่ให้คุณค่าและคุณประโยชน์ต่อมนุษย์ขึ้นมาใหม่ได้ ถึงแม้เขาผู้นั้นจะไม่มีพื้นฐานความรู้ทางวิศวกรรมหรือศิลปกรรมเลยก็ ตาม แต่ถ้าสิ่งที่เขาค้นคิดขึ้นมาในรูปแบบของสิ่งประดิษฐ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ที่สามารถอานวยประโยชน์สุขแก่มวลมนุษย์ให้ดีขึ้น สะดวกสบายขึ้นไปกว่าเดิมได้แล้ว ก็ถือได้ว่าเขาผู้นั้นคือนักออกแบบ ตัวอย่างนักออกแบบคนสาคัญของโลก เช่น โทมัส เอ เอดิสัน (Thomas A. Edison) ผู้ซึ่งมีภูมิหลังเป็นผู้ที่มีการศึกษาน้อย ไม่มีความรู้ทาง วิศวกรรมศาสตร์ หรือศิลปกรรมศาสตร์ แต่มีความสามารถในความนึกคิด สร้างสรรค์ที่สูงมาก มีความสามารถในการคิดแก้ไขปัญหาและสรรสร้างและ พัฒนาสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาได้จากสิ่งที่ใคร ๆ คิดว่าเป็นไปไม่ได้ ผลงานของเอดิสัน ยังคงปรากฏจรรโลงโลกและให้ความสะดวกสบายเป็นเครื่องมือรับใช้ของ มนุษย์ชาติมาจนตราบเท่าทุกวันนี้ นักออกแบบจะต้องมีความสามารถในการตีปัญหาให้ได้มาซึ่ง ความต้องการขั้นพื้นฐานและต้องรู้จักการพัฒนาความคิดให้ก้าว ไกลออกไป รู้จักการวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐาน ของความเป็นจริงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนการ ยอมรับในข้อผูกพันทางด้านการตลาด ด้านสังคม ขนบธรรมเนียมประเพณีและความนิยม นักออกแบบศิลปะอุตสาหกรรมจะต้องเข้าใจเกี่ยวโยงลึกซึ้งในงานออกแบบของตนเอง เช่น - กรรมวิธีในการผลิต (โดยระบบโรงงานอุตสาหกรรม) - เข้าถึงเรื่องมนุษย์วิทยา (Human factor) - ความง่าย (Simplicity) - ความสามารถในการทางาน (Workabitity) - ศิลปะความงดงามที่จะสอดแทรกเข้าไปในงานออกแบบของตนด้วย - มีความสามารถนาเอาศิลปวิทยาการ เทคโนโลยี ความนิยม ธรรมชาติที่เป็นจริงของ มนุษย์และความเป็นไปได้ในการผลิตทางอุตสาหกรรม เหล่านี้มาผนวกเข้าด้วยกันเพื่อใช้ ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) ให้ได้ความสมบูรณ์ที่สุด ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ (Product) หมายถึง สิ่งใด ๆ ที่เสนอแก่ตลาดเพื่อดึงดูดความสนใจ และการได้มาซึ่งเป็นเจ้าของ การใช้หรือการบริโภค เพื่อสนองความต้องการหรือ ความจาเป็นให้เกิดความพึงพอใจ ผลิตภัณฑ์ประกอบด้วยสิ่งที่มีตัวตน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ปากกา และสิ่งที่ไม่มีตัวตนเช่น บริการตัดผม คอนเสิร์ต ผลิตภัณฑ์ยัง รวมถึงบุคคล เช่น ดารา นักร้อง องค์การและสถานที่ เช่น มหาวิทยาลัย สภากาชาด ตลอดทั้งความคิด เช่น การวางแผนครอบครัว การรณรงค์งดสูบบุหรี่ เป็นต้น ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญา ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Wisdom หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะความเชื่อ และศักยภาพในการแก้ปัญหาของมนุษย์ ที่สืบทอดกันมาจากอดีตถึงปัจจุบันอย่างไม่ขาดสายและเชื่อมโยงกันทั้ง ระบบทุกด้าน ภูมิปัญญา ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Wisdom หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะความเชื่อ และศักยภาพในการแก้ปัญหาของมนุษย์ที่สืบ ทอดกันมาจากอดีตถึงปัจจุบันอย่างไม่ขาดสายและเชื่อมโยงกันทั้ง ระบบทุก ด้าน ภูมิปัญญาไทย หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะและเทคนิคการตัดสินใจ ผลิตผลงานของบุคคล อันเกิดจากการสะสมองค์-ความรู้ทุกด้านที่ผ่าน กระบวนการสืบทอด พัฒนาปรับปรุง และเลือกสรรมาแล้วเป็น อย่างดีสามารถ แก้ไขปัญหา และพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ ชาวบ้านคิดขึ้นได้เองและนามาใช้ ในการแก้ปัญหา เป็นเทคนิควิธี เป็นองค์ ความรู้ของชาวบ้าน ทั้งทางกว้างและทางลึกที่ชาวบ้านคิดเอง ทาเอง โดย อาศัยศักยภาพที่มีอยู่แก้ปัญหาการดาเนินชีวิตในท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสมกับ ยุคสมัยความเหมือนกันของภูมิ ปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ เป็นองค์ ความรู้ และเทคนิคที่นามาใช้ในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ ซึ่ง ได้สืบทอด และเชื่อมโยงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ภูมิปัญญาไทย เป็นองค์ความรู้และ ความสามารถโดยส่วนรวม เป็นที่ ยอมรับในระดับชาติ ส่วนภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นองค์ความรู้และ ความสามารถ ในระดับท้องถิ่นซึ่งมีขอบเขตจากัดในแต่ละท้องถิ่น เช่น ภาษาไทยเป็นภูมิปัญญาไทย ในขณะที่ภาษาอีสานเป็น ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น ผู้ทรงภูมิปัญญาไทย หมายถึง บุคคลผู้เป็นเจ้าของภูมิปัญญา หรือเป็นผู้นาภูมิ ปัญญาต่างๆมาใช้ ประโยชน์จนประสบความสาเร็จ มีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับ และได้รับการยกย่องในฐานะเป็นผู้เชี่ยวชาญ สามารถเผยแพร่และถ่ายทอด เชื่อมโยงคุณค่าของภูมิปัญญาในแต่ละด้านนั้นๆ ให้แพร่หลายไปอย่างกว้างขวาง ปราชญ์ชาวบ้าน หมายถึง บุคคลผู้เป็นเจ้าของภูมิปัญญาชาวบ้าน และนาภูมิ ปัญญามาใช้ประโยชน์ใน การดารงชีวิตจนประสบผลสาเร็จสามารถถ่ายทอด เชื่อมโยงคุณค่าของอดีตกับปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม ความเหมือนกันระหว่างผู้ทรงภูมิปัญญาไทยกับปราชญ์ชาวบ้าน คือ บทบาท และภารกิจในการนาภูมิ ปัญญาไปใช้แก้ปัญหา และการถ่ายทอดเพื่อให้เกิด ความเชื่อมโยงจากอดีตถึงปัจจุบัน ส่วนความแตกต่างกันนั้น ขึ้นอยู่กับระดับ ภูมิปัญญาที่จะนาไปแก้ปัญหาและถ่ายทอด คือ ผู้ทรงภูมิปัญญาไทยย่อมมี ความสามารถหรือ ภารกิจในการนาภูมิปัญญาระดับชาติไปแก้ปัญหา หรือ ถ่ายทอด หรือผลิตผลงานใหม่ๆ ที่มีคุณค่าต่อประเทศชาติ โดยส่วนรวม ส่วน ปราชญ์ชาวบ้านมีความสามารถหรือภารกิจในการนาภูมิปัญญาชาวบ้าน หรือภูมิ ปัญญา ท้องถิ่นไปแก้ปัญหาหรือถ่ายทอดในท้องถิ่น ความสาคัญของภูมิปัญญา ได้แบ่งความสาคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ 4 ประการ คือ ความรู้และระบบความรู้ภูมิปัญญาไม่ใช่สิ่งที่เกิดแวบขึ้นมาในหัว แต่เป็นระบบความรู้ที่ชาวบ้าน มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ เป็นระบบ ความรู้ที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ฉะนั้นในการศึกษาเข้าไปดูว่า ชาวบ้าน “รู้ อะไร” อย่างเดียวไม่พอต้องศึกษาด้วยว่าเขาเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นอย่างไร การสั่งสมและการกระจายความรู้ภูมิปัญญาเกิดจากการสั่งสม และ กระจาย ความรู้ ความรู้นั้น ไม่ได้ลอยอยู่เฉย ๆ แต่ถูกนามาบริการ คนอื่น เช่น หมอพื้นบ้าน ชุมชน สั่งสมความรู้ทางการแพทย์ไว้ในตัว คน ๆ หนึ่ง โดยมีกระบวนการที่ทาให้เขาสั่งสมความรู้ เราควรศึกษา ด้วยว่ากระบวนการนี้เป็นอย่างไร หมอคนหนึ่ง สามารถสร้างหมอ คนอื่นต่อมาได้อย่างไร การถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้านไม่ได้มีสถาบันถ่ายทอดความรู้แต่มี กระบวนการถ่ายทอดที่ ซับซ้อน ถ้าเราต้องการเข้าใจภูมิปัญญาท้องถิ่น เราต้องเข้าใจกระบวนการถ่ายทอดความรู้จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คน อีกรุ่น หนึ่งด้วย การสร้างสรรค์และปรับปรุง ระบบความรู้ของชาวบ้านไม่ได้หยุดนิ่งอยู่กับ ที่แต่ถูกปรับเปลี่ยนตลอดมา โดยอาศัยประสบการณ์ของชาวบ้านเอง เรา ยังขาดการศึกษาว่าชาวบ้านปรับเปลี่ยนความรู้ และระบบ ความรู้เพื่อ เผชิญกับความเปลี่ยนแปลงอย่างไร ประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่น/ปราชญ์ชาวบ้าน อาจแบ่งประเภทกลุ่ม ของภูมิปัญญาท้องถิ่น/ปราชญ์ชาวบ้านในด้านต่าง ๆ ดังนี้ - ด้านการเกษตรกรรม คือ ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์เรื่อง การเพาะปลูก การขยาย พันธ์ การเลี้ยงสัตว์ การเกษตรผสมผสาน การ ทาไร่นาสวนผสม การปรับใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการเกษตร เป็นต้น - ด้านการแปรรูปผลผลิตด้านการเกษตร - ด้านอาหาร - ด้านหัตกรรม คือ ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ มีผลงานในสิ่งที่ทาด้วย มือ เช่น การจักสาน ทอ การ ช่าง การทอผ้า การแกะสลัก เป็นต้น - ด้านดนตรี นาฏศิลป์และการละเล่นพื้นบ้าน ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ด้านการ เล่นดนตรี การขับร้อง การฟ้อนรา การคิด วิธีการเล่นพื้นบ้าน หมอลา การเล่นหนัง ลิเก เพลง เป็นต้น - ด้านจิตรกรรม คือ การวาดภาพฝาผนัง การเขียนภาพลงบนผ้า การสักลาย ฯลฯ - ด้านจิประติมากรรม คือ ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์และฝีมือใน การปั้น แกะสลัก การหล่อ เช่น หล่อพระพุทธรูป ปั้นโอ่ง สลักลวดลาย ประดับ ต้นเทียน สิ่งก่อสร้าง ฯลฯ - ด้านสถาปัตยกรรม คือ ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์เรื่องการ ก่อสร้างอาคารบ้านเรือน โบสถ์ ศาลพระภูมิ ฯลฯ - ด้านการสาธารณสุข คือ ผู้มีความรู้ ความสามารถมีประสบการณ์ ด้านการใช้ยาสมุนไพร การรักษา โรคแผนโบราณ การรักษาสุขภาพ อนามัยร่างกาย การสืบสานตาราสมุนไพร หมอนวดแผนโบราณ เป็นต้น - ด้านส่งเสริมการท่องเที่ยว เช่น ผู้มีความรู้ความเข้าใจในประวัติ ของโบราณสถาน สถานที่ท่องเทีย่ ว ในท้องถิ่น มีความรู้ด้าน ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม เป็นต้น - ด้านภาษาและวรรณกรรม ผู้มีความรู้ ความสามารถ มี ประสบการณ์ในการแต่งวรรณกรรมพื้นบ้าน การคิดประดิษฐ์อักษร ภาษาถิ่น การสืบสารอักษรโบราณ วรรณกรรมท้องถิน่ ฯลฯ - ด้านอื่น ๆ ที่มีความสาคัญของท้องถิ่น ภูมิปัญญาด้านอื่น ๆ นอกเหนือจากที่ กล่าวมาแล้ว ได้ภูมิปัญญาหรือผู้ที่มีความรู้ ความสามรถ ประสบการณ์ใน ด้านต่อไปนี้ - 1) ด้านพิธีกรรมต่าง ๆ ได้แก่ ผู้มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์มี ผลงานเกี่ยวกับการ ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น หมอสูตรขวัญ การกวน ข้าวทิพย์ - 2) ด้านโหราศาสตร์ ได้แก่ ผู้มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์มีผลงาน ด้านโหราศาสตร์ หรือหมอดู ฯลฯ - 3) ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี ได้แก่ ผู้มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์มีผลงาน ในการปฏิบัติตามขนบประเพณีของท้องถิ่นนั้น ๆ การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) การออกแบบผลิตภัณฑ์ หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะ ภายนอกของผลิตภัณฑ์ ที่แตกต่างไปจากเดิม เช่น การออกแบบแก้วน้าให้มี รูปร่างเหมือนรองเท้า เป็นต้น ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อ อุตสาหกรรมหรือหัตถกรรม คือเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ ยังไม่มีใช้ แพร่หลายในประเทศหรือยังไม่ได้เปิดเผยสาระสาคัญหรือรายละเอียดใน เอกสาร หรือสิ่งพิมพ์ก่อนวันขอรับสิทธิบัตร หรือไม่คล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ที่มี อยู่แล้ว การออกแบบผลิตภัณฑ์ หมายถึง การกาหนดรายละเอียดเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์ในแง่ที่ว่าจะผลิต ผลิตภัณฑ์อะไร มีรูปแบบอย่างไร มี คุณลักษณะอย่างไร ทั้งนี้เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ซึ่งตอบสนองความ ต้องการของผู้บริโภค การวางแผนผลิตภัณฑ์มีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับหน้าที่การตลาด อย่างใกล้ชิด การออกแบบผลิตภัณฑ์มีความสาคัญต่อองค์การธุรกิจ เพราะผลิตภัณฑ์เป็นสิ่งที่ธุรกิจนาออกจาหน่ายในท้องตลาด กิจกรรมธุรกิจจะอยู่รอดและเจริญเติบโตได้ขึ้นอยู่กับการ วางแผนผลิตภัณฑ์ให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ประสิทธิภาพ หมายถึง efficiency) หมายถึง กระบวนการ วิธีการ หรือการกระทา ใด ๆ ที่นาไปสู่ผลสาเร็จ โดยใช้ทรัพยากรต่าง ๆ อัน ได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติ แรงงาน เงินทุน และวิธีการดาเนินการหรือประกอบการ ที่ มีคุณภาพสูงสุดในการดาเนินการได้อย่างเต็มศักยภาพ ประสิทธิภาพ คือ การทางานอย่างประหยัดต้นทุน ให้เสร็จทันเวลา ภายในคุณภาพที่ กาหนดไว้ ซึ่งหมายถึง ความสามารถในการทางานให้เกิดผล หรือบรรลุเป้าหมายได้ แบบประหยัดต้นทุน เสร็จทันเวลา ภายในคุณภาพที่ระบุไว้ โดยปัจจัยของ ประสิทธิภาพจะมีอยู่ 3 อย่าง ได้แก่ ค่าใช้จ่าย, เวลา และคุณภาพ ประสิทธิผล คือ การทางานให้บรรลุเป้าหมาย ในคุณภาพและปริมาณที่ต้องการ ซึ่งหมายถึง ผลสาเร็จ หรือการทางานให้บรรลุเป้าหมาย ในเชิงคุณภาพ เชิง ปริมาณ หรือทาตามเป้าหมายที่กาหนดไว้ เป้าหมายที่ใช้วัดประสิทธิผลก็มีอยู่ 2 อย่าง ได้แก่ เป้าหมายเชิงปริมาณ และ เป้าหมายเชิงคุณภาพ ข้อแตกต่างระหว่าง ประสิทธิภาพ คือ การทาให้ถูกวิธี ส่วน ประสิทธิผล คือ การทาให้ผลงานออกมาดี เครื่องมือใช้วัดประสิทธิภาพประสิทธิผล ได้แก่ ข้อมูลผู้ใช้งานและเครื่องมือ ออนไลน์ต่าง ๆ แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ลูกค้าและผู้ใช้งาน การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้ต้องประกอบด้วยลักษณะ 2 ประการ คือ 1. ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ 2. ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรมหรือหัตถกรรม การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ใหม่ พ.ร.บ.สิทธิบัตร ไม่ได้ให้คานิยามไว้โดยตรงว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่คือ อะไร หรือมีลักษณะอย่างไร เพียงแต่ระบุถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ไม่ถือว่า เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ไว้ 4 ประเภทดังนี้ 1. แบบผลิตภัณฑ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้ว คือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มี การผลิตผลิตภัณฑ์ หรือ มีการใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์อย่างแพร่หลายอยู่แล้ว ในประเทศก่อนวันขอรับสิทธิบัตร ตัวอย่างเช่น ผู้ออกแบบได้นาผลิตภัณฑ์นั้น ไปผลิตผลิตภัณฑ์และวางขายจาหน่ายก่อนที่จะยื่นขอรับสิทธิบัตร ก็ถือว่าไม่ใช่ การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้ 2. แบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสาคัญ หรือรายละเอียดใน เอกสาร หรือ สิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักร ก่อนวันขอรับสิทธิบัตร ถือว่าไม่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ทั้งนี้ไม่ รวมถึงการเปิดเผยต่อสาธารณชนโดยวิธีในลักษณะอื่น เช่น การนาแบบ ผลิตภัณฑ์ออกแสดงในนิทรรศการ หรือการประชุมการวิชาการ เป็นต้น 3. แบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการประกาศโฆษณามาก่อนวันขอรับสิทธิบัตร คือ การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการยื่นขอรับสิทธิบัตรในประเทศไทย และได้มี การพิมพ์ประกาศโฆษณาแล้วกฎหมายถือว่าไม่ใช่การออกแบบผลิตภัณฑ์ ใหม่ 4. แบบผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ประเภทที่ (1)-(3) มากจนเห็น ได้ว่าเป็นการเลียนแบบ คือแบบผลิตภัณฑ์ที่แม้จะไม่เหมือนกับแบบ ผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้วทุกกประการ แต่มีสาระสาคัญเหมือนหรือคล้ายกัน มากให้ถือว่าไม่ใช่การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่หลักเกณฑ์นี้คล้ายกับ หลักเกณฑ์ในเรื่องขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้นซึ่งเป็นลักษณะหนึ่งของการ ประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้ เหตุผลในการออกแบบผลิตภัณฑ์ 1. เพื่อการแข่งขัน ทาให้กิจการต้องเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสูต่ ลาด 2. เพื่อการขยายกิจการให้ใหญ่ขึ้นและเพิ่มกาไรให้มากขึ้น 3. ในยามที่กิจการประสบภาวะตกต่า กิจการอาจจะต้องพยายามพัฒนา ผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อเป็นทางเลือกในการทีจ่ ะเผชิญกับภาวะตกต่าดังกล่าว 4. ในกรณีที่กิจการต้องการเพิ่มผลิตภัณฑ์ในการผลิต โดยการลดคนงาน ลงและต้องการให้ผลิตภัณฑ์เท่าเดิม กิจการไม่ควรใช้วิธีการดังกล่าวนี้แต่ ควรเปลี่ยนมาใช้วิธีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สามารถให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ในขณะที่ใช้คนงานจานวนเท่าเดิม แทนที่จะให้คนงานบางส่วนออกไป 5. ความพึงพอใจของลูกค้า 6. คุณภาพของผลิตภัณฑ์ สาเหตุที่การออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องทาอย่างต่อเนื่องเสมอ 1. วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Product life cycle) 2. การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม (environments change) ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ เช่น การเปลี่ยนแปลงในระดับราคา อัตราการ แลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างสกุลต่าง ๆ ภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืด - สภาพแวดล้อมทางสังคม เช่น การเปลี่ยนแปลงในรสนิยมของผู้บริโภค การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม - สภาพแวดล้อมทางการเมือง - สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มีผลต่อธุรกิจและการวางแผนผลิตภัณฑ์ของธุรกิจด้วย สาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ - การเรียกร้องจากลูกค้าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของกิจการ - อุบัติเหตุหรือความเสียหายในขณะการผลิต - ความต้องการของลูกค้าต่อผลิตภัณฑ์ของกิจการลดด้อยลง - การขอใบรับประกันระดับสูงของกิจการจากหน่วยงานต่าง ๆ - ความต้องการที่จะลดต้นทุนค่าแรงหรือต้นทุนวัตถุดิบ เป็นต้น ขั้นตอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ ขั้นตอนการออกแบบผลิตภัณฑ์มีความสัมพันธ์โดยตรงกับวงจรการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ (innovation cycle) วงจรการพัฒนาประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ 1. การวิจัยผลิตภัณฑ์และ/หรือ การวิจัยการตลาด 2. การออกแบบผลิตภัณฑ์ชั้นต้น 3. การทดลองผลิต 4. การทดสอบตลาด 5. การออกแบบขั้นสุดท้าย 6. การผลิตจานวนมาก กิจกรรมในขั้นตอนของวงจรการพัฒนาผลิตภัณฑ์มีความสัมพันธ์กัน จบ