ภูมิทัศน์วัฒนธรรม: ความหมาย, การพัฒนาทางแนวคิด และทิศทางการศึกษาวิจัย PDF

Document Details

BestKnownPolonium7439

Uploaded by BestKnownPolonium7439

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Anuwat Karnthak และ ทรงยศ วีระทวีมาศ

Tags

ภูมิทัศน์วัฒนธรรม แนวคิดทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ การศึกษา

Summary

บทความนี้อธิบายความหมายของภูมิทัศน์วัฒนธรรม, การพัฒนาทางแนวคิด และทิศทางการศึกษาวิจัยในบริบทสากลและไทย รวมถึงการวิเคราะห์สถานภาพทางวิชาการ

Full Transcript

ภูมิทัศน์วัฒนธรรม : ความหมาย พัฒนาการทางแนวคิด และทิศทางการศึกษาวิจัย Cultural Landscape : Meaning, Conceptual Development and Research Direction อนุวัฒน์ การถัก* และ ทรงยศ วีระทวีมาศ** Anuwa...

ภูมิทัศน์วัฒนธรรม : ความหมาย พัฒนาการทางแนวคิด และทิศทางการศึกษาวิจัย Cultural Landscape : Meaning, Conceptual Development and Research Direction อนุวัฒน์ การถัก* และ ทรงยศ วีระทวีมาศ** Anuwat Karnthak and Songyot Weerataweemat บทคัดย่อ บทความนี้ได้รวบรวมและอภิปรายแนวคิดทฤษฎีทางภูมิทัศน์วัฒนธรรม เพื่อชี้ให้เห็นถึงสาระส ำคัญและ การให้คำ จ ำกัดความ รวมทัง้ กระบวนการศึกษาทีผ่ า่ นมาทัง้ ในบริบทสากลและในประเทศไทย นอกจากนัน้ ได้รวบรวม สถานภาพทางวิชาการของการศึกษาวิจยั ทางภูมทิ ศั น์วฒ ั นธรรมในประเทศไทยในช่วง 20 ปีทผี่ า่ นมา โดยวิเคราะห์ถงึ ประเด็นการศึกษาและลักษณะของพื้นที่ศึกษา และในบทสรุปได้เสนอแนะใน 2 ประเด็นที่เกี่ยวกับทิศทางการศึกษา ด้านภูมทิ ศั น์วฒ ั นธรรมคือ ควรมีการบูรณาการศาสตร์กบั ชุดความรูอ้ นื่ ๆ เพือ่ สร้างกรอบแนวคิดกระบวนการวิจยั และ ข้อค้นพบใหม่ในวงวิชาการ และแนวทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาในปัจจุบันเช่น การเปลี่ยนแปลง ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ หรือผลกระทบจากการพัฒนา เป็นต้น ABSTRACT This article tries to comply the theories and discussions about the concept of cultural landscapes to point out the essence and definition, including the recent study, both in the global context and in Thailand. Further, this study integrates the academic status of the landscape research in Thailand over 20 years ago by analyzing the educational issues and characteristics of the study area. Conclusion, this study suggestion 2 issues of the cultural landscape study, such as, the study of the cultural landscape should integrating with others science to create a framework for research and new findings in the academic sphere and the study should related the issues in the current instance, such as, the terrain and climate change, impacts of development and so on. ค ำส ำคัญ: ภูมิทัศน์วัฒนธรรม ความหมาย ทิศทางการศึกษาวิจัย Keywords: Cultural landscape, Meaning, Direction of research * นักศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น Email: [email protected] ** อาจารย์ประจ ำ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (บทความนีเ้ คยน ำเสนอในทีป่ ระชุมระดับชาติ โฮมภูมิ ครัง้ ที่ 1 วันที่ 9-10 พฤศจิกายน 2556 ณ. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและ นฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม) 1 ภูมิทัศน์วัฒนธรรม : ความหมาย พัฒนาการทางแนวคิด และทิศทางการศึกษาวิจัย อนุวัฒน์ การถัก และ ทรงยศ วีระทวีมาศ 1. บทน ำ บทความนีม้ จี ดุ ประสงค์เพือ่ ทบทวนแนวคิดและกระบวนการศึกษาด้านภูมทิ ศั น์วฒ ั นธรรม ตัง้ แต่อดีตจนถึง ปัจจุบันทั้งในบริบทสากลและในประเทศไทย อันจะน ำไปสู่การเข้าใจถึงความหมาย แนวคิดและกระบวนการศึกษา ของศาสตร์ด้านนี้ได้ชัดเจนขึ้น โดยวิธีการศึกษาได้ใช้การทบทวนวรรณกรรมด้านภูมิทัศน์วัฒนธรรมทั้งในและ ต่างประเทศ และวิเคราะห์โดยการจัดหมวดหมูเ่ พือ่ อธิบายพัฒนาการทางแนวคิดและกระบวนการศึกษา และสรุปเป็น ข้อเสนอแนะถึงทิศทางการศึกษาวิจัยทางภูมิทัศน์วัฒนธรรม การก่อตัวในการศึกษาด้านภูมทิ ศั น์วฒ ั นธรรม เกิดจากกลุม่ นักภูมศิ าสตร์ตงั้ แต่ปี ทศวรรษ 1890 โดยประยุกต์ ระเบียบวิธีวิจัยทฤษฎีทางสัณฐานวิทยา (Morphology Theory) กับศาสตร์ด้านอื่นๆ เช่น ภูมิศาสตร์ มานุษยวิทยา และการออกแบบ ซึ่งแนวคิดต่างๆ ได้เริ่มพัฒนาจากกลุ่มประเทศทางยุโรปตอนกลางโดยเฉพาะที่เยอรมัน และ ขยายตัวไปยังสหรัฐอเมริกา รวมถึงออสเตรเลีย (O’Hare, 1977: 17-18) ซึง่ พัฒนาการของแนวคิดภูมทิ ศั น์วฒ ั นธรรม นี้ มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของแนวคิดในสังคมวิชาการโลก โดยเห็นได้ชัดเจนในยุคแนวคิดสมัยใหม่ (Modern) และยุคแนวคิดหลังสมัยใหม่ (Post Modern) ซึง่ ได้มกี ารน ำเสนอแนวคิดและวิธกี ารศึกษาทีพ่ ฒ ั นาต่อเนือ่ ง มาจนถึงปัจจุบัน การศึกษาทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมในประเทศไทย เริ่มเกิดขึ้นในระยะ 20 ปีที่ผ่านมา จากการเข้าร่วมเป็น สมาชิกอนุสัญญามรดกโลกของประเทศไทย ซึ่งคณะกรรมการมรดกโลกได้บรรจุเรื่องภูมิทัศน์วัฒนธรรม เป็นหนึ่งใน ประเภททีส่ ามารถประกาศขึน้ ทะเบียนเป็นมรดกโลกได้ ส่งผลให้หน่วยงานด้านวัฒนธรรมในประเทศไทยได้เริม่ ศึกษา ความหมายและองค์ความรู้เกี่ยวกับภูมิทัศน์วัฒนธรรมมากขึ้น (เทียมสูรย์, 2553: 108) หลังจากนั้นก็มีการศึกษา รวมทั้งการวิจัยที่แพร่หลายมากขึ้นจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ในประเทศ ซึ่งจากการส ำรวจงานวิจัยด้านนี้ ในประเทศไทย ชี้ให้เห็นถึงช่องว่างของการศึกษาในหลายประเด็นที่สามารถน ำไปสู่ทิศทางการศึกษาในอนาคตได้ ตามรายละเอียดในข้อเสนอแนะของบทความนี้ 2. พัฒนาการทางแนวคิด ทฤษฎีทางภูมิทัศน์วัฒนธรรม ในบริบทสากล ค ำว่า Landscape มีความหมายทางรากศัพท์มาจากกลุม่ ประเทศทางยุโรปตอนเหนือ ซึง่ เกิดจากความนิยม ชมชอบในภูมทิ ศั น์ชนบท โดยการเขียนภาพวาดทิวทัศน์ชนบทและธรรมชาติ อีกทัง้ เริม่ มีการศึกษาศาสตร์ดา้ นการจัด สวนในช่วงปี ค.ศ. 1600-1700 (James and Martin, 1981: 177) จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ท ำให้แนวคิดของชาวยุโรปที่ มีต่อธรรมชาติ ได้มีการพัฒนาทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุผลด้านค่านิยมและความสนใจในธรรมชาติแวดล้อม ซึ่งจากการศึกษาพัฒนาการของทฤษฎีเกี่ยวกับภูมิทัศน์วัฒนธรรมพบว่า มีความสัมพันธ์กับหลายๆ ศาสตร์ที่ประกอบ ไปด้วย ภูมิศาสตร์ มานุษยวิทยาและการออกแบบ ซึ่งสามารถอธิบายพัฒนาการของแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับภูมิทัศน์ วัฒนธรรม โดยแบ่งตามช่วงเวลาดังนี้ 2.1) แนวคิดการศึกษาด้านการตั้งถิ่นฐาน (Settlement Morphology) ค ำว่า Cultural Landscape ถูกใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1880 โดย Otto Schlüter ชาวเยอรมัน เพื่อใช้ใน การอธิบายรูปแบบการตั้งถิ่นฐานของชุมชนในทางตอนกลางของยุโรปและประเทศเยอรมัน เนื่องจากทฤษฎีภูมิทัศน์ วัฒนธรรมนั้นมีความสอดคล้องกับทฤษฎีการศึกษารูปแบบเมือง ซึ่งขอบเขตการศึกษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมประกอบ ไปด้วย การตั้งถิ่นฐาน การใช้ที่ดิน และความสัมพันธ์ขององค์ประกอบทางวัฒนธรรมในช่วงระยะเวลาต่างๆ ของ ประวัติศาสตร์ และสรุปผลโดยการพรรณนาและอธิบายการกระท ำ ความคิด ความเชื่อของมนุษย์ที่มีต่อธรรมชาติ วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2 ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม ประจ ำปี 2558 Cultural Landscape : Meaning, Conceptual Development and Research Direction Anuwat Karnthak and Songyot Weerataweemat ในช่วงแรกนั้นนักวิจัยทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมได้ค้นหาแนวทางในการอธิบายรูปแบบสภาพแวดล้อมทาง กายภาพที่ถูกเปลี่ยนแปลงโดยกิจกรรมของมนุษย์และวัฒนธรรม โดยใช้แหล่งข้อมูลปฐมภูมิและอธิบายรูปแบบทาง ภูมิทัศน์ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและพฤติกรรมมนุษย์ โดย Otto Schlüter ได้ให้ความสนใจในรายละเอียดของ องค์ประกอบทางวัฒนธรรม สภาพทางธรรมชาติ การตัง้ ถิน่ ฐาน การใช้ประโยชน์ทดี่ นิ เพือ่ อธิบายถึงระบบความสัมพันธ์ ขององค์ประกอบต่างๆที่ท ำให้เกิดความเข้าใจในภาพรวมของภูมิทัศน์วัฒนธรรม (Whitehand, 1981: 2) 2.2) แนวคิดเรื่อง ภูมิทัศน์ที่มีชีวิต (Living Landscapes) เป็นแนวคิดที่เน้นการศึกษาภูมิทัศน์ที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน ซึ่งเริ่มต้นในประเทศฝรั่งเศส ในช่วงปีทศวรรษที่ 1920 โดย Paul Vidal de la Blanche ซึ่งเป็นผู้ที่มีพื้นฐานความรู้ด้านกายภาพภูมิทัศน์ โดยการ ศึกษาได้เลือกพืน้ ทีช่ นบทในประเทศฝรัง่ เศสเป็นกรณีศกึ ษา และศึกษาในประเด็นการแปลความหมายและความสัมพันธ์ ระหว่าง รูปแบบวิถชี วี ติ กับลักษณะกายภาพของภูมทิ ศั น์ในประเด็นสภาพแวดล้อมทางสังคมและพัฒนาการของชุมชน ซึ่งพบว่าวิถีชีวิตของชุมชนนั้นมีความต้องการภูมิทัศน์ที่มีสภาพธรรมชาติเสมอ (Buttimer, 1978: 61) ในขณะเดียวกันแนวคิดเรือ่ งภูมทิ ศั น์ทมี่ ชี วี ติ ถูกพัฒนาในประเทศอังกฤษโดย H.J.Fleure ในช่วงเวลาเดียวกัน โดย Fleure ได้วจิ ยั ในเรือ่ งการปรับตัวของมนุษย์กบั สิง่ แวดล้อม และอิทธิพลของวัฒนธรรมทีส่ ง่ ผลต่อรูปแบบของการ พัฒนาและการตั้งถิ่นฐาน (Fleure and Davies, 1970: 19) ในงานของเขาได้อธิบายสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น (รูปลักษณ์ ของเมือง รูปแบบการตั้งถิ่นฐาน นามเมืองและวัสดุอาคาร) ในประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างกายภาพของภูมิทัศน์ ภูมอิ ากาศ กิจกรรมมนุษย์และคุณค่า ซึง่ การแปลความหมายของภูมทิ ศั น์ท ำให้ทราบถึงแบบแผนและความหมายทาง วัฒนธรรมผ่านรูปลักษณะของสภาพภูมิทัศน์ด้วยลักษณะเฉพาะของภูมิภาคหรือท้องถิ่น ในช่วงเวลาเดียวกัน นักมานุษยวิทยาชาวอังกฤษชื่อ EE Evans ได้รวบรวมแนวคิดของ Fleure, Vidal และ Carl O Sauer (นักภูมิศาสตร์ชาวอเมริกัน) ที่ท ำให้เกิดการเชื่อมโยงแนวคิดของนักวิชาการเยอรมัน ฝรั่งเศส อังกฤษ และอเมริกาเข้าด้วยกัน โดยเขียนหนังสือชื่อ The Personality of Ireland (อ้างใน O’Hare, 1997: 20) ซึ่งเขาได้ เสนอแนวคิดของภูมิทัศน์วัฒนธรรมโดยใช้คำ ว่า Regional Personality มาใช้อธิบายและให้คำ จ ำกัดความว่า เป็น ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากผลลัพธ์ของความสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมผ่านกาลเวลา และแนวคิดนี้ด ำรงอยู่ ในกระแสของหมูน่ กั ภูมศิ าสตร์จากทศวรรษที่ 1920 จนถึง 1950 ท ำให้เกิดกระแสความสนใจในการวิจยั ด้านพฤติกรรม สิ่งแวดล้อมตามมา และผลงานอีกชิ้นหนึ่งที่เขาได้เขียนขึ้นคือ The Personality of Britain โดยได้อธิบายภูมิทัศน์ ของระดับภูมภิ าคและของประเทศในภาพของความเป็นลักษณะเฉพาะทีม่ ลี กั ษณะเด่น ผ่านความสัมพันธ์ของลักษณะ ธรรมชาติและการปรับแต่งอย่างประณีตผ่านวัฒนธรรมของมนุษย์ (O’Hare, 1977: 20) 2.3) แนวคิดจาก Berkeley กับการศึกษาภูมิทัศน์พื้นถิ่น ในทศวรรษ 1920 ในฝั่งของทวีปอเมริกา ได้มีการศึกษาทฤษฎีทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมเช่นเดียวกับยุโรป โดยมีฐานที่ส ำคัญคือ Berkeley School of Geography ที่ตั้งอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา น ำโดย Carl O Sauer โดยงานของเขาได้ท ำการศึกษาประวัติศาสตร์ของภูมิทัศน์ชนบท ในฐานะที่เป็นภูมิทัศน์ธรรมดาทั่วไป (Ordinary Landscape) ทีส่ มั พันธ์กบั ความเชือ่ ซึง่ เขาให้ค ำจ ำกัดความของค ำว่า Landscape จากรากศัพท์ในภาษา เยอรมันที่มีความหมายว่า Land Shape โดยหมายถึงพื้นที่ที่มีรูปลักษณ์ที่ชัดเจนทั้งด้านกายภาพและวัฒนธรรม ซึง่ ภูมิทัศน์เหล่านั้นประกอบด้วยมิตทิ างวัฒนธรรมของมนุษย์ และการท ำความเข้าใจภูมิทศั น์วฒ ั นธรรมนัน้ ต้องระลึก เสมอว่า เป็นสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าหยุดนิ่ง เคลื่อนไหวมากกว่าสงบ มีชีวิตมากกว่าเป็นซากปรักหักพัง และ มีการใช้สอยมากกว่าการทิ้งร้าง (Sauer, 1967: 322) Academic Journal: Faculty of Architecture, Khon Kaen University Volume. 14 No. 2: July-December 2015 3 ภูมิทัศน์วัฒนธรรม : ความหมาย พัฒนาการทางแนวคิด และทิศทางการศึกษาวิจัย อนุวัฒน์ การถัก และ ทรงยศ วีระทวีมาศ ในการน ำเสนอแนวคิดเรื่องภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่ Berkeley School of Geography นั้น เป็นการควบรวม ศาสตร์ทางด้านภูมิทัศน์และประวัติศาสตร์วัฒนธรรมเข้าด้วยกันซึ่ง Sauer อธิบายว่า เป็นความเคลื่อนไหวระหว่าง ชีวิตกับผืนดิน โดยใช้วิธีการศึกษาศาสตร์แบบการมองย้อนอดีต (Retrospective Science) เป็นพื้นฐานในการมอง อนาคต และมองภูมิทัศน์ผ่านความเข้าใจในวัฒนธรรมและพลังของมิติทางสังคมเศรษฐกิจที่เป็นตัวสร้างมันขึ้นมา แต่ ต่อมากระบวนการศึกษาโดยใช้วิธีการ Retrospective Science ได้ถูกวิพากษ์โดย J.B. Jackson ในปี ค.ศ.1984 ซึง่ มองว่าเป็นการค้นหาอดีตทีเ่ ป็นแบบดัง้ เดิม มากกว่าการมองเห็นความเคลือ่ นไหวหรือการเปลีย่ นแปลงทางวัฒนธรรม และปรากฏการณ์ทางสังคม (Jackson, 1989: 15) ส ำหรับ J.B. Jackson ซึ่งเป็นนักภูมิศาสตร์ในกลุ่ม Berkeley เช่ น เดี ย วกั น ที่ ส นใจด้ า นภู มิ ทั ศ น์ พื้ น ถิ่ น และเริ่ ม การศึ ก ษาในช่ ว งทศวรรษ 1960 และต่ อ มาได้ เ ขี ย นหนั ง สื อ Discovering the Vernacular Landscape ซึ่งงานของเขาได้ส่งผ่านระหว่างศาสตร์ทางภูมิศาสตร์กับการออกแบบ ที่เป็นแนวคิดในการที่จะเชื่อมโยงภูมิทัศน์วัฒนธรรมเข้าสู่แนวทางในการออกแบบพื้นที่ 2.4) แนวคิดยุคหลังสมัยใหม่และหลังโครงสร้างนิยม (Post Modernism and Post Structuralism) กลุ่มนี้น ำโดยกลุ่มนักมานุษยวิทยาและนักภูมิศาสตร์เช่น Edward Relph, Yi-Fu Tuan, Donald William Meining และ Pierce K Lewis ในช่วงทศวรรษ 1970 ซึ่งแนวคิดในยุคนี้เป็นการหาความรู้เชิงลึกมากกว่าการสัมผัส ด้วยตา จึงมุง่ เน้นในการแสวงหาความหมายและคุณค่าของภูมทิ ศั น์ทซี่ อ่ นอยูภ่ ายใน โดยการอ่านและแปลความหมาย การถอดรหัส จากระบบสัญลักษณ์ทางภูมิทัศน์ต่างๆ รวมถึงการศึกษาประเด็นที่เกี่ยวกับอ ำนาจและแรงกดดัน เพื่อท ำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ในทางลึกมากขึ้น (Cosgrove, 1990: 357) ต่อมาได้มีกลุ่มที่พัฒนาแนวคิดต่อเนื่องจากแนวคิดยุค Post Modernism ในช่วงทศวรรษที่ 1980 ซึ่งในขณะนั้นได้มีทฤษฎีที่หลากหลายในการใช้มองมิติทางกายภาพและวัฒนธรรมเช่น แบบจ ำลองทางเศรษฐกิจ ของมาร์กซิสท์ (Marxist Economic-Models) ทฤษฎีทางสตรีนิยม (Feminist Theory) ทฤษฎีหลังอาณานิคม (Post-Colonial Theory ทฤษฎีหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) และ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) เป็นต้น โดยส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของ Michel Foucault จึงมีผลท ำให้แนวทางการศึกษาด้านภูมิทัศน์ วัฒนธรรมมุ่งเน้นไปที่การมองพื้นที่ในเชิงความสัมพันธ์ของโครงสร้างทางอ ำนาจ จากกลุ่มทางสังคมต่างๆ คล้ายกับ การศึกษาเรื่องพื้นที่ (Space) ซึ่งพื้นที่ในการศึกษาของแนวคิดกลุ่มนี้ยกตัวอย่างเช่น ภูมิศาสตร์การเมือง (Political Geography) ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว (Tourism Geography) ภูมิศาสตร์พฤติกรรม (Behavioral Geography) ภูมิศาสตร์สตรีนิยม (Feminist Geography) เป็นต้น (O’Hare, 1977: 24) 2.5) แนวคิดที่เน้นศึกษามรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) กลุ่มนี้มีแนวคิดด้านการประเมินเพื่อหาคุณค่าทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่เน้นเรื่องมรดกทางวัฒนธรรม ซึ่งมี การศึกษากันอย่างแพร่หลายในทวีปออสเตรเลีย โดยมีแนวทางหลักเพื่อการค้นหาและอนุรักษ์มรดกทางภูมิทัศน์ วัฒนธรรม ซึ่งมีส่วนส ำคัญในการเชื่อมโยงการก ำหนดเกณฑ์ของกรรมการมรดกโลก ในการประเมินคุณค่าพื้นที่ที่มี ความส ำคัญที่จะประกาศเป็นมรดกโลกในด้านภูมิทัศน์วัฒนธรรม (Taylor, 1989: 16) 2.6) สรุปพัฒนาการแนวคิด ทฤษฎีทางภูมิทัศน์วัฒนธรรม การเริม่ ต้นของแนวคิดทางภูมทิ ศั น์วฒ ั นธรรมในช่วงปีทศวรรษ 1880 เกิดจากการศึกษารูปแบบการตัง้ ถิน่ ฐาน โดยใช้เพื่ออธิบายเหตุปัจจัยที่ท ำให้เกิดการตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการของเมือง ซึ่งน ำเอามิติด้านวัฒนธรรมและ ความเชื่อของมนุษย์เข้ามาอธิบายลักษณะทางกายภาพของภูมิทัศน์ที่เกิดขึ้น และหลังจากนั้นในช่วงทศวรรษ 1920 แนวคิดภูมทิ ศั น์วฒ ั นธรรมได้ถกู น ำมาใช้ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กบั สิง่ แวดล้อม เพือ่ อธิบายความหมาย วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 4 ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม ประจ ำปี 2558 Cultural Landscape : Meaning, Conceptual Development and Research Direction Anuwat Karnthak and Songyot Weerataweemat ลักษณะภูมทิ ศั น์กบั รูปแบบทางสังคมและวัฒนธรรมในชีวติ ประจ ำวัน และในช่วงเวลาเดียวกันได้เกิดแนวคิดการศึกษา ภูมิทัศน์พื้นถิ่นขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาเช่นกัน โดยมีแนวคิดในการศึกษาภูมิทัศน์ท้องถิ่นที่มีลักษณะธรรมดา (Ordinary Landscape) โดยเป็นการศึกษาในลักษณะการมองย้อนอดีตเพื่ออธิบายเหตุปัจจัยการเปลี่ยนแปลง ทางภูมทิ ศั น์มาถึงปัจจุบนั และได้เริม่ ใช้มติ ทิ างเศรษฐกิจร่วมกับมิตทิ างวัฒนธรรมเข้ามาอธิบายถึงปัจจัยในการท ำให้เกิด การเปลีย่ นแปลงภูมทิ ศั น์ และการศึกษาในช่วงเวลาต่อมาจนถึงทศวรรษ 1950 ได้ขยายขอบเขตการศึกษาในขนาดพืน้ ที่ ที่ใหญ่ขึ้นเป็นระดับภูมิภาคและประเทศ โดยใช้แนวคิดภูมิทัศน์วัฒนธรรมในการอธิบายรูปแบบของภูมิทัศน์ที่ปรากฏ แนวคิดทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมในระยะต่อมาเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงในทศวรรษ 1970 อันเนื่องจากกระแส การเปลีย่ นแปลงแนวคิดทางวิชาการของโลกในยุคหลังสมัยใหม่ (Post Modern) ทีส่ ง่ ผลต่อแนวคิดและกระบวนการ ศึกษาทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมกล่าวคือ การศึกษาได้มุ่งเน้นการแปลความหมายภูมิทัศน์ในมุมมองของมิติอื่นๆ มากขึ้น เช่น โครงสร้างทางอ ำนาจ กลุ่มทางสังคมต่างๆ ท ำให้การแปลความหมายภูมิทัศน์มีความละเอียดในหลายแง่มุมและ มีการวิเคราะห์ในเชิงลึกมากขึ้น นอกจากนั้นในช่วงเวลาเดียวกันได้เกิดแนวคิดในการประเมินคุณค่าของภูมิทัศน์ วัฒนธรรม ซึ่งเป็นผลจากกระแสอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมที่มีองค์การสหประชาชาติเป็นผู้สนับสนุน ท ำให้แนวคิด ด้านภูมิทัศน์วัฒนธรรมได้ถูกน ำมาให้ค ำจ ำกัดความและสร้างเกณฑ์ในการประเมินคุณค่าขึ้นมา เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ใน การประเมินความส ำคัญและคุณค่าของภูมิทัศน์วัฒนธรรม ซึ่งในปัจจุบันแนวคิดและกระบวนการศึกษาตั้งแต่ยุคหลัง สมัยใหม่ ได้ถูกน ำมาใช้ในการศึกษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมอย่างแพร่หลายในการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อแปลความหมายและ ประเมินคุณค่า ดังนัน้ สรุปได้วา่ แนวคิดภูมทิ ศั น์วฒั นธรรมในบริบทสากลมีลกั ษณะร่วมกันคือ เป็นการศึกษารูปแบบภูมทิ ศั น์ ที่เกิดขึ้นและอธิบายด้วยมิติทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ภายใต้แนวคิดที่ว่า ผลลัพธ์ที่แสดงออกมาในรูปของ ภูมิทัศน์ที่มองเห็น โดยมีวัฒนธรรมเป็นผู้กระท ำ ธรรมชาติเป็นสื่อกลาง และภูมิทัศน์วัฒนธรรม ก็คือผลการกระท ำ ดังกล่าว โดยกระบวนการศึกษามุ่งเน้นไปที่การแปลความหมายและคุณค่าของภูมิทัศน์วัฒนธรรมเป็นหลัก 3. พัฒนาการทางแนวคิด ทฤษฎีทางภูมิทัศน์วัฒนธรรม ในประเทศไทย ส ำหรับในประเทศไทยนั้น ค ำว่า ภูมิทัศน์วัฒนธรรม ไม่ปรากฏชัดว่าเริ่มใช้เมื่อใด ซึ่งถ้าพิจารณาจากราก ศัพท์แล้ว เป็นการแปลความหมายจากค ำว่า Cultural Landscape ซึ่งเป็นศัพท์ที่เริ่มใช้เป็นที่แพร่หลายในช่วงที่ แนวคิดนี้ได้รับการยอมรับเข้าสู่อนุสัญญามรดกโลกในปี พ.ศ. 2535 ซึ่งประเทศไทยได้เข้าร่วมในอนุสัญญานี้ด้วย โดย มีจุดมุ่งหมายในการอนุรักษ์ ภูมิทัศน์ที่มุ่งเน้นต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์และการพัฒนาที่ยั่งยืน แต่เนื่องจากในสังคม ไทยยังไม่เคยมีแนวคิดในเรื่องนี้มาก่อน จึงเกิดความสับสนในการน ำไปใช้ (เทียมสูรย์, 253: 107) ซึ่งในกระบวนการ ศึกษาด้านนีใ้ นประเทศไทยนัน้ มีปรากฏอยูใ่ นกระบวนการศึกษาสถาปัตยกรรมพืน้ ถิน่ มาก่อนแล้ว เนือ่ งจากการศึกษา สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นการมองสถาปัตยกรรมผ่านบริบทของสภาพแวดล้อมทางกายภาพ สังคมและวัฒนธรรม ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า การศึกษาด้านภูมิทัศน์วัฒนธรรมนั้น ได้เริ่มต้นมาพร้อมกับการศึกษาสถาปัตยกรรม พื้นถิ่นในประเทศไทย ซึ่งจากข้อมูลงานวิจัย “สถานภาพผลงานวิชาการสาขาสถาปัตยกรรมในประเทศไทย” โดย วิมลสิทธิ์ หรยางกูร และคณะในปี พ.ศ. 2544 พบว่าในการศึกษาทางด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่มีความเกี่ยวโยงกับ สังคมและวัฒนธรรม ซึง่ หลักฐานทีพ่ บคือ การวิจยั ครัง้ แรกเรือ่ ง “บ้านชาวนาทัว่ พระราชอาณาจักร” เมือ่ ปี พ.ศ. 2496 โดยคณาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และต่อมาได้มีการศึกษาเรื่อง เรือนภาคกลาง ในช่วงระยะปี พ.ศ. 2512-2519 จนกระทั่งมีการศึกษาเรื่องเรือนและสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอื่นๆ ต่อมา Academic Journal: Faculty of Architecture, Khon Kaen University Volume. 14 No. 2: July-December 2015 5 ภูมิทัศน์วัฒนธรรม : ความหมาย พัฒนาการทางแนวคิด และทิศทางการศึกษาวิจัย อนุวัฒน์ การถัก และ ทรงยศ วีระทวีมาศ การศึกษาด้านภูมทิ ศั น์วฒ ั นธรรมครัง้ แรกในประเทศไทยนัน้ เป็นงานวิจยั เรือ่ ง “การศึกษาขัน้ ต้นด้านชุมชน และสถาปัตยกรรมท้องถิน่ จังหวัดแม่ฮอ่ งสอน” ในปี พ.ศ. 2526 โดย ประสงค์ เอีย่ มอนันต์และคณะ ทีเ่ ริม่ มีการศึกษา มิติด้านชุมชนที่เป็นระบบ รวมถึงบทความเรื่อง “ตลาดพื้นบ้านลานนาไทย” โดย อรศิริ ปาณินท์ ในปีเดียวกัน หลังจากแนวคิดเรื่องภูมิทัศน์วัฒนธรรมได้ถูกบรรจุเข้าสู่อนุสัญญามรดกโลกในปี พ.ศ. 2535 ได้ส่งผลต่อ การตื่นตัวทางวิชาการในประเทศไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เกิดการวิจัยและศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังและเป็น ระบบมากขึน้ โดยเฉพาะศาสตร์ทางด้านการอนุรกั ษ์ การผังเมือง การออกแบบชุมชนเมือง สถาปัตยกรรมพืน้ ถิน่ และ ภูมิสถาปัตยกรรม แต่ถึงกระนั้นการให้ค ำจ ำกัดความเกี่ยวกับความหมายของ Cultural Landscape ในประเทศไทย ก็มีความหลากหลายทั้งค ำและความหมาย ซึ่งรวบรวมพอสังเขปได้ดังนี้ 1) สภาพแวดล้ อ มสรรค์ ส ร้ า งที่ เ กิ ด ขึ้ น จากการจั ด การของมนุ ษ ย์ เพื่ อ ให้ ด ำ รงชี วิ ต อย่ า งปกติ สุ ข ใน สภาพแวดล้อมธรรมชาตินั้นๆ แต่ทว่ามนุษย์มีข้อจ ำกัดในด้านต่างๆ ทั้งในแง่เทคโนโลยีที่เกี่ยวเนื่องกับการด ำรงชีวิต ความเชื่อทางศาสนา ฯลฯ ท ำให้มนุษย์สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อสภาพแวดล้อมได้เพียงระดับหนึ่งเท่านั้น และรวม ไปถึงขีดจ ำกัดของธรรมชาติที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงได้ ก็มีอย่างจ ำกัดเช่นกัน ผลลัพธ์ของการด ำเนินไปของ วัฒนธรรมมนุษย์บนธรรมชาติที่อยู่แวดล้อมนี้เอง ที่เป็นความหมายของค ำว่า “ภูมิทัศน์วัฒนธรรม” (เกรียงไกร, 2551: 20) 2) นิเวศวิทยาวัฒนธรรม เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต ผ่านพฤติกรรมทางวัฒนธรรม และ สิง่ ไม่มชี วี ติ ผ่านปรากฎการณ์ทางสภาพแวดล้อม มนุษย์อยูร่ อดในสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ เพราะอาศัยวัฒนธรรมเป็น เครื่องมือในการปรับตัว (ชนัญ, 2532: 10) 3) ส ำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติได้ให้ค ำจ ำกัดความว่า ภูมิทัศน์วัฒนธรรมเป็นผลของ การกระท ำหรือความสัมพันธ์ต่อกันอย่างสมดุลที่เกิดขึ้น ระหว่างมนุษย์ วัฒนธรรม หรือองค์ประกอบทางสังคมต่างๆ และสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ โดยสะท้อนถึงการพัฒนาของสังคมหรือชุมชนจากอดีตถึงปัจจุบนั ผ่านลักษณะทาง กายภาพของพื้นที่ในสังคมหรือชุมชน (ศรุติและชวาพร, 2555: 22) 4) ภูมิวัฒนธรรม (Cultural Landscape) คือความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรม ซึ่งใน บริบทสังคมวัฒนธรรม หมายถึงลักษณะภูมิประเทศทางภูมิศาสตร์ในอาณาบริเวณใดบริเวณหนึ่งเช่น บริเวณป่า ท้องทุ่ง หนองบึง แม่น ้ำหรือปากอ่าวทะเล อันสัมพันธ์กับการตั้งถิ่นฐานบ้านเมืองของผู้คนในท้องถิ่น จนเป็นที่รู้จัก ร่วมกันและมีการก ำหนดนามชือ่ เป็นสถานทีต่ า่ งๆ ให้เป็นทีร่ จู้ กั ร่วมกัน ในลักษณะทีเ่ ป็นแผนภูมหิ รือแผนทีเ่ พือ่ สือ่ สาร ถึงกัน และอาจสร้างเป็นต ำนาน (Myth) ขึ้นมาอธิบายถึงความเป็นมาและความหมายความส ำคัญทางประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของสถานทีแ่ ละท้องถิน่ นัน้ ๆ ดังนัน้ ในภูมวิ ฒ ั นธรรมจึงประกอบด้วยองค์ประกอบการ ศึกษาที่ส ำคัญคือ · ภูมิศาสตร์ที่สัมพันธ์กับการตั้งถิ่นฐาน หมายถึงลักษณะภูมิประเทศที่ส ำคัญในการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึง่ จะปรากฏเป็นสถานทีห่ รือชือ่ บ้านนามเมือง เป็นจุดเด่นทีส่ ำ คัญของชาวบ้านในท้องถิน่ หรือนักเดินทางทีเ่ ข้ามาในพืน้ ที่ · นิเวศวัฒนธรรม (Cultural Ecology) หมายถึงพื้นที่เฉพาะที่มนุษย์สร้างบ้านเมืองขึ้นมาเป็นท้องถิ่น ต่างๆ ย่อมไม่เหมือนกัน นิเวศวัฒนธรรมของแต่ละแห่งนั้นมักเป็นการมองจากคนภายใน ที่มีต่อสภาพแวดล้อม อย่างละเอียด เห็นความหลากหลายทางชีวภาพ ชาติพันธุ์ หลายชุมชนในพื้นที่เดียวกัน จากนั้นมีการก ำหนดหรือ สร้างองค์ความรู้ในการด ำเนินชีวิต สร้างกติกาการอยู่ร่วมกัน สร้างประเพณีและความเชื่อในพื้นที่เดียวกัน วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 6 ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม ประจ ำปี 2558 Cultural Landscape : Meaning, Conceptual Development and Research Direction Anuwat Karnthak and Songyot Weerataweemat · ชีวิตวัฒนธรรม (Way of Life) หรือโครงสร้างที่อยู่ในชีวิตประจ ำวัน อันเป็นวิถีชีวิตของผู้คนในชุมชน เดียวกัน ซึ่งประกอบด้วยโครงสร้างทางสังคม เช่น เครือญาติและกลุ่มทางสังคมต่างๆ ดังนั้น การท ำความเข้าใจการ เปลี่ยนแปลงทางภูมิวัฒนธรรม จึงต้องศึกษาสภาพแวดล้อมในอดีต และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน จากปัจจัยต่างๆ ในวัฒนธรรมท้องถิ่นนั้นๆ ที่เชื่อมโยงกับชีวิตวัฒนธรรมของมนุษย์ในมิติต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจ ในประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม รวมทั้งสภาพแวดล้อม ในมิติจากภายในและภายนอกที่ชัดเจน และการศึกษา ภูมวิ ฒ ั นธรรมนัน้ เป็นกระบวนการขัน้ พืน้ ฐาน อันจะน ำไปสูค่ วามเข้าใจใน นิเวศวัฒนธรรมของผูค้ นในท้องถิน่ ซึง่ มีชวี ติ ร่วมกันในชุมชนของชาติพันธุ์ (ศรีศักร, 2544) จากการรวบรวมในการให้ค ำจ ำกัดความและความหมายของภูมิทัศน์วัฒนธรรมโดยนักวิชาการหลายท่าน และผูเ้ ชีย่ วชาญในศาสตร์หลายแขนง พบว่ามีประเด็นทีแ่ ตกต่างในมุมมองของรายละเอียดอยูบ่ า้ ง แต่ในภาพรวมก็ยงั อยูใ่ นกรอบของแนวคิดทีเ่ ป็นรากฐานของทฤษฎีจากต่างประเทศทีไ่ ด้กล่าวมาแล้วข้างต้น ซึง่ ความแตกต่างของแนวคิด ทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมระหว่างต่างประเทศกับภายประเทศไทยนั้น เป็นความแตกต่างในกระบวนการศึกษามากกว่า ทางแนวคิดซึ่งเป็นผลมาจากความแตกต่างทางวัฒนธรรม โดยกระบวนการศึกษาของประเทศไทยนั้น ให้ความส ำคัญ กับมิติทางวัฒนธรรมและความเชื่อมากกว่าในต่างประเทศเช่น การให้ความส ำคัญกับคติ ความเชื่อ ต ำนาน เรื่องเล่า ท้องถิ่น เป็นต้น ซึ่งเป็นธรรมชาติของกระบวนการศึกษาทางภูมิทัศน์วัฒนธรรม ที่มีการให้น ้ำหนักกับตัวแปรหรือมิติ แต่ละด้านที่ท ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละพื้นที่ศึกษา 4. สถานภาพผลงานวิชาการด้านภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่ผ่านมาในประเทศไทย จากการส ำรวจผลงานทางวิชาการด้านภูมทิ ศั น์วฒ ั นธรรมทีผ่ า่ นมา โดยสืบค้นจากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย ในระดับบัณฑิตศึกษาและจากผลงานวิจยั บทความวิชาการจากสถาบันการศึกษาต่างๆ พบผลงานทีศ่ กึ ษาด้านภูมทิ ศั น์ วัฒนธรรมทั้งหมดรวม 19 ผลงาน และน ำมาวิเคราะห์โดยแยกเป็น 2 ประเด็นหลักคือ ส่วนแรกแยกแยะตามประเด็น การศึกษาหลักทีผ่ ศู้ กึ ษาน ำเสนอ ส่วนทีส่ องเป็นการแยกแยะตามลักษณะพืน้ ทีศ่ กึ ษา ซึง่ แนวคิดในการวิเคราะห์ขอ้ มูล นีม้ จี ดุ ประสงค์เพือ่ หาแนวโน้มและทิศทางการศึกษาในอนาคตว่ามีประเด็นการศึกษาใดทีย่ งั ไม่ได้รบั ความสนใจหรือมี การศึกษาน้อย และพื้นที่ในลักษณะใดที่ยังขาดการให้ความสนใจในการศึกษา ซึ่งผลการจ ำแนกสรุปได้ตามแผนภูมิ ดังนี้ แผนภูมิที่ 1 แสดงสัดส่วนของประเด็นการศึกษาทางภูมิทัศน์วัฒนธรรม Academic Journal: Faculty of Architecture, Khon Kaen University Volume. 14 No. 2: July-December 2015 7 ภูมิทัศน์วัฒนธรรม : ความหมาย พัฒนาการทางแนวคิด และทิศทางการศึกษาวิจัย อนุวัฒน์ การถัก และ ทรงยศ วีระทวีมาศ แผนภูมิที่ 2 แสดงสัดส่วนของลักษณะพื้นที่ในการศึกษาทางภูมิทัศน์วัฒนธรรม จากการวิเคราะห์แผนภูมแิ ละการศึกษารายละเอียดของเนือ้ หาผลงานวิชาการ มีขอ้ สังเกตบางประการดังนี้ 1. ด้านประเด็นการศึกษา พบว่ามีการศึกษาที่ให้ความสนใจ ด้านองค์ประกอบที่ส ำคัญทางภูมิทัศน์ วัฒนธรรมของพืน้ ทีม่ ากทีส่ ดุ เนือ่ งจากเป็นการศึกษาสภาพกายภาพโดยทัว่ ไปทีส่ ามารถท ำความเข้าใจเชิงรูปธรรมได้ ง่ายกว่าประเด็นอื่นๆ ซึ่งงานวิจัยส่วนใหญ่เริ่มจากความส ำคัญของพื้นที่เป็นหลัก ส่วนประเด็นรองลงมาคือการศึกษา เพือ่ มุง่ เน้นผลในด้านการศึกษาผลกระทบจากการเปลีย่ นแปลงของภูมทิ ศั น์วฒ ั นธรรมและโยงเข้าสูก่ ารอนุรกั ษ์ ส ำหรับ ประเด็นในการศึกษาเพือ่ การท่องเทีย่ วนัน้ พบว่ามีสดั ส่วนทีน่ อ้ ย แต่ในรายละเอียดของการศึกษาก็ได้จดั ท ำเป็นข้อเสนอ แนะเรื่องการท่องเที่ยวไว้ ที่เป็นผลต่อเนื่องจากการอนุรักษ์และการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมของพื้นที่ 2. ประเด็นด้านพื้นที่ศึกษา พบว่าพื้นที่ในเขตเมืองและกึ่งเมืองกึ่งชนบท เป็นพื้นที่ที่ได้รับความสนใจใน การศึกษามากทีส่ ดุ เนือ่ งมาจากในพืน้ ทีเ่ ขตเมืองมีองค์ประกอบทีห่ ลากหลาย มีการเปลีย่ นแปลงและความทับซ้อนกัน ทางสังคมวัฒนธรรมทีเ่ ป็นประเด็นให้ศกึ ษามากกว่าพืน้ ทีช่ นบท ส่วนในรายละเอียดของลักษณะพืน้ ทีน่ นั้ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลักคือ กลุ่มแรกเป็นพื้นที่กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรม กลุ่มที่สองเป็นพื้นที่ที่มีระบบนิเวศ พิเศษต่างๆ หรือชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เหล่านั้น และกลุ่มสุดท้ายเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง แต่ มีการศึกษาด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอีกจ ำนวนมากที่ไม่ได้รวบรวมเข้าในการศึกษาทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมนี้ ซึ่งมี ประเด็นการศึกษาที่ได้กล่าวถึงภูมิทัศน์วัฒนธรรมเช่นกัน แต่ได้เน้นประเด็นด้านสถาปัตยกรรมเป็นหลัก วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 8 ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม ประจ ำปี 2558 Cultural Landscape : Meaning, Conceptual Development and Research Direction Anuwat Karnthak and Songyot Weerataweemat ตารางที่ 1 แสดงการจ ำแนกผลงานการศึกษาทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมระหว่างปี พ.ศ. 2536-2554 ประเด็นการศึกษา พื้นที่ศึกษา การท่องเทีย่ ว + การจัดการ ศึกษาองค์ประกอบทีส่ ำ คัญ การอนุรักษ์ + การจัดการ ชื่อเรื่อง พื้นที่ประวัติศาสตร์ การเปลี่ยนแปลง ศึกษาผลกระทบ กึ่งเมือง / เมือง พื้นที่เฉพาะ ชนบท 1) ภูมิทัศน์วัฒนธรรมบ้านท่าวัด (มรรษธรณ พฤกษะวัน, 2536) * * * 2) ผลกระทบจากการท ำเกลือต่อภูมิทัศน์วัฒนธรรมบริเวณลุ่มน ้ำเสียว ในเขตอ ำเภอบรบือ * * * จังหวัดมหาสารคาม (วนมพร พาหะนิชย์, 2538) 3) ภูมิทัศน์วัฒนธรรมศาลปู่ตา ต ำบลท่าขอนยาง อ ำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม * * * (กิตติมา นวลจันทร์, 2538) 4) ภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชนกับการพัฒนาริมฝั่งหนองหาน จังหวัดสกลนคร * * ( ยอดชาย พลหาญ, 2540) 5) การศึกษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมบริเวณเขื่อนล ำปาว อ ำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ * * * * ( พัทยา อรรคอ ำนวย, 2541) 6) วัดพู : มรดกโลกทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมแห่งจ ำปาสัก (เกรียงไกร เกิดศิริ, 2548) * * 7) ภูมทิ ศั น์พนื้ ถิน่ ของหมูบ่ า้ นชนบทในชุมชนชาวมุสลิมในประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย * * (ศนิ ลิ้มทองสกุล, 2548) 8) การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ของบางชันช่วงปี พ.ศ. 2491 ถึงปัจจุบัน * * * (วชิร สอแสง, 2549) 9) ภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับเมืองเก่าเชียงแสน : การสื่อความหมายและการอนุรักษ์ * * * * มรดกที่ถูกลืม (วีระพันธุ์ ชินวัตร, 2549) 10) การอนุรกั ษ์ชมุ ชนทีม่ ลี กั ษณะภูมทิ ศั น์ทางวัฒนธรรมกรณีศกึ ษา ชุมชนเรือนแพริมแม่น ้ำ * * * สะแกกรัง (อมร กฤษณพันธุ์, 2549) 11) การประยุ ก ต์ แ นวคิ ด ภู มิ ทั ศ น์ วั ฒ นธรรมเพื่ อ การจั ด การแหล่ ง นั น ทนาการ ทาง * * * * ประวัตศิ าสตร์: กรณีศกึ ษาแหล่งภาพเขียนสีกอ่ นประวัตศิ าสตร์ในอุทยานแห่งชาติของ ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ (อรรถพล ศิริเวชพันธุ์, 2549) 12) การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์และสถานการณ์ของพื้นที่เกษตรกรรมฝั่งตะวันออก ของ * * * กรุงเทพมหานครท่ามกลางกระแสความเป็นเมือง (วชิร สอแสง, ดนัย ทายตะคุ, 2549) 13) แนวทางการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรม : กรณีศึกษาชุมชนริมน ้ำจันทบูร จังหวัดจันทบุรี * * * (ภาสกร ค ำภูแสน, 2550) 14) การศึกษาองค์ประกอบและกระบวนการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรม เพื่อการวางแผน * * * * พัฒนาชุมชนตลาดคลองสวน จังหวัดฉะเชิงเทรา (สุทธิพร ปรีชา, 2550) 15) นิเวศวิทยาวัฒนธรรมซึ่งสัมพันธ์กับภูมิทัศน์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในชุมชนริมคลองราง * * จระเข้ อ ำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (อมฤต หมวดทอง, 2550) 16) การพัฒนาชุมชนพืน้ ถิน่ : การเปลีย่ นแปลงลักษณะภูมทิ ศั น์ทแี่ ตกต่าง (วันดี พินจิ วรสิน, * * * อรศิริ ปาณินท์, 2551) 17) การศึกษาองค์ประกอบทางภูมิทัศน์วัฒนธรรม กรณีศึกษา : ชุมชนภูไทบ้านโคกโก่ง * * * * จังหวัดกาฬสินธุ์ (เจษฎ์ศิริ เถื่อนมูลละ, 2553) 18) การจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมและมรดกวัฒนธรรม : กรณีเมืองล ำปาง * * * * (รณรงค์ ชมพูพันธ์, 2553) 19) ภูมิทัศน์เมืองโบราณและองค์ประกอบของเมือง กรณีศึกษา เมืองเชียงตุงและเมือง * * * เชียงใหม่ (เกรียงไกร เกิดศิริ, 2554) รวม 9 8 3 14 2 6 9 3 5 Academic Journal: Faculty of Architecture, Khon Kaen University Volume. 14 No. 2: July-December 2015 9 ภูมิทัศน์วัฒนธรรม : ความหมาย พัฒนาการทางแนวคิด และทิศทางการศึกษาวิจัย อนุวัฒน์ การถัก และ ทรงยศ วีระทวีมาศ 5. บทสรุปและข้อเสนอแนะ จากการอภิปรายแนวคิดและการศึกษาทางภูมทิ ศั น์วฒ ั นธรรมในข้างต้นจะเห็นได้วา่ การศึกษาทางภูมทิ ศั น์ วัฒนธรรมมีความส ำคัญมากขึน้ ตัง้ แต่ปลายคริสศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา และได้ขยายขอบเขตการศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ เข้าสู่ศาสตร์ทางด้านการออกแบบและการสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อม เพื่อท ำให้ เกิดความเข้าใจต่อพื้นที่ ผู้คนและธรรมชาติในหลากหลายแง่มุม เนื่องจากเป็นชุดความรู้พื้นฐานในการสร้างสรรค์ สิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับบริบททางภูมิทัศน์วัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ และจากการเปรียบเทียบกระบวนการศึกษา ภูมิทัศน์วัฒนธรรมระหว่างภายในประเทศกับต่างประเทศพบว่า กระบวนการศึกษาด้านภูมิทัศน์วัฒนธรรมของ ประเทศไทย มีจดุ เด่นในการศึกษามิตทิ างวัฒนธรรม แต่ยงั ไม่ได้เน้นเนือ้ หาในการแปลความหมายเชิงลึก ซึง่ เป็นเนือ้ หา ส่วนส ำคัญที่ท ำให้ทราบถึงคติ ความเชื่อและแนวคิดของผู้คน ที่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ให้รองรับต่อแนวคิด เหล่านั้น ส ำหรับข้อเสนอแนะในทิศทางการศึกษาด้านนี้มี 2 ประเด็นหลักคือ ประการแรก คือการเชื่อมโยงภูมิทัศน์ วัฒนธรรมกับศาสตร์อื่นๆ เช่น สถาปัตยกรรม ผังเมือง มานุษยวิทยา สังคมศาสตร์ หรือทางรัฐศาสตร์ เพื่อให้ได้ มุมมองเชิงพื้นที่ที่หลากหลายและมีความรอบด้าน ซึ่งจะน ำไปสู่การสร้างสรรค์กระบวนการศึกษาวิจัยที่หลากหลาย ส่วนข้อ เสนอแนะประการทีส่ องคือ ปัจจุบนั มีการพัฒนาทางกายภาพทีร่ วดเร็วจนท ำลายร่องรอยทางภูมทิ ศั น์วฒ ั นธรรม ไปมาก จึงมีความจ ำเป็นเร่งด่วนทีจ่ ะต้องศึกษาข้อมูลทางภูมทิ ศั น์วฒ ั นธรรมในแต่ละพืน้ ที่ รวมทัง้ ควรศึกษาในประเด็น ที่เป็นปัญหาในปัจจุบันเช่น การเปลี่ยนแปลงภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ผลกระทบจากการพัฒนาต่างๆ เป็นต้น เพื่อเป็น ความรู้พื้นฐานที่ส ำคัญที่น ำไปใช้ในการการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติ ที่สอดคล้องกับความต้องการ ของประชาชน และเกิดความเข้าใจในความแตกต่างของสภาพแวดล้อมและหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมของ ท้องถิ่น เอกสารอ้างอิง กิตติมา นวลจันทร์. 2539. ภูมิทัศน์วัฒนธรรมศาลปู่ตา ต ำบลท่าขอนยาง อ ำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทคดีศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. เกรียงไกร เกิดศิริ. 2551. ชุมชนกับภูมิทัศน์วัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : ส ำนักพิมพ์อุษาคเนย์. _____________. 2554. ภูมิทัศน์เมืองโบราณและองค์ประกอบของเมือง กรณีศึกษา เมืองเชียงตุงและเมือง เชียงใหม่.[ออนไลน์] [อ้างเมือ่ 20 มิถนุ ายน 2555]. เข้าถึงได้จาก http://tdc.thailis.or.th/tdc/index.php. _____________. 2548. วัดพู : มรดกโลกทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมแห่งจ ำปาสัก. [ออนไลน์] [อ้างเมื่อ 20 มิถุนายน 2555]. เข้าถึงได้จาก http://tdc.thailis.or.th/tdc/index.php. เจษฎ์ศิริ เถื่อนมูลละ. 2553. การศึกษาองค์ประกอบทางภูมิทัศน์วัฒนธรรม กรณีศึกษา : ชุมชนภูไทบ้านโคกโก่ง จังหวัดกาฬสินธุ์. การค้นคว้าอิสระภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาการออกแบบและ วางผังชุมชนเมือง มหาวิทยาลัยศิลปากร. ชนัญ วงษ์วิภาค. 2532. นิเวศวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศิลปากร. เทียมสูรย์ สิริศรีศักดิ์. 2553. ความเข้าใจบางประการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ภูมิทัศน์วัฒนธรรมในประเทศไทย. ใน วารสารอาษา. ปี 2553 (ฉบับที่ 3): 104-113. วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 10 ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม ประจ ำปี 2558 Cultural Landscape : Meaning, Conceptual Development and Research Direction Anuwat Karnthak and Songyot Weerataweemat พัทยา อรรคอ ำนวย. 2541. การศึกษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมบริเวณเขื่อนล ำปาว อ ำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ภาสกร ค ำภูแสน. 2550. แนวทางการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรม : กรณีศึกษาชุมชนริมน ้ำจันทบูร จังหวัดจันทบุรี. การค้นคว้าอิสระภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภูมิสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร. มรรษธรณ พฤกษะวัน. 2536. ภูมิทัศน์วัฒนธรรมบ้านท่าวัด. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทคดีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม. ยอดชาย พลหาญ. 2541. ภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชนกับการพัฒนาริมฝั่งหนองหาน จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทคดีศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. รณรงค์ ชมพูพันธ์. 2553. การจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมและมรดกวัฒนธรรม : กรณีเมืองล ำปาง. การค้นคว้าอิสระ ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภูมิสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร. วชิร สอแสง. 2549. การศึกษาการเปลีย่ นแปลงของภูมทิ ศั น์ของบางชันช่วงปี พ.ศ. 2491 ถึงปัจจุบนั. วิทยานิพนธ์ ภูมิสถาปัตยกรรมมหาบัณฑิต ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วชิร สอแสงและดนัย ทายตะคุ. 2549. การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์และสถานการณ์ของพื้นที่เกษตรกรรมฝั่งตะวันออก ของกรุงเทพมหานครท่ามกลางกระแสความเป็นเมือง. ใน วารสารการจัดการสิง่ แวดล้อม. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1. วันดี พินิจวรสินและอรศิริ ปาณินท์. 2551. การพัฒนาชุมชนพื้นถิ่น: การเปลี่ยนแปลงลักษณะภูมิทัศน์ที่แตกต่าง. [ออนไลน์] [อ้างเมื่อ 20 มิถุนายน 2555]. เข้าถึงได้จาก http://tdc.thailis.or.th/tdc/index.php. วนมพร พาหะนิชย์. 2538. ผลกระทบจากการท ำเกลือต่อภูมทิ ศั น์วฒ ั นธรรมบริเวณลุม่ น ำ้ เสียว ในเขตอ ำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วิมลสิทธิ์ หรยางกูรและคณะ. 2544. สถานภาพผลงานวิชาการสาขาสถาปัตยกรรมในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : ส ำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. วีระพันธุ์ ชินวัตร. 2549. ภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับเมืองเก่าเชียงแสน : การสื่อความหมายและการอนุรักษ์ มรดกที่ถูกลืม. ใน วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1. ศนิ ลิ้มทองสกุล. 2548. ภูมิทัศน์พื้นถิ่นของหมู่บ้านชนบทในชุมชนชาวมุสลิมในประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย. ใน Journal of Architectural/Planning Research and Studies. ปีที่ 4 (ฉบับที่ 2): 143-154. ศรุติ โพธิ์ไทรและชวาพร ศักดิ์ศรี. 2555. การแปรเปลี่ยนภูมิทัศน์วัฒนธรรมลาวโซ่งหนองปรง: ที่ว่างอันเกี่ยวเนื่อง กับประเพณี. กรุงเทพมหานคร: บีบีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์. ศรีศักร วัลลิโภดม. [ม.ป.ป.]. การศึกษาสังคมไทยผ่านภูมิวัฒนธรรม. [ออนไลน์] [อ้างเมื่อ 11 มิถุนายน 2555]. เข้าถึงได้จาก : http://lek-prapai.org/watch.php?id=84. สุทธิพร ปรีชา. 2550. การศึกษาองค์ประกอบและกระบวนการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรม เพื่อการวางแผนพัฒนา ชุมชนตลาดคลองสวน จังหวัดฉะเชิงเทรา. การค้นคว้าอิสระ การวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม มหาบัณฑิต ภาควิชาการออกแบบและวางผังชุมชนเมือง มหาวิทยาลัยศิลปากร. อมฤต หมวดทอง. 2550. นิเวศวิทยาวัฒนธรรมซึ่งสัมพันธ์กับภูมิทัศน์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในชุมชนริมคลองราง จระเข้ อ ำ เภอเสนา จั ง หวั ด พระนครศรี อ ยุ ธ ยา. วิ ท ยานิ พ นธ์ สถาปั ย กรรมศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต สาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น มหาวิทยาลัยศิลปากร. Academic Journal: Faculty of Architecture, Khon Kaen University Volume. 14 No. 2: July-December 2015 11 ภูมิทัศน์วัฒนธรรม : ความหมาย พัฒนาการทางแนวคิด และทิศทางการศึกษาวิจัย อนุวัฒน์ การถัก และ ทรงยศ วีระทวีมาศ อมร กฤษณพันธุ์. 2549. การอนุรักษ์ชุมชนที่มีลักษณะภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมกรณีศึกษา ชุมชนเรือนแพริมแม่น ้ำ สะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี. [ออนไลน์] [อ้างเมื่อ 20 มิถุนายน 2555]. เข้าถึงได้จาก http://tdc.thailis. or.th/tdc/index.php. อรรถพล ศิ ริ เ วชพั น ธุ ์. 2549. การประยุ ก ต์ แ นวคิ ด ภู มิ ทั ศ น์ วั ฒ นธรรมเพื่ อ การจั ด การแหล่ ง นั น ทนาการ ทางประวั ติ ศ าสตร์ : กรณี ศึ ก ษาแหล่ ง ภาพเขี ย นสี ก ่ อ นประวั ติ ศ าสตร์ ใ นอุ ท ยานแห่ ง ชาติ ข อง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอุทยานและนันทนาการ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์. Buttimer, A. 1978. Charism and context: The Challenge of La Geographie Humaine. D. Ley & M.S. Samuels (eds). In Humanistic Geography: Prospects and Problems. Chicago: Maroufa Press. pp 58-76. Cosgrove D, D.S. 1988. The Iconography of Landscape. Great Britain: The Bath Press. Fleure, D. 1970. A Natural History of Man in Britain: Conceived as a Study of Changing Relation between Men and Environments. London: Collins. Jackson, J.B. 1984. Discovering the Vernacular Landscape. New Haven: Yale University Press. James, P.E. and Martin, G. 1981. All Posible World: A History of Geographical Ideas. New York: John Wiley and Sons. Sauer, C.O. 1967. Land and Life: A Selection of The Writing of Carl Ortwin Sauer. Berkeley: University of California Press. O’ Hare, D.J. 1997. Tourism and Small Coastal Settlements: A Cultural Landscape Approach for Urban Design. Oxford: Academic Press. Taylor, K. 1989. Conservation and Interpretation Study of The Rural Heritage Landscape of The Lanyon-Lambrigg Area. In ACT Historic Environment. 7(2): 16-23. Whiteland J.W.R. 1981. The Urban Landscape: Historical Development and Management. London: Academic Press. วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 12 ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม ประจ ำปี 2558

Use Quizgecko on...
Browser
Browser