บทที่ 6 โภชนศาสตร์สัตว์ PDF
Document Details
Uploaded by RestfulMoldavite3461
MSU
ผศ.ดร. วาสนา ศิริแสน
Tags
Summary
เอกสารนี้เป็นบทที่ 6 เกี่ยวกับโภชนศาสตร์สัตว์ (animal nutrition) อธิบายเกี่ยวกับโภชนะ (nutrients) และบทบาทหน้าที่ของสารอาหารที่มีต่อสัตว์ โดยแบ่งประเภทของสารอาหารและกล่าวถึงความสำคัญของแต่ละประเภท
Full Transcript
บทที่ 6 โภชนศาสตร์สัตว์ ผศ.ดร. วาสนา ศิริแสน ขอบเขตเนื้อหา โภชนะหรือสารอาหารในอาหารสัตว์ และบทบาทหน้าที่ของสารอาหารที่มีต่อสัตว์ วัตถุประสงค์ เพื่อให้นิสิตจาแนกสารอาหารและบทบาทหน้าที่ของสารอาหารแต่ละตัวที่มีผลต่อสัตว์ได้ โภชนศาสตร์สัตว์ โภชนะ (nutrients) มีคาจากัดความที่หล...
บทที่ 6 โภชนศาสตร์สัตว์ ผศ.ดร. วาสนา ศิริแสน ขอบเขตเนื้อหา โภชนะหรือสารอาหารในอาหารสัตว์ และบทบาทหน้าที่ของสารอาหารที่มีต่อสัตว์ วัตถุประสงค์ เพื่อให้นิสิตจาแนกสารอาหารและบทบาทหน้าที่ของสารอาหารแต่ละตัวที่มีผลต่อสัตว์ได้ โภชนศาสตร์สัตว์ โภชนะ (nutrients) มีคาจากัดความที่หลากหลายที่อธิบายความหมายของโภชนะไว้ดังนี้ -โภชนะ (Nutrients) หมายถึงสารประกอบทางเคมีที่มีคุณสมบัติทาให้สัตว์ที่ได้รับสามารถดารงชีวิต อยู่ได้ - โภชนะ หมายถึง ส่วนของอาหารหรือสิ่งที่กินได้ ซึ่งร่างกายสัตว์สามารถย่อยได้และนาไปใช้ให้เป็น ประโยชน์ได้ - โภชนะ หมายถึง สารเคมีที่สามารถใช้บารุงสัตว์ได้ หรือให้คุณค่าทางอาหารแก่สัตว์ได้ เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน แร่ธาตุ แต่อาหารที่สัตว์กินเข้าไปก็ไม่สามารถย่อยได้ทั้งหมด เราจึงเรียกอาหาร ส่วนที่ย่อยได้และนาไปใช้ประโยชน์ได้ว่า โภชนะ (พันทิพา, 2535) อย่างไรก็ตามมีคาจากัดความที่ได้อธิบายความหมายของโภชนะได้ครอบคลุมมากที่สุด โภชนะ คือสาร ที่มีอยู่ในอาหาร ซึ่งเมื่อสัตว์กินเข้าไปแล้วจะถูกย่อย Metabolite แล้วนาไปใช้ประโยชน์ เพื่อกิจกรรมต่างๆ ในร่างกาย เช่น เพื่อการดารงชีพ การเจริญเติบโต การสร้างผลผลิต ส่วนสารอาหารที่ย่อยไม่ได้ก็จะถูกขับออก ในรูปของมูล ปัสสาวะ และความร้อน การจาแนกกลุ่มของโภชนะ เนื่องจากโภชนะแต่ละตัวมีบทบาทหน้าที่บางอย่างที่คล้ายกันและบางอย่างที่แตกต่างกัน จึงแบ่งกลุ่ม โภชนะหรือจัดจาแนกกลุ่มให้ครอบคลุมเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจได้ยิ่งขึ้น ดังแสดงในภาพที่ 6.1 ภาพที่ 6.1 แสดงการจาแนกองค์ประกอบของสารอาหาร ที่มา: บุญเสริมและบุญล้อม (2542) บทบาทหน้าที่ของโภชนะ โภชนะที่สาคัญในอาหารสัตว์ประกอบด้วย 6 ชนิด ได้แก่ น้า คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุ ซึ่งมีบทบาทห้าที่ที่เหมือนกันและแตกต่างกันออกไป ดังต่อไปนี้ 1. น้า 1. เป็นส่วนประกอบของเซลล์ทุกชนิดในร่างกาย ช่วยทาให้ร่างกายสัตว์คงรูปอยู่ได้ เลือด (blood plasma) มีน้าประกอบ 90-92% กล้ามเนื้อ มีน้าประกอบ 72-78% ไขมัน มีน้าประกอบ 30 % กระดูก มีน้าประกอบ 45% เคลือบฟัน มีน้าประกอบ 4% 2. เป็นตัวละลายสารต่างๆพร้อมทั้งช่วยละลายของเสียและขับของเสียออกนอกร่างกาย 3. ช่วยรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ เพราะน้ามีความร้อนจาเพาะสูง สามารถดูดเก็บความ ร้อนที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาเคมีในร่างกาย โดยอุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นเพียงเล็กน้อย และขจัดออกโดยการ ระเหยของเหงื่อและไอน้าจากการหอบหรือหายใจ 4. เป็นตัวกันกระเทือนให้กับระบบประสาทและอวัยวะภายใน 5. เป็นตัวหล่อลื่นให้กับข้อต่อต่างๆของร่างกาย 6. เป็นผลผลิตที่ได้จากการสันดาปในร่างกาย (oxidation) ซึ่งมีสว่ นช่วยให้สัตว์บางชนิดจาศีลอยู่ ได้ หรือมีผลทาให้สัตว์ดื่มน้าน้อยลง 2. คาร์โบไฮเดรต 1. เป็นแหล่งพลังงานเพื่อใช้ในกระบวนการต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต ในพืชน้าตาลกลูโคส และไรโบส ให้พลังงานในการสังเคราะห์เนื้อเยื่อ ส่วนแป้งเป็นแหล่งพลังงานที่สะสมไว้ในราก หัว และ เมล็ด 2. เป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์พืช ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับต้นพืช คาร์โบไฮเดรต ประเภทนี้ เช่น เซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส ซึ่งจัดเป็นคาร์โบไฮเดรตประเภทโครงสร้าง 3. เป็นตัวกลางที่สาคัญในวิถี metabolism ต่างๆ 3. โปรตีน 1. เป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์ในกล้ามเนื้อและอวัยวะต่างๆ 2. เป็นองค์ประกอบของหนัง ผม ขน กีบ เล็บ 3. สามารถให้พลังงานแก่ร่างกายได้ แต่มีประสิทธิภาพน้อยกว่าไขมันและคาร์โบไฮเดรต 4. เป็นส่วนประกอบในเลือด เอนไซม์ ฮอร์โมนบางชนิด และภูมิคุ้มกัน ในเลือดจะมีโปรตีน เชิงซ้อน คือฮีโมลโกลบิน เป็นตัวนาออกซิเจนไปยังเซลล์ของสัตว์ โดยจัดว่าเป็น protein metalo หมายถึงโปรตีน ที่รวมตัวกับโลหะ เช่น เหล็ก ส่วน lipoprotein จะลาเลียงวิตามินที่ละลายในไขมัน เป็น แหล่งสะสมอาหารสาหรับตัวอ่อน หรือลูกสัตว์ เช่น โอวัลบูมิน (Ovalbumin) ในไข่ขาว และไวเทลลิน (Vitellin) ในไข่แดง หรือเคซีนในน้านม 4. ไขมัน 1. เป็นแหล่งสะสมพลังงาน เมื่อร่างกายได้รับอาหารมากเกินไปจะเปลี่ยนเป็นพลังงานเก็บไว้ใน รูปไขมัน 2. ทาหน้าที่เป็นฉนวน (insulator) ป้องการถ่ายเทความร้อนเข้าหรือออกจากร่างกาย 3. ช่วยยึดอวัยวะภายในให้อยู่กับที่ ป้องกันการสะเทือนของอวัยวะภายในช่องท้อง 4. ช่วยในการถ่ายทอดสัญญาณไฟฟ้าในระบบประสาท 5. ช่วยในการย่อยและดูดซึมไขมัน โดยกรดน้าดีทาหน้าที่เป็นอิมัลซิไฟอิ่งเอเจนต์ 6. ช่วยในการดูดซึมและเป็นแหล่งเก็บวิตามินที่ละลายได้ในไขมัน 5. วิตามิน วิตามิน เป็นโภชนะที่มีองค์ประกอบซับซ้อน และมีความจาเป็นต่อปฏิกิริยาทางเคมีใน ร่างกาย ตัวซึ่งจาแนกเป็นกลุ่มตามคุณสมบัติการละลาย ได้แก่ -วิตามินที่ละลายได้ในไขมัน (fat soluble vitamin) จะพบรวมอยู่กับไขมันที่สกัดได้จาก อาหาร ได้แก่วิตามินเอ ดี อี เค (พันทิพา, 2543) -วิตามินที่ละลายได้ในน้า (water soluble vitamin) จะพบได้จากน้าที่สกัดออกมากจาก อาหาร ได้แก่วิตามินบีรวม และวิตามินซี 6.แร่ธาตุ แร่ธาตุคือสารประกอบอนินทรีย์ โดยแบ่งออกเป็นแร่ธาตุหลักและแร่ธาตุรอง ตามปริมารที่ใช้ มากน้อยแตกต่างกัน และความจาเป็นที่แตกต่างกันสาหรับสัตว์ ได้แก่ 6.1 แบ่งตามความต้องการของสัตว์ 1) แร่ธาตุหลัก (Macro minerals/ major mineral) เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการมากกว่า 100 มิลลิกรัมต่อวันขึ้นไป หรือเป็นแร่ธาตุที่มี อยู่ในร่างกายสัตว์มากกว่า 5 กรัม ได้แก่ แคลเซียม (Ca) ฟอสฟอรัส (P) โซเดียม (Na) โปตัสเซียม (K) คลอรีน (Cl) แมกนีเซียม (Mg) และกามะถัน (S) 2) แร่ธาตุรองหรือแร่ธาตุปลีกย่อย (minor minerals หรือ micro minerals หรือ trace minerals) เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการน้อยกว่า 100 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเป็นแร่ธาตุที่มีอยู่ ร่างกายสัตว์น้อยกว่า 5 กรัม ได้แก่ เหล็ก (Fe) ทองแดง (Cu) แมงกานิส (Mn) ไอโอดีน (I) สังกะสี (Zn) ฟลูออลีน (F) โคบอลท์ (Co) โมลิบดีนัม (Mo) ซีลีเนียม (Se) ซิลิกอน (Si) และนิเกิล (Ni) 6.2 แบ่งตามความจาเป็นของร่างกายสัตว์ 1) กลุ่มแร่ธาตุที่มีความจาเป็นเกี่ยวกับการสร้างโครงร่างของร่างกาย (structural Elements ได้แก่ แคลเซียม (Ca) และฟอสฟอรัส (P) แมกนีเซียม (Mg) ฟลูออไรด์ (F) และซิลิคอน (Si) ที่เป็น ส่วนประกอบของกระดูก และฟัน สาหรับฟอสฟอรัสและกามะถันจัดเป็นแร่ธาตุที่จาเป็นต่อการสร้างโปรตีนใน 2) กลุ่มแร่ธาตุที่เป็นองค์ประกอบของของเหลวในร่างกายและเนื้อเยื่อต่างๆ แร่ธาตุ เหล่านี้ที่มีความเกี่ยวข้องกับการควบคุมความสมดุลของกรดและด่างในร่างกาย รักษาความดันออสโมติก (Osmotic pressure) ของส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น โซเดียม (Na) โพแตสเซียม (K) และคลอไรด์ (Cl) เป็น ต้น 3) กลุ่มแร่ธาตุที่ทาหน้าที่เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์และฮอร์โมน เช่น ธาตุเหล็ก (Fe) ทองแดง (Cu) แมงกานีส (Mn) แมกนีเซียม (Mg) สังกะสี (Zn) โมลิบดินัม (Mo) ซิลิเนียม (Se) และไอโอดีน (I) เป็นต้น