PDF พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
Document Details
![OrganizedZirconium3356](https://quizgecko.com/images/avatars/avatar-18.webp)
Uploaded by OrganizedZirconium3356
2561
Tags
Related
- พ.ร.บ. การจัดซื้อจัดจ้าง (ชุดที่ 13) หน้า 6-10 PDF
- พรบ.ปปช. พ.ศ. 2561 PDF
- พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 PDF
- PDF พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต, พ.ศ. 2561
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย PDF
- พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันการทุจริต พ.ศ. 2561 PDF
Summary
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ในราชกิจจานุเบกษา เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต รวมถึงข้อกำหนดเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของบุคคล กฎหมายฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและและปราบปรามการทุจริต
Full Transcript
หน้า ๑ เล่ม ๑๓๕ ตอนที่ ๕๒ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๑ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๖๑...
หน้า ๑ เล่ม ๑๓๕ ตอนที่ ๕๒ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๑ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๖๑ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นปีที่ ๓ ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพ ระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พระราชบั ญ ญั ติ ป ระกอบรั ฐ ธรรมนู ญ นี้ มี บ ทบั ญ ญั ติ บ างประการเกี่ ย วกั บ การจํ า กั ด สิ ท ธิ แ ละ เสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๖ ประกอบกับมาตรา ๒๘ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๗ และมาตรา ๔๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมาย เหตุ ผลและความจํ าเป็ นในการจํ ากั ดสิ ทธิ และเสรี ภาพของบุ คคลตามพระราชบั ญ ญั ติ ประกอบ รั ฐธรรมนู ญ นี้ เพื่ อ ให้ การปฏิ บั ติ ห น้ าที่ ข องคณะกรรมการป้ อ งกั น และปราบปรามการทุ จ ริ ต แห่ งชาติ สามารถดําเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพอันจะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ซึ่งการตราพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญนี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญขึ้นไว้โดยคําแนะนํา และยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทําหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ หน้า ๒ เล่ม ๑๓๕ ตอนที่ ๕๒ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๑ มาตรา ๑ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๖๑” มาตรา ๒ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ (๒) ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๓๑ เรื่อง การดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๙ (๓) พระราชบัญ ญั ติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญ ญั ติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๕๐ (๔) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ (๕) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๘ (๖) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๙ (๗) ประกาศคณะรัก ษาความสงบแห่ งชาติ ฉบั บ ที่ ๒๔/๒๕๕๗ เรื่อ ง ให้ พ ระราชบั ญ ญั ติ ประกอบรัฐธรรมนู ญ มี ผลบั งคั บ ใช้ต่ อไป ลงวัน ที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เฉพาะในส่ว นที่ เกี่ย วกั บ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (๘) ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๒/๒๕๕๗ เรื่อง การดําเนินการตามกฎหมาย ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ลงวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๗ มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ “เจ้าพนักงานของรัฐ” หมายความว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ และคณะกรรมการ ป.ป.ช. “เจ้ าหน้ าที่ ข องรัฐ ” หมายความว่ า ข้ าราชการหรือ พนั ก งานส่ ว นท้ อ งถิ่ น ซึ่ งมี ตํ าแหน่ งหรื อ เงินเดือนประจํา ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐหรือในรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น หน้า ๓ เล่ม ๑๓๕ ตอนที่ ๕๒ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๑ ผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าพนักงานตามกฎหมาย ว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ หรือเจ้าพนักงานอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ และให้หมายความรวมถึงกรรมการ อนุกรรมการ ลูกจ้างของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ และบุคคลหรือคณะบุคคล บรรดาซึ่งมีกฎหมายกําหนดให้ใช้อํานาจหรือได้รับมอบให้ใช้อํานาจทางปกครองที่จัดตั้งขึ้นในระบบราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐด้วย แต่ไม่รวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ และคณะกรรมการ ป.ป.ช. “เจ้าหน้ าที่ ข องรัฐต่ างประเทศ” หมายความว่า ผู้ซึ่ งดํ ารงตํ าแหน่ งด้ านนิ ติ บั ญ ญั ติ บริห าร ปกครอง หรือตุลาการ ของรัฐต่างประเทศ และบุคคลใด ๆ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ให้แก่รัฐต่างประเทศ รวมทั้ง การปฏิบั ติห น้าที่ สําหรับ หน่วยงานของรัฐหรือ หน่วยงานรัฐวิส าหกิจ ไม่ว่าโดยการแต่งตั้งหรือ เลือกตั้ง มีตําแหน่งประจําหรือชั่วคราว และได้รับเงินเดือนหรือค่าตอบแทนอื่นหรือไม่ก็ตาม “เจ้าหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ” หมายความว่า ผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในองค์การระหว่างประเทศ หรือผู้ได้รับมอบหมายจากองค์การระหว่างประเทศให้ปฏิบัติหน้าที่ในนามขององค์การระหว่างประเทศนั้น “ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง” หมายความว่า (๑) นายกรัฐมนตรี (๒) รัฐมนตรี (๓) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (๔) สมาชิกวุฒิสภา (๕) ข้าราชการการเมืองอื่นนอกจาก (๑) และ (๒) ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง (๖) ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา “ผู้ ดํ า รงตํ า แหน่ ง ในองค์ ก รอิ ส ระ” หมายความว่ า ผู้ ดํ า รงตํ า แหน่ ง ในองค์ ก รอิ ส ระตามที่ รัฐธรรมนูญบัญญัติยกเว้นคณะกรรมการ ป.ป.ช. และให้หมายความรวมถึงผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินด้วย ยกเว้นกรณีตามมาตรา ๑๑ (๑) “ผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น” หมายความว่า ผู้ทําหน้าที่ช่วยเหลือผู้บริหารท้องถิ่น และให้หมายความ รวมถึ งผู้ทํ าหน้ าที่ ช่ วยเหลื อสภาท้ องถิ่ นหรือสมาชิ กสภาท้ องถิ่ นขององค์ กรปกครองส่ วนท้ องถิ่ นด้ วย ทั้ งนี้ ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กําหนด “ผู้ดํารงตําแหน่งระดับสูง” หมายความว่า ผู้ดํารงตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง ทบวง กรมหรือส่วนราชการที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลซึ่งมิใช่ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองสําหรับข้าราชการพลเรือน หน้า ๔ เล่ม ๑๓๕ ตอนที่ ๕๒ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๑ และปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการเหล่าทัพสําหรับข้าราชการทหาร และ ผู้ บั ญ ชาการตํ า รวจแห่ ง ชาติ และให้ ห มายความรวมถึ ง ผู้ ว่ า ราชการจั ง หวั ด ปลั ด กรุ ง เทพมหานคร กรรมการและผู้ บ ริ ห ารสู ง สุ ด ของรั ฐ วิ ส าหกิ จ หั ว หน้ า หน่ ว ยงานขององค์ ก รอิ ส ระตามรั ฐ ธรรมนู ญ แต่ไม่รวมถึงผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน กรรมการและผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานอื่นของรัฐ ผู้ดํารงตําแหน่งอื่น ตามที่กฎหมายกําหนด หรือผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่าตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กําหนด “ผู้ ถู ก กล่ า วหา” หมายความว่ า ผู้ ซึ่ ง คณะกรรมการ ป.ป.ช. มี ม ติ ให้ ดํ า เนิ น การไต่ ส วน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ ไม่ว่าจะในฐานะเป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนในการกระทํา ความผิดดังกล่าว “คณะกรรมการ ป.ป.ช.” หมายความว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ “ประธานกรรมการ” หมายความว่า ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ “กรรมการ” หมายความว่า กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และให้หมายความ รวมถึงประธานกรรมการด้วย “เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ “พนั ก งานเจ้ าหน้ าที่ ” หมายความว่า เลขาธิ การ และข้ าราชการในสั งกั ด สํ านั ก งาน และ ให้ หมายความรวมถึงข้าราชการหรือพนักงานซึ่งมาช่วยราชการในสํานักงานซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้แต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ “หัวหน้าพนักงานไต่สวน” หมายความว่า ผู้ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. แต่งตั้งจากพนักงานไต่สวน “ไต่ ส วน” หมายความว่ า การแสวงหา รวบรวม และการดํ า เนิ น การอื่ น ใด เพื่ อ ให้ ได้ ม า ซึ่งข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน “ทุจริตต่อหน้าที่” หมายความว่า ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตําแหน่งหรือหน้าที่ หรื อ ปฏิ บั ติ ห รื อ ละเว้ น การปฏิ บั ติ อ ย่ า งใดในพฤติ ก ารณ์ ที่ อ าจทํ า ให้ ผู้ อื่ น เชื่ อ ว่ า มี ตํ า แหน่ ง หรื อ หน้ า ที่ ทั้งที่ตนมิได้มีตําแหน่งหรือหน้าที่นั้น หรือใช้อํานาจในตําแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาประโยชน์ ที่มิควรได้โดยชอบสําหรับตนเองหรือผู้อื่น หรือกระทําการอันเป็นความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการหรือ ความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมตามประมวลกฎหมายอาญาหรือตามกฎหมายอื่น “ร่ํารวยผิดปกติ” หมายความว่า การมีทรัพย์สินมากผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมากผิดปกติ หรือการมีหนี้สินลดลงมากผิดปกติ หรือได้ทรัพย์สินมาโดยไม่มีมูลอันจะอ้างได้ตามกฎหมายสืบเนื่องมาจาก หน้า ๕ เล่ม ๑๓๕ ตอนที่ ๕๒ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๑ การปฏิบัติตามหน้าที่หรือใช้อํานาจในตําแหน่งหน้าที่ รวมทั้งกรณีมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติสืบเนื่องจาก การเปรียบเทียบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินด้วย “พนักงานสอบสวน” หมายความว่า พนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และให้หมายความรวมถึงพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษด้วย มาตรา ๕ ในกรณีที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้มิได้กําหนดไว้เป็นประการอื่น การใดที่กําหนดให้แจ้ง ยื่น หรือส่งหนังสือหรือเอกสารให้บุคคลใดเป็นการเฉพาะ ถ้าได้แจ้ง ยื่น หรือ ส่งหนังสือหรือเอกสารให้บุคคลนั้น ณ ภูมิลําเนาหรือที่อยู่ที่ปรากฏตามหลักฐานทางทะเบียนตามกฎหมาย ว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ให้ถือว่าได้แจ้ง ยื่น หรือส่งโดยชอบด้วยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้แล้ว และในกรณี ที่พระราชบัญ ญั ติประกอบรัฐธรรมนูญ นี้กําหนดให้ประกาศหรือเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ เป็นการทั่วไป ให้ถือว่าการประกาศหรือเผยแพร่ในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหรือระบบหรือวิธีการอื่นใด ที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก เป็นการดําเนินการโดยชอบด้วยพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญนี้แล้ว ในกรณีที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้กําหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือเลขาธิการ มีอํานาจกําหนดหรือมีคําสั่งเรื่องใด ถ้ามิได้กําหนดวิธีการไว้เป็นการเฉพาะ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือเลขาธิการกําหนดโดยทําเป็นประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคําสั่ง แล้วแต่กรณี และถ้าประกาศ ระเบี ย บ ข้ อ บั ง คั บ หรื อ คํ า สั่ ง นั้ น ใช้ บั ง คั บ แก่ บุ ค คลทั่ ว ไป ให้ ป ระกาศในราชกิ จ จานุ เบกษาและ ให้ดําเนินการประกาศตามวรรคหนึ่งด้วย ทั้งนี้ ถ้าประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคําสั่งใดมีการกําหนด ขั้นตอนการดําเนินงานไว้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือเลขาธิการต้องกําหนดระยะเวลาการดําเนินงาน ในแต่ละขั้นตอนให้ชัดเจนด้วย มาตรา ๖ ในการปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ต้องให้ความร่วมมือและความช่วยเหลือ องค์กรอิสระทุกองค์กร ในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นว่ามีผู้กระทําการอันไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันอยู่ในหน้าที่และอํานาจขององค์กรอิสระอื่น ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีหนังสือแจ้งองค์กรอิสระ ที่เกี่ยวข้องเพื่อดําเนินการตามหน้าที่และอํานาจต่อไปโดยไม่ชักช้า ในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นว่า การดําเนินการเรื่องใดที่อยู่ในหน้าที่และอํานาจของ คณะกรรมการ ป.ป.ช. อาจเข้าลักษณะเป็นการกระทําความผิดที่อยู่ในหน้าที่และอํานาจขององค์กรอิสระอื่นด้วย ให้ ค ณะกรรมการ ป.ป.ช. ปรึ ก ษาหารื อ ร่ ว มกั บ องค์ ก รอิ ส ระอื่ น ที่ เกี่ ย วข้ อ งเพื่ อ กํ า หนดแนวทางใน การดําเนินงานร่วมกันเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของแต่ละองค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและไม่ซ้ําซ้อนกัน หน้า ๖ เล่ม ๑๓๕ ตอนที่ ๕๒ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๑ เพื่อประโยชน์ในการดําเนินการตามวรรคสอง ให้ประธานกรรมการมีอํานาจเชิญประธานองค์กรอิสระอื่น มาร่วมประชุมเพื่อหารือและกําหนดแนวทางร่วมกันได้ และให้องค์กรอิสระทุกองค์กรปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าว มาตรา ๗ ในการดําเนินคดีอาญาตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ ถ้าผู้ถูกกล่าวหา หรือจําเลยหลบหนีไปในระหว่างถูกดําเนินคดีหรือระหว่างการพิจารณาของศาล มิให้นับระยะเวลาที่ผู้ถูกกล่าวหา หรือ จํ าเลยหลบหนี รวมเป็ น ส่ วนหนึ่ งของอายุ ค วาม และเมื่ อ ได้ มี คํ าพิ พ ากษาถึ งที่ สุ ด ให้ ล งโทษจํ าเลย ถ้าจําเลยหลบหนีไปในระหว่างต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษ มิให้นําบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๘ มาใช้บังคับ มาตรา ๘ ให้ ป ระธานกรรมการป้ อ งกั น และปราบปรามการทุ จ ริ ต แห่ ง ชาติ รั ก ษาการ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ หมวด ๑ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ส่วนที่ ๑ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มาตรา ๙ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประกอบด้วยกรรมการ จํ า นวนเก้ า คน ซึ่ ง พระมหากษั ต ริ ย์ ท รงแต่ ง ตั้ ง ตามคํ า แนะนํ า ของวุ ฒิ ส ภาจากผู้ ซึ่ ง ได้ รั บ การสรรหา โดยคณะกรรมการสรรหา ผู้ซึ่งได้รับการสรรหาต้องเป็นผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ด้านกฎหมาย บัญชี เศรษฐศาสตร์ การบริหารราชการแผ่ นดิ น หรือการอื่ นใดอั นเป็ นประโยชน์ ต่ อการป้ องกั นและปราบปราม การทุจริต และต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ด้วย (๑) รับราชการหรือเคยรับราชการในตําแหน่งไม่ต่ํากว่าอธิบดีผู้พิพากษา อธิบดีศาลปกครองชั้นต้น ตุลาการพระธรรมนูญหัวหน้าศาลทหารกลาง หรืออธิบดีอัยการมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี (๒) รับราชการหรือเคยรับราชการในตําแหน่งไม่ต่ํากว่าอธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เทียบเท่า มาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี (๓) เป็นหรือเคยเป็นผู้ดํารงตําแหน่งผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี