พ.ร.บ. การจัดซื้อจัดจ้าง (ชุดที่ 13) หน้า 6-10 PDF

Summary

เอกสารนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับกฎหมายการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในประเทศไทย โดยระบุรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการและขั้นตอนต่างๆ ในการจัดซื้อจัดจ้าง และการป้องกันการทุจริต

Full Transcript

หน้า ๑๘ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๒๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ให้ใช้หลักการตามวรรคหนึ่งเป็นแนวทางในการปฏิบัติตามอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบาย คณะกรรมการวินิจฉัย คณะก...

หน้า ๑๘ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๒๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ให้ใช้หลักการตามวรรคหนึ่งเป็นแนวทางในการปฏิบัติตามอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบาย คณะกรรมการวินิจฉัย คณะกรรมการราคากลาง คณะกรรมการ ค.ป.ท. และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โดยอนุโลม มาตรา ๙ การกําหนดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่จะทําการจัดซื้อจัดจ้าง ให้หน่วยงานของรัฐ คํานึงถึงคุณภาพ เทคนิค และวัตถุประสงค์ของการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุนั้น และห้ามมิให้กําหนดคุณลักษณะเฉพาะ ของพัสดุให้ใกล้เคียงกับยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่ง หรือของผู้ขายรายใดรายหนึ่งโดยเฉพาะ เว้นแต่พัสดุที่จะทํา การจัดซื้อจัดจ้างตามวัตถุประสงค์นั้นมียี่ห้อเดียวหรือจะต้องใช้อะไหล่ของยี่ห้อใด ก็ให้ระบุยี่ห้อนั้นได้ มาตรา ๑๐ ภายใต้บังคับมาตรา ๖๖ ห้ามมิให้หน่วยงานของรัฐเปิดเผยข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอ ในส่วนที่เป็นสาระสําคัญและเป็นข้อมูลทางเทคนิคของผู้ยื่นข้อเสนอ ซึ่งอาจก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ ระหว่างผู้ยื่นข้อเสนอด้วยกันต่อผู้ซึ่งมิได้เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างครั้งนั้นหรือต่อผู้ยื่นข้อเสนอรายอื่น เว้นแต่เป็นการเปิดเผยข้อมูลต่อผู้มีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมาย หรือการดําเนินการตามกฎหมาย มาตรา ๑๑ ให้หน่วยงานของรัฐจัดทําแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจําปี และประกาศเผยแพร่ ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางและของหน่วยงานของรัฐตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกําหนด และให้ปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ปิดประกาศของหน่วยงานของรัฐนั้น เว้นแต่ (๑) กรณีที่มีความจําเป็นเร่งด่วนหรือเป็นพัสดุที่ใช้ในราชการลับ ทั้งนี้ ตามมาตรา ๕๖ (๑) (ค) หรือ (ฉ) (๒) กรณีที่มีวงเงินในการจัดซื้อจัดจ้างตามที่กําหนดในกฎกระทรวงหรือมีความจําเป็นต้องใช้พัสดุ โดยฉุกเฉินหรือเป็นพัสดุที่จะขายทอดตลาด ทั้งนี้ ตามมาตรา ๕๖ (๒) (ข) (ง) หรือ (ฉ) (๓) กรณี ที่ เ ป็ น งานจ้ า งที่ ป รึ ก ษาที่ มี ว งเงิ น ค่ า จ้ า งตามที่ กํ า หนดในกฎกระทรวงหรื อ ที่ มี ความจําเป็นเร่งด่วนหรือที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ ทั้งนี้ ตามมาตรา ๗๐ (๓) (ข) หรือ (ฉ) (๔) กรณีที่เป็นงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างที่มีความจําเป็นเร่งด่วนหรือที่เกี่ยวกับ ความมั่นคงของชาติตามมาตรา ๘๒ (๓) หลั ก เกณฑ์ วิ ธี ก าร และรายละเอี ย ดการจั ด ทํ า แผนการจั ด ซื้ อ จั ด จ้ า งตามวรรคหนึ่ ง และการเปลี่ยนแปลงแผน ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกําหนด มาตรา ๑๒ หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีการบันทึกรายงานผลการพิจารณารายละเอียด วิธีการและขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างและจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อประโยชน์ในการตรวจดูข้อมูล เมื่อมีการร้องขอ การจั ดทํ าบั น ทึกรายงานผลการพิจ ารณา รายละเอีย ดวิ ธีก ารและขั้น ตอนการจั ดซื้ อ จั ดจ้ า ง และการร้องขอเพื่อตรวจดูบันทึกรายงานดังกล่าว ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกําหนด มาตรา ๑๓ ในการจั ด ซื้ อ จั ด จ้ า ง ผู้ ที่ มี ห น้ า ที่ ดํ า เนิ น การต้ อ งไม่ เ ป็ น ผู้ มี ส่ ว นได้ เ สี ย กั บ ผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญาในงานนั้น หน้า ๑๙ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๒๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ในกรณี ที่ ป รากฏในภายหลั ง ว่ า ผู้ ที่ มี ห น้ า ที่ ดํ า เนิ น การตามวรรคหนึ่ ง เป็ น ผู้ มี ส่ ว นได้ เ สี ย กั บ ผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญาในขั้นตอนหนึ่งขั้นตอนใดของการจัดซื้อจัดจ้าง หรือเป็นกรรมการในคณะกรรมการ การจัดซื้อจัดจ้าง แต่ไม่มีผลต่อการจัดซื้อจัดจ้างอย่างมีนัยสําคัญ การจัดซื้อจัดจ้างนั้นย่อมไม่เสียไป มาตรา ๑๔ เพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้างเป็นไปโดยเรียบร้อยและไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อหน่วยงานของรัฐ ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐได้ทําการจัดซื้อจัดจ้างขั้นตอนหนึ่งขั้นตอนใดผิดพลาด หรือผิดหลงเล็กน้อยและไม่มีผลต่อการจัดซื้อจัดจ้างอย่างมีนัยสําคัญ การจัดซื้อจัดจ้างนั้นย่อมไม่เสียไป มาตรา ๑๕ ผู้มีอํานาจอนุมัติสั่งซื้อหรือสั่งจ้างพัสดุโดยวิธีใดตามพระราชบัญญัตินี้จะเป็น ผู้ดํารงตําแหน่งใดและภายในวงเงินเท่าใด ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกําหนด หมวด ๒ การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและผู้ประกอบการในการป้องกันการทุจริต มาตรา ๑๖ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้ ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการสังเกตการณ์ขั้นตอนหนึ่งขั้นตอนใดของการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐ ตามที่กําหนดไว้ในหมวดนี้ มาตรา ๑๗ ในการดําเนินการตามมาตรา ๑๖ คณะกรรมการ ค.ป.ท. อาจกําหนดให้มี การจั ด ทํ า ข้ อ ตกลงคุ ณ ธรรมตามโครงการความร่ ว มมื อ ป้ อ งกั น การทุ จ ริ ต ในการจั ด ซื้ อ จั ด จ้ า งภาครั ฐ ตามมาตรา ๑๘ ก็ไ ด้ ทั้ง นี้ การจัดซื้ อจั ดจ้ างที่ต้อ งจั ดทํ าข้ อ ตกลงคุณ ธรรมดั งกล่าวให้เป็ นไปตามที่ คณะกรรมการ ค.ป.ท. ประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา โดยอย่างน้อยให้คํานึงถึงวงเงินของการจัดซื้อ จัดจ้าง มาตรการป้องกันการทุจริต การจัดซื้อจัดจ้างที่มีความเสี่ยงต่อการทุจริต และความคล่องตัว ในการดําเนินงานของหน่วยงานของรัฐเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย คณะกรรมการ ค.ป.ท. อาจกําหนดวิธีการนอกเหนือจากวรรคหนึ่งเพื่ออํานวยความสะดวก ให้ ภ าคประชาชนมี ส่ ว นร่ ว มในการจั ด ซื้ อ จั ด จ้ า งภาครั ฐ ก็ ไ ด้ ทั้ ง นี้ ตามที่ ค ณะกรรมการ ค.ป.ท. ประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๑๘ ข้อตกลงคุณธรรมตามโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง ภาครัฐ ให้จัดทําเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการและผู้ประกอบการที่จะเข้า ยื่นข้อเสนอ โดยฝ่ายหน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการและฝ่ายผู้ประกอบการที่จะเข้ายื่นข้อเสนอต้อง ตกลงกันว่าจะไม่กระทําการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง และให้มีผู้สังเกตการณ์ซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ ที่จําเป็นต่อโครงการจัดซื้อจัดจ้างนั้น ๆ เข้าร่วมสังเกตการณ์ในการจัดซื้อจัดจ้างตั้งแต่ ขั้นตอนการจัดทําร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดของพัสดุที่จะทําการจัดซื้อจัดจ้างและร่างเอกสาร เชิญชวนจนถึงขั้นตอนสิ้นสุดโครงการ โดยผู้สังเกตการณ์ต้องมีความเป็นกลางและไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสีย ในโครงการการจัดซื้อจัดจ้างนั้น แล้วให้รายงานความเห็นพร้อมข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการ ค.ป.ท. ทราบด้วย หน้า ๒๐ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๒๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ แนวทางและวิธีการในการดําเนินงานโครงการ แบบของข้อตกลงคุณธรรม การคัดเลือกผู้สังเกตการณ์ และการจัดทํารายงานตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการ ค.ป.ท. ประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๑๙ ผู้ ป ระกอบการที่ อ ยู่ ใ นประเภทหรื อ มี ว งเงิ น ในการจั ด ซื้ อ จั ด จ้ า งตามที่ คณะกรรมการ ค.ป.ท. ประกาศกํ า หนดในราชกิ จ จานุ เ บกษา หากประสงค์ จ ะเข้ า ยื่ น ข้ อ เสนอกั บ หน่วยงานของรัฐในการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องจัดให้มีนโยบายในการป้องกันการทุจริต และมีแนวทางป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างที่เหมาะสม มาตรฐานขั้นต่ําของนโยบายและแนวทางป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างที่ผู้ประกอบการ ต้องจัดให้มีตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการ ค.ป.ท. ประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา หมวด ๓ คณะกรรมการ ส่วนที่ ๑ คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ มาตรา ๒๐ ให้ มี ค ณะกรรมการนโยบายการจั ด ซื้ อ จั ด จ้ า งและการบริ ห ารพั ส ดุ ภ าครั ฐ ประกอบด้วย (๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังซึ่งรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลังมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ (๒) กรรมการโดยตํ า แหน่ ง ได้ แ ก่ ปลั ด สํ า นั ก นายกรั ฐ มนตรี ปลั ด กระทรวงการคลั ง ปลั ด กระทรวงดิ จิ ทั ล เพื่ อ เศรษฐกิ จ และสั ง คม เลขาธิ ก ารคณะกรรมการกฤษฎี ก า ผู้ อํ า นวยการ สํ า นั ก งบประมาณ อั ย การสู ง สุ ด อธิ บ ดี ก รมส่ ง เสริ ม การปกครองท้ อ งถิ่ น ผู้ อํ า นวยการสํ า นั ก งาน คณะกรรมการนโยบายรัฐ วิสาหกิจ ผู้ ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และเลขาธิ การคณะกรรมการป้องกั น และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (๓) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจํานวนไม่น้อยกว่าห้าคนแต่ไม่เกินเจ็ดคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง จากสภาวิศวกร สภาสถาปนิก สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แห่งละหนึ่งคน ในส่วนที่เหลือให้แต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม การเงิน การคลัง การบริหารจัดการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเป็นประโยชน์ต่อการดําเนินงานของคณะกรรมการนโยบาย ให้อธิบดีกรมบัญชีกลางเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ข้าราชการของกรมบัญชีกลาง ซึ่งอธิบดีกรมบัญชีกลางมอบหมายจํานวนสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ หน้า ๒๑ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๒๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ มาตรา ๒๑ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ํากว่าสามสิบห้าปี (๓) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรือไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต (๔) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๕) ไม่เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิด ที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๖) ไม่เป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการหรือผู้ดํารงตําแหน่งอื่นในพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง (๗) ไม่มีส่วนได้เสียหรือมีผลประโยชน์ขัดแย้งโดยตรงกับการปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่งกรรมการ มาตรา ๒๒ กรรมการผู้ ท รงคุ ณวุ ฒิ มีว าระอยู่ ในตํ าแหน่ง คราวละสามปี และอาจได้ รั บ แต่งตั้งอีกได้ แต่จะดํารงตําแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้ เมื่อครบกําหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง ให้ดําเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใหม่ภายใน หกสิบวัน ในระหว่างที่ยังมิได้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจาก ตําแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตําแหน่งเพื่อดําเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่ เข้ารับหน้าที่ มาตรา ๒๓ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๑ (๔) คณะรั ฐ มนตรี ใ ห้ อ อก เพราะหย่ อ นความสามารถ บกพร่ อ งหรื อ ทุ จ ริ ต ต่ อ หน้ า ที่ หรือมีความประพฤติเสื่อมเสีย ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งก่อนวาระหรือมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในระหว่างที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่แต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตําแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งเพิ่มขึ้น หรือแต่งตั้งแทนตําแหน่งที่ว่าง ให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งนั้นดํารงตําแหน่งได้เท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิที่แต่งตั้งไว้แล้วนั้น ทั้งนี้ ในกรณีการแต่งตั้งแทนตําแหน่งที่ว่าง หากวาระที่เหลืออยู่ไม่ถึง เก้าสิบวันจะไม่แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนก็ได้ ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งก่อนวาระ ให้คณะกรรมการนโยบายประกอบด้วย กรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคสอง มาตรา ๒๔ ให้คณะกรรมการนโยบายมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอแนะนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐต่อคณะรัฐมนตรี หน้า ๒๒ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๒๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ (๒) เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหาร พัสดุภาครัฐต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (๓) กํากับดูแลการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐของหน่วยงานของรัฐให้เป็นไป ตามแนวทางของพระราชบัญญัตินี้ (๔) วินิจ ฉัยความเป็นโมฆะของสั ญญาหรือ ข้อตกลงตามมาตรา ๑๐๔ รวมทั้ งตีค วามและ วินิจฉัยปัญหาข้อหารือเกี่ยวกับประกาศที่คณะกรรมการนโยบายออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ (๕) กําหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานและจรรยาบรรณของเจ้าหน้าที่ (๖) กําหนดแนวทาง วิธีปฏิบัติ แบบหรือตัวอย่าง เกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบที่ออก ตามความในพระราชบัญญัตินี้ (๗) จัดทํารายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้เสนอคณะรัฐมนตรีอย่างน้อยปีละ หนึ่งครั้ง (๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กําหนดในพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี มอบหมาย ในการปฏิบัติตามอํานาจหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการนโยบายอาจเชิญเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง หรือบุคคลอื่นใดมาแสดงความคิดเห็น ชี้แจง หรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบ การพิจารณาได้ ผลการดําเนินการตาม (๔) (๕) (๖) และ (๗) ให้ประกาศในระบบเครือข่ายสารสนเทศของ กรมบัญชีกลางตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกําหนด มาตรา ๒๕ การประชุมคณะกรรมการนโยบาย ต้อ งมี กรรมการมาประชุมไม่ น้อ ยกว่ า กึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ให้ประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจ ปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการซึ่งมาประชุมคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมในเรื่องซึ่งที่ประชุม พิจารณา ห้ามมิให้เข้าร่วมประชุมหรือมีมติในเรื่องนั้น ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าประธานกรรมการ หรือกรรมการผู้นั้นมีส่วนได้เสียโดยตรงหรือโดยอ้อมในเรื่องซึ่งที่ประชุมพิจารณาหรือไม่ ให้ที่ประชุม พิจารณาตามระเบียบที่รัฐมนตรีกําหนด ซึ่งในระหว่างที่ประชุมพิจารณาเรื่องดังกล่าว ประธานกรรมการ หรือกรรมการผู้นั้นเมื่อได้ชี้แจงและตอบข้อซักถามแล้วจะต้องออกจากที่ประชุม และให้ถือว่าคณะกรรมการนโยบาย ประกอบไปด้วยประธานกรรมการและกรรมการทุกคน แล้วแต่กรณี ที่ไม่ใช่ผู้ต้องออกจากที่ประชุม เพราะเหตุดังกล่าว

Use Quizgecko on...
Browser
Browser