🎧 New: AI-Generated Podcasts Turn your study notes into engaging audio conversations. Learn more

บทที่6-Blockchain.pdf

Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

Full Transcript

บทที่ 6 บล็อกเชน Blockchain 1 ความหมายของ บล็อกเชน 7 การทำงานของ บล็อกเชน TABLE OF 2 ประเภทของบล็อกเชน 6 เครือข่ายบล็อกเชน CONTENT 3 องค์ประกอบของ บ...

บทที่ 6 บล็อกเชน Blockchain 1 ความหมายของ บล็อกเชน 7 การทำงานของ บล็อกเชน TABLE OF 2 ประเภทของบล็อกเชน 6 เครือข่ายบล็อกเชน CONTENT 3 องค์ประกอบของ บล็อกเชน 7 ประโยชน์ของการนำ บล็อกเชนมาใช้กับ ธุรกิจ คุณสมบัติของบล็อกเชน การนำบล็อกเชน 4 8 มาประยุกต์ใช้กับ ธุรกิจ บล็อกเชน Blockchain รูปแบบการเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลของคอมพิวเตอร์ แบบหนึ่ง ที่มีลักษณะคล้ายการ เก็บข้อมูลแบบห่วงโซ่ ที่ ข้อมูลจะถูกเก็บเป็น Block และร้อยเรียงด้วย Chain มันเป็นฐานข้อมูลสาธารณะ หมายความว่าข้อมูลที่ถูก บันทึกบนBlockchain จะถูกเปิดเผยเป็นสาธารณะและ สามารถถูกเข้ามาตรวจสอบ ได้ ข้อมูลเหล่านี้จะไม่มี ส่วนกลางเข้ามาทำหน้าที่ควบคุมและปกป้อง ดังนั้น แฮ็คเกอร์จะไม่สามารถเข้ามาแฮ็คข้อมูลนี้ได้ เนื่องจาก ว่าไม่มีจุดศูนย์กลางให้โจมตี บล็อกเชน Blockchain ระบบการเก็บข้อมูลสาธารณะ ในรูปแบบรายการเดิน บัญชี (ledger) โดย ระบบนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ตัวกลางใน การบริหารจัดการข้อมูล เพราะเป็นการเก็บข้อมูลแบบ กระจายศูนย์ (decentralise) ซึ่งข้อมูลทั้งหมดจะถูกทำ สำเนาและเก็บบนคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายทุกเครื่อง หรือที่เรียกว่า node คำว่าบล็อกเชนนั้นมาจากการเรียก ข้อมูลดิจิทัล ว่า “บล็อก” (block) ซึ่งในระบบนี้จะถูกเก็บ ในฐานข้อมูลโดยยังคงข้อมูลที่เก็บไว้เดิมอยู่แล้ว เปรียบ เสมือนการต่อห่วง โซ่เดิม หรือ “เชน” (chain) ประเภทของ Blockchain 1. Blockchain แบบเปิดสาธารณะ (Public Blockchain) Blockchain สาธารณะที่ระบบโครงข่ายเปิดเสรีที่ใครต้องการเชื่อมต่อก็สามารถทำได้เพื่อทำธุรกรรมหรือดูธุรกรรมต่างๆที่เคยเกิดขึ้นบน โครงข่าย Public Blockchain ที่เชื่อมต่ออยู่ได้อย่างอิสระ โดยไม่ จำเป็นต้องขออนุญาต ตัวอย่างของระบบ Blockchain แบบเปิด สาธารณะ เช่น Bitcoin, Ethereum ข้อดี คนที่เชื่อมกับ Public Blockchain เพื่อทำธุรกรรมนั้นไม่จำเป็นต้องเสียเงินลงทุนหรือซื้อเครื่อง Server มาติดตั้งระบบเอง เนื่องจากระบบ Public Blockchain มี server ที่พร้อมให้ใช้งานเพื่อเก็บข้อมูลหรือ ทำธุรกรรมแบบออนไลน์เปลี่ยนแปลงหรือปลอมแปลง ข้อมูลได้ยาก เนื่องจากระบบเปิดให้เชื่อมต่อได้อิสระเลย มีจำนวนเครื่องที่เข้ามาเชื่อมต่อหรือเก็บข้อมูลธุรกรรมที่เหมือนกันทุกเครื่อง ทำให้การที่จะปลอมแปลงได้ยาก ขึ้น ข้อเสีย เนื่องจากเป็นระบบแบบเปิด(สาธารณะ) ข้อมูลหรือธุรกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ในโครงข่ายนั้น จะถูกเปิดเผยสู่สาธารณะ จึงไม่มี ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ทำให้ไม่เหมาะแก่การเก็บข้อมูลที่เป็นความลับได้ ลักษณะงานที่ใช้ส่วนใหญ่ Public Blockchain จะเป็นนักพัฒนาโปรแกรมที่ใช้ระบบนี้ เนื่องจาก ระบบ setup ต่างๆให้หมดแล้ว เป็นบล็อกเชนสำหรับ แนวคิดการกระจายอำนาจ (decentralized) อย่าง แท้จริง มันไม่มีข้อจำกัดใดๆ ในการเข้าร่วมระบบ (Permissionless) ขอแค่ มีคอมพิวเตอร์กับ อินเทอร์เน็ตก็สามารถเข้า ร่วมระบบได้ ประเภทของ Blockchain 2. Blockchain แบบปิด (Private Blockchain) คือ Blockchain ส่วนตัวที่ใช้ภายในองค์กรหรือบริษัทที่ร่วมด้วยเท่านั้น ทำให้คนในองค์กรหรือผู้ที่ ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่สามารถทำ ธุรกรรมต่างๆ ในระบบ Blockchain ได้ โดยข้อมูลหรือประวัติการทำธุรกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นก็จะถูกจำกัดอยู่เฉพาะภายในเครือข่าย ซึ่ง มีแต่สมาชิกที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นจะ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ดังนั้น Private Blockchain เหมาะกับองค์กรหรือบริษัทที่ต้องการรักษา ความ ปลอดภัยข้อมูลในระดับสูง ตัวอย่างของระบบ Blockchain แบบปิด เช่น Hyperledger, Tendermint ข้อดี ข้อมูลหรือการทำธุรกรรมต่างๆใน Private Blockchain องค์กรหรือบริษัทที่ไม่ได้อยู่โครงข่าย ก็ จะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ทำให้มี ความปลอดภัยของข้อมูลสูงเพราะมีแค่องค์กรหรือบริษัทที่เราร่วมด้วย เท่านั้นถึงจะเข้าถึงข้อมูลหรือทำธุรกรรมได้ และ สามารถกำหนด เวลาของทุกธุรกรรมได้ เช่น ถ้าเกิดธุรกรรม แล้วอยากให้เสร็จภายใน 5 วินาที เป็นต้น โดยถ้าเป็นของ Public Blockchain จะมีการ กำหนดเวลาของ ธุรกรรมอย่างชัดเจน จึงไม่สามารถแก้ไขได้ ข้อเสีย องค์กรหรือบริษัทต้องลงทุนในการสร้างระบบ Infrastructure ขึ้นมาให้รองรับการทำงาน ภายในองค์กร ซึ่งก็มีความท้าทายใน การดูแลรักษาและเงินที่องค์กรจะต้องลงทุนอีกเช่นกัน มีจำนวน Validator Node(โหนดตรวจสอบ) ที่น้อยเพราะเป็นแบบ Private Blockchain ทำให้เสี่ยงต่อการกู้คืนข้อมูล ไม่ได้ เมื่อเกิดการล่มหรือเกิดปัญหาที่ Validator Node ทุกตัวในเวลาพร้อมกัน จะทำให้ข้อมูล หรือธุรกรรมที่ เคยเกิดขึ้นก็จะหายไปและไม่สามารถกู้คืนได้ ลักษณะงานที่ใช้ส่วนใหญ่ Private Blockchain จะเป็นองค์กรหรือบริษัทที่ทำธุรกิจด้วยกันและ ต้องการเก็บข้อมูลให้เป็นความลับต่อ ภายนอก บล็อกเชนที่ถูกสร้างขึ้นมา เพื่อการใช้งานในองค์กร หรือบริษัทเท่านั้น โดยผู้ที่ ต้องการเข้าใช้งานจะต้อง ได้รับอนุญาตจากผู้ดูแล ผู้ที่มีส่วนร่วมสามารถร่วม กันเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ ในการตรวจสอบข้อมูลที่ จะบันทึกลงในบล็อกเชน ได้ด้วย ประเภทของ Blockchain 3. Blockchain แบบเฉพาะกลุ่ม (Consortium Blockchain) คือ Blockchain ประเภทนี้จะเป็นลักษณะการรวม public Blockchain กับ private Blockchain เข้าด้วยกัน โดยผู้ที่สามารถเชื่อมต่อหรือ ทำธุรกรรมได้ต้องอยู่ในกลุ่มเครือข่ายที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่ได้รับอนุญาต เท่านั้น โดยข้อมูลต่างๆ หรือธุรกรรมที่เคยเกิดขึ้นก็จะอยู่ในกลุ่ม ตัวเองเท่านั้น โดยปกติแล้ว Consortium Blockchain จะถูกใช้โดยองค์กรต่างๆ ที่มีลักษณะธุรกิจเหมือนกันต้องการจะแลกเปลี่ยน ข้อมูลกัน เพื่อ ผลประโยชน์ต่างๆ ขององค์กรเอง เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลการทำธุรกรรมต่างๆ หรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ ภายในกลุ่ม ของธนาคาร ข้อดี เหมาะส าหรับการทำงานร่วมกันขององค์กรที่ต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ซึ่งข้อมูลจะไม่หลุด ออกไปสู่ภายนอก และไม่ต้องแบก รับต้นทุนไว้ในองค์กรเดียว สามารถรับส่งข้อมูลระหว่างธุรกิจที่เกี่ยวข้องกัน ได้และข้อมูลสำคัญจะไม่หลุดออกสู่ภายนอก ข้อเสีย เนื่องจากเป็นระบบแบบเฉพาะกลุ่มเวลาองค์กรใดองค์กรหนึ่งอยากจะเปลี่ยนแปลงระบบ หรือ อยากจะUpdate ระบบจะต้องผ่าน ความเห็นชอบจากองค์กรสมาชิกอื่น ๆ ก่อน หากข้อมูลที่อยู่ในกลุ่มตัวเอง สูญหายไม่สามารถกู้คืนจากกลุ่มอื่นได้เนื่องจากเก็บข้อมูลที่ไม่ เหมือนกัน ลักษณะงานที่ใช้ส่วนใหญ่ Consortium Blockchain จะเป็นกลุ่มองค์กรหรือบริษัทที่ท าธุรกิจที่ เหมือนกันหรือมีผลประโยชน์ร่วมกันโดย ข้อมูลของแต่ละกลุ่มจะไม่ออกไปสู่ข้างนอกและไม่ต้องการเสียค่า setup ที่มากกว่า Private Blockchain บล็อกเชนที่ผสมผสานเอา แนวคิดของ Public Blockchain และ Private Blockchain เข้า ด้วยกัน เหมาะกับการรวม ตัวกันระหว่างองค์กรหรือ บริษัทที่ต้องมีการส่งข้อมูล ไปมาหากันอยู่ตลอดเวลา โดยธุรกรรมหรือข้อมูลที่ถูก เก็บบนบล็อกเชนนั้นจะถูก เก็บเป็นความลับ ไม่ได้มีการ เปิดเผยต่อสาธารณะ ทั้งหมด ประเภทของ Blockchain 4. Blockchain แบบอนุญาต (Permission Blockchain) คือ Blockchain ที่พัฒนามาจาก Private Blockchain สามารถเลือกได้ว่าต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือทำธุรกรรมกับองค์กรไหนใน โครงข่าย โดยองค์กรที่ไม่ถูกเลือกจะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลหรือดูธุรกรรมนั้น ได้ ตัวอย่างของระบบ Blockchain แบบอนุญาต เช่น Corda ข้อดี สามารถเลือกองค์กรที่ส่งข้อมูลหรือทำธุรกรรมได้ กรณีต้องการส่งข้อมูลที่เป็นความลับสามารถ เลือกส่งให้องค์กรที่ไว้ใจได้ ข้อเสีย ระบบของการจัดเก็บข้อมูลไม่เป็นแบบกระจาย และโหนดในระบบโครงข่ายเก็บข้อมูล บางส่วนที่ไม่เหมือนกันเนื่องจากมีสิทธิ์การ เข้าถึงข้อมูลที่ไม่เหมือนกัน ลักษณะงานที่ใช้ส่วนใหญ่ Permission Blockchain จะเป็นองค์กรหรือบริษัทที่ต้องการส่งข้อมูลที่ เป็นความลับกับบางองค์กรที่อยู่ใน โครงข่ายตัวเองเท่านั้น องค์ประกอบของเทคโนโลยี BLOCKCHAIN 1. BLOCK 2. CHAIN Chain คือ การเอา Hash ของ Block มาเรียงต่อกันเป็น Chain Block คือการเก็บข้อมูลในรูปแบบของกล่อง Hash ล่าสุด จะสามารถตรวจสอบได้ตลอดทั้ง Chain ว่าไม่ถูกเปลี่ยนแปลง (Block) และเมื่อเก็บแล้วข้อมูลภายในกล่องห้าม การทำธุรกรรม จะเชื่อถือได้ต่อเมื่อ Hash ล่าสุดของสองบัญชีมาเทียบ เปลี่ยนแปลง โดยจะมี Hash หรือ ลายนิ้วมือ บนหน้า แล้วตรงกัน กล่อง (Hash function คือการนำ input ขนาดยาว ผู้ใช้สามารถเก็บแค่ Hashล่าสุดได้ ไม่ต้องทั้งBlockchain ในการทำ เท่าไหร่ก็ได้มาแปลงเป็นค่าขนาดคงที่ ซึ่ง input จะให้ ธุรกรรม ค่า output เดิมเสมอ) ถ้าจะแก้ไขข้อมูลในบางกล่อง จะต้องแก้Chain ทั้งหมดในทุกBlock องค์ประกอบของเทคโนโลยี BLOCKCHAIN ฉันทามติ (Consensus) คือ ชุดคำสั่งทางคอมพิวเตอร์ (Algorithm) ที่ใช้สร้างฉันทามติ (Consensus) ในเครือข่ายแบบอัตโนมัติ โดยที่ผู้ใช้ในเครือข่ายไม่จำเป็นต้องรู้จักหรือ ไว้ใจกันก็ได้ เรียกว่า “Consensus Algorithm” Consensus Algorithm ใช้เพื่อส่งเสริมการกระจายอำนาจให้ผู้ใช้ทุกคนมีอำนาจเท่า เทียมกัน (Decentralized) โดยมีการตั้งกฎไว้ตั้งแต่ต้นและยึดถือกฎนั้นอย่างเคร่งครัด โดยพึ่งพา Blockchain ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ Blockchain สามารถรักษาความ ปลอดภัย และความน่าเชื่อถือเอาไว้ได้ 1. Proof of Work (POW) คือ กระบวนการทำ Consensus โดยใช้การแก้ปัญหาทาง คณิตศาสตร์ซึ่งมีความซับซ้อนและต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหานั้นๆจาก Nodes ต่างๆที่อยู่ในเครือข่ายหรือเรียกว่า “Miners” เพื่อยืนยันความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ จะถูกบันทึกเข้ามาในเครือข่าย โดย Miner จะได้รับค่าตอบแทนจากการทำ Proof-of- Work และด้วยวิธีการดังกล่าว ทำให้การแก้ไขข้อมูลที่ถูกบันทึกลงในระบบ Blockchain แล้วนั้นทำได้ยากโดยที่ไม่แก้ไขข้อมูลใน Block ถัดไป ยกตัวอย่างเช่น Bitcoins ซึ่งเป็น Public Blockchain ใช้วิธีการยืนยันรายการแบบ Proof-of-Work 3. Consensus องค์ประกอบของเทคโนโลยี BLOCKCHAIN 2.Proof-of-Stake คือ กระบวนการทำ Consensus โดยใช้หลักการวาง “สินทรัพย์” ของผู้ตรวจสอบ (Validator) ในการยืนยันธุรกรรม ผู้ตรวจสอบที่ทำการวางสินทรัพย์ จำนวนมากจึงมีโอกาสสูงที่จะได้รับสิทธิ์ในการเขียนข้อมูลธุรกรรมบน Block ถัดไป โดยผู้ ที่ทำการเขียนข้อมูลบน Block ถัดไปจะได้รับค่าธรรมเนียมการดำเนินงานเป็นรางวัล ตอบแทน ยกตัวอย่างเช่น Ethereum ซึ่งเป็น Public Blockchain ใช้วิธีการยืนยัน รายการแบบ Proof-of-Stake 3.Practical Byzantine Fault Tolerance (PBFT) คือ กระบวนการทำ Consensus โดย ใช้หลักการเสียงข้างมาก ซึ่งต้องมีจำนวนผู้ตรวจสอบ (Validator) ทั้งสิ้นจำนวน 3f+1 node เพื่อรับประกันความถูกต้องของระบบ โดย f คือ จำนวนผู้ตรวจสอบที่ไม่สามารถทำงานได้ในขณะนั้น ยกตัวอย่างเช่น HyperLedger ซึ่ง เป็น Private Blockchain ใช้วิธีการยืนยันรายการแบบ PBFT 3. Consensus องค์ประกอบของเทคโนโลยี BLOCKCHAIN 4.Proof-of-Authority คือ กระบวนการ Consensus โดยใช้การทำข้อตกลงร่วมกันใน การกำหนดสิทธิผู้ใช้งานหรือองค์กรที่เชื่อถือได้สำหรับการทำธุรกรรมด้วยวิธีการระบุชื่อ ผู้ใช้อย่างเป็นทางการให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละ Node บนเครือข่าย Blockchain ใน การทำธุรกรรมจะได้รับการตรวจสอบสิทธิ์จากบัญชีที่ได้รับอนุมัติหรือเรียกว่าผู้ตรวจ สอบ (Validator) ซึ่งทำหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยโดยใช้รูปแบบการหมุนเวียน สิทธิเพื่อกระจายความรับผิดชอบ และเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานอย่าง เป็นธรรม 3. Consensus องค์ประกอบของเทคโนโลยี BLOCKCHAIN การตรวจสอบความถูกต้องแบบทบทวนทั้งระบบและทุก Node ในระบบ Blockchain เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นไม่ว่าจะมาจากส่วนใดก็ตาม การตรวจสอบความถูกต้อง โดยใช้ Digital Signature (private key) เพื่อรับ ประกัน ว่าเข้าของบัญชีเป็นคนทำธุรกรรม หลักการแล้วการทำ Validation นั้นมีจุดประสงค์อยู่ 3 ประการคือ 1.วิธีการในการยอมรับ/ปฏิเสธ รายการใน Block นั้นๆ 2.วิธีการตรวจสอบที่ทุกคนในระบบยอมรับร่วมกัน 3.วิธีตรวจสอบความถูกต้องของแต่ละ Block 5. Wallet คือ กระเป๋าเงินที่ทำให้ทราบมูลค่าของเงินที่ถืออยู่ 4. VALIDATION Framework ในการพัฒนา Framework ในการการพัฒนา Blockchaing ที่นิยมเช่น Ethereum ใช้ Solidity / web3 ใช้ภาษา GO และ Stellar เน้น ระบบ Payment คุณสมบัติของ BLOCKCHAIN 1. บันทึกแล้วจะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง วิธีการทำงานของ Blockchain คืออาศัยการบันทึกข้อมูลเป็นรายการแบบต่อเนื่องเป็นสาย ข้อมูลที่ได้รับการบันทึกอยู่ในสายพร้อมกับ ทำการเข้ารหัสใหม่ทุกครั้งที่มีรายการข้อมูลเพิ่มเติมเข้าไป อีกทั้งข้อมูลที่ถูกต้องจะได้รับการเข้ารหัสซ้อนเพิ่มขึ้นทุกครั้งที่เกิดธุรกรรม ทั้งยังกระจายสำเนาไปยังหลายๆ Node ในระบบเพื่อยืนยันความถูกต้อง ด้วยวิธีการนี้ทำให้ Blockchain เก็บข้อมูลไว้โดยที่ไม่มีใคร สามารถแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือแทรกแซงรายการข้อมูลที่ถูกบันทึกไปแล้วได้ หากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลจำเป็นต้องทำธุรกรรมใหม่ เพิ่มเข้าไปเท่านั้น วิธีดังกล่าวช่วยให้ Blockchain ป้องกันการโจมตีในลักษณะบิดเบือนระบบเพื่อกำหนดการทำธุรกรรมตามใจชอบได้ 2. การกระจายศูนย์ อีกหนึ่งวิธีการทำงานของ Blockchain ที่โดดเด่นมากคือการใช้หลักการกระจายศูนย์หรือ Decentralization หลักการนี้เปิดให้ผู้ใช้มี สิทธิ์เต็มที่ในการใช้งานระบบตามลักษณะหรือขอบเขตบริการของ Blockchain นั้นโดยไม่จำเป็นต้องผ่านการรับรองจากหน่วยงาน กลางใดๆ หากอธิบายให้ง่ายคือผู้ใช้สามารถเก็บ Cryptocurrency, Digital Asset หรือแม้แต่ไฟล์เอกสาร และ Digital Art ต่างๆ บน Blockchain และเข้าถึงทั้งหมดนี้ที่ไหนก็ได้เพียงแค่มีอินเทอร์เน็ต ทั้งยังควบคุมสินทรัพย์นั้นผ่าน Private Key แนวคิดดังกล่าวเกิดขึ้น ด้วยเทคโนโลยี Blockchain และได้ขับเคลื่อนโลกการเงินสู่แนวคิด Decentralized Finance ซึ่งผู้ใช้สามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้ โดยไม่ต้องผ่านการช่วยเหลือจัดการโดยธนาคารหรือสถาบันการเงินนั่นเอง คุณสมบัติของ BLOCKCHAIN 3. ความปลอดภัยสูงด้วยระบบที่ซับซ้อน เมื่อพูดถึง Blockchain เรามักได้ยินคำว่าปลอดภัยสูงควบคู่กันมา แต่มีน้อยคนที่จะรู้ถึงสาเหตุความปลอดภัยของมัน ซึ่งจริงๆ แล้ว Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่มีความปลอดภัยมากที่สุดด้วยการใช้วิธีการเข้ารหัสแบบ Cryptography ซึ่งเป็นวิธีการแปลงข้อมูลเป็น รหัสเฉพาะผ่านการคำนวณโดยคอมพิวเตอร์ หากข้อมูลเป็นชุดเดียวกันทั้งหมด รหัสที่ออกมาจะเหมือนกันทั้งหมด แต่หากข้อมูลมีการ ดัดแปลงแม้เพียงส่วนเดียว รหัสทั้งหมดจะเปลี่ยนไป ดังนั้น การดัดแปลงข้อมูลและสวมรอยเพื่อบิดเบือนธุรกรรมเข้าไปใน Blockchain จึงเป็นไปได้ยากมาก อีกทั้งยังป้องกันการสอดส่องข้อมูลด้วยการเข้ารหัสดังกล่าว เพราะรหัสไม่สามารถย้อนกลับเป็น ข้อมูลได้โดยง่าย และมีเพียงผู้ใช้เท่านั้นที่เข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้ด้วย Private Key และทำการส่งต่อข้อมูลได้ด้วย Public Key 4. ความเร็วสูงแม้ทำธุรกรรมข้ามโลก Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตอย่างเต็มที่ด้วยการเป็นตัวเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลดิจิทัลที่เข้าถึงได้เพียงเข้า ถึงอินเทอร์เน็ต พร้อมกับมี Ecosystem ที่อำนวยความสะดวกด้านการจัดการธุรกรรมและความปลอดภัยอย่างเป็นอัตโนมัติ การทำ ธุรกรรมบน Blockchain จึงมีข้อจำกัดในเรื่องของพื้นที่น้อยกว่า ยกตัวอย่างเรื่องการส่งเงินข้ามประเทศ เดิมทีเราต้องพึ่งพาตัวแทนผู้ ให้บริการซึ่งอาจกินเวลาดำเนินธุรกรรมให้เราเป็นวัน แต่หากเราส่งเงินผ่าน Blockchain ระบบจะสามารถดำเนินการเรียบร้อยใน 30 นาทีหรือเร็วกว่านั้น การสร้างกระบวนการให้เกิดความเร็วดังกล่าวถือเป็นก้าวสำคัญของโลกการเงินซึ่งกำลังจะเปลี่ยนแปลงสู่ยุค Decentralized Finance ในเร็ววันนี้ การทำงานของเทคโนโลยี BLOCKCHAIN P2P : เครือข่ายที่กระจายอำนาจไปแต่ละโหนด การเก็บข้อมูลระหว่างกันจะทำได้โดยไม่ต้องมีเซิร์ฟเวอร์ส่วนกลาง จุดแข็งของเทคโนโลยี BLOCKCHAIN มีความปลอดภัยสูงขึ้นอีกระดับ เทคโนโลยี Blockchain มีการปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัยของระบบที่ดีขึ้นกว่าเทคโนโลยีเก็บรักษาข้อมูล ในยุคก่อน โดยหากข้อมูลถูกเข้ารหัสและเก็บรักษาไว้ในบล็อกแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลง ทำการลบข้อมูล หรือทำการแก้ไขข้อมูลได้อีกเลย มีความโปร่งใส เครือข่าย Blockchain ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นเครือข่ายที่กระจายศูนย์ โดยไม่มีผู้มีอำนาจคนใดคนหนึ่งสามารถกำกับ ควบคุมระบบได้ ทำให้ระบบนี้มีความโปร่งใสสูง สามารถตรวจสอบได้ ช่วยลดต้นทุน เนื่องจากเป็นระบบที่ไม่มีตัวกลาง การใช้งาน Blockchain จึงไม่จำเป็นต้องเสียค่าธรรมเนียมให้กับตัวกลางแต่ อย่างใด ยังคงมีเพียงต้นทุนค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมบนแพลตฟอร์มเท่านั้น ที่ราคาจะถูกหรือแพงขึ้นอยู่ กับปริมาณการรองรับธุรกรรมที่ระบบรับได้ (Scalability) จุดแข็งของเทคโนโลยี BLOCKCHAIN สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ด้วยระบบที่ออกแบบมาให้สามารถตรวจสอบข้อมูลของบล็อกย้อนไปยังต้นสายได้ ทำให้การตรวจสอบข้อมูลย้อน กลับสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายในเครือข่าย Blockchain ประหยัดเวลาและให้ประสิทธิภาพสูง Blockchain เป็นระบบที่ช่วยให้ประหยัดเวลาเพื่อให้ประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูลได้สูงสุด โดยสามารถตัด ความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากมนุษย์ในการคำนวณของระบบออกไปได้ทั้งหมด เนื่องจากทั้งการเก็บข้อมูลและ ประมวลผลสามารถทำได้บนแพลตฟอร์มเดียวโดยไม่ต้องอาศัยแรงงานคน ซึ่งให้ประสิทธิภาพในการทำงานสูง และรวดเร็ว จุดอ่อนของเทคโนโลยี BLOCKCHAIN ไม่สามารถรองรับการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากได้ อย่างไรก็ตามระบบบล็อกเชนของเจ้าต่าง ๆ ในปัจจุบันยังมีปัญหาเรื่องการรองรับขนาดการใช้งานที่สูงขึ้น (Scalability) อย่างไรก็ตามด้วยเทคโนโลยียังคงมีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่องในอนาคฅ ปัญหาในข้อนี้อาจจะ สามารถแก้ไขได้ในเร็ววัน ในทางทฤษฎีระบบนี้สามารถถูกแฮ็กได้ ยังมีคนกล่าว่าในทางทฤษฎีบล็อกเชนสามารถถูกแฮ็กได้ เช่น การแฮ็ก Bitcoin ที่ในทางทฤษฎีหากสามารถ ควบคุมผู้ใช้เกินกว่า 51% ได้ก็จะสามารถควบคุมระบบได้ แต่ด้วยเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในขณะนี้ยังต้องบอกว่าวิธี การนี้แม้เป็นไปได้ในทางทฤษฎี แต่ในทางปฏิบัติแล้วเป็นไปได้ยากมากจนแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ใช้พลังงานสูง เนื่องจากการออกแบบระบบให้อ้างอิงกับการโค้ดดิ้งและมีการประมวลผลสูง ทำให้ Blockchain เป็นระบบที่กินไฟ และจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าจำนวนมากในการขับเคลื่อนระบบอย่างสำคัญ จุดอ่อนของเทคโนโลยี BLOCKCHAIN ยังไม่มีสถานะที่ถูกกำกับดูแลอย่างจริงจัง จนถึงปัจจุบันที่ Blockchain ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งนี้ Blockchain ก็ยังไม่มีสถานะการถูกตรวจสอบหรือ วางกฎระเบียบจากองค์กรใด ซึ่งแน่นอนว่า Blockchain ถูกสร้างขึ้นเพื่อเปลี่ยนแปลงระบบขององค์กรเก่า ๆ อย่างเช่น ธนาคาร หน่วยงานราชการ รวมถึงสถาบันที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการให้บริการธุรกรรม และองค์กรเหล่า นี้ย่อมไม่ต้องการให้เทคโนโลยีนี้ได้ถูกรับรองและนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ประโยชน์ของ BLOCKCHAIN 1. Blockchain สร้างความไว้วางใจ Blockchain ส่งเสริมความไว้วางใจระหว่างหน่วยงานที่ขาดความน่าเชื่อถือหรือไม่ได้รับการพิสูจน์ ด้วยเหตุนี้ หน่วยงานเหล่านี้จึงเต็มใจที่จะมีส่วนร่วมในธุรกรรมทางธุรกิจหรือการแบ่งปันข้อมูลที่พวกเขาจะไม่ทำอย่างอื่น หรือที่จะต้องมีคนกลางเข้ามาเกี่ยวข้อง การอำนวยความสะดวกด้านความไว้วางใจเป็นหนึ่งในประโยชน์ที่ได้รับ การกล่าวถึงบ่อยที่สุดของบล็อกเชน กรณีการใช้งานบล็อกเชนในยุคแรกๆ แสดงให้เห็นถึงคุณค่าของมันโดย การอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมระหว่างหน่วยงานที่ไม่มีความสัมพันธ์โดยตรง แต่จำเป็นต้องแบ่งปัน ข้อมูลหรือการชำระเงิน Bitcoin และ cryptocurrencies โดยทั่วไปซึ่งเป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของวิธีที่ blockchain สร้างความเชื่อถือให้แก่ธุรกิจ ประโยชน์ของ BLOCKCHAIN 2. Blockchain ปรับปรุงความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี บล็อกเชน คือ ความปลอดภัยในระดับสูงซึ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้ เลยที่ระบบจะถูกแฮกเกอร์โจมตี การรักษาความปลอดภัยขั้นสูงของบล็อกเชนเกิดจากการทำงานของเทคโนโลยี การเข้ารหัสจากต้นทางถึงปลายทางสร้างบันทึกธุรกรรมที่ไม่เปลี่ยนรูป ป้องกันการฉ้อโกงและกิจกรรมที่ไม่ได้รับ อนุญาต นอกจากนี้ เนื่องจากข้อมูลบล็อกเชนถูกกระจายไปทั่วเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การแฮกจึงแทบจะเป็นไป ไม่ได้เลย (ต่างจากระบบคอมพิวเตอร์ทั่วไปที่เก็บข้อมูลไว้ด้วยกันบนเซิร์ฟเวอร์) ยิ่งไปกว่านั้น บล็อกเชนสามารถ จัดการปัญหาความเป็นส่วนตัวได้ดีกว่าระบบดั้งเดิมด้วยการไม่เปิดเผยข้อมูลและต้องได้รับการอนุญาตเพื่อ จำกัดการเข้าถึง ประโยชน์ของ BLOCKCHAIN 3. Blockchain ช่วยลดต้นทุน เทคโนโลยีบล็อกเชนยังสามารถช่วยให้องค์กรประหยัดเงินได้อีกด้วย เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผล ธุรกรรม นอกจากนี้ยังช่วยลดงานที่ต้องทำด้วยตนเอง เช่น การรวบรวมและแก้ไขข้อมูล ตลอดจนการรายงาน และการตรวจสอบ ความสามารถของบล็อกเชนในการปรับปรุงการหักบัญชีและการชำระบัญชีทำให้ประหยัด ต้นทุนในกระบวนการได้โดยตรง เป็นผลให้บริษัทที่พัฒนาบล็อกเชนสามารถช่วยเหลือธุรกิจในการประหยัดเงิน โดยการกำจัดพ่อค้าคนกลาง (ผู้ขายและผู้ให้บริการบุคคลที่สาม) ที่ให้การประมวลผลแบบดั้งเดิมที่บล็อกเชน สามารถทำได้ ประโยชน์ของ BLOCKCHAIN 4. ปรับปรุงความเร็วและประสิทธิภาพ เทคโนโลยีบล็อกเชนทำให้กระบวนการที่ใช้เวลานานเป็นไปโดยอัตโนมัติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ยัง กำจัดข้อผิดพลาดที่มนุษย์สร้างขึ้นผ่านระบบอัตโนมัติ บล็อกเชนสามารถจัดการธุรกรรมในบางกรณีได้ภายในไม่ กี่วินาที ตัวอย่างเช่น Walmart ใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับอาหารโดยใช้ Hyperledger Fabric ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ บล็อกเชน แบบ open-source เพื่อติดตามแหล่งที่มาของมะม่วงที่ขายในสหรัฐฯ โดยจัดเก็บภายใน 2.2 วินาที ซึ่ง เป็นกระบวนการที่ก่อนหน้านี้ต้องใช้เวลาถึง 7 วัน 5. เป็นผู้นำนวัตกรรม ผู้บริหารจากอุตสาหกรรมต่างๆ กำลังตรวจสอบและนำระบบที่ใช้บล็อกเชนไปใช้งานเพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อนและ ปรับปรุงแนวทางปฏิบัติที่ไม่มีประสิทธิภาพที่มีมายาวนาน การใช้บล็อกเชนในการตรวจสอบข้อมูลประวัติผู้สมัคร งานเป็นตัวอย่างหนึ่งของนวัตกรรมดังกล่าว ประโยชน์ของ BLOCKCHAIN 6. การจัดการห่วงโซ่อุปทานที่คล่องตัว เมื่อพูดถึงบทบาทของบล็อกเชนในห่วงโซ่อุปทาน เทคโนโลยีนี้ช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถติดตามผลิตภัณฑ์/ บริการของตนได้ตลอดกระบวนการตั้งแต่การผลิตไปจนถึงการขนส่งและการส่งมอบผู้บริโภค นำเสนอพลังของ ความโปร่งใสและเปลี่ยนแปลงไม่ได้ในกระบวนการ ช่วยให้ธุรกิจสามารถต่อสู้กับการปลอมแปลงและความล่าช้า ในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ และสร้างความปลอดภัยที่แข็งแกร่งในกระบวนการ ตัวอย่างเช่น Walmart ได้รวมเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ากับห่วงโซ่อาหารเพื่อเพิ่มความโปร่งใสในระบบนิเวศการ จัดหาอาหารแบบกระจายอำนาจ จากการนำบล็อกเชนมาใช้ ปัจจุบันบริษัทสามารถติดตามแหล่งที่มาและสภาพ ของเนื้อหมูที่นำเข้าจากจีนได้ นอกจากนี้ยังสามารถติดตามปัญหาต่างๆ ในชุดงานจากสถานที่เฉพาะได้อีกด้วย 7. กระบวนการทางการเงิน บล็อกเชนเป็นบัญชีแยกประเภทที่ไม่เปลี่ยนรูปและกระจายอำนาจซึ่งทำให้ง่ายต่อการบันทึกธุรกรรม ด้วยเหตุนี้ ความน่าเชื่อถือ ความปลอดภัย ความโปร่งใส และการตรวจสอบย้อนกลับของกระบวนการทางการเงินทั่วทั้ง เครือข่ายธุรกิจจึงสามารถปรับปรุงได้อย่างมาก สิ่งนี้จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถโอนสกุลเงินด้วยความมั่นใจว่า ธุรกรรมนั้นปลอดภัยและเชื่อถือได้ ประโยชน์ของ BLOCKCHAIN 8. การสร้าง Smart Contract Smart Contract หรือสัญญาอัจฉริยะเป็นแอปพลิเคชันบล็อกเชนที่โดดเด่นที่สุดสำหรับการเปลี่ยนแปลงทาง ธุรกิจ เป็นสัญญาที่ดำเนินการด้วยตนเองซึ่งข้อกำหนดและเงื่อนไขทั้งหมดจากทั้งสองฝ่ายเขียนขึ้นในรูปแบบ ของรหัส จากนั้นรหัสเหล่านี้จะถูกจัดเก็บไว้ในเครือข่ายบล็อกเชนแบบกระจายศูนย์ เป็นผลให้โค้ดที่เกี่ยวข้องถูก ดำเนินการเมื่อใดก็ตามที่ตรงตามเงื่อนไข หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งละเมิดข้อกำหนด บริการ / ผลิตภัณฑ์จะถูกส่ง คืนให้กับอีกฝ่ายหนึ่ง การใช้สัญญาอัจฉริยะสนับสนุนให้ธุรกิจดำเนินการต่างๆ โดยไม่ต้องอาศัยหน่วยงานกำกับ ดูแล เจ้าหน้าที่รัฐ หรือคนกลางที่คิดค่าธรรมเนียมอื่นๆ เพื่อการระงับข้อพิพาทที่อาจเกิดขึ้น 9. การใช้กระบวนการชำระเงินที่โปร่งใส หนึ่งในการใช้งานที่ชัดเจน ของเครือข่ายบล็อกเชนแบบกระจายอำนาจ คือการทำงานร่วมกันของบล็อกเชนและ การชำระเงินดิจิทัล บล็อกเชนยังได้ปรับปรุงกระแสเงินสดในสตาร์ทอัพและสถานประกอบการโดยขจัดการมีส่วน ร่วมของบุคคลที่สาม นำความโปร่งใสและเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น การประกาศเรียกเก็บเงินและใบแจ้งหนี้ ประโยชน์ของ BLOCKCHAIN 10. นำการมีส่วนร่วมของลูกค้า บล็อกเชนปรับปรุงการมีส่วนร่วมของลูกค้าโดยนำการเข้าถึง ความโปร่งใส ความเรียบง่าย และความไว้วางใจมาสู่ กระบวนการทางธุรกิจ การผสมผสานระหว่างบล็อกเชนและการมีส่วนร่วมกับลูกค้าทำให้เกิดโอกาสและผล ประโยชน์มากมาย ผลประโยชน์เหล่านี้สามารถรับได้โดยการเลือกบริษัทพัฒนาบล็อกเชนที่ดีที่สุด ประโยชน์ต่างๆ ได้แก่ การให้ผู้ใช้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล การรวมพลังของความโปร่งใสเข้ากับรูปแบบธุรกิจ การส่งเสริมการทำ ธุรกรรมที่รวดเร็ว และการระบุลูกค้าที่ภักดี อุตสาหกรรมที่ใช้ BLOCKCHAIN 1. การเงินและการธนาคาร ปัจจุบันเทคโนโลยีบล็อกเชนได้ถูกนำไปใช้ในบริการทางการเงินและการธนาคารทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อการสร้าง ธุรกรรมที่ปลอดภัย โปร่งใส และรวดเร็ว อาทิ Cryptocurrencies เช่น Bitcoin และ Ethereum ได้ใช้เทคโนโลยี บล็อกเชนสำหรับการทำธุรกรรมทางการเงินด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชนนั้นมีศักยภาพที่สำคัญในการพลิกโฉม อุตสาหกรรมการเงิน และการธนาคารโดยให้ประโยชน์หลายประการ อาทิ ปรับปรุงประสิทธิภาพ บล็อกเชนสามารถช่วยปรับปรุงกระบวนการทางการเงินและการธนาคารต่างๆ โดยลดความจำเป็นในการใช้ ตัวกลางและช่วยให้งานหลายอย่างสำเร็จได้โดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ยังมีการใช้สัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) เพื่อทำงานอัตโนมัติ เช่น การชำระบัญชีการค้า การเก็บบันทึก และการตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ซึ่งช่วยลดเวลาและทรัพยากรที่จำเป็นในการดำเนินการให้เสร็จสิ้น การรักษาความปลอดภัยขั้นสูง บล็อกเชนสามารถปรับปรุงความปลอดภัยโดยจัดทำบันทึกธุรกรรมทั้งหมดแบบกระจายอำนาจและป้องกันการ งัดแงะ ธุรกรรมแต่ละรายการได้รับการตรวจสอบโดยเครือข่ายโหนด ทำให้แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะแก้ไขข้อมูล โดยไม่ถูกตรวจพบ วิธีนี้สามารถช่วยลดการฉ้อโกง การแฮก และความเสี่ยงด้านความปลอดภัยอื่นๆ อุตสาหกรรมที่ใช้ BLOCKCHAIN 1. การเงินและการธนาคาร ธุรกรรมที่เร็วขึ้น บล็อกเชนสามารถอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยขจัดความจำเป็น ในการใช้ตัวกลาง และลดเวลาที่ต้องใช้ในการชำระเงินและการหักบัญชี สิ่งนี้สามารถช่วยปรับปรุงสภาพคล่อง ลด ความเสี่ยงของคู่สัญญา และเปิดใช้งานเงินทุนได้เร็วขึ้น ความโปร่งใสที่เพิ่มขึ้น บล็อกเชนสามารถให้ความโปร่งใสและความรับผิดชอบที่มากขึ้นโดยการสร้างบันทึกการทำธุรกรรมทั้งหมดที่ใช้ ร่วมกันและไม่เปลี่ยนแปลง สิ่งนี้สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการฉ้อโกงและปรับปรุงการปฏิบัติตามข้อ กำหนดด้านกฎระเบียบ ต้นทุนที่ต่ำกว่า บล็อกเชนสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายโดยขจัดความจำเป็นในการใช้ตัวกลางและกระบวนการแบบแมนนวล เพิ่ม ความคล่องตัวในการดำเนินงาน และลดความเสี่ยงของข้อผิดพลาดและการฉ้อโกง อุตสาหกรรมที่ใช้ BLOCKCHAIN 2. การดูแลสุขภาพ การทดลองทางคลินิกที่คล่องตัว บล็อกเชนสามารถช่วยปรับปรุงการทดลองทางคลินิกโดยการสร้างแพลตฟอร์มที่ปลอดภัยและโปร่งใสสำหรับ การแบ่งปันข้อมูลระหว่างนักวิจัย หน่วยงานกำกับดูแล และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ สิ่งนี้สามารถช่วยลดเวลาและ ค่าใช้จ่ายในการทดลองทางคลินิก ช่วยเร่งการพัฒนาวิธีการรักษาและการรักษาใหม่ๆ การจัดการซัพพลายเชนที่มีประสิทธิภาพ สามารถใช้บล็อกเชนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ และความโปร่งใสของการจัดการซัพพลายเชนด้านการดูแล สุขภาพ สามารถช่วยในการติดตามแหล่งที่มาและการเคลื่อนย้ายของเวชภัณฑ์และยา ลดความเสี่ยงของสินค้า ลอกเลียนแบบหรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานเข้าสู่ตลาด ปรับปรุงการประมวลผลการชำระเงินและการเรียกร้อง บล็อกเชนสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพและความโปร่งใสของการประมวลผลการชำระเงินและการเรียกร้องโดย ลดความจำเป็นในการใช้ตัวกลางและปรับปรุงกระบวนการ นอกจากนี้ยังสามารถลดความเสี่ยงของการฉ้อโกง และข้อผิดพลาด ตลอดจนช่วยปรับปรุงความแม่นยำและความรวดเร็ว อุตสาหกรรมที่ใช้ BLOCKCHAIN 3. การจัดการซัพพลายเชน (ห่วงโซ่อุปทาน) เทคโนโลยีบล็อกเชน สามารถนำไปใช้กับการการจัดการซัพพลายเชน (ห่วงโซ่อุปทาน) ได้ในหลายวิธี อาทิ ความโปร่งใสและการตรวจสอบย้อนกลับที่ได้รับการปรับปรุง บล็อกเชนสามารถให้การมองเห็นห่วงโซ่อุปทานแบบครบวงจร โดยการสร้างบันทึกที่ปลอดภัย โปร่งใส และ ป้องกันการปลอมแปลงของทุกธุรกรรมที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทาน ธุรกรรมแต่ละรายการได้รับการตรวจสอบและ บันทึกในบัญชีแยกประเภทแบบกระจายอำนาจ เพื่อให้มั่นใจว่าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานสามารถเข้าถึง ข้อมูลเดียวกันได้ เพิ่มประสิทธิภาพและประหยัดต้นทุน บล็อกเชนสามารถลดต้นทุนและปรับปรุงประสิทธิภาพโดยขจัดความจำเป็นในการใช้ตัวกลางและกระบวนการที่ ต้องทำด้วยตนเอง สัญญาอัจฉริยะสามารถใช้เพื่อทำงานอัตโนมัติ เช่น การชำระเงิน การจัดการสินค้าคงคลัง และการติดตามผลิตภัณฑ์ ปรับปรุงกระบวนการและลดเวลาและทรัพยากรที่จำเป็นในการดำเนินการให้เสร็จสิ้น อุตสาหกรรมที่ใช้ BLOCKCHAIN 3. การจัดการซัพพลายเชน (ห่วงโซ่อุปทาน) การรักษาความปลอดภัยขั้นสูง บล็อกเชนสามารถปรับปรุงความปลอดภัยโดยจัดทำบันทึกธุรกรรมทั้งหมดแบบกระจายอำนาจและป้องกันการ งัดแงะ ธุรกรรมแต่ละรายการได้รับการตรวจสอบโดยเครือข่ายโหนด ทำให้แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะแก้ไขข้อมูล โดยไม่ถูกตรวจพบ ปรับปรุงความไว้วางใจและการทำงานร่วมกัน บล็อกเชนสามารถปรับปรุงความไว้วางใจและการทำงานร่วมกันระหว่างทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานโดย จัดทำบันทึกที่ใช้ร่วมกันและไม่เปลี่ยนรูปของธุรกรรมทั้งหมด สิ่งนี้สามารถช่วยลดข้อพิพาทและความล่าช้า ตลอดจนปรับปรุงความสัมพันธ์โดยรวมระหว่างซัพพลายเออร์ ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย และลูกค้า อุตสาหกรรมที่ใช้ BLOCKCHAIN 4. อสังหาริมทรัพย์ เทคโนโลยีบล็อกเชนถูกนำมาใช้เพื่อสร้างกระบวนการซื้อขายทรัพย์สินที่ปลอดภัยและโปร่งใส สามารถใช้บันทึก และยืนยันความเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ตลอดจนสร้างสัญญาอัจฉริยะที่ทำให้กระบวนการซื้อและขายเป็นไปโดย อัตโนมัติ โดยรวมแล้ว เทคโนโลยีบล็อกเชน สามารถนำมาใช้ในการปรับปรุงอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ได้ หลายวิธี อาทิ ปรับปรุงประสิทธิภาพ บล็อกเชนสามารถช่วยปรับปรุงกระบวนการด้านอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ รวมถึงการโอนทรัพย์สิน การค้นหาชื่อ และการดำเนินการจำนอง ด้วยการลดความจำเป็นในการใช้ตัวกลางและงานอัตโนมัติ บล็อกเชนจึงสามารถลด เวลาและทรัพยากรที่จำเป็นในการดำเนินกระบวนการเหล่านี้ให้เสร็จสมบูรณ์ได้ การรักษาความปลอดภัยขั้นสูง บล็อกเชนสามารถปรับปรุงความปลอดภัยของการทำธุรกรรมด้านอสังหาริมทรัพย์โดยจัดทำบันทึกธุรกรรม ทั้งหมดที่ชัดเจนและป้องกันการปลอมแปลง สิ่งนี้สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการฉ้อโกง การแฮ็ก และภัย คุกคามด้านความปลอดภัยอื่นๆ อุตสาหกรรมที่ใช้ BLOCKCHAIN 4. อสังหาริมทรัพย์ เความโปร่งใสที่เพิ่มขึ้น บล็อกเชนสามารถให้ความโปร่งใสมากขึ้นในการทำธุรกรรมด้านอสังหาริมทรัพย์โดยการสร้างบันทึกที่ใช้ร่วมกัน และไม่เปลี่ยนรูปของธุรกรรมทั้งหมด สิ่งนี้สามารถช่วยลดข้อพิพาทและเพิ่มความไว้วางใจระหว่างผู้ซื้อ ผู้ขาย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ การเป็นเจ้าของแบบเศษส่วน (Fractional Ownership) Blockchain สามารถเปิดใช้งานการเป็นเจ้าของแบบเศษส่วนของสินทรัพย์อสังหาริมทรัพย์โดยการสร้าง คุณสมบัติที่เป็นโทเค็น สิ่งนี้สามารถช่วยปรับปรุงสภาพคล่อง ลดอุปสรรคในการเข้าลงทุน และทำให้การลงทุน ด้านอสังหาริมทรัพย์ง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น สัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) บล็อกเชนสามารถอำนวยความสะดวกในการใช้สัญญาอัจฉริยะเพื่อทำให้กระบวนการอสังหาริมทรัพย์เป็นไปโดย อัตโนมัติและรับประกันการปฏิบัติตามข้อกำหนดของสัญญา สามารถใช้สัญญาอัจฉริยะเพื่อทำงานอัตโนมัติ เช่น การชำระค่าเช่า การจัดการทรัพย์สิน และการบำรุงรักษา ซึ่งช่วยลดเวลาและทรัพยากรที่จำเป็นในการดำเนินการ ให้เสร็จสิ้น อุตสาหกรรมที่ใช้ BLOCKCHAIN 5. พลังงาน เทคโนโลยีบล็อกเชนกำลังถูกใช้เพื่อสร้างกริดพลังงานไฟฟ้า (Grid Electrical) แบบกระจายอำนาจ ซึ่งสามารถ สร้างและแจกจ่ายพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน เทคโนโลยี Blockchain มีศักยภาพในการใช้งาน หลายอย่างในอุตสาหกรรมพลังงาน อาทิ การซื้อขายพลังงานแบบ Peer-to-Peer Blockchain สามารถอำนวยความสะดวกในการซื้อขายพลังงานแบบ Peer-to-Peer หรือระบบการซื้อขายไฟฟ้า กันเองระหว่างประชาชนกับประชาชน หรือระหว่างโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนกับชุมชนโดยรอบ โดยการสร้าง แพลตฟอร์มแบบกระจายศูนย์สำหรับผู้ซื้อและผู้ขายในการแลกเปลี่ยนพลังงานโดยไม่ต้องใช้ตัวกลาง สิ่งนี้ สามารถช่วยลดต้นทุนพลังงานและเพิ่มการใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน การจัดการกริดของพลังงานที่ได้รับการปรับปรุง บล็อกเชนสามารถช่วยปรับปรุงการจัดการกริดพลังงานโดยการสร้างแพลตฟอร์มที่มีการกระจายอำนาจ และ ปลอดภัยสำหรับการตรวจสอบและจัดการกริด นอกจากนี้ยังสามารถใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและ ลดของเสียโดยใช้สัญญาอัจฉริยะเพื่อทำให้การใช้พลังงานเป็นไปตามอุปสงค์และอุปทานโดยอัตโนมัติ อุตสาหกรรมที่ใช้ BLOCKCHAIN 5. พลังงาน ความโปร่งใสที่เพิ่มขึ้น บล็อกเชนสามารถให้ความโปร่งใสมากขึ้นในอุตสาหกรรมพลังงานโดยการสร้างบันทึกที่ใช้ร่วมกันและไม่เปลี่ยน รูปของธุรกรรมพลังงานทั้งหมด สิ่งนี้สามารถช่วยลดการฉ้อโกง ปรับปรุงการปฏิบัติตามข้อกำหนด และเพิ่ม ความไว้วางใจระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การจัดเก็บพลังงานแบบกระจายอำนาจ บล็อกเชนสามารถเปิดใช้งานการสร้างเครือข่ายการจัดเก็บพลังงานแบบกระจายอำนาจ โดยใช้อุปกรณ์จัดเก็บ พลังงานแบบกระจาย เช่น แบตเตอรี่และยานพาหนะไฟฟ้า สิ่งนี้สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บพลังงาน และเพิ่มการใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน อุตสาหกรรมที่ใช้ BLOCKCHAIN 6. เกม เทคโนโลยีบล็อกเชนกำลังถูกใช้เพื่อสร้างแพลตฟอร์มเกมแบบกระจายศูนย์ ซึ่งผู้เล่นสามารถซื้อ ขาย และแลก เปลี่ยนสินทรัพย์เสมือนจริงได้อย่างปลอดภัยและโปร่งใส นี่เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ ของหลายๆ อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน ในขณะที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีแนวโน้มว่ากรณีการใช้ งานใหม่ๆ จะเกิดขึ้นในหลากหลายสาขา เทคโนโลยี Blockchain มีศักยภาพมากมายในอุตสาหกรรมเกม อาทิ การเป็นเจ้าของสินทรัพย์ในเกม บล็อกเชนสามารถช่วยให้ผู้เล่นเป็นเจ้าของสินทรัพย์ในเกมอย่างแท้จริงด้วยการสร้างแพลตฟอร์มแบบกระจาย อำนาจสำหรับการซื้อ ขาย และแลกเปลี่ยนสินทรัพย์เหล่านั้น สิ่งนี้ทำให้ผู้เล่นสามารถควบคุมสินทรัพย์เสมือนของ ตนได้มากขึ้นและสร้างโอกาสใหม่สำหรับการสร้างรายได้ ป้องกันการฉ้อโกง Blockchain สามารถป้องกันการฉ้อโกงในอุตสาหกรรมเกมได้โดยการสร้างแพลตฟอร์มที่ปลอดภัยและโปร่งใส สำหรับตรวจสอบความเป็นเจ้าของทรัพย์สินในเกมและป้องกันการปลอมแปลงหรือทำซ้ำรายการ อุตสาหกรรมที่ใช้ BLOCKCHAIN 6. เกม เแพลตฟอร์มเกมแบบกระจายอำนาจ บล็อกเชนสามารถเปิดใช้งานการสร้างแพลตฟอร์มเกมแบบกระจายอำนาจ โดยใช้สัญญาอัจฉริยะเพื่อทำให้แง่มุม ต่าง ๆ ของเกมเป็นไปโดยอัตโนมัติ และรับประกันความยุติธรรมและความโปร่งใส นอกจากนี้ยังสามารถช่วยลด บทบาทของตัวกลางในอุตสาหกรรมเกม ลดต้นทุนและสร้างแหล่งรายได้ใหม่ การจัดการข้อมูลระบุตัวตนดิจิทัล บล็อกเชนสามารถมอบวิธีที่ปลอดภัย และโปร่งใสในการจัดการข้อมูลเพื่อระบุตัวตนดิจิทัลของผู้เล่น ลดความ เสี่ยงของการโจรกรรมข้อมูลระบุตัวตน ภัยคุกคาม และความปลอดภัยอื่นๆ โดยรวมแล้ว บล็อกเชน นั้นค่อนข้าง มีศักยภาพในการปฏิวัติอุตสาหกรรมเกม ในแง่ของการปรับปรุงความเป็นเจ้าของ ความปลอดภัย และความเป็น ธรรม และช่วยสร้างกระแสรายได้ใหม่ให้กับบริษัทเกม บริษัทเกมและสตาร์ทอัพกำลังสำรวจกรณีการใช้งานที่ หลากหลายสำหรับเทคโนโลยีบล็อกเชน รวมถึงการเป็นเจ้าของเนื้อหาในเกม แพลตฟอร์มเกมแบบกระจายศูนย์ และโปรแกรมความภักดี ในขณะที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง เราคาดหวังได้ว่าจะได้เห็น แอปพลิเคชันที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ มากขึ้นในอุตสาหกรรมเกม ะโปร่งใสสำหรับตรวจสอบความเป็นเจ้าของทรัพย์สินในเกมและป้องกันการปลอมแปลงหรือทำซ้ำรายการ แบบฝึกหัด 1. ให้นักศึกษาดูคลิปที่กำหนดให้ และสรุปเนื้อหา ให้ทำเป็นไฟล์ word และส่งใน assignment บทที่7 https://www.youtube.com/watch?v=fx9VcxJgVG8 https://www.youtube.com/watch?v=8Ee_OhLKv6E

Use Quizgecko on...
Browser
Browser