พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 PDF
Document Details
Uploaded by VivaciousAlgorithm
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
2539
Tags
Summary
This document is the Thai Law of Responsibility of Government Officials, B.E. 2539 (A.D. 1996). It details the rules for liability in cases involving government officials, including in their official duties. The article covers various aspects of responsibility and liabilities.
Full Transcript
พระราชบัญญัติ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ……………………………………… ภูมิพลอ...
พระราชบัญญัติ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ……………………………………… ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2539 เป็นปีที่ 51 ในรัชกาลปัจจุบัน ……………………………………… พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช มี พ ระบรมราชโองการโปรดเกล้ า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่สมควรมีกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคาแนะนาและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชบั ญ ญั ติ นี้ เ รี ย กว่ า “พระราชบั ญ ญั ติ ค วามรั บ ผิ ด ทางละเมิ ด ของเจ้ า หน้ า ที่ พ.ศ. 2539” มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา 3 บรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับใดๆ ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้หรือ ซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ “เจ้าหน้าที”่ หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานประเภทอื่นไม่ว่าจะ เป็นการแต่งตั้งในฐานะเป็นกรรมการหรือฐานะอื่นใด “หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรื อ ส่ ว นราชการที่ เ รี ย กชื่ อ อย่ า งอื่ น และมี ฐ านะเป็ น กรม ราชการส่ ว นภู มิ ภ าค ราชการส่ ว นท้ อ งถิ่ น และรั ฐ วิ ส าหกิ จ ที่ ตั้ ง ขึ้ น โดย 2 พระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา และให้หมายความรวมถึงหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีพระราชกฤษฎีกา กาหนดให้เป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย มาตรา 5 หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้ กระทาใน การปฏิบัติหน้าที่ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรงแต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ ถ้าการละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใดให้ถือว่ากระทรวงการคลั งเป็น หน่วยงานของรัฐที่ต้องรับผิดตามวรรคหนึ่ง มาตรา 6 ถ้าการกระทาละเมิดของเจ้าหน้าที่มิใช่การกระทาในการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ต้อง รับผิดในการนั้นเป็นการเฉพาะตัว ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง แต่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐ มิได้ มาตรา 7 ในคดีที่ผู้เสียหายฟ้องหน่วยงานของรัฐ ถ้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่าเป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ ต้องรับผิดหรือต้องร่วมรับผิด หรือในคดีที่ผู้เสียหายฟ้องเจ้าหน้าที่ถ้าเจ้าหน้าที่เห็นว่าเป็นเรื่องที่หน่วยงานของ รัฐต้องรับผิดหรือร่วมรับผิด หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ดังกล่าวมีสิทธิขอให้ศาลที่พิจารณาคดีนั้นอยู่เรียก เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรับแล้วแต่กรณี เข้ามาเป็นคู่ความในคดี ถ้าศาลพิพ ากษายกฟ้อ งเพราะเหตุ ที่ห น่ว ยงานของรั ฐ หรือ เจ้ าหน้ าที่ ที่ถู กฟ้ องมิใ ช่ผู้ ต้อ งรั บผิ ด ให้ ข ยายอายุ ค วามฟ้ อ งร้ อ งผู้ ที่ ต้ อ งรั บ ผิ ด ซึ่ ง มิ ไ ด้ ถู ก เรี ย กเข้ า มาในคดี อ อกไปถึ ง หกเดื อ นนั บ แต่ วั น ที่ คาพิพากษานั้นถึงที่สุด มาตรา 8 ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิด ของเจ้าหน้ าที่ให้ หน่ ว ยงานของรั ฐ มีสิ ทธิเรี ยกให้ เจ้าหน้าที่ผู้ ทาละเมิดชดใช้ค่าสิ นไหมทดแทนดั งกล่าวแก่ หน่วยงานของรัฐได้ ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทาการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง สิทธิเรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามวรรคหนึ่งจะมีได้เพียงใดให้คานึงถึงระดับความร้ายแรงแห่ง การกระทาและความเป็นธรรมในแต่ละกรณีเป็นเกณฑ์โดยมิต้องให้ใช้เต็มจานวนของความเสียหายก็ได้ ถ้าการละเมิดเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐหรือระบบการดาเนินงาน ส่วนร่วม ให้หักส่วนแห่งความรับผิดดังกล่าวออกด้วย ในกรณี ที่ ก ารละเมิ ด เกิ ด จากเจ้ า หน้ า ที่ ห ลายคน มิ ใ ห้ น าหลั ก เรื่ อ งลู ก หนี้ ร่ ว มมาใช้ บั ง คั บ และ เจ้าหน้าที่แต่ละคนต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะส่วนของตนเท่านั้น มาตรา 9 ถ้าหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย สิทธิที่จะเรียกให้ อีก ฝ่ า ยหนึ่ งชดใช้ ค่า สิ น ไหมทดแทนแก่ ตนให้ มี กาหนดอายุค วามหนึ่ ง ปีนั บแต่ วัน ที่ห น่ว ยงานของรั ฐ หรื อ เจ้าหน้าที่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้นแก่ผู้เสียหาย 3 มาตรา 10 ในกรณีที่เจ้าหน้าที่เป็นผู้กระทาละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของ รั ฐ ที่ ผู้ นั้ น อยู่ ใ นสั ง กั ด หรื อ ไม่ ถ้ า เป็ น การกระทาในการปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ การเรี ย กร้ องค่ า สิ น ไหมทด แทนจาก เจ้าหน้าที่ให้นาบทบัญญัติมาตรา 8 มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้ามิใช่การกระทาในการปฏิบัติหน้าที่ให้บังคับ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สิ ท ธิ เ รี ย กร้ อ งค่ า สิ น ไหมทดแทนจากเจ้ า หน้ า ที่ ทั้ ง สองประการตามวรรคหนึ่ ง ให้ มี ก าหนด อายุความสองปีนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ ผู้จะพึ่งต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน และกรณีที่หน่วยงานของรัฐเห็นว่าเจ้าหน้าที่ผู้นั้นไม่ต้องรับผิด แต่กระทรวงการคลังตรวจสอบแล้วเห็นว่าต้อง รับผิด ให้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนนั้นมีกาหนดอายุความหนึ่งปีนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐ มีคาสั่งตาม ความเห็นของกระทรวงการคลัง มาตรา 11 ในกรณี ที่ ผู้ เ สี ย หายเห็ น ว่ า หน่ ว ยงานของรั ฐ ต้ อ งรั บ ผิ ด ตามมาตรา 5 ผู้ เ สี ย หาย จะยื่นคาขอต่อหน่วยงานของรัฐให้พิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสาหรับความเสียหายที่เกิดแก่ตนก็ได้ในการ นี้หน่วยงานของรัฐต้องออกใบรับคาขอให้ไว้เป็นหลั กและพิจารณาคาขอนั้นโดยไม่ชักช้า เมื่อหน่วยงานของรัฐ มีคาสั่ งเช่น ใดแล้ วหากผู้ เสี ยหายยังไม่พอใจในผลการวินิจฉัยของหน่ว ยงานของรัฐ ก็ให้ มีสิ ทธิร้องทุกข์ต่อ คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามกฎหมายว่า ด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ตน ได้รับแจ้งผลการวินิจฉัย ให้หน่วยงานของรัฐพิจารณาคาขอที่ได้รับตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันหาก เรื่องใดไม่อาจพิจารณาได้ทันในกาหนดนั้นจะต้องรายงานปัญหาและอุปสรรคให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือกากับ หรือควบคุมดูแลหน่วยงานของรัฐแห่งนั้นทราบ และขออนุมัติขยายระยะเวลาออกไปได้ แต่รัฐมนตรีดังกล่าว จะพิจารณาอนุมัติให้ขยายระยะเวลาให้อีกได้ไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน มาตรา 12 ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่หน่วยงานของรัฐได้ใช้ให้แก่ผู้เสียหาย ตามมาตรา 8 หรือในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากเจ้าหน้าที่ผู้นั้นได้กระทาละเมิดต่อ หน่วยงานของรัฐตามมาตรา 10 ประกอบกับมาตรา 8 ให้หน่วยงานของรัฐที่เสียหายมีอานาจออกคาสั่งเรียกให้ เจ้าหน้าที่ผู้นั้นชาระเงินดังกล่าวภายในเวลาที่กาหนด มาตรา 13 ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีระเบียบเพื่อให้เจ้าหน้าที่ซึ่งต้องรับผิดตามมาตรา 8 และมาตรา 10 สามารถผ่อนชาระเงินที่จะต้องรับผิดนั้นได้โดยคานึงถึงรายได้ ฐานะ ครอบครัวและความรับผิดชอบ และ พฤติการณ์แห่งกรณีประกอบด้วย มาตรา 14 เมื่อได้มีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นแล้ว สิ ทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ตามมาตรา 11 ให้ถือว่าเป็นสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง มาตรา 15 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้’ 4 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ (นายบรรหาร ศิลปอาชา) นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้คือ การมีเจ้าหน้าที่ดาเนินกิจการต่างๆ ของ หน่วยงานของรัฐนั้น หาได้เป็นไปเพื่อประโยชน์อันเป็นการเฉพาะตัวไม่ การปล่อยให้ความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ ในกรณีที่ปฏิบัติงานในหน้าที่และเกิดความเสียหายแก่เอกชนเป็นไปตามหลักกฎหมายเอกชน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงเป็นการไม่เหมาะสมก่อให้เกิดความเข้าใจผิดว่า เจ้าหน้าที่จะต้องรับ ผิดในการกระทาต่างๆ เป็นการเฉพาะตัวเสมอไป เมื่อการที่ทาไปทาให้หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดชอบต่อ บุคคลภายนอกเพียงใดก็จะมีการฟ้องไล่เบี้ยเอาจากเจ้าหน้าที่เต็มจานวนนั้น ทั้งที่บางกรณีเกิดขึ้นโดยความไม่ ตั้งใจหรือความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยในการปฏิบั ติหน้าที่ นอกจากนั้น ยังมีการนาหลักเรื่องลูกหนี้ร่วมใน ระบบกฎหมายแพ่งมาใช้บังคับ ให้เจ้าหน้าที่ต้องร่วมรับผิดในการกระทาของเจ้าหน้าที่ผู้อื่นด้วย ซึ่งระบบนั้นมุ่ง หมายแต่จะได้เงินครบโดยไม่คานึงถึงความเป็นธรรมที่จะมีต่อแต่ละคนกรณีเป็นการก่อให้เกิดความไม่เป็น ธรรมแก่เจ้าหน้าที่และยังเป็นการบั่นทอนกาลังขวัญในการทางานของเจ้าหน้าที่ด้วย จนบางครั้งกลายเป็น ปัญหาในการบริหารเพราะเจ้าหน้าที่ไม่กล้าตัดสินใจดาเนินงานเท่าที่ควร เพราะเกรงความรับผิดชอบที่จะเกิด แก่ตน อนึ่ง การให้คุณให้โทษแก่เจ้าหน้าที่เพื่อควบคุมการทางานของเจ้ าหน้าที่ยังมีวิธีการในการบริหารงาน บุคคลและการดาเนินการทางวินัยกากับดูแลอีกส่วนหนึ่ง อันเป็นหลักประกัน มิให้เจ้าหน้าที่ทาการใดๆ โดยไม่ รอบคอบอยู่แล้ว ดังนั้น จึงสมควรกาหนดให้เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดทางละเมิดในการปฏิบัติงานในหน้าที่เฉพาะ เมื่อเป็นการจงใจกระทาเพื่อการเฉพาะตัว หรือจงใจให้เกิดความเสียหาย หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เท่านั้น และให้แบ่งแยกความรับผิดของแต่ละคนมิให้นาหลักลูกหนี้ร่วมมาใช้บังคับ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็น ธรรมและเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของรัฐ จึงจาเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้