🎧 New: AI-Generated Podcasts Turn your study notes into engaging audio conversations. Learn more

Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

Summary

This document details Thai government procurement regulations and procedures, including the roles and responsibilities of various government bodies and committees in 2017.

Full Transcript

หน้า ๒๓ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๒๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ มาตรา ๒๖ คณะกรรมการนโยบายมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทําการใด ๆ แทนได้ และให้นําบทบัญญัติมาตรา ๒๕ มาใช้บังคับกับการประชุมของคณะ...

หน้า ๒๓ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๒๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ มาตรา ๒๖ คณะกรรมการนโยบายมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทําการใด ๆ แทนได้ และให้นําบทบัญญัติมาตรา ๒๕ มาใช้บังคับกับการประชุมของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม ส่วนที่ ๒ คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ มาตรา ๒๗ ให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ประกอบด้วย (๑) ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการ (๒) กรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ อธิบดีกรมบัญชีกลาง ผู้แทนสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี ผู้แทนสํานักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้แทนสํานักงบประมาณ ผู้แทนสํานักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และผู้แทน สํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (๓) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจํานวนไม่น้อยกว่าห้าคนแต่ไม่เกินเจ็ดคนซึ่งปลัดกระทรวงการคลัง แต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม การเงิน การคลัง การบริ ห ารจั ด การ วิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี หรื อ ด้ า นอื่ น ๆ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งและเป็ น ประโยชน์ ต่ อ การดําเนินงานของคณะกรรมการวินิจฉัย ให้อธิบดีกรมบัญชีกลางมอบหมายข้าราชการของกรมบัญชีกลางคนหนึ่งเป็นกรรมการและเลขานุการ และอีกสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ มาตรา ๒๘ ให้นําบทบัญญัติมาตรา ๒๑ มาตรา ๒๒ และมาตรา ๒๓ มาใช้บังคับกับ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในส่วนที่ ๒ ของหมวด ๓ คณะกรรมการ โดยอนุโลม มาตรา ๒๙ ให้คณะกรรมการวินิจฉัยมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอแนะแนวทางการปรับปรุงแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ต่อคณะกรรมการนโยบาย (๒) ให้คาํ ปรึกษาแนะนําแก่เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ (๓) ตีความและวินิจฉัยปัญหาข้อหารือเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวง หรือระเบียบที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ (๔) ยกเว้นหรือผ่อนผันการไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงหรือระเบียบที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ (๕) เสนอความเห็นต่อปลัดกระทรวงการคลังในการพิจารณาสั่งให้ผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญา เป็นผู้ทิ้งงาน และการเพิกถอนรายชื่อผู้ทิ้งงาน รวมทั้งเสนอความเห็นต่อปลัดกระทรวงการคลังและรัฐมนตรี ในการพิจารณาอุทธรณ์คําสั่งลงโทษให้เป็นผู้ทิ้งงาน (๖) จัดทํารายงานเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุเสนอ คณะกรรมการนโยบายอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง หน้า ๒๔ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๒๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ (๗) ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ อื่ น ตามที่ กํ า หนดในพระราชบั ญ ญั ติ นี้ ห รื อ ตามที่ ค ณะกรรมการนโยบาย รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย ผลการดําเนินการตาม (๒) (๓) (๔) และ (๖) ให้ประกาศในระบบเครือข่ายสารสนเทศของ กรมบัญชีกลางตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกําหนด การตีความและวินิจฉัยปัญหาข้อหารือตาม (๓) ถ้าหน่วยงานของรัฐมีข้อหารือตามมาตรา ๘ มาตรา ๑๓ หรือมาตรา ๑๔ ให้คณะกรรมการวินิจฉัยพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่ วันที่ได้รับข้อหารือ และให้คณะกรรมการวินิจฉัยมีอํานาจสั่งระงับการจัดซื้อจัดจ้างไว้ก่อนได้หากเห็นสมควร เว้นแต่หน่วยงานของรัฐจะได้ลงนามในสัญญาจัดซื้อจัดจ้างแล้ว ในกรณี ที่ ค ณะกรรมการวิ นิ จ ฉั ย ได้ มี คํ า วิ นิ จ ฉั ย ตามวรรคสามว่ า การไม่ ป ฏิ บั ติ ต ามมาตรา ๘ มาตรา ๑๓ หรือมาตรา ๑๔ มีผลต่อการจัดซื้อจัดจ้างอย่างมีนัยสําคัญ ให้คณะกรรมการวินิจฉัยมีอํานาจ สั่งยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้างนั้น เว้นแต่หน่วยงานของรัฐจะได้ลงนามในสัญญาจัดซื้อจัดจ้างแล้ว มาตรา ๓๐ คณะกรรมการวินิจฉัยมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทําการใด ๆ แทนได้ ให้นําบทบัญญัติมาตรา ๒๕ มาใช้บังคับกับการประชุมของคณะกรรมการวินิจฉัยและคณะอนุกรรมการ โดยอนุโลม มาตรา ๓๑ คณะกรรมการวินิจฉัยมีอํานาจเรียกให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องหรือบุคคลอื่นใด มาชี้แจงหรือให้ถ้อยคํา หรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาได้ ส่วนที่ ๓ คณะกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ มาตรา ๓๒ ให้มีคณะกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ ประกอบด้วย (๑) อธิบดีกรมบัญชีกลาง เป็นประธานกรรมการ (๒) กรรมการโดยตํ า แหน่ ง ได้ แ ก่ ผู้ แ ทนกระทรวงกลาโหม ผู้ แ ทนกระทรวงการคลั ง ผู้แทนกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนสํานักงบประมาณ ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ผู้แทนกรมชลประทาน ผู้แทนกรมทางหลวง ผู้แทนกรมทางหลวงชนบท ผู้แทนกรมโยธาธิการและผังเมือง และผู้แทนสํานักงาน การตรวจเงินแผ่นดิน (๓) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจํานวนไม่น้อยกว่าเจ็ดคนแต่ไม่เกินสิบเอ็ดคน ซึ่งปลัดกระทรวงการคลัง แต่งตั้งจากสภาวิศวกร สภาสถาปนิก สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แห่งละหนึ่งคน ในส่วนที่เหลือให้แต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ในด้านพัสดุ หรือด้านอื่นอันเป็นประโยชน์ต่องานของคณะกรรมการราคากลาง ให้อธิบดีกรมบัญชีกลางมอบหมายข้าราชการของกรมบัญชีกลางคนหนึ่งเป็นกรรมการและเลขานุการ และอีกสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ หน้า ๒๕ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๒๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ มาตรา ๓๓ ให้นําบทบัญญัติมาตรา ๒๑ มาตรา ๒๒ และมาตรา ๒๓ มาใช้บังคับกับ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในส่วนที่ ๓ ของหมวด ๓ คณะกรรมการ โดยอนุโลม มาตรา ๓๔ ให้คณะกรรมการราคากลางมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ออกประกาศกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกําหนดราคากลาง (๒) กํากับดูแลการกําหนดราคากลางให้เป็นไปตามแนวทางของพระราชบัญญัตินี้ (๓) ให้คําปรึกษาแนะนําแก่เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับการดําเนินการตามหลักเกณฑ์ และวิธีการกําหนดราคากลาง (๔) ตีความและวินิจฉัยปัญหาข้อหารือเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการกําหนดราคากลาง (๕) ยกเว้นหรือผ่อนผันกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามรายละเอียดของหลักเกณฑ์และวิธีการ กําหนดราคากลางตาม (๑) (๖) พิจารณาข้อร้องเรียนกรณีที่เห็นว่าหน่วยงานของรัฐมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการกําหนดราคากลาง (๗) ออกประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการที่มีสิทธิ เป็นผู้ยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐ (๘) จั ด ทํ า รายงานเกี่ ย วกั บ ปั ญ หาและอุ ป สรรคในการดํ า เนิ น การกํ า หนดราคากลางของ หน่วยงานของรัฐ และการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการที่มีสิทธิเป็นผู้ยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐเสนอ คณะกรรมการนโยบายอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง (๙) ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ อื่ น ตามที่ กํ า หนดในพระราชบั ญ ญั ติ นี้ ห รื อ ตามที่ ค ณะกรรมการนโยบาย รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย ผลการดําเนินการตาม (๑) (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ให้ประกาศในระบบเครือข่ายสารสนเทศ ของกรมบัญชีกลางตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกําหนด ประกาศตาม (๑) และ (๗) ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๓๕ คณะกรรมการราคากลางต้องพิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์และวิธีการกําหนด ราคากลางอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เมื่อได้ทบทวนหลักเกณฑ์และวิธีการกําหนดราคากลางตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ประกาศในระบบ เครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางและประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วย มาตรา ๓๖ คณะกรรมการราคากลางมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทําการใด ๆ แทนได้ ทั้งนี้ ให้แต่งตั้งตามความเชี่ยวชาญในแต่ละประเภทของพัสดุ เช่น งานก่อสร้าง ยาและเวชภัณฑ์ หรือพัสดุที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้ นํ า บทบั ญ ญั ติ ม าตรา ๒๕ มาใช้ บั ง คั บ กั บ การประชุ ม ของคณะกรรมการราคากลาง และคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม หน้า ๒๖ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๒๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ส่วนที่ ๔ คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต มาตรา ๓๗ ให้มีคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต ประกอบด้วย (๑) ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการ (๒) กรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ อธิบดีกรมบัญชีกลาง ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้ แ ทนสํ า นั ก งานคณะกรรมการพั ฒ นาการเศรษฐกิ จ และสั ง คมแห่ ง ชาติ ผู้ แ ทนสํ า นั ก งบประมาณ ผู้แทนสํานักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และผู้แทนสํานักงาน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (๓) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจํานวนไม่น้อยกว่าห้าคนแต่ไม่เกินเจ็ดคน ซึ่งปลัดกระทรวงการคลัง แต่งตั้งจากองค์กรเอกชนที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการต่อต้านการทุจริตหรือส่งเสริมด้านคุณธรรม และจริยธรรม ทั้งนี้ องค์กรเอกชนดังกล่าวต้องเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทยที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับ และได้ดําเนินงานมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี ให้อธิบดีกรมบัญชีกลางมอบหมายข้าราชการของกรมบัญชีกลางคนหนึ่งเป็นกรรมการและเลขานุการ และอีกสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ มาตรา ๓๘ ให้นําบทบัญญัติมาตรา ๒๑ มาตรา ๒๒ และมาตรา ๒๓ มาใช้บังคับกับ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในส่วนที่ ๔ ของหมวด ๓ คณะกรรมการ โดยอนุโลม มาตรา ๓๙ ให้คณะกรรมการ ค.ป.ท. มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กํา หนดแนวทางและวิ ธี ก ารในการดํ า เนิ น งานโครงการความร่ ว มมื อ ป้ อ งกั น การทุ จ ริ ต ในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (๒) กําหนดแบบของข้อตกลงคุณธรรมและแบบรายงานของผู้สังเกตการณ์ (๓) คัดเลือกโครงการการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อเข้าร่วมโครงการความร่วมมือ ป้องกันการทุจริต ในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (๔) คัดเลือกผู้สังเกตการณ์เพื่อเข้าร่วมโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง ภาครัฐ (๕) ตีความและวินิจฉัยปัญหาข้อหารือเกี่ยวกับแนวทางและวิธีการในการดําเนินงานโครงการ ความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐตาม (๑) (๖) ยกเว้ น หรื อ ผ่ อ นผั น กรณี ที่ ไ ม่ ส ามารถปฏิ บั ติ ต ามรายละเอี ย ดของแนวทางและวิ ธี ก าร ในการดําเนินงานโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐตาม (๑) (๗) พิจ ารณาข้อ ร้ อ งเรี ย นกรณีที่ เ ห็น ว่ าหน่ ว ยงานของรัฐ มิ ได้ ป ฏิบั ติ ใ ห้เ ป็ น ไปตามแนวทาง และวิธีการในการดําเนินงานโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐตาม (๑) หน้า ๒๗ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๒๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ (๘) จัดทํารายงานผลการประเมินโครงการการจัดซื้อจัดจ้างที่เข้าร่วมโครงการความร่วมมือ ป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐเสนอคณะกรรมการนโยบายอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง (๙) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กําหนดในพระราชบัญญัตินี้ ผลการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ประกาศในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง ตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกําหนด มาตรา ๔๐ คณะกรรมการ ค.ป.ท. มีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทําการใด ๆ แทนได้ ให้ นํ า บทบั ญ ญั ติ ม าตรา ๒๕ มาใช้ บั ง คั บ กั บ การประชุ ม ของคณะกรรมการ ค.ป.ท. และ คณะอนุกรรมการโดยอนุโลม ส่วนที่ ๕ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน มาตรา ๔๑ ให้มีคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน ประกอบด้วย (๑) ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการ (๒) กรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ อธิบดีกรมบัญชีกลาง ผู้แทนสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี ผู้ แ ทนสํ า นั ก งานคณะกรรมการกฤษฎี ก า ผู้ แ ทนสํ า นั ก งบประมาณ ผู้ แ ทนสํ า นั ก งานอั ย การสู ง สุ ด ผู้แทนกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และผู้แทน สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (๓) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจํานวนไม่น้อยกว่าห้าคนแต่ไม่เกินเจ็ดคน ซึ่งปลัดกระทรวงการคลัง แต่งตั้งจากสภาวิศวกร สภาสถาปนิก สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แห่งละหนึ่งคน ในส่วนที่เหลือให้แต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม การเงิน การคลัง การบริหารจัดการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเป็นประโยชน์ต่อการดําเนินงานของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ให้อธิบดีกรมบัญชีกลางมอบหมายข้าราชการของกรมบัญชีกลางคนหนึ่งเป็นกรรมการและเลขานุการ และอีกสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ มาตรา ๔๒ ให้นําบทบัญญัติมาตรา ๒๑ มาตรา ๒๒ และมาตรา ๒๓ มาใช้บังคับกับ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในส่วนที่ ๕ ของหมวด ๓ คณะกรรมการ โดยอนุโลม มาตรา ๔๓ ให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา ๑๑๙ (๒) พิจารณาข้อร้องเรียนกรณีที่เห็นว่าหน่วยงานของรัฐมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามแนวทางของ พระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวง หรือระเบียบที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ (๓) จัดทํารายงานเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการดําเนินการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน เสนอคณะกรรมการนโยบายอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง

Use Quizgecko on...
Browser
Browser