Summary

This document details the Thai Procurement Act of 2560, outlining regulations, procedures, and committees related to government procurement. The legislation addresses aspects such as procurement policies, decision-making bodies, and responsibilities.

Full Transcript

หน้า ๒๓ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๒๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ มาตรา ๒๖ คณะกรรมการนโยบายมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทําการใด ๆ แทนได้ และให้นําบทบัญญัติมาตรา ๒๕ มาใช้บังคับกับการประชุมของคณะ...

หน้า ๒๓ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๒๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ มาตรา ๒๖ คณะกรรมการนโยบายมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทําการใด ๆ แทนได้ และให้นําบทบัญญัติมาตรา ๒๕ มาใช้บังคับกับการประชุมของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม ส่วนที่ ๒ คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ มาตรา ๒๗ ให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ประกอบด้วย (๑) ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการ (๒) กรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ อธิบดีกรมบัญชีกลาง ผู้แทนสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี ผู้แทนสํานักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้แทนสํานักงบประมาณ ผู้แทนสํานักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และผู้แทน สํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (๓) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจํานวนไม่น้อยกว่าห้าคนแต่ไม่เกินเจ็ดคนซึ่งปลัดกระทรวงการคลัง แต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม การเงิน การคลัง การบริ ห ารจั ด การ วิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี หรื อ ด้ า นอื่ น ๆ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งและเป็ น ประโยชน์ ต่ อ การดําเนินงานของคณะกรรมการวินิจฉัย ให้อธิบดีกรมบัญชีกลางมอบหมายข้าราชการของกรมบัญชีกลางคนหนึ่งเป็นกรรมการและเลขานุการ และอีกสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ มาตรา ๒๘ ให้นําบทบัญญัติมาตรา ๒๑ มาตรา ๒๒ และมาตรา ๒๓ มาใช้บังคับกับ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในส่วนที่ ๒ ของหมวด ๓ คณะกรรมการ โดยอนุโลม มาตรา ๒๙ ให้คณะกรรมการวินิจฉัยมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอแนะแนวทางการปรับปรุงแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ต่อคณะกรรมการนโยบาย (๒) ให้คาํ ปรึกษาแนะนําแก่เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ (๓) ตีความและวินิจฉัยปัญหาข้อหารือเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวง หรือระเบียบที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ (๔) ยกเว้นหรือผ่อนผันการไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงหรือระเบียบที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ (๕) เสนอความเห็นต่อปลัดกระทรวงการคลังในการพิจารณาสั่งให้ผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญา เป็นผู้ทิ้งงาน และการเพิกถอนรายชื่อผู้ทิ้งงาน รวมทั้งเสนอความเห็นต่อปลัดกระทรวงการคลังและรัฐมนตรี ในการพิจารณาอุทธรณ์คําสั่งลงโทษให้เป็นผู้ทิ้งงาน (๖) จัดทํารายงานเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุเสนอ คณะกรรมการนโยบายอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง หน้า ๒๔ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๒๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ (๗) ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ อื่ น ตามที่ กํ า หนดในพระราชบั ญ ญั ติ นี้ ห รื อ ตามที่ ค ณะกรรมการนโยบาย รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย ผลการดําเนินการตาม (๒) (๓) (๔) และ (๖) ให้ประกาศในระบบเครือข่ายสารสนเทศของ กรมบัญชีกลางตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกําหนด การตีความและวินิจฉัยปัญหาข้อหารือตาม (๓) ถ้าหน่วยงานของรัฐมีข้อหารือตามมาตรา ๘ มาตรา ๑๓ หรือมาตรา ๑๔ ให้คณะกรรมการวินิจฉัยพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่ วันที่ได้รับข้อหารือ และให้คณะกรรมการวินิจฉัยมีอํานาจสั่งระงับการจัดซื้อจัดจ้างไว้ก่อนได้หากเห็นสมควร เว้นแต่หน่วยงานของรัฐจะได้ลงนามในสัญญาจัดซื้อจัดจ้างแล้ว ในกรณี ที่ ค ณะกรรมการวิ นิ จ ฉั ย ได้ มี คํ า วิ นิ จ ฉั ย ตามวรรคสามว่ า การไม่ ป ฏิ บั ติ ต ามมาตรา ๘ มาตรา ๑๓ หรือมาตรา ๑๔ มีผลต่อการจัดซื้อจัดจ้างอย่างมีนัยสําคัญ ให้คณะกรรมการวินิจฉัยมีอํานาจ สั่งยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้างนั้น เว้นแต่หน่วยงานของรัฐจะได้ลงนามในสัญญาจัดซื้อจัดจ้างแล้ว มาตรา ๓๐ คณะกรรมการวินิจฉัยมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทําการใด ๆ แทนได้ ให้นําบทบัญญัติมาตรา ๒๕ มาใช้บังคับกับการประชุมของคณะกรรมการวินิจฉัยและคณะอนุกรรมการ โดยอนุโลม มาตรา ๓๑ คณะกรรมการวินิจฉัยมีอํานาจเรียกให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องหรือบุคคลอื่นใด มาชี้แจงหรือให้ถ้อยคํา หรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาได้ ส่วนที่ ๓ คณะกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ มาตรา ๓๒ ให้มีคณะกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ ประกอบด้วย (๑) อธิบดีกรมบัญชีกลาง เป็นประธานกรรมการ (๒) กรรมการโดยตํ า แหน่ ง ได้ แ ก่ ผู้ แ ทนกระทรวงกลาโหม ผู้ แ ทนกระทรวงการคลั ง ผู้แทนกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนสํานักงบประมาณ ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ผู้แทนกรมชลประทาน ผู้แทนกรมทางหลวง ผู้แทนกรมทางหลวงชนบท ผู้แทนกรมโยธาธิการและผังเมือง และผู้แทนสํานักงาน การตรวจเงินแผ่นดิน (๓) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจํานวนไม่น้อยกว่าเจ็ดคนแต่ไม่เกินสิบเอ็ดคน ซึ่งปลัดกระทรวงการคลัง แต่งตั้งจากสภาวิศวกร สภาสถาปนิก สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แห่งละหนึ่งคน ในส่วนที่เหลือให้แต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ในด้านพัสดุ หรือด้านอื่นอันเป็นประโยชน์ต่องานของคณะกรรมการราคากลาง ให้อธิบดีกรมบัญชีกลางมอบหมายข้าราชการของกรมบัญชีกลางคนหนึ่งเป็นกรรมการและเลขานุการ และอีกสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ หน้า ๒๕ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๒๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ มาตรา ๓๓ ให้นําบทบัญญัติมาตรา ๒๑ มาตรา ๒๒ และมาตรา ๒๓ มาใช้บังคับกับ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในส่วนที่ ๓ ของหมวด ๓ คณะกรรมการ โดยอนุโลม มาตรา ๓๔ ให้คณะกรรมการราคากลางมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ออกประกาศกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกําหนดราคากลาง (๒) กํากับดูแลการกําหนดราคากลางให้เป็นไปตามแนวทางของพระราชบัญญัตินี้ (๓) ให้คําปรึกษาแนะนําแก่เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับการดําเนินการตามหลักเกณฑ์ และวิธีการกําหนดราคากลาง (๔) ตีความและวินิจฉัยปัญหาข้อหารือเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการกําหนดราคากลาง (๕) ยกเว้นหรือผ่อนผันกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามรายละเอียดของหลักเกณฑ์และวิธีการ กําหนดราคากลางตาม (๑) (๖) พิจารณาข้อร้องเรียนกรณีที่เห็นว่าหน่วยงานของรัฐมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการกําหนดราคากลาง (๗) ออกประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการที่มีสิทธิ เป็นผู้ยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐ (๘) จั ด ทํ า รายงานเกี่ ย วกั บ ปั ญ หาและอุ ป สรรคในการดํ า เนิ น การกํ า หนดราคากลางของ หน่วยงานของรัฐ และการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการที่มีสิทธิเป็นผู้ยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐเสนอ คณะกรรมการนโยบายอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง (๙) ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ อื่ น ตามที่ กํ า หนดในพระราชบั ญ ญั ติ นี้ ห รื อ ตามที่ ค ณะกรรมการนโยบาย รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย ผลการดําเนินการตาม (๑) (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ให้ประกาศในระบบเครือข่ายสารสนเทศ ของกรมบัญชีกลางตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกําหนด ประกาศตาม (๑) และ (๗) ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๓๕ คณะกรรมการราคากลางต้องพิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์และวิธีการกําหนด ราคากลางอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เมื่อได้ทบทวนหลักเกณฑ์และวิธีการกําหนดราคากลางตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ประกาศในระบบ เครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางและประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วย มาตรา ๓๖ คณะกรรมการราคากลางมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทําการใด ๆ แทนได้ ทั้งนี้ ให้แต่งตั้งตามความเชี่ยวชาญในแต่ละประเภทของพัสดุ เช่น งานก่อสร้าง ยาและเวชภัณฑ์ หรือพัสดุที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้ นํ า บทบั ญ ญั ติ ม าตรา ๒๕ มาใช้ บั ง คั บ กั บ การประชุ ม ของคณะกรรมการราคากลาง และคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม หน้า ๒๖ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๒๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ส่วนที่ ๔ คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต มาตรา ๓๗ ให้มีคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต ประกอบด้วย (๑) ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการ (๒) กรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ อธิบดีกรมบัญชีกลาง ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้ แ ทนสํ า นั ก งานคณะกรรมการพั ฒ นาการเศรษฐกิ จ และสั ง คมแห่ ง ชาติ ผู้ แ ทนสํ า นั ก งบประมาณ ผู้แทนสํานักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และผู้แทนสํานักงาน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (๓) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจํานวนไม่น้อยกว่าห้าคนแต่ไม่เกินเจ็ดคน ซึ่งปลัดกระทรวงการคลัง แต่งตั้งจากองค์กรเอกชนที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการต่อต้านการทุจริตหรือส่งเสริมด้านคุณธรรม และจริยธรรม ทั้งนี้ องค์กรเอกชนดังกล่าวต้องเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทยที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับ และได้ดําเนินงานมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี ให้อธิบดีกรมบัญชีกลางมอบหมายข้าราชการของกรมบัญชีกลางคนหนึ่งเป็นกรรมการและเลขานุการ และอีกสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ มาตรา ๓๘ ให้นําบทบัญญัติมาตรา ๒๑ มาตรา ๒๒ และมาตรา ๒๓ มาใช้บังคับกับ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในส่วนที่ ๔ ของหมวด ๓ คณะกรรมการ โดยอนุโลม มาตรา ๓๙ ให้คณะกรรมการ ค.ป.ท. มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กํา หนดแนวทางและวิ ธี ก ารในการดํ า เนิ น งานโครงการความร่ ว มมื อ ป้ อ งกั น การทุ จ ริ ต ในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (๒) กําหนดแบบของข้อตกลงคุณธรรมและแบบรายงานของผู้สังเกตการณ์ (๓) คัดเลือกโครงการการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อเข้าร่วมโครงการความร่วมมือ ป้องกันการทุจริต ในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (๔) คัดเลือกผู้สังเกตการณ์เพื่อเข้าร่วมโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง ภาครัฐ (๕) ตีความและวินิจฉัยปัญหาข้อหารือเกี่ยวกับแนวทางและวิธีการในการดําเนินงานโครงการ ความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐตาม (๑) (๖) ยกเว้ น หรื อ ผ่ อ นผั น กรณี ที่ ไ ม่ ส ามารถปฏิ บั ติ ต ามรายละเอี ย ดของแนวทางและวิ ธี ก าร ในการดําเนินงานโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐตาม (๑) (๗) พิจ ารณาข้อ ร้ อ งเรี ย นกรณีที่ เ ห็น ว่ าหน่ ว ยงานของรัฐ มิ ได้ ป ฏิบั ติ ใ ห้เ ป็ น ไปตามแนวทาง และวิธีการในการดําเนินงานโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐตาม (๑) หน้า ๒๗ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๒๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ (๘) จัดทํารายงานผลการประเมินโครงการการจัดซื้อจัดจ้างที่เข้าร่วมโครงการความร่วมมือ ป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐเสนอคณะกรรมการนโยบายอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง (๙) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กําหนดในพระราชบัญญัตินี้ ผลการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ประกาศในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง ตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกําหนด มาตรา ๔๐ คณะกรรมการ ค.ป.ท. มีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทําการใด ๆ แทนได้ ให้ นํ า บทบั ญ ญั ติ ม าตรา ๒๕ มาใช้ บั ง คั บ กั บ การประชุ ม ของคณะกรรมการ ค.ป.ท. และ คณะอนุกรรมการโดยอนุโลม ส่วนที่ ๕ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน มาตรา ๔๑ ให้มีคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน ประกอบด้วย (๑) ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการ (๒) กรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ อธิบดีกรมบัญชีกลาง ผู้แทนสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี ผู้ แ ทนสํ า นั ก งานคณะกรรมการกฤษฎี ก า ผู้ แ ทนสํ า นั ก งบประมาณ ผู้ แ ทนสํ า นั ก งานอั ย การสู ง สุ ด ผู้แทนกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และผู้แทน สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (๓) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจํานวนไม่น้อยกว่าห้าคนแต่ไม่เกินเจ็ดคน ซึ่งปลัดกระทรวงการคลัง แต่งตั้งจากสภาวิศวกร สภาสถาปนิก สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แห่งละหนึ่งคน ในส่วนที่เหลือให้แต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม การเงิน การคลัง การบริหารจัดการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเป็นประโยชน์ต่อการดําเนินงานของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ให้อธิบดีกรมบัญชีกลางมอบหมายข้าราชการของกรมบัญชีกลางคนหนึ่งเป็นกรรมการและเลขานุการ และอีกสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ มาตรา ๔๒ ให้นําบทบัญญัติมาตรา ๒๑ มาตรา ๒๒ และมาตรา ๒๓ มาใช้บังคับกับ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในส่วนที่ ๕ ของหมวด ๓ คณะกรรมการ โดยอนุโลม มาตรา ๔๓ ให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา ๑๑๙ (๒) พิจารณาข้อร้องเรียนกรณีที่เห็นว่าหน่วยงานของรัฐมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามแนวทางของ พระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวง หรือระเบียบที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ (๓) จัดทํารายงานเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการดําเนินการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน เสนอคณะกรรมการนโยบายอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง

Use Quizgecko on...
Browser
Browser