🎧 New: AI-Generated Podcasts Turn your study notes into engaging audio conversations. Learn more

2566 10205212 บทที่3 การวางแผนภาษี.pdf

Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

Full Transcript

บทที่ 3 การวางแผนภาษี ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษีอากร ความหมายของภาษีอากร ภาษีอากร หมายถึง สิ่งที่รัฐบาลบังคับจัดเก็บจากประชาชน และนามาใช้ประโยชน์ต่อสังคมโดยส่วนรวม โดย มิได้ให้ประโยชน์ตอบแทนโดยตรงต่อผู้เสียภาษี ภาษีอากร หมายถึง รายได้หรือทรัพยากรที่ได้มีการเคลื่อนย้ายจากภาคเอกชนไปสู่ภาครั...

บทที่ 3 การวางแผนภาษี ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษีอากร ความหมายของภาษีอากร ภาษีอากร หมายถึง สิ่งที่รัฐบาลบังคับจัดเก็บจากประชาชน และนามาใช้ประโยชน์ต่อสังคมโดยส่วนรวม โดย มิได้ให้ประโยชน์ตอบแทนโดยตรงต่อผู้เสียภาษี ภาษีอากร หมายถึง รายได้หรือทรัพยากรที่ได้มีการเคลื่อนย้ายจากภาคเอกชนไปสู่ภาครัฐบาล และไม่ก่อให้เกิด ภาระในการชาระคืนของรัฐบาล นโยบายภาษีอากร การเก็บภาษีอากร นอกจากมีวัตถุประสงค์ในการหารายได้ เพื่อให้พอกับค่าใช้จ่ายรัฐบาลแล้ว ในปัจจุบันภาษี อากรยังเป็นเครื่องมือสาคัญของรัฐบาลในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ช่วยควบคุมการบริโภคของ ประชาชน หรือเพื่อสนองนโยบายบางประการของรัฐบาล เช่น การศึกษา การสวัสดิการสังคม เป็นต้น ลักษณะภาษีอากรที่ดี ยุติธรรม บุคคลที่มีเงินได้ จะต้องเสียภาษีเงินได้ทุกคน ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน ชัดเจน แน่นอน เช่น เงินได้ประเภทใดต้องเสียภาษี เสียภาษีเท่าใด เมื่อใด วิธีการเสียภาษีอย่างไร สะดวก ให้ความสะดวกแก่ผู้เสียภาษี เพื่อให้ผมู้ ีเงินได้ยินดีจะเสียภาษี ยืดหยุ่นตามสถานการณ์ กฎหมายภาษีต้องมีการเปลี่นแปลงได้ เพื่อให้สอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจและนโยบายของ ประเทศในขณะนั้น ประเภทภาษี ภาษีอากร สามารถ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ (1) ภาษีทางตรง (direct tax) คือ ภาษีที่ผู้เสียภาษีผลักภาระไปให้ผู้อื่นได้ยาก เช่น ภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล (2) ภาษีทางอ้อม (indirect tax) คือ ภาษีที่ผู้เสียภาษีผลักภาระไปให้ผู้อื่นได้ง่าย เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร หน่วยงานที่จัดเก็บภาษี กระทรวงการคลัง มีหน่วยงานระดับ “กรม” ที่ทาหน้าที่จัดเก็บรายได้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 หนวยงาน คือ (1) กรมสรรพากร มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดเก็บ - ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ ภาษีเงินได้ ปิโตรเลียม ภาษีอากร และรายได้อื่น ๆ (2) กรมสรรพสามิต มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดเก็บ ภาษียาสูบ ภาษีน้ามัน และผลิตภัณฑ์น้ามัน ภาษีสุราและค่าผลประโยชน์ ภาษีเบียร์ ภาษีรถยนต์ ภาษีและ รายได้อื่น ๆ เช่น ภาษีไพ่ ภาษีแก้ว ภาษีเครื่องหอมและเครื่องสาอาง ภาษีเรือ ภาษีเครื่องดื่ม ภาษีเครื่องไฟฟ้า ภาษีกิจการบริการ (สนามม้า สนามกอล์ฟ) หน่วยงานที่จัดเก็บภาษี (3) กรมศุลกากร มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดเก็บ อากรขาเข้า อากรขาออก รายได้อื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานระดับท้องถิ่น “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” เช่น เทศบาล องค์การ บริหารส่วนตาบล (อบต.) ทาหน้าที่จัดเก็บภาษีท้องถิ่นบางประเภท เช่น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หรือที่เรียกกันย่อๆ ว่า ภาษีที่ดิน เป็นภาษีที่จัดเก็บเป็นรายปีตามมูลค่าที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง เช่น บ้าน อาคาร ที่ครอบครอง ความสาคัญของการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา “การวางแผนภาษี” คือ การเตรียมการเพื่อเสียภาษีให้ถูกต้อง ครบถ้วน ในฐานะพลเมือง ดีและใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่าง ๆ ที่กฎหมายกาหนดไว้ไปใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้ประจาปี เพื่อ บรรเทาภาระภาษีให้น้อยลง ไม่ต้องเสียภาษีมากจนเกินไป รวมถึงไม่ต้องชาระภาษีเพิ่มหรือเสียเบี้ย ปรับโดยใช่เหตุ และยิ่งถ้าเราวางแผนภาษีได้เป็นอย่างดี เงินที่ประหยัดได้นี้ ก็สามารถนาไปต่อยอด ให้ออกดอกออกผล สร้างเงินกลับมาให้เราได้อีกต่อหนึ่งด้วย ทาไมการวางแผนภาษีจึงช่วย ลดภาระภาษีได้ ความแตกต่างของการวางแผนภาษี การหลบหลีกภาษี การหนีภาษี การวางแผนภาษี Tax Planning การวางแผนภาษี คือ การออกแบบกลุ่มกิจกรรมที่เกี่ยวข้องทางการเงินในอนาคตเพื่อมีผล ให้มีภาระภาษีต่าที่สุด หรือไม่มีเลย โดยการศึกษาและทาตามเงื่อนไขที่กฎหมายอานวยให้อย่าง ครบถ้วนและมีประสิทธิผล ตลอดจนการเตรียมการเพื่อเสียภาษีให้ถูกต้อง ครบถ้วนเพื่อที่จะได้ไม่ ต้องเสียค่าปรับในภายหลัง ทั้งนี้ การวางแผนภาษีจะครอบคลุมในหลากหลายวิธีการไม่ว่าจะเป็น การนาค่าใช้จ่ายหรือค่าลดหย่อนมาหักจากเงินได้ การทาให้เงินได้ได้รับยกเว้น และ/หรือการนา สิทธิประโยชน์ทางภาษีมาใช้ เป็นต้น ความแตกต่างของการวางแผนภาษี การหลบหลีกภาษี การหนีภาษี การหลบหลีกภาษี (tax avoidance) การหลบหลีกภาษี คือ การที่ผู้เสียภาษีใช้วิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมายเพื่อทาให้ไม่ต้อง หรือเสียภาษีน้อยลง การใช้ช่องโหว่ของกฎหมายภาษีอากร (tax loopholes) เพื่อทาให้ไม่ต้องเสีย ภาษีหรือเสียภาษีน้อยลง การหลบหลีกภาษีถือเป็นการกระทาที่ไม่ผิดกฎหมาย ฉะนั้นการหลบหลีก ภาษีจึงเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนภาษีอากร "การหลบหลีกภาษีเป็นการใช้ช่องว่างของกฎหมาย ในการเสียภาษีน้อยลงหรือไม่เสียภาษี แต่มิได้เป็นการกระทาผิดกฎหมาย เพราะกฎหมายภาษีอากร ที่ออกโดยรัฐแต่ละครั้งแต่ละคราวนั้น ย่อมอาจจะมีความบกพร่อง ทาให้ผู้เสียภาษีใช้ช่องว่างนั้นให้ เสียภาษีน้อยลงหรือไม่เสียภาษีเลย โดยปกติเมื่อรัฐพบช่องว่างที่เกิดจากการหลบหลีกภาษี รัฐ สามารถออกกฎหมายเพื่อป้องกันการหลบหลีกภาษีได้ ความแตกต่างของการวางแผนภาษี การหลบหลีกภาษี การหนีภาษี การหนีภาษี (tax evasion) การหนีภาษี คือ การที่ผู้เสียภาษีใช้วิธีการที่ผิดกฎหมายหรือฉ้อฉล เพื่อที่จะทาให้ไม่ต้อง เสียภาษีหรือเสียภาษีน้อยลง ซึ่งการกระทาเช่นนั้นมีความผิดและต้องได้รับโทษตามกฎหมาย ตัวอย่างของการหนีภาษี เช่น การทาบัญชีสองเล่ม การเจตนารับรู้รายได้น้อยกว่าที่ได้รับจริง ประมวลรัษฎากร ประมวลรัษฎากร เป็นกฎหมายแม่บทสาหรับการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากร สาระสาคัญของ ประมวลรัษฎากร ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีต่างๆ อานาจของเจ้าพนักงานใน การจัดเก็บภาษี บทลงโทษผู้กระทาความผิด นอกจากนี้ประมวลรัษฎากรยังให้อานาจในการออก กฎหมายลาดับรอง เช่น พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร คาสั่ง กรมสรรพากร เป็นต้น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อยู่ในหมวด 3 ส่วนที่ 2 แห่งประมวลรัษฎากร เริ่มตั้งแต่ มาตรา 40 ถึง มาตรา 64 ประเด็นที่ต้องพิจารณา ผู้มีหน้าที่เสียภาษี เงินได้พึงประเมิน การหักค่าใช้จ่าย การหักค่าลดหย่อน ผู้มีหน้าที่เสียภาษี (หน่วยภาษี) บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง* *กองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง หมายถึง ทรัพย์สินของผู้ตายในปีถัดจากปีที่ถึงแก่ความตาย แต่ยังไม่ได้แบ่งแก่ ทายาท ทั้งนี้ กองมรดกไม่มีสภาพเป็นบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่เป็นหน่วยภาษี เงินได้พึงประเมิน ตามกฎหมาย เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เรียกว่า "เงินได้พึงประเมิน" หมายถึง เงินได้ของบุคคลใดๆ หรือหน่วยภาษีใด ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ของปีใดๆ หรือเงินได้ที่เกิดขึ้นในปีภาษี ได้แก่ 1. เงิน สด 2. ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคานวณได้เป็นเงิน 3. ประโยชน์ที่ได้รับซึ่งอาจคิดคานวณได้เป็นเงิน 4. เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้ 5. เครดิตภาษีเงินปันผล หรือ ส่วนแบ่งกาไร ประเภทเงินได้พึงประเมิน เนื่องจากผู้มีเงินได้ประกอบอาชีพแตกต่างกัน มีความยากง่ายหรือต้นทุนที่แตกต่างกัน เพื่อความเป็น ธรรม ในกฎหมายจึงได้แบ่งลักษณะเงินได้(พึงประเมิน) ออกเป็นกลุ่มๆ ตามความเหมาะสมเพื่อกาหนด วิธีคานวณ ภาษีให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุด ดังนี้ 1. เงินได้ประเภทที่ 1 มาตรา40 (1) ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน - เกิดจากการจ้างแรงงานเป็นหลัก รวมถึงผลประโยชน์ที่ได้รับ ทั้งทางตรงและทางอ้อม - เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บาเหน็จ บานาญ - เงินค่าเบี้ยประกันที่นายจ้างจ่ายให้ เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากนายจ้าง - เงินที่ค่าเล่าเรียนบุตรที่นายจ้างจ่ายแทนให้ - เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ ที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน เช่น มูลค่าของการได้รับประทานอาหาร เป็นต้น 2. เงินได้ประเภทที่ 2 มาตรา40 (2) ได้แก่ เงินได้เนื่องจากหน้าที่ หรือตาแหน่งงานที่ทา หรือ จากการรับทางานให้ - โดยผู้ว่าจ้างมุ่งที่ความสาเร็จของงานเป็นสาระสาคัญ - ค่าที่ปรึกษา ค่านายหน้า ค่าเบี้ยประชุม 3. เงินได้ประเภทที่ 3 มาตรา40 (3) ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงิน รายปี - เงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคาพิพากษาของศาล - เงินที่ได้รับจากทรัพย์สินทางปัญญา เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร 4. เงินได้ประเภทที่ 4 มาตรา40 (4) ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกาไร ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกาไร หรือประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กองทุนรวม หรือ สถาบันการเงินที่มีกฎหมายไทยให้จัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะสาหรับให้กู้ยืมเงิน ฯลฯ เงินโบนัสที่จ่ายแก่ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล **เงินได้ประเภทที่ 4 ในหลาย ๆ กรณี กฎหมายให้สิทธิที่จะเลือกเสียภาษีโดยวิธีหักภาษี ณ ที่จ่าย แทนการ นาไปรวมคานวณกับเงินได้อื่นตามหลักทั่วไป ซึ่งจะทาให้ผู้มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามบัญชีอัตราภาษี ในอัตรา ที่สูงกว่าอัตราภาษี หัก ณ ที่จ่าย สามารถประหยัดภาษีได้ 5. เงินได้ประเภทที่ 5 มาตรา40 (5) เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน ค่าเช่าทรัพย์สิน ค่าชดเชยจากการผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน ค่าชดเชยจากการผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน 6. เงินได้ประเภทที่ 6 มาตรา40 (6) ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ (ไม่มีนายจ้าง) คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป์ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอื่นซึ่ง จะได้มีพระราชกฤษฎีกากาหนดชนิดไว้ (ถ้ามีนายจ้าง ได้รับเงินเดือน ถือเป็นประเภท1) 7. เงินได้ประเภทที่ 7 มาตรา40 (7) ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมา ที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสาคัญนอกจากเครื่องมือ (ผู้รับเหมาไม่ได้หาสัมภาระในการ ทางานมาเอง ถือเป็นการรับจ้างทางานให้ เป็นประเภท2) 8. เงินได้ประเภทที่ 8 มาตรา40 (8) ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจอื่นๆ เช่น การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 แล้ว การหักค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่าย คือ รายจ่ายที่ต้องใช้จ่ายตามความจาเป็นและสมควร เพื่อหารายได้ของผู้มีเงินได้ หรืออาจกล่าวได้ว่า ค่าใช้จ่ายคือต้นทุน ของรายได้นั้นๆ กฎหมายอนุญาตให้นาค่าใช้จ่ายมาหักออกจากเงินได้พึ่งประเมิน (ตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46) แล้วจึงนาไปหักค่าลดหย่อน ต่างๆตามที่กฎหมายกาหนด ได้เป็นเงินได้สุทธิ จึงนาเงินได้สุทธิไปคิดภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคลธธรรมดาต่อไป ค่าใช้จ่ายจะแปรผกผันกับเงินค่าภาษีที่จะต้องเสีย กล่าวคือ หากมีค่าใช้จ่ายมาก เงินได้สุทธิย่อมน้อย ซึ่งจะส่งผลให้เงินค่าภาษีมี จานวนน้อย ในทางกลับกันหากมีค่าใช้จ่ายน้อย ย่อมส่งผลให้มีเงินได้สุทธิมากน้อย ซึ่งจะส่งผลให้เงินค่าภาษีมีจานวนมาก ดังนั้น การ จะเสียภาษีมากหรือน้อยนั้น ปัจจัยที่สาคัญปัจจัยหนึ่งคือ “ค่าใช้จ่าย” เงินได้พึงประเมิน ตาม มาตรา40 (1) – (8) - ค่าใช้จ่ายตามที่ กฏหมายกาหนด = รายได้หลังหัก ค่าใช้จ่าย การหักค่าลดหย่อน เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีของผู้เสียภาษีให้เสียภาษีน้อยลง กฎหมายได้กาหนดให้สามารถหักค่าลดหย่อนได้ โดยเงินได้ที่เหลือหลังจากหักค่าใช้จ่าย นามาหักค่าลดหย่อน เงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนเป็นเงินได้สุทธิเพื่อการ คานวณเพื่อเสียภาษี การหักค่าลดหย่อน มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีของผู้เสียภาษี และเพื่อการอื่น เช่น การ สนับสนุนและส่งเสริมการออม การลงทุน หากรัฐต้องการส่งเสริมการออมมากขึ้น อาจมีการออกกฎหมายมาเพิ่ม ค่าลดหย่อนเงินได้มากขึ้น จะมีผลให้เงินได้สุทธิที่จะมาคานวณเพื่อเสียภาษีน้อยลง นั่นคือภาษีที่จะต้องจ่ายมี จานวนน้อยลดลง ผู้มีเงินได้มีกาลังซื้อมากขึ้น ดังนั้นค่าลดหย่อนจึงบรรเทาภาระของผู้มีเงินได้โดยรัฐ ซึ่งขึ้นอยู่กับ นโยบายของรัฐบาลในขณะนั้น การหักค่าลดหย่อน รายได้หลังหัก ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อนตามที่ กฏหมายกาหนด = เงินได้สุทธิ เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = ภาษีที่จะต้องเสีย ที่มา : กรมสรรพากร https://www.rd.go.th/region/10/mahasarakham/146/2230.html การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา - ยื่นกระดาษ ภายใน 1 เม.ย.2567 - ยื่นผ่านอินเตอร์เน็ต ภายใน 9 เม.ย.2567 4. ค่าฝากครรภ์และทาคลอด – ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการฝากครรภ์ และทาคลอด ลดหย่อนได้เฉพาะส่วนที่จ่ายจริง และไม่เกินท้องละ กลุ่มส่วนตัวและครอบครัว 60,000 บาท 1. ค่าลดหย่อนส่วนตัว – 60,000 บาท เป็นอัตราเหมาว่าคน 1 คน 5. ค่าลดหย่อนบิดามารดา – สาหรับคนที่ดูแลบิดามารดา เงื่อนไข จะมีค่าใช้จ่ายส่วนตัวต่อปีไม่น้อยกว่า 60,000 บาท โดยรัฐให้ค่า บิดามารดาไม่มีรายได้ หรือ มีรายได้ทั้งปีไม่เกิน 30,000 บาท อายุเกิน ลดหย่อนส่วนนี้เป็นพื้นฐานสาหรับทุกคนที่มีรายได้ 60 ปี ถ้าครบตามเงื่อนไขสามารถลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท ถ้า 2. ค่าลดหย่อนคู่สมรส – 60,000 บาท สาหรับคนที่มีคู่สมรสที่ไม่มี มีพี่น้องหลายคน ใช้สิทธิได้คนเดียว ถ้าปีนี้เราใช้สิทธิไป ปีหน้าเราให้ เงินได้ก็เหมือนดูแลอีก 1 ชีวิต รัฐก็ให้เพิ่มเป็นอัตราเหมาขั้นต่าไปอีก สิทธิน้องก็ได้ เพราะคนละปีภาษีกัน / รวมถึงบิดามารดาของคู่สมรสที่ 60,000 บาท ไม่มีเงินได้ 3. ค่าลดหย่อนบุตร – 30,000 บาท สาหรับคนแรก และตั้งแต่คนที่ 6. ค่าลดหย่อนผู้พิการหรือทุพพลภาพ – 60,000 บาทต่อคน 2 เป็นต้นไปได้คนละ 60,000 บาท (เกิดตั้งแต่ปี2561 / ไม่จากัด สาหรับผู้ที่จิตใจดีดูแลคนพิการ หรือ ทุพพลภาพนั้น รัฐช่วยเหลือ จานวน) ลดหย่อนรายได้ได้คนละ 60,000 บาทต่อปี กลุ่มประกัน 1. ประกันชีวิตทั่วไปและประกันสะสมทรัพย์ – ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 100,000 บาท 2. ประกันสุขภาพตัวเอง – ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับประกันชีวิตทั่วไป (ข้อ1) แล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท ส่วนที่เกินจะไม่ได้รับการลดหย่อน 3. ประกันชีวิตคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ – ตามจ่ายจริง ไม่เกิน 10,000 บาท 4. ประกันสุขภาพบิดามารดา* –ตามจ่ายจริง ไม่เกิน 15,000 บาท (*ของตนเองและของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้) กลุ่มเงินออมและการลงทุน (เกษียณ) 1. ประกันชีวิตแบบบานาญ – ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 15% ของรายได้ ไม่เกิน 200,000 บาท 2. กองทุนสารองเลี้ยงชีพ/กบข./กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน – ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 15% ของรายได้ ไม่เกิน 500,000 บาท 3. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) – ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 30% ของรายได้ ไม่เกิน 500,000 บาท 4. กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) – ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 30% ของ รายได้ ไม่เกิน 200,000บาท 5. กองทุนการออมแห่งชาติ กอช. – ไม่เกิน 30,000 บาท เมื่อรวมกับหมวดการลงทุนเพื่อการเกษียณแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท ส่วนที่เกินจะไม่ได้รับการลดหย่อน กลุ่มเงินออมและการลงทุน (เกษียณ) 1. กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน TESG – ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 30% ของรายได้ ไม่เกิน 100,000 บาท กลุ่มเงินออมและการลงทุน (เกษียณ) 1. เงินประกันสังคม – ตามที่จ่ายจริง ม.33 ไม่เกิน 9,000 บาท ม.39 ไม่เกิน 5,184 บาท ม.40 ตามจริงตามอัตราที่จ่ายสมทบ กลุ่มบริจาค สามารถนามาลดหย่อนได้มี 3 แบบ 1. เงินบริจาคพรรคการเมือง – ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 10,000 บาท 2. บริจาคเพื่อการศึกษา กีฬา พัฒนาสังคม และ โรงพยาบาลรัฐ – ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 10% ของรายได้ หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนก่อนหักเงินบริจาคทั่วไป แล้ว โดยการบริจาคประเภทนี้จะได้สิทธิหักลดหย่อนได้ 2 เท่า 3. บริจาคทั่วไป – ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 10% ของรายได้ หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน กลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ 1. ดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย – ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 100,000 บาท 2. ค่าซื้อและติดตั้งกล้องวงจรปิด CCTV – เพิ่ม 1 เท่า ตามที่จ่าย จริง (เฉพาะเขต) 3. ช้อปดีมีคืน – โครงการตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 15 ก.พ. 2566 ตามที่ จ่ายจริง ไม่เกิน 40,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) 4. เงินลงทุนธุรกิจวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) – โดย คนที่ลงหุ้นหรือลงทุนในธุรกิจ ตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป สามารถนา เงินลงทุนนั้นไปใช้เป็นค่าลดหย่อนได้ ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 100,000 บาท โดยผู้ที่จะนาเงินจานวนนี้ไปลดหย่อนภาษี จะต้องเป็นผู้ที่จ่ายเงิน เพื่อจัดตั้ง หรือเพื่อเพิ่มทุนของธุรกิจที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติ บุคคลของไทย ได้รับการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อ สังคม ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ. 2562 และต้องแจ้งความ ประสงค์ต่ออธิบดีกรมสรรพากรแล้ว การวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีที่ต้องชาระ อัตราภาษีแบบขั้นบันได คิดภาษี แบบขั้นบันได 0 – 150,000 บาท (ได้รับการยกเว้นภาษี) 750,001 – 1,000,000 (อัตราภาษี 20%) ภาษี = 0 ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ – 750,000) x 20% ] + 65,000 150,001 – 300,000 บาท (อัตราภาษี 5%) 1,000,001 – 2,000,000 บาท (อัตราภาษี 25%) ภาษี = (เงินได้สุทธิ – 150,000) x 5% ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ – 1,000,000) x 25% ] + 115,000 300,001 – 500,000 บาท (อัตราภาษี 10%) 2,000,001 – 5,000,000 บาท (อัตราภาษี 30%) ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ – 300,000) x 10% ] + 7,500 ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ – 2,000,000) x 30% ] + 365,000 500,001 – 750,000 บาท (อัตราภาษี 15%) มากกว่า 5 ล้านบาท (อัตราภาษี 35%) ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ – 500,000) x 15% ] + 27,500 ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ – 5,000,000) x 35% ] + 1,265,000 ในปี 2565 นายปรีชา มีรายได้จากเงินเดือน 50,000 บาท รวมทั้งปี 600,000 บาท จะ สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 100,000 บาท ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท และค่าลดหย่อนจาก ประกันสังคม 6,300 บาท 1. คานวณเงินได้สุทธิ จะได้เงินได้สุทธิ เท่ากับ 600,000 - 100,000 - 60,000 - 6,300 = 433,700 บาท 2. คานวณภาษีเงินได้ แบบขั้นบันได เงินได้สุทธิ 433,700 บาท อยู่ระหว่างฐาน 300,001 - 500,000 บาท อัตราภาษี 10% ดังนั้น นายปรีชาจะต้องเสียภาษี [ (433,700 - 300,000) x 10% ] + 7,500 = 20,870 บาท คิดภาษี แบบเหมา กรณีที่จะต้องคานวณภาษีตามวิธีคิดแบบเหมา คือต่อเมื่อมีรายได้ทางอื่นนอกเหนือจากเงินได้ประเภทที่ 1 หรือ เงินเดือน หากรายได้จากทางอื่นทั้งหมดมีจานวนรวมกันตั้งแต่ 1,000,000 บาทขึ้นไป ให้คานวณในอัตราร้อย ละ 0.5 ของยอดเงินได้พึงประเมิน กลยุทธ์ในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ลดยอดเงินได้พึงประเมิน เพิ่มค่าใช้จ่าย เพิ่มค่าลดหย่อน เลือกเสียภาษีในอัตราต่า ลดยอดเงินได้พึงประเมิน กระจายหน่วยภาษี และกระจายเงินได้ เช่น บุตรที่ยังไม่มีรายได้ ผู้ที่มีอายุไม่ต่ากว่า 65ปี (ให้ยกเว้นเงินได้ 190,000 บาท ) การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ/คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล สามี ภรรยา แยกยื่นภาษี การกาหนดเวลาในการรับเงินได้พึงประเมิน เจรจาต่อรองคู่ค้า หรือ นายจ้าง เลื่อนการจ่ายเงินออกไป การใช้ประโยชน์จากเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษีตามกฎหมาย เช่น ดอกเบี้ยสลากออมสิน เงินที่ได้จากการขายหลักทรัพย์ใน SET เพิ่มค่าใช้จ่าย การแปลงเงินได้ ประเภทที่ 1 จากการจ้างแรงงาน เป็น เงินได้ประเภทที่ 6 จากวิชาชีพอิสระ ประเภทที่ 2 จากการรับทางานให้ เป็น เงินได้ประเภทที่ 8 เงินได้จากธุรกิจอื่นๆ วางแผนในการเลือกรูปแบบองค์กรธุรกิจ จัดตั้งบริษัท เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราคงที่ไม่เกินร้อยละ 30 และหักค่าใช้จ่ายได้ ตามจริงไม่จากัดจานวน เพิ่มค่าลดหย่อน ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนสารองเลี้ยงชีพ PVD (Provident Fund) ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF (Retirement Mutual Fund) ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว SSF (Super Saving Funds) ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน หรือ Thailand ESG Fund : Thai ESG (TESG) ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ค่าเบี้ยประกันชีวิต เงินบริจาค เลือกเสียภาษีในอัตราต่า เลือกเสียภาษี หัก ณ ที่จ่าย หรือ รวมคานวณในการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ เสียภาษี หัก ณ ที่จ่าย ร้อยละ 15 เงินปันผล เสียภาษี หัก ณ ที่จ่าย ร้อยละ 10. การยื่นแบบและชาระภาษี แบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีรูปแบบที่แตกต่างกัน จะเรียกว่า "ภ.ง.ด." ย่อมาจาก ภาษีเงินได้ โดยจะมีหลายรูปแบบ ดังต่อไปนี้ "ภ.ง.ด. 90" คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สาหรับผู้มีเงินได้กรณีทั่วไป เช่นรายได้จากการมีทรัพย์สินให้เช่า การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ หรือมีกิจการเป็นของตัวเอง ต้องยื่นแบบฯในระหว่างเดือนมกราคม - มีนาคมของ ทุกปี "ภ.ง.ด. 91" คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สาหรับผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงาน ต้องยื่นแบบฯในระหว่างเดือน มกราคม - มีนาคมของทุกปี "ภ.ง.ด. 93" สาหรับขอชาระภาษีล่วงหน้าก่อนถึงกาหนดเวลาการยื่นแบบตามปกติ "ภ.ง.ด. 94" เป็นรูปแบบการยื่นแสดงภาษีแบบครึ่งปี สาหรับเงินได้ ที่เกิดขึ้นใน 6 เดือนแรก เพื่อเสียภาษีเงิน ได้บุคคลธรรมดา สาหรับรายได้ที่ไม่ใช่เงินเดือน รายได้จากค่าเช่า รายได้ค่านายหน้า รายได้ค่ารับเหมา รายได้ จากการค้าขาย เป็นต้น และต้องยื่นแบบฯในระหว่างเดือน กรกฎาคม - 30 กันยายนของทุกปี สถานที่ยื่นแบบแสดงรายการ สานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ยื่นทางไปรษณีย์ ยื่นชาระภาษีผ่านธนาคารพาณิชย์ไทย (แต่ต้องเป็นกรณียื่นแบบและชาระภาษีในกาหนดเวลา มีภาษีที่จะต้อง ชาระพร้อมการยื่นแบบ * ยกเว้น ธ กรุงไทย ไม่ต้องมีภาษีชาระก็ยื่นได้) ยื่นแบบออนไลน์ https://efiling.rd.go.th/rd-cms/ การชาระภาษี เงินสด ธนาณัติ ชาระเป็นเช็ค * 4 ประเภท เช็ค ธปท. เช็คที่มี ธ ค้าประกัน เช็คที่ ธ สั่งจ่าย เช็คที่ผู้มีหน้าที่ชาระเงินภาษีเป็นผู้ เซ็นสั่งจ่ายและใช้ชาระโดยตรง ตัวอย่าง แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90

Use Quizgecko on...
Browser
Browser