การปรับการยิง ค. และ ป. PDF

Summary

เอกสารนี้เป็นคู่มือการปรับการยิง ค. และ ป. สำหรับการฝึกทหารของโรงเรียนทหารราบ ครอบคลุมถึงวิธีการใช้อาวุธปืนใหญ่ และเครื่องยิงลูกระเบิด รวมถึงบทบาทของผู้ตรวจการณ์ในการยิงเป้าหมาย; และอธิบายถึงชนิดของอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจการณ์ เช่น กล้องส่องสองตา และเข็มทิศ

Full Transcript

แผนกวิชาหลักยิงและตรวจการณ กองการศึกษา โรงเรียนทหารราบ หมวดวิชา หลักยิงและตรวจการณ เรื่อง การปรับการยิง ค. และ ป. ศูนยการทหารราบ คายธนะรัชต อ.ปราณบุรี จว.ประจวบคีรีขันธ แผนกวิชาหลังยิงแล...

แผนกวิชาหลักยิงและตรวจการณ กองการศึกษา โรงเรียนทหารราบ หมวดวิชา หลักยิงและตรวจการณ เรื่อง การปรับการยิง ค. และ ป. ศูนยการทหารราบ คายธนะรัชต อ.ปราณบุรี จว.ประจวบคีรีขันธ แผนกวิชาหลังยิงและตรวจการณ กองการศึกษา โรงเรียนทหารราบ ศูนยการทหารราบ คายธนะรัชต อ.ปราณบุรี จว.ประจวบคีรีขันธ ๑. บทเรียนเรื่อง : การปรับการยิง ค. และ ป. ๒. ความมุงหมาย : ตองการใหรูจักใชเครื่องมือของ ผต. การกําหนดที่ตั้งเปาหมาย, องคประกอบคําขอยิง, การสงคําขอยิงและการแกของ ผต. ศึกษาและปฏิบัติ ใหสงคําขอยิงและปรับการยิงได ๓. ขอบเขต : ศึกษาและปฏิบัติ ใหสงคําขอยิงและปรับการยิงได ๔. การเตรียมการลวงหนา : อานแนวสอนนี้ เพื่อทําความเขาใจในขั้นตน ๕. หลักฐาน : รส. ๒๓ - ๙๒, รส. ๖ - ๑๓๕ และหลักฐานของ รร.ร.ศร. บทที่ ๑ วิธีการปรับการยิง ค. และ ป. ๑. กลาวนํา ก. แมวาวิวัฒนาการในการาคนหาเปาหมายและตรวจการณ ดวยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกสกําลังกาวหนาไปก็ตาม แตการยิง แตการยิงอยางไดผลของอาวุธปนใหญ และเครื่องยิงลูกระเบิดก็ยังคงขึ้นอยูกับผูตรวจการณดวยสายตาเปน สวนมาก ผูตรวจการณซึ่งตรวจการณดวยสายตาเปนเจาหนาที่สวนหนึ่งของชุดหลักยิง ตามปกติก็จะเปนผูท่เี ห็นขาศึก, กําลังฝายเรา และการยิงของหนวยรบตางๆ ที่กระทําตอขาศึกดวยตาจริงๆ ข. อาวุธปนใหญและเครื่องยิงลูกระเบิด เปนอาวุธทีส่ ามารถทําการยิงไดดวยวิธีเล็งตรง คือการที่พลประจําอาวุธ มองเห็นเปาหมาย หรือดวยวิธีเล็งจําลอง ซึ่งพลประจําอาวุธมองไมเห็นเปาหมาย ซึ่งวิธีหลังนี้เปนวิธีหลักที่ใชกันอยู มี องคประกอบสําคัญในการที่จะทําการยิงถูกเปาหมายอยู ๓ สวน เรียกวา ชุดหลักยิง ประกอบดวย สวนยิง, ศูนย อํานวยการยิงและผูตรวจการณ วิธีปฏิบัติของผูตรวจการณที่จะกลาวตอไป เปนการตรวจการณเฉพาะดวยสายตา ซึ่งรวมการตรวจการณทาง พื้นดินของผูตรวจการณหนา และการตรวจการณโดยทหารเหลาพลรบไวดวย ค. เปาหมายที่จะทําการยิงดวย ป. หรือ ค. ควรมีความเหมาะสมและคุมคา หากผูตรวจการณหรือทหารพลรบ ตรวจพบทหารขาศึกเพียง ๒ - ๓ คน ซึ่งสามารถใชอาวุธปนเล็กหรือปนกลทําการยิงได ก็ไมจําเปนตองขอให ป. หรือ ค. ทําการยิงตอเปาหมายนั้น อาจเปนการสิ้นเปลืองทั้งเวลา และจํานวนกระสุน พึงจําไววากระสุนปนใหญหรือลูกระเบิดยิง มีน้ําหนักมาก กอใหเกิดปญหาในการลําเลียงทดแทนอยูบาง เปาหมายที่เหมาะจะทําการยิงดวย ป. หรือ ค. ไดแก ๑) หนวยทหารในที่โลงหรือหลุมเปด, ทหารขุดดินในสนามรบ ๒) ปนกล ๓) อาวุธหนัก เชน ปนใหญหรือเครื่องยิงลูกระเบิด ๔) ที่รวมพล ๕) รถบรรทุกที่จอด หรือเคลื่อนที่ ๖) ทหารราบที่ปฏิบัติรวมกับรถถัง ๗) คลังกระสุน ๘) ที่ตรวจการณ ๙) ที่ตั้งอาวุธมั่นคงแข็งแรง ๑๐) พื้นที่ซึ่งตองการสรางฉากควัน ๑๑) เปาหมายที่อยูหลังที่กําบัง เชน ตึก หรือเนิน ๒. บทบาทของผูตรวจการณในการยิงเปาหมาย ก. เมื่อผูตรวจการณคนพบเปาหมายและหาที่ตั้งของเปาหมาย ซึ่งอยูบนพื้นที่ไดแลว ผูตรวจการณก็สงคําขอยิง เพื่อทําลายหรือตัดรอนกําลังตอเปาหมายไปยังศูนยอํานวยการยิง(ศอย.) หลังจากที่อาวุธไดทําการยิงไปแลว ผูตรวจ การณก็รายงานผลความเสียหายของเปาหมายที่เกิดขึ้นเนื่องจากการายิงนั้นๆ เมื่อจําเปนผูตรวจการณจะตองปรับการ ยิง เพื่อใหไดผลการยิงสูงสุดตอเปาหมายตามที่ตองการ ผูตรวจการณจะตองนําความสามารถในการตรวจการณ และ ความรูเกี่ยวกับสถานการณการรบมาใชประโยชน เพื่อชวยใหหนวยของตนไดรับขาวสารอยางเพียงพอตลอดเวลา ยิ่งกวานั้นผูตรวจการณตองทราบและเขาใจวิธีปฏิบัติของศูนยอํานวยการยิงเปนอยางดีอีกดวย เมื่อนํามาประกอบกับ การตัดสินใจของตน ก็จะชวยใหชุดหลักยิงสามารถปฏิบัติภารกิจไดเต็มที่สมความมุงหมาย ข. ผูตรวจการณจะตองเขาใจการดําเนินภารกิจยิง วามีขั้นตอนในการปฏิบัติ แบงออกไดเปน ๒ ขั้น คือ ๑) ขั้นปรับการยิง หลังจากที่อาวุธไดทําการยิงมาใหตามคําขอยิงของผูตรวจการณ หากตําบลระเบิดที่ตรวจ ไดไมตรงเปาหมาย หรือใกลพอที่จะทําอันตรายตอเปาหมายไดตามความตองการ ผูตรวจการณจะแกไขใหตําบลระเบิด เขาสูเปาหมายโดยเร็วที่สุด เพื่อขอใหอาวุธทําการยิงหาผลตอไป ๒) ขั้นการยิงหาผล เมื่ออาวุธไดทําการยิงนัดแรกหรือชุดแรกมาแลว ผูตรวจการณตรวจตําบลระเบิดได วางเปาหมาย หรือผูตรวจการณไดปรับการยิงแลว ก็จะนําเขาสูขั้นการยิงหาผล หนวยยิงจะทําการยิงมาดวยจํานวน อาวุธ และกระสุนตามความตองการ ค. การยิงซึ่งกระทําตอเปาหมายโดยความมุงหมายตางๆ เชน ตัดรอนกําลัง, รบกวนหรือทําลายนั้น แบงออกได เปน ๒ ประเภท คือ ๑) การยิงเปนพื้นที่ สวนใหญกระทําการยิงตอเปาหมายมีวิญญาณ ซึ่งเคลื่อนที่ได เชน คน สัตว ซึ่งรวมทัง้ ยานพาหนะดวย กระทําเพื่อตัดรอนกําลังโดยการวางการยิงอยางหนาแนนลงบนพื้นที่แหงหนึ่ง ดวยการจูโจมและ รวดเร็ว ตองการใหเกิดอันตรายตอเปาหมายดวยอํานาจและสะเก็ดจากการระเบิดของลูกกระสุน ไมจําเปนตองใหถูก เปาหมายโดยตรง ตามปกติจะยิงดวยอาวุธ ๑ หรือ ๒ กระบอก ในขั้นปรับการยิง สวนในขัน้ ยิงหาผลจะใชอาวุธจํานวน มากพอที่จะทําใหเกิดอันตรายตอเปาหมายตามที่ตองการ ซึ่งอาจเปน หมวด, กองรอย หรือมากกวาก็ได ๒) การยิงประณีต กระทําโดยการวางจุดปานกลางมณฑลของกลุมการยิงตอเปาหมายเปนจุดเล็กๆซี่งอยูกับที่ เพื่อทําลายเปาหมาย ซึ่งเรียกวา “การยิงทําลาย” หรือหาตัวแก ซึ่งเรียกวา “การยิงหาหลักฐาน” ฯลฯ ใชอาวุธเพียง กระบอกเดียวทําการยิงตั้งแตขั้นปรับการยิงจนจบขั้นยิงหาผล ๓. สรุป ผูตรวจการณอาจเปนใครก็ไดไมจําเปนตองเปนผูตรวจการณหนาของ ป. หรือ ค. เมื่อผูใดเห็นเปาหมาย กําหนด ที่ตั้งเปาหมาย สงคําขอยิงและทําการปรับการยิงใหกับ ป. หรือ ค. ผูนั้นก็ทําหนาที่เปนผูตรวจการณหนาใหกับ ป. หรือ ค. ในขณะนั้น ชุดหลักยิงซึ่งประกอบดวย ผูตรวจการณ ศูนยอํานวยการยิง และสวนยิง มีแตผูตรวจการณเทานั้น ที่เห็น เปาหมาย ฉะนั้นการที่จะทําใหกระสุนถูกเปาหมายอยางแมนยําและรวดเร็วเพียงใดนั้น ยอมขึ้นอยูกับผูตรวจการณเปน สําคัญ การสงคําขอยิงของผูตรวจการณนั้น เมื่อพบเปาหมาย กําหนดที่เปาหมายแลว ก็จะสงคําขอยิงไปยังศูนย อํานวยการยิง และทําการปรับการยิงโดยสงตัวแกไปยังศูนยอํานวยการยิง ศูนยอํานวยการยิง เมือ่ รับคําขอยิงหรือตัวแกจากผูตรวจการณแลว เจาหนาที่ในศูนยอํานวยการยิง ก็จะทําการ แปลงหลักฐานที่ไดจากผูตรวจการณ ใหเปนคําสั่งยิงแลวสั่งไปยังสวนยิง สวนยิง รับคําสั่งจากศูนยอํานวยการยิงแลว ทําการตั้งหลักฐานยิงแลวทําการยิงไปยังเปาหมาย บทที่ ๒ เครื่องมือเครื่องใชในการตรวจการณ กลาวทั่วไป ชุดตรวจการณมีอุปกรณตางๆสําหรับใชในการตรวจการณ รวมทั้งกอาวุธประจํากายและยุทโธปกรณประจําหมู ตรวจการณของตน อุปกรณการตรวจการณจะชวยใหผูตรวจการณและคณะสามารถปฏิบัติภารกิจที่ไดรับมอบไดผล สมบูรณนั้น มีทั้งอุปกรณที่จัดอยูในอัตราการจัด และยุทโธปกรณ(อจย.) และหากจําเปน ผูตรวจการณอาจดัดแปลงหรือ สรางขึ้นเพื่อชวยใหกระทําการตรวจการณไดงายขึ้น อุปกรณดังกลาวมาแลว อาทิ กลองสองสองตา และเข็มทิศ ฯลฯ ซึ่งจะไดกลาวรายละเอียดแตละชนิดตอไป ๑. กลองสองสองตา ๒. เข็มทิศ ๓. แผนที่ ๔. แผนพัดตรวจการณ ๕. ภาพภูมิประเทศสังเขป ๖. แผนผังการเห็น ๗. การวัดมุมดวยมือ ๑. กลองสองสองตา ก. อุปกรณสําคัญที่ใชเปนประโยชนสําหรับการตรวจการณ ของผูตรวจการณชนิดหนึ่ง ก็คือ กลองสองสองตา มีกําลังขยาย ๑ เทา เปนเครื่องมือที่มีน้ําหนักเบา สามารถนําติดตัวไปและใชไดทันที ประกอบดวยกลองสองทางไกล ๒ อัน ติดอยูบนบานพับเพื่อใหสามารถปรับระยะหางใหเหมาะสมกับระยะของตาทั้งคูของผูใช มีขีดมาตราบอกไวใหดวย ดานที่ใชมองสามารถปรับจุดรวมแสง(FOCUS) เพื่อใหเห็นภาพภูมิประเทศไดชัดเจนตามตองการ มีขีดมาตราวัด ประกอบดวยเลขกําหนดไวใหดวย ขางละอันเชนเดียวกัน (บางครั้งเรียกวามาตราวัดสายตา) ข. กลองสองสองตาที่ใชในการตรวจการณ ป. และ ค. มีมารตราประจําแวนแกวอยูในกลองดานซาย (ดูรูปที่ ๑) มาตราทางระดับที่แสดงไวแบงออกเปนชองละ ๑๐ มิลเลียม ออกไปทั้งสองขางของศูนยกลาง ขางละ ๕ ชอง กํากับไว ดวยเลข ๑, ๒, ๓, ๔, ๕ เหนือมาตราทางระดับมีขีดมาตราทางดิ่งอยู ๒ ชุด ตรงกลาง และดานซาย หางกันขีดละ ๕ มิลเลียม (มิล.) ผูตรวจการณใชขีดมาตราวัดมุมทางดิ่ง มาตราประจําแกวของกลองสองสองตา สวนขีดมาตราทางขางดานขวาซึ่งเปนเสนดิ่งยาวนั้น เปนมาตราที่ใชสําหรับหาจุดเล็งชวยของอาวุธ ปก. ซึ่งไดใช ในการตรวจการณนี้ จึงไมกลาวรายละเอียดไว (ดูรูปที่ ๑ มาตราประจําแวนแกวของกลองสองสองตา) ค. การใช กับกลองสองสองตาดวยมือทั้งสองและกดเบาๆเขากับตาทัง้ สองขาง มองผานชองของแตละขางไปยัง เปาหมายที่อยูในระยะไกลพอสมควร แลวกางหรือหุบกลองที่บานพับจนเห็นภาพปรากฏเปนวงกลมเดียว(ไมแยกจาก กันหรือซอนกัน) ควรจดจําระยะชองตานี้ไวจากขีดมาตรา เพื่อตั้งในการใชกลองครั้งตอๆไป แลวจึงปรับจุดรวมแสงให สองเห็นภาพชัดเจน, จดจํามาตรา จัดสายตาแตละขางไวเพื่อใชในครั้งตอๆไปเชนเดียวกัน การใชกลองสองสองตาในทา นั่งหรือนอน ควรใหมีสิ่งรองมือและขอศอก จะชวยใหเห็นภาพไดนิ่ง และไดผลดียิ่งขึ้น ง. การใชมาตราวัดมุม ๑) เมื่อวางกึ่งกลางมาตราทางระดับลงบนเปาหมายแลว ผูต รวจการณก็อานคามุมทางระดับไปทางขวา หรือ ซายไปยังตําบลระเบิดได ผูตรวจการณที่มีความชํานาญสามารถอานไดใกลเคียงถึง ๑ มิล. ๒) ในการวัดมุมทางขางไมเกิน ๑๐๐ มิล. ผูตรวจการณก็ใชมาตราวัดมุมทางระดับนี้วัดไดโดยตรง ซึ่งอาจใช ขอบซายหรือขวา ที่มีตัวเลขกํากับอยูแลว นับชอง (๑๐ มิล. รวมกับเศษใกลเคียง ๑ มิล.) เปนคามุมทางขาง ระหวางจุด ๒ จุด ไดตามตองการ ๓) เมื่อมุมทางขางมีคาเกิน ๑๐๐ มิล. ผูตรวจการณคงใชมาตรามุมทางระดับนี้วัดตอกันเปนชวงๆ โดย กําหนดจุดเล็งชวยขึ้น อาจวัดไปเพียงชวงละ ๘๐ หรือ ๙๐ มิล. จนครบงามมุมที่ตองการวัด จดไวแลวนํามารวมกันก็จะ ไดคามุมระหวางที่หมายเล็งทั้ง ๒ จุดที่ตองการ ๔) มุมทางดิ่งขนาดเล็ก ใชวัดดวยเสนระดับสั้นๆที่อยูเหนือมาตราทางระดับตามที่กลาวไวในขอ ข. คามุมทาง ดิ่งที่เกิน ๒๐ มิล. อาจวัดตอกันเปนหลายชวงเชนเดียวกับการวัดมุมทางขางที่มีคาเกิน ๑๐๐ มิล. และสามารถอานคา ออกมาไดใกลเคียง ๑ มิล. เชนเดียวกัน จ. การปรนนิบัติบํารุง เพื่อใหกลองสองสองตามีอายุการใชงานไดนาน ผูใชควรปรนนิบัติบํารุงเปนประจําตาม ระยะเวลา ดังนี.้ - ๑) กอนและหลังการใชงาน รักษาความสะอาดพื้นผิวภายนอก และกลองบรรจุกลอง ตรวจสอบสายหนัง คลองคอยึดแนนและเรียบรอย ทําความสะอาดเลนสโดยใชกระดาษเช็ดเลนสเทานั้น ๒) ระหวางการใชงาน ควรใชสายคลองคอเพื่อปองกันกลองตก และเพื่อสะดวกในการใช ๓) สงกลองใหเจาหนาที่ซอมบํารุงตรวจแกไข เมื่อ (ก) ตรวจพบวามีการจับตัวของไอน้ํา หรือฝุนในกลองมาก หรือขึ้นรา (ข) ควรปรับจุดรวมแสง และขดตอบานพับไมใหหลวมหรือฝดมากเกินไป (ค) ไมสามารถปรับใหภาพชัดเจน หรือปรับใหมองเห็นเปนภาพเดียวได (ง) หรือการชํารุดอื่นๆ ซึ่งทําใหไมสามารถใชงานได ๒. เข็มทิศ เอ็ม ๒ ก. อุปกรณทสี่ ําคัญสําหรับผูตรวจการณอีกอยางหนึ่ง คือ เข็มทิศ ใชวัดมุมทางระดับ หรือทิศทาง ซึ่งเรียกวา มุมภาค เมื่อตั้งคามุมเยื้องประจําไวกับเครื่องมือแลว คาที่วัดไดคือ มุมภาคตาราง ผูตรวจการณใชมุมภาคตารางนี้ เปน หลักในการกําหนดทิศทางของแนวตรวจการณ หรือแนวพิจารณาใดๆ ตามตองการ และยังใชวัดมุมทางดิ่งไดในเขต จํากัดอีกดวย ข. เข็มทิศ เอ็ม ๒ มีหลักการคลายกับกลองกองรอย มีวงกลมและหลอดระดับ เพื่อใหเข็มทิศไดระดับในการใช แตแทนที่จะใชกลองก็กลายเปนใชศูนยรูปใบไมรวมกับกระจกเงาที่ฝาปด เข็มทิศ เอ็ม.2 โดยการเล็งผานศูนยแลวอานมุม เครื่องมือนี้สามารถใชวัดมุมได ทั้งมุมทางระดับและมุมทางดิ่ง มีหมุดปรับ มาตรามุมภาค ซึ่งเมื่อตั้งคามุมเยื้องประจํา ณ บริเวณที่ใชเข็มทิศแลวก็สามารถอานคามุมทางระดับออกมาเปนมุมภาค ตารางไดโดยตรง มาตรามุมทางระดับทําไวเปนมิล. แบงยอยละเอียดถึง ๒๐ มิล. มีตัวเลขกํากับไวทุก ๒๐๐ มิล.(เลขคู) มาตราทางดิ่งแบงขีดยอยลงไปถึง ๒๐ มิล. มีตัวเลขกํากับไวทุก ๒๐๐ มิล.(เลขคู) ตั้งแต ๐ ถุง ๑๒๐๐ มิล. ทั้งสองทาง ค. เมื่อใชวัดมุมภาค ผูตรวจการณอาจอานคามุมภาคของเปาหมายจากกระจก โดยอานจากปลายเข็มทิศสีดํา ดวยการกางฝาตลับเข็มทิศออก ขณะที่เข็มทิศไดระดับ(ฟองน้ําอยูกึ่งกลางวงกลมระดับ) มองผานจากศูนยหลังไปทาง หนาตางกระจก หรือศูนยหนาที่ฝาปดตลับเข็มทิศตรงไปยังเปาหมาย การใชเข็มทิศ เอ็ม.2 อานคามุมภาคจากกระจกเงา (ปลายเข็มทิศสีดํา) อีกวิธีหนึ่ง เมื่อเปดฝาเข็มทิศกางแผนศูนยหลังออก ถือเข็มทิศใหแนนและนิ่งที่สุดใหเข็มทิศไดระดับ โดยดูจาก ฟองน้ําตรงกลางวงกลมระดับ ผูตรวจการณอานคามุมภาคไดโดยตรงจากปลายเข็มทิศสีขาว เมื่อมองเห็นเปาหมาย ที่ตองการอยูในกระจกเงาผานชองศูนยหลัง การใชเข็มทิศ เอ็ม.2 อานคามุมภาค (อานคาโดยตรงที่ปลายเข็มทิศสีขาว) ง. เมื่อใชวัดมุมดิ่ง ตั้งตลับเข็มทิศที่เปดแลวใหอยูในพื้นดิ่ง ใหศูนยหลังชี้เขาหาตัวผูใช และใหดานปรับระดับมุม ดิ่งอยูทางดานขวา ฝาตลับเข็มทิศทํามุมประมาณ ๔๕ องศา กางแผนศูนยหลังออกจนขนานกับผิวหนาของตลับเข็มทิศ จัดศูนยหลังใหตั้งฉากกับแผนยึด มองจากชองศูนยหลังผานเสนแบงครึ่งชองหนาตางกระจกทับเปาหมาย หรือจุดที่ ตองการวัดมุมดิ่ง เพื่อใหระดับแกหลอดระดับโดยมองภาพในกระจกเงา แลวก็สามารถอานคามุมดิง่ จากที่ตรวจการณไป ยังเปาหมายหรือจุดที่ตองการ การใชเข็มทิศ เอ็ม.2 วัดมุมดิ่งหรือมุมพื้นที่ จ. การปรนนิบัติบํารุง ผูตรวจการณควรหลีกเลี่ยงการใชเข็มทิศใกลสิ่งรบกวนแมเหล็ก โดยเฉพาะยานพาหนะ ปนใหญ หรือโครงสรางเหล็กใหญๆ เชนเดียวกับกลองกองรอย การปรนนิบัติบํารุงนั้นคงปฏิบัติทํานองเดียวกับกลอง สองสองตานั่นเอง โดยปฏิบัติดังนี้ ๑) ตรวจดูสภาพทั่วไปเปนประจํา รักษาความสะอาดทั้งสวนที่เปนโลหะ และกระจก ตลอดจนกระเปาหนัง หรือผาใบที่บรรจุเข็มทิศภายใน และภายนอก ๒) ขันหมุดควงตางๆใหแนน หลอลื่นบานพับ แลวเช็ดน้ํามันที่เกินออก ๓) สงเข็มทิศใหเจาหนาที่สรรพาวุธตรวจซอม เมื่อ (ก) ตรวจพบมีการหลวมคลอน หรือยึดแนนมากเกนไป (ข) หมุนปรับควงมาตรามุมภาคไมสามารถหมุนไปไดถึงประมาณ ๙๐๐ มิล. ทั้งสองขาง ทําใหตั้งคามุม เยื้องประจําไมได ๓. แผนที่ ก. ตามปกติผูตรวจการณจะใชแผนที่ทางทหารมาตราสวน ๑ : ๕๐,๐๐๐ หรือ ๑ : ๒๕,๐๐๐ แตบางครั้งอาจมี แผนที่มาตราสวนอื่น หรือภาพถายทางอากาศใชประกอบตามความเหมาะสม ข. หลักฐานเพิ่มเติมแผนที่ ๑) เมื่อผูตรวจการณวางแผนที่ถูกทิศแลว ก็จะเริ่มเพิ่มเติมหลักฐานแผนที่ การเพิ่มเติมนี้สวนใหญ ประกอบดวยการบันทึกขาวสารลงบนแผนที่ และเขียนภาพภูมิประเทศสังเขป ผูตรวจการณจะเตรียมแผนผังการเห็นไว ดวยเมื่อมีเวลา ๒) ผูตรวจการณจะสรางหลักฐานเพิ่มเติมแผนที่ โดยการขีดเสนรัศมีออกจากที่ตั้งของตนดวยหวงมุมที่ เหมาะสม และเขียนเสนโคงกําหนดระยะตัดกับเสนรัศมีเหลานั้น โดยมีที่ตั้งของตนเปนจุดศูนยกลาง แลวผูตรวจการณ จะหมายที่ตั้งตางๆที่สําคัญ ซึ่งมิไดพิมพไวในแผนที่ รวมทั้งจุดอื่นๆ เชน จุดอาง, จุดยิงหาหลักฐาน, เปาหมาย หรือจุดที่ นาจะมีการเคลื่อนไหวของขาศึก ๔. แผนพัดตรวจการณ ก. แทนการขีดเสนรัศมีลงบนแผนทีใ่ นการสรางหลักฐานแผนที่ชวย ตามที่ไดกลาวมาแลว ผูตรวจการณอาจใช แผนพัดตรวจการณชวยกําหนดที่ตั้งเปาหมายใหสะดวกและรวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะสําหรับวิธีโปลาร แผนพัดตรวจการณ เปนเครื่องมือวัดมุม รูปรางคลายพัดทําดวยวัสดุโปรงแสง สามารถครอบคลุมสวนของวงกลมได ๑๖๐๐ มิล. มีเสนรัศมี แบงมุมออกหางกัน ๑๐๐ มิล. มีสวนโคงแทนระยะจากที่ตรวจการณขีดไวทุกระยะ ๕๐๐ เมตร เริ่มจาก ๑,๐๐๐ เมตร จนถึง ๖,๐๐๐ เมตร ข. ตรงที่ตั้งที่ตรวจการณนั้น คือจุดศูนยจะอยูประมาณกึ่งกลางเขตการตรวจการณ หรือครอบคลุมเขตการตรวจ การณทั้งหมด ซึ่งจะมีเสนรัศมีเสนหนึ่งเกือบขนานกับเสนตารางของแผนที่ หรือเสนที่ทราบทิศทาง ผูตรวจการณก็หมุน แผนพัดตรวจการณใหเสนรัศมีเสนนั้นขนานกับเสนตารางอยางแทจริง แลวใชกาวใสหรือหมุดกดตรึงใหแผนพัดติดกับ แผนที่ เขียนคามุมภาคตารางกํากับเสนรัศมีที่ทราบทิศทางแลว ผูตรวจการณอาจเขียนคามุมภาคกํากับไวทุก ๒๐๐ มิล. หรือ ๑๐๐ มิล. ตามตองการ ๕. ภูมิประเทศสังเขป อุปกรณอีกชนิดหนึ่งที่จะชวยใหผูตรวจการณกําหนดที่ตังเปาหมายไดสะดวกขึ้น คือ ภาพภูมิประเทศสังเขป เปน ภาพของพื้นที่ในเขตตรวจการณที่ผูตรวจการณมองเห็น และเขียนขึ้นยอ แสดงถึงจุดอางและตําบลสําคัญตางๆ เชน จุด ยิงหาหลักฐาน, เปาหมาย และจุดตางๆ ที่อาจมีการเคลื่อนไหวของขาศึกกํากับไวดวยชื่อ หมายเลข และมุมภาคไปยัง จุดตางๆนั้น ภาพภูมิประเทศสังเขปนี้ยังชวยใหเจาหนาที่ซึ่งมาผลัดเปลีย่ นสามารถวางตัวใหถูกทิศไดเร็วขึ้น ๖. แผนผังการเห็น ก. สภาพผิวภูมิประเทศสูงต่ําตางกัน จะกําบังสายตาไมใหผูตรวจการณมองเห็นไดทั่วบริเวณเขตรับผิดชอบ หากมีเวลาผูตรวจการณจะทําแผนผังการเห็นขึ้นแลวสงสําเนาให ศอย. หรือ ศอย. จัดทําขึ้นเอง เมื่อไดกรุยทีต่ ั้งที่ตรวจ การณลงบนแผนที่ของ ศอย.แลว ข. แผนผังการเห็นสรางขึ้นจากภาพตัดของภูมิประเทศตามแนวเสนรัศมีที่ลากจากที่ตรวจการณออกไป เสนรัศมี ที่อยูเคียงกันแตละคู ควรเปนงามมุมประมาณ ๑๐๐ มิล. เมื่อไดทําภาพตัดจากเสนรัศมีทุกเสนแลว ก็ลากเสนตรงจากที่ ตรวจการณไปยังแตละจุดที่มองเห็นสูงเดนขึ้นมาในยานการตรวจการณ เสนรัศมีเหลานี้แสดงแนวที่มองเห็นพื้นที่ บริเวณหลังจุดที่เสนรัศมีสัมผัสกับจุดสูงเดน ออกไปจนถึงจุดที่เสนสายตาเหลานั้นสัมผัสกับพื้นดิน จะเปนบริเวณอับ สายตา พื้นที่อับสายตาเหลานี้จะถูกถายทอดลงยังพื้นราบตามแนวของเสนรัศมีของแตละมุมภาคนั้นๆบนแผนที่ หรือ แผนบริวารของผูตรวจการณ จุดที่เกี่ยวของตางๆจะมองเห็นได หรือถูกบังไว ๗. การวัดมุมดวยมือ เมื่อไมมีเครื่องมือวัดมุม เชน กลองสองสองตา, เข็มทิศ หรือในเมื่อตองการความรวดเร็วในการวัดมุม ซึ่งไม ตองการความถูกตองมากนัก ผูตรวจการณก็อาจวัดมุมดวยมือ และนิว้ มือของตน โดยยื่นแขนออกใชสายตาเล็ง ประมาณคามุมจากมือ หรือนิ้วมือไดตางๆกัน คาตางๆที่แสดงไวในรูปเปนเพียงคาปานกลางทั่วไปเทานัน้ ผูตรวจการณ จะตองพยายามใหมือหรือนิ้วมือที่ใชวัดมุมอยูหางจากนัยตาดวยระยะเทากันเสมอ และจดจดคามุมตางๆไวใช นิ้วชี้ ประมาณ ๓๐ มิลเลียม นิ้วชี้ ถึง นิ้วกอย ประมาณ ๑๒๕ มิลเลียม นิ้วชี้, นิ้วกลาง ประมาณ ๗๐ มิลเลียม กํามือ ประมาณ ๑๘๐ มิลเลียม นิ้วชี้, ถึง นิ้วนาง ประมาณ ๑๐๐ มิลเลียม กางมือ ประมาณ ๓๐๐ มิลเลียม สรุป การรูจักใชเครื่องมือ จะชวยใหการหาหลักฐานเกี่ยวกับเปาหมายไดถูกตองยิ่งขึ้น ซึ่งจะทําใหการยิงแมนยํา ขึ้น และเสียเวลาในการปรับการยิงนอยลง แมวาผูตรวจการณจะไมมีกลองสองสองตา แตถารูจักการวัดมุมดวยก็ยัง พอที่จะขอยิงและปรับการยิงได (ดูรูปที่ ๓ การวัดมุมดวยมือ) ๘. ที่ตั้งของจุดที่ทราบ เพื่อใหการกําหนดที่ตั้งเปาหมายสะดวกขึ้น ผูตรวจการณ และ ศอย. จะรวมกันเลือกจุดตางๆในบริเวณพื้นที่ เปาหมาย ซึ่งตรวจการณเห็นไดชัด และไดกรุยไวบนแผนเรขายิงแลว ที่ตั้งของจุดที่ทราบเหลานี้อาจหาไดจากแผนที่ จากการทํางานแผนที่ หรือ จากการยิง ๙. การหามุมภาคของแนวตรวจการณ ผูตรวจการณอาจหาคามุมภาคที่จะใชเปนหลักในการตรวจ และปรับการยิงไดหลายวิธี คือ ก. วัดดวยเข็มทิศ การใชกลองกองรอย หรือเข็มทิศ เอ็ม ๒ ซึ่งไดตั้งคามุมเยื้องประจําไวแลว จะไดคามุมภาค ตารางเปนมิลเลียม หากใชเข็มทิศชนิดอื่นซึ่งตั้งคามุมเยื้องประจําไมได ก็จะไดคามุมภาคเข็มทิศ หลังจากที่เอามุมเยื้อง ประจํารวมเขาดวยแลวก็จะไดคามุมภาคตาราง พึงหลีกเลี่ยงการใชเข็มทิศใกลสิ่งรบกวนแมเหล็กดวย ข. วัดมุมทางขางจากแนวที่ทราบคามุมภาคตารางแลว เมื่อเปาหมายอยูทางขวาของแนวที่ทราบ ก็นําคามุมทาง ขางที่วัดไดไปบวกกับมุมภาคตารางที่ทราบ หากเปาหมายอยูทางซายก็นําคามุมทางขางที่วัดไดไปลบจากมุมภาคตาราง ที่ทราบ วิธีนี้ถามุมภาคตารางของแนวที่ทราบนี้ถูกตอง ก็จะไดคามุมภาคของแนวตรวจการณถูกตองดวย ค. พิจารณาจากแผนที่เมื่อสรางหลักฐานแผนที่เพิ่มเติมแลว หรือใชแผนพัดตรวจการณประกอบ โดยพิจารณา จากเสนแฉกแตละเสนที่สรางขึ้น หรือมีอยูบนแผนพัดตรวจการณ ง. คํานวณเอาจากพิกัดของที่ตรวจการณและเปาหมาย หากผูตรวจการณมีอุปกรณในการคํานวณ และเวลา เพียงพอก็อาจคํานวณหามุมภาคตารางของแนวตรวจการณไปยังเปาหมายที่สําคัญ เชน จุดยิงหาหลักฐาน หรือภูมิ ประเทศที่เห็นไดเดนชัด และสามารถกําหนดที่ตั้งไดในแผนที่ของตน (รูพิกัดโดยแนนอนจากหลักฐานการแผนที)่ หรือ วัดเอาจากแผนที่ดวยวิธีการทางเรขา จ. การกะประมาณ เมื่อไมมีอุปกรณวดั มุม เชน เข็มทิศหรือกลองสองสองตา หรือเมื่อตองการความรวดเร็ว ผูตรวจการณก็อาจหาคามุมภาคของแนวตรวจการณเมื่อนํามาใชในภารกิจยิงไดจากการกะประมาณ ประกอบกับการ วัดมุมดวยมือ เมื่อสามารถหาอุปกรณที่ดีกวานี้ได หรือเมื่อมีเวลาผูตรวจการณก็ควรหาคามุมภาคทีถ่ ูกตองไวใช บทที่ ๓ การกําหนดที่ตั้งเปาหมาย ๑. กลาวทั่วไป เมื่อผูตรวจการณตรวจพบเปาหมาย และตองการใหเครื่องยิงลูกระเบิดหรือปนใหญทําการยิงทําลาย หรือตัดรอน กําลังตอเปาหมายนั้น ตามปกติผูตรวจการณก็จะดําเนินการยิง โดยใชลําดับวิธีปฏิบัติมาตรฐาน ดังตอไปนี้ ก. การกําหนดที่ตั้งเปาหมาย ข. การเตรียมและสงคําขอยิง ค. การปรับการยิงเมื่อจําเปน ง. การเฝาตรวจผลของการยิงหาผล ๒. สูตรมิลเลียม ก. จากสูตรมิลเลียมที่ทานไดศึกษาแลวในเรื่องการคํานวณเบื้องตนของวิชาหลักยิง ผูตรวจการณจะนําสูตรมิลเลียม W = RM มาใชในการคํานวณตางๆ ทั้งทางระยะ, ทางขาง ตลอดจนทางดิ่งได สูตรมิลเลียมนี้อาจนําไปใชในรูป ตางๆกันได เชน = M = W หรือ R = W R M W M = คามุมที่นํามาพิจารณาเปนมิล W = ความยาวของดานทีต่ รงขามมุม (เปนเมตร) M R = ระยะเปนกิโลเมตร(ทศนิยม ๑ ตําแหนง) R ข. การใชสูตรมิลเลียมคํานวณการยายทางขาง ม. เมื่อทราบระยะทางจากที่ตรวจการณไปยังจุดที่ทราบ + และไปยังเปาหมาย ผูตรวจการณก็สามารถคํานวณ การยายทางขางโดยใชคามุมขางที่วัดไดจากจุดที่ทราบ ไปยังเปาหมายคูณกับระยะเปนกิโลเมตร (ทศนิยม ๑ ตําแหนง) ซ้าย ๑๘๐ โดยใชสูตร W = RM + จล. คาการยายทางขาง W = ๖๐ X ๓.๐ = ๑๘๐ เมตร ๖๐ ระยะ ๓๐๐๐ ม. ต. ค. การใชสูตรมิลเลียมคํานวณหาระยะ ผูตรวจการณคํานวณหาระยะโดยใชคามุมที่วัดไดจากที่หมายเล็ง ๑๒ หรือเปาหมาย ๒ แหง กับระยะทางขางที่ทราบระหวางทีห่ มาย เล็ง ๒ แหงนั้น ระยะจากที่ตรวจการณไปยังเปาหมายที่หาไดนี้จะ เปนระยะจํานวนกิโลเมตร ตัวอยาง ผูตรวจการณวัดมุมระหวางหนาและทายรถ รถบรรทุก ซึ่งยาว ๑๒ เมตร ได ๕ มิล. เขาก็จะหาระยะจากที่ตรวจการณไป ยังรถคันนัน้ ได โดยใชสูตรมิลเลียม ๕ มิล R = W M = ñò กม. õ = ๒.๔ กม. ต. นั่นคือ ระยะจากที่ตรวจการณไปยังรถ ๒,๔๐๐ ม. ง. การใชสูตรมิลเลียมคํานวณการยายทางดิ่ง การคํานวณการยายทางดิ่งก็คงกระทําทํานองเดียวกับการคํานวณการยายทางขางที่ไดกลาวมาแลว เปนการ หาคาแตกตางสูงจากจุดที่อยูระดับเดียวกับที่ตรวจการณ ไปยังจุดที่ทราบหรือเปาหมาย คาของมุมทางดิ่งที่วัดไดก็อาจมี คาเปนลบ เมื่อเปาหมายหรือจุดที่ทราบอยูต่ํากวาระดับสายตาจากที่ตรวจการณ ตส (W ดิ ต M R ตัวอยาง ผูตรวจการณวัดมุมทางดิ่งของยอดเขาซึ่งอยูหางจากที่ตรวจการณไดวาสูงขึ้นจากพื้นระดับ ๗๘ มิล. ประมาณระยะจากที่ตรวจการณไปยังยอดเขาได ๔,๐๐๐ เมตร เขาก็สามารถคํานวณไดวา ยอดเขานั้นสูงกวาที่ตรวจ การณเทาไร โดยใชสูตรมิลเลียม W = RM หรือ ตส. ด X ร + ๗ X ๔.๐ เมตร + ๒๘.๐ เมตร นั่นคือ ยอดเขาอยูสูงกวาที่ตรวจการณ ๒๘ เมตร ๓. การบอกที่ตั้งเปาหมาย ก. ผูตรวจการณที่มีวิธีการที่จะบอกให ศอย. ซึ่งไมไดเห็นเปาหมายดวยนั้น ทราบวาเปาหมายตั้งอยู ณ ที่ใด ถา วิธีการที่ผูตรวจการณบอกที่ตั้งเปาหมายเขาใจไดงาย อาวุธยิงก็จะสามารถทําการยิงไดเร็ว และหากที่ตั้งเปาหมายที่ ผูตรวจการณบอกมานั้นถูกตองแนนอนแลว การยิงก็จะแมนยํายิ่งขึ้น โดยเสียเวลาปรับการยิงนอยลง หรืออาจแมนยํา ถึงยิงหาผลไดเลย โดยไมจําเปนตองปรับการยิง วิธีการในการบอกที่ตั้งเปาหมายอาจกระทําไดหลายวิธี แตในที่นี้จะได กลาวถึงวิธีที่ผูตรวจการณทางพื้นดินใชเปนหลักอยูในปจจุบันวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังตอไปนี้ ๑) พิกัดตาราง ๒) พิกัดโปลาร ๓) การยายจากจุดที่ทราบที่ตั้ง หรือจุดอาง ข. ความถูกตองของการขานหลักฐานตางๆ สําหรับการกําหนดที่ตั้งเปาหมายในคําขอยิง และการแกขั้นตอไปหา ไดจากเครื่องมือตรวจการณตางๆ ที่ไดกลาวมาแลว ตามปกติผูตรวจการณจะปดเศษ และขานหลักฐานตางๆ ดังตอไปนี้ ๑) มุมภาค จํานวนเต็ม ๑๐ มิลเลียม ๒) การยาย หรือการแกทางขาง จํานวนเต็ม ๑๐ เมตร ๓) การยายทางดิ่ง จํานวนเต็ม ๕ เมตร ๔) การยายทางระยะ จํานวนเต็ม ๑๐๐ เมตร หมายเหตุ การปดเศษ ๐.๑ – ๐.๔ ปดทิ้ง ๐.๖ – ๐.๙ ปดขึ้น ๐.๕ ปดใหตัวเลขตัวที่เหลือเปนเลขคู ๔. การกําหนดที่ตั้งเปาหมายดวยวิธีพิกัดตาราง ก. หลังจากที่ผูตรวจการณกําหนดที่อยูของตนลงบนแผนที่ และวัดมุมภาคไปยังเปาหมายแลว จากหลักฐาน เพิ่มเติมแผนที่หรือแผนพัดตรวจการณเขาจะเลือกจุดบนเสนรัศมี (หรือแนว) ตรงกับมุมภาคที่วัดได รวมกับการ ประมาณระยะจากที่ตรวจการณไปยังเปาหมาย หรือพิจารณาภูมิประเทศจริงประกอบ เขาก็สามารถกําหนดที่ ตั้งเปาหมายได ข. เมื่อผูตรวจการณกําหนดจุดที่ตั้งเปาหมายแลว เขาก็ทําเครื่องหมายที่ตั้งนั้นบนแผนที่ แลวอานพิกัดตาราง ออกมาดวยบรรทัดฉาก หรือการกะประมาณพิกัด เมื่อใชบรรทัดฉากผูตรวจการณควรอานคาพิกัดตะวันออก และพิกัด เหนือ ไดพรอมกันจากการวางบรรทัดเพียงครั้งเดียว โดยอานคาพิกัดตะวันออกของมุมลางซายของชองตารางที่บรรจุ เปาหมายอยูนั้น ตอดวยระยะทางทิศตะวันออกที่อานไดมาจากมาตราบนบรรทัดฉาก ละเอียดถึง ๑๐๐ เมตร (๖ ตัว) หรือ ๑๐ เมตร (๘ ตัว) ตามความละเอียดที่ตองการ แลวจึงอานพิกัดเหนือ เริ่มจากมุมลางซายของชองตารางนั้น ตอ ดวยระยะทางทิศเหนือที่อา นไดจากมาตราบนบรรทัดฉากเชนเดียวกัน ดังตัวอยาง เชน “ พิกัด ๘๖๖๕๒๗ ” หรือ “ พิกัด ๘๖๖๕๕๒๗ ” ฯลฯ ๕. การกําหนดที่ตั้งเปาหมายดวยวิธีโปลาร ก. พิกัดโปลารประกอบดวย ทิศทาง, ระยะ และการยายทางดิง่ จากผูตรวจการณไปยังเปาหมาย สิ่งสําคัญที่สุด ในการกําหนดที่ตั้งเปาหมายดวยวิธีโปลารคือ ศูนยอํานวยการยิงตองรู และกรุยที่อยูของผูตรวจการณลงบนแผนเรขายิง แลว ดวยวิธีโปลารนี้ ผูตรวจการณสามารถกําหนดที่ตั้งเปาหมายไดสะดวก และรวดเร็วกวาวิธีอื่นๆ ข. ผูตรวจการณจะขานทิศทางออกมาเปน มุมภาค…..ละเอียดถึง ๑๐ มิล. และขานระยะซึ่งประมาณวา เปาหมายอยูหางจากที่ตรวจการณเปนจํานวนเต็ม ๑๐๐ เมตร เมื่อมีการปรับการยิง หากผูต รวจการณมีแผนที่ซึ่งได ทําหลักฐานเพิ่มเติมแผนที่ขึ้นไว หรือใชแผนที่ประกอบกับแผนพัดตรวจการณ ก็จะสามารถกําหนดที่ตั้งเปาหมายดวย วิธีนี้ไดสะดวกขึ้นอีก ค. การยายทางดิ่ง หากผูตรวจการณเห็นชัดวาเปนเปาหมายอยูสูงกวา หรือต่ํากวาที่ตรวจการณ ก็ใหบอกการ ยายทางดิ่งไปในการกําหนดที่ตั้งเปาหมายดวย โดยบอกเปนจํานวนใกลเคียง ๕ เมตร ตอทายระยะ ผูตรวจการณหา คาการยายทางดิ่งไดโดยพิจารณาความแตกตางทางสูง จากเสนชั้นความสูงในแผนที่ระหวางที่ตรวจการณกับเปาหมาย หรือคํานวณหาคาแตกตางสูงจากการใชสูตรมิลเลียมแทนคามุมทางดิ่ง ที่วัดไดไปยังเปาหมายตามที่ไดกลาวไวใน ตอนตน ง. ตัวอยาง ผูตรวจการณพบเปาหมายอยูบนยอดเนินในเขตตรวจการณ เมื่อพิจารณาจากแผนที่ประกอบกับแผนพัด ตรวจการณที่มีอยู ก็เห็นวายอดเนินนั้นอยูทางขวาของเสนรัศมี มุมภาค ๕๐๐ มิล. ไปเล็กนอย ประมาณไดวา ๑๐ มิล. และอยูตรงกับขีดระยะ ๒๕๐๐ พอดี จากการตรวจการณเสนชั้นความสูงเห็นวา ยอดเนินนั้นสูง ๑๕๓ เมตร ความ สูงของที่ตรวจการณ ๑๑๗ เมตร ฉะนั้น การกําหนดที่ตั้งเปาหมายนี้ดวยวิธีโปลารคือ “ มุมภาค ๕๑๐ ระยะ ๒๕๐๐ สูงขึ้น ๓๕ ” ๖. การกําหนดที่ตั้งเปาหมายโดยยายจากจุดที่ทราบ ก. เมื่อไมมีแผนที่และยังไมสามารถหาที่อยูตัวเองได ผูตรวจการณกก็ ําหนดที่ตั้งเปาหมายดวยวิธีอื่น โดยใชจุดใน ภูมิประเทศซึ่งตนเองมองเห็น และไดกรุยลงบนแผนเรขายิงของ ศอย. แลว มาเปนจุดอางในการกําหนดที่ตั้งเปาหมาย ได ที่ตั้งของจุดอางนี้อาจมีอยูในภาพภูมิประเทศสังเขปหรือไมก็ได ในการกําหนดที่ตั้งเปาหมาย ผูตรวจการณจะตอง บอกจุดที่ทราบที่นํามาใชอาง, มุมภาคจากที่ตรวจการณไปยังเปาหมาย (มุมภาคของแนว ต. – ม.), การยายทางระดับ และการยายทางดิ่ง ข. จุดที่ทราบที่ตั้งซึ่งเรานํามาใชเปนจุดอางในการกําหนดที่ตั้งเปาหมาย อาจเปนจุดยิงหาหลักฐาน, จุดเดนๆใน ภูมิประเทศ หรือเปาหมายที่ไดทําการยิงมากอนแลวก็ได ค. มุมภาค คือ มุมภาคตารางจากที่ตรวจการณไปยังเปาหมาย อาจหาไดจากการวัดดวยเข็มทิศ หรือจากการวัด มุม – ขาง จากแนวที่ทราบคามุมภาคตารางแลวไปยังเปาหมาย ตามที่ไดกลาวมาแลวในบทที่ ๒ ง. การยายทางระดับจากจุดที่ทราบไปยังเปาหมายประกอบดวย การยายทางขาง และการยายทางระยะ การ ยายทางขางกระทําขากจุดที่ทราบไปตั้งฉากกับแนว ต. – ม. เปนเมตร ตามทิศทางการแกดังรูปที่ ๔ ม. การย้ายทางข้ าง + จ. (จุดอ้าง) ซ้าย ลด เพิม ม. การย้ายทางข้ าง (จุดอ้าง) + ขวา มุมข้ าง มุมข้ าง ก. ข. ต. ต. รูปที่ ๔ การกําหนดที่ตั้งเปาหมายโดยวิธียายจากจุดที่ทราบ การยายทางระยะ คือ ระยะเปนเมตรจากจุดเชิงของเสนตั้งฉาก (จากการยายทางขาง) ไปตามแนว ต. – ม. จนถึงเปาหมาย การยายทางระยะไปในทิศทางเดียวกับแนว ต – ม ก็เปนการ “ เพิ่ม ” ระยะ (รูปที่ ๔ ก.) หากการ ยายทางระยะเปนไปในทิศทางยอนเขาหาแนว ต – ม ก็เปนการ “ ลด ” ระยะ (รูปที่ ๔ ข.) การคํานวณหาคาการยายทางระดับในการกําหนดที่ตั้งเปาหมายแบงออกเปน ๒ กรณี คือ ๑) การยายเมื่อมุมทางขางเล็กกวา ๖๐ มิล. เมื่อมุมทางขางเล็กกวา ๖๐๐ มิล. เราถือวาระยะ ตฉ. เทากับ ตจ. เพื่อใหงายแกการคํานวณ แลวก็ คํานวณหาคาการยายทางระดับไดดังนี้ ม. ก) การยายทางขาง คํานวณโดยใชสูตรมิลเลียม คือ + การยายทางขาง W = RM เพิม ข) การยายทางระยะไดโดยการหาผลตางระหวาง “ ขวา ระยะจากที่ตรวจการณถึงเปาหมาย (ต – ม) กับระยะ จ. + ฉ. จากที่ตรวจการณถึงจุดอาง (ตจ) นั่นคือ การยาย ทางระยะ = ระยะ ตม. – ระยะ ตจ. ขอสังเกต ถาผลลัพธเปนบวก(+) ก็เปนการ “เพิ่ม” ระยะ ถาผลลัพธเปนลบ(-) ก็เปนการ “ลด” ระยะ ค) ตัวอยาง ผูตรวจการณวัดมุมภาคตารางไปยังจุดยิง หาหลักฐานที่ ๑ ดวยเข็มทิศได ๓๙๐ มิล. และวัดมุมที่ เปาหมายหางจาก จล.๑ ไปทางขวาได ๒๕๐ มิล. เขารูวาระยะจากที่ตรวจการณไปยัง จล.๑ เปน ม. ๓๒๐๐ เมตร และประมาณระยะไปยังเปาหมายได + ๓๗๐๐ เมตร เขาจะหาคาการยายไดดังนี้ เพิ ม ๕๐๐ จล.๑ + “ ขวา ๘๐๐ ” การยายทางขาง = W = RM = ๒๕๐ X ๓.๒ เมตร = ๘๐๐ เมตร ๓๒ ๒๕๐ ๐๐ การยายทางระยะ = ๓๗๐๐ - ๓๒๐๐เมตร ม. = + ๕๐๐ เมตร ต. = “ เพิ่ม ๕๐๐ ” การยายทางระดับ คือ “ ขวา ๘๐๐, เพิ่ม ๕๐๐ ” ๒) การยายเมื่อมุมทางขางเทากับ ๖๐๐ มิล. หรือใหญกวา ก) เมื่อมุมทางขางมีคาตั้งแต ๖๐๐ มิล. ขึ้นไป กรณีนี้ไมใชสูตรมิลเลียมเพราะเมื่อมุมขางใหญขึ้น การที่จะ ถือวาระยะ ตจ = ตฉ ตามรูปที่ ๕ ยอมไมเปนการถูกตอง เพราะตามปกติระยะ ตฉ ยอมสั้นกวา ระยะ ตจ ฉะนั้น เพื่อใหการคํานวณถูกตองดีขึ้น จึงใชสัมพันธตรีโกนมิติคํานวณ โดยใชคาไซนอยางหยาบตามตารางที่ไดแสดงไวตอไปนี้ ตารางคาไซน มุมเปนมิล คาไซนอยางหยาบ ๐ ๐ ๑๐๐ ๐.๑ ๒๐๐ ๐.๒ ๓๐๐ ๐.๓ ๔๐๐ ๐.๔ ๕๐๐ ๐.๕ ๖๐๐ ๐.๖ ๗๐๐ ๐.๖ ๘๐๐ ๐.๗ ๙๐๐ ๐.๘ ๑๐๐๐ ๐.๘ ๑๑๐๐ ๐.๙ ๑๒๐๐ ๐.๙ ๑๓๐๐ ๑.๐ ๑๔๐๐ ๑.๐ ๑๕๐๐ ๑.๐ ๑๖๐๐ ๑.๐ ข) ผูตรวจการณจะนําคาไซนอยางหยาบนี้ไปใชในการคํานวณหาการยายทางขาง และการยายทางระยะไดดังนี้ การยายทางขาง = ระยะ ตจ. X ไซนมุมขาง (ถามุมขางมีคามากกวา ๑๖๐๐ มิล. ใหลบออกจาก ๓๒๐๐) การยายทางระยะ= ระยะ ตม. – ระยะ ตจ. X ไซน (๑๖๐๐ - มุมขาง) (ถาคามุมติดลบ ใหคิดเครื่องหมายไซนดวย) ถาผลลัพธเปน บวก(+) การยายทางระยะก็เปน “เพิ่ม” ถาผลลัพธเปน ลบ(-) การยายทางระยะก็เปน “ลด” ค) ตัวอยางที่ ๑ เมื่อผูตรวจการณวัดมุมขางได ๙๒๐ มิล. ระยะจากที่ตรวจการณไปยังจุดอาง ๓๐๐๐ เมตร ผูตรวจการณ ประมาณระยะจากที่ตรวจการณไปยังเปาหมายได ๑๖๐๐ เมตร ผูตรวจการณจะคํานวณการยายทางระดับไดดังนี้ ง) ตัวอยางที่ ๒ เมื่อผูตรวจการณวัดมุมขางได ๒๐๐๐ มิล. ระยะจากที่ตรวจการณไปยังจุดอาง ๔๐๐ เมตร ผูตรวจ การณกะประมาณระยะจากที่ตรวจการณไปยังเปาหมายได ๖๐๐ เมตร ผูตรวจการณจะคํานวณหาการยายทางระดับ ไดดังนี้ การยายทางขาง = ระยะ ตจ. X ไซนมุมขาง = ๔๐๐ X ไซน (๓๒๐๐ - ๒๐๐๐) = ๔๐๐ X ไซน ๑๒๐๐ = ๔๐๐ X ๐.๙ = ๓๖๐ เมตร การยายทางระยะ = ระยะ ตม. – ระยะ ตจ. X ไซน (๑๖๐๐ - มุมขาง) = ๖๐๐ - ๔๐๐ X ไซน (๑๖๐๐ - ๒๐๐๐) = ๖๐๐ - ๔๐๐(- ๐.๔) = ๖๐๐ + ๑๖๐ = + ๗๖๐ เมตร การยายทางระดับ คือ “ ขวา ๓๖๐, เพิ่ม ๘๐๐ ” การยายทางดิ่ง การกําหนดที่ตั้งเปาหมายโดยวิธียายจากจุดที่ทราบที่ตั้งนั้น ถาความสูงของเปาหมายกับจุดอาง ไมเทากัน ผูตรวจการณจะตองบอกคาการยายทางดิ่งดวย การยายทางดิ่งอาจหาไดโดยวิธีกะประมาณ หรือโดยการ คํานวณ ๑) ในการคํานวณหาคาการยายทางดิ่ง ผูตรวจการณจะตองวัดมุมทางดิ่งจากที่ตรวจการณไปยังเปาหมาย และ จุดอาง เมื่อผูตรวจการณประมาณระยะจากที่ตรวจการณไปยังจุดทั้งสองแลว ก็สามารถกําหนดความสูงตางเปนเมตร ระหวางที่ตรวจการณ กับจุดอางไดโดยการใชสูตรมิลเลียม และดวยการปฏิบัติทํานองเดียวกัน ผูตรวจการณก็หาความ สูงตางระหวางที่ตรวจการณกับเปาหมายได เมื่อนําคาความสูงตางทั้งสองคานี้มาเปรียบเทียบกัน ผูตรวจการณก็จะ ทราบคาการยายทางดิ่ง การยายทางดิ่ง = แตกตางสูงระหวางที่ตรวจการณกับเปาหมาย – แตกตางสูง ระหวางที่ตรวจการณกับจุดอาง ขอสังเกต ถาผลลัพธเปน บวก(+) การยายทางดิ่งก็เปน “สูงขึน้ ” ถาผลลัพธเปน ลบ(-) การยายทางดิ่งก็เปน “ต่ําลง” ๒) ตัวอยาง ผูตรวจการณตรวจพบเปาหมาย วัดมุมและประมาณระยะไดตามรูปที่ ๕ เส้ นระดั บ ๑๐ มิ ล. เป้ าหมาย ๒๐ มิ ล. ๑๕๐๐ ม. จุดอ้าง ๒๕๐๐ ม. (รูปไม่ถูกต้องตามมาตราส่วน) รูปที่ ๖ การคํานวณการยายทางดิ่ง ระยะจากที่ตรวจการณถึงจุดอาง ๑๕๐๐ เมตร มุมดิ่งจากที่ตรวจการณไปยังจุดอาง(ต่ําลง) - ๒๐ มิล. ระยะจากที่ตรวจการณถึงเปาหมาย ๒๕๐๐ เมตร มุมดิง่ จากที่ตรวจการณถึงเปาหมาย(ต่ําลง) - ๑๐ มิล. จากสูตรมิลเลียม W = RM เรานํามาใชในการคํานวณแตกตางสูงไดดังนี้ แตกตางสูงระหวางผูตรวจการณกับจุดอาง = - ๒๐ X ๑.๕ เมตร = - ๓๐ เมตร แตกตางสูงระหวางผูตรวจการณกับเปาหมาย = - ๑๐ X ๒.๕ เมตร = - ๒๕ เมตร การยายทางดิ่ง = - ๒๕ - (- ๓๐) เมตร = ๕ เมตร = “ สูงขึ้น ๕ ” ๗. การยิงหมายพิกัด ก. ทัศนวิสัยเลว, แผนที่ซึ่งเชื่อไมได, ภูมิประเทศลวงตา หรือการเคลื่อนที่อยางรวดเร็วผานภูมิประเะทศที่ไม คุนเคยมากอน บางครั้งก็ทําความยุงยากใหแกผูตรวจการณในการกําหนดที่ตั้งเปาหมายหรือที่อยูของตนเองได ใน สภาพการณเชนนั้นผูตรวจการณควรรูวาตัวอยูที่ไหน เขาสามารถขอให ศอยอ. ยิงกระสุนลงไปยังจุดตางๆ โดยเฉพาะ เพื่อชวยใหเขากําหนดที่อยู และวางตัวใหถูกทิศ การยิงเพื่อความมุงหมายเชนนี้เรียกวา “การยิงหมายพิกัด” ข. ผูตรวจการณอาจขอใหยองหมายพิกัดตอจุดตัดของพิกัดตาราง, จุดยิงหาหลักฐาน, เปาหมายที่ไดทําการยิงมา กอนแลว หรือภูมิประเทศเดน โดยอางพิกัดหรือชื่อของจุดนั้นๆ เชน “พิกัด ๘๖๕๑” หรือ “เปาหมาย กก ๑๐๑๔” ฯลฯ แลวผูตรวจการณก็สามารถวัดมุมภาคจากตัวเองไปยังตําบลระเบิดของกระสุนที่ยิงหมายพิกัดนั้นได ค. จากจุดยิงหมายพิกัดที่อาวุธไดทําการยิงมาให ผูตรวจการณสามารถนําไปใชหาระยะจากตนเองไปยังตําบล ระเบิดได เมื่อผูตรวจการณมองเห็นตําบลระเบิดก็เริ่มนับ “หนึ่งพันหนึ่ง” “หนึ่งพันสอง” “หนึ่งพันสาม”,……ฯลฯ เรื่อยไป จนกระทั่งไดยินเสียงระเบิด เวลาที่นับนี้จะมีคาประมาณเปนวินาที เชนถาผูตรวจการณไดยินเสียงระเบิดเมื่อ นับได “หนึ่งพันหก” หลังจากที่มองเห็นตําบลระเบิด ก็คือ ประมาณเวลาได ๖ วินาที เมื่อเอาเวลานี้คูณกับความเร็ว ของเสียง (ประมาณ ๓๕๐ เมตรตอวินาที) ก็จะไดระยะจากผูตรวจการณไปยังตําบลระเบิด ระยะที่คํานวณไดนี้ก็จะเอา ไปกรุยลงบนแผนที่จากพิกัดตําบลระเบิดของการยิงหมายพิกัดนั้น ดวยการสกัดกลับที่ไดกลาวมาแลวในตอนตน ผูตรวจการณก็จะสามารถหาที่อยูของตนเองในแผนที่ไดใกลเคียงกับความเปนจริง (ความผิดพลาดอาจเกิดมีขึ้นไดจาก ทิศทางลมพัด, ความเร็วลม หรือการนับเวลาผิดพลาด) ง. ผูตรวจการณอาจขอใหยิงหมายพิกัด ๒ จุด หางกันพอควร แลวนําคามุมภาคทีว่ ัดไดจากตําบลระเบิดทั้ง สองแหงนั้นมาสกัดกลับ (๒ จุด) หาที่อยูของตนเองบนแผนที่ไดโดยดําเนินการเอง หรือวัดมุมแลวขอให ศอย. กรุยหา พิกัดที่อยูของตนเองใหได จ. เมื่อไมมีจุดที่ทราบใดๆ มาใชเปนจุดอาง ผูตรวจการณอาจขอใหยิงกระสุนไปยังกึ่งกลางพื้นที่เปาหมาย การ ยิงแบบนี้เรียกวา “ยิงหมายกึ่งกลางเขตปฏิบัติการ” แลวปรับการยิงจากตําบลระเบิดที่ตรวจไดเขาหาเปาหมายตอไป ฉ. ตามปกติผูตรวจการณของกระสุนชนิดที่ตรวจเห็นไดงาย เชน กระสุนควันขาว หรือกระสุนสองแสง ฯลฯ บทที่ ๔ คําขอยิง ตอนที่ ๑ กลาวนํา ๑. กลาวทั่วไป ก. เมื่อผูตรวจการณตรวจพบเปาหมายในเขตรับผิดชอบของตน และสามารถกําหนดที่ตั้งเปาหมายดวยวิธีใดวิธี หนึ่งตามที่ไดกลาวมาแลว เขาก็จะขอใหอาวุธทําการยิงไปยังเปาหมายดวยคําขอยิงซึ่?

Use Quizgecko on...
Browser
Browser