บทที่ ๖ บาลี PDF
Document Details
Uploaded by Deleted User
Tags
Summary
เอกสารนี้เป็นบทที่ 6 ที่มีหัวข้อเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต มีการอธิบายเกี่ยวกับระบบเสียง สระ และพยัญชนะ
Full Transcript
## ภาคที่ 3 ภาษาบาลีเทียบกับภาษาสันสกฤต ### บทที่ 6 ความแตกต่างระหว่างภาษาบาลีกับภาษาสันสกฤต #### 1. จุดประสงค์การเรียนรู้ หลังจากเรียนบทนี้จบแล้ว นักศึกษาสามารถปฏิบัติได้ดังนี้ 1. ชี้บอกหรืออธิบายระบบเสียงของภาษาบาลีและสันสกฤตได้ 2. วิเคราะห์ชนิดและฐานเกิดและการออกเสียงของสระภาษาบาลีและสันสกฤตไ...
## ภาคที่ 3 ภาษาบาลีเทียบกับภาษาสันสกฤต ### บทที่ 6 ความแตกต่างระหว่างภาษาบาลีกับภาษาสันสกฤต #### 1. จุดประสงค์การเรียนรู้ หลังจากเรียนบทนี้จบแล้ว นักศึกษาสามารถปฏิบัติได้ดังนี้ 1. ชี้บอกหรืออธิบายระบบเสียงของภาษาบาลีและสันสกฤตได้ 2. วิเคราะห์ชนิดและฐานเกิดและการออกเสียงของสระภาษาบาลีและสันสกฤตได้ 3. วิเคราะห์ชนิด ฐานเกิดและการออกเสียงพยัญชนะบาลีและสันสกฤตได้ 4. บอกหรืออธิบายความหมายของพยัญชนะเดี่ยว พยัญชนะคู่ของบาลีและสันสกฤตได้ 5. เปรียบเทียบความแตกต่างกันทางด้านการออกเสียงสระบาลีและสันสกฤตได้ 6. เปรียบเทียบความแตกต่างกันทางด้านการออกเสียงพยัญชนะบาลีและสันสกฤตได้ 7. บอกหรืออธิบายการทำพยัญชนะประสมในสันสกฤตให้เป็นพยัญชนะซ้อนในบาลีได้ 8. บอกหรืออธิบายการแทรกเสียง การกลมกลืนเสียง และการสับเสียงได้ 9. บอกหรืออธิบายพยัญชนะเสียงก้อง ไม่ก้อง หนัก เบา เสียงขึ้นจมูกได้ 10. บอกหรืออธิบายของพยัญชนะการันต์ในบาลีสันสกฤตได้ 11. บอกหรืออธิบายลักษณะการใช้คำบาลีสันสกฤตที่แตกต่างกันได้ 12. บอกหรืออธิบายคำบาลีและสันสกฤตที่มีความหมายต่างกันได้ #### II. รายละเอียดของเนื้อหา ประวัติภาษาบาลีสันสกฤตกล่าวไว้ว่า ภาษาทั้งสองจัดอยู่ในตระกูลภาษาอินเดียอารยัน ภาษาสันสกฤตเกิดในยุคแรก ภาษาบาลีเกิดในยุคกลางแห่งภาษาอินเดียอารยัน ลักษณะภาษาในตระกูลนี้มีการเปลี่ยนแปลงคำด้วยปัจจัยและวิภัตติถึงจะนำไปใช้ในประโยคได้ ถึงแม้ภาษาทั้งสอง จะจัดอยู่ในตระกูลภาษาเดียวกันและมีลักษณะคล้ายคลึงกันเป็นส่วนใหญ่ก็ตาม แต่ก็มีเป็นอันมากที่แตกต่างต่างกัน ที่แตกต่างกันนั้นส่วนใหญ่คือเรื่องเสียงคือออกเสียงต่างกัน ส่วนระบบเสียง การใช้คำและความหมายต่างกันเป็นส่วนน้อย ความแตกต่างของภาษาทั้งสองมีดังนี้ 1. ระบบเสียง 2. เรื่องด้านเสียง 3. การนำคำไปใช้ 4. ความหมาย ##### พยัญชนะ 1. ระบบเสียง ภาษาบาลีและสันสกฤต มีระบบเสียงเหมือนกันคือ ระบบเสียงสระและระบบเสียงพยัญชนะ ภาษาสันสกฤตจัดระบบเสียงตามแบบแผนเทวนาครี มีอักษรเทวนาครีเป็นอักษรของตัวเองและใช้แทนเสียงสระและพยัญชนะด้วย ส่วนภาษาบาลี จัดระบบเสียงตามแบบแผนอักษรเทวนาครีเหมือนภาษาสันสกฤต แต่ภาษาบาลีไม่มีอักษรเป็นของตัวเอง ภาษาบาลีมีแต่เสียงเท่านั้น เมื่อภาษาบาลีแพร่เข้าสู่ประเทศใด ก็ใช้อักษรของประเทศนั้น ๆ แทนเสียง ในยุโรปและอเมริกาใช้อักษรโรมันถ่ายเสียง วรรณคดีบาลีที่ใช้เรียนในยุโรปและอเมริกา ถ่ายเสียงด้วยอักษรโรมัน ยกเว้นที่แปลเป็นภาษาต่าง ๆ เช่น ภาษาอังกฤษ ในเอเซีย เช่น ประเทศไทย ใช้อักษรไทยถ่ายเป็นเสียงบาลี ในอินเดียใช้อักษรเทวนาครีถ่ายเสียง ปัจจุบันในอินเดียมีการแปลวรรณคดีบาลีเป็นภาษาต่าง ๆ มีฮินดี เป็นต้น ### ระบบเสียงของภาษาบาลีสันสกฤตมีดังนี้ #### 1. สระ ภาษาสันสกฤตมีสระ 14 ตัว ในหนังสือบาลีสันสกฤตในภาษาไทยของ ศ.ดร.บรรจบพันธุเมธา ท่านจัดเสียง อ๋ อะ ไว้ในระบบเสียงสระด้วย สระในภาษาสันสกฤตจึงมี 16 ตัวคือ อ อา อิ อี อุ อู ฤ ฤา ภ ภา เอ ไอ โอ เอา อ๋ อะ ภาษาบาลีมีสระ 8 ตัวคือ อุ อา อิ อี อุ อู เอ โอ จะเห็นว่าสระบาลีมีน้อยกว่าสระสันสกฤตถึง 8 ตัวคือ ฤ ฤา ภ ภา ไอ เอา อ อะ ต่อไปนี้ขอกล่าวถึงฐานที่เกิดเสียงสระเสียก่อน #### ฐานที่เกิดเสียงสระ สระมี 2 ชนิดคือสระเดี่ยวและสระผสม มีฐานเกิดต่างกันดังนี้ ##### สระเดี่ยว * อ อา เกิดที่คอ เรียกว่ากัณฐชะ * อิ อี เกิดที่เพดาน เรียกว่าตาลุชะ * อุ อู เกิดที่ริมฝีปาก เรียกว่าโอฏฐชะ * ฤ เกิดที่ยอดเพดาน เรียกว่ามุทธชะ * อะ ในภาษาสันสกฤตมีเครื่องหมายแทนเสียงคือ : เรียกว่า วิสรุค ไทยเราใช้เป็นวิสรรชนีย์ วิสรุคนี้วางไว้หลังพยัญชนะ อักษรที่ใช้แทนวิสรุคคือ ห หรือ H ในภาษาอังกฤษ เช่น นร : อ่านว่า นะ-ระ-หะ (naraha) มีฐานเกิดที่คอ ##### สระผสมสันสกฤต * เอและไอ เกิดจากสระเดี่ยว 2 ตัวคือ อะ กับ อิ อะเกิดที่คอ อิเกิดที่เพดาน เพราะฉะนั้น เอและไอ จึงมีฐานเกิด 2 แห่งคือ คอและเพดาน เรียกว่ากัณฐตาลุชะ * โอ และ เอา เกิดจากสระเดี่ยว 2 ตัวคือ อะ กับ อุ อะเกิดที่คอ อุเกิดที่ริมฝีปาก เพราะฉะนั้น โอและเอา จึงมีที่เกิด 2 ฐานคือคอและริมฝีปาก เรียกว่า กัณโฐฏฐชะ * ฤา เกิดที่ยอดเพดาน และ ภา เกิดที่ฟัน ในสันสกฤตมีใช้น้อยมาก * อ๋ คือเสียงสระ อะ มี ม สะกด อะเกิดที่คอ ม เกิดที่ริมฝีปาก แต่ออกเสียงเป็นพยัญชนะอนุนาสิกคือเสียงขึ้นจมูก เช่น พุทธ ออกเสียงเป็น พูดทัม ธมฺม ออกเสียงเป็น ทัม-ทัม เป็นต้น ##### สระผสมบาลี * เอ, โอ ในบาลีมีฐานเกิด 2 ฐานเช่นเดียวกับเอ โอ ในสันสกฤต จะต่างกันตรงที่บาลีใช้เสียง เอ สันสกฤตใช้เสียง ไอ เช่น บ.เจติย ส.ไจตฺย (เจดีย์) สันสกฤตใช้เสียง เอ ตรงกับบาลีก็มี แต่เป็นส่วนน้อย เช่น บ.เปม ส.เปรมนุ (ความรัก) เป็นต้น * บาลีใช้ โอ สันสกฤตใช้ เอา เช่น บ.โอรส ส.เอารส (โอรส) สันสกฤตใช้ โอ ตรงกับบาลีก็มีแต่เป็นส่วนน้อย เช่น บ.โมห ส.โมห (ความหลง) **สระที่มีที่เกิดฐานเดียวกัน จัดเป็นพวก (วรรณะ) เดียวกัน และสระวรรณะเดียวกันนี้มีการเปลี่ยนแปลงเสียงด้วยวิธีคูณและพฤทธิ์ ดังนี้** | วรรณะ | ต้น | คูณ | พฤทธิ์ | |:---|:---|:---|:---| | อะ วรรณะ | อ อา | อ อา | อา | | อิ วรรณะ | อิ อี | เอ | ไอ | | อุ วรรณะ | อุ อู | โอ | เอา | | ถุ วรรณะ | ฤ ฤา | อรุ | อารุ | | ภุ วรรณะ | ໗ ກາ | อลุ | อาลุ | **คูณ** หมายถึงการแปลง อ อา เป็น อ อา, อิ อี เป็น เอ, อุ อู เป็น ไอ, ฤ ฤา เป็น อรุ, ภ ภา เป็น อลุ **พฤทธิ์** หมายถึงการแปลงสระ อ อา เป็น อา, อิ อี เป็น ไอ, อุ อู เป็น เอา, ฤ ฤา เป็น อารุ, ภ ภา เป็น อาลุ #### 1. สระเดี่ยว ออกเสียงดังนี้ ##### การออกเสียงสระ 1. รัสสระ คือสระที่ออกเสียงสั้น ได้แก่ อ อิ อุ 2. ทีฆสระ คือสระที่ออกเสียงยาว ได้แก่ อา อี อู เสียง ฤ ในสันสกฤต ออกเสียงได้ 3 เสียงคือ ริ รุ ส่วนใหญ่ออกเสียงเป็น ริ ภาษาบาลีที่ใช้สระ 3 เสียงแทนเสียง ฤ ในสันสกฤต สระ 3 เสียงได้แก่ อ อิ อุ ส่วนภาษาไทยออกเสียง ฤ ได้ 3 เสียงคือ อิ อี เออ ดังจะกล่าวต่อไป เสียง อ : ที่ใช้เครื่องหมาย : เรียกว่า วิสรุค ออกเสียงเป็นพยัญชนะตัว ห หรือ ฮ เช่น ราม : อ่านว่า รา-มะ-หะ หรือ รา-มะ-ฮะ วิสรุค ใช้แทนเสียง สุ สุดศัพท์ เวลาออกเสียง ลมหายใจจะออกแรงทีเดียว #### 2. สระผสม ออกเสียงดังนี้ 1. ทีฆสระ สระผสมทุกตัวออกเสียงยาว ถือเป็นทีฆสระ ได้แก่สระ เอ ไอ เอา ถ้ามาในคำที่ไม่มีตัวสะกด ออกเสียงยาวด้วย เช่น เตโช(เดช) เมรย ไมรุย (น้ำเมา) โทส โมห โยธ เป็นต้น 2. รัสสระ สระผสมทุกตัวถ้ามาในคำที่มีตัวสะกด ให้ออกเสียงสั้น เช่น เมตตา อ่านว่า เม็ด-ตา, เสฏฐี อ่านว่า เส็ด-ถี, โยตฺต์ อ่านว่า โย็ด-ตัง เป็นต้น 4 เสียง อ๋ ออกเสียงเป็นเสียง อะ มี ม สะกด เช่น สรณ์ อ่านว่า สะ-ระ-ณัม เป็นต้น #### 2. พยัญชนะ 1. ภาษาสันสกฤต ภาษาสันสกฤตมีพยัญชนะ 34 ตัว โดยแบ่งเป็นพยัญชนะวรรคและอวรรค พยัญชนะวรรคแบ่งออกเป็น 5 วรรค ๆ ละ 5 ตัว รวมเป็น 25 ตัว พยัญชนะอวรรค 9 ตัว รวมเป็น 34 ตัว โดยมีการจัดเป็นวรรคตามฐานที่เกิด และจัดเป็นแถวตามลักษณะการออกเสียง ดังนี้ | วรรค กะ | อโฆษะ | โฆษะ | |:---|:---|:---| | กัณฐชะ (ฐานคอ) | ก | ข | ค | ฆ | ง (ห) | | ตาลุชะ (ฐานเพดาน) | จ | ฉ | ช | ฌ | ญ (ศ.ย) | | มุทธชะ (ฐานยอดเพดาน) | ฐ | ฑ | ฒ | ณ (รษฬ) | | ทันตชะ (ฐานฟัน) | ต | ถ | ท | ธ | น (ส ล) | | โอฏฐชะ (ฐานริมฝีปาก) | ป | ผ | พ | ภ | ม (১) | **เศษวรรค** * य (ยรลวฬ) * ร * ล * ว * ฬ * ศ * ษ * ส * ห * * (.) * (สศษ) นอกจากนี้ยังมีพยัญชนะประสม 2 ตัวคือ กุษ (1), ชุญ (5) โดยเขียนเป็นแบบอักษรพิเศษ จึงจัดไว้ในระบบเสียงพยัญชนะด้วย 2. ภาษาบาลี ภาษาบาลีมีพยัญชนะ 33 ตัวรวมทั้งนิคหิต (๑) โดยแบ่งเป็นพยัญชนะวรรคและอวรรคเหมือนกับภาษาสันสกฤต #### การออกเสียงพยัญชนะ การออกเสียงพยัญชนะบาลี-สันสกฤต แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ 1. พยัญชนะเดี่ยว 2. พยัญชนะตัวสะกด ##### 1. พยัญชนะเดี่ยว แบ่งออกเป็น 2 ชนิดโดยหน้าที่คือ 1. พยัญชนะต้น 2. พยัญชนะตัวสะกด ##### 1. พยัญชนะต้น คือพยัญชนะเดี่ยวที่อยู่ต้นคำ กลางคำ หรือท้ายคำ ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นตัวสะกด มีลักษณะการออกเสียงดังนี้ * **ก. เสียงไม่ก้องกับเสียงก้อง (อโฆษะ-โฆษะ)** พยัญชนะที่ออกเสียงไม่ก้อง เรียกว่า อโฆษะ ได้แก่พยัญชนะวรรคแถวที่ 1-2 และพยัญชนะอวรรคคือ ส. ศ ษ สำหรับเครื่องหมายวิสรุค (:) นั้นออกเสียงไม่ก้องและหนักด้วย ส่วนพยัญชนะที่ออกเสียงก้อง เรียกว่าโฆษะ ได้แก่พยัญชนะวรรคแถวที่ 3-4-5 และพยัญชนะอวรรคคือ ย ร ล ว ส ห ฬ ๐ (อัง) * **ข. เสียงเบากับเสียงหนัก (สิถิล-ธนิต)** พยัญชนะที่ออกเสียงเบา เรียกว่า สิถิล ได้แก่พยัญชนะวรรคแถวที่ 1 3 และพยัญชนะอวรรคคือ ศ ษ ส ย ร ล ว พ ส่วนพยัญชนะที่ออกเสียงหนัก เรียกว่าธนิตนั้น ได้แก่พยัญชนะวรรคแถวที่ 2 4 และ ห * **ค. เสียงขึ้นจมูก (อนุนาสิก)** พยัญชนะที่ออกเสียงขึ้นจมูก เรียกว่า อนุนาสิก ได้แก่พยัญชนะวรรคแถวที่ 5 เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าพยัญชนะวัดคานตะ (วัคคะ + อันตะ) แปลว่าพยัญชนะวรรคตัวสุดท้าย พยัญชนะวรรคตัวสุดท้าย ออกเสียงขึ้นจมูก ที่เรียกว่าเสียงอนุนาสิก (ตามจมูก) นั่นเอง. ##### 2. พยัญชนะตัวสะกด พยัญชนะตัวสะกดออกเสียงดังนี้ * **ก. นิคหิค (0)** ภาษาบาลีจัดนิคหิตไว้ในระบบเสียงพยัญชนะ ทำหน้าที่เป็นพยัญชนะตัวสะกดอย่างเดียว ไม่นิยมเป็นพยัญชนะต้น บาลีออกเสียงเป็นตัว ง สะกด เช่น พุทธ์ อ่านว่า พุด-ทั้ง ธมฺม์ อ่านว่า ทัม-มัง เป็นต้น ส่วนภาษาสันสกฤตจัดนิคหิตไว้ในระบบเสียงสระ ออกเสียงเป็นตัว ม สะกด เช่น พุทธ อ่านว่า พุด-ทัม, ธมฺม์ อ่านว่า ทัม-มัม เป็นต้น ถ้ามีคำอื่นตามมา นิคหิตเปลี่ยนเป็นพยัญชนะตัวที่ 5 ที่เรียกว่าพยัญชนะท้ายวรรค ส่วนจะเปลี่ยนเป็นพยัญชนะท้ายวรรคใดนั้น ให้ดูพยัญชนะตัวแรกของคำที่ตามมา เช่น ส์ + ผสฺส - สมุผสฺส (การแตะต้อง) สำ + ตาน สนฺตาน (การสืบต่อ) เป็นต้น * **ข. พยัญชนะการันต์** หมายถึงพยัญชนะตัวสุดท้ายคำ เช่น มนสุ (ใจ) สุ เป็นพยัญชนะการันต์ พยัญชนะการันต์มีใช้ในภาษาสันสกฤต ภาษาบาลีมีเฉพาะสระการันต์อย่างเดียว เช่น มน (ใจ) จัดเป็น อะ การันต์ พยัญชนะการันต์เมื่ออยู่ท้ายศัพท์ไม่ออกเสียง เวลาเขียนด้วยอักษรโรมันไม่มีสระกำกับอยู่ด้วย เช่น มนสฺ อ่านว่า มะ-นัด ไม่ออกเสียงเป็น มะ-นัด-สะ เป็นต้น พยัญชนะการันต์ในภาษาสันสกฤตมีมาก แต่ที่ใช้บ่อย ๆ มีอยู่ 3 ตัวคือ ฯ นุ สุ การันต์ **พยัญชนะต้นก็ดี พยัญชนะตัวสะกดก็ดี ที่กล่าวมาแล้วนั้น ล้วนเป็นพยัญชนะเดี่ยว ที่ทำหน้าที่เป็นพยัญชนะต้นและตัวสะกด ภาษาบาลีสันสกฤตมีการใช้พยัญชนะคู่ คือพยัญชนะที่มาด้วยกัน 2 ตัวหรือมากกว่านั้นในคำเดียว พยัญชนะคู่ในบาลีสันสกฤตมีลักษณะแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นต้องขอนำมากล่าวด้วย** ### พยัญชนะคู่ พยัญชนะคู่ หมายถึงพยัญชนะที่มาด้วยกัน 2 ตัว เช่น กุก ในคำว่า สกุก (สามารถ) ตุย ในคำว่า สตฺย (ความจริง) เป็นต้น พยัญชนะคู่ในบาลีสันสกฤตแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ 1. พยัญชนะซ้อน 2. พยัญชนะประสม ##### 1. พยัญชนะซ้อน หมายถึงพยัญชนะที่มาด้วยกัน 2 ตัวและพยัญชนะที่มาด้วยกัน 2 ตัวนั้นต้องมีฐานเกิดเดียวกันและเป็นอโฆษะหรือโฆษะด้วยกัน จะมีฐานเกิดต่างกันและเป็นอโฆษะหรือโฆษะต่างกันไม่ได้ และมีข้อกำหนดว่า พยัญชนะวรรคแถวที่ 1 3 5 เป็นตัวสะกดก็ได้ เป็นตัวตามก็ได้ ส่วนพยัญชนะวรรคแถวที่ 2 4 เป็นได้เฉพาะตัวตามเท่านั้น เป็นตัวสะกดไม่ได้ พยัญชนะซ้อน มีหลักการกำหนดดังนี้ * พยัญชนะแถวที่ 1 สะกด พยัญชนะแถวที่ 1 หรือที่ 2 ตามได้ เช่น สกุก ทุกข สจจ อจฉริย วฎฏ อฏฐ อตฺต อตฺถ กปุป ปุปุผ เป็นต้น * พยัญชนะวรรคแถวที่ 3 สะกด พยัญชนะวรรคแถวที่ 3 หรือที่ 4 ตามได้ เช่น อคุก อคุฆ มชุช วชุณ วฑฒ สทฺท สทฺธ สพฺพ คพุภ เป็นต้น * พยัญชนะวรรคแถวที่ 5 สะกด พยัญชนะวรรคอื่น ๆ แต่ละวรรคตามได้ เช่น สงกา สงุข องค สงฺฆ สญฺจย สญฺฉวิ สญฺชย สญฺญาสนฺติ สนฺถว อินฺท ขนฺธ ปณฺณ สมุผสฺส ธมฺม เป็นต้น สำหรับพยัญชนะอวรรคหรือเศษวรรค เป็นการซ้อนพยัญชนะเดียวกัน คือซ้อนตัวเอง เช่น ยุย ในคำว่า อยุยกา อธิปเตยุย วิเนยุย ลุล ในคำว่า สลุล สุส ในคำว่า วสฺส สิสฺส มนุสฺส อิสฺสา หสฺส เป็นต้น ส่วน ร พ ว ห ไม่นิยมซ้อนตัวเอง พยัญชนะซ้อนมีใช้ในภาษาบาลี ถ้าภาษาสันสกษฤตมีคำที่มีลักษณะเป็นพยัญชนะซ้อน เช่นนี้ ก็ถือว่าสันสกฤตยืมคำบาลีมาใช้ พยัญชนะซ้อน ทำหน้าที่เป็นตัวสะกดและตัวตามเท่านั้น จะทำหน้าที่เป็นพยัญชนะต้นคำไม่ได้ เพราะพยัญชนะซ้อนตัวแรกไม่มีสระเกาะ หากต้องการใช้จริง ๆ ให้แทรกสระที่พยัญชนะซ้อนตัวแรกให้ออกเสียงสระได้ เช่น นุหาน ออกเสียงเป็น นะ-หา-นะ เป็นต้น หรือถ้ามีการกลมกลืนเสียงจากพยัญชนะประสมในสันสกฤตเป็นภาษาบาลี พยัญชนะซ้อนตัวแรกจึงลบทิ้งไป เช่น ธุย เป็น ฌุณ ในคำว่า ธยาน เป็น ฌาน (ฌาน) ชุ ตัดทิ้งไป หรือ ศุย เป็น สุส ในคำว่า ศุยาม เป็น สาม (สีน้ำตาล, ดำ) สุ ตัวแรกตัดทิ้งไป เป็นต้น ##### 2. พยัญชนะประสม หมายถึงพยัญชนะ 2 ตัวมาด้วยกัน มีฐานเกิดต่างกัน แต่เป็นอโฆษะหรือโฆษะอย่างเดียวกัน คือต้องเป็นอโฆษะทั้งสองตัว หรือเป็นโฆษะทั้งสองตัว จะต่างกันไม่ได้ ยกเว้นพยัญชนะเสียงอ่อนมาข้างหน้าหรือข้างหลัง พยัญชนะเสียงแข็ง ไม่กำหนดเรื่องพยัญชนะอโฆษะ หรือโฆษะ พยัญชนะเสียงอ่อน ได้แก่ ง ญ ณ นม และ ย ร ล ว นอกนั้นเป็นพยัญชนะเสียงแข็ง * **พยัญชนะอโฆษะมาด้วยกัน เช่น** กุต (มุกุต-มุกดา) ตก (สตุการ-สักการะ) ตุป (อุตุปล-อุบล) ปุต (สปุต-สัปดาห์) ศุจ (ปศุจิม) ษฎ (อษฎ-แปด) สุต (วสฺตุ-วัสดุ) เป็นต้น * **พยัญชนะโฆษะมาด้วยกัน เช่น** คุธ (สุนิคธ - เรียบ) ทุค (ปุทุคล-บุคคล) ทุฒ (อุทโฆษ-ประกาศ) พุท(ศพุท-เสียง) พุธ(ลพุธ-ได้รับ) เป็นต้น **พยัญชนะเสียงอ่อนมาข้างหน้าหรือข้างหลังพยัญชนะเสียงแข็ง ไม่กำหนดเรื่องพยัญชนะอโฆษะหรือโฆษะ** * **พยัญชนะเสียงอ่อนมาข้างหลังพยัญชนะเสียงแข็งที่เป็นอโฆษะ เช่น** กุย (เลากุย-โลก) ตย (สตฺย-ความจริง) ถุย(มิถุยา-ความผิด) กุร (ศุกร-วันศุกร) ตร(วกุตร-หน้า) ศูน(ปุรศูน-คำถาม) บุณ(ปารุษณิ-ส้นเท้า) สุน(สุนาน-การอาบน้ำ) สุม(วิสุมย-ประหลาดใจ ส.) เป็นต้น * **พยัญชนะเสียงอ่อนมาข้างหน้าพยัญชนะเสียงแข็งที่เป็นอโฆษะ เช่น** ลุก (อุลกา-คบไฟ) ลุป(กลุป-กัปกัลป์) (ศิลป-ศิลปะ) รถ(สมรถ-สามารถ) รุต(วรต-การหมุนเวียน) รุจ(อรุจิ-เปลวไฟ) รูป(สรุป-งู) (สรุปิ-เนยใส) เป็นต้น * **พยัญชนะเสียงอ่อนมาข้างหลังพยัญชนะเสียงแข็งที่เป็นโฆษะ เช่น** รุค (วรุค-พรรคพวก) รุฆ(อรุฆ-มีค่า) รุช(ครุชิต-คำรามแล้ว) รุภ(ครุภ-ครรภ์) เป็นต้น พยัญชนะประสมมีใช้ในภาษาสันสกฤต ภาษาบาลียืมคำประสมของสันสกฤตมาใช้เหมือนกัน เช่น วุยคุฆ์(เสือ) วุยาปาท(พยาบาท) วุยญฺชน (พยัญชนะ) วุยากรณ(ไวยากรณ์) ทวาร(ประตู) ทวิ (สอง) พยาธิ(พยาธิ) พรหม(พรหม) พราหมณ(พราหมณ์) เป็นต้น ### 2. ข้อแตกต่างกันในด้านเสียง ต่อไปนี้ขอกล่าวถึงคำบาลีสันสกฤตที่แตกต่างกันในด้านเสียงดังนี้ เสียงบาลีสันสกฤตแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ 1. เสียงสระ 2. เสียงพยัญชนะ ##### 1. เสียงสระ เสียงสระที่แตกต่างกันมีอยู่ 2 ชนิดคือ 1. สระเดี่ยว 2. สระผสม #### 1. สระเดี่ยว มีลักษณะต่างกันดังนี้ 1. ต่างกันด้วยการใช้เสียงสระที่ตนเองมีอยู่แทนเสียงสระที่ตนเองไม่มี ภาษาบาลีไม่มีเสียง ๆ จึงใช้เสียงสระ อ อิ อุ แทนเสียง ๆ ในสันสกฤตดังนี้ * **ก. สันสกฤตใช้เสียง ฤ บาลีใช้เสียง อ เช่น** | ส | บ | |:---|:---| | คฤห | คห(บ้าน) | | หฤทย | หทย(หัวใจ) | | ตฤษณ | ตณฺหา(ความอยาก) | | ปฤถุวี | ปฐวี(แผ่นดิน) | | นฤตย | นจุจ(การฟ้อนรำ) | | คฤหสุถ | คหฎฐ(ผู้ครองเรือน) | | วฤติ | วติ (รั้ว) | | กฤษ | กสิ(การไถ) | | กฤษณ | กณห(ดำ) | | มฤตยุ | มจุจุ(ความตาย) | | มฤต | มต(ตายแล้ว) | | กฤต | กต(ทำแล้ว) | * **ข. สันสกฤตใช้เสียง ฤ บาลีใช้เสียง อิ เช่น** | ส | บ | |:---|:---| | กฤตย | กิจจ(กิจ) | | กฤมิ | กิมิ(หนอน) | | ตฤณ | ติณ(หญ้า) | | มฤค | มิค(กวาง) | | ปฤษฎ | ปิฎฐ(หลัง) | | ทฤษฎี | ทิฎฐิ (ความเห็น) | | ฤทธิ | อิทธิ(อำนาจ) | | ฤษี | อิสิ (ฤาษี) | | วฤศจิก | วิจฉิก(แมลงป่อง) | | ศฤงคาร | สิงคาร(ทรัพย์สมบัติ) | | ฤณ | อิณ(หนี้) | | ฤกษ | อิกุข(เวลาที่เป็นมงคล) | * **ค. สันสกฤตใช้เสียง ฤ บาลีใช้เสียง อุ เช่น** | ส | บ | |:---|:---| | ฤตุ | อุตุ(ฤดูกาล) | | ปิตฤ | ปิตุ(พ่อ) | | มาตฤ | มาตุ(แม่) | | ปฤจฉา | ปุจฉา(คำถาม) | | มฤทุ | มุสา (ความหลอกลวง) | | วฤกษ | รุกข(ต้นไม้) | | วฤทธิ | วุฑฒิ(ความเจริญ) | | วฤทธ | วุฑฒ(เจริญแล้ว) | | วฤตฺติ | วุตฺติ(ความประพฤติ) | | สมุฤติ | สติ(ความระลึกได้) | | ฤชุ | อุชุ(ความซื่อตรง) | | วฤษภ | อุสภ(วัวตัวผู้) | 2. ต่างกันด้วยอัตราเสียงสั้นเสียงยาว บาลีใช้สระเสียงสั้น สันสกฤต ใช้สระเสียงยาวในลักษณะดังนี้ * **ก. คำสันสกฤตที่มีพยัญชนะประสมมากับสระเสียงยาว เมื่อมีการกลมกลืนเสียงเป็นพยัญชนะซ้อน สระเสียงยาวในสันสกฤตจะกลายเป็นสระเสียงสั้นในภาษาบาลี ดังนี้** | ส. | บ. | |:---|:---| | ธานุย | ธญฺญ(เมล็ดข้าว) | | สามานุย | สามญฺญ(ธรรมดา) | | กานติ | กนฺติ (ความรัก) | | กานุต | กนฺต (รักแล้ว) | | คานุถ | คนฺถ(คัมภีร์,หนังสือ) | | ปาตุร | ปตฺต(บาตร) | | ปุราปุต | ปตฺต(ถึงแล้ว) | | วุยาฆร | พุยคุฆ(เสือโคร่ง) | | ศานติ | สนฺติ(ความสงบ) | | ศานต | สนุต(สงบแล้ว) | | ราษฎร | รฎฐ(แว่นแคว้น) | | อาตุมนุ | อตฺต(ตัวตน) | | กีรติ | กิตฺติ(ชื่อเสียง) | | ครีษม | คิมห(ฤดูร้อน) | | อีศุวร | อิสฺสุสร(ความเป็นใหญ่) | | อีรุษยา | อิสฺสา(ความริษยา) | | อีปุสา | อิจฉา(ความปรารถนา) | | ศูนย | สุญญ(ความว่างเปล่า) | | สกูล | ถุลุล(ความหยาบ) | * **ข. คำสันสกฤตที่มีพยัญชนะประสมมากับเสียงยาว เมื่อมีการแทรกเสียงในภาษาบาลี เสียงยาวในคำสันสกฤตจะกลายเป็นเสียงสั้นในภาษาบาลี ดังนี้** | ส. | บ. | |:---|:---| | อา อารุย | อ อริย(เจริญ) | | อาจารย | อาจริย (อาจารย์) | | จารุย | จริย(ความประพฤติ) | | วีรุย | วิริย(ความเพียร) | | อีรุยา | อิริยา(การเคลื่อนไหว) | | สูรย | สุริย(พระอาทิตย์) | | ดุรุย | ตุริย(เครื่องดนตรี) | #### 3. ต่างกันด้วยบาลีใช้สระเดี่ยว สันสกฤตใช้สระผสม ดังนี้ * **ก. บาลีใช้สระ อิ สันสกฤตใช้สระ ไอ หรือ เอ ดังนี้** | บ. | ส. | |:---|:---| | อิ อิสฺสริย | ไอ ไอศุวรุย (ความเป็นใหญ่) | | วิโรจน | ไวโรจน(ความรุ่งเรือง) | | วิสาข | ไวศาข(เดือนหก) | | สินฺธว | ไสนฺธว (ม้าสินธพ, เกลือสินเธาว์) | | อิ กิเลส | เอ เกุลศ (ความเศร้าหมอง) | | สิเนห | เส้นห(ความรัก) | **บาลีและสันสกฤตใช้ อิ ตรงกันก็มี ดังนี้** | | | |:---|:---| | อิ ทิพุพ | อิ ทิวย(ที่เป็นทิพย์) | | นิจุจ | นิตย(เสมอ, ต่อเนื่องกัน) | | มิตฺต | มิตร(เพื่อน) | * **ข. บาลีใช้สระ อุ สันสกฤตใช้สระ โอ หรือ เอา ดังนี้** | บ. | ส. | |:---|:---| | อุ มหุสฺสว | โอ มโหตุสว(มหรสพ) | | อุทฺธจุจ | เอา เอาทุธตุ่ย(ความหยิ่ง ความกล้า) | **บาลีและสันสกฤตใช้สระ อุ ตรงกันก็มี ดังนี้** | | | |:---|:---| | อุ สุข | อุ สุข(ความสุข) | | ทุกข | ทุหุข(ความทุกข์) | | กุฎธ | กุษฐา(โรคเรื้อน) | #### 4. ต่างกันด้วยการเลือกใช้เสียงสระคนละเสียง ทั้งที่ต่างก็มีเสียงสระนั้น ๆ ใช้ด้วยกัน | บ. | ส. | |:---|:---| | กากณิกา | กากีณิกา(มาตราเงินอย่างต่ำ) | | โปกุขรณี | ปุษกริณี(สระบัว) | #### 2. สระผสม **สระผสม ได้แก่สระที่มีที่เกิดสองฐาน บาลีได้แก่ เอ โอ สันสกฤตได้แก่ เอ ไอ โอ เอา ภาษาทั้งสองต่างกันด้วยเสียงสระผสม ดังนี้** * **ก. บาลีใช้เสียงสระ เอ สันสกฤตใช้เสียงสระ ไอ ดังนี้** | บ. | ส. | |:---|:---| | เอ เกลาส | ไอ ไกลาส(ภูเขาไกลาส) | | เกวล | ไกวลุย(อย่างเดียว, สิ้นเชิง) | | เจติย | ไจตุย(เจดีย์) | | เชฎ | ไซุยษฐ(พี่) | | เมถุน | ไมถุน (การร่วมเพศ) | | เมรย | ไมเรย (ของมึนเมา) | | เสล | ไศล(ไส-ละ-ภูเขา) | | เวฬุริย | ไวฑูรย(แก้วไ