หน่วยที่ 5 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา PDF
Document Details
Uploaded by GainfulSeaborgium
Tags
Summary
เอกสารนี้เป็นบทที่ 5 ในเรื่องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา โดยให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีและเทคโนโลยีการศึกษา รวมถึงรูปแบบการศึกษาต่างๆ เช่น การศึกษาด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์ หรือการศึกษาผ่านคอมพิวเตอร์
Full Transcript
## หน่วยที่ 5 ### การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ### ความรู้พื้นฐานการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา **เทคโนโลยี (TECHNOLOGY)** - มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก - **ความหมายเทคโนโลยี** - Tech = Art ในภาษาอังกฤษ - Logos = A study of - ดังนั้น คำว่า เทคโนโลยี จึงหมายถึง A study of art - ซ...
## หน่วยที่ 5 ### การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ### ความรู้พื้นฐานการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา **เทคโนโลยี (TECHNOLOGY)** - มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก - **ความหมายเทคโนโลยี** - Tech = Art ในภาษาอังกฤษ - Logos = A study of - ดังนั้น คำว่า เทคโนโลยี จึงหมายถึง A study of art - ซึ่งได้มีผู้แปลความหมาย สรุป สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น - เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เช่น - อุปกรณ์, เครื่องมือ, เครื่องจักร, วัสดุ - หรือแม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้เช่น กระบวนการต่างๆ - เทคโนโลยีเป็นการประโยชน์สูงสุด **เทคโนโลยีการศึกษาเป็นสหวิทยาการที่รวมเอาศาสตร์ต่าง ๆ มาประกอบกัน ได้แก่** - พฤติกรรมศาสตร์ (BEHAVIORAL SCIENCES) - วิทยาการจัดการ (MANAGEMENT SCIENCE) - วิทยาศาสตร์กายภาพ (PHYSICAL SCIENCE) **จากศาสตร์ดังกล่าวจึงเกิดการนำเทคโนโลยีมาใช้** **เทคโนโลยีการศึกษาสื่อสาร ได้มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาขึ้นอย่างมากในช่วงปลายทศวรรษที่ 1960 เมื่อโลกได้หุ้นเข้ามาสู่ยุคของคอมพิวเตอร์ในด้านการศึกษานั้น ได้มีการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนเป็นครั้งแรกในปี 1977 ที่สหรัฐอเมริกา เมื่อบริษัท APPLE ได้ประดิษฐ์ เครื่อง APPLE II ขึ้น** ### การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีการศึกษา **เทคโนโลยีการศึกษาจึงถือเป็นเครื่องมือการศึกษาที่มุ่งจัดระบบทางการศึกษาด้วยวิธีการ แก้ปัญหาที่มองภาพแบบองค์รวมลักษณะของการดำเนินการแก้ปัญหาจะมุ่งวิเคราะห์สภาพการณ์ทั้งหมด จากนั้นจึงเป็นการจัดความสัมพันธ์ขององค์ประกอบย่อยขึ้นมาใหม่ ให้มีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน แนวคิดกับการปฏิบัติจริงขององค์ความรู้ในแต่ละอย่างก็จะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ** 1. เกิดแนวคิดก่อนแล้วนำไปสู่การปฏิบัติความรู้ประเภทนี้มักเป็นเรื่องที่เป็นการศึกษาค้นคว้าทดลองจากแนวคิดหรือหลักการทฤษฎีที่มีคิดขึ้นเองหรือมีผู้คิดไว้ก่อนแล้วแต่ยังไม่สามารถนำ ความคิดไปทดลองใช้ได้อย่างจริงจัง เช่น การค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งทำให้เกิดแนวคิดในการส่งสัญญาณวิทยุต่อมาจึงมีผู้นำแนวความคิดไปทดลองจนประสบความสำเร็จ 2. เกิดจากการปฏิบัติหรือการกระทำที่เป็นอยู่แล้วนำไปสู่การสรุปเป็นแนวคิดหรือทฤษฎี ความรู้ประเภทนี้มักจะเป็นเรื่องความเป็นไปตามกฎเกณฑ์ธรรมชาติหรือตามสามัญสำนึกของคนโดยทั่วไป เช่น การเกิดลมพัด น้ำขึ้นน้ำลง แรงโน้มถ่วง ซึ่งคนทั่วไปอาจคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาหรือเรื่องของธรรมชาติแต่นักคิดก็จะพยายามศึกษาและทำความเข้าใจถึงความเป็นไปเหล่านั้นแล้วนำมาสรุปเป็นแนวคิดและทฤษฎีต่างๆเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต ### เป้าหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้กล่าวคือ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้มิได้หมายถึง แต่ เพียงตำรา ครู และอุปกรณ์การสอนที่โรงเรียนมีอยู่เท่านั้น แนวคิดทางเทคโนโลยีทางการศึกษา ต้องการให้ ผู้เรียนมีโอกาสเรียนจากแหล่งความรู้ที่กว้างขวางออกไปอีก แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ ครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆ เช่น ### รูปแบบการศึกษา #### ศึกษาด้วยตนเองด้วยเอกสารและสื่อประกอบ - รูปแบบการศึกษารูปแบบนี้เป็นรูปแบบพื้นฐานดั้งเดิม - ตามหลักการแล้วการศึกษา รูปแบบนี้เป็นส่วนหนึ่งหรือ SUBSET ของ DISTANCE LEARNING ในอดีต - และยังคงเป็น ส่วนของสาระหรือเนื้อหาบทเรียน(ที่ไม่ใช่แบบตำรา) ออกแบบุพัฒนาขึ้นเพื่อการ ศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองกิจกรรมประกอบบทเรียนหรือท้ายบทเรียนสื่อเสริมหรือสื่อ สนับสนุนประกอบบทเรียน อาทิ สื่อเสียงคำบรรยาย หรือสื่อวิดีทัศน์ หรือ YOUTUBE หรือ VIDEO ON DEMAND - ช่องทางติดต่อสื่อสารกับครูผู้สอน - ส่วนสนับสนุนอื่นๆ อาทิ แหล่งเรียนรู้ ห้องสมุดประจำท้องถิ่น อินเทอร์เน็ต #### ศึกษาด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์ - ศึกษาด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์ (Learn from website หรือ Online Learning) ถือเป็นรูปแบบ ของการศึกษาเรียนรู้ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง บนเว็บเทคโนโลยีและเทคโนโลยีการสื่อสาร เส้น ทางของการศึกษาเรียนรู้รูปแบบนี้ เป็นได้ทั้งระบบ(สื่อ)หลัก ระบบ(สื่อ)สนับสนุน และระบบ(สื่อ)เสริม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยมาตรฐาน SCORM โดยแสดงผลได้ดีในทุกอุปกรณ์ด้วย Responsive ทำให้รูปแบบนี้สามารถรองรับการศึกษาผ่าน Mobile Apps ได้เป็นอย่างดี - ปัจจุบัน Online Learning ที่หลายคนอาจเข้าใจว่า เหมือนกับ e-Learning แต่แท้จริงแล้ว Online Learning เป็น รูปแบบที่มุ่งพัฒนาบนแกนของเว็บมาโดยตลอดมาจึงมีผู้เรียกว่า Web-based Learning อีกชื่อ หนึ่ง - Online Learning จึงเป็นระบบการศึกษาที่มีความพร้อม ### องค์ประกอบของการศึกษารูปแบบนี้จะประกอบด้วย 1. ส่วนของสาระหรือเนื้อหาบทเรียนที่ออกแบบและพัฒนา - สำหรับการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองบนหน้าเว็บ 2. กิจกรรมประกอบในหน้าบทเรียน 3. สื่อเสริมหรือสื่อสนับสนุนประกอบหน้าบทเรียนออนไลน์ - อาทิ ANIMATION, ไฟล์เสียง และหรือวิดีทัศน์ 4. ช่องทางติดต่อสื่อสารกับครูผู้สอน และผู้ร่วมหลักสูตร - อาทิ กระดานข่าว จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ 5. ส่วนระบบวัดผลประเมินผล และการติดตามผู้เรียน ### ศึกษาผ่าน COMPUTER-BASED LEARNING - COMPUTER-BASED LEARNING เป็นอีกระบบสื่อหลักในอดีตที่เคยเฟื่องฟูในยุคปี 1995-2010 - ระบบการเรียนรู้แบบนี้รู้จักในชื่อของ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) - เป็นอีกวิธีการเรียนรู้ ที่มุ่งเน้น ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางได้ศึกษาเรียนรู้ หรือแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง - ซึ่งโดยธรรมชาติของ CAI นี้ จากหลักการที่มีการส่งผ่านปริมาณเนื้อหาที่ละส่วน มีรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลาย สามารถตรึง พฤติกรรมต่อการเรียนรู้ มีกระบวนการย้อนกลับเพื่อแสดงผลสัมฤทธิ์ หรือความก้าวหน้าในการเรียนรู้ - ปัจจุบัน CAI ได้เสื่อมความนิยมลงแต่ได้มีการพัฒนาระบบ (สื่อ)ในลักษณะคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรูปแบบ ใหม่ที่มีเนื้อหาเฉพาะเรื่องสั้นๆที่ชื่อว่า LEARNING OBJECT หรือ LO - คอมพิวเตอร์ในรูปแบบเดิมองค์ประกอบของการศึกษารูปแบบนี้จะประกอบด้วย 1. ระบบคอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง - ส่วนใหญ่จะเป็นระบบเฉพาะในสถานที่ฝึกอบรม 2. คู่มือประกอบการฝึกอบรม/เรียนรู้และการบันทึกผล 3. ผู้ควบคุมโปรแกรม 4. ส่วนระบบวัดผลประเมินผล และการติดตามผู้เรียน ### ศึกษาผ่าน MOBILE APPS - MOBILE APPLICATION (โมบาย แอพพลิเคชั่น) คือ โปรแกรมการศึกษาเรียนรู้ ที่ออกแบบมา - ทั้ง SMARTPHONE | และ TABLET - ลักษณะของ APPS การศึกษาส่วนใหญ่ ผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่น จะพัฒนาให้ตรงกับความ ต้องการของ(ผู้ใช้)งาน APPS ที่สร้างจะเชื่อมโยงข้อมูลหรือสาระการเรียนรู้ ผ่านเทคโนโลยีของ WEB-BASED VEB-BASED เป็นหลัก ข้อมูลหรือ สาระการเรียนรู้จะคล้ายๆกับที่แสดงผลบนหน้าเว็บไซต์ เพียงแต่ปรับรูปแบบการแสดงผล รับรูปแบบการแสดงผล เพิ่มส่วนติดต่อการเข้าถึงด้วยระบบ สัมผัสบนฟอร์มของสมาร์ทโฟนแทน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือผลิตภัณฑ์หนึ่งของ GOOGLE ในชื่อว่า GOOGLE CLASSROOM ที่มี - คือ โปรแกรมการศึกษาเรียนรู้ ที่ออกแบบมามุ่งเน้นสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ - ศักยภาพสามารถพัฒนาเป็นสื่อหลักได้ - โดยองค์ประกอบของการศึกษารูปแบบนี้จะประกอบด้วย 1. ส่วนของสาระหรือเนื้อหาบทเรียนที่ออกแบบและพัฒนาสำหรับการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองกิจกรรมประกอบในหน้าบทเรียน 2. สื่อเสริมหรือสื่อสนับสนุนบนหน้า MOBILE อาทิ ANIMATION, ไฟล์เสียง และ(หรือวีดิทัศน์) 3. ช่องทางติดต่อสื่อสารกับครูผู้สอน และผู้ร่วมหลักสูตร อาทิ กระดานข่าว จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ส่วนระบบวัดผลประเมินผล - และการติดตามผู้เรียน ### คำถามท้ายบท 1. เทคโนโลยีมีรากศัพท์มาจากภาษาอะไร 2. ศึกษาด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร 3. คอมพิวเตอร์ในรูปแบบเดิมองค์ประกอบของการศึกษารูปแบบนี้จะประกอบด้วย