คาบ 1 การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ PDF

Summary

เอกสารนี้กล่าวถึงพื้นฐานการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ รวมถึงวัตถุประสงค์และประเภทของเครื่องมือค้นหา

Full Transcript

บ ท ที่ 1 : พื้ น ฐ า น ส า ร ส น เ ท ศ เ พื่ อ การประกอบการ การสืบค้นข้อมูล สารสนเทศ (Information Searching) การสืบค้นข้อมูลออนไลน์ การสืบค้นข้อมูลออนไลน์ หมายถึง กระบวนการค้นหาข้อมูลหรือเนื้อหาที่ต้องการจากแหล่งข้อมูลบน อินเทอร์เน็ต โดยใช้เครื่องมือค้นหาหรือ Search Engine (เช่น Google, Bing...

บ ท ที่ 1 : พื้ น ฐ า น ส า ร ส น เ ท ศ เ พื่ อ การประกอบการ การสืบค้นข้อมูล สารสนเทศ (Information Searching) การสืบค้นข้อมูลออนไลน์ การสืบค้นข้อมูลออนไลน์ หมายถึง กระบวนการค้นหาข้อมูลหรือเนื้อหาที่ต้องการจากแหล่งข้อมูลบน อินเทอร์เน็ต โดยใช้เครื่องมือค้นหาหรือ Search Engine (เช่น Google, Bing) หรือเว็บไซต์เฉพาะทาง ซึ่งสามารถทำได้โดยการใช้คำค้น (keywords) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ตรงกับความต้องการ การสืบค้นข้อมูล ออนไลน์มีความสำคัญในการศึกษา การทำวิจัย หรือแม้กระทั่งการหาข้อมูลทั่วไปในชีวิตประจำวัน วัตถุประสงค์การสืบค้นข้อมูลออนไลน์ การค้นคว้าข้อมูลทางวิชาการ การหางานหรือโอกาสทางอาชีพ การติดตามข่าวสาร การศึกษาเรื่องสุขภาพ การหาความรู้ใหม่ การสำรวจข้อมูลทางการเงิน การเปรียบเทียบสินค้าและบริการ การหาความบันเทิง การค้นหาความคิดเห็นและรีวิว การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล Search Engine คืออะไร คุณต้องการค้นหาอะไร Search engine (เครื่องมือค้นหา) Top ของ 01/2024 คือ ระบบหรือโปรแกรมที่ช่วยให้ผู้ใช้งาน สามารถค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตได้ โดยการใช้คำค้น (keywords) เพื่อ ค้นหาเว็บเพจ บทความ รูปภาพ วิดีโอ และเนื้อหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือ ค้นหาจะทำการรวบรวม ดัชนี และจัด อันดับข้อมูลจากเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อให้ ผลลัพธ์ที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ งานอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างที่รู้จักกันดี ได้แก่ Google, Bing, Yahoo Top 15 ของ 10/2024 การแบ่งประเภท Search Engine Search Engine แบบทั่วไป (General Search Engines): เครื่องมือ ค้นหาที่รวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ทั่วไป เช่น Google, Bing, Yahoo Meta Search Engines: เครื่องมือค้นหาที่รวบรวมผลลัพธ์จากหลาย ๆ เครื่องมือค้นหา เช่น Dogpile, Metacrawler Vertical Search Engines: เครื่องมือค้นหาที่เน้นเฉพาะกลุ่มหรือหมวดหมู่ เฉพาะ เช่น Shopping Search Engines: สำหรับค้นหาสินค้า เช่น Amazon, eBay Job Search Engines: สำหรับค้นหางาน เช่น Indeed, Glassdoor Travel Search Engines: สำหรับค้นหาที่พัก โปรแกรมท่องเที่ยว เช่น Expedia, Kayak Image Search Engines: เครื่องมือค้นหาที่เน้นค้นหารูปภาพ เช่น Google Images, Pinterest การแบ่งประเภท Search Engine Video Search Engines: เครื่องมือค้นหาที่เน้นค้นหาวิดีโอ เช่น YouTube, Vimeo Academic Search Engines: เครื่องมือค้นหาที่เน้นเนื้อหาทางวิชาการ เช่น Google Scholar, JSTOR Social Search Engines: เครื่องมือค้นหาที่เน้นข้อมูลจากโซเชียลมีเดีย เช่น Social Search ของ Twitter หรือ Facebook Local Search Engines: เครื่องมือค้นหาที่เน้นข้อมูลในพื้นที่เฉพาะ เช่น Google Maps, Yelp Specialized Search Engines: เครื่องมือค้นหาที่มุ่งเน้นข้อมูลเฉพาะ เช่น Wolfram Alpha (คำนวณและให้ข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์) หรือ PubMed (ค้นหางานวิจัยด้านสุขภาพ) Personalized Search Engines: เครื่องมือค้นหาที่ปรับผลลัพธ์ตามความ สนใจและพฤติกรรมของผู้ใช้ เช่น Google ที่ใช้ประวัติการค้นหาเพื่อเสนอ ผลลัพธ์ที่ตรงกับความสนใจ Search Engine ไม่ใช่ Website Search engine คือส่วนที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ Search engine (เครื่องมือค้นหา) และ website (เว็บไซต์) ส่วน Website คือแหล่งข้อมูลที่ผู้ใช้ค้นหา เป็นสิ่งที่แตกต่างกัน โดยผู้ใช้มักใช้ search engine เพื่อค้นหาเว็บไซต์หรือแหล่งข้อมูล ที่ต้องการเข้าถึง วิธีสังเกตุว่าเป็น Search Engine หรือไม่? หน้าหลักที่มีช่องค้นหา: Search Engine มักจะมีช่องกรอกคำค้น (search bar) ที่เด่นชัดบนหน้าหลัก เพื่อให้ผู้ใช้สามารถพิมพ์คำค้นหาที่ต้องการได้ง่าย ๆ ผลลัพธ์การค้นหาที่เชื่อมโยงไปยังที่อื่น หลังจากป้อนคำค้นแล้ว ผลลัพธ์จะมีลิงก์ที่ เชื่อมไปยังเว็บไซต์ต่าง ๆ หรือยังอยู่บนเว็บไซต์นั้นแต่จะเชื่อมไปยังข้อมูลหน้าต่าง ๆ การมีฟังก์ชันการค้นหาขั้นสูง โดย Search Engine มักจะมีตัวเลือกในการค้นหา ขั้นสูง เช่น การกรองผลลัพธ์ตามวันที่ ประเภทไฟล์ หรือประเภทข้อมูล สรุป: เว็บไซต์ที่มีช่องให้ค้นหาจะเป็นทั้ง Website และ Search Engine เว็บไซต์ที่ไม่มีช่องให้ค้นหาจะเป็นแค่ Website ไม่เป็น Search Engine เทคนิคการใช้ Search Engine สืบค้นข้อมูล 1. ใช้คำค้นที่เฉพาะเจาะจง: ใช้คำค้นที่มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ตรงตามความต้องการ เช่น แทนที่จะค้นหา "สัตว์" ให้ค้นหา "สัตว์เลี้ยงที่นิยมในประเทศไทย" 2. ใช้เครื่องหมายคำพูด (" "): ใช้เครื่องหมายคำพูดเพื่อค้นหาข้อความที่ต้องการ เช่น "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" จะให้ผลลัพธ์ที่มีประโยคนี้ครบถ้วน 3. ใช้คำเชื่อม (และ, หรือ, ไม่ใช่): ใช้คำเชื่อมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหา เช่น และ: "การศึกษา และ เทคโนโลยี" ค้นหาข้อมูลที่มีทั้งสองคำ หรือ: "สัตว์เลี้ยง หรือ สัตว์ป่า" ค้นหาข้อมูลที่มีคำใดคำหนึ่ง ไม่ใช่: "อาหาร ไม่ใช่ มังสวิรัติ" กำจัดคำที่ไม่ต้องการออกจากการค้นหา 4. ค้นหาในเว็บไซต์เฉพาะ: ใช้ site:ชื่อเว็บไซต์ ตามด้วยคีย์เวิร์ด เพื่อค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ที่เฉพาะเจาะจง เช่น site:wikipedia.org ประเทศไทย 5. ใช้ฟังก์ชันค้นหาขั้นสูง: เพื่อกรองผลลัพธ์ตามวันที่, ประเภทไฟล์, หรือภาษา 6. ค้นหาไฟล์เฉพาประเภท: ใช้ filetype:ประเภทไฟล์ ตามด้วยคีย์เวิร์ด เช่น filetype:pdf การตลาด 7. ใช้ Google Scholar สำหรับงานวิจัย: ค้นหาข้อมูลทางวิชาการที่เชื่อถือได้ผ่าน Google Scholar 9. ตรวจสอบหลายหน้าผลลัพธ์: อย่าหยุดที่หน้าผลลัพธ์แรก ควรดูหลายหน้าเพื่อให้ได้ข้อมูลครบถ้วน 10. ปรับปรุงคำค้นหาตามผลลัพธ์: หากผลลัพธ์ไม่ตรงตามที่ต้องการ ให้ปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงคำค้นหาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น Quiz ท้ายบทเรียน แบบฝึกหัด

Use Quizgecko on...
Browser
Browser