หน่วยที่ 5 การใช้เหตุผลในทางกฎหมาย PDF
Document Details
Uploaded by Deleted User
อาจารย์เกียรติ รัตนชัยชาญ
Tags
Summary
เอกสารนี้เป็นบทเรียนจากหน่วยที่ 5 เกี่ยวกับการใช้เหตุผลในทางกฎหมาย โดยเน้นความสำคัญของเหตุผลในการใช้และตีความกฎหมาย รวมถึงการวิเคราะห์หาเหตุผลในกฎหมายและเหตุผลในการวินิจฉัยคดี
Full Transcript
**หน่วยที่** 5 **การใช้เหตุผลในทางกฎหมาย** วุฒิ **ตําแหน่ง** อาจารย์เกียรติ รัตนชัยชาญ นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Master of Comparative Law, S. M.U. สหรัฐอเมริกา เนติบัณฑิตไทย Certificate Intellectual Property Rights in Technology Certificate. Organization...
**หน่วยที่** 5 **การใช้เหตุผลในทางกฎหมาย** วุฒิ **ตําแหน่ง** อาจารย์เกียรติ รัตนชัยชาญ นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Master of Comparative Law, S. M.U. สหรัฐอเมริกา เนติบัณฑิตไทย Certificate Intellectual Property Rights in Technology Certificate. Organization and Management of Government Légal Services, Ministry of Justice of Japan Training Center, Tokyo, Japan Certificate. Public International Trade Law Course. กรรมการร่างกฎหมายประจํา (นิติกร 9 ชช.) สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หน่วย**ที่ปรับปรุง** หน่วยที่ 5 172 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป ชุดวิชา **แผนการสอนประจําหน่วย** ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป **หน่วยที่ 5** การใช้เหตุผลในทางกฎหมาย **ตอน**ที่ แนวคิด 5.1 ความสําคัญของเหตุผลในกฎหมาย 5.2 การวิเคราะห์หาเหตุผลในกฎหมาย 5.3 เหตุผลในการวินิจฉัยคดีและการให้ความเห็นทางกฎหมาย 1\. การนํากฎหมายมาใช้บังคับอาจมีผลกระทบหรือเกิดสภาพบังคับแก่บุคคล จําเป็นต้องมีการให้เหตุผลใน การใช้บังคับกฎหมายที่ดี เป็นธรรม สมเหตุสมผล หรือรับฟังได้ เพื่อให้เกิดการยอมรับของสังคม และ แก้ไขปัญหาได้ตรงกับสภาพปัญหาที่แท้จริง ซึ่งจะทําให้กฎหมายนั้นบรรลุวัตถุประสงค์และประสบผล 2. เหตุผลในกฎหมายสามารถวิเคราะห์ได้จากเหตุผลของผู้ร่างกฎหมายความเป็นธรรมของตัวกฎหมายนั้นเอง และนําผลการวิเคราะห์หาเหตุผลในกฎหมายมาใช้ประโยชน์ในการใช้กฎหมาย 3. การใช้เหตุผลในการวินิจฉัยคดีเป็นเรื่องสําคัญที่จะช่วยรักษาความเป็นธรรมให้แก่คู่ความ โดยที่ฝ่ายแพ้ คดีและสังคมยอมรับ การใช้เหตุผลในคดีมีอยู่ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ในการต่อสู้คดีของคู่ความ การทํา คําพิพากษา การทําความเห็นแย้งในคําพิพากษา และในการให้ความเห็นทางกฎหมายโดยทั่วไปด้วย วัตถุประสงค์ เมื่อศึกษาหน่วยที่ 5 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ 1\. อธิบายเกี่ยวกับความสําคัญของเหตุผลในกฎหมายได้ 2. อธิบายเกี่ยวกับการวิเคราะห์หาเหตุผลในกฎหมายได้ 3\. อธิบายเกี่ยวกับเหตุผลในการวินิจฉัยคดีและการให้ความเห็นทางกฎหมายได้ **กิจกรรมระหว่างเรียน** 1\. ทําแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนหน่วยที่ 5 2\. ศึกษาเอกสารการสอนตอนที่ 5.1 - **5.3** 3\. ปฏิบัติกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมายในเอกสารการสอนแต่ละตอน 4\. ฟังรายการวิทยุกระจายเสียง 5\. ชมรายการวิทยุโทรทัศน์ 6\. ทําแบบประเมินผลตนเองหลังเรียนหน่วยที่ 5 **สื่อ**การสอน 1\. เอกสารการสอน 2\. แบบฝึกปฏิบัติ 3\. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และประมวลกฎหมายอาญา 4\. รายการสอนทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ 5\. แบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนและหลังเรียน **การประเมินผล** 1\. ประเมินจากแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนและหลังเรียน 2\. ประเมินจากกิจกรรมและแนวตอบท้ายเรื่อง 3\. ประเมินผลจากการสอบไล่ประจําภาคการศึกษา *การใช้*เหตุผลในทางกฎหมาย 173 เมื่อ**อ่านแผนการสอนแล้ว** ขอให้ทํา**แบบประเมินผล**ตนเองก่อนเรียน หน่วยที่ 5 **ในแบบฝึก**ปฏิบัติ **แล้วจึงศึกษา**เอกสารการสอนต่อไป 174 *ความ*รู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ*กฎหมาย*ทั่วไป **ตอนที่ 5.1** **ความสําคัญของเหตุผลในกฎหมาย** โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 5.1 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป **หัวเรือง** **แนวคิด** 5.1.1 ปรัชญากับกฎหมาย 5.1.2 ตรรกวิทยากับกฎหมาย 5.1.3 แนวคิดและความสําคัญของเหตุผลในกฎหมาย 1\. เหตุผลของกฎหมายที่ดีและเป็นธรรมมีที่มาจากแนวความคิดทางปรัชญา โดยนักปรัชญาและนัก นิติปรัชญาได้พยายามพัฒนาแนวความคิดเกี่ยวกับเหตุผลในการตรากฎหมายและการใช้กฎหมาย มาโดยตลอด เพื่อให้ได้กฎหมายที่ดีและเป็นธรรมที่สุดแก่สังคม 2\. การใช้เหตุผลในทางกฎหมายที่ดีมีคุณลักษณะสําคัญประการหนึ่งคือ ความสมเหตุสมผล ในทาง ตรรกวิทยา ซึ่งช่วยให้สามารถตรากฎหมายและนํากฎหมายมาใช้ในการแก้ไขปัญหาได้ตรงกับ สภาพปัญหาที่แท้จริง ไม่เบี่ยงเบนไป 4\. การให้เหตุผลในกฎหมายมีความสําคัญ เนื่องจากเหตุผลที่ดี เป็นธรรม สมเหตุสมผล หรือรับฟังได้ ก่อให้เกิดความเป็นธรรมและการยอมรับของบุคคลที่เกี่ยวข้องและสังคม และแก้ไขปัญหาได้ตรง กับสภาพปัญหาที่แท้จริง ซึ่งจะทําให้กฎหมายนั้นบรรลุวัตถุประสงค์และประสบผล **วัตถุประสงค์** เมื่อศึกษาตอนที่ 5.1 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ 1\. อธิบายเกี่ยวกับปรัชญากับกฎหมายได้ 2\. อธิบายเกี่ยวกับตรรกวิทยากับกฎหมายได้ 3\. อธิบายเกี่ยวกับความสําคัญของเหตุผลในกฎหมายได้ **บทนํา** การใช้*เหตุผลในทางกฎหมาย* 175 วิชาการใช้เหตุผลในทางกฎหมาย เป็นวิชาที่มีผู้ใช้กฎหมายทุกคนพึงทราบ ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้กฎหมายในฐานะ ใด ในระดับใด โดยเฉพาะผู้ที่ประกอบอาชีพกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐ อัยการ ผู้พิพากษา ทนายความ และอาจารย์ผู้สอนกฎหมาย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในอดีตที่ผ่านมาไม่ได้มีการจัดการเรียนการสอนวิชานี้อย่างเป็น กิจจะลักษณะในคณะนิติศาสตร์ หรือสถาบันการศึกษากฎหมายในประเทศไทย แต่ก็มีอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในทาง นิติศาสตร์หลายท่านได้ให้ความสําคัญในหัวข้อนี้ และได้เขียนบทความหรือหนังสือหรือมีการกล่าวถึงหัวข้อนี้ อาทิ ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร ศาสตราจารย์วิชา มหาคุณ ซึ่งแตกต่างจากในต่างประเทศที่มีการเขียนถึงหัวข้อนี้ มากมาย นักกฎหมายส่วนใหญ่มักจะคุ้นเคยกับคําว่า "การใช้กฎหมาย" และ "การตีความกฎหมาย" มาแล้ว "การใช้กฎหมาย" เป็นคํากว้าง หมายถึงการใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษร การใช้กฎหมายจารีตประเพณี การ ใช้หลักกฎหมายทั่วไป 1 มาปรับกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเพื่อหาผลทางกฎหมาย การใช้กฎหมายบางครั้งก็อาจต้อง ตีความกฎหมายด้วย โดยเฉพาะกรณีกฎหมายลายลักษณ์อักษร แต่ถ้าเป็นการใช้กฎหมายแบบจารีตประเพณีหรือ หลักกฎหมายทั่วไปก็ไม่มีความจําเป็นต้องมีการตีความ เพราะไม่มีตัวบทกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ต้องไป ค้นหาหลักกฎหมายทั่วไป หรือค้นหาข้อเท็จจริงในสังคมที่ประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมาจนเป็นที่ยอมรับนับถือในสังคม เป็นกฎหมายจารีตประเพณี ส่วน "การตีความกฎหมาย" คือการตี "ถ้อยคํา" ของกฎหมายให้ได้เป็น" "ข้อความ" ที่จะนําไปใช้วินิจฉัย ชี้ขาดคดีข้อพิพาท เป็นการทําความหมายของถ้อยคําให้ชัดแจ้ง ซึ่งจะต้องเป็นการใช้เหตุใช้ผลตามหลักตรรกวิทยา และสามัญสํานึก เพื่อนําไปสู่ผลสรุปที่ถูกต้อง ที่ดี ที่เป็นธรรม กล่าวโดยสรุป "การตีความกฎหมาย" คือการขบคิด ค้นหาจากบทบัญญัติของกฎหมายโดยวิธีใช้เหตุผลตามหลักตรรกวิทยาและสามัญสํานึก เพื่อให้ได้มาซึ่ง "ข้อความ" ของ กฎหมาย ที่จะนําไปใช้วินิจฉัยคดีข้อพิพาทได้อย่างถูกต้อง คือเหมาะสมและเป็นธรรม ไม่ว่าแนวความคิดของนักกฎหมายไทยจะแตกต่างกันเป็น 2 ฝ่าย กล่าวคือ ฝ่ายหนึ่งซึ่งมีศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี เกษมทรัพย์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์สมยศ เชื้อไทย จะเห็นว่า "การตีความ" และ "การใช้กฎหมาย" มีความหมายต่าง กัน กับอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งนําโดย ศาสตราจารย์ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ที่เห็นว่า "การใช้กฎหมาย" นั้นที่จริงหมายถึง "การบังคับใช้กฎหมาย" ซึ่งในการใช้บังคับกฎหมายนั้นต้องมีการตีความกฎหมายเสมอ ดังนั้น จึงไม่อาจแยกคําทั้ง สองออกจากกันได้ การใช้กฎหมายหรือการตีความกฎหมายที่จะเป็นที่ยอมรับเชื่อถือของผู้ที่เกี่ยวข้องได้นั้น ย่อมขึ้น อยู่กับความมีเหตุมีผลของผู้ใช้กฎหมายหรือผู้ตีความกฎหมาย โดยความมีเหตุมีผลดังกล่าวไม่ได้หมายความแต่ เพียงการที่จะต้องมีการอธิบายให้เหตุผลประกอบความเห็นในการพิจารณาวินิจฉัยกฎหมายเท่านั้น แต่มีความหมาย ถึงขนาดที่ว่า เหตุผลที่ให้นั้นจะต้องเป็นเหตุผลที่ถูกต้องตามหลักกฎหมาย เป็นเหตุผลที่อยู่บนพื้นฐานของหลักการ ตีความกฎหมายด้วย และผู้ที่อ้างเหตุผลดังกล่าวในการใช้กฎหมายก็ดี การตีความกฎหมายก็ดี จึงต้องเข้าใจหลักการ 1 ชาญชัย แสวงศักดิ์ *หลักการตีความกฎหมายกับกรณี*ศึกษา: *ปัญหาแต่งตั้งตุลาการ*ในศาลปกครองสูงสุดครั้งแรก กรุงเทพมหานคร สํานักพิมพ์นิติธรรม หน้า 2 \* ชาญชัย แสวงศักดิ์ เรื่องเดิม หน้า 3 176 *ความ*รู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป ใช้เหตุผลในทางกฎหมายด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งแตกต่างจากการให้เหตุผลตามความเข้าใจทั่วๆ ไป ตัวอย่างเช่น เด็กชายแดง อายุ 9 ปี ขออนุญาตแม่ไปวิ่งเล่นที่สนามเด็กเล่นในหมู่บ้านหลังทานข้าวเย็นเสร็จแล้ว แต่แม่ไม่อนุญาต โดยการไม่ อนุญาตดังกล่าวแม่ได้ให้เหตุผลที่ไม่อนุญาตด้วย ซึ่งเหตุผลที่ให้อาจเป็นเพราะเป็นเวลาค่ําแล้ว เพราะข้างนอกบ้านยุง มากเวลาค่ํา และอันตรายเวลาค่ํามืด หรือเพราะทําการบ้านยังไม่เสร็จจึงห้ามออกนอกบ้าน เป็นต้น ซึ่งไม่ว่าคุณแม่ ของเด็กชายแดงจะใช้เหตุผลใดก็ตาม ล้วนนําไปสู่การห้ามเด็กชายแดงออกนอกบ้านทั้งสิ้น ไม่ว่าเด็กชายแดงจะเห็น ด้วยหรือไม่ก็ตาม และไม่ว่าเหตุผลที่หยิบยกขึ้นมาอ้างจะรับฟังได้หรือไม่ เด็กชายแดงก็จําต้องปฏิบัติตาม นอกจากนี้ ในบางกรณีเหตุผลที่ยกขึ้นอ้างก็สามารถเปลี่ยนแปลงไปได้เรื่อยๆ สุดแท้แต่ผู้ที่กล่าวอ้างจะยกขึ้นมา ซึ่งต่างจากการ ให้เหตุผลในทางกฎหมายที่จะต้องกระทําภายในกรอบหลักเกณฑ์ จะต้องมีฐานทางกฎหมายที่อ้างอิงได้ มิใช่เป็นการ แม้ในหลายกรณีบทบัญญัติกฎหมายได้ให้อํานาจการใช้ดุลพินิจแก่ผู้มีอํานาจวินิจฉัยชี้ขาด แต่ อ้างเหตุผลตามอําเภอใจ กระนั้นก็ตาม การใช้ดุลพินิจดังกล่าวก็หาใช่จะทําได้ตามอําเภอใจโดยไม่มีขอบเขต เพราะหากผู้ใดไม่ดําเนินการตาม หลักเกณฑ์ การให้ความเห็นทางกฎหมาย คําวินิจฉัยหรือความเห็นนั้นๆ ก็ย่อมถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้ อย่างไรก็ตาม วิชา "การใช้เหตุผลในทางกฎหมาย" ก็คล้ายคลึงกับวิชา "การตีความกฎหมาย" ที่เพียงแต่ บอกให้นักศึกษาทราบถึงหลักเกณฑ์และวิธีการในการให้เหตุผลหรือการตีความกฎหมาย แต่คงไม่สามารถกําหนด เป็นสูตรตายตัวหรือโปรแกรมสําเร็จรูปได้ 3 กล่าวโดยสรุปก็คือ การศึกษาเรื่อง การใช้เหตุผลในทางกฎหมาย เป็นเรื่องของการอธิบายกฎเกณฑ์เพื่อ พิจารณาว่าข้อถกเถียงในกฎหมายใดดีหรือไม่ดี เป็นที่น่าเชื่อถือรับฟังได้หรือไม่ ทั้งนี้ เพื่อให้บุคคลผู้ที่เกี่ยวข้องและ สังคมโดยทั่วไปสามารถยอมรับได้ ซึ่งจะทําให้การบังคับใช้กฎหมายนั้นบรรลุตามเจตนารมณ์และประสบผล หากการ ใช้เหตุผลในกฎหมายใดยังไม่สามารถโน้มน้าวให้บุคคลยอมรับหรือไม่สามารถรับฟังได้ ก็อาจทําให้มีผู้ตั้งข้อสงสัยกับ การให้ความยุติธรรมในเรื่องนั้นๆ หรืออาจทําให้บทบัญญัติของกฎหมายนั้นไม่เป็นที่ยอมรับ ส่งผลให้ต้องมีการ ยกเลิกหรือแก้ไขกฎหมายนั้นได้ อนึ่ง การที่จะเข้าใจวิชานี้ ตลอดจนสามารถนําไปใช้ให้ถูกต้อง ผู้ศึกษาจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีพื้นฐานที่ดี ทั้งหลักกฎหมายต่างๆ หลักการตีความกฎหมายซึ่งรวมถึงการอุดช่องว่างกฎหมาย และตลอดจนเข้าใจถึงหลักเกณฑ์ การร่างกฎหมายด้วย ซึ่งก็ได้มีการบรรยายไว้ในหน่วยอื่นๆ แล้ว ผู้เขียนจึงอาจมีการกล่าวอ้างถึงบ้างเท่าที่จําเป็นอย่างไร ก็ดี จะได้กล่าวถึงแนวคิดและหลักการที่เป็นองค์ประกอบสําคัญในการใช้เหตุผลในกฎหมาย เพื่อให้ได้เหตุผลที่ดีและ เป็นธรรม สมเหตุสมผล และรับฟังได้ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายบรรลุวัตถุประสงค์และประสบผล เช่น ความ สัมพันธ์ระหว่างปรัชญาและกฎหมาย และตรรกวิทยาและกฎหมาย Pren, 1986. 3 ศึกษาเทียบเคียงแนวความคิดเกี่ยวกับการตีความกฎหมาย โดย Ronald Dworkin ดู Dworkin, R. *Law\'s* Empire. London: Fontora การ*ใช้*เหตุผลในทางกฎหมาย 177 **เรื่อง*ที่*** 5.1.1 **ปรัชญากับกฎหมาย** เมื่อมนุษย์เริ่มอยู่ร่วมกันเป็นสังคม มนุษย์ก็เริ่มเรียนรู้และมีความจําเป็นที่จะต้องมีการปฏิบัติตนและวาง กฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกันด้วยเหตุผลต่างๆ เพื่อให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข เช่น เพื่อจัดสรรทรัพยากรบางอย่าง ที่สังคมมีอยู่อย่างจํากัด เพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชน หรือเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างสมาชิกของสังคม ตลอดจนเพื่อวิถี ชีวิตที่ดีขึ้นและการพัฒนาในด้านต่างๆ ของมนุษย์จากความนึกคิดของสมาชิกคนใดคนหนึ่งของสังคม ถ่ายทอดออก เป็นแนวความคิดและหลักการ พัฒนาเป็นทฤษฎี ศาสตร์ ศีลธรรม ศาสนา หรือปรัชญาในด้านต่างๆ ละเอียดซับซ้อน มากขึ้น แต่สิ่งที่ยั่งยืนผ่านกาลเวลามาได้คือสิ่งใดๆ ก็ตามที่มีเหตุผล ซึ่งตามความรู้สึกนึกคิดของสมาชิกในสังคม ให้การยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ดีและเป็นธรรม และเป็นสากลในทุกยุคทุกสมัยจนถึงปัจจุบัน กฎหมายเป็นระบบกฎเกณฑ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อเป็นกลไกในการดํารงสังคม เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ข้างต้น ในการนํากฎหมายมาใช้บังคับจําเป็นที่จะต้องเกิดผลกระทบแก่ผู้เกี่ยวข้องและสมาชิกของสังคม กฎหมายจึงเป็นสิ่ง จําเป็นที่จะต้องมีการใช้เหตุผลที่ดีและเป็นธรรม นับตั้งแต่ในชั้นการออกหรือตรากฎหมาย และการนํากฎหมายมาใช้ บังคับ การใช้เหตุผลจึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องยึดโยงกับแนวความคิดทางด้านปรัชญา ซึ่งหมายถึง วิชาที่ว่าด้วยหลักแห่ง ความรู้และความจริงที่มนุษย์ได้พัฒนาแนวความคิดมาตั้งแต่ยุคโบราณ เริ่มตั้งแต่ยังเป็นหลักปรัชญาบริสุทธิ์ (Pure Philosophy) และพัฒนาเป็นปรัชญาของศาสตร์ต่างๆ (Philosophy of Sciences) ซึ่งรวมถึง "นิติปรัชญา**" (**Philosophy **of Law**) ซึ่งประกอบด้วยแนวคิดหรือทฤษฎีที่พัฒนามาจากปรัชญาบริสุทธิ์ เช่น Theory of Law ซึ่งมี ที่มาจาก Philosophy of Nature หรือ Philosophy of Legal Sciences ซึ่งมีที่มาจาก Philosophy of Mind และ Theory of Justice ซึ่งมีที่มาจาก Social Philosophy เป็นต้น ปรัชญาดังกล่าว เป็นองค์ประกอบสําคัญที่จะช่วยให้การใช้เหตุผลในกฎหมายสอดคล้องกับหลักการ ซึ่งเป็น สิ่งที่สังคมเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีงามและเป็นธรรม ทั้งที่เป็นสิ่งที่เห็นได้ด้วยตัวเอง เช่น การที่กฎหมายยอมรับและคุ้มครอง สิทธิในเนื้อตัว ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคล ดังนั้น การลักทรัพย์หรือการฆ่าผู้อื่นเป็นสิ่งที่ทุกคนเห็นว่าเป็นสิ่งที่ผิด ผู้กระทําสมควรได้รับโทษ หรือเป็นสิ่งที่สังคมตกลงกันกําหนดขึ้น เช่น เพื่อประโยชน์ของสังคมโดยส่วนรวม จึง จําเป็นต้องมีการเก็บภาษีเพื่อนําเงินไปทะนุบํารุงประเทศ ซึ่งก็อาจมีสมาชิกของสังคมไม่เห็นด้วย ไม่อยากเสียภาษี หรือ เห็นด้วยแต่ก็รู้สึกว่าอัตราภาษีนั้นสูงเกินไป เป็นต้น ปรัชญาหรือนิติปรัชญามีแนวคิดหรือทฤษฎีต่างๆ อีกมาก ซึ่งนักปราชญ์หรือนักนิติปรัชญาในแต่ละยุคได้ เสนอแนวความคิดของตน แม้ในยุคเดียวกันก็ยังมีความคิดที่แตกต่างกันในหลายสํานักความคิด การนําแนวคิดทาง ปรัชญาหรือนิติปรัชญาใดมาใช้ในการให้เหตุผลทางกฎหมายจึงจําเป็นต้องคํานึงถึงความรู้สึกนึกคิดของสมาชิกในสังคม สภาวการณ์ของสังคม ตลอดจนข้อเท็จจริงในแต่ละกรณีประกอบด้วย ตัวอย่างเช่น ประเทศในกลุ่มคอมมอนลอว์ \* ได้แก่ (1) อภิปรัชญา (Metaphysics) หรือทฤษฎีความเป็น พัฒนาเป็น Philosophy of Nature (2) ญาณปรัชญา (Epistemology) หรือทฤษฎีความรู้ พัฒนาเป็น Philosophy of Mind (3) จริยปรัชญา (Ethics) หรือทฤษฎีความดี พัฒนาเป็น Social Philosophy (4) สุนทรีย ปรัชญา (Aesthetics) หรือทฤษฎีความงาม พัฒนาเป็น Philosophy of Arts โปรดดู ปรีดี เกษมทรัพย์ ศาสตราจารย์ ดร. นิติปรัชญา พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพมหานคร โครงการตําราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2541 หน้า 23 - 25 178 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป เช่น สหรัฐอเมริกา มีการใช้ระบบลูกขุนในการพิจารณาคดี โดยให้คณะลูกขุนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาทั่วไปในสังคมให้ ความเห็นว่าการกระทําของจําเลยมีความผิดหรือไม่ เป็นการช่วยให้เหตุผลในการใช้กฎหมายอีกทางหนึ่ง ศาลเป็น เพียงผู้กําหนดโทษว่าการกระทําดังกล่าวสมควรได้รับโทษอย่างไร เป็นต้น อย่างไรก็ดี การนําหลักปรัชญาหรือ นิติปรัชญาซึ่งมีการพัฒนาแนวความคิดเกี่ยวกับความเป็นธรรมจนตกผลึกมาประกอบในการใช้เหตุผลในทางกฎหมาย ย่อมเป็นหลักประกันได้ว่าเหตุผลที่ผู้ใช้กฎหมายได้ใช้ไปจะสอดคล้องกับความความดีงามและเป็นธรรมได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างของการใช้แนวความคิดทางกฎหมายในการใช้เหตุผลในกฎหมายจะกล่าวโดยละเอียดในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง ต่อไป **กิจกรรม** 5.1.1 ให้นักศึกษา **ศึกษา**หัวเรื่องนี้ประกอบกับเนื้อหาในหน่วยที่ว่าด้วยปรัชญาหรือนิติปรัชญา แล้วแสดง ความคิดเห็นและยกตัวอย่างว่า ในปัจจุบัน มีการนําหลักหรือทฤษฎีทางปรัชญาใดมาใช้ในการให้เหตุผลทาง กฎหมายอย่างไร แนวตอบ**กิจกรรม 5.1.1** ตอบตามความคิดเห็นของนักศึกษา ตัวอย่างของแนวความคิดทางนิติปรัชญาที่ยังคงใช้อยู่ในการให้ เหตุผลทางกฎหมายในปัจจุบัน เช่น แนวความคิดเกี่ยวกับหลักนิติรัฐ (Legal State) ซึ่งปัจจุบันมีการใช้ เหตุผลทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการใช้อํานาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐจะใช้อํานาจในทางที่ ลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของเอกชนได้ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายให้อํานาจไว้อย่างชัดแจ้งเท่านั้น เรื่องที่ 5.1.2 **ตรรกวิทยากับกฎหมาย** การใช้เหตุผลในกฎหมายเพื่อให้บุคคลที่เกี่ยวข้องหรือสังคมเกิดการยอมรับหรือรับฟังได้ มีองค์ประกอบ สําคัญอีกประการหนึ่ง คือ ความสมเหตุสมผล ซึ่งการให้เหตุผลอย่างไรให้มีความสมเหตุสมผลสามารถตรวจสอบได้ จากหลักวิชาที่เรียกว่า ตรรกวิทยา หรือตรรกศาสตร์ ซึ่งเป็นปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วยการคิดหาเหตุผล ว่าสิ่งที่บุคคล ยกขึ้นกล่าวอ้างนั้นจะสมเหตุสมผลหรือไม่ เช่น หากคํากล่าวที่ว่า "แมวทุกตัวสามารถจับหนูได้" และคํากล่าวที่ว่า "นัง เหมียวเป็นแมวตัวหนึ่ง" มีความถูกต้อง ดังนั้น เราสามารถสรุปได้ว่า "นั่งเหมียวสามารถจับหนูได้" แต่หากเกิดข้อเท็จ จริงว่า ไม่ใช่แมวทุกตัวที่สามารถจับหนูได้ เพราะมีบางคนเลี้ยงแมวจนเสียแมวจนลืมวิธีการจับหนูไป เช่นนี้ เราก็ไม่ อาจให้ข้อสรุปได้ว่า "นั่งเหมียวสามารถจับหนูได้" จนกว่าเราจะพิสูจน์ได้ว่านั่งเหมียวไม่ใช่แมวที่ถูกเลี้ยงจนเสียแมว เป็นต้น ความสมเหตุสมผลในทางกฎหมายมิใช่เพียงการมีเหตุผลอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น แต่ความสมเหตุสมผล หรือความมีเหตุผล (Rationality) ทางกฎหมายในลักษณะที่เป็นศาสตร์อย่างหนึ่ง จะต้องมีความสัมพันธ์ที่คล้อยตามกันในทางความคิดที่มนุษย์สามารถเข้าใจได้ด้วยสติปัญญา ไม่ขึ้นอยู่กับอารมณ์ ความรู้สึก หรืออําเภอใจของบุคคลใด เช่น การที่ไม่ชอบหน้าคนๆ หนึ่งก็คิดเอาเองว่าคนๆ นั้นจะต้องเป็นคนไม่ดี และความเกี่ยวพันระหว่างข้อเท็จจริง 2 ประการต้องสัมพันธ์กันในลักษณะที่ข้อเท็จจริงหนึ่งเป็นเหตุของอีกข้อเท็จจริงหนึ่ง (Cause and Effect) ด้วย หลักความสมเหตุสมผลนี้ไม่เพียงใช้ในการใช้ดุลพินิจ หรือการตัดสินคดี หรือการให้ความเห็นทางกฎหมาย โดยทั่วไป แต่สามารถนํามาใช้ในการร่างกฎหมายด้วย เช่นที่นักกฎหมายบางท่านเรียกว่าเป็นวิธีคิดแบบ "rationalized system\" โดยในการจะเขียนกฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่ง ผู้ร่างจะต้องกําหนดโครงสร้างของกฎหมายหรือกลไกของ กฎหมายให้มีความสัมพันธ์กัน และเป็นเหตุเป็นผลกับปัญหาที่เกิดขึ้น มิใช่เพียงความรู้สึกหรือความเชื่อของบุคคลใด บุคคลหนึ่ง ซึ่งจะสามารถนํามาใช้ในการแก้ไขปัญหาของสังคมได้ตรงตามสภาพของปัญหาที่แท้จริง อย่างน้อยเหตุผล ของกฎหมายหรือการใช้กฎหมายนั้นควรถูกต้องตามหลักตรรกวิทยาดังที่กล่าวข้างต้น มิเช่นนั้นจะทําให้การใช้ กฎหมายเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งบิดเบือนไป ตัวอย่างเช่น หากบางสังคมเชื่อว่า การลงโทษจําคุกสามารถ ทําให้คนเกรงกลัวไม่กล้ากระทําความผิด จึงออกกฎหมายในลักษณะที่เน้นโทษทางอาญาให้จําคุกบุคคลที่กระทําความผิด และในการลงโทษจําเลยศาลก็ใช้ดุลพินิจในการลงโทษจําคุกเสมอ แต่ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นปรากฏว่ายังคงมีผู้กระทํา ความผิดนั้นๆ อยู่มากเหมือนเดิม เช่นนี้ ถือได้ว่าเหตุผลในการออกกฎหมายโดยให้มีการลงโทษจําคุกแต่เพียง ประการเดียวอาจมิใช่การแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง สังคมนั้นควรต้องทบทวนเหตุผลดังกล่าวใหม่ หรือหาสาเหตุที่แท้จริง ของการกระทําความผิดว่าเกิดขึ้นเพราะเหตุใด หรือสภาพบังคับชนิดใดที่บุคคลเกรงกลัว หากต่อมาสามารถหาข้อ สรุปได้ว่าผู้กระทําความผิดไม่เกรงกลัวโทษจําคุก แต่เกรงจะต้องเสียเงินและทรัพย์สินที่ตนมีอยู่เดิมหรือได้มาจากการ กระทําความผิดมากกว่า ก็อาจแก้ไขกฎหมายเพื่อเพิ่มประเภทของสภาพบังคับให้เป็นโทษปรับในอัตราสูงๆ และรับ ทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทําความผิดด้วย ก็น่าที่จะทําให้บุคคลผู้คิดที่จะกระทําความผิดยับยั้งชั่งใจได้บ้าง อย่างไร ก็ดี ความเป็นจริงของสังคมและจิตใจของมนุษย์มีความซับซ้อนกว่านั้น การจะหยั่งทราบได้ว่าสิ่งใดจะเป็นเหตุเป็นผล กันในทางตรรกวิทยาเพื่อนําไปสู่การแก้ไขกฎหมายอาจต้องอาศัยกระบวนการศึกษาทดลองในทางสังคมศาสตร์ด้านอื่นๆ ประกอบด้วย **กิจกรรม 5.1.2** การใช้เหตุผลในกฎหมายโดยใช้**หลักตรรกวิทยามี**ความสําคัญ**อย่างไร** **แนวตอบกิจกรรม 5.1.2** การใช้เหตุผลในกฎหมายโดยใช้หลักตรรกวิทยามีความสําคัญ เพราะทําให้เหตุผลที่ยกขึ้นกล่าวอ้างมี ความสมเหตุสมผล และสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงตามสภาพของปัญหาที่แท้จริง 5 ปรีดี เกษมทรัพย์ อ้างแล้ว หน้า 24 \* อมร จันทรสมบูรณ์ บทความกึ่งวิชาการ เรื่อง "การเล่นเกมการยื่นญัตติให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ" พระราชกําหนด ตามมาตรา 218 - 219 (เกมของใคร) ในส่วนที่ว่าด้วยนิติปรัชญาหรือนิติวิธีทางกฎหมายมหาชน หน้า 584 -586 เรื่อง**ที่** 5.1.3 **แนวคิดและความสําคัญของเหตุผลในกฎหมาย** ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้ให้ความเห็นในเรื่องเหตุผลในกฎหมายตอนหนึ่งไว้ดังนี้ \" คําพิพากษา ที่ดีที่สุดก็คือ คําพิพากษาซึ่งมีเหตุผลประกอบคําวินิจฉัยที่หนักแน่นจนเป็นที่พอใจของคู่ความทุกฝ่าย ว่าเพราะเหตุใด ตนจึงแพ้คดีหรือชนะคดีเพียงบางส่วน ส่วนนักกฎหมายฝ่ายนิติบัญญัติก็ต้องคํานึงถึงเหตุผลในการตรากฎหมายขึ้น ใช้บังคับเช่นกัน กล่าวคือ จะต้องมีเหตุผลจูงใจให้ฝ่ายนิติบัญญัติด้วยกันเห็นพ้องกับความคิดเห็นของตนว่า เหตุใด จึงต้องตรากฎหมายฉบับนั้นขึ้นใช้บังคับ และในทํานองเดียวกัน สําหรับนักบริหาร การที่จะบังคับให้การใดเป็นไปตาม กฎหมาย ก็ต้องแสดงเหตุผลประกอบว่าเหตุใดจึงต้องทําเช่นนั้น" จากข้อพิจารณาข้างต้นนี้จะเห็นได้แจ้งประจักษ์ ดังสุภาษิตกฎหมายโรมันที่ว่า "ในเรื่องของกฎหมายนั้น เหตุผลของกฎหมายเป็นวิญญาณของกฎหมายโดยแท้ ในการประกอบวิชาชีพกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นสาขาใด เป็นเรื่องของการต่อสู้ชิงไหวชิงพริบกันนั่นเอง อาวุธที่ สําคัญก็คือ เหตุผลที่คู่กรณีแต่ละฝ่ายใช้ประกอบหรืออ้างอิงสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของตน ฝ่ายใดมีเหตุผลดีกว่า หนักแน่นกว่าฝ่ายปรปักษ์ ฝ่ายนั้นย่อมได้เปรียบฝ่ายปรปักษ์ การที่เหตุผลจะดีกว่าและหนักแน่นกว่านั้น เหตุผลนั้น เองต้องแจ่มแจ้ง ดังที่สุภาษิตกฎหมายโรมันอีกบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า "เหตุผลในกฎหมายต้องแจ่มแจ้งดังแสงตะวัน" ศาสตราจารย์วิชา มหาคุณ ได้กล่าวในหนังสือการใช้เหตุผลในทางกฎหมายว่า "ดังจะเห็นได้จากสุภาษิต กฎหมายที่ว่า เหตุผล คือ วิญญาณแห่งกฎหมาย เมื่อเหตุผลแห่งกฎหมายบทใดเปลี่ยนแปลงไป กฎหมายบทนั้น ย่อมแปรเปลี่ยนตามไปด้วย" (ratio est leges anima, mutata leges ratione mutatur et lex. Reason is the Soul of law, the reason of law being changed, the law is also changed) เหตุที่ถือว่าเหตุผลเป็นหัวใจหรือ วิญญาณของกฎหมายก็เพราะเหตุผลเป็นกฎสากลตายตัวและผูกพันกับมนุษย์ทุกรูปทุกนาม กฎหมายที่บัญญัติขึ้น อย่างมีเหตุผลย่อมเป็นกฎหมายที่เป็นสากล ใช้บังคับได้กับทุกๆ คน มิใช่กฎหมายที่ขึ้นกับอําเภอใจของบุคคลใด บุคคลหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น ฉะนั้น กฎหมายที่มีเหตุผลจึงเป็นกฎหมายที่เป็นธรรม การเปลี่ยนแปลงของ กฎหมายขึ้นอยู่กับเหตุผลที่แปรเปลี่ยน มิใช่ขึ้นอยู่กับอารมณ์ของมนุษย์ นักกฎหมายผู้มีชื่อเสียงชาวอังกฤษท่านหนึ่ง คือ เซอร์ เอ็ดเวิร์ด คุก (Sir Edward Coke: พ.ศ. 2095 - พ.ศ. 2177) กล่าวว่า "เหตุผล คือชีวิตของกฎหมาย กฎหมายจารีตประเพณีโดยตัวของมันเอง มิใช่อะไรอื่นนอกจาก เหตุผล\...กฎหมายก็คือสมบูรณภาพของเหตุผลนั่นเอง" (Reason is the life of the law, may the common law itself is nothing else but reason\...the law which is perfection of reason) ไม่ว่าความหมายของ "เหตุผล ในกฎหมาย" จะเป็นไปในแนวทางใด แต่ก็อาจกล่าวได้ว่าเหตุผลในกฎหมายทําให้กฎหมายมีชีวิต สามารถสัมผัสได้ ซึ่ง บ่อยครั้งบทบัญญัติกฎหมายหนึ่งอาจถูกมองว่าเป็นกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม เนื่องมาจากการใช้เหตุผลในการอ้างบท กฎหมายนั้นๆ ตัวอย่างเช่น ความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 บัญญัติว่า *"ผู้*ใดเอา ทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวม*อยู่ด้วยไปโดยทุจริต* ผู้นั้นกระทําความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษ จําคุกไม่เกินสาม*ปี* และปรับไม่เกิน*หกพันบาท"* ลองพิจารณาเปรียบเทียบการใช้เหตุผลในกฎหมายในอุทาหรณ์ ดังต่อไปนี้ อุทาหรณ์**ที่หนึ่ง** นายดํา อันธพาลประจําซอย วันหนึ่งเดินผ่านร้านขายกล้วยทอด ก็ถือวิสาสะหยิบถุงกล้วยทอดไปกินหนึ่งถุง ในขณะที่แม่ค้าเผลอ เผอิญมีพ่อค้าร้านขายของชําเห็นและตะโกนบอก แม่ค้าจึงร้องเอะอะโวยวาย และตํารวจสาย ตรวจผ่านมาประสบเหตุจับนายดําได้ และแจ้งข้อหาลักทรัพย์แก่นายดํา **อุทาหรณ์ที่สอง** กรณีข้อเท็จจริงทํานองเดียวกัน เพียงแต่คนที่หยิบกล้วยทอดไปเป็นนางแดงแม่ม่ายลูกติดที่ไม่ได้กินอาหาร มาหลายวัน และหยิบกล้วยทอดเพียงหนึ่งชิ้นเพื่อให้ลูกสาววัยห้าขวบได้กิน และก็ถูกจับได้เช่นกัน จากอุทาหรณ์ทั้งสองจะเห็นได้ว่า หากปรับกฎหมายกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นอย่างเคร่งครัดตามถ้อยคําของ บทบัญญัติของมาตรา 334 แห่งประมวลกฎหมายอาญาแล้ว การกระทําของทั้งนายดําและนางแดงต่างเข้าลักษณะ ความผิดฐานลักทรัพย์ แต่ความรู้สึกของสาธารณชนที่ได้ทราบเรื่องดังกล่าวต่อเหตุผลที่เกิดกับโทษที่ปรับใช้กับบุคคล ทั้งสองย่อมแตกต่างกัน โดยกรณีของนายดํา ทุกคนคงเห็นด้วยและสมใจที่อันธพาลอย่างนายดําต้องได้รับโทษตาม กฎหมาย แต่สําหรับกรณีนางแดง ความรู้สึกของคนส่วนใหญ่หรือแม้แต่แม่ค้าที่ขายกล้วยทอดเองคงไม่มีความรู้สึก สมใจเช่นเดียวกับกรณีนายดํา ตรงกันข้าม บางทีอาจรู้สึกหดหู่ใจร่วมด้วยกับนางแดง และเห็นว่าการที่ต้องลงโทษ นางแดงตามตัวบทกฎหมายโดยเคร่งครัดจะไม่เป็นธรรม กรณีตามอุทาหรณ์นี้ หากเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายประสงค์จะช่วยเหลือให้นางแดงไม่ต้องรับโทษทัณฑ์ หรือได้รับโทษทัณฑ์สถานเบากว่านายดํา ก็ต้องหาเหตุผลทางกฎหมายที่เหมาะสม ซึ่งสามารถวางเป็นเกณฑ์ปฏิบัติ และไม่ผิดหลักกฎหมายมาอธิบาย มิเช่นนั้นแล้วก็จะกลายเป็นการเลือกปฏิบัติ และทําให้ระบบกฎหมายเสียความ ยุติธรรมไป **กิจกรรม 5.1.3** การใช้เหตุผลในกฎหมายที่ดีมีความสําคัญอย่างไร **แนวตอบ**กิจกรรม **5.1.3** การใช้เหตุผลในกฎหมายที่ดีมีความสําคัญ คือ สามารถอํานวยความยุติธรรมแก่ผู้เกี่ยวข้องได้ตาม ความเหมาะสมแก่กรณี และเป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไป 182 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ*กฎหมาย*ทั่วไป **ตอนที่ 5.2** **การวิเคราะห์หาเหตุผลในกฎหมาย** โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 5.2 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป **หัวเรื่อง** **แนวคิด** 5.2.1 เหตุผลของผู้ร่างกฎหมาย 5.2.2 ความเป็นธรรมของกฎหมาย 5.2.3 การนําผลการวิเคราะห์หาเหตุผลในกฎหมายมาใช้ประโยชน์ 1. กฎหมายสร้างขึ้นโดยผู้ร่างกฎหมายด้วยเหตุผลหรือเจตนารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยผู้ร่างกฎหมาย จะกําหนดโครงสร้างและกลไกของกฎหมาย และเขียนบทบัญญัติเพื่อให้กฎหมายบรรลุเจตนารมณ์ ตามที่ได้มุ่งหมายไว้ การจะหยั่งทราบเหตุผลในกฎหมายจึงสามารถกระทําได้โดยการค้นหาเหตุผล ของผู้ร่างกฎหมายได้ทางหนึ่ง 2\. เมื่อกฎหมายได้ถูกตราขึ้นแล้ว นักกฎหมายฝ่ายหนึ่งเห็นว่าตัวกฎหมายนั้นเองในสิ่งแสดงเจตนารมณ์ หรือเหตุผลในตัวเอง การวิเคราะห์หาเหตุผลของกฎหมายจึงพิจารณาได้จากความเป็นธรรมของ กฎหมายนั้นเอง 3\. เหตุผลในกฎหมายจะถูกนํามาใช้เมื่อมีการใช้กฎหมาย เมื่อผู้ใช้กฎหมายได้ทําการวิเคราะห์เพื่อ หาเหตุผลในกฎหมายได้โดยอาศัยกระบวนการต่างๆ แล้ว จะสามารถนําเหตุผลนั้นมาใช้อธิบายคํา วินิจฉัยของตนทั้งในการพิจารณาคดี และการให้ความเห็นทางกฎหมายโดยทั่วไปได้อย่างสมเหตุ สมผลและมีความเป็นธรรม **วัตถุประสงค์** เมื่อศึกษาตอนที่ 5.2 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ 1\. อธิบายเกี่ยวกับเหตุผลของผู้ร่างกฎหมายได้ 2. อธิบายเกี่ยวกับความเป็นธรรมของกฎหมายได้ 3\. อธิบายเกี่ยวกับการนําผลการวิเคราะห์หาเหตุผลในกฎหมายมาใช้ประโยชน์ได้ เรื่อง**ที่ 5.2.1 เหตุผลของผู้ร่างกฎหมาย** ในการใช้กฎหมายมีหลักการใช้กฎหมายเพื่อความเป็นธรรมอยู่ข้อหนึ่งว่า การใช้กฎหมายให้ตรงกับ เจตนารมณ์ คือการสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น การใช้เหตุผลที่ดี เหมาะสม และสร้างความเป็นธรรม ก็คือการใช้กฎหมายตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย และการวิเคราะห์เพื่อจะได้เหตุผลเพื่อความเป็นธรรมดังกล่าว ก็เป็นกระบวนการเดียวกับการค้นหาเจตนารมณ์ของกฎหมายนั่นเอง การค้นหาเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ทางหนึ่ง คือการค้นหาเหตุผลของผู้บัญญัติกฎหมายหรือผู้ร่างกฎหมาย ซึ่งสามารถหาได้จากบันทึกหลักการและเหตุผลประกอบร่างกฎหมาย หรือเหตุผลท้ายพระราชบัญญัติ ต้นร่างของ กฎหมาย รายงานการประชุมพิจารณาร่างกฎหมาย ทั้งในระดับฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ตลอดจนคําอภิปราย ในรัฐสภา ทั้งนี้ เนื่องจากในการตรากฎหมายขึ้นฉบับหนึ่งย่อมมีประวัติความเป็นมา เช่น เหตุผลเพื่อการกําหนดสิทธิ หน้าที่ของบุคคล เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น หรือเพื่อรองรับสิ่งใหม่ๆ หรือพัฒนาสังคมให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อผู้ใช้กฎหมาย จําเป็นต้องนํากฎหมายมาใช้บังคับ และต้องให้เหตุผลในการปรับใช้กฎหมายดังกล่าว ก็สามารถหยิบยกเจตนารมณ์ ของกฎหมาย หรืออีกนัยหนึ่งคือ เหตุผลของผู้ร่างกฎหมายมาอธิบายในการใช้เหตุผลในคดีนั้นๆ ได้ ตัวอย่างเช่น **ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา**ตามบันทึก เรื่อง อํานาจนําทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยมาจัดการเพื่อ ประโยชน์ของมหาวิทยาลัย (กรณีทรัพย์สินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) 1 ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอหารือ ความ ว่า "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความประสงค์จะนําที่ดินบางส่วนที่ยังไม่จําเป็นต้องใช้เป็นสถานศึกษาของมหาวิทยาลัย ไปจัดการเพื่อหารายได้มาใช้ประโยชน์บํารุงการศึกษาของมหาวิทยาลัยจะทําได้หรือไม่" สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมาย กองที่ 2) มีความเห็นว่า แม้ว่าในคําปรารภของพระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินฯ ดังกล่าว จะกําหนดว่า "สมควรโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ตําบลปทุมวัน อําเภอปทุมวัน จังหวัด พระนคร ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อเป็นสถานศึกษาและค้นคว้าในศาสตร์ต่างๆ และเพื่อจะส่งเสริมวิชาชีพชั้นสูง และทํานุบํารุงวัฒนธรรมแห่งชาติสืบไป" ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏชัดจากเหตุผลในการตราพระราชบัญญัติฉบับนี้ว่า "เพื่อ ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ที่ดินนี้ไว้เป็นกรรมสิทธิ์เพื่อจัดหาผลประโยชน์บํารุงมหาวิทยาลัย" แล้ว ก็อาจเข้าใจ ความหมายของคําปรารภดังกล่าวได้ว่า มีความมุ่งหมายเพียงแสดงวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยว่ามีเพียงใดเท่านั้น มิได้มีความหมายว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะนําที่ดินรายนี้ไปทําประโยชน์อย่างอื่นนอกเหนือจากการเป็นสถาน ศึกษาไม่ได้ การที่สภามหาวิทยาลัยจะนําที่ดินดังกล่าวไปจัดหาผลประโยชน์บํารุงมหาวิทยาลัยจึงไม่เป็นการขัดต่อ วัตถุประสงค์ในการใช้ที่ดินและขัดต่อพระราชบัญญัติดังกล่าวนั้นแต่อย่างใด คําพิพากษา**ฎีกาที่** 8176/2543 พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 25 วรรคหนึ่ง ได้ วางหลักเกณฑ์ในการดําเนินคดีมาฟ้องต่อศาลเมื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนยังไม่พอใจจํานวนเงินค่าตอบแทนไว้เป็น 2 กรณี กรณีแรก รัฐมนตรีได้วินิจฉัยเสร็จสิ้นภายในกําหนดหกสิบวันนับแต่ได้รับอุทธรณ์ตามมาตรา 25 วรรคสอง ซึ่ง ผู้อุทธรณ์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคําวินิจฉัยของรัฐมนตรี และในกรณีที่สอง รัฐมนตรี มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกําหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง กําหนดเวลาฟ้องคดีภายในหนึ่งปี จะเริ่ม นับแต่วันพ้นหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์ ไม่ได้นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคําวินิจฉัยของรัฐมนตรี เพราะจะ เป็นเหตุให้กําหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลทอดยาวนานออกไปตามแต่เวลาที่รัฐมนตรีจะใช้วินิจฉัยอุทธรณ์โดยไม่มี กําหนดเวลาที่แน่นอน ซึ่งยังไม่สอดคล้องกับถ้อยคําของมาตรา 25 วรรคสอง และมาตรา 26 วรรคหนึ่ง **ทั้งขัด**กับ เหตุผล**และเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการ**เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ **ที่ประสงค์ให้การ**เวนคืน อสังหาริมทรัพย์**เป็น**ไปโดยรวดเร็ว คําพิพากษาฎีกาที่ 8880/2542 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 75 วรรคหนึ่ง มีเจตนารมณ์ คุ้มครองนายจ้างที่ต้องประสบวิกฤตการณ์ในการดําเนินกิจการ*ซึ่งมิใช่*เหตุสุดวิสัย ส่งผลกระทบกระเทือนแก่*กิจการ ของ*นายจ้างอย่างรุนแรง จนถึงขั้นมีความจําเป็นต้อง*หยุด*กิจการทั้งหมด*หรือ*บางส่วน*เป็นการชั่วคราว* อันเป็นการ ให้สิทธิแก่นายจ้างที่จะไม่ให้ลูกจ้างทั้งหมดหรือบางส่วนทํางานเป็นการชั่วคราว โดยไม่เลือกปฏิบัติว่าลูกจ้างที่จะให้ หยุดการทํางานชั่วคราวนั้นเป็นกรรมการลูกจ้างหรือไม่ ทั้งนี้ เพื่อให้นายจ้างมีโอกาสแก้ไขวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นให้ หมดไปหรือบรรเทาลง และได้กําหนดมาตรการควบคุมไว้ในมาตรา 75 วรรคสอง **หากปรากฏใน**ภายหลัง**ว่านายจ้าง** กล่าวอ้าง**ยกเหตุจําเป็นต้องหยุดกิจการเป็นความเท็จ**เพื่อ**เอาเปรียบลูกจ้าง ลูกจ้างก็**ชอบที่จะใช้สิทธิฟ้อง**ต่อศาล** แรงงานเรียกค่าเสียหาย รวมทั้งสิทธิ**ประโยชน์ต่างๆ หากมีตามสัญญาจ้าง**หรือข้อ**ตกลงเกี่ยวกับ**สภาพการจ้างจาก นายจ้าง**ได้** กิจกรรม 5.2.1 การวิเคราะห์หาเหตุผลของผู้ร่างกฎหมายมีประโยชน์ในการใช้เหตุผลในกฎหมายอย่างไร **แนวตอบ**กิจกรรม 5.2.1 การวิเคราะห์หาเหตุผลของผู้ร่างกฎหมายมีประโยชน์ในการใช้เหตุผลในกฎหมายเพราะจะทําให้วินิจฉัยคดี ได้ตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย มิใช่เป็นเหตุผลที่ผู้ใช้กฎหมายนึกคิดขึ้นเอง เรื่องที่ 5.2.2 **ความเป็นธรรมของกฎหมาย** การวิเคราะห์หาเหตุผลของกฎหมาย นอกจากจะค้นหาได้จากเหตุผลของผู้ร่างกฎหมายหรือผู้บัญญัติ กฎหมายแล้ว ยังสามารถวิเคราะห์ประกอบได้จากความเป็นธรรมของตัวกฎหมายนั้นเอง แม้กระทั่งในทางทฤษฎีว่า ด้วยเจตนารมณ์ของกฎหมายบางทฤษฎี เช่น ทฤษฎีอําเภอการณ์ (Objective Theory) ยังมองเลยไปถึงว่า ไม่จําเป็น ต้องค้นหาเจตนารมณ์ของผู้บัญญัติกฎหมายด้วยซ้ํา แต่ให้ค้นคว้าหาว่าบทบัญญัติของกฎหมายนั้นมีความมุ่งหมาย อย่างไร เป็นการตีความโดยคํานึงถึงคุณค่าแห่งคําพิพากษา โดยบทกฎหมายนั้นยังมีถ้อยคําอยู่ตามเดิม แต่อาจนําบท กฎหมายนั้นมาใช้ให้เหมาะสมกับความก้าวหน้าในการพาณิชย์และในทางวิชาการ โดยคํานึงถึงเจตนารมณ์ของ กฎหมายเท่าที่ถ้อยคําของกฎหมายจะเปิดช่องให้ทําเช่นนั้นได้ ทําให้กฎหมายทันสมัยอยู่เสมอ เช่น แม้กฎหมายจะได้ บัญญัติก่อนหน้าที่จะมีวิทยุโทรทัศน์ ก็สามารถนํากฎหมายนั้นมาใช้แก่การทําสัญญาทางวิทยุโทรทัศน์โดยการตีความ กฎหมายได้ 12 อย่างไรก็ดี ในการค้นหาเจตนารมณ์หรือเหตุผลจากตัวกฎหมาย นักกฎหมายส่วนใหญ่มักพิจารณาประกอบ กันทั้งเหตุผลของผู้ร่างกฎหมายและเหตุผลจากตัวบทกฎหมาย ตัวอย่างเช่น **ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา** ตามบันทึก เรื่อง ผู้มีสิทธิได้รับการจัดที่ดินตามพระราชบัญญัติการ ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 คณะกรรมการกฤษฎีกา (ที่ประชุมใหญ่กรรมการร่างกฎหมาย) มีความ เห็นบางประเด็นดังนี้ ข้อ 2 การที่ ส.ป.ก. เข้าใจว่าการจัดที่ดินตามมาตรา 30 วรรคหนึ่ง เป็นเรื่องที่ ส.ป.ก. จะจัด ที่ดินให้กับเกษตรกรผู้ใดหรือไม่ก็ได้ตาม แต่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะกําหนดหลักเกณฑ์ ส่วน การจัดที่ดินตามมาตรา 30 วรรคสาม เป็นการจัดให้แก่เกษตรกรที่ถือครองที่ดินของรัฐอยู่แล้ว โดยเมื่อเกษตรกรดัง กล่าวยื่นคําร้องและปฏิบัติตามที่กําหนดในมาตรา 30 วรรคสามและวรรคสี่แล้ว กรณีเป็นบทบังคับ ซึ่ง ส.ป.ก.จะต้อง จัดที่ดินให้แก่เกษตรกรรายนั้น ความเข้าใจดังกล่าวจะถูกต้องหรือไม่นั้น เห็นว่า มาตรา 30 วรรคสาม เป็นบทบัญญัติ ที่เพิ่มเติมเข้ามาใหม่ โดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2532 ซึ่งในชั้นการ พิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร (รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 8 ถึง ครั้งที่ 11 สมัยสามัญ เล่มที่ 4 พ.ศ. 2532 หน้า 76-77, 96-98 และ 172-175) ได้มีการอภิปรายถึงการแก้ปัญหาผู้ที่บุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ โดยการจัด ที่ดินให้ตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม แต่ก็ไม่มีที่ใดในเหตุผลท้ายพระราชบัญญัติหรือใน รายงานการประชุมของสภาผู้แทนราษฎรที่เพียงพอจะถือได้ว่ามีเจตนารมณ์จะจัดที่ดินให้แก่ผู้บุกรุกที่ป่าสงวนโดยทั่วๆ ไปทุกคน ประกอบกับบทบัญญัติ มาตรา 30 วรรคสาม ก็มิได้แจ้งชัดเป็นเช่นนั้น อนึ่ง ในการพิจารณาร่างกฎหมาย ต่างๆ นั้น แม้อาจมีผู้อภิปรายในการประชุมร่างกฎหมายกันอย่างหนึ่ง แต่เมื่อตัวบทมิได้บัญญัติข้อความไว้เช่นนั้น การ ใช้กฎหมายก็จําต้องยึดถือตัวบทเป็นหลัก บทบัญญัติวรรคสามนี้จึงต้องตีความให้สอดคล้องกับบทบัญญัติส่วนอื่น ของพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ ด้วย **คําพิพากษาฎีกาที่** 5522/2543 ที่โจทก์ฎีกาว่า ข้อความที่ว่าราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของ อสังหาริมทรัพย์ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 21 (1) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มิใช่หมายความถึงวันแรกที่ใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาเท่านั้น น่าจะแปลตั้งแต่วันเริ่มใช้จนถึงวันสิ้นสุดการ ใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา มาตรา 21 (1) ดังกล่าว จึงต้องแปลว่าเป็นราคาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดของ อสังหาริมทรัพย์ในวันใดวันหนึ่งตลอดเวลาที่พระราชกฤษฎีกากําหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อขยายทาง หลวงแผ่นดินหมายเลข 3 สายกรุงเทพฯ - ตราด ตอนอําเภอเมืองสมุทรปราการ - บ้านตําหรุ พ.ศ. 2532 มีผลใช้ บังคับอยู่นั้นเห็นว่า ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวบัญญัติให้พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับได้มีกําหนดสี่ปี หากแปลวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาเป็นวันใดวันหนึ่งตลอดเวลาที่พระราชกฤษฎีกานั้นมีผลใช้บังคับอยู่ ก็จะทําให้ วันอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกําหนดราคาอสังหาริมทรัพย์แตกต่างกัน โดยเฉพาะระหว่างวันแรกและวันสุดท้ายของการ ใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาห่างกันถึงสี่ปี ราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่จะเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกําหนดเงินค่าทดแทนให้ แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนย่อมสูงขึ้นหรือต่ําลงตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศตามวันเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป จึง ไม่อาจถือเอาเป็นที่แน่นอนได้ ซึ่งมิใช่วัตถุประสงค์ของผู้บัญญัติกฎหมายที่มุ่งหมายจะให้เป็นเช่นนั้น ดังนั้น ในวันใช้ บังคับพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 21 (1) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 จึงหมาย ถึงวันเริ่มใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา ดังจะเห็นได้ว่า ในกรณีที่เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่จ่ายเงิน ค่าอสังหาริมทรัพย์ล่าช้ากว่าที่กําหนดไว้ในมาตรา 11 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ในมาตรา *33 ก็ได้* บัญญัติให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าอสังหาริมทรัพย์หรือ*เงินค่าทดแทนได้*รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงิน*ฝาก* ประเภท*ฝากประจํา*ของธนาคารออมสิน ในจํานวนเงินดังกล่าว*นับ*แต่วันที่พ้นกําหนดเวลาการจ่ายเงินค่า อสังหาริมทรัพย์หรือเงิน*ค่า*ทดแทน ซึ่งเป็นการชดเชยความเสียหายให้แก่ผู้มีสิทธิ*ได้*รับ*เงินค่าทดแทน*ที่ได้รับ*เงินค่า* อสังหาริมทรัพย์หรือ*เงินค่าทดแทนช้าไป* ฎีกาของโจทก์ส่วนนี้ฟังไม่ขึ้น **กิจกรรม 5.2.2** การวิเคราะห์หาเหตุผลจากความเป็นธรรมของกฎหมายสามารถพิจารณาได้จากสิ่งใด **แนว**ตอบ**กิจกรรม** 5,2.2 การวิเคราะห์หาเหตุผลจากความเป็นธรรมของกฎหมายสามารถพิจารณาได้จากตัวบทบัญญัติของ กฎหมายนั้นเองตามทฤษฎีอําเภอการณ์ อย่างไรก็ดี ในการใช้กฎหมาย นักกฎหมายส่วนใหญ่มักพิจารณา ประกอบกับเหตุผลของผู้ร่างกฎหมายและหลักการตีความกฎหมายต่างๆ **ด้วย** **เรื่องที่ 5.2.3** **การนําผลการวิเคราะห์หาเหตุผลในกฎหมายมาใช้ประโยชน์** นักกฎหมายไทยบางท่าน ในระบบกฎหมายของไทย อาจแบ่งแยกพิจารณาในเรื่องของเหตุผลได้เป็น 2 กรณี คือ 1) เหตุผลในตัวบทกฎหมาย และ 2) เหตุผลในอรรถคดี แต่โดยที่หลักการร่างกฎหมายปัจจุบันไม่ได้มีการกล่าว ถึงเหตุผลแห่งการบัญญัติกฎหมายไว้ในตัวบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั่นเอง แต่จะไปปรากฏอยู่ในส่วนของเหตุผลของ การตรากฎหมายนั้น ซึ่งไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมาย และประโยชน์ในการค้นหาของเจตนารมณ์ของกฎหมายใน กรณีที่ต้องมีปัญหาต้องตีความกฎหมาย และหัวข้อนี้ไม่เกี่ยวกับการร่างกฎหมายโดยตรง ในหัวข้อเอกสารการสอนนี้ จึงมุ่งเน้นการใช้เหตุผลในทางกฎหมายในประการที่สอง ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าเหตุผลในอรรถคดีในที่นี้มีความหมายกว้าง โดยหมายถึงการให้ความเห็นในการพิจารณาวินิจฉัยข้อพิพาท ตลอดจนการให้ความเห็นทางกฎหมายของ นักกฎหมายโดยทั่วไปด้วย และอาจแยกออกพิจารณาได้เป็น 2 เรื่องด้วยกัน คือ 1\. เหตุผลในปัญหาข้อกฎหมาย และ 2. เหตุผลในปัญหาข้อเท็จจริง เรื่องใดเป็นปัญหาข้อกฎหมายหรือปัญหาข้อเท็จจริงนั้น ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร 6 เคยอธิบายไว้ดังนี้ "ปัญหาข้อกฎหมาย ได้แก่ ปัญหาใดก็ตามที่เกี่ยวกับ 1\) การตีความกฎหมาย (ยกเว้นกฎหมายของต่างประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความต้องนําสืบ) 2) การตีความคําคู่ความ นิติกรรม สัญญา และเอกสารอื่นๆ หรือ 3\) การปรับบทกฎหมายเข้ากับพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นจริงๆ ในคดี ปัญหาข้อเท็จจริง ได้แก่ ปัญหาใดก็ตามที่เกี่ยวกับ 1\) พฤติการณ์ที่เกิดขึ้นจริงๆ ในคดี ซึ่งคู่ความ (คู่กรณี) ต้องนําสืบพยาน หรือ 2) เรื่องที่ศาลใช้ดุลพินิจตามสมควรแก่รูปคดี ในเอกสารการสอนนี้ ผู้เขียนจะกล่าวถึงแต่การใช้เหตุผลในกฎหมายในการทําความเห็นเพื่อวินิจฉัยปัญหา ข้อกฎหมายส่วนการใช้เหตุผลในการวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงโดยหลักต้องเป็นเหตุผลที่สกัดเอามาจากข้อเท็จจริงในคดี (หรือข้อหารือ) นั้นเอง และจะต้องสอดคล้องกับสามัญสํานึกด้วยเสมอ มิฉะนั้นจะไม่มีโอกาสจูงใจต่อศาลหรือผู้ใดให้ คล้อยตามได้เลย และวิธีการให้เหตุผลก็เป็นไปตามหลักตรรกวิทยา ซึ่งได้กล่าวไปแล้ว จึงไม่ขอกล่าวในที่นี้อีก ซึ่ง เมื่อผู้ใช้กฎหมายได้ทําการวิเคราะห์เพื่อหาเหตุผลในกฎหมายได้โดยอาศัยกระบวนการต่างๆ แล้ว จะสามารถนํา เหตุผลนั้นมาใช้อธิบายคําวินิจฉัยของตนทั้งในการพิจารณาคดี และการให้ความเห็นทางกฎหมายโดยทั่วไปได้อย่าง สมเหตุสมผลและมีความเป็นธรรม ตัวอย่างของการนําเหตุผลที่วิเคราะห์ได้มาใช้ในการให้ความเห็นทางกฎหมาย เช่น เหตุผลเกี่ยวกับการออก "ใบ**อนุญาต**" ให้บุคคลดําเนินกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ใบอนุญาตก่อสร้างอาคารตามกฎหมายควบคุมอาคาร และ "การอนุญาต" ให้บุคคลกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดตามกฎหมายดังกล่าว เช่น การออกใบรับแจ้งก่อสร้างอาคาร มี ความแตกต่างกัน ซึ่งทําให้สามารถวินิจฉัยได้ว่า ผู้อุทธรณ์คําขอสามารถกระทําการเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารต่อไป ได้หรือไม่ ดังนี้ ความเห็น**ของคณะ**กรรมการ**กฤษฎีกา** (ที่ประชุมร่วมกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 4 คณะที่ 7 และคณะที่ 8) ตามบันทึกสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง การก่อสร้างอาคารที่ได้แจ้งตามมาตรา 39 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคารฯ ในกรณีมีข้อบัญญัติท้องถิ่นห้ามก่อสร้างอาคารในภายหลัง18 โดยผู้อุทธรณ์ได้รับใบรับหนังสือแจ้ง ความประสงค์จะก่อสร้างอาคาร มีกําหนดอายุใบรับแจ้ง 1 ปี แต่ผู้อุทธรณ์ไม่สามารถดําเนินการก่อสร้างอาคารให้แล้ว เสร็จได้ตามระยะเว