บทที่ 3 วิธีการสอน PDF

Summary

เอกสารนี้เป็นบทที่ 3 ของหนังสือเรียนหรือเอกสารประกอบการสอนเกี่ยวกับวิธีการสอนต่างๆ ในการสอนภาษาไทย อธิบายและจัดประเภทวิธีการสอนที่หลากหลาย รวมถึงกิจกรรมการเรียนการสอนและเกณฑ์การพิจารณาเลือกใช้วิธีการสอนแต่ละแบบ

Full Transcript

บทที่ 3 วิธีการสอน เนื้อหาในการสอน 1. ความหมายของวิธีสอน 7. วิธีสอนแบบแก้ปัญหาหรือแบบวิทยาศาสตร์ 2. ประเภทของวิธีสอน 8. วิธีสอนโดยใช้บทบาทสมมุติ 3. วิธีสอนแบบบรรยาย 9. วิธีสอนแบบศูนย์การเรียน 4. วิธีสอนแบบสาธิต 10. กา...

บทที่ 3 วิธีการสอน เนื้อหาในการสอน 1. ความหมายของวิธีสอน 7. วิธีสอนแบบแก้ปัญหาหรือแบบวิทยาศาสตร์ 2. ประเภทของวิธีสอน 8. วิธีสอนโดยใช้บทบาทสมมุติ 3. วิธีสอนแบบบรรยาย 9. วิธีสอนแบบศูนย์การเรียน 4. วิธีสอนแบบสาธิต 10. การสอนแบบบันได 5 ขั้น 5. วิธีสอนแบบอภิปราย 11. การสอนแบบบันได 6 ขั้น 6. วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม 12. เกณฑ์การพิจารณาเลือกใช้วิธีสอน กิจกรรมก่อนเรียน (เก็บคะแนน) แบ่ ง กลุ ่ ม กลุ ่ ม ละ 4 คน และให้ ห าวิ ธ ี ก ารสอนที ่ เ หมาะสมกั บ รายวิ ช า ภาษาไทยอย่างน้อยกลุ่มละ 2 วิธีการ (ห้ามซ้ำกัน) พร้อมทั้งบอกข้อดีและข้อจำกัด ของวิธีการสอนประเภทนั้น ๆ และออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน ความหมายของวิธีสอน ทิศนา แขมมนี (2555) ให้ความหมายไว้ว่า วิธ ีสอน คือ ขั้นตอนในการ ดำเนินการสอนให้สำเร็จด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่แตกต่างกันไปตามองค์ประกอบและ ขั้นตอนสำคัญอันเป็นลักษณะเฉพาะ หรือลักษณะเด่นที่ขาดไม่ได้ของวิธีนั ้น ๆ ประเภทของวิธีสอน 1. วิธีสอนแบบครูศูนย์กลาง (Teacher-centered Method) 2. วิธีสอนแบบนักเรียนเป็นศูนย์กลาง (Student-centered Method) **** ไม่มีวิธีสอนใดที่ดีที่สุด แต่ครูผู้สอนต้องเลือกวิธีสอนที่เหมาะสมกับรายวิชา กิจกรรมการเรียนการสอน และผู้เรียน วิธีการสอนแบ่งออกได้หลายประเภท เช่น สอนแบบบรรยาย สอนแบบสาธิต สอนแบบอภิปราย สอนแบบแบ่งกลุ่มทำ สอนแบบแก้ปัญหาหรือ สอนแบบสืบสวน กิจกรรม แบบวิทยาศาสตร์ สอบสวน สอนโดยใช้บทบาท สอนโดยใช้สถานการณ์ สอนแบบศูนย์การเรียน สมมุติ จำลอง การสอนแบบบันได 5 ขั้น การสอนแบบบันได 6 ขั้น วิธีสอนแบบบรรยาย เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนพูด อธิบาย เนื้อหาหรือเรื่องราวต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียน โดย ที่ผู้สอนเป็นฝ่ายเตรียมการศึกษาค้นคว้าเนื้อ เรื่องมาแล้วเป็นอย่างดี ผู้เรี ยนเป็นฝ่าย มารับผลการศึกษาค้นคว้านั้น โดยทั่วไปมักจะเป็ นการสื่อความหมายทางเดียว คื อ จากผู้สอนไปสู่ผู้เรียน โดยผู้เรียนจะมีส่วนร่ วมในกิจกรรมการเรียนการสอนน้อย เพียงแต่ฟังจดบันทึกหรือซักถามบางครั้ง วิธีสอนแบบนี้จะยึดบทบาทของผู้สอนเป็น หลักสำคัญ ความมุ่งหมาย 1. เพื่อให้ความรู้หรือประสบการณ์ใหม่แก่ผู้เรียน เป็นความรู้ที่ค้นคว้าหาได้ ยากหรือเป็นประสบการณ์เฉพาะของผู้สอนเอง 2. เพื่อช่วยนำทางในการอ่านหนังสือของผู้เรียน และช่วยสรุปประเด็นสำคัญ ในกรณีที่ผู้สอนมอบหมายให้ไปอ่านมาล่วงหน้าแล้ว 3. เพื่อมุ่งถ่ายทอดความรู้ให้ผู้เรียนได้อ ย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยในเวลาอัน จำกัด ข้อดีและข้อจากัดของวิธีการสอนแบบบรรยาย ข้อดี 1. สามารถสอนกับผู้เรียนจำนวนมากได้ เป็นการประหยัดพลังงาน และเวลาของผู้สอน 2. สะดวกในการให้เนื้อหาทางทฤษฎีแก่ผู้เรียน 3. ผู้สอนสามารถดำเนินการคนเดียวได้ 4. สามารถที่จะปรับปรุงเนื้อหา วิธีการให้เหมาะสมกับผู้ฟัง เวลา และองค์ประกอบอื่น ๆ ได้ ดีกว่าวิธีอื่น 5. สามารถสรุปเนื้อหาจากที่ต่าง ๆ เข้าเป็นกลุ่มก้อนได้ง่าย 6. ผู้เรียนไม่ต้องทำงานมาก และรับรู้เรื่องที่เรียนตรงกันและพร้อมกัน 7. ให้ความรู้แก่ผู้เรียนได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ได้เนื้อหามาก กว้างขวาง และเที่ยงตรง ข้อจากัด 1. การบรรยายไม่คำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียน เพราะผู้ต้องรับและรู้เรื่องเดียวกันเวลา เดียวกัน 2. ผู้เรียนไม่มีโอกาสแสดงความคิดเห็น (บางครั้งมีได้บ้างแต่น้อย) ทำให้ขาดโอกาสในการฝึก ความคิดวิเคราะห์ 3. การบรรยายที่ดีต้องอาศัยทักษะและเทคนิคการพูดที่เร้าความสนใจ ซึ่งไม่สามารถทำได้ ทุก ๆ คน 4. ส่งเสริมให้ผู้เรียนจด ท่องจำ มากกว่าการศึกษาด้วยตนเอง 5. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนน้อย ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย หมดความสนใจได้ง่าย 6. ใช้ได้เหมาะสมดีเฉพาะผู้เรียนระดับอุดมศึกษา ซึ่งมีสมาธิ และความสนใจฟังบรรยายได้นาน กว่านักเรียน การนาวิธีสอนแบบรรยายไปใช้ 1. ใช้การสอบแบบบรรยายร่วมวิธีการสอนอื่นได้ เช่น ใช้การบรรยายคู่กับการอภิปราย การบรรยายกับการสาธิต 2. ใช้ทักษะการสอนหลายๆ แบบเพื่อเสริมการบรรยายให้น่าสนใจ เช่น ใช้ท่าทาง การใช้คำถาม การเสริมกำลังใจ 3. ควรมีเอกสารเติมเพื่อขยายความรู้ให้กว้างขวางกว่าที่ครูบรรยายหรืออาจเป็นหัวข้อประเด็นสำคัญ 4. ควรให้ผู้เรียนเกิดความพร้อมในการฟังเสียก่อน และควรใช้เทคนิคการจูงใจ เร้าความสนใจให้เหมาะสม 5. ควรใช้วิธีการบรรยาย เมื่อ... เมื่อต้องการเสนอข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป หรือข้อมูลที่ไม่ต้องการพิสูจน์อะไรมากนัก เมื่อต้องการให้ผู้เรียนได้รู้เนื้อหาสาระของบทเรียนตามขั้นตอนของหลักสูตรแต่มีเวลาจำกัด เมื่อต้องการให้ผู้เรียนได้รับความรู้พื้นฐานที่ผู้เรียนยังไม่เคยได้เรียนหรือเคยรับรู้มาก่อน เมื่อต้องการสรุปบทเรียนหรือสิ่งที่ได้ศึกษาค้นคว้ามาแล้ว เมื่อต้องการจะทบทวนบทเรียนที่ได้เรียนไปแล้วให้แก่ผู้เรียน วิธีการสอนแบบสาธิต เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง อาจเป็นวิทยากรที่ผู้สอนเชิญมา แสดงหรือกระทำให้ดูเป็นตัวอย่างพร้อม ๆ กับการบอก อธิบาย เพื่อให้ผู้เรียนได้ ประสบการณ์ตรงในเชิงรูปธรรม ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการสังเกตกระบวนการ ขั้นตอนการสาธิตนั้น ๆ เช่น สาธิตการอ่านออกเสีย งคำควบกล้ำ สาธิตการเขียน พยัญ ชนะ เป็ นต้ น ซึ่ ง เป็ นการสอนที่ ย ึด ผู้ ส อนเป็ น ศู นย์ ก ลางเพราะผู ้ สอนเป็ น ผู้ดำเนินการวางแผน และลงมือปฏิบัติ ผู้เรีย นอาจจะมีส่ว นร่ว มบ้างแต่ก็เพีย ง เล็กน้อย ข้อดีและข้อกาจัดของวิธีสอนแบบสาธิต ข้อดี 1. ประหยัดเวลาการลองผิดลองถูกของนักเรียน และประหยัดวัสดุในการสอนเมื่อ สาธิตให้ดูเป็นหมู่หรือทั้งชั้น 2. นักเรียนสามารถเข้าใจวิธีปฏิบัติได้ดีเพราะเป็นประสบการณ์ตรง มีตัวอย่างให้ดู จับต้องได้ และเห็นขั้นตอนในการปฏิบัติอย่างชัดเจน 3. เป็นการกระตุ้นการเรียนการสอนเพราะเปิดโอกาสให้นักเรียนร่วมกิจกรรม 4. เป็นการฝึกนักเรียนให้ผู้เรียนสังเกต หาเหตุผล และสรุปหลักเกณฑ์ได้ ข้อจากัด 1. ครูควรศึกษาภูมิหลังของนักเรียน และควรให้ความรู้พ้นื ฐานแก่นักเรียนก่อนดำเนินการสาธิต 2. ถ้าใช้กับนักเรียนกลุ่มใหญ่เกินไป ครูควรจะแน่ใจว่านักเรียนทั้งหมดเห็นการสาธิตอย่างทั่วถึง 3. ควรเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมกิจกรรมการสาธิตเท่าที่จะทำได้ 4. ครูควรเตรียม และฝึกทักษะในการแสดงเรื่องที่จะสาธิตให้พร้อม เพราะการสาธิตที่ติดขัด บกพร่องหรือมีอุบัติเหตุ อาจส่งผลเสียต่อการเรียนการสอน 5. โดยปกติการสาธิตจะใช้ควบคู่กับการบรรยายหรืออภิปราย ครูต้องเตรียมเนื้อหาการบรรยาย ให้ถูกต้อง ชัดเจน การนาวิธีการสอนแบบสาธิตไปใช้ 1. ในระหว่างที่ทำการสาธิต ผู้สอนต้องเอาใจใส่ต่อผู้เรียนทุกคน เพื่อให้ผู้เรียนทุกคนได้เห็น และสนใจการสาธิต 2. ถ้าผู้สอนเป็นผู้สาธิตเอง ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม เช่น ให้ผู้เรียน ออกมาแสดง หรือสาธิตบ้างเพื่อประเมินความเข้าใจ 3. ระหว่างที่ทำการสาธิต ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถามเพราะอาจมีบางจุดหรือบางตอน ที่ผู้เรียนสงสัย 4. ผู้สอนควรมั่นใจว่าการสาธิตนั้นๆ มีประโยชน์ต่อผู้เรียน 5. ในระหว่างการเรียนการสอนด้วยวิธีการสาธิต ผู้สอนไม่ควรบรรยายหรืออธิบายมาก จนเกินไปเพราะจะทำให้การสาธิตขาดความตื่นเต้นเร้าใจไป 6. ผู้สอนไม่ควรเร่งการสาธิตมากเกินไปจนทำให้ผู้เรียนตามไม่ทัน วิธีการสอนแบบอภิปราย เป็นวิธีสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนได้มีโอกาสสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือ พิจารณาหัวข้อที่กลุ่มมีความสนใจร่วมกัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหาคำตอบแนวทาง หรือเพื่อแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งร่วมกัน วิธีสอนแบบอภิปรายเป็นวิธีสอนแบบที่ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน มีลักษณะการเรียนรู้แบบกระตือรือร้น (Active Learning) เป็นการพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านความรู้ ด้านเจตคติ และด้านทักษะการ เรียนรู้ เช่น ทักษะการคิด การพูด การรับฟัง การแสดงความคิดเห็น การทำงาน ร่วมกับกลุ่ม เป็นต้น ความมุ่งหมาย 1. เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นร่วมกันเป็นการพัฒนาทักษะ การพูดและการคิด 2. เพื่อฝึกการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ฝึกการเป็นผู้นำ ผู้ตาม การรับฟังความ คิดเห็นของผู้อื่น และการเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่ม 3. เพื่อฝึกการค้นคว้าหาความรู้มาเพื่ออภิปรายให้ผู้อื่นรับทราบ ข้อดีและข้อจากัดของวิธีสอนแบบอภิปราย ข้อดี 1. ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และฝึกการ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น 2. ฝึกนิสัยความรับผิดชอบ การศึกษาค้นคว้าข้อมูลความรู้จากแหล่งต่าง ๆ 3. ส่งเสริมความกล้าคิด กล้าพูด กล้าตัดสินใจ กล้าแสดงออก 4. ฝึกความเป็นประชาธิปไตย เคารพสิทธิ และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 5. ผู้เรียนได้รับความรู้กว้างขวาง และได้รับประสบการณ์ตรงจากการเรียน 6. ผู้เรียนไม่เบื่อหน่ายในการเรียนเพราะเป็นผู้ปฏิบตั ิกิจกรรมตลอดการเรียน 7. ช่วยให้ผู้สอนรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคลดีขึ้น ทำให้ผู้สอนรู้ว่าใครกล้าพูด ใครสนใจ ตั้งใจ ข้อจากัด 1. ผู้เรียนบางส่วนที่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นจะไม่เกิดการเรียนรู้เท่าที่ควร 2. ต้องใช้ระยะเวลานานถ้าจะให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นอย่างทั่วถึง 3. ผู้เรียนต้องมีความรู้ ความเข้าใจ มีข้อมูลในเรื่องที่จะอภิปราย การนาวิธีสอนแบบอภิปรายไปใช้ 1. ผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นให้มาก 2. ผู้สอนควรเป็นผู้มีใจกว้าง มีน้ำใจเป็นประชาธิปไตย ยอมรับความคิดเห็นที่ได้จากการอภิปราย 3. ควรให้ผู้เรียนได้มีความพร้อมก่อนการอภิปราย โดยให้หาข้อมูลมาก่อนล่วงหน้า 4. ผู้สอนควรกำหนดหัวข้อหรือประเด็นการอภิปรายให้ชัดเจน และสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ 5. ขณะที่ผู้เรียนอภิปราย ผู้สอนควรเก็บรายละเอียดเพื่อนำมาสรุปบทเรียน วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทากิจกรรม เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนมอบหมายให้ผู้เรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ช่วยกัน ค้นคว้าหรือทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ เพื่อช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ในบทเรียนยิ่งขึ้น ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้ ดีเพราะได้ลงมือปฏิบัติงานด้ว ยตนเอง ความมุ่งหมาย 1. เพื่อฝึกทักษะการค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งวิทยาการต่าง ๆ 2. เพื่อฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่นจนเกิดทักษะกระบวนการกลุ่ม สามารถนำไปใช้เป็น ประโยชน์ในชีวิตได้ 3. เพื่อฝึกคุณลักษณะนิสัยผู้เรียน เช่น ความรับผิดชอบในการทำงาน ความมีระเบียบ วินัย ความตรงต่อเวลา ความซื่อสัตย์ ความมีน้ำใจ ฯลฯ 4. เพื่อฝึกทักษะการพูด การคิด การเขียนรายงาน การวิเคราะห์ การสรุป ฯลฯ 5. เพื่อฝึกความกล้าในการแสดงออก ข้อดีและข้อจากัดของวิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทากิจกรรม ข้อดี 1. ผู้เรียนได้ฝึกการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ฝึกหน้าที่ การเป็นผู้นำ ผู้ตาม ฝึกการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ฝึกการทำงานอย่างเป็นระบบ ฝึกความสามัคคี ฯลฯ 2. ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิด ค้นคว้า หาข้อมูลความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ด้วย ตนเอง ฝึกการเขียนรายงาน และฝึกการพูดเสนอผลงานต่อที่ประชุม 3. ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถ ความถนัด และความสนใจของ ผู้เรียนแต่ละคน 4. ผู้เรียนเรียนด้วยความกระตือรือร้น (Active Learning) เพราะได้ลงมือ ปฏิบัติกิจกรรมตลอดเวลา 5. วิธีนี้ผู้สอนสามารถใช้ประกอบการสอนได้ทุกวิชาที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้าด้วยตนเอง 6. ทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีในเวลาอันจำกัด เพราะผู้เรียนได้ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ข้อจากัด ถ้าผู้สอนไม่เตรียมขั้นตอนการสอน ไม่เตรียมสื่อการเรียนการสอน ไม่เตรียม งานมอบหมายมาอย่างกระจ่างชัดเจน ความสำเร็จของการสอนจะไม่บรรลุตาม เป้าหมาย การนาวิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทากิจกรรมไปใช้ 1. ผู้สอนต้องเตรียมการสอนและมอบหมายงานให้ผู้เรียนอย่างเหมาะสมกับวัย ความสามารถ เวลาเรียน 2. งานที่มอบหมายควรอยู่ในขอบเขตของหลักสูตร และเสริมความรู้ความเข้าใจในบทเรียนอย่างแท้จริง 3. ในกรณีที่มอบหมายงานให้แต่ละกลุ่มไม่เหมือนกัน ผู้สอนต้องกำหนดปริมาณและความยากง่ายของงานให้อยู่ใน ระดับใกล้เคียงกัน 4. ขณะที่ผู้เรียนทำงานกลุ่ม ผู้สอนต้องดูแลให้ผู้เรียนมีส่วนรับผิดชอบการทำงานกลุ่มทุกคน 5. ผู้สอนต้องเอาใจใส่ ดูแลให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ แนะนำ ผู้เรียน และย้ำระเบียบวินัยในการทำงานกลุ่ม 6. เมื่อผู้เรียนนำเสนอเสร็จผู้สอนควรสรุปความรู้ความคิด ประเด็นสำคัญของงานที่ผู้เรียนทำ 7. ผู้สอนควรเลือกใช้กิจกรรมกลุ่มหลายๆ ลักษณะเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากที่สุด เช่น เกม การแสดง 8. การจัดกลุ่ม จะมีสมาชิกมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมาย เวลา ลักษณะ เนื้อหา และกิจกรรมที่จะจัด (กลุ่มที่เหมาะสม คือ 4-5 คน) วิธีสอนแบบแก้ปัญหาหรือแบบวิทยาศาสตร์ เป็นวิธีสอนแบบแก้ปัญหา เน้นให้ผู้เรียนคิดแก้ปัญหาโดยใช้วิธีการทาง วิทยาศาสตร์ (Scientific Method) ซึ่งเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่มีขั้นตอน มีเหตุผล มีการ รวบรวมข้อมูล มีการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผล ผู้สอนต้องให้ผู้เรียนมองเห็น ปัญหา และกำหนดขอบเขตของปัญหา เช่น ใช้วิธีการเล่าเรื่อง สร้างสถานการณ์จำลอง ศึกษากรณีเฉพาะราย เป็นต้น ความมุ่งหมาย 1. ฝึกทักษะการสังเกต การเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ตีความ และสรุป 2. ฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาแบบวิทยาศาสตร์อันเป็นวิธีที่มีเหตุผล ซึ่งจะมี ประโยชน์ต่อการที่ผู้เรียนจะนำวิธีการไปใช้แก้ปัญหาที่พบในชีวิตประจำวันได้ 3. ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ พิจารณาหาเหตุผล และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 4. ฝึกความเชื่อมั่นในตัวเอง มีความคิดอิสระ และการทำงานเป็นกลุ่ม ข้อดีและข้อจากัดของวิธีสอนแบบแก้ปัญหา ข้อดี 1. ผู้เรียนได้ฝึกวิธีการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล ฝึกการคิดวิเคราะห์ และการ ตัดสินใจ 2. ผู้เรียนได้ฝึกการค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ 3. เป็นการฝึกการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม และฝึกความรับผิดชอบในงานที่ ได้รับมอบหมาย 4. ประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับการฝึกแก้ปัญหาจะมีประโยชน์ในการนำไปใช้ ในชีวิตจริงทั้งในปัจจุบันและอนาคต ข้อจากัด 1. ผู้เรียนต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ ถ้าผิดไปจะทำให้ได้ผลสรุป ที่คลาดเคลื่อนหรือผิดความจริงไป 2. ผู้เรียนจะต้องมีทักษะในการค้นคว้าหาข้อมูลจึงจะสรุปผลได้ดี 3. ถ้าผู้สอนไม่คุ้นเคยกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์อาจจำไปผิดทางได้ 4. การกำหนดปัญหา ถ้าเลือกปัญหาไม่ดีจะทำให้การเรียนการสอนไม่ได้ผล เท่าที่ควร การนาวิธีสอนแบบแก้ปัญหาไปใช้ 1. ปัญหาที่นำมาให้ผู้เรียนศึกษาควรเป็นปัญหาที่น่าสนใจ เหมาะสมกับวัย ประสบการณ์ของผู้เรียน และเป็น ประโยชน์ต่อผู้เรียน เช่น กรณีศึกษา ปัญหาการอ่านออกเสียง ปัญหาขยะในห้องเรียน 2. ถ้าผู้เรียนยังไม่เห็นปัญหา ผู้สอนควรใช้เทคนิคชี้นำให้ผู้เรียนคิดและมองเห็นปัญหา เช่น เทคนิคการถาม 3. ในการสอนต้องให้เวลาและให้อิสระแก่ผู้เรียนในการศึกษาค้นคว้า การวิเคราะห์และการสรุปผลข้อมูล 4. ผู้สอนควรควบคุมให้การแก้ปัญหาดำเนินไปด้วยดี และส่งเสริมให้ผู้เรียนมีกำลังใจในการแก้ปัญหา วิธีสอนโดยใช้บทบาทสมมุติ เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนสร้างสถานการณ์และบทบาทสมมุติขึ้นจากความเป็นจริง มาให้ผู้เรียนได้แสดงออกตามที่ผู้เรียนคิดว่า ควรจะเป็น ผู้สอนจะใช้การแสดงออกทั้ง ทางด้านความรู้ ความคิด และพฤติกรรมของผู้แสดงมาเป็นพื้นฐานในการให้ความรู้ และสร้างความเข้าใจแก่ผู้เรียน อันจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาสาระของบทเรียนได้ อย่างลึกซึ้ง รู้จักปรับหรือเปลี่ยนพฤติกรรม และการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่า ง เหมาะสม ความมุ่งหมาย 1. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในพฤติกรรมและความรู้สึกของผู้อื่น 2. เพื่อให้ผู้เรียนได้ปรับหรือเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่เหมาะสม 3. เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ความรู้ความคิดในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ 4. เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงออก ได้เรียนด้วยความเพลิดเพลิน 5. เพื่อให้การเรียนการสอนมีความใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริงมากขึ้น ลักษณะของบทบาทสมมุติ 1. การแสดงบทบาทสมมุติแบบละคร เป็นการแสดงบทบาทตามเรื่องราวที่มีอยู่แล้ว ผู้ แสดงจะได้รับทราบเรื่องราวทั้งหมด แต่จะไม่ได้รับบทที่กำหนดให้แสดงตามอย่างละเอียด ผู้ แสดงจะต้องแสดงออกเองตามความคิดของตน และดำเนินเรื่องไปตามท้องเรื่องที่กำหนดไว้แล้ว ซึ่งมีลักษณะเหมือนละคร 2. การแสดงบทบาทสมมุติแบบแก้ปัญหา เป็นการแสดงบทบาทสมมุติที่ผู้เรียนได้รับ ทราบสถานการณ์เรื่องราวแต่เพียงเล็กน้อยเท่าที่จำเป็น ซึ่งมักเป็นสถานการณ์ที่เป็นปัญหาหรือ มีความขัดแย้งแฝงอยู่ ผู้แสดงบทบาทจะใช้ความคิดของตนในการแสดงออกและแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างเสรี ข้อดีและข้อจากัดของวิธีสอนโดยใช้บทบาทสมมุติ ข้อดี 1. ส่งเสริมให้บทเรียนน่าสนใจ และผ่อนคลายความเครียด 2. สะท้อนให้เห็นถึงความรู้สึก อารมณ์ และเจตคติของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี 3. สร้างเสริมความสามัคคี และช่วยให้เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นได้ดขี ึ้น 4. ช่วยฝึกฝนแก้ปัญหา และการตัดสินใจของผู้เรียน 5. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในสิ่งที่เรียนได้ลึกซึ้งขึ้น 6. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการปรับหรือเปลี่ยนเจตคติและพฤติกรรม รวมทั้งปฏิบัติ ตนในสังคมได้เหมาะสม ข้อจากัด 1. วิธีสอนโดยใช้บทบาทสมมุติต้องใช้เวลามาก โดยเฉพาะในขั้นอภิปราย ผู้สอนจึงควรวางแผนและเตรียมการให้รัดกุม 2. วิธีสอนโดยใช้บทบาทสมมุติอาจพบปัญหาในเรื่องการควบคุมชั้นเรียน มักจะเกิดความวุ่นวายจากการจัดกิจกรรมการแสดง ผู้สอนต้องวางแผนและพยายาม ฝึกระเบียบวินัยให้ผู้เรียนตั้งแต่ในระยะแรก การนาวิธีสอนโดยการแสดงบทบาทสมมุติไปใช้ เป็นการสอนที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนในด้านเจตคติ ผู้สอนต้องวิเคราะห์จุดประสงค์และเนื้อหาก่อนสอน 1. ผู้สอนต้องทำความเข้าใจขั้นตอนการสอนเพื่อให้การสอนบรรลุเป้าหมาย 2. การสอนแบบนี้ต้องใช้เวลามาก ผู้สอนต้องวางแผนโดยอาจให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหามาก่อนจะช่วยลดเวลาได้ 3. วิธีสอนแบบนี้ใช้ได้กับผู้เรียนทุกระดับชั้น 4. วิธีสอนแบบศูนย์การเรียน เป็นเป็นวิธีการสอนที่ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง และใช้เทคนิคการจัดการเรียนการสอนที่ ใช้สื่อประสม (Multi Media Approach) และกระบวนการกลุ่ม (Group Process) เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อส่งเสริมให้การเรียนการสอนมีชีวิตชีวา ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ และพัฒนาสติปัญญาจากการ กระทำกิจกรรม และการศึกษาด้วยตนเอง โดยแต่ละศูนย์มีชุดการสอนให้นักเรียนแต่ละกลุ่มได้ หมุนเวียนเรียนจนครบทุกศูนย์ ความมุ่งหมาย 1. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง 2. เพื่อฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม รู้จักเคารพสิทธิ และความคิดเห็นของผู้อื่น 3. เพื่อฝึกความรับผิดชอบ และการทำกิจกรรมตามความถนัด ความสนใจ และความสามารถของตนเอง องค์ประกอบของศูนย์การเรียน มี 4 องค์ประกอบ 1. บทบาทของผู้สอน 2. บทบาทของผู้เรียน เป็นผู้กำกับการเรียนรู้ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อปฏิบัติในการเรียน เป็นผู้ประสานงานกิจกรรมการเรียน ปฏิบัติกิจกรรมตามคำสั่งที่ได้รับจากศูนย์การ บันทึกการพัฒนาของผู้เรียนแต่ละคน เรียนอย่างเคร่งครัด เป็นผู้เตรียมกิจกรรม และสื่อที่จะใช้ใน ศึกษาให้ครบทุกทุกศูนย์กิจกรรม กิจกรรม ให้ความร่วมมือกับทุกกลุ่มในการประกอบ กิจกรรม 3. ชุดการสอน 4. การจัดห้องเรียน เนื้อหาสาระในชุดการสอนเป็นสื่อ จัดเป็นกลุ่มสำหรับให้ผู้เรียนประกอบ ประสม ซึ่งชุดการสอนแต่ละชุดจะ กิจกรรมตามปกติ นิยมจัดโต๊ะไว้กลาง ประกอบด้วย ห้อง - คู่มือครู จัดกลุ่มตามความสนใจ จัดตามกลุ่ม - แบบฝึกปฏิบัติสำหรับผู้เรียน วิชาโดยจัดโต๊ะและเก้าอี้เป็นกลุ่ม ๆ - สื่อสำหรับศูนย์กิจกรรม วางเข้าชิดผนัง - แบบทดสอบสำหรับการประเมินผล ขั้นตอนการสร้างชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน 1. เลือกเรื่องที่จะสอน แล้วแบ่งเป็นหัวเรื่องย่อยประมาณ 4-6 หัวเรื่อง 2. กำหนดความคิดรวบยอดของแต่ละหัวเรื่อง 3. กำหนดจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม 4. กำหนดกิจกรรมการเรียนให้สอดคล้องกับหัวเรื่องของชุดการสอน 5. กำหนดสื่อการสอน สื่อการสอนที่จะใช้ควรเป็นสื่อที่มีราคาถูก และสามารถผลิตเองได้ เช่น บัตรคำ กระดาษคำตอบ เกมต่าง ๆ บทเรียนแบบโปรแกรม เป็นต้น 6. เตรียมข้อสอบที่จะใช้ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ออกข้อสอบให้สามารถวัดได้ตาม จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่กำหนดไว้ ควรเป็นข้อสอบแบบปรนัย ข้อดีและข้อจากัดของวิธีการสอนแบบศูนย์การเรียน ข้อดี 1. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจของตนเอง ทำ ให้ผู้เรียนมีโอกาสพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองตามอัตภาพ 2. ส่งเสริมความเป็นผู้ใฝ่รู้ของผู้เรียน เปิดโอกาสให้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง 3. ส่งเสริมความรับผิดชอบในการเรียนของผู้เรียนแต่ละกลุ่ม 4. ส่งเสริมความเชื่อมั่นในการเรียนรู้ของผู้เรียน เพราะผู้เรียนจะเรียนรู้ด้วยตนเอง 5. ส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม สร้างความสามัคคี 6. ช่วยลดปัญหาการขาดแคลนผู้สอน เพราะผู้สอนมีบทบาทในการสอนน้อยลงมาก 7. สามารถใช้ได้กับกลุ่มผู้เรียนจำนวนมาก ข้อจากัด 1. ผู้สอนต้องมีความรู้ความเข้าใจ และทักษะในการจัดทำชุดการสอน 2. การให้กลุ่มผู้เรียนหมุนเวียนกันเรียนในแต่ละศูนย์อาจไม่เป็นไปตามลำดับ ขั้นของหลักสูตร ( เช่น ทักษการฟัง พูด อ่าน เขียน) วิธีการการสอนแบบบันได 5 ขั้น ขั้นการบริการ ขั้นการสื่อสาร สังคมและจิต และนำเสนออย่าง สาธารณะ ขั้นการสร้าง ความรู้ มีประสิทธิภาพ ขั้นการสืบค้น ขั้นการตั้งคำถาม/ ความรู้และ สมมติฐาน สารสนเทศ 1. ขั้นการตั้งคาถาม / สมมติฐาน เป็นขั้นตอนที่ครูผู้สอนต้องคอยกระตุ้นให้ผู้เรียนมีการตั้ง คำถาม ให้รู้จักการสังเกตในประเด็นการอ่าน เขียนภาษาไทย หรือ การคิดวิเคราะห์ จากนั้น ผู้สอนและผู้เรียนช่วยกันเลือกประเด็นคำถามที่มีป ระโยชน์ต่อการเรียนรู้มาใช้เป็นประเด็นใน การค้นคว้าหาคำตอบร่วมกัน 2. ขั้ น การสื บ ค้ น ความรู้ แ ละสารสนเทศ ผู ้ ส อนจะต้ อ งมี บ ทบาทในการแนะนำแหล่ ง วิทยาการต่าง ๆ ให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยนำเอาข้อคำถามต่าง ๆ ที่เ ป็น ประเด็นในชั้นเรียนมาสืบค้นหาข้อมูล ผู้สอนจะต้องทำหน้าที่ประคับประคองให้ผู้เรียนได้เกิด การเรียนรู้อย่างเหมาะสม 3. ขั้นการสร้างองค์ความรู้ โดยให้ผู้เรียนนำเอาข้อมูลความรู้ที ่ได้มานั้นมานำเสนอและ ช่วยกันอภิปรายเพิ่มเติม เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีการถกประเด็นร่วมกัน โดยคำตอบของผู้เรียน แต่ละคนนั้นอาจมีความแตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับประสบการณ์และการเรียนรู้เป็นสำคั ญ ทั้งนี้ ผู้สอนจะต้องคอยกระตุ้นให้ผู้เรียนแต่ละคนได้อภิป รายความรู้มีการวิพากษ์วิจารณ์ค วามรู้ที่ ได้มาร่วมกันเพื่อเป็นการสรุปและสร้างองค์ความรู้ 4. ขั้นการสื่อสารและนาเสนออย่างมีประสิทธิภาพ เป็นขั้นตอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีการ นำเอาความรู้จากการค้นคว้าด้วยตนเองมาใช้ในกระบวนการของการสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ เช่น กำหนดให้ผู้เรียนนำเนื้อหาสาระที่ได้จากการศึกษาค้นคว้ามาใช้ในการสื่อสาร ไม่ว่าจะ เป็นด้านทักษะการฟัง พูด อ่าน หรือ เขียน หรือในรูปแบบต่าง ๆ ได้ เช่น การเขียนบทละคร จากวรรณคดี การอัดคลิปวิดีโอเรื่องการพูด การเล่านิทาน เป็นต้น 5. ขั้นการบริการสังคมและจิตสาธารณะ หลังจากที่ผู้เรียนได้มีการสื่อสารด้วยวิธีต่าง ๆ แล้ว ข้อมูลความรู้ที่ผู้เรียนได้มีการสื่อสารโดยการบันทึกไว้ในลักษณะต่าง ๆ ในขั ้นที่ 4 เช่น คลิปวีดีโอการพูดสื่อสารลักษณะต่าง ๆ การเขีย นเรียงความ บทความ บทละคร ที่ เป็นผลงานของผู้เรียนเรียน เป็นต้น ในการนี้ ผู้สอนอาจจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้มีการ เผยแพร่องค์ความรู้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนตระหนักและเห็นคุณค่าในผลงานของตน แล้ว นำผลงานของตนมาเผยแพร่ในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การจัด นิทรรศการผลงานคลิปวิดีโอ งานเขียน หรือ การแสดงละครจากวรรณคดีหน้าชั้นเรียน เพื่อเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ ให้แก่ผู้อื่นได้รับทราบ เป็นต้น วิธีการสอนแบบบันได 6 ขั้น ขั้นที่ 1 ฝึกอ่านทุกวันเพื่อความต่อเนื่อง โดยใช้หนังสือ เรียน นิทาน คำ อักษรไทย ขั้นที่ 2 ฝึกการอ่านควบคู่กับการเขียน โดยใช้อักษรไทย คำ ประโยค นิทาน ขั้นที่ 3 การฝึกคัดลายมือ นอกจากทำให้ลายมือสวยแล้ว ยังเป็นการช่วยในการจดจำรูปคำต่าง ๆ ได้มากขึ้นด้วย ขั้นที่ 4 การวาดรูป ประกอบคำ ด้วยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และ สนุกไปกับงาน โดยมีการจำแนกคำออกมาเพื่อให้นักเรียนเข้าใจการ ผสมคำมากขึ้น ขั้นที่ 5 การนำคำมาแต่งเป็นประโยคสื่อสารรูปหรือเหตุการณ์จริง เช่น ใคร + ทำอะไร , ใคร+ทำอะไร+กับใคร ขั้นที่ 6 การเขียนคำตามภาพวาดโดยให้นักเรียนมีอิสระตาม ความคิดของนักเรียนเอง เกณฑ์การพิจารณาเลือกใช้วิธีการสอน 1. วิธีการสอนควรเหมาะสมกับความสามารถ 2. วิธีการสอนควรเหมาะสมกับวัย 3. วิธีการสอนจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการสอน 4. วิธีการสอนจะต้องสอดคล้องกับเวลาและสถานที่ 5. วิธีการสอนจะต้องเหมาะสมกับเนื้อหาวิชา วิธีการสอนจะต้องเหมาะสมกับจำนวนผู้เรียน 6. วิธีการสอนจะต้องเหมาะสมกับความสนใจ ความต้องการ และประสบการณ์ของผู้เรียน 7. วิธีการสอนจะต้องให้เหมาะสมกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนต่อผู้เรียน และผู้เรียนต่อผู้เรียน 8. วิธีการสอนจะต้องเหมาะสมกับอุปกรณ์และสภาพแวดล้อม 9. วิธีสอนควรก่อให้เกิดทักษะต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียน 10. วิธีสอนควรก่อให้เกิดแนวทางที่จะนำความรู้ เจตคติ และทักษะต่าง ๆ ที่ได้ฝึกฝนเป็นอย่างดี 11. เอาไปใช้และปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ สรุป ผู้สอนไม่ควรยึดวิธีสอนตามที่ตนถนัดเพียงวิธีเดียว ควรพิจารณาเลือกใช้ให้ เหมาะสม หรืออาจใช้วิธีผสมผสานหลายวิธีเข้าด้วยกันในการสอนแต่ละครั้ง เช่น อาจนำเข้าสู่บทเรียนด้วยการบรรยาย ต่อด้วยการสอนโดยวิธีให้แสดงบทบาทสมมุติ แล้วสรุปด้วยวิธีอภิปราย เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะใช้วิธีการสอนแบบใดควร สอนให้ตรงกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตร และมุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุดเป็น สำคัญ คาถามท้ายบท 1. จงอธิบายเกณฑ์การพิจารณาการเลือกใช้วิธีสอน 2. การสอนที่ดี คือ การสอนให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง โดยให้ครูเป็นผู้ชี้แนะแนวทาง นักศึกษาเห็นด้วยกับแนวคิดนี้หรือไม่ เพราะเหตุใด จงอธิบาย 3. จงอธิบายวิธีสอนที่พัฒนาความคิด และส่งเสริมให้นักเรียนได้แก้ปัญหาด้วยตนเอง มา 1 วิธี

Use Quizgecko on...
Browser
Browser