แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น (21) การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ (พ.ศ. 2566-2580) PDF

Summary

เอกสารนี้เป็นแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น (21) การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ (พ.ศ. 2566 – 2580) ซึ่งกล่าวถึงเป้าหมายและแผนย่อยในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในประเทศไทย โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อให้ประเทศไทยปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ.

Full Transcript

แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น (๒๑) การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๘๐) (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) สารบัญ หน้า ส่วนที่...

แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น (๒๑) การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๘๐) (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) สารบัญ หน้า ส่วนที่ ๑ บทนา ๒๑-๑ เป้าหมายการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ ๒๑-๒ ประเด็นภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๑-๒ ส่วนที่ ๒ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น (๒๑) การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ๒๑-๕ เป้าหมายการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ ๒๑-๕ ส่วนที่ ๓ แผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น (๒๑) การต่อต้านการทุจริต ๒๑-๖ และประพฤติมิชอบ ๓.๑ แผนย่อย การป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ ๒๑-๖ ๓.๑.๑ เป้าหมายและตัวชี้วัด ๒๑-๗ ๓.๑.๒ แนวทางการพัฒนา ๒๑-๘ ๓.๒ แผนย่อย การปราบปรามการทุจริต ๒๑-๑๑ ๓.๒.๑ เป้าหมายและตัวชี้วัด ๒๑-๑๒ ๓.๒.๒ แนวทางการพัฒนา ๒๑-๑๒ ส่วนที่ ๑ บทนา การขับเคลื่อนการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบมีความสาคัญต่อการพัฒนาประเทศในภาพรวม ในการช่วยส่งเสริม ให้ภาครัฐมีความโปร่งใส ปลอดการทุจริตและประพฤติมิ ชอบ เกิดประสิทธิภาพในการ ดาเนินงานของภาครัฐ โดยเฉพาะกระบวนการและกลไกที่เกี่ยวข้องในการปราบปรามการทุจริต ก่อให้เกิด ความน่ าเชื่อถือแก่ภ าคประชาชน รวมทั้งเกิดภาคีเครือข่ายการมีส่ ว นร่ว มในการป้องกันและปราบปราม การทุจริตและประพฤติมิชอบ ดังนั้น แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๘๐) (ฉบับแก้ไข เพิ่มเติม) ประเด็น (๒๑) การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ จึงกาหนดเป้าหมายให้ประเทศไทยปลอด การทุจริตและประพฤติมิชอบ ประเทศไทยมีการขับเคลื่อนการดาเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตอย่างต่อเนื่อง ทั้งการ เสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมแก่ประชาชน การสร้างเครือข่ายป้องกันการทุจริตภาคประชาชน การพัฒนา ระบบฐานข้อมูลการทุจริต รวมทั้งการกาหนดนโยบายและผลักดันการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริม การป้องกันและต่อต้านการทุจริต ซึ่งสามารถสะท้อนได้จากสถานการณ์ในช่วงปี ๒๕๖๑ - ๒๕๖๕ จากผล คะแนนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในหน่วยงานภาครัฐ ของประเทศไทย ในปี ๒๕๖๕ มีคะแนน เฉลี่ยภาพรวมอยู่ที่ ๘๗.๕๘ คะแนน โดยมีหน่วยงานที่ผ่านการประเมิน คุณธรรมและความโปร่งใสในหน่วยงาน ภาครัฐ หรือได้รับคะแนน ๘๕ คะแนนขึ้นไป จานวน ๕,๘๕๕ หน่วยงาน คิดเป็นร้อยละ ๗๐.๕๒ ซึ่งมีภาพรวม ดีขึ้นจากปี ๒๕๖๔ ที่ได้คะแนนเฉลี่ยภาพรวมอยู่ที่ ๘๑.๒๕ คะแนน และมีหน่วยงานที่ผ่านการประเมินคุณธรรม และความโปร่ งใสในหน่วยงานภาครั ฐจ านวน ๔,๑๔๖ หน่ว ยงาน คิดเป็นร้อยละ ๔๙.๙๕ แสดงให้เห็นว่า หน่วยงานของรัฐมีการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันประเทศ ไทยยังคงประสบปัญหาการทุจริต สะท้อนได้จากผลสารวจดัชนีการรับรู้การทุจริตของประเทศไทยขององค์กร เพื่อความโปร่งใสนานาชาติ ในปี ๒๕๖๔ ประเทศไทยมีคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต ๓๕ คะแนน จัดอยู่ใน อันดับที่ ๑๑๐ ของโลก จากจานวน ๑๘๐ ประเทศทั่วโลก ซึ่งเป็นคะแนนและอันดับที่ลดลงจากปี ๒๕๖๓ ที่ได้คะแนน ๓๖ คะแนน และอยู่ในอันดับที่ ๑๐๔ ของโลก ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน พบว่า ไทยอยู่อันดับที่ ๖ จากทั้งหมด ๑๑ ประเทศ รองจากประเทศสิงคโปร์ ๘๕ คะแนน มาเลเซีย ๔๘ คะแนน ติมอร์-เลสเต ๔๑ คะแนน เวียดนาม ๓๙ คะแนน และอินโดนีเซีย ๓๘ คะแนน โดยพบว่าปัญหาการทุจริต ที่สาคัญที่ทาให้คะแนนของประเทศไทยลดลง ได้แก่ การติดสินบนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ การเอื้อประโยชน์ให้กับ นายทุนหรือบริษัทขนาดใหญ่ การแทรกแซงการดาเนินธุรกิจ จากเจ้าหน้าที่ของรัฐ และการขาดความชัดเจน และความต่อเนื่องในการกาหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้อานาจ และดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ ของรัฐ ประเด็นดังกล่าวสะท้อนให้เห็น ความจาเป็นในการเร่ง พัฒนาคนทุกกลุ่มในสังคมให้มีจิตสานึกและ พฤติกรรมยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต และพัฒนาระบบเพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติมิช อบ ดังนั้น ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องควรร่วมกันดาเนินการต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตของประเทศ อาทิ การปลูกฝัง คุณธรรมและจริยธรรม การพัฒนาระบบบริหารงานภาครัฐและธรรมภาคเอกชน การลดการใช้ดุลยพินิจของ เจ้าหน้าที่รัฐ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการตรวจสอบ เฝ้าระวังการทุจริตและประพฤติมิชอบ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๘๐) (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) ประเด็น (๒๑) การต่อต้าน การทุจริตและประพฤติมิชอบ จึงเป็นกลไกส่งเสริมให้ประชาชนและบุคลากรภาครัฐมีจิตสานึกและพฤติกรรม ยึ ดมั่น ในความซื่อสั ตย์ สุ จริ ต มี ส่วนร่ วมในการเฝ้าระวัง สอดส่ อง แจ้งเบาะแส และต่อต้านการทุจริตและ ๒๑-๑ ประพฤติมิชอบ รวมทั้งสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและมี มาตรการสนับสนุนและคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสที่มี ประสิทธิภาพ และมีระบบที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตที่รวดเร็วโปร่งใส ส่งผลให้มีคดี การทุจริตและประพฤติมิชอบลดลง แผนแม่บทด้านการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ มุ่งเน้นปลูกฝัง ค่านิยมสุจริต บูรณาการสร้างความร่วมมือการต่อต้านการทุจริตระหว่างภาครัฐและภาคประชาชน และพัฒนา ระบบการป้องกันและปราบปรามการทุจริตให้มีความรวดเร็ว โปร่งใส เป็นที่ไว้วางใจของประชาชน การดาเนินการตามเป้าหมายแผนแม่บทแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๘๐) (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) ประเด็น (๒๑) การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ มีความสอดคล้องและสามารถ สนับสนุนการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติด้านต่าง ๆ ดังนี้ ๑. เป้าหมายการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง ๒.๓ กองทัพ หน่วยงานด้านความมั่นคง ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน มีความ พร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคง ๒.๔ ประเทศไทยมีบทบาทด้านความมั่นคงเป็นที่ชื่นชมและได้รับการยอมรับโดยประชาคม ระหว่างประเทศ ๒.๕ การบริหารจัดการความมั่นคงมีผลสาเร็จที่เป็นรูปธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ๒.๓ ภาครัฐมีความโปร่งใส ปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ ๒. ประเด็นภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง ๔.๑ การรักษาความสงบภายในประเทศ ๔.๑.๔ การพัฒนาและเสริมสร้างกลไกที่สามารถป้องกันและขจัดสาเหตุของประเด็น ปัญหาความมั่นคงที่สาคัญ ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ๔.๖ ภาครัฐมีความโปร่งใส ปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ ๔.๖.๑ ประชาชนและภาคี ต่ า ง ๆ ในสั ง คมร่ ว มมื อ กั น ในการป้ อ งกั น การทุ จ ริ ต และประพฤติมิชอบ ๔.๖.๒ บุคลากรภาครัฐยึดมั่นในหลักคุณธรรม จริยธรรมและความซื่อสัตย์สุจริต ๔.๖.๓ การปราบปรามการทุ จ ริ ต ประพฤติ มิ ช อบมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพมี ค วามเด็ ด ขาด เป็นธรรม และตรวจสอบได้ ๔.๖.๔ การบริหารจัดการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตอย่างเป็นระบบแบบ บูรณาการ ๒๑-๒ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๘๐) (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) ประเด็น (๒๑) การต่อต้าน การทุจริตและประพฤติมิชอบ กาหนดแผนย่อยไว้ ๒ แผนย่อย ได้แก่ ๑) การป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาคนและการพัฒนาระบบ โดยใน ส่วนการพัฒนาคน เน้นการปรั บพฤติกรรม “คน” ทุกกลุ่มในสังคม โดยกลุ่มเด็กและเยาวชน เน้นการปลู กฝั ง และหล่อหลอมให้มีจิตสานึกและพฤติกรรมยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริตผ่านหลักสูตรการศึกษาภาคบังคับ ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติตั้งแต่ ระดับปฐมวัยจนถึงระดับอุดมศึกษา กลุ่มประชาชนทั่วไป เน้นการสร้างวัฒนธรรม และพฤติกรรมสุจริต มีจิตสานึกความเป็นพลเมืองที่ดี ควบคู่กับส่งเสริมการมีส่วนร่วมต่อต้านการทุจริตและ ประพฤติมิชอบ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีความใสสะอาด ปราศจากพฤติกรรมที่ส่อไปในทางทุจริต เป็นภาครัฐที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ประชาชน สนับสนุนการเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการ บริหารงาน รู้จักแยกแยะเรื่องสวนตัวออกจากหน้าที่การงาน พร้อมกับสร้างจิตสานึกและค่านิยมของบุคลากร ในการต่อต้านการทุจริต สนับสนุนการมีส่วนร่วมเป็นเครือข่ายเฝ้าระวัง สอดส่อง และแจ้งเบาะแสการทุจริต สนับสนุนให้ภาคส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริต มอบหมายหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นกลไก กากับ ขับเคลื่อน ติดตามประเมินผลตลอดจนประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่มีองค์ประกอบจากภาคส่วนต่าง ๆ และกาหนดให้มีการจัดทารายงานผลพร้อมข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี ขับเคลื่อนแผนงานเชิงรุกของรัฐบาลในการยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต พร้อมทั้งจัดให้พัฒนาการ เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร มาตรการสนับสนุน และคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสที่มีประสิทธิภาพ กลุ่มนักการเมืองให้ ความสาคัญกับการพัฒนาและยกระดับการมีจริยธรรมของผู้ดารงตาแหน่งทางการเมือง ทั้งระดับประเทศและ ท้องถิ่นให้มีเจตนารมณ์ที่แน่วแน่ ในการทาตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต เห็น แก่ประโยชน์ส่วนรวม รวมทั้งส่งเสริมการกากับจริยธรรมภายในพรรคการเมืองอย่างเข้มข้น ในส่วนของการพัฒนา “ระบบ” มุ่งให้ความสาคัญกับการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมในการ ต่อต้านการทุจ ริ ตในหน่ วยงานภาครั ฐที่เหมาะสมกับบริบท สภาพปัญหา และพลวัตการทุจริตของแต่ละ หน่วยงาน พร้อมทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้มีการใช้เครื่องมือและมาตรการเพื่อสร้างความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และปิดโอกาสในการกระทาการทุจริต ทาให้การทุจริตคอร์รัปชั่นทาได้ยากและมีโอกาสสูงที่จะถูกตรวจพบและ ลงโทษ พร้อมทั้งการสร้างความไว้วางใจของประชาชนต่อภาครัฐ โดยการเพิ่มโทษให้หนัก และการตัดสินคดี ที่มีความรวดเร็ว เด็ดขาด เพื่อให้การกระทาการทุจริตเป็นสิ่งที่ “ได้” ไม่คุ้ม “เสีย” ทั้งนี้ ในการดาเนินการตาม แนวทางของแผนย่อยการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบมีเป้าหมายสาคัญ ๒ ประการ คือ ประชาชนไทย มีวัฒนธรรมและพฤติกรรมซื่อสัตย์สุจริต และคดีทุจริตลดลงทั้งในส่วนคดีของหน่วยงานและคดีของผู้ ดารง ตาแหน่งทางการเมืองและผู้ดารงตาแหน่งระดับสูง โดยปรับปรุงแก้ไขการพัฒนามาตรการสกัดกั้นการทุจริต เชิงนโยบาย รวมทั้งสนับสนุนโครงการสาคัญที่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องร่วมกันขับเคลื่อน คือ โครงการ ปลูกฝังวิธีคิด สร้างจิตสานึกในความซื่อสัตย์สุจริตและการแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ ส่วนรวม และโครงการสร้างนวัตกรรมในการต่อต้านการทุจริตอย่างมีส่วนร่วม โดยเฉพาะผู้นาต้องสื่อสาร มาตรการการยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต รวมทั้งสนับสนุนการตั้งคณะกรรมการที่มาทาหน้าที่เป็น กลไกตรวจสอบให้มีความโปร่งใส และเสริมสร้างหน่วยงานตรวจสอบภายในให้เป็นกลไกอิสระ เป็นมืออาชีพ ในการเฝ้าระวังการทุจริตในหน่วยงาน โดยทุกหน่วยงานของรัฐต้องพัฒนาระบบการตรวจสอบภายในของ หน่วยงานให้มีประสิทธิผลอยู่เสมอ เพื่อสนับสนุนให้เกิดกระแสการตรวจสอบอย่างจริงจัง ๒๑-๓ ๒) การปราบปรามการทุจริต มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการดาเนินงานของกระบวนการและกลไก ที่เกี่ยวข้องในการปราบปรามการทุจริต ทั้งในขั้นตอนการสืบสวน ตรวจสอบเบื้องต้น การดาเนินการทางคดี การยึ ด อายั ดทรั พย์ สิ น ของผู้ กระทาความผิ ด การตัดสิ นลงโทษผู้ กระทาความผิ ด ทั้งทางวินัยและอาญา ให้ มี ค วามรวดเร็ ว การปรั บ ปรุ ง กฎหมายและตรากฎหมายใหม่ เ พื่ อ สนั บ สนุ น ให้ ก ารบั ง คั บ ใช้ ก ฎหมาย มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพการดาเนินงานของกระบวนการและกลไกการปราบปรามการทุจริต พร้อมทั้งปรับกระบวนการทางานด้านการปราบปรามการทุจริตให้เข้าสู่ระบบดิจิทัล การพัฒนาระบบเทคโนโลยี สารสนเทศและฐานข้อมูลที่สนับสนุนการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ซึ่งรวมถึงการเชื่อมโยงระบบข้อมูล เรื่องร้องเรียนระหว่างหน่วยงาน การบูรณาการงานคดีการพัฒนาและเชื่อมโยงฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การตรวจสอบ ทรัพย์สินและหนี้สินที่ทันสมัย การจัดทาระบบฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านการปราบปรามการทุจริต การพัฒนา สมรรถนะและองค์ความรู้เชิงสหวิ ทยาการของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการปราบปรามการทุจริต และการพัฒนา เครื อข่ายความร่ ว มมือกับ หน่ ว ยงาน องค์กรต่อต้านการทุจริตและองค์กรเอกชนในระดับนานาชาติ ทั้งนี้ การดาเนินการตามแผนย่อยการปราบปรามการทุจริตต้องการบรรลุเป้าหมายสาคัญ ได้แก่ การดาเนินคดีทุจริต มีความรวดเร็ว เป็นธรรม โปร่งใส ไม่เลือกปฏิบัติ โครงการสาคัญที่จะสนับสนุนการขับเคลื่อน คือ โครงการ ที่เป็นไปในลักษณะการสร้างนวัตกรรมการปราบปรามการทุจริต เชิงรุก บริหารจัดการคดี ซึ่งควรนาเทคโนโลยี มาใช้กับกระบวนการยุติธรรมให้รวดเร็ว โปร่งใส ไม่เลือกปฏิบัติ ๒๑-๔ ส่วนที่ ๒ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๘๐) (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) ประเด็น (๒๑) การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ จึงมีเป้าหมายให้ประเทศไทยปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้ภาครัฐมีความโปร่งใส ปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ ผ่านการพัฒนาคนและ การพัฒนาระบบ เพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยให้ความสาคัญกับการปรับและหล่อหลอมพฤติกรรม “คน” ทุกกลุ่มในสังคมให้มีจิตสานึกและพฤติกรรมยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต และการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม ในการต่อต้านการทุจริตในหน่วยงานภาครัฐที่เหมาะสมกับบริบท สภาพปัญหา และพลวัตการทุจริตของแต่ละ หน่วยงาน รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพการดาเนินงานของกระบวนการและกลไกที่เกี่ยวข้องในการปราบปรามการ ทุจริต แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น (๒๑) การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประกอบด้วย ๒ แผนแม่บทย่ อย ได้แก่ (๑) การป้องกันการทุจริ ตและประพฤติมิ ชอบ ที่มุ่งเน้นการปรับพฤติกรรม “คน” โดยการปลูกฝังวิธีคิดในกลุ่มเป้าหมายเด็กและเยาวชนเพื่อปฏิรูปคนรุ่นใหม่ให้มีจิตสานึกในความซื่อสัตย์สุ จริ ต เพื่อสร้างพลังร่วมในการแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบต่อไปในอนาคตและการปรับ “ระบบ” โดยการ สร้างนวัตกรรมการต่อต้านการทุจริต เพื่อให้การดาเนินงานของหน่วยงานภาครัฐมีความโปร่งใสตรวจสอบได้ในทุก ขั้นตอนการดาเนินงาน เท่าทันต่อพลวัตการทุจริต ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการตรวจสอบ แจ้งข้อมูลและชี้เบาะแสการทุจริตและประพฤติมิชอบ ซึ่งจะนาไปสู่การลดจานวนคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ในหน่วยงานภาครัฐ (๒) การปราบปรามการทุจริ ต มุ่งเน้นการเสริมสร้ างประสิทธิภาพของกระบวนการและ กลไกการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ทั้งในด้านของการดาเนินคดีทุจริตมีความรวดเร็ว เฉียบขาด เป็นธรรม และการพัฒนาปรับปรุงมาตรการทางกฎหมาย เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการปราบปราม การทุจริตให้ได้ผลและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ได้มีการกาหนดเป้าหมายการพัฒนา ดังนี้ เป้าหมายและตัวชี้วัดของเป้าหมายระดับประเด็น (๒๑) การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ค่าเป้าหมาย รหัส เป้าหมาย ตัวชี้วัด ปี ๒๕๖๖ - ปี ๒๕๗๑ - ปี ๒๕๗๖ - เป้าหมาย ๒๕๗๐ ๒๕๗๕ ๒๕๘๐ ๒๑๐๐๐๑ ประเทศไทยปลอด ดัชนีการรับรู้การทุจริต ไม่เกิน ไม่เกิน ไม่เกิน การทุจริตและ ของประเทศไทย ๔๓/ ๓๒/ ๒๐/ ประพฤติมิชอบ (อันดับ/คะแนน ภายในปี ไม่น๕๗ ้อยกว่า ไม่น้อยกว่า ไม่น้อยกว่า ๖๒ ๗๓ ๒๕๗๐/๒๕๗๕/๒๕๘๐) คะแนนเฉลี่ยการ ไม่น้อยกว่า ไม่น้อยกว่า ไม่น้อยกว่า ประเมินคุณธรรมและ ๘๙ ๙๑ ๙๓ ความโปร่งใสของ หน่วยงานภาครัฐ ทุกหน่วยงานใน ประเทศไทย (คะแนนต่อปี) ๒๑-๕ ส่วนที่ ๓ แผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น (๒๑) การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ เป้าหมายสาคัญของยุทธศาสตร์ชาติในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ คือ ภาครัฐมีความโปร่ งใส ปลอดการทุจ ริตและประพฤติมิช อบ มีการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลและ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในทุกระดับ โดยเฉพาะการสร้างวัฒนธรรมแยกแยะประโยชน์ส่วนบุคคลและ ประโยชน์ส่วนรวมของบุคลากรภาครัฐให้เกิดขึ้น รวมทั้งสร้างจิตสานึกและค่านิยมให้ทุกภาคส่วนตื่นตัว ละอาย ต่อการทุจริตประพฤติมิชอบทุกรูปแบบ มีส่วนร่วมต่อต้านการทุจริต พร้อมทั้งส่งเสริมสนับสนุน ให้ภาคีองค์กร ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ชุมชน ประชาชน และภาคีต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการสอดส่องเฝ้าระวัง ให้ข้อมูล แจ้งเบาะแสการทุจริต และตรวจสอบการดาเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ และภาคส่วนอื่น ๆ โดยได้รับความ คุ้มครองจากรั ฐ ตามที่กฎหมายบั ญญัติ แผนแม่บทภายใต้ ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นนี้ได้กาหนดแผนย่อยไว้ ๒ แผน คือ ๓.๑ แผนย่อย การป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ มีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนมีวัฒนธรรมและพฤติกรรมซื่อสัตย์สุจริต และคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ลดลง จากการประเมินความเป็นไปได้ของสถานการณ์ในอนาคตของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตให้เห็นภาพในมิติด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ นั้นตั้งอยู่บนแนวคิดพื้นฐานว่า ประชาชนและสังคมจะตื่นตัวต่อการทุจริตให้ความสนใจข่าวสารและตระหนักถึง ผลกระทบของการทุ จ ริ ต ต่ อ ประเทศ มี ก ารแสดงออกซึ่ ง การต่ อ ต้ า นการทุ จ ริ ต ทั้ ง ในชี วิ ต ประจ าวั น และ การแสดงออกผ่านสื่อต่าง ๆ ประชาชนในแต่ละช่วงวัยจะได้รับกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมว่าการทุจริต ถือเป็นพฤติกรรมที่นอกจากจะผิดกฎหมายและทาให้เกิดความเสียหายต่อประเทศแล้ว ยังเป็นพฤติกรรมที่ไม่ได้ รั บ การยอมรั บ ทางสั ง คม ประชาชนจะมี วิ ธี คิ ด ที่ ท าให้ ส ามารถแยกแยะระหว่ า งผลประโยชน์ ส่ ว นตนกั บ ผลประโยชน์ส่วนรวมได้ วัฒนธรรมทางสังคมจะหล่อหลอมให้ประชาชนไม่กระทาการทุจริต เนื่องจากมีความ ละอายต่อตนเองและสังคม และไม่ยอมให้ผู้อื่นกระทาการทุจริตอันส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อสังคมส่วนรวม และจะเกิดการรวมกลุ่มกันทางสังคมเพื่อก่อให้เกิดสภาวะการลงโทษทางสังคมต่อการกระทา รวมทั้งประชาชน คนไทยทุกคนจะแสดงเจตจานงต่อต้านการทุจริตอย่างเข้มข้น ผ่านกระบวนการเลือกตั้งและกระบวนการเข้าสู่ อานาจของตัวแทนของประชาชนทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ประชาชนจะให้ความสนใจในการตรวจสอบ รัฐบาลและนักการเมืองในการดาเนินการตามเจตจานงทางการเมืองมากขึ้น เป็นแรงกดดันให้รัฐบาลต้องบริหาร ประเทศอย่างสุจริตและโปร่งใสโดยกระบวนการนโยบายของรัฐบาลไม่สามารถเป็นช่องทางในการแสวงหา ผลประโยชน์ โดยจะมีกลไกการตรวจสอบการดาเนินนโยบายของรัฐที่เข้มข้นมากขึ้น อย่ า งไรก็ ต าม การทุ จ ริ ต น่ า จะทวี ค วามรุ น แรง ซั บ ซ้ อ น และยากแก่ ก ารตรวจสอบมากยิ่ ง ขึ้ น อันเนื่องมาจากเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของสังคมโลกและพลวัตของการทุจริต ที่ผู้กระทาการทุจริตหาช่องทางการทุจริตที่ ยากแก่การตรวจสอบมากยิ่งขึ้น แต่สภาวะทางสังคมที่ตื่นตัวต่อต้าน และตรวจสอบการทุจ ริ ตมากยิ่ งขึ้น จึ งอาจจะทาให้ แนวโน้มการทุจริ ตลดลง ส่ งผลให้ กระบวนการป้องกัน การทุจริตยิ่งทวีความสาคัญ โดยต้องพัฒนากระบวนการและรูปแบบของการป้องกันการทุจริตให้เท่าทันต่อ พลวัตของการทุจริต เพื่อให้สามารถระงับยับยั้งการทุจริตได้อย่างเท่าทันไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศ ๒๑-๖ ควรมุ่งเน้นการพัฒนากลไกและกระบวนการป้องกันการทุจริตให้มีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพในทุกหน่วย ของสังคมทั้งระดับบุคคลและระดับองค์กร โดยสร้างจิตสานึกและค่านิยมให้ทุกภาคส่วนตื่นตัวและละอายต่อการ ทุจริตและประพฤติมิชอบทุกรูปแบบ ส่งเสริมสนับสนุนให้ภาคีองค์กรภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ชุมชนและ ประชาชน และเครือข่ายต่าง ๆ สอดส่องเฝ้าระวัง ให้ข้อมูลและร่วมตรวจสอบการดาเนินการของหน่วยงาน ภาครัฐตามความเหมาะสม โดยมีการวางมาตรการคุ้มครองพยานและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อ ปัญหาการทุจริตและสร้างพลังร่วมในการแก้ ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบ พร้อมทั้งสร้างวัฒนธรรม ต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบของบุคลากรภาครัฐและกาหนดมาตรการให้หน่วยงานภาครัฐและทุกภาคส่วน ดาเนินงานอย่างโปร่งใส เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมความสุจริตและความซื่อสัตย์ ความโปร่งใส และเป็นธรรม ควบคู่ ไปกับการพัฒนาระบบราชการไทยให้โปร่งใสไร้ผลประโยชน์ นอกจากนี้ ต้องกาหนดให้มีการลงโทษผู้กระทาผิด กรณีทุจริตและประพฤติมิชอบอย่างจริงจังและรวดเร็ว เป็นการป้องกันการทุจริตเชิงรุกเพื่อให้เท่าทันต่อพลวัต ของการทุจริต ๓.๑.๑ เป้าหมายและตัวชี้วัดของแผนแม่บทย่อย การป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ ค่าเป้าหมาย รหัส เป้าหมาย ตัวชี้วัด ปี ๒๕๖๖ - ปี ๒๕๗๑ - ปี ๒๕๗๖ - เป้าหมาย ๒๕๗๐ ๒๕๗๕ ๒๕๘๐ ๒๑๐๑๐๑ ประชาชนมี สัดส่วนเด็กและเยาวชนไทย ไม่น้อยกว่า ไม่น้อยกว่า ไม่น้อยกว่า วัฒนธรรม มีพฤติกรรมที่ยึดมั่นความ ๘๐ ๘๕ ๙๐ และ ซื่อสัตย์สุจริต ต่อเด็กและ พฤติกรรม เยาวชนไทยทั้งหมด ซื่อสัตย์ (ร้อยละต่อปี) สุจริต สัดส่วนประชาชนที่มีวัฒนธรรม ไม่น้อยกว่า ไม่น้อยกว่า ไม่น้อยกว่า ค่านิยมสุจริต มีทัศนคติและ ๘๐ ๘๕ ๙๐ พฤติกรรมในการต่อต้านการ ทุจริตและประพฤติมิชอบ ต่อประชาชนทั้งหมด (ร้อยละต่อปี) สัดส่วนหน่วยงานที่ผ่านเกณฑ์ ไม่น้อยกว่า ไม่น้อยกว่า ไม่น้อยกว่า การประเมินคุณธรรมและความ (๑) ๑๐๐ (๑) - (๑) - โปร่งใสในหน่วยงานภาครัฐ (๒) - (๒) ๘๐ (๒) ๑๐๐ ต่อหน่วยงานภาครัฐทั้งหมด โดยมีคะแนนการประเมินฯ ดังนี้ (๑) ไม่น้อยกว่า ๘๕ คะแนน (๒) ไม่น้อยกว่า ๙๐ คะแนน (ร้อยละต่อปี) ๒๑-๗ ค่าเป้าหมาย รหัส เป้าหมาย ตัวชี้วัด ปี ๒๕๖๖ - ปี ๒๕๗๑ - ปี ๒๕๗๖ - เป้าหมาย ๒๕๗๐ ๒๕๗๕ ๒๕๘๐ ๒๑๐๑๐๒ คดีทุจริตและ คดีทุจริตในภาพรวม ลดลง ลดลง ลดลง ประพฤติ (ร้อยละ ภายในปี ๒๕๗๐/ ไม่น้อยกว่า ไม่น้อยกว่า ไม่น้อยกว่า มิชอบลดลง ๒๕๗๕/๒๕๘๐) ๕๐ ๗๐ ๘๐ คดีทุจริตรายหน่วยงาน ลดลง ลดลง ลดลง - ข้อร้องเรียนเจ้าหน้าที่ ไม่น้อยกว่า ไม่น้อยกว่า ไม่น้อยกว่า ภาครัฐที่ถูกชี้มูลเรื่องวินัย ๕๐ ๗๐ ๘๐ (ทุจริต) (ร้อยละ ภายในปี ๒๕๗๐/๒๕๗๕/๒๕๘๐) - ข้อร้องเรียนเจ้าหน้าที่ ลดลง ลดลง ลดลง ภาครัฐที่ถูกชี้มูลว่ากระทา ไม่น้อยกว่า ไม่น้อยกว่า ไม่น้อยกว่า การทุจริต (ร้อยละ ๕๐ ๗๐ ๘๐ ภายในปี ๒๕๗๐/๒๕๗๕/ ๒๕๘๐) คดีทุจริตที่เกี่ยวข้องกับ ลดลง ลดลง ลดลง ผู้ดารงตาแหน่งทางการเมือง ไม่น้อยกว่า ไม่น้อยกว่า ไม่น้อยกว่า (ร้อยละ ภายในปี ๒๕๗๐/ ๕๐ ๘๐ ๙๐ ๒๕๗๕/๒๕๘๐) ๓.๑.๒ แนวทางการพัฒนา ๑) ปลู ก และปลุ ก จิ ต ส านึ ก การเป็ น พลเมื อ งที่ ดี มี วั ฒ นธรรมสุ จ ริ ต และการปลู ก ฝั ง และหล่อหลอมวั ฒนธรรมในกลุ่ มเด็ กและเยาวชนทุ กช่ ว งวั ย ทุกระดับ มุ่งเน้นการปรับพฤติกรรม “คน” โดยการ “ปลูก” และ “ปลุก” จิตสานึกความเป็นพลเมืองที่ดี มีวัฒนธรรมสุจริต สามารถแยกแยะได้ว่าสิ่ งใด เป็นประโยชน์ส่วนตน สิ่งใดเป็นประโยชน์ส่วนรวม มีความละอายต่อการกระทาความผิด ไม่เพิกเฉยอดทน ต่อการทุจริต และเข้ามามีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ รวมถึงการส่งเสริมการสร้างวัฒนธรรม และค่านิยมสุจริตในระดับชุมชนเพื่อนาไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมค่านิยมที่ยึดประโยชน์สาธารณะมากกว่า ประโยชน์ส่วนตน และต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบในทุกรูปแบบ ๑.๑) ให้ความสาคัญกับการปรับพฤติกรรมเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะการส่งเสริมวัฒนธรรม สุจริตผ่านหลักสูตรการศึกษาภาคบังคับที่เด็กไทยทุกคนต้องเรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ตั้งแต่ระดับปฐมวัย จนถึงระดับอุดมศึกษา เพื่อปฏิรูป “พลเมืองไทยในอนาคต” ให้มีความเป็นพลเมืองเต็มขั้น การพัฒนากลไกความ ร่วมมือระหว่างสถานศึกษาและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนในการขับเคลื่อนและผลักดันหลักสูตร ต้านทุจริตศึกษาไปใช้อย่างครอบคลุมทุกหน่วยงานและทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งกลไกในการพัฒนา ศักยภาพครูผู้สอนให้มีความรู้ ความเข้าใจในการถ่ายทอดหลักสูตร ทั้งนี้ การจัดสรรงบประมาณหรือการวางทิศทาง ของโครงการในอนาคต ควรเน้นการเปลี่ยนทัศนคติของเด็กและเยาวชนในการฝึกปฏิบัติ ๒๑-๘ ๑.๒) สร้างองค์ความรู้ให้กับประชาชน เพื่อสร้างการรับรู้ผ่านการพัฒนาหลักสูตร เครื่องมือ แนวทางความร่วมมือที่มีความเหมาะสมกับแต่ละช่วงอายุ ตลอดจนการใช้นวัตกรรม หรือเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและให้เท่าทันกับสถานการณ์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตระหนัก มีความละอายต่อการ กระทาความผิด ไม่เพิกเฉยอดทนต่อการทุจริต และเข้ามีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ ๒) ส่งเสริ มการปฏิบัติ หน้า ที่ของข้า ราชการและเจ้า หน้า ที่ของรั ฐให้ มีค วามใสสะอาด ปราศจากพฤติกรรมที่ส่อไปในทางทุจริต เป็นภาครัฐที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ประชาชน โดยการปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างเปิดเผย โปร่งใส ถูกต้อง เป็นธรรม ไม่คดโกง รู้จักแยกแยะเรื่องส่วนตัวออก จากหน้าที่การงาน การสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารงาน หัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ หรื อ ผู้บังคับบัญชามีมาตรการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบ และเป็นตัวอย่างในการบริหารงานด้วยความชื่อตรงและรับผิดชอบ กรณีปล่อยปละละเลยไม่ดาเนินการให้ถือ เป็นความผิดวินัยหรือความผิดทางอาญา ตลอดจนการสร้างจิตสานึกและค่านิยมในการต่อต้านการทุจริตให้แก่ บุคลากรขององค์กร โดยการสนับสนุนให้ข้ าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้ามามีส่วนร่วมเป็นเครือข่ายต่อต้าน การทุจริตในหน่วยงานภาครัฐ เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง สอดส่อง ติดตามพฤติกรรมเสี่ยงและ แจ้ งเบาะแส เพื่อสกัดกั้น มิให้ เกิดการทุจริ ตประพฤติมิชอบได้ โดยมีมาตรการสนับสนุนและคุ้มครองผู้แจ้ ง เบาะแส เจ้ าหน้ าที่ที่รั บ ผิ ดชอบงานด้านการป้ องกันและปราบปรามการทุจริต ให้ มีความปลอดภัยในกา ร ปฏิบัติงานมีความก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพ และควรมีมาตรการยกระดับความสามารถของหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานระดับต่ากว่ากรม โดยเฉพาะหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการอนุมัติ อนุญาต ให้ มีการพัฒ นา เสริ มสร้ างและต่อยอดองค์ความรู้และทักษะการเปิดเผยข้อมูล การป้องกันการทุจริต และ การให้บริการสาธารณะผ่านทางเว็บไซต์ของหน่วยงานให้มีคุณภาพ ครบถ้วน สมบูรณ์ ถูกต้อง ทั้งนี้ ควรให้ ความสาคัญกับการพัฒนาการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและระบบคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตที่มีประสิทธิภาพ สนับสนุนการเปิดเผยข้อมูลให้เป็นไปตามหลักสากลและพัฒนาการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐเพื่อให้ประชาชนรับรู้ และมีส่วนร่วม เพื่อการเฝ้าระวังและลดโอกาสการทุจริต ๓) พัฒนาค่านิยมของนักการเมืองให้มีเจตนารมณ์ที่แน่วแน่ในการทาตนเป็ นแบบอย่างที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม เนื่องจากผู้บริหารประเทศ ท้องถิ่น ชุมชน ต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมสูงกว่ามาตรฐานทางจริยธรรมทั่วไปในสังคม เพื่อเป็นต้นแบบแก่ประชาชน เด็ก เยาวชน และสังคมโดยรวม โดยนอกเหนือจากคุณสมบัติตามที่กาหนดตามกฎหมายแล้ว ผู้บริหารประเทศต้องมีคุณสมบัติ ทางจริยธรรมด้วย มีการพัฒนายกระดับการมีจริยธรรมของผู้ดารงตาแหน่งทางการเมือง เพื่อสร้างนักการเมืองที่มี คุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งกากับจริยธรรมภายในพรรคการเมือง ผลักดันให้นักการเมืองและพรรคการเมืองแสดง เจตจานงในการต่อต้านการทุจริตต่อสาธารณะ และนาเจตจานงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริตไปสู่การปฏิบัติ อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งประชาชนสามารถใช้เป็นข้อมูลในการตรวจสอบต่อไป มีการยกระดับและกากับติดตาม มาตรฐานจริ ยธรรมของผู้ ดารงตาแหน่ งทางการเมือง ปรับปรุงแก้ไขการพัฒ นามาตรการสกัด กั้นการทุจริต เชิงนโยบายในการดาเนินโครงการขนาดใหญ่ให้เป็นการพัฒนามาตรการสกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบายทางการเมือง ที่มีความเกี่ยวข้องกับนโยบายของพรรคการเมืองในการหาเสียงนาไปสู่การปฏิบัติของหน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะ ผู้นาต้องสื่อสารมาตรการการยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังการ ทุจริตในทุกรูปแบ ๒๑-๙ ๔) ปรับ “ระบบ” เพื่อลดจานวนคดีทุจริตและประพฤติมิชอบในหน่วยงานภาครัฐ มุ่งเน้น การสร้างนวัตกรรมการต่อต้านการทุจริตอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนให้การดาเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอนการดาเนินงาน และมีความเท่าทันต่อพลวัตของการทุจริต โดยพัฒนา เครื่องมือ การปรับปรุงกฎหมายให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น รวมทั้ งการตัดสินคดีที่มีความรวดเร็ว เพื่อสร้างความ โปร่งใส มุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรมและมาตรการในการต่อต้านการทุจริตที่มีประสิทธิภาพ และเท่าทันต่อพลวัต ของการทุจริต นอกจากนี้ ควรให้ความสาคัญกับการประเมินความเสี่ยงด้านการทุจริต เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ มีมาตรการ ระบบ หรือแนวทางในบริหารจัดการความเสี่ยงของการดาเนินงานที่อาจก่อให้ เกิดการทุจริต และ การบูรณาการติดตามประเมินผลการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐ และรัฐวิสาหกิจตั้งแต่ขั้นวางแผนก่อนดาเนินงาน ขั้นระหว่างการดาเนินงาน และขั้นสรุปผลหลังการดาเนิน โครงการ มีการใช้สื่อสร้างสรรค์เป็นเครื่องมือเพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ให้กับทุกภาคส่วนทั้งภายในและ ภายนอกประเทศ ใช้นวัตกรรมนาเสนอในรูปแบบที่ทันสมัย น่าสนใจ โดยใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อให้เข้าถึง ภาคประชาชน และสร้างการมีส่วนร่วมหรือปฏิสัมพันธ์กับ ผู้รับสาร ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เพื่อลดคดีทุจริตอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งบูรณา การเชื่อมโยงข้อมูลการสอบสวนทางวินัยระหว่างหน่วยงานที่มีหน้าที่ในภารกิจที่เกี่ยวข้อง บริหารจัดการคดี โดยนาเทคโนโลยีมาใช้กับกระบวนการยุติธรรม สามารถปกปิดตัวตน ติดตามความคืบหน้าได้ในทุกขั้นตอน สามารถกากับดูแลการใช้ดุลยพินิจ กระบวนการยุติธรรมที่รวดเร็ว โปร่งใส ไม่เลือกปฏิบัติ ๕) ปรับระบบงานและโครงสร้างองค์กรที่เอื้อต่อการลดการใช้ดุลยพินิจในการปฏิบัติงาน ของเจ้าหน้าที่ เช่น การนาระบบเทคโนโลยีเข้ามาใช้แทนการใช้ดุลยพินิจ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน การสร้าง มาตรฐานที่โปร่งใสในกระบวนการบริการของภาครัฐ โดยสนับสนุนกระบวนการตั้งคณะกรรมการให้มีความโปร่งใส เพื่อมาทาหน้าที่เป็นกลไกตรวจสอบและเสริมสร้างหน่วยงานตรวจสอบภายในให้เป็นกลไกอิสระ เป็นมืออาชีพ ในการเฝ้าระวังการทุจริตในหน่วยงาน โดยทุกหน่วยงานของรัฐต้องพัฒนาระบบการตรวจสอบภายในของหน่วยงาน ให้มีประสิทธิผลอยู่เสมอ เพื่อสนับสนุนให้เกิดกระแสการตรวจสอบอย่างจริงจัง ตลอดจนลดขั้นตอนกระบวนการ และระยะเวลาในการปฏิบัติงานด้วยวิธีปฏิบัติที่ชัดเจนตรวจสอบได้ มาตรการและกลที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกัน การใช้ดุลยพินิจ ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อลดการใช้ดุลยพินิจของผู้มีอานาจในการพิจารณา อนุมัติ อนุญาต รวมถึงการสร้างความโปร่งใสในการบริการข้อมูลภาครัฐทั้งระบบ โดยพัฒนาระบบข้อมูลดิจิทัล ที่กาหนดกฎเกณฑ์ กติกา กระบวนการขั้นตอนการดาเนินงาน การเข้าถึงข้อมูล รวมถึงข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง และการใช้งบประมาณของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลสาธารณะ สร้างความโปร่งใส และส่งเสริม ให้มีการตรวจสอบการบริหารจัดการของภาครัฐโดยสาธารณชน ซึ่งรวมถึงการมี กลไกที่เปิดโอกาสให้ประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างและการดาเนินการภาครัฐ เพื่อบูรณาการการทางานของรัฐ และประชาชน รวมถึงส่งเสริม สนับสนุนการตื่นตัวและเพิ่มขีดความสามารถของประชาชนในการเฝ้าระวังและ ป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบที่มีอยู่ใกล้ ตัว โดยมีมาตรการสนับสนุนและคุ้มครองผู้ชี้เบาะแสที่สามารถ สร้างความเชื่อมั่นและมั่นใจให้กับผู้ให้เบาะแส มีการประสานเชื่อมต่อการทางานระหว่างเครือข่ายภาคประชาชน เองหรือกับหน่วยงานให้เป็นไปอย่างไร้รอยต่อ โดยยังคงอัตลักษณ์ของเครือข่าย และมีการดาเนินงานในทิศทางเดียวกัน ๒๑-๑๐ ๖) สนับสนุนกลไกและบูรณาการทางานเพื่อการป้องกัน การทุจริต โดยเฉพาะในระบบ ราชการ โดยผลักดันให้การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดาเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ มีความ เชื่อมโยงกับการยกระดับค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต และจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียนและ พัฒนาองค์ความรู้ที่จาเป็นต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการ ปฏิบัติงานต่อไป ๗) สนั บ สนุ น มาตรการการมี ส่ ว นร่ ว มของภาคส่ ว นต่ า ง ๆ ในการป้ อ งกั น การทุ จ ริ ต โดยผ่านมาตรการต่าง ๆ เช่น เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมิน คะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต จัดทาโครงการ หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในการประเมิน คะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต ผ่านงบบูรณาการต่อต้าน การทุจริตและประพฤติมิชอบ ประเมินแบบจาลองการประเมินคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต กับหน่วยงาน ภายในประเทศ โดยกาหนดแหล่งประเมินจากองค์กรและบุคคลที่น่าเชื่อถือและให้หน่วยงานที่มีความเป็นอิสระ ทาหน้าที่ประเมิน ตลอดจน เร่งรัดการพัฒนาระบบราชการไทยให้โปร่งใส ไร้ผลประโยชน์ โดยบริหารจัดการ การยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐต่อหัวหน้ าส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ ที่ตนสังกัดหรือปฏิบัติงานอยู่ เป็นต้น นอกจากนี้ ควรสร้างการรับรู้เชิงรุกในส่วนของภาคประชาสังคม ทั้งใน ระดับพหุภาคี ภูมิภาคและทวิภาคี การสร้างการรับรู้เชิงรุกให้ถึงภาคประชาสังคมและสร้างปรากฏการณ์ทางสื่อ ในเชิงบวก และการสร้างการรับรู้เชื่อมโยงถึงหน่วยงานที่จัดส่งข้อมูลให้กับแหล่งการประเมินดัชนีการรับรู้การ ทุจริต โดยการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ทั้งในระบบสื่อสังคมออนไลน์ และรูปแบบเอกสารต่าง ๆ การบริหาร จัดการเชิงกลยุทธ์ในการประชาสัมพันธ์นโยบาย ผลงานของรัฐบาล สร้างการรับ รู้เชิงรุก โดยเฉพาะหน่วยงาน ต่าง ๆ ที่เป็นศูนย์กลางในการจัดส่งข้อมูลประเทศไทยให้กับแหล่งการประเมินต่าง ๆ ของการประเมินคะแนน ดัชนีการรับรู้การทุจริต และสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริต ๓.๒ แผนย่อย การปราบปรามการทุจริต มีเป้าหมายเพื่อให้การดาเนินคดีทุจริต มีความรวดเร็ว เป็นธรรม โปร่งใส ไม่เลือกปฏิบัติ ผ่านการพัฒนา กลไกและกระบวนการปราบปรามการทุจริตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น กฎหมายจะต้องมีความทันสมัย การบังคับ ใช้กฎหมายและการดาเนินคดีจะต้องมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ทาให้คดีความมีปริมาณลดลง แนวทางในการ ปราบปรามการทุ จ ริ ตและประพฤติ มิ ช อบ จึ ง ควรมุ่ ง เน้ น การส่ ง เสริ ม การปรับ ปรุ ง กระบวนการและกลไก ที่เกี่ยวข้องในการปราบปรามการทุจริตเป็นไปอย่างต่อเนื่อง มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้ง ปรับปรุงกฎหมายและตรากฎหมายใหม่เพื่อสนับสนุนให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และ มุ่งทาให้ผู้กระทาความผิดได้รับการดาเนินคดีและลงโทษทั้งทางวินัยและอาญาอย่างรวดเร็วและเป็นรูปธรรม เพื่อให้สังคมเกิดความเกรงกลัวต่อการทุจริต ควบคู่ไปกับการปรับปรุงระบบข้อมูลเรื่องร้องเรียนที่เชื่อมโยง ระหว่างหน่วยงานต่อต้านการทุ จริตที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดาเนินคดี โดยเฉพาะการวางกลไก หรื อระบบการขับ เคลื่ อนแผนงานเชิงรุ กของรัฐ บาลในการยกระดับคะแนนดัช นีการรับรู้การทุจริต มุ่งเน้น ให้มีระบบ กลไกการขับเคลื่อนแผนงานเชิงรุกของรัฐบาลในการยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริตอย่าง ต่อเนื่อง โดยดาเนินการปราบปรามอย่างจริงจังและมีระบบการลงโทษที่เข้มงวด เร่งรัดติดตามการดาเนินคดีใหญ่ คดีที่มีความสาคัญระดับประเทศ คดีทุจริตที่มีผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง หรื อคดีที่สังคมให้ความสนใจ และรายงานผลการเร่งรัด ติดตามต่อสาธารณะอย่างต่อเนื่อง การบังคับใช้กฎหมายต้องมีความรวดเร็ว เด็ดขาด จริงจัง แม่นยาและเป็นธรรม ๒๑-๑๑ ๓.๒.๑ เป้าหมายและตัวชี้วัดของแผนแม่บทย่อย การปราบปรามการทุจริต ค่าเป้าหมาย รหัส เป้าหมาย ตัวชี้วัด ปี ๒๕๖๖ - ปี ๒๕๗๑ - ปี ๒๕๗๖ - เป้าหมาย ๒๕๗๐ ๒๕๗๕ ๒๕๘๐ ๒๑๐๒๐๑ การดาเนินคดีทุจริต สัดส่วนกระบวนการ ไม่เกิน ไม่เกิน ไม่เกิน มีความรวดเร็ว เป็น ดาเนินคดีทุจริตที่ ๒๐ ๑๕ ๑๐ ธรรม โปร่งใส ไม่เลือก จาเป็นต้องขอขยาย ปฏิบัติ ระยะเวลาเกินกว่า กรอบเวลาปกติ ทีก่ ฎหมายกาหนด ต่อกระบวนการ ดาเนินคดีทุจริต ทั้งหมด (ร้อยละต่อปี) สัดส่วนคดีอาญาที่ ไม่เกิน ไม่เกิน ไม่เกิน หน่วยงานไต่สวน ๓ ๒ ๑ คดีทุจริตถูกฟ้องกลับ ต่อคดีที่ส่งฟ้องทั้งหมด (ร้อยละต่อปี) ๓.๒.๒ แนวทางการพัฒนา ๑) เพิ่มประสิทธิภาพการดาเนินงานของกระบวนการและกลไกการปราบปรามการทุจริต โดยเสริมสร้างหน่วยงานตรวจสอบภายในให้เป็นกลไกอิสระและมีความเป็นมืออาชีพในการเฝ้าระวังการทุจริต ในหน่วยงาน ทุกหน่วยงานของรัฐต้องพัฒนาระบบการตรวจสอบภายในของหน่วยงานให้มีประสิทธิผลอยู่เสมอ พร้อมทั้งยกระดับมาตรการ กลไก และมาตรฐานด้านการปราบปรามการทุจริต ตลอดจนปรับกระบวนการทางาน ด้านการปราบปรามการทุจริตเข้าสู่ระบบดิจิทัลมาใช้ในกระบวนการทางานด้านการปราบปรามการทุจริตให้ได้ มาตรฐานสากลและเป็น มาตรฐานเดียวกัน ซึ่งรวมถึงการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและฐานข้ อ มูล เกี่ยวกับการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินที่ทันสมัย เท่าทันต่อการบิดเบือนทรัพย์สินและหนี้สิน รวมทั้งบูรณา การข้อมูลกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต่าง ๆ ในการตรวจสอบความถูกต้องของทรัพย์สินและหนี้สิน ๒) ปรับปรุงกระบวนการปราบปรามการทุจริตให้มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพและ บังคับใช้กฎหมายให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างจริงจัง อาทิ ทบทวนกฎหมายที่ประกาศใช้แล้วให้มีความเป็น ปัจจุบัน ปรับปรุงขั้นตอนการดาเนินการที่ล่าช้าของหน่วยงานในกระบวนการปราบปรามการทุจริตให้มีความ รวดเร็วและกระชับมากขึ้น เพื่อให้การดาเนินการปราบปรามการทุจริตตลอดกระบวนการจนถึงการลงโทษ ผู้กระทาความผิดเมื่อคดีถึงที่สุดเป็นไปอย่างรวดเร็วเห็นผล มีประสิทธิภาพ และเป็นที่ประจักษ์ของประชาชน อาทิ การบู ร ณาการประสานงานคดี ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การทุ จ ริ ต และประพฤติ มิ ช อบ การปรั บ ปรุ ง ขั้ น ตอน การดาเนินการที่ล่าช้าและซ้าซ้อนกันของหน่วยงานในกระบวนการปราบปรามการทุจริตทั้งระบบให้มีความรวดเร็ว การบูรณาการพัฒนาระบบฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานปราบปรามการทุจริตให้เข้าถึงง่ายและมี ประสิทธิภาพ ๒๑-๑๒ การปรั บปรุ งและพัฒนาระบบและกลไกที่เกี่ยวข้องกับการสืบสวนปราบปราม เพื่อเพิ่มประสิ ทธิภาพในการ ดาเนินการกับทรัพย์สินหรือผู้กระทาความผิดต่อตาแหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายฟอกเงินเพื่อให้ การติดตามทรัพย์สินคืนยึดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินที่ได้มาโดยมิชอบ ไม่ให้เกิดความเสียหายขึ้น รวมทั้งการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงาน องค์กรต่อต้านการทุจริตและ องค์กรเอกชนในระดับนานาชาติ เพื่อสนับสนุนข้อมูลและองค์ความรู้ในการปราบปรามการทุจริต พยานหลักฐาน และอาชญากรรมข้ามชาติให้มีข้อมูลที่ครบถ้วน ๓) พัฒนาการจัดการองค์ความรู้ด้านการปราบปรามการทุจริต โดยจัดทาระบบฐานข้อมูล องค์ความรู้ด้านการปราบปรามการทุจริต โดยประมวลจากคดีการทุจริตและผู้เชี่ยวชาญของหน่วยงานต่าง ๆ ในกระบวนการปราบปรามการทุจริต เพื่อให้เจ้าหน้าที่ปราบปรามการทุจริตของแต่ละหน่วยงานได้ศึกษาและ มี ส มรรถนะ ความรู้ ที่ เ ป็ น มาตรฐาน การพั ฒ นาสมรรถนะและองค์ ค วามรู้ เ ชิง สหวิท ยาการของเจ้ าหน้าที่ ในกระบวนการปราบปรามการทุจริ ต เพื่อให้มีความรู้ ทักษะ ขีดความสามารถที่เป็นมาตรฐานและเท่ า ทัน ต่อพลวัตของการทุจริต ๒๑-๑๓

Use Quizgecko on...
Browser
Browser