Thai Environmental and Natural Resources PDF
Document Details
Uploaded by PreferablePine
Ho Chi Minh City University of Social Sciences and Humanities
Tags
Summary
This document discusses the various types of natural resources found in Thailand, including soil, forests, water, minerals, and wildlife. It details different types of soil, forests, their characteristics, and distribution across the country. It also covers the importance of natural resources, their management, and potential issues regarding their depletion.
Full Transcript
บทที่ 2 สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติที่สําคัญของไทย ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นดินแดนที่มีสิ่งแวดล้อมที่สวยงามและมีทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น ดิน น้ํา ป่าไหม้ แร่ธาตุ สัตว์ป่า อุดมสมบูรณ์กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศซึ่งเป็นปัจจัย พื้นฐานให้คนไทยได้ใช้ประโยชน์เพื่อการดํารงชีพมายาวนานตั้งแต่คร...
บทที่ 2 สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติที่สําคัญของไทย ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นดินแดนที่มีสิ่งแวดล้อมที่สวยงามและมีทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น ดิน น้ํา ป่าไหม้ แร่ธาตุ สัตว์ป่า อุดมสมบูรณ์กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศซึ่งเป็นปัจจัย พื้นฐานให้คนไทยได้ใช้ประโยชน์เพื่อการดํารงชีพมายาวนานตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ แต่ทว่าสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไยมีแนวโน้มที่จะเสื่อมโทรมหรือลด ปริมาณลง เนื่องมาจากสาเหตุการเพิ่มจํานวนประชากร ด้วยเหตุนี้ จึงต้องมีการวางแผน จัดการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อจะได้ใช้ ประโยชน์ต่อไปอีกยาวนาน 1. ดิน ดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิตของมนุษย์ สัตว์ และพืช เกิดจากวัตถุ ธรรมชาติที่ทับถมปกคลุมเป็นชั้นบางๆ อยู่บนส่วนใหญ่ของพื้นผิวเปลือกโลก ดินมีลักษณะและ คุณสมบัติแตกต่างกันไปในที่ต่างๆ ของโลก ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ หลายประการ ที่สําคัญได้แก่ ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ ชนิดของหินเปลือกโลกที่ให้กําเนิดดิน และระยะเวลาที่ดินมี การเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการ ดินที่พบตามภูมภาคต่างๆ ของประเทศไทย แบ่งประเภทออกได้ดังนี้ 1) ดินตะกอนลุ่มน้ํา พบทั่วไปตามบริเวณที่ราบลุม่ น้ํา เป็นดินตะกอนน้ําพามาเป็นดินเหนียว ดินประเภทนี้เหมาะสําหรับปลูกข้าว 2) ดินลานตะพักลําน้ํา พบในบริเวณที่ราบ เป็นดินร่วนที่เหมาะกับการเพาะปลูกพืชไร่ และสวนพลไม้ 24 3) ดินภูเขา เป็นดินที่พบตามแถบภูเขาสูง ไหล่เขา ดินประเภทนี้จะมีพวกหินผุ กรวดทราย ปนอยู่มาก ลักษณะของชั้นดินบาง เหมาะในการปลูกไม้ยืนต้น ประเภทการใช้ที่ดิน (ร้อยละ) พื้นที่เบ็ดเตล็ด 10% พื้นที่น้ำ 1.1% พื้นที่ชุมชนและสิ่ง ปลูกสร้าง 1.4% พื้นที่ป่าไม้ 32.9 % พื้นที่เกษตรกรรม 54.5% ที่มา: กรมพัฒนาที่ดิน 2544 2. ป่าไม้ ป่าไม้นับว่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสําคัญต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ คือ มีคุณค่า ในด้านการให้เนื้อไม้ซึ่งเป็นประโยชน์โดยตรง อีกทั้งยังให้ประโยชน์ทางอ้อมที่มีคุณค่ามหาสาล ได้แก่ การมีบทบาทอันสําคัญยิ่งต่อระบบนิเวศ เป็นแหล่งกําเนิดต้นน้ําลําธารในเขตภูเขา เป็นตัวควบคุมการไหลของธารน้ํา ช่วยป้องกันการสึกกร่อนของหน้าดิน เป็นตัวการในการสร้าง วัฏจักรของคาร์บอน ไนโตรเจน และออกซิเจน เป็นแหล่งสําคัญที่ก่อให่เกิดพืชและสัตว์ คือเป็นแหล่งรวมความหลากหลายทางพัธุกรรม ป่าไม้ในประเทศไทยกระจายอยู่ทุกภูมิภาค แต่จะมีลักษณะที่แตกต่างกันตามลักษณะ 25 ภูมิประเทศและภูมิอากาศที่พรรณไม้นั้นกระจายอยู่ ซึ่งสามารถจําแนกได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ป่าไม้ทิ้งใบและป่าไม้ไม่ทิ้งใบ 2.1 ป่าไม้ไม่ทิ้งใบ (evergreen forests) ป่าไม้ประเภทนี้มีกระจายอยู่ในเขตที่มีภูมิประเทศแบบภูเขาที่สูงเกิน 600 เมตรจากระดับ น้ําทะเล และมีฝนตกชุกมากกว่า 2,000 มิลิลิตรต่อปี หรือในที่ชุ่มน้ํา ประกอบด้วย 1) ป่าดิบ (tropical evergreen forest) ลักษณะทั่วไปของป่าดิบจะดีหมู่ไม้ 3 ระดับ ดังนี้ ชั้นบน ประกอบด้วยไม้ที่มีความสูงมากกว่า 30 เมตร ลําต้นมีลักษณะเปลา (เปลา หมายความว่า สูงชะลูด ไม่มีกิ่งที่ลําต้น นับจากพื้นดินขึ้นไปถึง 20 เมตร) ไม้สําคัญ ได้แก่ ไม้ยาง ไม้กระบาก ไม้สมพง และไม้อบเชย ชั้นกลาง ประกอบด้วยเรือนยอดไม้ขนาดเล็กนานาชนิดปะปนด้วยปาล์มชนิดต่างๆ เถาวัลย์ ต้นตาว เต่าร้าง ไม้ไฝ่ แลพหวาย ชั้นล่าง ประกอบด้วยพันธุ์ไม้วงศ์บุก บอน เฟริน และมอสส์ ที่มา สํานักจัดการที่ดินป่าไม้ กรมป่าไม้ 2552 26 ที่มา สํานักจัดการที่ดินป่าไม้ กรมป่าไม้ 2555 2) ป่าดิบเขา (hill evergreen forest) ป่าไม้ชนิดนี้พบในพื้นที่ที่มีภูมิประเทศแบบภูเขาที่สูงเกิน 1000 เมตรจากระดับน้ําทะเล และมีความชื้นจากน้ําฟ้าหรือธารน้ําไหล ไม้สําคัญ ได้แก่ ไม้ก่อ ไม้กํายาน ไม้จําปา ไม้จําปีป่า บนต้นไม้สูงๆ มักจะมีกล้วยไม้ และเฟิร์นเกาะอยู่ตามลําต้น มักพบป่าดิบเขาในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3) ป่าสนเขา (coniferous forest) ป่าชนิดนี้พบมากบริเวณภูเขาที่มีความสูงเกิน 700 เมตรจากระดับน้ําทะเล มักพบแถบภาคเหนือ เช่น จังหวัดแม่ห้องสอน เชียงราย เชียงใหม่ และในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบในบริเวณจังหวัดเลย ป่าสนเขาที่พบในประเทศไทย เป็นป่าสนสองใบและป่าสนสามใบ 27 4) ป่าเลนน้ําเค็ม (mangrove forest) เป็นป่าไม้ที่ขึ้นบริเวณตามชายทะเล ในที่ดินเป็นเลนซึ่งเกิดจากตะกอนแม่น้ําไหลไปปะปนกับตะกอนทะเล จึงพบป่าชนิดนี้บริเวณ ชายฝั่งทะเลที่มีแม่น้ําไหลออกมาจากแผ่นดิน ไม้ในป่าเลนน้ําเค็มที่สําคัญ ได้แก่ ไม้โกงกาง ไม้ประสัก ไม้แสม ไม้ลําพู และต้นจาก 5) ป่าพรุ (swamp forest) เป็นป่าไม้ที่พบในพื้นที่แบบพรุน้ําจืดและน้ํากร่อย พันธุ์ไม้สําคัญ ได้แก่ ไม้ชุมแสง ไม้เสม็ด 2.2 ป่าไม้ทิ้งใบ (deciduous forest) ป่าไม้ประเภทนี้จะกระจายอยู่ในเขตภูมิอากาศที่มีฤดูแล้งและอากาศแห้งอย่างชัดเจนในช่วงมรสุ มตะวันออกเฉียงเหนือ และมักพบในบริเวณพื้นที่เชิงเขา หริอ เขาที่มีความสูงต่ํากว่า 1000 เมตรจากระดับน้ําทะเล ลักษณะเด่นของป่าประเภทนี้ คือ ต้นไม้จะทิ้งใบจนหมดหรือ เกือบหมดลําต้นในช่วงฤดูแล้ง เช่น ต้นสัก ป่าไม้ทิ้งใบประกอบด้วย 1) ป่าเบญจพรรณ (mix deciduous forest) ลักษณะเด่น คือ เป็นป่าโปร่ง มีต้นสักเป็นไม้สําคัญ ไม้อื่น ๆ ได้แก่ ไม้ยาง ไม้แดง ไม้ไฝ่ ทั้งนี้ ป่าเบญจพรรณจะพบได้ในทุกภูมิภาค ดดยในภาคใต้จะพบน้อยที่สุด 2) ป่าแดงหรือป่าโคก (deciduous dipterrocarps forest) ลักษณะเด่น เป็นป่าโปร่งสลับทุ่งหญ้า มักพบอยู่ตามภูมิประเทศแบบที่ดอน โคก ที่เรียกป่าแดง เนื่องจากเป็นไม้ที่ขึ้นได้ดีในดินสีแดง ทนความแห้งแล้งได้ดี ในภาคเหนือเรียกป่าแพะ ไม้สําคัญได้แก่ ไม้แดง ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้มะขามป้อม และสิง่ ที่น่าสังเกต 28 ของป่าประเภทนี้อีกประการหนึ่งคือ พืชพื้นล่างจะเป็นหญ้าเพ็กและต้นปรง ป่าแดงพบมากในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3. น้ํา น้ําเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสําคัญ และมีความจําเป็นต่อการดํารงชีวิตของมนุษย์ สัตว์ และพืช โดยเฉพาะมนุษย์จะนําน้ํามาใช้ในกิจกรรมต่างๆ เช่น ใช้ในการดื่มกิน ชําระล้างสิ่ง ปฏิกูลต่างๆ รวมไปถึงใช้ในการคมนาคมขนส่ง การสาธารณสุข การเกษตร การอุตสาหกรรม เป็นต้น ชึ่งน้ําที่นํามาใช้ในกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ จะได้มาจากแหล่งสําคัญ 3 แหล่ง ประกอบด้วย น้ําผิวดิน หรือ น้ําท่า อันได้แก่ น้ําตามแม่น้ําลําคลอง ห้วย หนอง บึง ทะเลสาบ น้ําใต้ดิน หรือ น้ําบาดาล และน้ําฝน แม้ว่าประเทศไทยจะได้รับปริมาณน้ําฝนเฉลี่ย 1,695 มิลิเมตรต่อปีซึ่งถือว่าอยู่ในระดับสูงก็ตาม แต่ยังมีบางพื้นที่ที่ได้รับปริมาณน้ําฝนน้อยจนก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ํา และ ความแห้งแล้ง ดังนั้น จึงจําเป็นต้องหาวิธใี นการจัดเก็บรักาา ควบคุมน้ํา และระบายน้ํา เพื่อนําไปใช้ในกิจการต่างๆ เช่น เกษตรกรรม อุตสาหกรรม สาธารณูปโภคต่างๆ รวมถึงการป้องกันความเสียหายอันเกิดจากน้ํา โดยการสร้างอ่างเก็บน้ําและเขื่อนอยู่ใน ความรับผิดชอบของกรมชลประทาน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เช่น เขื่อน ภูมิพล (ตาก) เขื่อนสิริกิติ์ (อุตรดิตถ์) เขื่อนวชิราลงกรณ์ (กาญชนบุรี) เป็นต้น 4. อากาศ อากาศเป็นสิ่งจําเป็นต่อการดํารงชีวิตของสิ่งมีชวิตทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ สัตว์ และพืช ล้วนต้องการอากาศที่บริสุทธิ์ทั้งนั้นซึ่งอากาศที่บริสทุ ธิ์จะมีส่วนประกอบและส่วนผสมที่คงที่ คือ 29 ก๊าซต่างๆ ได้แก่ ไนโตรเจนร้อยละ 78 ออกซิเจนร้อยละ 21 คาร์บอนไดออกไซด์ร้อยละ 0.03 และมีคาร์บอนไฮโดรเจน และก๊าซอื่นๆ อีก รวมร้อยละ 0.07 ในปริมาณที่คงที่ ปัจจุบัน อากาศในประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงและเสื่อมสภาพไปจนก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่ง มีชีวิต หรือที่เรียกว่า เกิดมลพิษทางอากาศ อันได้แก่ มีสารมลพิษปะปน เกิดรังสี และเกิดภาวะเรือนกระจก 5. สัตว์ป่า สัตว์ป่าเป็นสิ่งงดงามประดับธรรมชาติและมีประโยชน์ต่อมนุษย์ ปัจจุบัน สัตว์ป่าของไทย ได้ลดลงเป็นจํานวนมากและบางชนิดได้สูญพันธุ์ไปแล้วเนื่องจากการถูกล่าทาง เศรษฐกิจ และถ้าหากไม่ได้รับความร่วมมือในการคุ้มครองอย่างจริงจัง สัตว์หลายชนิดก็จะสูญพันธุ์ไปหมด รัฐบาลจึงได้หาแนวทางในการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าโดยการออกพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครอ งสัตว์ป่าขึ้น ซึ่งฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบนั คือ พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 โดยมีสาระสําคัญคือ ห้ามมิให้ผู้ใดล่าหรือพยายามล่าสัตว์ป่าสงวน หรือสัตว์ป่าคุ้มครอง เว้นแต่เป็นการกระทําโดยทางราชการ เช่น การกระทําเพื่อประโยชน์ในการสํารวจ การศึกษาและวิจัยทางวิชาการ การคุ้มครองสัตว์ป่า การเพาะพันธุ์ หรือเพื่อกิจการ สวนสาธารณะ ซึ่งกระทําโดยทางราชการ สัตว์ป่าแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภค คือ สัตว์ป่าสงวน และสัตว์ป่าคุ้มครอง 5.1 สัตว์ป่าสงวน หมายถึงสัตว์ป่าที่หายากและกําลังจะสูญพันธุ์ ห้ามล่าเด็ดขาด สัตว์ป่าสงวนปัจจุบันมีอยู่ทั้งหมด 15 ชนิด ได้แก่ นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร แรด กระซู่ กูปรี ควายป่า ละอง หรือละมั่ง สมัน 30 หรือเนื้อสมัน เลียงผา กวางผาจีน นกแต้วแร้วท้องดํา นกกระเรียนไทย แมวลายหินอ่อน สมเสร็จ เก้งหม้อ พะยูน หรือหมูน้ํา 5.2 สัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า แบ่งออกได้ดังนี้ 1) สัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่หนึ่ง หมายถึงสัตย์ป่าซึ่งตามปกติ คนไม่ใช้เนื้อเป็นอาหาร หรือไม่ล่าเพื่อการกีฬา หรือสัตว์ป่าที่ทําลายศัตรูพืชหรือขจัดสิ่งปฏิกูล หรือสัตว์ป่าที่ ควรสงวนไว้ประดับความงามตามธรรมชาติ หรือสงวนไว้มิให้จํานวนลดลง เช่น ลิงทุก ชนิด ชะนี บ่าง เสือไฟ ช้างป่า หรือ ช้างเถื่อน ค่าง เม่น นาก นกนางนวล เป็นต้น 2) สัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่สอง หมายถึงสัตย์ป่าซึ่งตามปกติ ใช้เนื้อเป็นอาหาร หรือล่า เพื่อการกีฬา เช่น กวาง ไก่ป่า เสือดาว หรือ เสือดํา เสือโคร่ง นกเป็ดน้ํา เป็นต้น 31 6. แร่ธาตุ แร่ธาตุ์เป็นเป็นอนินทรียวัตถุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป ไม่สามารถเกิดขึ้นมาทดแทนใหม่ได้ นอกจากต้องสํารวจเพื่อหาแหล่งใหม่ พบอยู่ทั่วไปตามผิว เปลือกโลก แร่ส่วนมากจะเกิดร่วมกับหินชนิดต่างๆ แร่ในประเทศไทยแบ่งตามคุณประโยชน์ ทางเศรษฐกิจออกได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่ แร่โลหะ 1. แร่ดีบุก มีมากทางภาคใต้ ตะวันออกเฉียงใต้ แต่ในปัจจุบันเหมืองแร่ดีบุกได้ขยายไปถึง ราชบุรี กาญจนบุรี อุทัยธานี ตาก เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย 2. เหล็ก พบแหล่งแร่เหล็กหลายแห่งในประเทศไทย เช่น ที่อําเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ที่เขาทับควาย จังหวัดลพบุรี ที่เขาอึมครึม จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น ปัจจุบันแร่เหล็กลด จํานวนน้อยลง เหล็กที่ใช้อยู่ในประเทศไทยปัจจุบันส่วนมากนําเข้าจากต่างประเทศ ส่วนเหล็ก ในประเทศไทยนํามาเป็นส่วนประกอบของปูนซีเมนต์ เช่น ที่ลพบุรี สระบุรี 3. แมงกานีส ที่ขุดพบในไทยมีทั้งชนิดที่ใช้ในอุตสาหกรรมโลหะ ชนิดที่ใช้ในการทําแบตเตอรี่ และชนิดที่ใช้ในการทําอุตสาหกรรมเคมี ชนิดแบตเตอรี่ได้นํามาใช้ในโรงงานทํา ถ่านไฟฉายภายในประเทศ ส่วนอีกสองชนิดส่งออกไปขายต่างประเทศ และทําอุตสาหกรรม เหล็กกล้าภายในประเทศแหล่งที่พบแมงกานีส และเปิดทําเหมืองแล้ว เช่น ที่อําเภอเชียงคาน จังหวัดเลย (ชนิดแบตเตอรี่) อําเภอลี้ จังหวัดลําพูน อําเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี เกาะล้าน เกาะคราม จังหวัดชลบุรี อําเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี อําเภอมายอ จังหวัดปัตตานี 4. ทังสะเตนและวุลแฟรม เคยผลิตได้เป็นอันดับสองรองจากดีบุก เป็นแร่ที่มักพบอยู่คู่กับดีบุก 32 แหล่งที่มีคุณภาพดีและมีมากอยู่ที่อําเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน และที่บ่อบิล็อก อําเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ปัจจุบันแหล่งใหม่ที่ผลิตได้มากคือที่เขาศูนย์ อําเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช กับที่ดอยหมอก อําเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย และที่ถ้ําโง้ม จังหวัดแพร่ คุณภาพดีและมีมาก ประโยชน์ใช้ในการผสมเหล็กทําให้เหล็ก กล้ามีความเหนียวมาก มีคุณภาพเป็นแม่เหล็กที่มีคุณภาพสูง 5. ตะกั่วและสังกะสี เป็นแร่พบรวมอยู่กับแร่เงินและพบปนอยู่กับหินปูน แหล่งสําคัญมี 4 แหล่งคือ ก. อําเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นตะกั่วเป็นส่วนมาก ข. แหล่งแร่ห้วยถ้ํา จังหวัดแพร่ ส่วนมากเป็นสังกะสี ค. แหล่งแร่ถ้ําทะเล จังหวัดยะลา แร่ตะกั่วแทรกอยู่ตรงกลางของสายแร่ดีบุกและวุลแฟรม ง. อําเภอแม่สอด จังหวัดตาก ส่วนมากเป็นสังกะสีมีความบริสุทธิ์ 35% ประโยชน์ใช้ผสมโลหะทํา แผ่นตะกั่วในแบตเตอรี่ เคลือบท่อประปา หุ้มสายไฟฟ้า ทํากระสุนปืน สังกะสี ใช้ชุบเหล็กเป็น เหล็กวิลาส (ใช้มุงหลังคา) 6.ทองคำ เคยพบมากที่อําเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี อําเภอโต๊ะโม๊ะ จังหวัดนราธิวาส ตําบลท่าตะโก จังหวัดลพบุรี อําเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อําเภอห้วยหลวง จังหวัดเชียงราย ทั้งหมดพบในลักษณะลานแร่ เป็นก้อนเล็กก้อนน้อยปนมากับเศษดินและทราย ตามก้นแม่น้ําลําธาร แร่ทองคําในบริเวณเหล่านี้บางแห่ง ได้หมดไปแล้ว และบางแห่งก็เหลือเพียง เล็กน้อยเท่านั้นจากภาพถ่ายดาวเทียมในปัจจุบันนี้ พบแร่ทองคําใน 25จังหวัดดังนี้ ลําปาง เชียงราย พะเยา เชียงใหม่ ลําพูน แพร่ เลย อุดรธานี เพชรบูรณ์ สุโขทัย นครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ชลบุรี จันทบุรี ระยอง กาญจนบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 33 สุราษฎร์ธานี พังงา ภูเก็ต และนราธิวาสประโยชน์ของทองคํา เป็นเครื่องประดับผสมกับโลหะอื่น ใช้ในวงการทันตแพทย์ เครื่องมือวิทยาศาสตร์ และที่สําคัญใช้เป็นทุนสํารองเงินตรา 7. เงิน มีเพียงเล็กน้อยพบรวมอยู่กับแร่ตะกั่ว เช่น ที่จังหวัดกาญจนบุรีประโยชน์ใช้ทํา เหรียญกษาปณ์ เครื่องประดับ ชุบโลหะ สารเคมีของเงินใช้ในทางการแพทย์ การถ่ายรูป และแก้วสี 8. ทองแดง พบหลายแห่งแต่คุณภาพไม่ดี ปริมาณไม่มากพอทําเหมืองได้ แหล่งสําคัญอยู่ที่ภูหิน เหล็กไฟ และภูทองแดง จังหวัดเลย จังหวัดลําปาง จังหวัดอุตรดิตถ์ แร่อโลหะ 1. ฟลูออไรด์ ในไทยส่วนมากมาจากเหมือง อ.บ้านโฮ่ง อ.ลี้ จ.ลําพูน นอกจากนี้ยังมีที่ จ.ราชบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลําปางประโยชน์ใช้ถลุงเหล็กกล้า ทํากรดฟลูออริค ในอุตสาหกรรมอลูมิเนียม อุตสาหกรรมเคมีในการทําเครื่องเคลือบ ใช้ทําแก้วที่เป็นเลนส์กล้องโทรทัศน์ ผสมยาสีฟันป้องกันฟันผุ ฯลฯ 2. ยิปซั่ม พบที่ อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร บ้านหนองบัว จ.นครสวรรค์ อ.นาสาร จ.สุราษฎร์ธานี นอกจากนี้ก็พบที่ลําปาง อุตรดิตถ์ เลย พบเนื่องจากการเจาะน้ําบาดาล ประโยชน์ใช้ทําปูนซีเมนต์ ปุ๋ยดินสอปูนปลาสเตอร์ที่ใช้ในการปั้น ชอล์ค ปูนขาว ฉาบผนัง 3. ดินมาร์ล หรือดินปูนเหนียว พบที่ อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี สระบุรี ลพบุรีประโยชน์ใช้ทําปูนซีเมนต์ ใช้โรยบนดินแก้ความเป็นกรด 4. ดินขาว พบที่ อ.แจ้ห่ม จ.ลําปาง บริเวณดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี อ.แกลง จ.ระยอง อ.บางละมุง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี อ.นาสาร จ.สุราษฎร์ธานี ประโยชน์ใช้ทําถ้วยชาม เครื่องประดับ ของใช้ต่าง ๆ และยา 34 5. เกลือ แหล่งเกลือสินเธาว์ เกลือบาดาล และเกลือหินในภาคอีสาน เป็นแหล่งที่มีมากที่สุดในโลก แห่งหนึ่ง เพราะจากการคํานวณคร่าว ๆ จะมีแหล่งเกลือในภาคนีไ้ ม่น้อยกว่า 4,700 ล้านตัน ซึ่งกระจายอยู่ทั่วไปทั้งที่ แอ่งสกลนครและ แอ่งโคราช ดังเช่น บ่อเกลือที่ อ.วาปีปทุม อ.บรบือ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม และที่ อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น เกลือที่ผลิตได้มีโซเดียมคลอไรด์ประมาณ 85 – 92.8% ประโยชน์ นอกจากรับประทาน ก็นํามาทําวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเคมี ทํากรด ทําโซดาไฟ ทําสบู่ สีย้อมผ้า ยาฟอกหนัง โซดาแอส ปุ๋ย เป็นต้น 6. หินมีค่า พลอยสีเหลือง สีเขียว สีน้ําเงิน พบมากที่จันทบุรี ทับทิม เพทาย บุศราคัม พบที่กาญจนบุรี จันทบุรี ตราด ศรีสะเกษ แพร่ เพชร พบเล็กน้อยที่ภูเก็ตและพังงา 7. หินอ่อน พบที่ อ.เมือง อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรีประโยชน์ใช้ในการก่อสร้าง แกะสลัก ทําเครื่องประดับอุตสาหกรรมทําแก้ว แร่พลังงาน หรือแร่เชื้อเพลิง ลิกไนต์ พบที่จังหวัดลําปาง เชียงใหม่ พะเยา ลําพูน ตาก เพชรบุรี เลย และกระบี่ ซึ่งสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงธรรมชาติที่นํามาใช้ทดแทนน้ํามันได้ ปิโตรเลียม พบที่เชียงใหม่ กําแพงเพชร ขอนแก่น เป็นต้น ใช้เป็นพลังงานเชื้อเพลิง ประกอบด้วยน้ํามันดิบ ก๊าชธรรมชาติ ----***---- 1. ประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติอะไรบ้าง จงอธิบายถึงลักษณะแต่ละชนิด 35 2. ในสภาวะทีท่ รัพยากรธรรมชาติกําลังลดน้อยลง เราควรทําอย่างไรเพื่อแก้ไปัญหา ดังกล่าวเพื่อช่วยให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน 36