องค์ประกอบของบอร์ดเกม PDF

Document Details

Uploaded by Deleted User

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

2023

รัชนีวรรณ ตั้งภักดี

Tags

board game components game design game development educational games

Summary

เอกสารนี้กล่าวถึงองค์ประกอบของบอร์ดเกม โดยมีการอธิบายถึงเป้าหมายของเกม แนวคิดของเกม ข้อมูลผู้เล่น เวลาในการเล่น การจบเกม และกลไกของเกม องค์ประกอบนี้สำคัญในการพัฒนาบอร์ดเกมเพื่อการศึกษาในประเทศไทย

Full Transcript

1.Goal 12.Game Packaging 2.Concept 11.Hand book 3.Player Info 10.Game Board Game 4.Time Rule Compo...

1.Goal 12.Game Packaging 2.Concept 11.Hand book 3.Player Info 10.Game Board Game 4.Time Rule Components 9.Tools/ 5.Game Materials Ending องค์ประกอบของบอร์ดเกม (Board Game Components) 6.Mechanics 8.Theme รัชนีวรรณ ต้ังภักดี. (2565). การพัฒนารูปแบบการสร้างบอร์ดเกม 7.Commu- nication เพื่อการศึกษาในประเทศไทย. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. องค์ประกอบของบอร์ดเกม (Board Game Components) รัชนีวรรณ ตั้งภักดี (2565) ○ 1. เป้าหมายของเกม (Goal) เป็นสิ่งที่เกมมุ่งหวังให้เกิดขึ้นภายหลังจากการเล่นเกม เช่น เพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อสร้างความ ความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนในครอบครัว หรือ หมู่คณะ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง เพื่อพัฒนาทักษะการใช้ร่างกาย เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสาร เพื่อพัฒนาทักษะการเจรจาต่อรองการตัดสินใจ เพื่อปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม (ความซื่อสัตย์ การรู้แพ้รู้ชนะ) เป็นต้น 2. คอนเซปต์ของเกม (Concept) เป็นแนวคิดรวบยอดของเกมที่ชัดเจนว่าจะเป็นเกมประเภทปาร์ตี้สนุกสนาน ให้ทุกคนที่เล่นได้มีส่วนร่วม หรือ เป็นเกม ประเภทครอบครัวที่ผู้เล่นสามารถเล่นร่วมกันได้ทุกเพศทุกวัย หรือ เป็นเกมประเภทกลยุทธ์ที่ผู้เล่นจะต้องใช้การคิดขั้นสูงในการวิเคราะห์วางแผน ตัดสินใจเพื่อนําพาตัวเองไปสู้ชัยชนะ 3. ข้อมูลผู้เล่นเกม (Player Info) เป็นสิ่งที่บอกถึงลักษณะที่เหมาะสมของผู้เล่นที่จะเล่นในเกมนั้นๆ ซึ่งข้อมูลสําคัญที่ทุกเกมจะต้องมี ได้แก่ ช่วงอายุ ของผู้เล่นและข้อมูลแสดงจํานวนผู้เล่นน้อยที่สุดไปจนถึงมากที่สุดที่จะสามารถเล่นเกมได้ บางเกมอาจมีความหรือลักษณะเฉพาะที่จะระบุคณ ุ สมบัติ เพิ่มเติมของผู้เล่นโดยผู้ออกแบบเกมจะระบุไว้ เนื่องจากส่งผลต่อความสมดุลในการเล่นเกม หรือ ทําให้การได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างการเล่น เป็นต้น 4. ระยะเวลาในการเล่นเกม (Time) เป็นข้อมูลแสดงระยะเวลาโดยประมาณที่ผู้เล่นจะเล่นเกมจบ เพื่อให้ผู้เล่นได้ทราบล่วงหน้า ก่อนตัดสินใจจะเริ่มเล่นเกมว่า มีความสอดคล้องกับเวลาที่มีอยู่หรือไม่ ทั้งนี้ ระยะเวลาในการเล่นจริงอาจช้า หรือ เร็วกว่าที่ประมาณการไว้ด้วยปัจจัยภายนอกอื่นๆ เช่น ความเชี่ยวชาญ ความสามารถในการอ่าน ความสามารถในการใช้ร่างกายของผู้เล่น การใช้เวลาเตรียมอุปกรณ์ในเกมที่มีจํานวนมาก หรือ การถูกรบกวนด้วย สภาพแวดล้อมอื่นๆขณะเล่น เป็นต้น 5. การจบเกม (Game Ending) เป็นส่วนที่แสดงถึงรายละเอียดกติกาข้อตกลงที่เกมจะยุติสิ้นสุดลงได้ ซึ่งจุดจบของเกมนั้น มีอยู่หลากหลายรูปแบบ เช่น (1) เมื่อทุกคนที่เล่นชนะ (2) เมื่อทุกคนที่เล่นแพ้ (3) เมื่อมีผู้แพ้คนเดียวและมีผู้ชนะคนเดียวในเวลาเดียวกัน ซึ่งเกิดขึ้นได้ในกรณีเกมมีผู้เล่นสองคนเท่านั้น (4) เมื่อมีผู้ชนะหลายคนและมีผู้แพ้หลายคนในเวลาเดียวกัน ซึ่งเกิดขึ้นได้ในกรณีเกมกําหนดให้ผู้เล่นเล่นกันเป็นทีม (5) เมื่อมีผู้ชนะคนเดียว มีผู้แพ้หลายคน ในเวลาเดียวกัน (6) เมื่อมีผู้ชนะคนเดียว มีผู้แพ้หลายคนทยอยแพ้ไปทีละคนในเวลาที่ต่างกัน (7) เมื่อมีผู้แพ้คนเดียว มีผู้ชนะหลายคนในเวลาเดียวกัน หรือ (8) เมื่อมีผู้แพ้คนเดียว มีผู้ชนะหลายคนทยอยชนะไปทีละคนในเวลาที่ต่างกัน ทั้งนี้ เกมบางเกมอาจมีวิธีจบเกมมากกว่าหนึ่งวิธี แต่ไม่ควรมีมาก จนเกินไปนักเพราะจะทําให้ผู้เล่นเกิดความสับสน หรือ ทะเลาะเบาะแว้งถกเถียงกันในการหาผู้ชนะได้ 6. กลไกของเกม (Mechanics) เป็นสิ่งต่างๆที่ผู้เล่นสามารถทําได้ในเกม หรือ ระบบต่างๆที่ส่งผลต่อการเล่น เช่น ความสามารถต่างๆของตัวละคร ที่ผู้เล่นควบคุม หรือสภาพแวดล้อมที่อาจส่งผลกระทบต่อการเล่น โดยจะถูกนําไปใช้ตั้งแต่การเริ่มเกมว่า ใครจะเป็นผู้เริ่มเล่นก่อนหลัง ใครจะได้รับบทบาท เป็นตัวละครใด การทําให้เกมเดินไปข้างหน้า การทําให้เกมหยุดชั่วคราว การสร้างสมดุลในเกม (การลงโทษ-การให้รางวัล/ลดแต้ม-เพิ่มแต้ม/ลดสิ่งของ- เพิ่มสิ่งของ/ลดรอบ-เพิ่มรอบ/การลดสิทธิ-์ การเพิ่มสิทธิ์/ลดสถานะ-เพิ่มสถานะ/ลดอํานาจ-เพิ่มอํานาจ) และการทําให้เกมจบ ซึ่งกลไกเหล่านี้มีอยู่มากมาย เป็นร้อยเป็นพันและนําไปใช้ในเกมประเภทต่างๆ ตัวอย่างกลไกเกม ได้แก่ การจั่ว การทอยลูกเต๋า การเก็บรวบรวมสิ่งของ การครอบครองพื้นที่ การใช้ดวง การใช้ความเร็วในจําแนกหรือหยิบจับ การบริหารจัดการทรัพยากร การใช้ตรรกะ การจดจํารูปแบบ การเรียงลําดับ บทบาทสมมุต เป็นต้น กลไกแต่ละตัว มีระดับความยากง่ายที่แตกต่างกันออกไป ในเกมหนึ่งเกมจึงมักมีการผสมผสานกลไกเกมที่มากกว่าหนึ่งตัวเพื่อสร้างสมดุลให้เกมไม่ยากจนขาดความ สนุกหรือ ไม่ง่ายจนขาดความท้าทาย องค์ประกอบของบอร์ดเกม (Board Game Components) รัชนีวรรณ ตั้งภักดี (2565) ○ 7. การสื่อสารในเกม (Communication) เป็นการแสดงออกระหว่างการเล่นเกมด้วยรูปแบบการสื่อสาร ทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษา นอกเหนือจากการสื่อสารพูดคุยกันปกติ อาจแบ่งได้เป็น 4 แบบ ได้แก่ (1) แบบที่ใช้เสียงหรือท่าทางระหว่างการเล่นเกมแต่ไม่ได้อยู่ในกฎกติกาในเกม เป็นการใช้เพื่อความสนุกสนาน หรือ ทําให้ผู้เล่นอื่น เกิดความไขว้เขวในการตัดสินใจ (2) แบบที่ใช้เสียงหรือท่าทางเป็นส่วนหนึ่งของกติกาทําให้เกมเดินหน้าได้ (3) แบบที่ใช้เสียงหรือท่าทางเป็นส่วนหนึ่งของกติกาในการ ได้คะแนน และ (4) แบบเงียบส่วนหนึ่งของกติกาในการได้คะแนน 8. ธีม (Theme) เป็นแก่นเรื่องของเกม ซึ่งมีความสําคัญที่จะช่วยดึงดูดใจให้ผู้เล่นอยากเล่นเกม เกมส่วนใหญ่จึงมีธีมที่ชัดเจนเพื่อวางขอบเขตเกมผ่านการเล่าเรื่อง (Story) ในรูปแบบต่างๆ เช่น เล่าผ่านโครงเรื่อง เล่าผ่านกติกา หรือ เล่าผ่านคนเล่นที่อาจสวมบทบาทตัวละคร (Character) ในเนื้อเรื่อง หรือ เล่นเป็นตัวเอง แต่ไปเผชิญ สถานการณ์ต่างๆตามที่ผู้สร้างได้วางโครงเรื่องไว้ ธีมเกมที่พบบ่อยในบอร์ดเกมทั่วไป ได้แก่ แนวตามจินตนาการ (Fantasy), แนวสํารวจสอบสวน(Exploration), แนวเศรษฐศาสตร์(Economic), แนวสร้าง (Building), แนวเทคโนโลยีอนาคต (Sci-Fi), แนวลึกลับและสยองขวัญ (Mystery & Horror), แนวตลกขบขัน (Humor), แนวสงคราม (War), แนวสิ่งแวดล้อม (Environment), แนวการเมือง (Political), แนวนามธรรม (Abstract) เป็นต้น 9. วัสดุอุปกรณ์ในเกม (Materials) เป็นสิ่งของที่ใช้ในการเล่นเกม โดยจะมีความแตกต่างของปริมาณและรูปร่างหน้าตาตามธีมและกลไกของแต่ละเกม วัสดุที่นิยมใช้อย่างมาก ได้แก่ การ์ดในขนาดและลักษณะต่างๆ กระดาน (Board)ที่ทําจากกระดาษ หรือ ผ้า ตัวเดิน ตัวแทนแต้มต่างๆ ที่มักมาในรูปแบบของวัสดุทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ หรือ ที่เรียกว่า Token นอกจากนี้ บางเกมอาจมีวัสดุเสริมพิเศษ เช่น ลูกเต๋าแบบต่างๆ นาฬิกาทราย กระดิ่ง หมวก ถุงมือ ถุงผ้า แก้วพลาสติก หมอนรูปทรงต่างๆ หุน ่ โมเดลจําลอง หรืออุปกรณ์พิเศษอื่นๆ 10. กติกาของเกม (Game Rule) เป็นรายละเอียดแนวปฏิบัติของเกมไว้ให้ผู้เล่นทําตามเงื่อนไขแล้วจะเกิดผลต่างๆตามมา เช่นเดียวกับกติกาของกีฬาและพื้นฐาน ของความเป็นเหตุผลทั่วไป ซึ่งกติกานี้ผู้สร้างควรสร้างให้ครอบคลุมทุกช่วงเวลาของการใช้บอร์ดเกม (1) กติกาก่อนเริ่มเกม เช่น การเซตเกม การจัดสรรทรัพยากรในเกม ให้สอดคล้องกับจํานวนผู้เล่น หรือ ความสามารถของตัวละครที่ผู้เล่นได้รับ (2) กติการะหว่างเล่นเกมซึ่งจะสอดคล้องตามเงื่อนไขของกลไกเกมที่วางไว้ เช่น การเดินหน้า- ถอยหลัง การได้แต้ม-เสียแต้ม การตัดสิทธิ-์ การเพิ่มสิทธิ์ เป็นต้น และ (3) กติกาในการจบเกม ที่ต้องบอกรายละเอียดของการยุติเกมในแบบต่างๆ 11. คู่มือเกม (Handbook) เป็นสิ่งที่แสดงข้อมูลสําคัญๆที่ผู้สร้างเกมต้องการจะสื่อสารไปยังผู้เล่นเกม เปรียบเสมือนแผนที่และเข็มทิศในการเล่นเกม ซึ่งควรมีรายละเอียด ในหัวเรื่องต่อไปนี้ (1) บทนําเล่าเรื่องเกม เป็นการเล่าพรรณนาถึงเนื้อเรื่องตามธีมเกมที่มีความสัมพันธ์การเล่นเกม (2) ข้อมูลแนะนําวัสดุอุปกรณ์ในเกม (3) ขั้นตอน เตรียมการเล่น (4) คําอธิบายภาพรวมในการเล่น (5) กติกาการเล่นเกม (6) วิธีการจบเกม (7) ข้อมูลผู้ที่เกี่ยวข้องในการสร้างเกมทัง ้ หมด ประกอบด้วย ผู้สร้าง นักวาดภาพ กราฟิกดีไซน์เนอร์ ผู้จัดทําคู่มือ ผู้ตรวจสอบ(Editor) เจ้าของลิขสิทธิ์ ผู้จัดจําหน่าย เป็นต้น หรือ อาจมีการระบุชื่อผู้ร่วมทดสอบเกม (Tester) เพื่อเป็นการขอบคุณที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเกมมาจนสําเร็จ รูปแบบการผลิตคู่มือบอร์ดเกมมาตรฐานส่วนใหญ่ นิยมผลิตเป็นสือ ่ สิ่งพิมพ์ใส่ไปในกล่องเกม แต่ปัจจุบันมักมีการผลิตคลิปวิดีโอแนะนําวิธีการเล่นเกมเผยแพร่ในสื่อ Social Media ต่างๆ ตลอดจนมีคู่มือในรูปแบบสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ ให้สามารถเข้าถึงการใช้งาน และจัดเก็บได้ง่ายขึ้น 12. แพ็กเกจเกม (Game Packaging) เป็นสิ่งที่ใช้ในการจัดเก็บวัสดุต่างๆของเกมและยังช่วยดึงดูดความสนใจของผู้เล่นให้อยากเล่นหรือสะสมเกมอีกด้วย ส่วนใหญ่จะผลิต จากกระดาษแข็งรูปทรงกล่องสี่เหลี่ยมเพื่อง่ายต่อการบริหารจัดการพื้นที่เก็บสิ่งของภายในและการเก็บกล่องเกมในชั้นวางของ แนวทางการออกแบบกราฟิกบนแพ็กเกจ มักสอดคล้องกับธีมเกม เนื้อเรื่องและวัสดุของเกม ข้อมูลที่ต้องมีในแพ็กเกจเกม ได้แก่ ชื่อเกม (จํานวนผู้เล่นต่อเกม ระยะเวลาในการเล่นเกม ตัวอย่างอุปกรณ์ในเกม ประโยคเชิญชวน หรือ คําอธิบายภาพรวมของเกมที่สั้นกระชับ ข้อควรระวัง ชื่อและข้อมูลติดต่อผู้สร้าง เจ้าของลิขสิทธิ์ หรือ ผู้จัดจําหน่าย เป็นต้น

Use Quizgecko on...
Browser
Browser