ข้อสอบ มธ.101 โลก อาเซียน และไทย ปีการศึกษา 2563 PDF

Document Details

ProudCongas

Uploaded by ProudCongas

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

2563

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Tags

ข้อสอบ มธ.101 เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์

Summary

เอกสารนี้เป็นข้อสอบวิชาศึกษาทั่วไป มธ.101 โลก อาเซียนและไทย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบด้วยคำถามสองข้อที่เกี่ยวกับบริบทโลก อาเซียน และไทย โดยเน้นคำสำคัญด้านเศรษฐกิจและสังคม

Full Transcript

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ข้อสอบไล่ความรู้วิชาศึกษาทั่วไป มธ.101 โลก อาเซียน และไทย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 กลุ่มเรียน วันพฤหัสบดีบ่าย (540001) คำชี้แจง 1. นักศึกษาพิมพ์คำตอบลงในไฟล์นี้ตั้งแต่หน้าที่ 3 เป็นต้นไป โดยบันทึก...

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ข้อสอบไล่ความรู้วิชาศึกษาทั่วไป มธ.101 โลก อาเซียน และไทย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 กลุ่มเรียน วันพฤหัสบดีบ่าย (540001) คำชี้แจง 1. นักศึกษาพิมพ์คำตอบลงในไฟล์นี้ตั้งแต่หน้าที่ 3 เป็นต้นไป โดยบันทึกไฟล์ส่งเป็น PDF file และ ตั้งชื่อไฟล์ว่า Final_เลขทะเบียนนักศึกษา 10 หลัก เช่น Final_6303680304 2. ใช้ ตัวพิม พ์ Cordia New 16 หรื อ TH SarabunPSK 16 ระยะห่ างระหว่างบรรทัด 1.15 ห้ าม แทรกรูปภาพ และสามารถใช้ตัวหนาหรือขีดเส้นใต้ตามที่คิดว่าเป็นประเด็นสำคัญของคำตอบ ตนเอง 3. ส่ง ไฟล์ในในระบบ Google form ตามกลุ ่ ม เรี ย นที ่น ั กศึก ษาได้ ลงทะเบี ย นเรี ยนเท่ านั ้ น และ กำหนดส่งไฟล์ข้อสอบก่อนเวลา 12.00 น. ของวันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม 2564 หากส่งไฟล์ ล่าช้าเกินกำหนดระยะเวลาดังกล่าวจะเริ่มหักคะแนนชั่วโมงละ 1 คะแนน 4. ข้อสอบมี 2 ข้อ ให้เลือกทำเพียง 1 ข้อเท่านั้น (20 คะแนน) 5. ความยาวของคำตอบที่ความเหมาะสม คือ 2 หน้ากระดาษ A4 ขึ้นไปตามไฟล์นี้ หมายเหตุ ในกรณีที่นักศึกษาขาดแคลนอุปกรณ์ในการพิมพ์คำตอบของตนเอง กรุณาแจ้งผู้ช่วยอาจารย์หรือ อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาล่วงหน้าก่อนส่งไฟล์ข้อสอบ โดยแจ้งที่อีเมล์ [email protected] ข้อสอบมี 2 ข้อ ให้เลือกทำเพียง 1 ข้อเท่านั้น (20 คะแนน) ข้อที่ 1 ให้ น ั ก ศึ ก ษาสร้ า งคำถามด้ ว ยตนเองเป็ น ข้ อ สอบอั ต นั ย 1 ข้ อ โดยเลื อ กใช้ ค ำสำคั ญ ต่ า ง ๆ (Keywords) ใน 2 กลุ่มข้างล่าง สามารถเลือกได้มากว่า 1 คำในแต่ละกลุ่ม และคำที่นำมาใช้ตั้งคำถาม ต้องมาจากทุกกลุ่มตามที่กำหนดไว้ ทั้งนี้คำถามที่ตั้ง ขึ้นมาจะต้องประกอบด้วยคำถามย่อยว่า “ทำไมและ อย่างไร” เป็นอย่างน้อย และมีการให้เหตุผลและยกตัวอย่างให้สอดคล้องกับคำถามและคำตอบของตนเอง โดยมีเนื้อหาครอบคลุมความรู้ความเข้าใจบริบทโลก อาเซียน และไทย (20 คะแนน) คำสำคัญต่าง ๆ (Keywords) ที่ต้องใช้ในการตั้งคำถาม กลุ่มที่ 1 Globalization, Neoliberalism, Nationalism, Multiculturalism, Cosmopolitanism, State Security, Human Security, Populism, Dictatorship, Inequality, Dictatorship and Violence, Populism, COVID-19, Genocide, Holocaust, Latin America, ASEAN, AFTA กลุ ่ ม ที ่ 2 Trauma, Pandemic, Outbreak, Epidemic, Terrorism, Disaster, Riot, Violence, New Normal, Sustainable Development, Human Right, Humanitarian Assistant, Vaccination and Politics, Middle Income Trap, Import Substantial Industrialization(ISI), Chicago Boy, Multinational Enterprises(MNEs), Foreign Direct Investment หมายเหตุ นักศึกษาเน้นข้อความหรือขีดเส้นใต้คำสำคัญ (keywords) ที่ตนเองเลือกในโจทย์คำถามของตนเอง ด้วย ข้อที่ 2 สังคมผู้สูงอายุในสังคมไทยที่กำลังเกิดขึ้น ณ ปัจจุบันจนถึงสิ้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 สะท้อนให้เห็น ลักษณะสำคัญของบริบททางเศรษฐกิจและสังคมไทยในปัจจุ บันและอนาคตอย่ างไรบ้าง และสังคมไทยจะ รับมือกับสังคมผู้สูงอายุได้อย่างไร จงอธิบายพร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบพอสังเขป (20 คะแนน) กระดาษคำตอบกลุ่มเรียนวันพฤหัสบดีบ่าย (540001) ชื่อ-นามสกุล : ณัฐนันท์ บวรทัตพิสุทธิ์ เลขทะเบียนนักศึกษา : 6309694626 จากข้อมูลของสหประชาชาติ (United Nations) ได้ระบุไว้ว่า หากประเทศใดมีประชากรที่มอี ายุ มากกว่า 60 ปีขึ้นไป ในสัดส่วนร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ นั่นหมายถึงว่าประเทศนั้นได้เข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society)” และจะเป็น “สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society)” ก็ต่อเมือ่ มี ประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ในสัดส่วนร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ โดยประเทศไทย มี สัดส่วนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ10 มาตั้งแต่ปี 2548 นั่นหมายถึงว่าประเทศไทย ได้เข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุมาตั้งแต่ปี 2548 แล้ว และคาดการณ์ว่าในปี 2583 จะเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ครั้งใหญ่ ที่จะส่งผลให้มีสัดส่วนของผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป พุ่งสูงขึ้นถึงร้อยละ 32.1 และจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยสมบูรณ์อย่างเต็มตัว การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางประชากรครั้งใหญ่ ก็เนื่องมาจากการลดลงของอัตราการเกิดอย่าง ต่อเนื่อง และอัตราการเจริญเติบโตที่อยู่ต่ำกว่าระดับทดแทน ในขณะเดียวกัน อัตราการเสียชีวิตก็ลดต่ำลง เนื่องจากการพัฒนาทางด้านสาธารณสุข ถ้าจะกล่าวให้เข้าใจง่าย นั่นก็คือการพัฒนาด้านการแพทย์ ที่มกี าร รักษา และฟื้นฟู สมรรถภาพทางร่างกายของผู้สูงวัยให้ไม่แย่ลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลอย่างมากต่อ ประเทศไทยทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม การที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบัน ส่งผลเชิงลบต่อแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการลดลงของประชากรวัยทำงาน ซึ่งเป็นแรงงานหลัก และเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญในประเทศ โดยภาวการณ์ขาดแคลนแรงงานนี้จะทำให้ค่าแรงมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยจะส่งผลต่อไปเป็นทอดยาวถึงการใช้จ่าย เพื่อการบริโภคภาคครัวเรือนที่ขึ้นอยูก่ ับรายได้รายบุคคล เมื่อผู้สูงอายุไม่ได้มีรายได้หลัก ก็จะเป็นการลดการใช้ จ่าย และการบริโภคทั้งในครัวเรือน และนอกครัวเรือน โดยเมือ่ ผู้สูงอายุไม่ได้ไปทำงาน ก็จะไม่มกี ารอุปโภค บริโภคสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับวัยทำงานหรือวัยเข้าสังคม ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารตาม ร้านค้า หรือการใช้จ่ายเพื่อความต้องการส่วนตน ในขณะที่การใช้จ่ายหรือรายจ่ายด้านสุขภาพและการ รักษาพยาบาลกลับมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยจะส่งผลต่อไปถึงรูปแบบการผลิตและการค้าของประเทศ ที่อาจทำให้ ประเทศไทย ต้องนำเข้าเวชภัณฑ์จากต่างประเทศมากขึ้นในอนาคต ที่กล่าวไป เป็นเพียงแค่ผลในระยะสั้นเท่านั้น ในระยะยาวประเทศไทยที่อยู่ในสังคมผู้สูงอายุ มักจะมี ความเสี่ยงที่จะประสบในเรื่องภาวะเงินออมที่ต่ำลง โดยจากการรายงานการสำรวจประชากรผู้สูงอายุในไทย เมื่อปี 2550 พบว่าแหล่งที่มาของรายได้หลักส่วนใหญ่มาจากเงินออมสะสม ผู้สูงอายุส่วนใหญ่อาจมีการออม กระดาษคำตอบกลุ่มเรียนวันพฤหัสบดีบ่าย (540001) ชื่อ-นามสกุล : ณัฐนันท์ บวรทัตพิสุทธิ์ เลขทะเบียนนักศึกษา : 6309694626 เงินที่ไม่เพียงพอ เพราะเมื่อเวลาผ่านไปเงินออมทีม่ ีอยู่ก็จะถูกนำมาใช้เรื่อยๆจนหมด ทำให้ระดับการออมใน ภาคครัวเรือนและการลงทุนของประเทศได้รับผลกระทบ มาถึงผลกระทบด้านการจัดการของภาครัฐ เมือ่ วัยทำงานที่เป็นแรงงานหลักของประเทศลดน้อยลง แน่นอนว่าต้องส่งผลโดยตรงต่อรายรับด้านการเก็บภาษีเงินได้ ขณะเดียวกันในสังคมของวัยสูงอายุ ภาครัฐก็มี ความต้องการใช้จ่ายด้านสาธารณสุขเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้ารการแพทย์พยาบาล รวมถึงการเพิ่มสวัสดิการ และเงินสงเคราะห์ให้แก่ผู้สูงอายุ ซึ่งรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้ อาจนำไปสู่การขาดดุลงบประมาณ และเป็นการ เพิ่มหนี้สาธารณะแก่ประเทศไทยได้ ปัญหาด้านแรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน เมื่อปัจจุบันแรงงานภายในประเทศมีอัตราที่ลด น้อยลงในทุกวัน จึงจำเป็นต้องพึ่งพาแรงงานต่างด้าวทั้งที่ถูกกฎหมาย และทั้งแบบลักลอบนับหลายล้านคน เช่นกัน เมื่อมีการเพิม่ ขึ้นของแรงงานต่างด้าวภายในประเทศ ก็จะทำให้เกิดปัญหาด้านสังคมตามมา เช่น การะ เกิดบุตรหลานของแรงงานต่างด้าว โรคภัยหลายประเภทที่มากับพวกเขา เห็นได้ชัดจากการลักลอบพาแรงงาน ต่างด้าวเข้าประเทศของหน่วยงานรัฐในช่วงเหตุการณ์ระบาดของ COVID-19 ที่ส่งผลให้เกิดการระบาดระลอก 3 และรวมถึงภาระการดูแลรักษาพยาบาลของพวกเขาด้วย จากผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่ได้กล่าวมาทั้งหมด ทำให้ประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องหา วิธีการรับมือกับสังคมผู้สูงอายุ ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต โดยการรับมือจากผลกระทบในด้านการลดลงของ จำนวนแรงงานภายในประเทศ ภาครัฐควรมีมาตรการเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานของประชากร ผู้สูงอายุ โดยจัดทำระบบการจ้างงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้นเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาด้านแรงงาน รวมถึงสร้างรายได้ หลังเกษียณให้แก่ผู้สูงวัย ส่วนภาคเอกชนที่โดยปกติมีการยืดหยุ่นให้มีผู้สูงวัยทำงานได้อยู่แล้ว แต่อาจถูกกดดัน ให้ออกจากงานเนื่องจากฐานเงินเดือนที่สูงเกินไป ผู้จ้างควรปรับเปลี่ยนมุมมองในด้านนี้ โดยให้มองว่ากลุ่ม พนักงานผู้สูงวัย เป็นทรัพยากรอันล้ำค่าที่มีคุณค่ามากพอ และให้มีการจัดการฝึกอบรมพัฒนาทักษะใหม่ๆ ให้แก่พนักงานผู้สูงวัย ไม่ว่าจะเป็นด้านการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือด้านการเงิน เป็นต้น ในการแก้ไขด้านการใช้จ่ายของภาครัฐ ภาครัฐต้องมีการจัดระบบสวัสดิการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อดูแล ผู้สูงอายุซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ต้องมีการจัดสรรงบประมาณอย่างรอบคอบ และในอนาคตอาจจำเป็นที่ จะต้องมีการขึ้นภาษี เพื่อไม่ให้เกิดการขาดดุลงบประมาณภายในประเทศ ในด้านการออม ภาครัฐควรมี กระดาษคำตอบกลุ่มเรียนวันพฤหัสบดีบ่าย (540001) ชื่อ-นามสกุล : ณัฐนันท์ บวรทัตพิสุทธิ์ เลขทะเบียนนักศึกษา : 6309694626 นโยบายส่งเสริมการออม ทั้งประชากรรับจ้างในระบบและประชากรที่อยู่ในภาคเกษตร หรือรับจ้างนอกระบบ ทั้งสองกลุ่มควรได้รับการดูแลและสวัสดิการทางภาครัฐในรูปแบบเดียวกัน สุดท้ายคือผลจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างด้านสังคม ที่ส่งผลให้อัตราการเกิดน้อยลง เพื่อเป็นการ เพิ่มอัตราการเกิดภายในประเทศ ภาครัฐควรมีนโยบายที่จะช่วยสนับสนุนให้ครอบครัวมีบุตร ไม่ว่าจะเป็น นโยบายลดภาษี หรือการให้เงินอุดหนุน เพื่อช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดู รวมถึงการให้ทุนการศึกษาของ เด็กที่จะเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นแรงงานใหม่อีกด้วย วิธีการรับมือทั้งหมดทีไ่ ด้กล่าวมา อาจเป็นวิธีการเพื่อให้อยู่ภายในประเทศไทยทีม่ ีสังคมผู้สูงอายุแบบ สมบูรณ์ทั้งในปัจจุบันและในอนาคตได้อย่างมีความสุข และเพื่อเป็นการลดผลกระทบแก่เศรษฐกิจและสังคม ภายในประเทศไทยได้ไม่มากก็น้อย ทัง้ นี้ทั้งนั้นหากภาครัฐมีนโยบายที่ดีพอในอนาคต และประชาชน ภายในประเทศมีการร่วมมือกัน เชื่อว่าปัญหาเหล่านี้จะต้องหมดไปอย่างแน่นอน การเตรียมความพร้อมและรับมือกันสังคมผู้สูงอายุ. แหล่งที่มา: https://researchcafe.org/aging-society/ นางสาวจิราภรณ์ การะเกตุ. ประเทศไทยกับสังคมผู้สูงอายุ. แหล่งที่มา: https://il.mahidol.ac.th/th/i-Learning-Clinic/general-articles/ประเทศไทยกับสังคมผู้สู/ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สํานักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. ประชากรสูงอายุไทย : ปัจจุบันและอนาคต. แหล่งที่มา: https://www.dop.go.th/download/knowledge/knowledge_th_20160106135752_1.pdf สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ: “รายงานการคาดการณ์ประมาณประชากรของประเทศไทย 2543-2573”

Use Quizgecko on...
Browser
Browser