ชุดที่ 9 ทฤษฎีองค์การ PDF
Document Details
Uploaded by SharperFife201
Chonradsadornumrung School
ศิริชัย วิชชุวัชรากร
Tags
Summary
เอกสารนี้อธิบายเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ แบ่งเป็นทฤษฎีสมัยต่างๆ เช่น ทฤษฎีสมัยดั้งเดิม, ทฤษฎีสมัยใหม่ และทฤษฎีสมัยปัจจุบัน มีการอธิบายหลักการและองค์ประกอบของแต่ละทฤษฎี
Full Transcript
เอกสารฉบับนี้ เป็นลิขสิทธิ์ของนายศิริชัย วิชชุวัชรากร ห้ามผู้ใดทำซ้ำ ดัดแปลง จำหน่าย หรือเผยแพร่โดยเด็ดขาด !! ชุดที่ ๙ ทฤษฎีองค์การ (Organization Theory) การจัดองค์การ หมายถึง การจัดระบบความสัมพันธ์ระหว่าง...
เอกสารฉบับนี้ เป็นลิขสิทธิ์ของนายศิริชัย วิชชุวัชรากร ห้ามผู้ใดทำซ้ำ ดัดแปลง จำหน่าย หรือเผยแพร่โดยเด็ดขาด !! ชุดที่ ๙ ทฤษฎีองค์การ (Organization Theory) การจัดองค์การ หมายถึง การจัดระบบความสัมพันธ์ระหว่างส่วนงานต่าง ๆ และบุคคลในองค์การ โดย กำหนดภารกิจ อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบให้ชัดแจ้ง เพื่อให้การดำเนินงานตามภารกิจขององค์การบรรลุ วัตถุประสงค์และเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ทฤษฎีองค์การแบ่งได้เป็น ๓ ทฤษฎี ๑. ทฤษฎีสมัยดั้งเดิม (Classical organization theory) “คนเป็นเครื่องมือที่ทำให้องค์การไปสู่จุดหมายปลายทางได้” ทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิมได้เริ่มคิดค้น และก่อตั้งขึ้นเมื่อปลายศตวรรษที่ ๑๙ จากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ในปลายศตวรรษที่ ๑๙ นี้ แนวความคิด เกี ่ ย วกั บ องค์ ก ารก็ เ ปลี ่ ย นแปลงตามไปด้ ว ย เพื ่ อ ให้ ส อดคล้ อ งกั บ ก าร เปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งสภาพแวดล้อมของสังคมยุคนั้นเป็นสังคมอุตสาหกรรม ทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม จึงมี โครงสร้ างที ่ แน่นอน มีก ารกําหนดกฎเกณฑ์ และเวลาอย่ างมีระเบี ย บแบบแผน มุ ่ ง ให้ ผ ลผลิ ตมี ประสิท ธิ ผ ลและ ประสิทธิภาพ จากลักษณะดังกล่าว ทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม จึงมีลั กษณะที่มุ่งเน้นเฉพาะความเป็นทางการความมี รูปแบบขององค์การเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อจะได้ผลผลิตสูง และรวดเร็วของมนุษย์เสมือนเครื่องจักรกล กล่าวอีกนัยหนึ่ง ทุก อย่างจะเป็นไปตามกฎเกณฑ์ ตามกรอบและโครงสร้างที่กําหนดไว้อย่างแน่นอนปราศจากความยืดหยุ่น (Flexibility) กลุ่มนักวิชาการที่มีบทบาทมากในทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม คือ Frederick Taylor ผู้เป็นเจ้าตํารับการบริหาร แบบวิทยาศาสตร์ Max Weber เจ้าตํารับระบบราชการ Lyndall Urwick และ Luther Gulick ผู้มีชื่อเสียงเรื่องทฤษฎี องค์การและกระบวนการบริหารงาน เป็นต้น ๒. ทฤษฎีสมัยใหม่ (Neo-Classical organization theory) “มนุษยสัมพันธ์ของคนเป็นปัจจัยสำคัญและมีอิทธิพลต่อการเพิ่มผลผลิตขององค์การ” โดยเน้นให้เห็นถึงความสำคัญของคนที่ทำหน้าร่วมกันในองค์การ ถือว่าองค์การประกอบไปด้วยบุคคลซึ่ง ทำงานโดยมีเป้าหมายร่วมกัน และกลุ่มคนงานจะเป็นผู้มีส่วนร่วมในการกำหนดผลผลิตด้วย ความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคลเป็นปัจจัยที่สำคัญและมีอิทธิพลต่อการกำหนดการผลิต กล่าวโดยสรุปว่า ทฤษฎีนี้ได้เน้นเรื่องมนุษย์สัมพันธ์ โดย ได้มีการศึกษาและค้นพบว่าบุคคลแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกัน ขวัญในการทำงานเป็นสิ่งสำคัญ การเข้ามีส่วนร่วม ในกิจกรรมและการตัดสินใจระหว่างฝ่ายบริหาร และฝ่ายคนงานย่อมจะสร้างความพึงพอใจให้กับทุกฝ่ายโดยได้สร้าง ผลผลิตอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยได้ ซึ่งมนุษยสัมพันธ์นี้เกิดประโยชน์ในการผ่อนคลาย จะทำให้ความตายตัวในโครงสร้าง ขององค์การสมัยดั้งเดิมลง สมัครติวโทร ๐๘๙-๒๗๑๐-๗๗๗ / ๐๘๑-๘๗๖๕-๘๗๗ ๑ ID LINE: NareeNadear / Sichai_Law เนื้อหาครอบคลุมการสรรหาให้ดำรงตำแหน่งสายงานผู้บริหารด้วยวิธีการคัดเลือกและสอบคัดเลือก (รอบ ๔) ทฤษฎีที่มีส่วนสำคัญมากต่อขบวนการมนุษย์สัมพันธ์ ได้แก่ Elton Mayo ซึ่งได้การทดลองวิจัยและค้นพบว่า ขวัญของคนงานมีความสำคัญต่อการเพิ่มการผลิ ต กลุ่มคนงานจะพยายามสร้างบรรทัดฐานของกลุ่มตน และคนงานจะ ทำงานเป็นทีมโดยมีการกำหนดมาตรฐานของกลุ่มขึ้นเอง ๓. ทฤษฎีสมัยปัจจุบัน (Modern organization theory) “เน้นที่การวิเคราะห์องค์การในเชิงระบบ (Systems Analysis of Organization)” แนวการพัฒนาทฤษฎีองค์การสมัยใหม่ยังคงใช้ฐานแนวความคิด และหลักการของทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม และสมัยใหม่มาปรับปรุงพัฒนา ซึ่งมีความเชื่อว่าองค์การอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย ฉะนั้นควรเน้นการ วิเคราะห์ และสังเคราะห์สิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยการศึกษาองค์การที่ดีที่สุดควรจะเป็นวิธีการศึกษาวิเคราะห์องค์การ ในเชิงระบบ (System Analysis) ซึ่งประกอบด้วยตัวแปรต่าง ๆ มากมายทั้งภายในและภายนอกองค์การ ล้วนแล้วแต่มี ผลกระทบต่อโครงสร้างและการจัดองค์การทั้งสิ้น แนวความคิดเชิงระบบนี้ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่เป็นพื้นฐาน ๕ ส่วน ๑. สิ่งนําเข้า (Input) ๒. กระบวนการ (Process) ๓. สิ่งส่งออก (Output) ๔. ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) ๕. สภาพแวดล้อม (Environment) ดังนั้น องค์การจึงต้องมีการปรับตัวตลอดเวลา เพราะตัวแปรต่าง ๆ มีลักษณะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ประเภทขององค์การ ๑. องค์การแบบเป็นทางการ (formal organization) เป็นองค์การที่มีการจัดโครงสร้างอย่างเป็นระเบียบแบบแผนแน่นอน การจัดตั้งมีกฎหมายรองรับ บางแห่ง เรียกว่า “องค์การรูปนัย” ได้แก่ บริษัท มูลนิธิ หน่วยราชการ กรม โรงพยาบาล โรงเรียน ฯลฯ ซึ่งการศึกษาเรื่อง องค์การและการจัดการจะเป็นการศึกษาในเรื่องขององค์การประเภทนี้ทั้งสิ้น ๒. องค์การแบบไม่เป็นทางการ (informal organization) เป็นองค์การที่รวมกันหรือจัดตั้งขึ้นด้วยความพึงพอใจและมีความสัมพันธ์กันเป็นส่วนตัว ไม่มีการจัดระเบียบ โครงสร้างภายใน มีการรวมตัวกันอย่างง่ายๆ และเลิกล้มได้ ง่าย องค์การแบบนี้เรียกว่า “องค์การอรูปนัย ” หรือ “องค์การนอกแบบ” เช่น ชมรมต่าง ๆ หรือกลุ่มต่าง ๆ อาจเป็นการรวมกลุ่มกันตามความสมัครใจของสมาชิกกลุ่ม ซึ่ง เนื่องมาจากรายได้ อาชีพ รสนิยม ศาสนา ประเพณี ตำแหน่งงาน ฯลฯ สมัครติวโทร ๐๘๙-๒๗๑๐-๗๗๗ / ๐๘๑-๘๗๖๕-๘๗๗ ๒ ID LINE: NareeNadear / Sichai_Law เอกสารฉบับนี้ เป็นลิขสิทธิ์ของนายศิริชัย วิชชุวัชรากร ห้ามผู้ใดทำซ้ำ ดัดแปลง จำหน่าย หรือเผยแพร่โดยเด็ดขาด !! หลักการจัดองค์การ หลักการจัดองค์การ “OSCAR” ของ Henri Fayol กล่าวว่า หลักในการจัดองค์การที่ดีจะต้องมีองค์ประกอบ และแนวปฏิบัติดังต่อไปนี้ ๑. หลักวัตถุประสงค์ (Objective) องค์การต้องมีวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน นอกจากนั้นตำแหน่ง ยังต้องมีวัตถุประสงค์ย่อยกำหนดไว้เพื่อว่าบุคคลที่ดำรงตำแหน่งจะได้พ ยายามบรรลุวัตถุประสงค์ย่อย ซึ่งช่วยให้ องค์การบรรลุวัตถุประสงค์รวม ๒. หลักความรู้ความสามารถเฉพาะอย่าง (Specialization) การจัดแบ่งงานควรจะแบ่งตามความถนัด พนักงานควรจะรับมอบหน้าที่เฉพาะเพียงอย่างเดียวและงานหน้าที่ที่คล้ายกันหรือสัมพันธ์กัน ควรจะต้องอยู่ ภายใต้ บังคับบัญชาของคนคนเดียว ๓. หลักการประสานงาน (Coordination) การประสานงานกัน คือ การหาทางทำให้ทุก ๆ ฝ่ายร่วมมือกัน และทำงานสอดคล้องกัน โดยใช้หลักสามัคคีธรรม เพื่อประโยชน์ขององค์การ ๔. หลักของอำนาจหน้าที่ (Authority) ทุกองค์การต้องมีอำนาจสูงสุด จากบุคคลผู้มีอำนาจสูงสุดนี้ จะมีการ แยกอำนาจออกเป็นสายไปยังบุคคลทุก ๆ คนในองค์การ หลักนี้บางทีเรียกว่า “Scalar Principle (หลักความลดหลั่น ของอำนาจ)” บางทีเรียกว่า “Chain of command (สายการบังคับบัญชา)” ๕. หลักความรับผิดชอบ (Responsibility) อำนาจหน้าที่ควรจะเท่ากับความรับผิดชอบ คือบุคคลใดเมื่อ ได้รับมอบหมายความรับผิดชอบก็ควรจะได้รับมอบหมายอำนาจให้เพียงพอ เพื่อทำงานให้สำเร็จด้วยดี โครงสร้างองค์การ โครงสร้างขององค์การสามารถแบ่งแยกออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ ๕ ประเภท ดังนี้ ๑. โครงสร้างองค์การตามหน้าที่การงาน หมายถึง โครงสร้างที่จัดตั้งขึ้นโดยแบ่งไปตามประเภทหรือหน้าที่ การงาน เพื่อแสดงให้เห็นว่าในแต่ละแผนกนั้นมีหน้าที่ต้องกระทำอะไรบ้าง ซึ่งผลดีก่อให้เกิดการได้คนมีความสามารถ ทำงานในแผนกนั้น ๆ ทั้งยังฝึกบุคคลในแผนกนั้น ๆ ให้มีความเชี่ยวชาญกับหน้าที่ของงานนั้นอย่างลึกซึ้ง สมัครติวโทร ๐๘๙-๒๗๑๐-๗๗๗ / ๐๘๑-๘๗๖๕-๘๗๗ ๓ ID LINE: NareeNadear / Sichai_Law เนื้อหาครอบคลุมการสรรหาให้ดำรงตำแหน่งสายงานผู้บริหารด้วยวิธีการคัดเลือกและสอบคัดเลือก (รอบ ๔) ๒. โครงสร้างองค์การตามสายงานหลัก หมายถึง การจัดรูปแบบโครงสร้างให้มีสายงานหลัก และมีการบังคับ บัญชาจากบนลงล่างลดหั่นเป็นขั้น ๆ จะไม่มีการสั่ง การแบบข้ามขั้นตอนในสายงาน ซึ่งโครงสร้างแบบนี้เหมาะสม สำหรับองค์การต่าง ๆ ที่ต้องการให้มีการขยายตัวในอนาคตได้ เพราะเพียงแต่เพิ่มเติมโครงสร้างในบางสายงานให้มีการ ควบคุมบังคับบัญชาลดหลั่นลงไปอีกได้ การจัดองค์การแบบนี้ อาจจะคำนึงถึงสภาพของงานที่เป็นจริง เช่น แบ่งตาม ลักษณะของผลิตภัณฑ์ หรือแบ่งตามอาณาเขต หรือแบ่งตามประเภทของลูกค้า หรือแบ่งตามกระบวนการ ผลดีของ โครงสร้างแบบนี้มีหลายประการ เช่น การจัดโครงสร้างด้วยรูปแบบที่เข้าใจง่าย การบังคับบัญชาตามสายงานเป็น ขั้นตอน ดังนั้นจุดใดที่มีการปฏิบัติงานล่าช้าก็สามารถตรวจสอบได้รวดเร็วจากผู้บังคับบัญชาในระดับนั้นได้ง่าย ๓. โครงสร้างองค์การแบบคณะที่ปรึกษา หมายถึง การจัดโครงสร้างโดยการให้มีที่ปรึกษาเข้ามาช่วยการ บริหารงาน เช่น ที่ปรึกษานายกฯ ที่ปรึกษาผู้ว่าฯ กทม. เป็นต้น เพราะว่าที่ปรึกษามีความรู้ ความชำนาญเฉพาะด้าน โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีส มัยใหม่ ซึ่งต้ อ งอาศั ย ผู ้ เชี ่ ย วชาญมาช่ ว ยหรื อ คอยแนะนำ ทำให้ อ งค์ ก ารมองเห็น ความสำคัญของการมีที่ปรึกษาขึ้น อย่างไรก็ตาม พวกที่ปรึกษาไม่มีอำนาจในการสั่งการใด ๆ นอกจากคอยป้อนข้อมูล ให้ผู้บริหารเป็นผู้ชี้ขาดอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งการจัดองค์การรูปแบบนี้มีผลดีคือ ทำให้การดำเนินงานต่าง ๆ มีการวางแผนและ ประเมินสถานการณ์ล่วงหน้าได้ มีที่ปรึกษาคอยให้ความกระจ่างและประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ และทำให้การ ทำงานใช้หลักเหตุและผลมากขึ้น ๔. โครงสร้างองค์การแบบคณะกรรมการบริหาร หมายถึง การจัดโครงสร้างองค์การโดยให้มีการบริหารงาน ในลั ก ษณะคณะกรรมการ เช่ น คณะกรรมการบริ ห ารงานรถไฟแห่ ง ประเทศไทย คณะกรรมการ อสมท. และ คณะกรรมการบริหารบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ เป็นต้น ผลดีจะช่วยขจัดปัญหา การบริหารงานแบบผูกขาดของคนคนเดียว หรือการใช้แบบเผด็จการเข้ามาบริหารงาน นอกจากนั้น การตั้งคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยบุคคลมาจากหลาย ๆ สมัครติวโทร ๐๘๙-๒๗๑๐-๗๗๗ / ๐๘๑-๘๗๖๕-๘๗๗ ๔ ID LINE: NareeNadear / Sichai_Law เอกสารฉบับนี้ เป็นลิขสิทธิ์ของนายศิริชัย วิชชุวัชรากร ห้ามผู้ใดทำซ้ำ ดัดแปลง จำหน่าย หรือเผยแพร่โดยเด็ดขาด !! ฝ่ายจะทำให้ทุกคนเข้าใจปัญหาและก่อให้เกิดการยอมรับในปัญหาที่ฝ่ายอื่นเผชิญอยู่ทำให้การประสานงานเป็นไปได้ ง่ายขึ้น ข้อเสีย คือ เกิดการสูญเสียทรัพยากรโดยใช่เหตุเนื่องจากเวลาส่วนใหญ่ใช้ไปในการประชุมถกเถียงกัน หรืออาจ เกิดการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ในระดับคณะกรรมการหรือยอมประนีประนอมกันเพื่อให้ได้ข้อยุติที่รวดเร็ว ทำให้การ ตั้งคณะกรรมการไร้ผล ๕. โครงสร้างองค์การงานอนุกรม หมายถึง หน่วยงานช่วยหรือเรียกว่า “หน่วยงานแม่บ้าน” ซึ่งเป็นงาน เกี่ยวกับธุรกิจและอำนวยความสะดวก เช่น งานเลขานุการ และงานตรวจสอบภายใน เป็นต้น กระบวนการจัดองค์การ กระบวนการจัดองค์การประกอบด้วยกระบวนการ ๓ ขั้นตอน ดังนี้ ๑. พิจารณาการแยกประเภทงาน จัดกลุ่มงาน และออกแบบงานสำหรับผู้ทำงานแต่ละคน ก่อนอื่นผู้บริหารจะต้องพิจารณาตรวจสอบแยกประเภทดูว่ากิจการของตนนั้นมีงานอะไรบ้างที่จะต้องจัดทำ เพื่อให้กิจการได้รับผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ขั้นต่อมาก็คือการจัดกลุ่มงานหรือจำแนกประเภทงานออกเป็นประเภท โดยมีหลักที่ว่างานที่เหมือนกันควรร่วมอยู่ด้วยกัน เพื่อให้เป็นไปตามหลักการของการแบ่งงานกันทำ โดยการจัดจำแนก งานตามหน้าที่แต่ละชนิดออกเป็นกลุ่ม ๆ ตามความถนัดและตามความสามารถของผู้ที่จะปฏิบัติ ๒. ทำคำบรรยายลักษณะงาน ทำคำบรรยายลักษณะงานระบุขอบเขตของงานและมอบหมายงาน พร้อมทั้งกำหนดความรับผิดชอบ และให้ อำนาจหน้าที่ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ - ระบุให้เห็นถึงขอบเขตของงานที่แบ่งให้สำหรับแต่ละคนตามที่ได้วางแผนไว้ในขั้นแรกเพื่อให้ทราบว่า งานแต่ ละชิ้นที่ได้แบ่งไว้นั้นจะเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร ชนิดไหน มีขอบเขตและปริมาณมากน้อยแค่ไหน โดยการระบุชื่อเป็น ตำแหน่งพร้อมกับให้รายละเอียดเกี่ยวกับงานชิ้นนั้นเอาไว้ สมัครติวโทร ๐๘๙-๒๗๑๐-๗๗๗ / ๐๘๑-๘๗๖๕-๘๗๗ ๕ ID LINE: NareeNadear / Sichai_Law เนื้อหาครอบคลุมการสรรหาให้ดำรงตำแหน่งสายงานผู้บริหารด้วยวิธีการคัดเลือกและสอบคัดเลือก (รอบ ๔) - ขั้นต่อมาผู้บริหารก็จะดำเนินการพิจารณามอบหมายให้แก่ผู้ทำงานในระดับรองลงไป (สำหรับงานที่มอบหมาย ได้) การมอบหมายงานประกอบด้วยการกำหนดความรับผิดชอบที่ชัดแจ้งเกี่ยวกับงานที่มอบหมายให้ทำพร้อมกันนั้นก็ มอบหมายอำนาจหน้าที่ให้เพื่อใช้สำหรับการทำงานตามความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จสิ้นไปได้ ๓. จัดวางความสัมพันธ์ การจัดวางความสัมพันธ์จะทำให้ทราบว่า ใครต้องรายงานต่อใคร เพื่อให้งานส่วนต่าง ๆ ดำเนินไปโดย ปราศจากข้อขัดแย้งมีการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระเบียบเพื่อให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันทำงานมุ่งไปสู่จุดหมายอันเดียวกัน สมัครติวโทร ๐๘๙-๒๗๑๐-๗๗๗ / ๐๘๑-๘๗๖๕-๘๗๗ ๖ ID LINE: NareeNadear / Sichai_Law