ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยกองทุนป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯ พ.ศ. 2562 PDF

Summary

ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยกองทุนป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มีรายละเอียดเกี่ยวกับกองทุนป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ รวมถึงหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการกองทุนฯ

Full Transcript

หนา้ ๒๐ เลม่ ๑๓๖ ตอนที่ ๑๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยกองทุนป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2562 โดย...

หนา้ ๒๐ เลม่ ๑๓๖ ตอนที่ ๑๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยกองทุนป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2562 โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยกองทุนป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ อาศัยอานาจตามความในมาตรา ๑๖๓ มาตรา ๑๖๔ และมาตรา ๑๖๕ แห่งพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 คณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจึงออกระเบียบไว้ ดังนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยกองทุนป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2562” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “กองทุน ป.ป.ช.” หมายความว่า กองทุนป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ “คณะกรรมการ ป.ป.ช.” หมายความว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ “คณะกรรมการกองทุน ป.ป.ช.” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ “เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ “สานักงาน” หมายความว่า สานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ “หน่วยงานบริหารกองทุน ป.ป.ช.” หมายความว่า หน่วยงานในสังกัดสานักงานที่มีหน้าที่ รับผิดชอบการบริหารกองทุน ป.ป.ช. ข้อ ๔ ให้ ป ระธานกรรมการป้ อ งกั น และปราบปรามการทุ จ ริ ต แห่ ง ชาติ เ ป็ น ผู้ รั ก ษาการ ตามระเบียบนี้ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการบังคับใช้หรือการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอานาจตีความและวินิจฉัยชี้ขาด คาวินิจฉัยของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้เป็นที่สุด หมวด ๑ คณะกรรมการกองทุนป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หนา้ ๒๑ เลม่ ๑๓๖ ตอนที่ ๑๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ ส่วนที่ ๑ บททั่วไป ข้อ ๕ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการกองทุนป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ” ประกอบด้วย (1) ประธานกรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธาน (2) กรรมการ ป.ป.ช. ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมายจานวนหนึ่งคน เป็นรองประธาน กรรมการ (3) เลขาธิการ เป็นกรรมการ (4) รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่เลขาธิการมอบหมาย เป็นกรรมการ (5) ผู้แทนสานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เป็นกรรมการ (6) ผู้แทนสานักงบประมาณ เป็นกรรมการ (7) ผู้แทนกระทรวงการคลัง เป็นกรรมการ (8) ผู้แทนองค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต จานวนสามคน เป็นกรรมการ ให้หัวหน้าหน่วยงานบริหารกองทุน ป.ป.ช. เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้เลขาธิการ แต่งตั้งเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานบริหารกองทุน ป.ป.ช. เป็นผู้ช่วยเลขานุการอีกไม่เกินสองคน ข้อ 6 คณะกรรมการกองทุน ป.ป.ช. มีหน้าที่และอานาจ ดังต่อไปนี้ (๑) กาหนดนโยบาย กากับดูแล ติดตามประเมินผลการดาเนินงานและการใช้จ่ายเงินให้เป็นไป ตามวัตถุประสงค์ของกองทุน ป.ป.ช. (๒) กากับ ควบคุม และบริหารกองทุน ป.ป.ช. ให้เป็นไปตามระเบียบนี้ (๓) กาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารและการจัดการกองทุน ป.ป.ช. โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ป.ป.ช. (๔) พิจารณาให้ความเห็นชอบคาขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจาปีของกองทุน ป.ป.ช. (๕) พิจารณาให้ ความเห็ น ชอบแผนการดาเนินงานและแผนการใช้จ่ายเงินประจาปี และ แผนการดาเนินงานและแผนการใช้จ่ายเงินประจาปีเพิ่มเติมระหว่างปีของกองทุน ป.ป.ช. (6) พิจารณาและอนุมัติโครงการ/กิจกรรม งบประมาณและอนุมัติค่าใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ ของกองทุน ป.ป.ช. (7) พิจารณารายงานผลการดาเนินงานประจาปี การรายงานการเงินของกองทุน ป.ป.ช. ในปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้ว (8) เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เกี่ยวกับการดาเนินงานของกองทุน ป.ป.ช. หนา้ ๒๒ เลม่ ๑๓๖ ตอนที่ ๑๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ (9) เสนอรายชื่อต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อพิจารณาแต่งตั้งเป็นคณะอนุกรรมการ หรือ คณะบุคคล เพื่อช่วยเหลือหรือพิจารณาและเสนอความเห็นในเรื่องหนึ่งเรื่องใด หรือมอบหมายให้ ปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่เห็นสมควร (10) ปฏิบัติงานอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน ป.ป.ช. ข้อ 7 การประชุมคณะกรรมการกองทุน ป.ป.ช. ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของจานวนกรรมการทั้งหมด โดยอย่างน้อยต้องมีผู้แทนของหน่วยงานของรัฐที่มิใช่สานักงาน หนึ่งคน และผู้แทนองค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต หนึ่งคน จึงจะเป็น องค์ประชุม ในการประชุมคณะกรรมการกองทุน ป.ป.ช. ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจ ปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้ารองประธานกรรมการไม่มาประชุม หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม การลงมติของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ข้อ 8 ให้คณะกรรมการกองทุน ป.ป.ช. คณะอนุกรรมการ หรือคณะบุคคลที่ได้รับแต่งตั้ง ได้รับเบี้ยประชุมและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ตามระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติว่าด้วยการแต่งตั้งและเบี้ยประชุมคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะบุคคล เพื่อช่วยเหลือคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือสานักงานในการปฏิบัติหน้าที่ที่ไม่ใช่การไต่สวน และให้นาระเบียบ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการมาใช้ โดยอนุโลม ส่วนที่ ๒ ผู้แทนองค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ข้อ 9 ผู้ซึ่งจะได้รับแต่งตัง้ ให้เป็นกรรมการผู้แทนองค์กรภาคเอกชนที่เกีย่ วข้องกับการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ ก. คุณสมบัติ (1) มีสัญชาติไทย (2) มีอายุไม่ต่ากว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ (3) สาเร็จการศึกษาไม่ต่ากว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า (4) มีสุขภาพที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (5) เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์และ เป็นประโยชน์ในงานด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต หนา้ ๒๓ เลม่ ๑๓๖ ตอนที่ ๑๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ ข. ลักษณะต้องห้าม (1) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ (2) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช (3) เป็นข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นที่มีตาแหน่งและเงินเดือน ประจาในหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ (4) เป็ น ผู้ ด ารงต าแหน่ ง ทางการเมื อ งตามกฎหมายประกอบรั ฐ ธรรมนู ญ ว่ า ด้ ว ย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง หรือผู้ดารงตาแหน่งหน้าที่ใด ๆ ในพรรคการเมือง ยกเว้นสมาชิกพรรคการเมือง (5) เป็ น ผู้ บ ริ ห ารท้ อ งถิ่ น รองผู้ บ ริ ห ารท้ อ งถิ่ น ผู้ ช่ ว ยผู้ บ ริ ห ารท้ อ งถิ่ น สมาชิ ก สภาท้องถิ่น หรือที่ปรึกษาหรือเลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น (6) เป็นผู้มีประวัติเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษ (7) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต (8) เป็ น คู่ สั ญ ญาหรื อ มี ส่ ว นได้ เ สี ย ในกิ จ การที่ เ ป็ น คู่ สั ญ ญาหรื อ มี ธุ ร กิ จ เกี่ ย วข้ อ งกั บ สานักงาน ป.ป.ช. ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม (9) ต้องคาพิพากษาอันถึงที่สุดให้จาคุก แม้ศาลจะพิพากษาให้รอการลงโทษ เว้นแต่ ในความผิดที่ได้กระทาโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (10) เคยต้องคาพิพากษาหรือคาสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ารวย ผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ (11) เคยถูกให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงาน เอกชน เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง หรือถือว่ากระทาการทุจริตและประพฤติ มิชอบในวงราชการ (12) เคยถูกวุฒิสภามีมติถอดถอนออกจากตาแหน่ง (13) เคยถู ก เพิ ก ถอนใบอนุ ญ าตหรื อ ถู ก ลงโทษเนื่ อ งจากประพฤติ ผิ ด จรรยาบรรณ ในวิชาชีพ กรณีเป็นผู้ประกอบวิชาชีพที่มีองค์กรควบคุมวิชาชีพ ข้อ 10 กรรมการผู้แทนองค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ้นจากตาแหน่งเมื่อ (๑) ครบวาระการดารงตาแหน่ง (๒) ตาย (๓) ลาออก (๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 9 (5) คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติให้พ้นจากตาแหน่ง หนา้ ๒๔ เลม่ ๑๓๖ ตอนที่ ๑๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ ข้อ ๑1 ให้สานักงานจัดทาประกาศรับสมัครบุคคลที่ประสงค์ จะเป็นกรรมการผู้แทนองค์กร ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต โดยให้ผู้ที่ประสงค์จะสมัครเข้ารับ การคัดเลือกยื่นใบสมัครและเอกสารต่าง ๆ ตามที่สานักงานกาหนด ผู้สมัครเป็นกรรมการตามวรรคหนึ่งให้มีหนังสือรับรองหรือได้รับความเห็นชอบจากองค์กร ภาคเอกชนที่มีคุณสมบัติ ดังนี้ (๑) เป็นนิติบุคคลซึ่งมีลักษณะของการดาเนินงานหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริต (๒) เป็นองค์กรที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ทางการเมือง หรือดาเนินกิจกรรมทางการเมือง (๓) เป็นองค์กรที่ไม่ได้ก่อตั้งโดยผู้ดารงตาแหน่งทางการเมืองตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง หรือผู้ดารงตาแหน่งหน้าที่ใด ๆ ในพรรคการเมือง ยกเว้นสมาชิกพรรคการเมือง ข้อ ๑2 การคัดเลือกกรรมการผู้แทนองค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปราม การทุจริต ให้สานักงานดาเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) ตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกตามข้อ 9 (2) จัดทาทะเบียนบัญชีรายชื่อ ประวัติ และผลงานโดยย่อของผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือก พร้อมทั้งทาความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ข้อ ๑3 ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. เลือกผู้ที่เหมาะสมเป็นกรรมการผู้แทนองค์กรภาคเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตจานวนสามคน จากบัญชีรายชื่อตามข้อ ๑2 (๒) ข้อ 14 ให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช. มีคาสั่งแต่งตั้งผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นกรรมการผู้แทน องค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แล้วแจ้งผลการคัดเลือกและ แต่งตั้งให้ผู้นั้นทราบด้วย พร้อมทั้งประกาศเผยแพร่ไว้ ณ ที่ทาการ และเว็บไซต์ของสานักงานด้วย ข้อ 15 ให้กรรมการผู้แทนองค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มีวาระการดารงตาแหน่งคราวละสามปี และให้ดารงตาแหน่งเพียงวาระเดียว ในกรณีที่กรรมการผู้แทนองค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ้นจากตาแหน่งตามวาระ แต่ยังไม่ได้มีการแต่งตั้งกรรมการใหม่ ให้กรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่า จะได้แต่งตั้งกรรมการใหม่ ข้อ 16 ในกรณีที่กรรมการผู้แทนองค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปราม การทุจริตพ้นจากตาแหน่งตามวาระ ให้สานักงานดาเนินการตามข้อ ๑1 ภายในเก้าสิบวันก่อนวันที่ ครบวาระ ข้อ 17 ในกรณีที่กรรมการผู้แทนองค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปราม การทุจริตพ้นตาแหน่งก่อนครบวาระ ให้สานักงานดาเนินการตามข้อ ๑1 ภายในสามสิบวันนับแต่ วันที่พ้นจากตาแหน่ง เพื่อเสนอชื่อให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. แต่งตั้งเป็นกรรมการแทนตาแหน่งที่ว่าง หนา้ ๒๕ เลม่ ๑๓๖ ตอนที่ ๑๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ กรรมการผู้ แ ทนองค์ ก รภาคเอกชนที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การป้ อ งกั น และปราบปรามการทุ จ ริ ต ซึ่งได้รับแต่งตั้งแทนตาแหน่งที่ว่างตามวรรคหนึ่ง ให้มีวาระการดารงตาแหน่งตามข้อ 15 หมวด ๒ การบริหารและจัดการกองทุน ป.ป.ช. ส่วนที่ ๑ หน่วยงานบริหารกองทุน ป.ป.ช. ข้อ 18 ให้หน่วยงานบริหารกองทุน ป.ป.ช. ทาหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการให้กับกองทุน ป.ป.ช. คณะกรรมการกองทุน ป.ป.ช. คณะอนุกรรมการ หรือคณะบุคคลที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. แต่งตั้ง ตามระเบียบนี้ รวมทั้งให้มีหน้าที่และอานาจ ดังต่อไปนี้ (๑) ประสานงานและร่ว มมือกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานเอกชนใน การดาเนินงานของกองทุน ป.ป.ช. (๒) พัฒ นาระบบ รูปแบบ วิธีการ และการให้บริการ เพื่อสนับสนุนการดาเนินงานของ กองทุน ป.ป.ช. (๓) จัดทาคาขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจาปีของกองทุน ป.ป.ช. (๔) จัดทาแผนการดาเนินงานและแผนการใช้จ่ายเงินประจาปี และแผนการดาเนินงานและ แผนการใช้จ่ายเงินประจาปีเพิ่มเติมระหว่างปี (๕) การรับเงินและทรัพย์สิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและทรัพย์สินของกองทุน ป.ป.ช. (๖) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กาหนดไว้ในระเบียบนี้ หรือที่คณะกรรมการกองทุน ป.ป.ช. หรือ คณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมาย ส่วนที่ ๒ การดาเนินงานและการจัดทางบประมาณรายจ่ายประจาปี ข้อ 19 ให้หน่วยงานบริหารกองทุน ป.ป.ช. จัดทาคาขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจาปี แผนการดาเนินงานและแผนการใช้จ่ายเงินประจาปีเสนอคณะกรรมการกองทุน ป.ป.ช. เห็นชอบ แล้วเสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นชอบ ในกรณีที่มีเหตุจาเป็นจะต้องจัดทาแผนการดาเนินงานและแผนการใช้จ่ายเงินประจาปีเพิ่มเติม ระหว่างปี ให้ดาเนินการตามความในวรรคหนึ่ง หนา้ ๒๖ เลม่ ๑๓๖ ตอนที่ ๑๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ ข้อ 20 แผนการดาเนินงานและแผนการใช้จ่ายเงินประจาปีจะต้องประกอบด้วยภารกิจหลัก วัตถุประสงค์หลัก เป้าหมายของผลการดาเนินงาน และตัวชี้วัดผลสาเร็จการดาเนินงาน เพื่อกาหนด ทิศทางการดาเนินงานของกองทุน ป.ป.ช. และใช้ประโยชน์ในการตรวจสอบติดตามและประเมินผล การดาเนินงานของกองทุน ป.ป.ช. ทั้งนี้ เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. อนุมัติแล้ว ให้แจ้งกระทรวงการคลังทราบ ส่วนที่ ๓ การรับเงินและทรัพย์สิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและทรัพย์สินของกองทุน ป.ป.ช. ข้อ 21 กองทุน ป.ป.ช. ประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้ (๑) เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรเพื่อสมทบเข้ากองทุน ป.ป.ช. (๒) ดอกผลที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน ป.ป.ช. ข้อ 22 ให้กองทุน ป.ป.ช. เปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารของรัฐหรือธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจ ชื่อบัญชี “กองทุน ป.ป.ช.” เพื่อเก็บรักษาเงินที่เบิกจากกระทรวงการคลังไว้ใช้จ่ายตามภารกิจของ กองทุน ป.ป.ช. ข้อ 23 การใช้จ่ายเงินกองทุน ป.ป.ช. ต้องเป็นไปตามแผนการดาเนินงานและแผนการใช้จ่ายเงิน ประจาปีหรือระหว่างปี เพื่อวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ (1) สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการใช้อานาจรัฐ และสนับสนุน ภาคเอกชนในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ หรือรณรงค์ในการป้องกันการทุจริต (2) เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีมาตรการคุ้มครองช่วยเหลือและค่าทดแทนตามมาตรา 131 และเงินรางวัลตามมาตรา 137 (3) ใช้จ่ายในการคุ้มครองการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ ป.ป.ช. กรรมการ หัวหน้า พนักงานไต่สวน พนักงานไต่สวน และพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 41 (4) ค่าใช้จ่ายอื่นใดที่จะเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่และ อานาจเกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต การใช้จ่ายเงินกองทุน ป.ป.ช. ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการ กองทุน ป.ป.ช. กาหนด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ข้อ 24 การรับเงินและทรัพย์สิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและทรัพย์สินของกองทุน ป.ป.ช. ที่นอกเหนือจากที่กาหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้นาระเบียบ หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเงิน และ การเก็บรักษาเงินของสานักงาน มาบังคับใช้โดยอนุโลม หนา้ ๒๗ เลม่ ๑๓๖ ตอนที่ ๑๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ หมวด ๓ การบัญชี และรายงานการเงิน ข้อ 25 ให้หน่วยงานบริหารกองทุน ป.ป.ช. ดาเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) การบัญชีของกองทุน ป.ป.ช. ให้เป็นไปตามมาตรฐานการจัดทาบัญชีสาหรับหน่วยงานภาครัฐ ที่กระทรวงการคลังกาหนด การปิดบัญชีให้กระทาปีละครั้ง โดยถือปีงบประมาณเป็นรอบปีบัญชี และให้จัดทางบการเงิน ส่งให้สานักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบและแสดงความเห็นภายในเก้าสิบวันนับ แต่วันสิ้นงวดบัญชี เมื่อสานักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบแล้วให้เสนอต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. และกระทรวงการคลังทราบ และเผยแพร่ให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป (๒) ให้หน่วยงานตรวจสอบภายในของสานักงานดาเนินการตรวจสอบเกี่ยวกับการดาเนินงาน การเงิน การบัญชี และการพัสดุของกองทุน ป.ป.ช. แล้วรายงานผลการตรวจสอบให้คณะกรรมการ กองทุน ป.ป.ช. และคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทราบ หมวด ๔ การติดตาม และการประเมินผล ข้อ 26 ให้ สานั กงานจัดให้ มีการติดตามประเมินผลการดาเนินงานและการใช้จ่ายเงินของ กองทุน ป.ป.ช. เป็นประจาทุกปี ในการประเมินผลการดาเนินงานและการใช้จ่ายเงินของกองทุน ป.ป.ช. ให้ดาเนินการรายงานผล ต่อคณะกรรมการกองทุน ป.ป.ช. และคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อพิจารณา รวมทั้งรายงานให้ กระทรวงการคลั ง ทราบด้ว ย และให้ น ารายงานนี้เ ป็ นส่ ว นหนึ่ง ของรายงานผลการตรวจสอบและ ผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๒ พลตารวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ