ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 PDF

Summary

เอกสารนี้เป็นยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 (ฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา) อธิบายถึงยุทธศาสตร์และเป้าหมายการพัฒนาประเทศไทย

Full Transcript

ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๘๐ (ฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา) พิมพ์ครั้งที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๑ จานวน ๑๐,๐๐๐ เล่ม หนา้ ๑ เลม่ ๑๓๕ ตอนที่ ๘๒ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๑...

ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๘๐ (ฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา) พิมพ์ครั้งที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๑ จานวน ๑๐,๐๐๐ เล่ม หนา้ ๑ เลม่ ๑๓๕ ตอนที่ ๘๒ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๑ ประกาศ เรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๖๕ บัญญัติให้รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติ เป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทาแผนต่าง ๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกันเพื่อให้ เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าว และต่อมา ได้ มี การตราพระราชบั ญญั ติ การจั ดท ายุ ทธศาสตร์ ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยก าหนดให้ มี คณะกรรมการ ยุ ท ธศาสตร์ ช าติ เพื่ อ รั บ ผิ ด ชอบในการจั ด ท ายุ ท ธศาสตร์ ช าติ และเมื่ อ ได้ รั บ ความเห็ น ชอบ จากคณะรัฐมนตรี และสภานิ ติ บัญญั ติแห่ งชาติแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีน าขึ้นทู ลเกล้าทู ลกระหม่อมถวาย เพื่อมีพระบรมราชโองการประกาศใช้เป็นยุทธศาสตร์ชาติต่อไป บัดนี้ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติได้ดาเนินการจัดทาร่างยุทธศาสตร์ชาติเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๖๑ เห็นชอบร่างยุทธศาสตร์ชาติ ประกอบกับ ในคราวประชุ ม สภานิ ติ บั ญญั ติ แ ห่ งชาติ เมื่ อ วั น ที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๖๑ ที่ ป ระชุ ม ได้ ล งมติ ให้ความเห็นชอบร่างยุทธศาสตร์ชาติแล้ว ดังมีสาระสาคัญตามที่แนบท้ายนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๑ เป็นปีที่ ๓ ในรัชกาลปัจจุบัน ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี คำนำ โดยที่รั ฐ ธรรมนู ญแห่ ง ราชอาณาจั กรไทย มาตรา ๖๕ กาหนดให้ รัฐ พึงจัดให้ มียุทธศาสตร์ ช าติ เป็ น เป้ า หมายการพั ฒ นาประเทศอย่ างยั่ ง ยื น ตามหลั ก ธรรมาภิ บ าลเพื่ อ ใช้ เป็ น กรอบในการจั ด ท าแผนต่ า ง ๆ ให้ส อดคล้ องและบูร ณาการกัน เพื่อให้ เกิดเป็นพลังผลั กดันร่ว มกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าว โดยให้เป็นไปตาม ที่ ก าหนดในกฎหมายว่ า ด้ ว ยการจั ด ท ายุ ท ธศาสตร์ ช าติ และต่ อ มาได้ มี ก ารตราพระราชบั ญ ญั ติ ก ารจั ด ท า ยุ ท ธศาสตร์ ช าติ พ.ศ. ๒๕๖๐ มี ผ ลใช้ บั ง คั บ เมื่ อ วั น ที่ ๑ สิ ง หาคม ๒๕๖๐ โดยก าหนดให้ มี ก ารแต่ ง ตั้ ง คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อรับผิดชอบในการจัดทาร่างยุทธศาสตร์ชาติ กาหนดวิธีการการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการจัดทาร่างยุทธศาสตร์ชาติ ในการติดตาม การตรวจสอบ และการประเมินผล รวมทั้งกาหนด มาตรการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนทุกภาคส่วนดาเนินการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อให้เป็นไปตามที่กาหนดในพระราชบัญญัติการจัดทายุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ คณะกรรมการ ยุ ท ธศาสตร์ ช าติไ ด้แ ต่ง ตั้ง คณะกรรมการจัด ทายุท ธศาสตร์ช าติ ด้า นต่ าง ๆ รวม ๖ คณะ อั น ประกอบด้ ว ย คณะกรรมการจั ดท ายุ ท ธศาสตร์ ช าติ ด้ านความมั่ น คง คณะกรรมการจั ด ทายุ ทธศาสตร์ ช าติด้ านการสร้ า ง ความสามารถในการแข่งขัน คณะกรรมการจั ดทายุ ทธศาสตร์ ช าติด้านการพัฒ นาและเสริ มสร้ างศักยภาพ ทรั พยากรมนุ ษย์ คณะกรรมการจั ด ทายุท ธศาสตร์ ช าติด้านการสร้ างโอกาสและความเสมอภาคทางสั งคม คณะกรรมการจั ด ท ายุ ท ธศาสตร์ ช าติ ด้ า นการสร้ า งการเติ บ โตบนคุ ณ ภาพชี วิ ต ที่ เ ป็ น มิ ต รต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ ม และคณะกรรมการจั ด ท ายุ ท ธศาสตร์ ช าติ ด้ า นการปรั บ สมดุ ล และพั ฒ นาระบบการบริ ห ารจั ด การภาครั ฐ เพื่อรับผิดชอบในการดาเนินการจัดทาร่างยุทธศาสตร์ชาติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กาหนด ตลอดจนได้จั ดให้ มีก ารรั บ ฟัง ความคิดเห็ น ของประชาชนและหน่ว ยงานของรัฐ ที่เกี่ยวข้ องอย่างกว้างขวาง เพื่อประกอบการพิจารณาจัดทาร่างยุทธศาสตร์ชาติตามที่กฎหมายกาหนดแล้ว ยุทธศาสตร์ ช าติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐) เป็น ยุทธศาสตร์ช าติฉบับ แรกของประเทศไทยตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งจะต้องนาไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้ประเทศไทยบรรลุวิ สัยทัศน์ “ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ภายในช่วงเวลาดังกล่าว เพื่อความสุขของคนไทยทุกคน สถานการณ์ แนวโน้ม วิสัยทัศน์ และเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ ๑. บทนา การพัฒนาประเทศไทยนับตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ เป็นต้นมา ได้ส่งผล ให้ประเทศมีการพัฒนาในทุกมิติ ทั้งในด้านเศรษฐกิจที่ประเทศไทยได้รับการยกระดับเป็นประเทศในกลุ่มบน ของกลุ่ ม ประเทศระดั บ รายได้ ป านกลาง ในด้ า นสั ง คมที่ มี ก ารพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต ของประชาชนส่ ง ผลให้ ประเทศไทยหลุ ด พ้ น จากการเป็ น ประเทศยากจน และในด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ มที่ ป ระเทศไทยมี ข้ อ ได้ เ ปรี ย บ ในความหลากหลายเชิง นิเวศ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังมีความท้าทายต่อการพัฒนาที่สาคัญ อาทิ อัตรา การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี ๒๕๖๐ ที่ร้อยละ ๓.๙ ถือว่าอยู่ในระดับต่ากว่าศักยภาพ เมื่อเทียบกับร้อยละ ๖.๐ ต่ อ ปี ในช่ ว งเวลาเกื อ บ ๖ ทศวรรษที่ ผ่ า นมา โดยมี ส าเหตุ ห ลั ก จากการชะลอตั ว ของการลงทุ น ภายในประเทศและสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวได้เต็มที่ โครงสร้างเศรษฐกิจไทยที่ยังไม่สามารถ ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ภาคบริการและภาคเกษตรมีผลิตภาพการผลิตในระดับต่า ขาดการนาเทคโนโลยี เข้ามาเพิ่มประสิ ทธิภาพในการผลิต ประกอบกับแรงงานไทยยั งมีปัญหาเรื่องคุณภาพ และสมรรถนะที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการในการขับเคลื่อนการพัฒนาของประเทศ นอกจากนั้น ศักยภาพและคุณภาพของประชากรไทยทุกช่วงวัยยังคงเป็นปัจจัยท้าทายสาคัญต่อการ พัฒนาประเทศ แม้ว่าการเข้าถึงระบบบริการสาธารณะ การศึกษา บริการสาธารณสุข โครงสร้างพื้ นฐานต่าง ๆ และการคุ้มครองทางสั งคมอื่น ๆ ของคนไทยมีความครอบคลุ มเพิ่มมากขึ้น แต่ยังคงมีปั ญหาเรื่ องคุณภาพ การให้บริการที่มีมาตรฐานแตกต่างกันระหว่างพื้นที่ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทาให้ประเทศไทยยังคงมีปัญหา ความเหลื่อมล้าในหลายมิติ ขณะที่ปัญหาด้านความยากจนยังคงเป็นประเด็นท้าทายในการยกระดับการพัฒนา ประเทศให้ ป ระชาชนมีร ายได้สูงขึ้นและแก้ปัญหาความเหลื่ อมล้ าอย่างยั่งยืน ขณะเดียวกันการวางกลยุทธ์ ระยะยาวในการฟื้นฟู การใช้ และการรักษาทรัพยากรอย่างบูรณาการเพื่อการพัฒนาประเทศที่ผ่านมายังขาด ความชัดเจน ส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศยังมีปัญหาการใช้อย่างสิ้นเปลืองและเสื่อม โทรมลงอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ ปัญหาดังกล่าวข้างต้นมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากประสิทธิภาพการบริหารจัดการภาครัฐ การพัฒนา ประเทศขาดความต่ อเนื่ องและความยื ดหยุ่น ในการตอบสนองต่อ ความต้ องการและปั ญหาของประชาชน ขณะที่ความมั่น คงภายในประเทศยั งมีห ลายประเด็นที่ต้องเสริมสร้างให้ เกิดความเข้มแข็ง ลดความขัดแย้ง ทางความคิด และอุ ด มการณ์ ที่ มี ร ากฐานมาจากความเหลื่ อ มล้ า ความไม่ เสมอภาค การขาดความเชื่ อ มั่ น ในกระบวนการยุ ติธ รรม และปั ญหาการขาดเสถียรภาพทางการเมือง ตลอดจนส่งเสริ มคนในชาติให้ ยึดมั่น สถาบันหลักเป็นศูนย์รวมจิตใจให้เกิดความรักความสามัคคี ในขณะเดียวกัน การเปลี่ ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่มีสั ดส่ ว นประชากรวัยแรงงานและวัยเด็ ก ที่ล ดลงและประชากรสู งอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะเป็นปัจจัยเสี่ย งส าคัญที่จะทาให้ การพัฒนาประเทศ ในมิติ ต่า ง ๆ มี ความท้า ทายมากขึ้ น ทั้ง ในส่ ว นของเสถีย รภาพทางการเงิน การคลั งของประเทศในการจั ด สวัสดิการเพื่อดูแลผู้สูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้น การลงทุนและการออม การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ความ มั่นคงทางสังคม การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ซึ่งจะเป็นประเด็นท้าทายต่อการขับเคลื่อน ประเทศไปสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ๑ ๒. ปัจจัยและแนวโน้มที่คาดว่าจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ แม้ว่าประเทศไทยจะมีตาแหน่งที่ตั้งที่สามารถเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงในภูมิภาคและเป็นประตู สู่เอเชีย แต่การที่มีอาณาเขตติดกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ ทาให้ ปัญหาด้านเขตแดนกับ ประเทศ เพื่อนบ้านยังคงเป็นความท้าทายด้านความมั่นคงในอนาคต นอกจากนี้ ประเทศไทยยังคงต้องให้ความสาคัญ กับปัญหาด้านความมั่นคงอื่น ๆ ที่มีความซับซ้อน ละเอียดอ่อน และมีความเชื่อมโยงกันหลายมิติ ที่อาจเป็น ประเด็น ท้า ทายต่อ การสร้ า งบรรยากาศความไว้ว างใจระหว่า งรั ฐ กั บ ประชาชนและระหว่ า งประชาชนกั บ ประชาชน ซึ่งรวมถึงการสร้างความสามัคคีของคนในชาติที่จะนาไปสู่การแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม ประชากรไทยที่มีแนวคิดและความเชื่อที่แตกต่างกันอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ การขยายอิทธิพลและการเพิ่มบทบาทของประเทศมหาอานาจที่อาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ไปสู่ ร ะบบหลายขั้ ว อ านาจ หรื อ เกิ ด การย้ า ยขั้ ว อ านาจทางเศรษฐกิ จ ซึ่ ง อาจส่ ง ผลกระทบ ต่ อ เสถี ย รภาพ ทางเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต ขณะทีอ่ งค์กรที่ไม่ใช่รัฐ อาทิ องค์การระหว่างประเทศ และบรรษัทข้ามชาติ จะมีบทบาทมากขึ้นในการกาหนดกฎ ระเบียบ ทิศทางความสัมพันธ์ และมาตรฐานสากลต่าง ๆ ทั้งในด้าน ความมั่นคง และเศรษฐกิจ รวมทั้งการรวมกลุ่มเศรษฐกิจ และการเปิดเสรีในภูมิภาคที่นาไปสู่ความเชื่อมโยง ในทุกระบบ อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านอาชญากรรมข้ามชาติและเศรษฐกิจนอกระบบ รวมทั้งปัญหายาเสพติด การค้ามนุษย์ และการลักลอบเข้าเมือง ในทางกลับกัน ความเปลี่ยนแปลงจากโลกาภิวัตน์และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ได้รั บ การพัฒ นาอย่ า งก้า วกระโดดจะก่อ ให้ เกิ ดนวั ตกรรมอย่า งพลิ ก ผั น อาทิ เทคโนโลยีปัญ ญาประดิษ ฐ์ อิ น เทอร์ เ น็ ต ในทุ ก สิ่ ง การวิ เ คราะห์ ข้ อ มู ล ขนาดใหญ่ หุ่ น ยนต์ แ ละโดรน เทคโนโลยี พั น ธุ ก รรมสมั ย ใหม่ และเทคโนโลยีทางการเงิน ซึ่งตัวอย่างแนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดดเหล่านี้ คาดว่าจะเป็นปัจจัย สนับสนุนหลักที่ช่วยทาให้เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่จ ะกลับมาขยายตัวได้เข้มแข็งขึ้น แนวโน้ม สาคัญที่จาเป็นต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิด อาทิ การรวมกลุ่มทางการค้าและการลงทุนที่จะมีความหลากหลาย เพิ่ ม มากขึ้ น การแข่ ง ขั น ที่ ค าดว่ า จะรุ น แรงขึ้ น ในการเพิ่ ม ผลิ ต ภาพและสร้ า งความหลากหลายของสิ น ค้ า และบริการที่ตอบโจทย์รูปแบบชีวิตใหม่ ๆ นอกจากนั้น ประเทศไทยคาดว่าจะเข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอดในปี ๒๕๗๔ จะก่อให้เกิด โอกาสใหม่ ๆ ในการตอบสนองความต้อ งการของกลุ่ มผู้ บ ริโ ภคสู งอายุที่จะมีสั ดส่ ว นเพิ่ มขึ้นอย่างต่ อเนื่อ ง รวมทั้งการคาดการณ์ว่าครอบครัวไทยจะมีขนาดเล็กลงและมีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น ประชากรในประเทศ ไทยจะมีช่วงอายุที่แตกต่างกันและจะมีกลุ่มคนช่วงอายุใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อทัศนคติและพฤติกรรม ที่แตกต่างกัน ดังนั้น การเตรียมความพร้อมของประชากรให้มีคุณภาพและการนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ ในการผลิตและการบริการของประเทศจะเป็นความท้าทายสาคัญในระยะต่อไป ในขณะเดียวกัน โครงสร้างประชากรที่เข้าสู่สังคมสูงวัย อาจทาให้เกิดความต้องการแรงงานต่างชาติ เพิ่มมากขึ้นเพื่อทดแทนจานวนแรงงานไทยที่ลดลง ซึ่งปัจจัยด้านการเปิดเสรีในภูมิภาคและความก้าวหน้าของ การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งในภูมิภาคจะทาให้การเคลื่อนย้ายแรงงานและการย้ายถิ่นมีความสะดวกมากขึ้น และเป็นปัจจัยสาคัญที่จะทาให้เกิดการเคลื่อนย้ายประชากรเข้าออกประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่ม ประชากรที่มีศักยภาพซึ่งมีแนวโน้มในการเคลื่อนย้ายไปเรียนหรือทางานในทั่วทุกมุมโลกสูงขึ้น ทั้งนี้ การย้ายถิ่น ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาโอกาสทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น จึงอาจจะเป็นไปได้ที่ประเทศไทยจะยังคงเป็น ประเทศผู้รับของประชากรจากประเทศเพื่อนบ้าน ขณะที่ประชากรไทยโดยเฉพาะแรงงานทักษะอาจมีแรงจูงใจ ในการย้ายถิ่นไปยังประเทศที่มีระดับการพัฒนาที่ดีกว่า อาจทาให้การแย่งชิงแรงงานมีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งจะ ยิ่งทาให้เกิดความเสี่ยงต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงของบริบทสังคมไทย ๒ นอกจากนี้ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคาดว่าจะมีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งในเชิง ความผันผวน ความถี่ และขอบเขตที่กว้างขวางมากขึ้น ซึ่งจะสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ระบบ โครงสร้างพื้นฐานที่จาเป็น ตลอดจนระบบผลิตทางการเกษตรที่สัมพันธ์ต่อเนื่องกับความมั่นคงด้ านอาหารและ น้ า ขณะที่ ร ะบบนิ เ วศต่ า ง ๆ มี แ นวโน้ ม เสื่ อ มโทรมลง และมี ค วามเป็ น ไปได้ ค่ อ นข้ า งสู ง ในการสู ญ เสี ย ความสามารถในการรองรับความต้องการของมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี ระดับความรุนแรงของ ผลกระทบอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกและความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศต่าง ๆ ดังกล่าวที่แต่ละ ประเทศจะต้ อ งเผชิ ญ จะมี ค วามแตกต่ า งกั น ท าให้ ก ารเป็ น สั ง คมสี เ ขี ย ว การรั ก ษาและบริ ห ารจั ด การ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ งแวดล้อมอย่ างบูรณาการจะได้รั บความส าคัญและความสนใจจากนานาประเทศ รวมทั้งประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น พลั งงานทดแทนและพลังงานทางเลื อก รวมถึงการสร้างสมดุลความมั่นคง ด้านพลังงานและอาหารมีแนวโน้มที่จะมีความสาคัญเพิ่มมากขึ้น กฎระเบียบและข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมจะมี ความเข้มข้นและเข้มงวดขึ้น โดยกรอบการพัฒนาตามข้อตกลงระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่สาคัญ เช่น เปูาหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน และบันทึกความตกลงปารีส จะได้รับการนาไปปฏิบัติอย่างจริงจังมากยิ่งขึ้น แนวโน้มเหล่านี้จะก่อให้เกิดความท้าทายต่อการพัฒนาประเทศในหลายมิติ ทั้งในส่วนของการจ้างงาน และอาชีพ สาขาการผลิตและบริการใหม่ ๆ ความมั่นคงของประเทศอันเกิดจากภัยคุกคามและความเสี่ยงด้านอื่น ๆ ที่ซับซ้อนขึ้น อาชญากรรมไซเบอร์ รูปแบบการก่อสงครามที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ การเคลื่อนย้ายอย่าง เสรีและรวดเร็วของผู้คน เงินทุน ข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ เทคโนโลยี และสินค้าและบริการ การปรับตัวต่อการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รวดเร็วและคาดการณ์ได้ยาก การเกิดขึ้นของโรคระบาด และโรคอุบัติใหม่ที่จะ ส่งผลให้การเฝูาระวังด้านการสาธารณสุขในประเทศมีความสาคัญมากขึ้น อาจนาไปสู่ปัญหาความเหลื่อมล้าที่ทวี ความรุนแรงมากขึ้นได้ หากไม่มีมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการปูองกันและรองรับผลกระทบต่าง ๆ ที่คาดว่า จะเกิดขึ้น ซึ่งรวมถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมแบบพลิกผัน ที่จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากการเข้าถึงเทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐาน และองค์ความรู้สมัยใหม่ มีระดับความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มประชากรต่าง ๆ โดยการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมดังกล่าว จะส่งผลต่อทั้งการจ้างงานและอาชีพที่จะมีรูปแบบและลักษณะงานที่เปลี่ยนไป มีความต้องการแรงงานที่มี สมรรถนะสูงเพิ่มมากขึ้น หลายอาชีพอาจหายไปจากตลาดงานในปัจจุบันและบางอาชีพจะถูกทดแทนด้วยระบบ อัตโนมัติโดยเฉพาะอาชีพที่ต้องการทักษะระดับต่า ก่อให้เกิ ดความเสี่ยงต่อความมั่นคงและคุณภาพชีวิตของ ประชาชนที่ปรับตัวไม่ทันหรือขาดความรู้และทักษะที่ทันกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป กระแสโลกาภิวัตน์ที่จะทา ให้ เกิดการพัฒ นาขยายความเป็น เมือง วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางสภาพ ภู มิ อ ากาศที่ อ าจจะมี ค วามแปรปรวนมากยิ่ ง ขึ้ น ซึ่ งปั จจั ยทั้ งหมดดั งกล่ าวจะส่ งผลให้ ปั ญหาความยากจน และความเหลื่อมล้าของประเทศมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จากปัจจัยและแนวโน้มที่คาดว่าจะส่งผลต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศในมิติต่าง ๆ ข้างต้น เห็น ได้ว่าบริบทและสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกประเทศมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีพลวัตสูง และมีความซับซ้อนหลากหลายมิติ ซึ่งจะส่งผลต่ออนาคตการพัฒนาประเทศอย่างมาก ดังนั้น การพัฒนาประเทศ จึงจ าเป็ น ต้องมียุ ทธศาสตร์ การพัฒ นาที่ครอบคลุ มทุกมิติและทุกด้านการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง มีความร่ว มมือ ในลักษณะประชารัฐจากภาคส่วนต่าง ๆ ในรูปแบบของหุ้นส่วนการพัฒนาที่เป็นการดาเนินงานอย่างบูรณาการ เนื่ อ งจากทุ ก มิ ติ ก ารพัฒ นามี ค วามเกี่ ย วข้ องซึ่ ง กั น และกั น โดยประเทศไทยจ าเป็ นต้ อ งมี ท รั พ ยากรมนุ ษ ย์ ที่มีคุณภาพ มีความรู้ สมรรถนะ และทักษะที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ สามารถรู้เท่าทันและปรับตัว ให้สามารถดาเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข มีอาชีพที่มั่นคง สร้างรายได้ ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ และกติกาใหม่ ๆ และมาตรฐานที่สูงขึ้น โดยเฉพาะในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งจาเป็นต้องมี ๓

Use Quizgecko on...
Browser
Browser