🎧 New: AI-Generated Podcasts Turn your study notes into engaging audio conversations. Learn more

Human behav n Motivation (sheet).pdf

Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

Full Transcript

1 เอกสารประกอบการสอน เรื่อง พฤติกรรมมนุษย์ (Human Behavior) รายวิชา 1501 112 เวชศาสตร์พฤติกรรม (Behavioral Medicine) หลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต ชั้นปีที่ 1 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิง จริยา จิรานุกูล พฤติกรรมมนุษย์ (Human Behavior) จุดประสงค์การเรียนรู้ (Objectives) เมื่อสิ้นสุดการเรียน นิสิตสาม...

1 เอกสารประกอบการสอน เรื่อง พฤติกรรมมนุษย์ (Human Behavior) รายวิชา 1501 112 เวชศาสตร์พฤติกรรม (Behavioral Medicine) หลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต ชั้นปีที่ 1 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิง จริยา จิรานุกูล พฤติกรรมมนุษย์ (Human Behavior) จุดประสงค์การเรียนรู้ (Objectives) เมื่อสิ้นสุดการเรียน นิสิตสามารถ 1. อธิบายความหมายของพฤติกรรมและพฤติกรรมศาสตร์ 2. จาแนกประเภทของพฤติกรรมมนุษย์ด้วยหลักการต่างๆ 3. อธิบายอิทธิพลของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมต่อการเกิดพฤติกรรมมนุษย์ 4. อธิบายความหมายและกระบวนการจูงใจที่เป็นที่มาของการเกิดพฤติกรรมมนุษย์ 5. บอกความหมายของความต้องการ แรงจูงใจ ความขัดแย้ง ความคับข้องใจ การปรับตัว และการเรียนรู้ 6. ตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ทั้งทางร่างกาย ความคิด อารมณ์ สังคม 7. แสดงความเข้าใจ เอาใจใส่ และช่วยเหลือบุคคลอื่นที่อยู่ร่วมกันในสังคม บทนาและความสาคัญ มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ฉลาด มีความสามารถสูง เพราะสามารถพัฒนาเครื่องมือหรืออุปกรณ์และนามาใช้ในการ ดารงชีวิตให้อยู่เหนือกว่าสิ่งมีชีวิตอื่นและเอาชนะธรรมชาติได้หลายประการ ในขณะที่มนุษย์มุ่งมั่นในการพัฒนาเทคโนโลยี ต่างๆ ให้ก้าวล้าทันสมัย แต่มนุษย์กลับสนใจที่จะศึกษาความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์เองน้อยและยังไม่สามารถควบคุม ความคิด อารมณ์และพฤติกรรมของตนให้อยู่ในความพอดีให้สมดุลกับธรรมชาติรอบตัวได้ จึงทาให้มนุษย์ประสบปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหาสุขภาพอนามัย ปัญหาความเครียดทางจิตใจ ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม อะไรเป็นสาเหตุที่ทาให้มนุษย์แต่ละคนมีความแตกต่างกัน ข้อสงสัยนี้เป็นที่สนใจศึกษามายาวนานในหมู่นัก จิตวิทยา นักสังคมวิทยา นักมานุษยวิทยา จึงเกิดวิชาที่เรียกว่า “พฤติกรรมศาสตร์” ซึ่งเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ โดยมีการนาศาสตร์สาขาต่างๆ เข้ามาผสมผสานเพื่อทาความเข้าใจมนุษย์ เข้าใจพฤติกรรมและที่มา แล้วสามารถทานาย แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่างที่ไม่เหมาะสม เพื่อให้มนุษย์แต่ละคนสามารถดาเนินชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข พฤติกรรมและพฤติกรรมศาสตร์ พฤติกรรม หมายถึง การกระทาของบุคคลหรือการแสดงออกของร่างกายซึ่งเป็นปฏิกิริยาโต้ตอบเมื่อเผชิญกับสิ่งเร้า หรือสถานการณ์ต่างๆ พฤติกรรมศาสตร์ หมายถึง การศึกษาพฤติกรรมมนุษย์อย่างเป็นระบบด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยมีที่มาจาก การที่นักวิชาการกลุ่มหนึ่งเห็นว่า การอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์จาเป็นต้องนาความรู้ในวิชาหมวดต่างๆ มาบูรณา 28 มิถน ุ ายน 2561 2 การเข้าด้วยกัน จึงมีการรวมบางส่วนของวิชาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ วิชาสังคมศาสตร์ และมนุษย์ศาสตร์เข้าด้วยกัน จัดตั้งเป็น ศาสตร์ใหม่ขึ้นอีกหมวดหนึ่ง เรียกว่า พฤติกรรมศาสตร์ วิชานี้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกั บหลายสาขาวิชา ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ กฎหมาย และภูมิศาสตร์ แต่มีสาขาวิชาหลักคือจิตวิทยา สังคมวิทยา มานุษยวิทยา ซึ่งจิตวิทยาจะศึกษาพฤติกรรม ของบุคคล สนใจกระบวนการต่างๆ ภายในจิตใจของบุคคลมากกว่าปัจจัยภายนอก เช่น ความต้องการ การรับรู้อารมณ์ ความรู้สึก ส่วนสังคมวิทยาศึกษาความสัมพันธ์ทางสังคมของบุคคลและมองการกระทาของบุคคลว่ามีสาเหตุมาจากสังคม ซึ่ง เป็นปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมในฐานะเป็นสมาชิกของสังคมที่จะต้องรู้สิทธิหน้าที่ของตนและจะต้อง ปฏิบัติตามระเบียบกฎเกณฑ์ของสังคม มานุษยวิทยาศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ในเชิงให้ความสนใจเกี่ยวกับพฤติกรรมในอดีตที่มี อิทธิพลต่อพฤติกรรมในปัจจุบัน ศึกษาลักษณะต่างๆ ของร่างกายมนุษย์ แยกประเภทเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์ ศึกษาวัฒนธรรม โดยเฉพาะความเชื่อ ค่านิยม ประเพณี เจตคติ ในฐานะเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกระทาของมนุษย์ในสั งคม ประเภทของพฤติกรรม การจาแนกประเภทของพฤติกรรมสามารถแบ่งได้หลายวิธี เช่น 1. แบ่งตามการแสดงออก ได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1.1 พฤติกรรมภายนอก (overt behavior) คือ การกระทาที่เกิดขึ้นที่แสดงออกมาให้สังเกตเห็นได้ ได้ยิน รับรู้ทาง ร่ายกายได้ เช่น การเดิน การยืน การนั่ง การนอน 1.2 พฤติกรรมภายใน (covert behavior) คือ กระบวนการที่เกิดขึ้นภายในร่างกายหรือจิตใจ ซึ่งบุคคลอื่นไม่ สามารถสังเกตเห็นหรือรับรู้ได้จากภายนอก เช่น การคิด ความจา อารมณ์ ความรู้สึก แต่สามารถใช้เครื่องมือมาตรวจสอบได้ เช่น การวัดชีพจร ความดันโลหิต การตรวจคลื่นสมอง ทั้งนี้ พฤติกรรมภายนอกและภายใน จะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน คือ พฤติกรรมภายในเป็นตัวกาหนดพฤติกรรม ภายนอก เช่น ถ้าความคิด ความรู้สึกภายในมีความเศร้าเสียใจ พฤติกรรมภายนอกก็จะแสดงออกมาผ่านสีหน้าแววตาทีเ่ ศร้า สร้อย กิริยาท่าทางเคลื่อนไหวเชื่องช้า พฤติกรรมเหนื่อยหน่าย หมดสนุก หมดความสนใจ 2. แบ่งตามเกณฑ์พฤติกรรม ได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ 2.1 พฤติกรรมปกติ (normal behavior) คือ พฤติกรรมของบุคคลส่วนใหญ่ซึ่งมีความคล้ายคลึงกัน ตามพัฒนาการ แต่ละช่วงวัย ซึ่งสังคมและวัฒนธรรมที่บุคคลนั้นอาศัยอยู่จะเป็นกรอบที่บังคับให้บุคคลแสดงออกตามที่สังคมและวัฒนธรรมนั้น ยึดถือ การระบุว่าพฤติกรรมใดปกติหรือไม่จึงขึ้นอยู่กับการให้ค่าของสังคมนั้น ซึ่งแต่ละสังคมอาจจะแตกต่างกันได้ เช่น สังคม ตะวันตกเห็นการกอดจูบระหว่างเพื่อนผู้ชายและผู้หญิงเป็นพฤติกรรมที่ปกติ แต่สังคมไทยถือเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม 2.2 พฤติกรรมเบี่ยงเบน (deviant behavior) คือ พฤติกรรมที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์พิจารณาของพฤติกรรมปกติ มี ความเบี่ยงเบนไปจากบรรทัดฐานของสังคม ซึ่งอาจจะเป็นการเบี่ยงเบนไปในทางที่ดีหรือทางที่ไม่ดีก็ได้ การระบุว่าพฤติกรรม ใดผิดปกติหรือเบี่ยงเบนนั้น นอกจากจะขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมในสังคมแล้วยังขึ้นอยู่กับสถานที่ เวลา สภาพแวดล้อม และการ เปลี่ยนแปลงของสังคมด้วย เช่น แต่เดิมถือว่าการรักร่วมเพศเป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบนเป็นปัญหาสุขภาพจิต แต่ปัจจุบันนี้ ทางการแพทย์ไม่ได้ถือว่าพฤติกรรมดังกล่าวเป็นพฤติกรรมที่ผิดปกติอีกต่อไป 28 มิถน ุ ายน 2561 3 3. แบ่งตามสาขาวิชาที่เฉพาะเจาะจง เช่น ด้านสุขภาพ เรียกว่าพฤติกรรมสุขภาพ ด้านการเมืองการปกครอง เรียกว่าพฤติกรรมทางการเมือง ด้านเศรษฐกิจ เรียกว่าพฤติกรรมทางเศรษฐกิจ ด้านศาสนา เรียกว่าพฤติกรรมทางศาสนา เป็นต้น การเกิดพฤติกรรมของมนุษย์ อะไรเป็นสาเหตุที่ทาให้มนุษย์แต่ละคนมีความแตกต่างกัน เพราะแม้แต่ฝาแฝดแท้ที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน (identical twins) ซึ่งน่าจะมีความคล้ายคลึงกันมากที่สุดแล้ว ก็ยังพบว่ามีบุคลิกลักษณะ อุปนิสัย และพฤติกรรมแตกต่างกันอยู่ดี ผล การศึกษาที่ผ่านมา พบว่า สาเหตุของความแตกต่างระหว่างบุคคล (individual difference) เกิดจากปัจจัยสาคัญ 2 ประการ ได้แก่ พันธุกรรม (genetics) และสิ่งแวดล้อม (environment) 1. พันธุกรรม (genetics) พันธุกรรม หมายถึง การถ่ายทอดลักษณะต่างๆ จากบรรพบุรุษของฝุายพ่อและแม่ ไปยังเด็กที่กาลังจะเกิด โดยอาศัย ยีน (gene) เป็นตัวนาและผ่านกระบวนการทางชีววิทยาภายในร่างกาย ลักษณะที่ถ่ายทอด เช่น เพศ รูปร่าง หน้าตา เส้นผม สี ผิว หมู่โลหิต สติปัญญา อารมณ์พื้นฐาน ความเจ็บปุวยทางร่างกายและจิตใจ รวมทั้งความบกพร่องของร่างกายบางประการ การทางานของยีนและโครโมโซมในการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ยีนที่อยู่ภายในโครโมโซมจะเป็นตัวกาหนดลักษณะ ทางพันธุกรรมต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต มนุษย์มี 46 โครโมโซมหรือ 23 คู่ การที่โครโมโซมและยีนจะทาหน้าที่ถ่ายทอดทาง พันธุกรรมได้นั้นจะต้องมีการจับกันเป็นคู่ระหว่างโครโมโซมของฝุายพ่อ (อสุจิ) และฝุายแม่ (ไข่) สายละ 23 โครโมโซม โดยแต่ละคู่ที่จะจับกันได้ต้องเป็นโครโมโซมที่ทาหน้าที่เดียวกัน เช่น โครโมโซมตาซึ่งมียนี สีตาจากฝุายพ่อ ต้องมาจับคู่กับ โครโมโซมตาทีม่ ีลักษณะสีตาจากฝุายแม่ แล้วแสดงออกมาให้เห็นได้ภายนอก เรียกว่า phenotype ซึ่งจะแสดงลักษณะสีตา ของฝุายพ่อหรือแม่นั้น ขึ้นอยู่กับกฎของลักษณะเด่น (dominant) ข่มลักษณะด้อย (recessive) เช่น ตาสีดา น้าตาล จะเด่น ข่มตาสีฟูา เทา เขียว เป็นต้น 2. สิ่งแวดล้อม (environment) สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งต่างๆ ทุกอย่างที่อยู่รอบตัวบุคคล ทาหน้าที่เป็นสิ่งเร้ากระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรม ตอบสนองในลักษณะต่างๆ สามารถจาแนกสิ่งแวดล้อมได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ 2.1 สิ่งแวดล้อมก่อนคลอด หมายถึง สิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลตั้งแต่เริ่มเกิดการปฏิสนธิภายในครรภ์มารดาจนครบ กาหนดคลอด ในช่วงเวลาที่ทารกอยู่ในครรภ์มารดานี้ เป็นช่วงเวลาสาคัญที่ทารกจะเจริญเติบโตและสร้างอวัยวะต่างๆ จน สมบูรณ์ หากมารดามีพฤติกรรมหรือได้รับสิ่งใดๆ ที่เป็นอันตราย ก็อาจมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของทารก นาไปสู่การ แท้ง การคลอดก่อนกาหนด การสร้างอวัยวะไม่สมบูรณ์ ร่างกายพิการ สมองเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ หรือมีโรคภัยไข้เจ็บ บางอย่างในอนาคตได้ สิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อทารกในครรภ์ เช่น การบริโภคอาหารของมารดา การใช้ยาบางชนิด การใช้สารเสพติด การ สัมผัสกัมมันตรังสี โรคติดเชื้อบางอย่าง การประสบอุบัติเหตุ สุขภาพจิตของมารดา เป็นต้น 28 มิถน ุ ายน 2561 4 2.2 สิ่งแวดล้อมขณะคลอด หมายถึง สิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลในช่วงเวลาตั้งแต่ที่มารดาเข้าสู่ระยะการคลอดไปจนถึง ทารกคลอดออกมา ในช่วงเวลาการคลอดนี้ หากมีปัญหาหรือภาวะแทรกซ้อนอะไรบางอย่างก็อาจทาให้เกิดอันตรายต่อทารก ได้ เช่น หากมารดามีปัญหาตกเลือด จะทาให้ทารกขาดเลือดและสมองขาดออกซิเจน เป็นต้น 2.3 สิ่งแวดล้อมหลังคลอด หมายถึง สิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิผลต่อบุคคลนับตั้งแต่คลอดออกมาสู่โลกภายนอก ได้แก่ สถาบันครอบครัว เป็นสิ่งแวดล้อมสาคัญอันดับแรกที่มีอิทธิผลต่อพฤติกรรมของบุคคล ปัจจัยภายในครอบครัวมีผล ต่อพฤติกรรม เช่น ลาดับการเกิด วิธีการอบรมเลี้ยงดู ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ทัศนคติของพ่อแม่ สภาพแวดล้อมของ ครอบครัวและที่อยู่อาศัย เหล่านี้ล้วนมีผลทาให้เด็กมีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน เช่น ถ้าเกิดมามีเพศตรงกับที่ผู้ใหญ่ต้องการ เด็ก จะได้รับความรักความเอาใจใส่อย่างเต็มที่ ลูกคนโตถูกคาดหวังให้รับผิดชอบสูง ลูกคนสุดท้องจะเป็นเด็กเล็กในสายตาพ่อแม่ เสมอ ลูกคนกลางถ้ามีเพศเดียวกับพี่มักจะได้รับความสนใจน้อย การอบรมเลี้ยงดูแบบตามใจมากเกินหรือทอดทิ้งมากเกินก็ทา ให้มีปัญหาได้ สภาพแวดล้อมของที่อยู่อาศัยมีความใกล้ชิดกับธรรมชาติเด็กก็จะโตมามีสุขภาพแข็งแรง นอกจากนี้ พฤติกรรม สุขภาพต่างๆ ก็มาจากอิทธิพลของครอบครัว เช่น พ่อแม่ชอบทานอาหารไขมันสูง ลูกก็จะมีนิสัยชอบทานอาหารไขมันสูง เช่นกัน อิทธิพลนี้เกิดขึ้นโดยทางตรงคือพ่อแม่สั่งสอน และเกิดขึ้นโดยทางอ้อมจากการสังเกตเลียนแบบพฤติกรรม สถาบันการศึกษา มีความสาคัญเป็นอันดับสองรองจากครอบครัว ครอบครัวเป็นแหล่งสร้างพฤติกรรม สถานศึกษา เป็นแหล่งหล่อหลอมพฤติกรรม คือนอกจากจะทาหน้าที่อบรมสั่งสอนถ่ายทอดความรู้เพื่อให้มีอาชีพการงานที่ดีในอนาคตแล้ว ยังสอนให้รู้จักการยอมรับกฎกติกาของสังคม เรียนรู้วิธีการปรับตัวให้เข้ากับบุคคลอื่น ปรับปรุงบุคลิกภาพที่ไม่พึงประสงค์ เพื่อให้บุคคลสามารถดาเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข สิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาก็มีผลต่อพฤติกรรมของบุคคลด้วย เช่น บรรยากาศของสถานศึกษา บรรยากาศภายในชั้นเรียน บุคลิกภาพและเทคนิคการสอนของครู สัมพันธภาพกับเพื่อน เป็นต้น สถาบันศาสนาและสังคม ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจคน มีบทบาทต่อการกาหนดพฤติกรรมการแสดงออกของ บุคคล เช่น ศาสนาพุทธสอนให้ทาความดี ละเว้นความชั่ว ทาจิตใจให้ผ่องใส เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม คนที่มี ศรัทธาในศาสนาก็จะประพฤติดีตามคาสอน ลักษณะการเมืองการปกครองในแต่ละสังคม ลักษณะขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมที่แตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น ก็ล้วนมีอิทธิผลต่อความคิด ความเชื่อ และพฤติกรรมในการดาเนินชีวิตของบุคคล สถาบันสื่อมวลชน ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต เหล่านี้มีที่ผลต่อการกาหนดพฤติกรรมของบุคคล ทั้งทางบกและทางลบได้ตลอดเวลาโดยเฉพาะวัยรุ่น เช่น การแต่งกาย กิริยาท่าทาง การพูดจา ทัศนคติทางเพศ ดังนั้น ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ และผู้ใกล้ชิดเยาวชนจึงควรสอนให้บริโภคสื่อต่างๆ อย่างฉลาดและสร้างสรรค์ ขณะเดียวกันสถาบัน สื่อมวลชนเองควรตระหนักและเลือกสรรสิ่งที่มีคุณค่า มีสารประโยชน์ และอนุรักษ์วัฒนธรรมความเป็นไทยให้เยาวชนของชาติ อิทธิพลของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มีต่อความแตกต่างระหว่างบุคคล 1. ความแตกต่างทางด้านร่างกาย เป็นความแตกต่างที่เห็นชัดเจนที่สุด เช่น ลักษณะโครงสร้างของร่างกาย หน้าตา สีผิว สีผม สีตา ลักษณะเพศ หมู่ โลหิต การทางานของอวัยวะภายในร่างกาย โรคภัยไข้เจ็บ และข้อบกพร่องทางร่างกาย ส่วนใหญ่ความแตกต่างทางด้าน ร่างกายนี้ได้รับอิทธิพลจากพันธุกรรมมากกว่าสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม สิ่งแวดล้อมก็มีอิทธิพลอยู่บ้าง เช่น แม้บุคคลจะได้รับ พันธุกรรมความอ้วนจากพ่อแม่ แต่ถ้าอยู่ในสิ่งแวดล้อมทุรกันดาร ยากจน บุคคลนั้นก็จะมีรูปร่างผอมได้ 28 มิถน ุ ายน 2561 5 2. ความแตกต่างทางด้านสติปัญญา สติปัญญา หมายถึง ความสามารถของสมองในการจา คิดวิเคราะห์ หาเหตุผล เรียนรู้ และทาสิ่งต่างๆ ให้สาเร็จ สามารถวัดได้เป็น IQ (intelligent quotient) มีการศึกษาจานวนมากทาให้เชื่อว่า สติปัญญาของบุคคลได้รับอิทธิพลจาก พันธุกรรมมากกว่าสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม เช่น การเลี้ยงดู ครอบครัว การศึกษา ก็มีส่วนส่งเสริม สติปัญญาให้พัฒนาดีขึ้นหรือแย่ลงได้ด้วย เห็นได้จากฝาแฝดแท้ที่เกิดจากไข่ใบเดียวกันก็ยังมีระดับสติปัญญาแตกต่างกันได้บ้าง 3. ความแตกต่างด้านอารมณ์ อารมณ์ หมายถึง สภาวะจิตใจที่เปลี่ยนแปลงเมื่อมีสิ่งเร้ามากระทบ เป็นผลจากการถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้าทั้งภายนอก และภายใน อารมณ์เป็นสัญชาตญาณที่ติดตัวมาแต่กาเนิด ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เรียกว่า อารมณ์พื้นฐาน ได้แก่ สนุกสนาน รัก โกรธ เกลียด กลัว เศร้าโศก แต่ความแตกต่างด้านอารมณ์ที่ชัดเจนเป็นผลจากการเรียนรู้ในภายหลัง เช่น อารมณ์ขัน อารมณ์ร้อน อารมณ์เย็น อารมณ์อิจฉา นอกจากนี้บุคคลมีพฤติกรรมการแสดงออกของอารมณ์ไม่เหมือนกัน เช่น อารมณ์โกรธ บางคนทาลายข้าวของ บางคนเงียบเก็บกด บางคนร้องไห้ อารมณ์เศร้า บางคนร้องไห้ฟูมฟาย บางคนนิ่งเฉย ซึ่ง พฤติกรรมเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นไปตามวิธีการเลี้ยงดูของพ่อแม่ และการเลียนแบบการแสดงอารมณ์ของพ่อแม่ ความฉลาดทางอารมณ์ เรียก EQ (emotional quotient) มีองค์ประกอบ ได้แก่ รู้จักตนเอง รู้ว่าตนต้องการอะไร สามารถควบคุมอารมณ์ตนเอง รู้ผิดชอบชั่วดี เข้าใจเห็นใจผู้อื่น บุคคลที่มี EQ สูง มักจัดการปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ บุคคลที่ มี IQ สูง แต่ล้มเหลวในชีวิต อาจเป็นเพราะมี EQ ต่า การเลี้ยงดูในวัยเด็กมีผลกระทบต่อ EQ มาก บุคคลที่ได้รับความกดดัน จากครอบครัวมาแต่เด็ก เช่น ขาดความรักความอบอุ่น หรือ ได้รับความรักมากเกินจนไม่รู้จักตัวเอง ไม่รู้จักความต้องการของ ตนเอง ไม่สามารถควบคุมอารมณ์และไม่มีวนิ ัย จะทาให้ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ให้เหมาะสมเมื่ออยู่ในสังคม 4. ความแตกต่างทางสังคม ความฉลาดทางสังคม เรียก SQ (social quotient) เป็นการแสดงพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันกับบุคคลอื่นในสังคม เช่น การสร้างสัมพันธภาพ การวางตัว รับฟังผู้อื่น มีน้าใจเอื้ออาทร พึ่งพาอาศัยกัน บุคคลแสดงพฤติกรรมเหล่านี้แตกต่างกันขึ้นกับ อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมและสภาพสังคมที่บุคคลเติบโตขึ้นมา สัมพันธภาพในครอบครัวระหว่างพ่อแม่ลูกมีบทบาทสาคัญ คือ ถ้าพ่อแม่รัก พอใจ ยอมรับลูก เด็กก็จะสามารถสร้างสัมพันธภาพและปรับตัวให้เข้ากับบุคคลอื่นได้ดี ตรงกันข้าม เด็กที่มี ความสามารถทางสังคมต่าจะทาอะไรไม่ค่อยเป็น ไม่กล้าทาอะไร ไม่มนั่ ใจในตนเอง อย่างไรก็ดี พันธุกรรมก็มีอิทธิพล สังเกตได้ จากเด็กที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดมักจะมีวิธีการสร้างสัมพันธภาพและปรับตัวให้เข้ากับบุคคลและสิ่งแวดล้อมได้ดี 5. ความแตกต่างด้านบุคลิกภาพ บุคลิกภาพเป็นลักษณะเฉพาะของบุคคลที่แสดงออกมาทั้งทางร่างกายและจิตใจ บุคลิกภายนอก ได้แก่ รูปร่าง หน้าตา ท่าทางการเคลื่อนไหว การพูด และทักษะในการทากิจกรรมต่างๆ บุคลิกภายใน ได้แก่ ความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม ความสนใจ อุดมคติ อุดมการณ์ เป็นต้น บุคลิกภาพเป็นพฤติกรรมโดยรวมของแต่ละบุคคลที่ได้สั่งสมมาเป็นเวลา ยาวนานตั้งแต่เกิดจนโต จึงได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งแวดล้อมหลังคลอดเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ สภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษา วัฒนธรรม ล้วนมีอิทธิพลต่อทัศนคติความเชื่อและค่านิยมของบุคคลด้วย เห็นได้จากบุคคล ที่มาจากสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันก็มีบุคลิกภาพที่แตกต่างกันไปด้วย 28 มิถน ุ ายน 2561 6 พื้นฐานของพฤติกรรมมนุษย์ ชีวิตของมนุษย์ ประกอบด้วย ความสมดุลทางด้านสรีรวิทยาและความสมดุลทางด้านจิตใจ ซึ่งบุคคลจะรู้สึกสุขสบาย เมื่ออยู่ในสภาวะทีส่ มดุล เรียกว่า สมดุลพลวัต (dynamic balance) ในการดาเนินชีวิตนั้นบุคคลจะมีเปูาหมายหรือทิศทาง เพื่อรักษาสมดุลนั้น โดยมีปัจจัยหลายอย่างเป็นตัวคอยผลักดันให้แสดงพฤติกรรมออกมาเพื่อให้ไปถึงเปูาหมายหรือทิศทางนั้น ผู้ศึกษาพฤติกรรมศาสตร์พบหลักความจริงที่ว่า “พฤติกรรมทุกอย่างต้องมีสาเหตุ” สาเหตุที่ว่านั้น ก็คือ แรงจูงใจให้ บุคคลแสดงพฤติกรรม นั่นเอง ซึ่งแรงจูงใจเกิดได้ทั้งจากตนเอง จากบุคคลอื่น หรือจากสังคม ดังนั้น หากศึกษาทาความเข้าใจ เกี่ยวกับการจูงใจและแรงจูงใจ ก็จะทาให้เข้าใจสาเหตุของพฤติกรรม และการเกิดพฤติกรรมของมนุษย์อย่างชัดเจนมากขึ้น การจูงใจ (Motivation) การจูงใจ หมายถึง กระบวนการของการใช้ปัจจัยต่างๆ ที่ทาให้บุคคลเกิดความต้องการ เพื่อสร้างแรงขับและ แรงจูงใจ ไปกระตุ้นร่างกายให้แสดงพฤติกรรมตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้ (รูปที่ 1) สิ่งเร้าภายนอก ความต้องการ สิ่งเร้าภายใน แรงขับ แรงจูงใจ พฤติกรรม เป้าหมาย รูปที่ 1 แผนผังแสดง กระบวนการจูงใจ จะเห็นได้ว่า ในกระบวนการจูงใจ ประกอบด้วยองค์ประกอบหลายอย่าง ดังนี้ 1. สิ่งเร้า (stimulus) หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เข้ามามีอิทธิพลต่อการเกิดพฤติกรรมของบุคคล จึงจัดว่าเป็น จุดเริ่มต้นของการเกิด กระบวนการจูงใจ สิ่งเร้า แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1.1 สิ่งเร้าภายนอก (extrinsic stimulus) คือ ทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวบุคคล ไม่ว่าจะเป็นวัตถุที่มรี ูปธรรม เช่น อาหาร บ้าน เงิน ปริญญาบัตร หรือสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น ชื่อเสียง คาชม รวมถึงสถานการณ์ เช่น สถานที่ บรรยากาศ แสง สี เสียง 1.2 สิ่งเร้าภายใน (intrinsic stimulus) คือ สภาวะการทางานของระบบอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย เช่น ระบบ ย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย ระบบไหลเวียนโลหิต ซึ่งสามารถทาให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมบางอย่างได้ 2. ความต้องการ (needs) เป็นภาวะหนึ่งที่เกิดขึ้นเนื่องจากการขาดหายหรือสูญเสียสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นการขาดทางร่างกายหรือจิตใจก็ได้ ความต้องการจึงเป็นปัจจัยสาคัญในการสร้างแรงขับและแรงจูงใจขึ้นในตัวบุคคล กระตุ้นร่างกายให้เกิดพฤติกรรมบางอย่าง หรือกระตุ้นบุคคลให้กระทาพฤติกรรมบางอย่าง เป็นการตอบสนองต่อภาวะที่รู้สึกขาดหายหรือสูญเสียนั้น เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ ต้องการและทาให้บุคคลกลับสู่ภาวะสมดุลในตัวเองตามปกติ ความต้องการของมนุษย์ แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ 28 มิถน ุ ายน 2561 7 2.1 ความต้องการทางร่างกาย (physiological needs) เป็นความต้องการเพื่อให้ร่างกายสามารถดารงชีวิตอยู่ได้ ซึ่ง เป็นความต้องการพื้นฐานของชีวิต เช่น อาหาร น้า อากาศ การพักผ่อน การขับถ่าย ความต้องการทางเพศ หากขาดหรือเกิน สมดุล บุคคลจะแสดงพฤติกรรมหรือการกระทาเพื่อให้ได้มาหรือขจัดออกไป เช่น เมื่อร่างกายขาดพลังงานจะเกิดความรู้สึกหิว ต้องการหาอาหารมารับประทาน เมื่อรับประทานอาหารมากเกินไปจนรู้สึกแน่นท้อง จะเกิดความต้องการขับถ่ายเพื่อขจัดออก 2.2 ความต้องการทางจิตใจ (psychological needs) เป็นความต้องการเพื่อให้ความรู้สึกภายในจิตใจได้รับการเติม เต็ม ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับการตอบสนองจากบุคคลอื่น เช่น ต้องการได้รับความรัก ความอบอุ่น ความมั่นคงปลอดภัย การยอมรับ ยกย่อง ความมีคุณค่า ภาคภูมิใจ หากบุคคลขาดสมดุลทางจิตใจ บุคคลจะแสดงพฤติกรรมหรือการกระทาเพื่อให้ได้รับการ ตอบสนอง เช่น เมื่อรู้สึกว่าพ่อแม่ไม่สนใจ เด็กเล็กจะแสดงพฤติกรรมร้องไห้ เรียกหา เพื่อให้พ่อแม่หันมาสนใจ 3. แรงขับและแรงจูงใจ (drive and motive) หมายถึง พลังหรือแรงพื้นฐานที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคลเมื่อบุคคลเกิดความต้องการบางอย่าง แรงดังกล่าวจะกระตุ้น ให้ร่างกายเกิดพฤติกรรมที่นาไปสู่จุดหมายปลายทาง เมื่อถึงจุดหมายปลายทางที่ต้องการ แรงขับและแรงจูงใจจะเริ่มลดลงและ หมดไปทาให้ความต้องการหมดตามไปด้วย โดยปกติแล้วแต่ละคนจะสามารถสัมผัสแรงขับและแรงจูงใจที่เกิดขึ้นภายในตนเอง ได้อยู่ตลอดเวลา ถ้าเมื่อใดบุคคลเกิดความต้องการอย่างหนึ่งขึ้นมาแล้วไม่ได้แสดงพฤติกรรมตอบสนองความต้องการนั้น บุคคล นั้นจะถูกรบกวนด้วยแรงขับและแรงจูงใจ เช่น เมื่อหิวแต่ไม่ได้รับประทานอาหาร จะเกิดอาการกระสับกระส่ายกระวนกระวาย ความแตกต่างระหว่างแรงขับกับแรงจูงใจ (รูปที่ 2) แรงขับมักจะมีสาเหตุมาจากความต้องการที่เป็นสิ่งเร้าภายใน หรือเป็นแรงที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยไม่ต้องอาศัยการเรียนรู้ เช่น ความต้องการอาหาร น้า ซึ่งปรากฏในคนและสัตว์ทุก ชนิด ส่วนแรงจูงใจมักจะเกิดจากความต้องการสิ่งเร้าภายนอกเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นจึงมักเกิดขึ้นเมื่อบุคคลได้มีการเรียนรู้ถึง ความสาคัญของสิ่งเร้าภายนอกนั้นเสียก่อน เช่น เงินมีความสาคัญต่อการดารงชีวิต บุคคลจึงต้องทางานเพื่อให้ได้เงินมา น้าย่อยในกระเพาะ อาหารหลั่ง (ไม่ต้องเรียนรู้) ต้องการอาหาร เงิน (ต้องเรียนรู้ ความหมายก่อน) ต้องการเงิน แรงขับ แรงจูงใจ หาอาหาร รับประทาน รู้สึกอิ่ม ทางาน ได้เงิน รูปที่ 2 แผนผังแสดง การเกิดแรงขับและแรงจูงใจ 28 มิถน ุ ายน 2561 8 4. สิ่งล่อใจหรือเครื่องล่อใจ (incentive) หมายถึง สิ่งเร้าภายนอกที่มีอิทธิพลกระตุ้นความต้องการของบุคคล จนก่อให้เกิดแรงจูงใจที่จะกระทาหรือแสดง พฤติกรรมเปูาหมาย เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งล่อใจนั้น ซึ่งได้แก่ ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวบุคคลนั้น ทั้งที่เป็นนามธรรม เช่น คายก ย่อง ชมเชย ชื่อเสียงเกียรติยศ และส่วนที่เป็นรูปธรรม เช่น ทรัพย์สิน เงินทอง สิ่งของ ตาแหน่ง ของขวัญ รางวัล สิ่งล่อใจจึงมีผลต่อการเกิดพฤติกรรมในทางอ้อม เพราะโดยตัวสิ่งล่อใจเองนั้นไม่ได้ทาให้เกิดพฤติกรรมโดยตรง 5. เปูาหมาย (goal) หมายถึง จุดหมายปลายทางสุดท้ายของกระบวนการจูง ใจ เป็นขั้นตอนของการสิ้นสุดการแสดงพฤติกรรม เมื่อบุคคล สามารถแสดงพฤติกรรมให้บรรลุถึงเปูาหมายที่วางไว้ได้แล้ว สิ่งสาคัญที่เกี่ยวกับการจูงใจ มีประเด็นที่น่าสนใจหลายอย่าง ดังนี้ - กระบวนการจูงใจที่ทาให้เกิดพฤติกรรมของมนุษย์เป็นสิ่งที่ไม่คงที่ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่โลกมีวิวัฒนาการก้าวหน้ารวดเร็ว - พฤติกรรมที่เกิดจากการจูงใจนั้นจะต้องมีเปูาหมายเสมอ เช่น มีเปูาหมายเลื่อนตาแหน่งขึ้น จึงทาให้เกิด แรงจูงใจที่มุ่งมั่นในการทางาน - แรงจูงใจที่เกิดจากความต้องการเพียงอย่างเดียว อาจทาให้เกิดพฤติกรรมขึ้นได้หลายรูปแบบ เช่น ต้องการสอบ ได้เกรด A ทาให้ต้องขยันอ่านหนังสือ เข้าเรียนสม่าเสมอ ซักถามอาจารย์ - แรงจูงใจที่เกิดจากความต้องการที่แตกต่างกัน อาจทาให้เกิดพฤติกรรมคล้ายคลึงกันได้ เช่น ต้องการดู ภาพยนตร์ ต้องการซื้อของ ทาให้เกิดพฤติกรรมไปห้างสรรพสินค้าเหมือนกัน - แรงจูงใจอย่างเดียวกัน แต่เกิดพฤติกรรมตอบสนองในแต่ละบุคคลได้แตกต่างกันหลากหลาย เช่น หญิงสาว อยากมีหุ่นผอมเพรียว บางคนอดอาหาร บางคนออกกาลังกายหนัก บางคนทานยาลดความอ้วน - พฤติกรรมที่แสดงออกอย่างหนึ่ง สามารถเกิดจากแรงจูงใจหลายอย่างพร้อมกันในเวลาเดียวกันได้ เช่น ขยัน ทางานเพราะแรงจูงใจที่ต้องการเงิน เลื่อนตาแหน่ง โบนัส การยกย่อง - พฤติกรรมบางอย่างอาจถูกจูงใจให้กระทาโดยเจ้าตัวอาจจะไม่ทราบถึงเปูาหมายที่แท้จริง ถ้าความต้องการและ เปูาหมายอยู่ภายในจิตใต้สานึก (unconscious mind) เช่น ต้องการเป็นชนะเลิศกีฬามวยเพราะคิดว่าต้องการ ได้เหรียญทอง แต่แท้จริงอาจมีความต้องการที่จะชดเชยความก้าวร้าวที่ซ่อนอยู่ภายในจิตใต้สานึกของตน - พฤติกรรมที่แสดงออกมาบางอย่างอาจมีจุดมุ่งหมายที่จะปกปิดแรงจูงใจและความต้องการที่แท้จริง เช่น ไปร่วม ประท้วง ไม่ใช่เพราะต้องการความเป็นธรรมให้กับตนเอง แต่ต้องการได้รับค่าจ้างที่ไปประท้วง - พฤติกรรมอย่างเดียวกันที่พบในแต่ละบุคคล อาจมีแรงจูงใจที่แตกต่างกันหลากหลาย เช่น นิสิตที่เข้ามาเรียน คณะแพทย์นี้ บางคนอยากเป็นหมอเพื่อดูแลครอบครัว บางคนอยากเป็นหมอเพื่อช่วยเหลือสังคม บางคนเข้ามา เรียนเพราะตามใจพ่อแม่ บางคนเข้ามาเรียนเพราะคิดว่าเป็นอาชีพที่มั่นคง - ความแตกต่างทางสังคม ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ค่านิยม ทาให้เกิดความต้องการและ แรงจูงใจแตกต่างกันได้ เช่น คนละเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม แสดงพฤติกรรมตอบสนองต่อสิ่งเร้าแตกต่างกัน 28 มิถน ุ ายน 2561 9 - บุคคลในสังคมเดียวกันมักมีแบบแผนในการปฏิบัติหรือแสดงออกที่คล้ายกัน เช่น คนญี่ปุนใช้ตะเกียบคีบอาหาร และใช้มือยกถ้วยน้าซุปทานจากปากถ้วยโดยตรงเลย การทานอาหารเสียงดังแปลว่าอร่อย ชาวตะวันตกทาน อาหารโดยใช้ช้อน ส้อม มีด ซึ่งต้องใช้ให้ถูกประเภทกับอาหารแต่ละชนิด และไม่ควรทานเสียงดัง แรงขับและแรงจูงใจ (Drive and Motive) ประเภทของแรงรับและแรงจูงใจ จาแนกตามพื้นฐานการเกิดได้ 3 ประเภท 1. แรงขับปฐมภูมิ (primary drive) หรือแรงขับทางกาย (physiological drive) เป็นแรงขับพื้นฐานที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติโดยไม่จาเป็น ต้องอาศัยการเรียนรู้ เกิดขึ้นเมื่อร่างกายอยู่ในสภาวะของ การขาดความสมดุลจนทาให้เกิดความต้องการขึ้น แรงขับจะรบกวนร่างกายให้แสดงพฤติกรรมตอบสนองความต้องการนั้น เพื่อให้ร่างกายกับสู่ภาวะสมดุลดังเดิม ได้แก่ แรงขับที่เกิดจากความต้องการอาหาร น้า อากาศ การพักผ่อน การขับถ่าย ความ ต้องการ

Use Quizgecko on...
Browser
Browser