เอกสารประกอบการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป 0042012 การจัดที่อยูอาศัย PDF

Document Details

BeautifulParadise3335

Uploaded by BeautifulParadise3335

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

2020

ผศ.สุรีพรรณ สุพรรณสมบูรณ

Tags

home arrangements life quality enhancement architecture education

Summary

เอกสารประกอบการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป ระดับปริญญาตรี เกี่ยวกับการจัดที่อยู่อาศัยเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิต เนื้อหาครอบคลุมหลักการออกแบบสถาปัตยกรรมและจิตวิทยา 涵盖了建筑设计原理和心理学,以提高生活质量。

Full Transcript

เอกสารประกอบการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป รายวิชา 0042012 การจัดที่อยูอาศัยเพื่อเสริมสรางคุณภาพชีวิต Home Arrangements for Life Quality Enhancement ผศ.สุรีพรรณ สุพรรณสมบูรณ คณะสถาปตยกรรมศาสตร ผังเมืองและนฤมิตศิลป หมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2...

เอกสารประกอบการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป รายวิชา 0042012 การจัดที่อยูอาศัยเพื่อเสริมสรางคุณภาพชีวิต Home Arrangements for Life Quality Enhancement ผศ.สุรีพรรณ สุพรรณสมบูรณ คณะสถาปตยกรรมศาสตร ผังเมืองและนฤมิตศิลป หมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2563) โดยสำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คำนำ เอกสารประกอบการสอน รายวิชาการจัดที่อยูอาศัยเพื่อเสริมสรางคุณภาพชีวิต รหัส วิชา 0042012 ไดเรียบเรียงขึ้นอยางเปนระบบครอบคลุมเนื้อหาสาระตามคำอธิบายของวิชาใน กลุ มคุ ณ ภาพชี วิต และสิ่ง แวดล อ ม หมวดวิ ช าศึ ก ษาทั่ ว ไป เพื่ อ ใช ในการเรี ย นการสอนให แ ก นักศึกษาหรือผูที่สนใจในวิชาดังกลาว สามารถอานและทำความเขาใจในเนื้อหาไดดวยตนเอง เอกสารนี้เรียบเรียงขึ้นจากศาสตรทางดานการออกแบบสถาปตยกรรมเปนหลัก โดย ในชวงป 2563 ซึ่งเปนชวงปที่เขียน เปนชวงเดียวกันกับการเกิดวิกฤตการณดานสุขภาพระดับโลก คือการแพรระบาดของโรคโควิด-19 อันสงผลกระทบตอวงการวิชาการในวงกวาง โดยเฉพาะจะ ทำใหเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญตอการอยูอาศัยภายในสถาปตยกรรมในอนาคตอันใกล ทฤษฎี และหลักการในการออกแบบสถาป ตยกรรมอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปหลังจากที่มีงานวิจัยที่ สามารถใหขอ แนะนำที่ชั ดเจนในเรื่ องการป องกั น การระบาดของโรค ดั งนั้ น ในขณะที่ ยั งไม มี ขอสรุปขอแนะนำดังกลาว เอกสารนี้จึงยั งคงใชท ฤษฎีและหลักการที่ ใชอยูในปจจุ บัน เปน หลั ก อยางไรก็ตามศาสตรทางสถาปตยกรรม ดานการสรางความสบายใหแกผูอยูอาศัย มีเนื้อหาในการ หลีกเลี่ยงและแยกมลภาวะดานตางๆ รวมถึงจุลชีพในอากาศออกจากผูอยูอาศัย ซึ่งสอดคลองกับ แนวทางการปองกันการแพรระบาดของโรค และนอกจากนั้นผูเขียนยังมีการคนควางานวิจัยที่ เกี่ยวของที่มีอยูในปจจุบันเพิ่มเติม เพื่อใหการเรียนการสอนทันตอสถานการณปจจุบัน ผูแตงหวังวา เอกสารประกอบการสอนนี้คงอำนวยประโยชนตอการเรียนการสอนตาม สมควร หากทานที่นำไปใชมีขอเสนอแนะ ผูแตงยินดีรับฟงความคิดเห็น และขอขอบคุณ มา ณ โอกาสนี้ดวย ผศ.สุรพี รรณ สุพรรณสมบูรณ 30/ 06/ 63 บทนำ วัตถุประสงคเชิงพฤติกรรม 1. สามารถระบุรายการและบอกใจความสำคัญของหลักการเบื้องตนในการจัดที่อยูอาศัย เพือ่ คุณภาพชีวิตที่ดี 2. สามารถใหความหมายของที่อยูอาศัย และอธิบายความสัมพันธของประเภทที่อยู อาศัยกับคุณภาพชีวติ 3. สามารถจัดหมวดหมูของของลักษณะพื้นที่ใชสอย และอธิบายความสัมพันธของพื้นที่ ใชสอยกับหลักการในการจัดที่อยูอาศัยเพื่อคุณภาพชีวิต วิธีการสอน/กิจกรรมการเรียนการสอน 1. บรรยายโดยใชสื่อการสอนประกอบการบรรยาย 2. กิจกรรมถาม-ตอบระหวางการเรียนการสอน การประเมินผลลัพธการเรียนรู 1. ประเมินความจำและความเขาใจในบทเรียนดวยการสอบ 2. ประเมินความเขาใจเรื่องความสัมพันธของประเภทที่อยูอาศัยและลักษณะพื้นที่ใช สอยกับหลักการจัดที่อยูอาศัยเพื่อคุณภาพชีวิต จากการสังเกตวิธีการเลือกกรณีศึกษาในการบาน แตละสัปดาห 0042012 การจัดที่อยูอาศัยเพื่อเสริมสรางคุณภาพชีวิต ผศ.สุรีพรรณ สุพรรณสมบูรณ บทที่ 1 บทนำ หนา 1-2 ในการจัดที่อยูอาศัย เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ตามหลักการในการออกแบบสถาปตยกรรม แลวจะมีความเกี่ยวของกับการทำใหผูอยูอาศัยรูสึกสะดวกสบายทั้งดานรางกายและจิตใจ ในการ เรีย นการสอนด า นสถาป ตยกรรมจะมี เนื้ อหาในศาสตร ห ลายด า นประกอบกั น ซึ่ งจะมี เนื้ อหา คอนขางซับซอน ผูอยูอาศัยควรทราบความรูพื้นฐานและหลักการเพื่อใหสามารถเลือกใช และจัดที่ อยูอาศัย เพื่อสรางความสะดวกสบายใหแกตนเองในเบื้องตนได 1.1 หลักการในการจัดที่อยูอาศัย เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี หลั ก การพื้ น ฐานสำหรั บ ผู อ ยู อ าศั ย ที่ จ ะกล า วถึ ง ในเอกสารนี้ จะเป น การอธิ บ าย ความสัมพันธระหวางมนุษย กับที่อยูอาศัย เพื่อใหเกิดความเขาใจถึงตัวแปรภายใน คือ ตัวผูอยู อาศัยเอง ตัวแปรภายนอกที่ควบคุมไมไดคือสิ่งแวดลอม และตัวแปรภายนอกที่ควบคุมไดคือการ จั ดที่ อ ยู อาศัยใหเหมาะสมกั บ ผู อ ยูอ าศั ย สามารถปกป อ งผู อ ยู อ าศั ย จากสิ่ งแวดล อ มที่ ไ ม ดี ได หลักการที่เสนอแนะใหแกผูอยูอาศัยมีดังนี้ 1.1.1 การยศาสตร (Ergonomics) หลักการทางการยศาสตรจะมีความเกี่ ยวของโดยตรงกับการใหขนาดเครื่องเรือนและ พื้นที่ใชสอย และการจัดทาทางในการทำกิจกรรมตางใหมีความเหมาะสมกับสรีระของผูอยูอาศัย การจัดที่อยูอาศัยแบบไมเปนไปตามหลักการยศาสตรโดยมากจะสงผลตอกลามเนื้อและกระดูกสัน หลัง สงผลใหเกิดความเมื่อยลา เจ็บปวย ไปจนถึงเจ็บปวยเรื้อรังจนรางกายไมสามารถใชงานได ตามปกติ ภาพที่ 1- 1 ตำแหนงที่มักเกิดอาการเมื่อยลา เจ็บปวด เมื่อใชทาทางไมถูกตองตามหลักการยศาสตร ที่มา: https://www.knsafety.com/ หลักการทางการยศาสตรนี้ตามความเปนจริงแลวจะเนนในเรื่องความปลอดภัยในการ ทำงานเปนหลัก แตเมื่อพิจารณาในขอบเขตของการอยูอาศัยภายในที่อยูอาศัยแลว จะมีเนื้อหา 0042012 การจัดที่อยูอาศัยเพื่อเสริมสรางคุณภาพชีวิต ผศ.สุรีพรรณ สุพรรณสมบูรณ บทที่ 1 บทนำ หนา 1-3 เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพ และความสบายในการอยูอาศัยดวย นอกจากนี้การยศาสตรยังมีเนื้อหาครบ คลุมดานจิตวิทยา และ การรับ รูท างการสัมผัส อุณ หภู มิ แสง เสี ยง ด วย แตจะแบ งอธิ บายใน หมวดของศาสตรอื่น เพื่อสามารถอธิบายแยกสวนของเนื้อหาไดชัดเจนขึ้น 1.1.2 จิตวิทยา (Psychology) นอกจากดานรางกายแลว ที่อยูอาศัยมีอทิ ธิพลตอผูอยูอาศัยในดานจิตใจดวย ผูอยูอาศัย สามารถมีสวนรวมในการสรางลักษณะทางจิตวิทยาภายในที่อยูอาศัย โดยการตกแตงที่อยูอาศัย เพื่ อ สรางบรรยากาศให เหมาะสมกั บ การใช งาน ในเอกสารนี้ จ ะยกตั วอย า งเรื่ อ งที่ ผู อยู อาศั ย สามารถทำไดงายๆดวยตนเองอยางการเลือกสีของหองและอุปกรณที่ใชในการตกแตงหอง การตกแตงที่อยูอาศัยดวยการใชสีจ ะเป นสิ่งที่เกี่ยวของกับรสนิยม ความชอบสวนตัว การที่ผูอยูอาศัยไดเลือกสีที่ใชเองจะทำใหสามารถจัดที่อยูอาศัยไดตรงตามความตองการและแสดง ตัวตนของตัวเองไดมากที่สุด อยางไรก็ตามเนื่องจากสีมีอิทธิพลตอจิตใจ อารมณ และสรีระ ของผู อยูอาศัยไดอยางมาก จิตวิทยาสีและการเลือกใชจึงเปนความรูพื้นฐานที่ผูอยูอาศัยควรทราบ 1.1.3 คุณภาพสภาวะแวดลอมภายในอาคาร (Indoor Environmental Quality: IEQ) ศาสตรดานคุณภาพสภาวะแวดลอมภายในอาคาร เปนศาสตรที่มีความเกี่ยวตองกับชุด ความรูห ลายแขนง เชน วิท ยาศาสตรอ าคาร (Building Sciences) สิ่งแวดล อ มอาคาร (Built Environment) และเกณฑการประเมินความยั่ งยื นทางสิ่งแวดลอม (Green Rating) ซึ่งศาสตร ตางๆเหลานี้ ไดจำแนก เกณฑที่จะสรางความสบายในการอยูอาศัยภายในอาคารอยางยั่งยืนไว เปนจำนวนมาก โดยประเด็น หลักๆที่ผูอยู อาศัยภายในอาคารควรทราบประกอบด วย 4 หัวข อ ไดแก คุณภาพอากาศภายในอาคาร การรับรูอุณหภูมิ แสง และเสียง 1.1.3.1 คุณภาพอากาศภายในอาคาร (Indoor Air Quality: IAQ) คุณภาพอากาศภายในอาคารเปนประเด็นที่มีความสำคัญตอสุขภาพ เนื่องจากมีปจจัยที่ เปนมลพิษทางอากาศที่สามารถสงผลเสียตอสุขภาพของผูอยูอาศัยจำนวนมาก เชน อนุภาคและ จุลชีพในอากาศ สารพิษจากวัสดุอาคารและสิ่งของเครื่องใชในชีวิตประจำวัน และมลพิษควัน ฝุน เสียง จากสิง่ แวดลอม ที่อยูอาศัยสามารถเปนไดทั้งปราการปกปองผูอยูอาศัยจากสิ่งรบกวน และ 0042012 การจัดที่อยูอาศัยเพื่อเสริมสรางคุณภาพชีวิต ผศ.สุรีพรรณ สุพรรณสมบูรณ บทที่ 1 บทนำ หนา 1-4 เปนตัวการสรางสิ่งรบกวนเสียเอง ในปจจุบันพบอาการปวยที่เกิดขึ้นจากอาคาร (Sick Building Syndrome) ซึ่งมีสาเหตุมาจากอาคารที่มีลักษณะที่ไมเหมาะสม หากผูอยูอาศัยทราบหลักการใน การจัดที่อยูอาศัยที่เหมาะสม ที่อยู อาศั ยนอกจากจะไมสรางแลวยั งสามารถป องกั นสิ่งรบกวน สงผลโดยตรงตอสุขภาพของผูอยูอาศัยไดเปนอยางดี 1.1.3.2 การรับรูอุณหภูมิ (Thermal Sensation) องคประกอบที่สำคัญของการรับรูอุณหภูมิของมนุษย ไดแก ตัวมนุษยเอง อุณหภูมิและ ความชื้นของสภาพแวดลอม และการเคลื่อ นที่ ของอากาศ ซึ่ งการสรา งความสบายในสภาพ อากาศของประเทศไทยจะเนนการปองกันและระบายความรอนของรางกาย แตกตางจากประเทศ ในเมืองหนาวที่เนนการลดการสูญเสียความรอนของรางกาย การรับ รูอุ ณ หภู มิ แ ละระบบแลกเปลี่ ย นความร อ นสภาพแวดล อ มของมนุ ษ ย เป น ความสามารถของรางกายในการปรับ ตัวตามธรรมชาติ หากสภาพแวดลอมมีสภาพอากาศที่มี ความรุนแรง หรือมนุษยตองเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงระหวางสภาพอากาศที่มีความแตกตางกัน มาก รางกายจะไมสามารถปรับตัวไดทันและจะเกิดอาการเจ็บปวย การจัดที่อยูอาศัยที่เหมาะสม นอกจากจะสามารถชวยลดการโอกาสที่รางกายมนุษยสัมผัสโดยตรงกับสภาพอากาศภายนอกไม สามารถควบคุมไดแลวยังสามารถปรับปรุงสภาพอากาศภายในใหเหมาะสมกับความตองการ และ เปนการลดมลพิษภายในอาคารไดอีกดวย 1.1.3.3 แสง (Lighting) แสงมีอิทธิพลตอมนุษยทั้งในแงจิตวิทยา และรางกาย กลาวคือนอกจากจะมีผลตอการ มองเห็น และสุขภาพของดวงตาแลว ยังมีผลเกี่ยวของกับความรูสึกอีกดวย การจัดที่อยูอาศัย เพื่อใหสามารถรับแสงธรรมชาติไดอยางมีประสิทธิภาพ และการจัดแสงประดิษฐที่มีความเหมาะ เพียงพอตอการใชงาน จะสามารถสรางคุณภาพในการมองเห็น ความพยายามในการใชแสงธรรมชาติ นอกจากจะใหแสงทั้งในดานปริมาณและคุณภาพ แลว ยังทำใหเกิดการเชื่อมตอทางสายตาสูภายนอกเพื่อรับรูสภาพแวดลอมใหไดมากที่สุด การ เปดรับแสงแดดจะสงผลดีตอระบบตางๆ ของรางกายและสามารถชวยลดมลพิษภายในอาคารได ดวย 0042012 การจัดที่อยูอาศัยเพื่อเสริมสรางคุณภาพชีวิต ผศ.สุรีพรรณ สุพรรณสมบูรณ บทที่ 1 บทนำ หนา 1-5 1.1.3.4 เสียง (Acoustic) เสียงเปนตัวแปรที่ไมเกี่ยวของกับตัวแปรอื่นๆ ที่ไดกลาวมาแลว แตก็มีความสำคัญมาก เนื่องจากเสียงสามารถสรางความรบกวนได มากและรุน แรง โดยที่การป องกัน แกไขทำได ยาก วิธีการที่เหมาะสมสำหรับการสรางความสบายในการไดยินเสียงอาจจะสงผลเสียตอการอยูอาศัย ในดานอืน่ ผูอยูอาศัยจึงควรใชความรูเกี่ยวกับเสียงในที่อยูอาศัยตั้งแตกระบวนการเลือกทำเลที่ตั้ง ของที่อยูอาศัย และมีการจัดที่อยูอาศัยตั้งแตขั้นตอนการออกแบบตกแตง โดยเลือกใหความสำคัญ กับหองที่มีความจำเปน 1.1.4 ความสัมพันธกับธรรมชาติแวดลอม (Nature Connectedness) เมื่อพิจารณาเกณฑที่ไดกลาวมาแลวกอนหนา จะเห็นไดวา สภาพแวดลอมภายนอก ซึ่ง เปนปจจัยที่ควบคุมไมได มีความสำคัญ ตอคุณภาพชีวิตขณะอยูอาศัยภายในที่ อยูอาศัย เทคนิ ค วิธีการตางๆที่แนะนำใหผูอยูอาศัยนำมาประยุกตใชจะเปนการเรียนรูและสรางความสัมพันธกับ ธรรมชาติ ไมวาจะเปน ธรรมชาติของรางกาย การปองกัน สิ่งรบกวนตางๆที่เกิดจากกิจ กรรมที่ มนุษยสรางขึ้น การใชธรรมชาติ เชน แสงและลมธรรมชาติ เพื่อประโยชนดานตางๆ ในเนื้อ หาเรื่อ งความสั มพั น ธ กั บ ธรรมชาติ แ วดล อ มนี้ จะเป น การพู ด ถึ งการใช ส ภาพ ธรรมชาติ เชน การเลือกตนไม การจัดสวน พื้นที่พักผอนภายนอก และการจัดพื้นที่กึ่งในกึ่งนอก เพื่อชวยสรางความสบายใหกับรางกาย ทั้งในดานคุณภาพอากาศ อุณหภูมิ แสงและการมองเห็น และเสียง และรมเย็นผอนคลายอันจะสงผลทางดานจิตใจ ใหแกผูอยูอาศัย 1.2 ที่อยูอาศัย ประเภทพื้นที่ใชสอย และ พฤติกรรมการใชงาน ในการศึกษาเรื่องการจัดที่ อยู อาศั ยเพื่ อคุณ ภาพชี วิตที่ดี จำเป น ที่ จะตองทราบขอมู ล พื้นฐานของที่อยูอาศัยที่ใชกันในบริบทของการออกแบบสถาปตยกรรม โดยคำศัพทตางๆที่มีการ ใชงานคอนขางมีความหมายเฉพาะในวงการวิชาชีพที่เกี่ยวของกับการกอสราง และอาจจะมีความ แตกตางกับความรูความเขาใจที่มีอยูเดิมของคนทั่วไป ในเอกสารนี้จึงจะใชคำอธิบายตามหลักการ ของการออกแบบสถาปตยกรรม โดยบางสวนไดมีระบุไวอยางชัดเจนตามกฏหมายที่เกี่ยวของกับ อาคาร และขอมูลมาตรฐานตางๆ เปนขอตกลงเพื่อใหเกิดความเขาใจเดียวกัน 0042012 การจัดที่อยูอาศัยเพื่อเสริมสรางคุณภาพชีวิต ผศ.สุรีพรรณ สุพรรณสมบูรณ บทที่ 1 บทนำ หนา 1-6 1.2.1 อาคารที่พักอาศัย กฏกระทรวง ฉบับที่ 55 (2558) ไดใหคำจำกัดความที่เกี่ยวของกับที่อยูอาศัย ดังนี้ “อาคารอยูอาศัย หมายความวา อาคารซึ่งโดยปกติบุคคลใชอยูอาศัยไดทั้งกลางวันและ กลางคืน ไมวาจะเปนการอยูอาศัยอยางถาวรหรือชั่วคราว” ซึ่ ง ตามข อ กำหนดของกฎหมาย อาคารอยู อ าศั ย จะมี ค วามแตกต า งจาก “อาคาร สาธารณะ” กลาวคือ เน น ความเป น ส วนตั ว และมี ผู ใช น อ ยกว า ข อ กำหนดต า งๆจึ งจะมี ก าร กำหนดรูป แบบตางๆที่มีค วามแตกตา งกัน โดยเฉพาะอย างยิ่ ง อาคารอยู อาศัยเป น อาคารที่มี ความสัมพันธตอผู อยูอาศัยอยางหมายทั้ งเปน สถานที ที่ ใช ในกิจ กรรมที่เป น กิจ วั ตรทุ กวั น ดวย จำนวนตอสัปดาหสูงกวาที่ทำงาน และใชในระยะยาวเวลานาน กฏหมายจะมีความใหความสำคัญ ดา นสุข อนามัย ของอาคารอยูอ าศั ย เป น อย างๆมาก ตั ว อย างเช น การกำหนดขนาดพื้ น ที่ ว า ง ภายนอกอาคาร มากกวาอาคารประเภทอื่น เพื่อความไมแออัดมากจนเกินไป การแบงประเภท ของอาคารสามารถแบงออกไดเปน 3 รูปแบบ ไดแก การแบงตามลักษณะทางสถาปตยกรรม ตาม รูปแบบการใชงาน และตามกรรมสิทธิ 1.2.1.1 การแบงประเภทตามลักษณะทางสถาปตยกรรม การแบงประเภทตามลักษณะทางสถาปตยกรรม สามารถแบงไดตาม ขนาดอาคารและที่ วาง และรูปแบบความสัมพันธกับที่อยูอาศัยที่อยูใกลเคียงกัน การแบงในลักษณะนี้ จะทำใหเห็น ความแตกตางทั้งในเรื่องความแออัดของที่ พักอาศัย และความรุน แรงของปญ หาในการประสบ ปญหาสิ่งรบกวนจากเพื่อนบานในระแวกเดียวกัน แบงอาคารอยูอาศัยออกเปน ประเภท ไดแก บานเดี่ยว บานเดี่ยวเป นบานที่พ บโดยทั่ วไป แตจ ะมีการใช คำเรียกวา “บ านเดี่ยว” ในหมูบ าน จัดสรรเพื่อใชแบงแยกออกจากอาคารประเภทอื่น ซึ่งบานเดี่ยวในโครงการจัดสรรจะเปนบานที่มี ขนาดที่ดิน และพื้น ที่ใช สอยมากกว าอาคารประเภทอื่ น ๆในโครงการ สำนั กงานสถิติ แห งชาติ (2555) ได ใหนิยามของบานเดี่ยว โดยเรียกวา “บ านโดด” ว าเป น บ านที่ป ลูกอยูหลังเดียว ซึ่ง อาจจะมีองคประกอบของบานบางสวน เชน เรือนครัว โรงรถ เรือนครอบครัวขยาย เรือนคนใช แยกออกเปนหลายหลัง แตอยูในรั้วเดียวกัน ใชเพื่อเปนที่อยูอาศัยของบุคคลในครัวเรือนเดียวกัน 0042012 การจัดที่อยูอาศัยเพื่อเสริมสรางคุณภาพชีวิต ผศ.สุรีพรรณ สุพรรณสมบูรณ บทที่ 1 บทนำ หนา 1-7 บานเดี่ยวมีขอดีคือจะมีที่วางบริเวณรอบบานมาก สามารถใชเปน สวนพั กผอนผอนใจ และมีระยะถอยรนจากแนวเขตที่ดินทั้งในดานที่ติดกับเพื่อนบาน และดานที่ติดกับทางสาธารณะ ซึ่งอาจนำมาซึ่ง มลพิษ และสิง่ รบกวนตางๆได ภาพที่ 1- 2 ตัวอยางบานเดี่ยวในหมูบานจัดสรรแหงหนึ่ง ที่มา: www.home.co.th/review/detail/81549 หองแถว ตึกแถว และบานแถว หองแถว หรือ ตึกแถว มี ความหมายตามกฎหมาย คือ อาคารที่มีตั้งแต 2 คูหาขึ้ น ไป สรางตอเนื่องกันเปนแถว กั้นระหวางคูหาดวยผนังทึบ ซึ่งนอกจากใชเปนที่อยูอาศัยในการใชงาน ในประเทศไทยมีการใชงานเปนอาคารพาณิชยดวย ภาพที่ 1- 3 ตัวอยางบานแถวในหมูบานจัดสรรแหงหนึ่ง ที่มา: www.home.co.th/review/detail/81549 0042012 การจัดที่อยูอาศัยเพื่อเสริมสรางคุณภาพชีวิต ผศ.สุรีพรรณ สุพรรณสมบูรณ บทที่ 1 บทนำ หนา 1-8 บานแถว หรือ ทาวนเฮาส คืออาคารที่พักอาศัย ที่มีลักษณะเปน ห องแถวหรือตึกแถว โดยแตกตางจากตึกแถวที่เปนอาคารพาณิชยในเรื่องขนาดของที่วางและระยะจากถนนสาธารณะ บานแถวจะมีที่วางดานหนาและดานหลังอาคาร โดยมากมักไมอยูบนถนนที่มีความพลุกพลาน โดยอาจหั น เขา หาถนนส ว นบุ ค คลของโครงการจั ดสรร และมี ระยะถอนร น ออกไปจากถนน มากกวาอาคารพาณิชย ประโยชนของอาคารอยูอาศัยที่เปนตึกแถวคือจะมีราคาไมสูงนักเนื่องจากการที่แตละ คูหามีหนาแคบพื้นที่ลึกเขาไปดานใน และวางติดกันจะทำใหประหยัดพื้นที่ไดอยางมาก แตขอเสีย ของอาคารลักษณะนี้ในแงคณ ุ ภาพชีวิตคือนอกจากจะมีพื้นที่บริเวณภายนอกนอยทำใหอัดอัดแลว แลว การที่มีสัดสวนตามยาว ขนาบดวยผนังทัง้ สองดานก็ทำใหแสงและลมธรรมชาติไมสามารถเขา จนถึงภายในอาคาร นอกจากนี้การที่บานอยูติดกันยังอาจทำใหบานขางเคียงสงเสียงและมลพิษ รบกวนตอกันได บานแฝด บานแฝด หมายถึงอาคารที่พักอาศัยที่สราง 2 หลัง ที่มีดานหนึ่งดานใดติดกัน กั้นดวย ผนังทึบ โดยบานทั้ง 2 หลังจะมีรั้วรอบขอบชิดและทางเขาออกแยกเปนสัดสวนของตัวเอง บาน ลักษณะนี้จะไดขอดีเรื่องการประหยัดพื้นที่จากตึกแถว และมีความกวางขวางของบริเวณบาน ถึง 3 ดาน ทำใหสามารถเปดชองเป ดเพื่ อรับแสงและลมธรรมชาติ อย างไรก็ตาม ข อเสียเรื่องการ รบกวนกันระหวางบานที่ติดกันก็ยังเปนขอเสียรวมของบานที่มีผนังติดกัน ภาพที่ 1- 4 ตัวอยางบานแฝดในหมูบานจัดสรรแหงหนึ่ง ที่มา: www.home.co.th/review/detail/81549 0042012 การจัดที่อยูอาศัยเพื่อเสริมสรางคุณภาพชีวิต ผศ.สุรีพรรณ สุพรรณสมบูรณ บทที่ 1 บทนำ หนา 1-9 อาคารอยูอาศัยรวม กฎกระทรวง ฉบั บ ที่ 39 (2537) ได ให คำจำกั ดความของอาคารอยู อาศั ยรวมไว ดังนี้ “อาคารอยูอาศัยรวม หมายความวา อาคารหรือสวนใดสวนหนึ่งของอาคารที่ใชเปนที่อยูอาศัย สําหรับหลายครอบครัว โดยแบ งออกเปน หนวยแยกจากกันสําหรับ แตละครอบครัว มี หองนํ้า หองสวม ทางเดิน ทางเขาออก และทางขึ้นลงหรือ ลิฟตแยกจากกันหรือรวมกัน” ตัวอยางของ อาคารอยูอาศัยรวม เชน หอพัก อพารทเมนท อาคารชุด เปนตน โดยหองภายในอาคารอยูอาศัย รวมมีทั้งแบบหองที่เปนหองที่ไมมีการแบงแยกพื้นที่ใชงานตางกันออกจากกัน และ “หองชุด”.ซึ่ง หมายถึง กลุมหอง ที่มีการแบงหองหรือพื้นที่ครัว มีหองน้ำ และทางเขาออกเปนของตัวเอง เปน สวนหนึ่งของอาคาร เชน อพารทเมนท แฟลต คอนโดมิเนียม แมนชั่น คอนโดเทล (สำนักงานสถิติ แหงชาติ, 2555) จะเห็นความแตกตางวาอาคารอยูอาศัยรวมจะมี ความสัม พัน ธกับคนอื่ นมากที่ สุ ดเมื่อ เปรียบเทียบกับรูปแบบอื่น กลาวคือมีความสัมพันธกับหองหรือบานที่อยูดานบนและดานลางดวย นอกจากนี้ยังมีการใชพื้นที่และระบบอาคารรวมกันในบางสวน เชน พื้นที่ตอนรับ ทางเดิน ลิฟท บันได ทางหนีไฟ ถังเก็บน้ำ ที่พักขยะ เปนตน ตัวอยางปญหาระหวางบานที่มีความสำคัญในการ อยูอาศัย เชน เมื่อหองหนึ่งๆมีทอน้ำรั่วหรือแตก น้ำที่รั่วอาจจะไมสงผลโดยตรงตอหองนั้นๆ แต จะสรางความเดือดรอนตอหองที่อยูดานลาง การซอมจะตองเขาไปซอมที่หองทีทอเสียหายดวย ความไมรูหรือไมเดือดรอนอาจสงผลใหเขาซอมลาชา นอกจากจะเปนอุปสรรคในการอยูอาศัยของ หองดานลางแลวอาจะเกิดปญหาความซื้นทำใหพื้นผิวหองเสียหายและมีการสะสมของเชื้อรา ภาพที่ 1- 5 ตัวอยางอาคารอยูอาศัยรวม ประเภทอาคารชุด ที่มา: www.livingpop.com/condo-unit-selection-guide-part2/ ในแงของขนาดพื้นที่ดวยเหตุผลทางธุรกิจอาคารพักอาศัยรวมสวนใหญจะมีความสัมพันธ กับบริเวณที่วางภายนอกอาคารนอย เพราะนอกจากจะมีผนังทึบขนาบ 2 ด านแลว ดานที่เป น 0042012 การจัดที่อยูอาศัยเพื่อเสริมสรางคุณภาพชีวิต ผศ.สุรีพรรณ สุพรรณสมบูรณ บทที่ 1 บทนำ หนา 1-10 ทางเขา มักจะเชื่อมตอกับทางเดินภายในอาคาร ในดานเดียวที่ติดกับภายนอก หองหรือบานที่อยู ดานบนจะมีบริเวณภายนอกอาคาร เชน ระเบียง ในขนาดพื้นที่จำกัดหรืออาจไมมีเลย รูปแบบ อาคารดังกลาวเปนอุปสรรคตอการรับแสงและลมธรรมชาติ และการใชธรรมชาติสรางความสบาย ใหแกผูอยูอาศัย 1.2.1.2 การแบงประเภทตามรูปแบบการใชงาน แม ว า คุ ณ ภาพการอยู อ าศั ย จะเป น สิ่ ง สำคั ญ แต ด ว ยความจำเป น ผู อ ยู อ าศั ย อาจ จำเปนตองเลือกที่อยูอาศัยที่สอดคลองกับรูปแบบการใชชีวิตและภารกิจหลัก เชน การเลือกทำเล ที่ตั้งที่ใกลสถานที่ทำงาน ซึ่งเปนยานพาณิชยกรรม รูปแบบการใชงานของอาคารอยูอาศัยภายใน อาคารที่มีการใชประโยชนแบบอื่น อาคารที่ใชอยูอาศัยเพียงอยางเดียว อาคารที่ใชป ระโยชนเพื่ อการอยูอาศัยเพี ยงอยางเดียว มักจะมีลักษณะของกิจกรรมที่ คล ายคลึงกั น หรือมีก ารทำกิ จ กรรมที่ ต า งกั น ในช วงเวลาที่ ไม ซ อ นทั บ กั น กล า วคื อ กิ จ กรรม ทำอาหารและสังสรรคพูดคุย ที่มีเสียงและกลิ่น จะเกิดขึ้นในชวงเวลารับประทานอาหาร ซึ่งจะไม รบกวนชวงเวลานอนในตอนกลางคื น แตก็ไมเสมอไป ขึ้น อยู กับ ปริมาณของคนที่ อยูอาศัยใน บริเวณเดีย วกัน ตลอดจนพฤติ กรรมและความชอบเฉพาะบุ ค คลด วย ตั วอย างเช น ช วงเวลา กิจกรรมของแตละคนอาจจะแตกตางกัน บางคนนิยมทำงานหรืออ านหนั งสือในตอนกลางคืน ระหวางนั่นอาจจะหิวและทำอาหารรับ ประทาน ซึ่งอาจจะรบกวนคนอื่ นที่หลับไปแลว เพราะ ชวงเวลานั้นเปนชวงเวลานอนของคนทั่วไป เปนตน อาคารที่ใชเพื่อการพาณิชยกรรมและอยูอาศัย อาคารพาณิชย คือ อาคารที่ใชเพื่อประโยชนทางพาณิชยกรรม ที่พบโดยมากจะสรางติด ถนนสาธารณะที่มีความพลุกผลานเพื่อประโยชนทางการคา ผูทำกิจการพาณิชยกรรมมักจะเลือก พื้น ที่ที่ มี ท ำเลดีในการทำการค า โดยอาคารที่ ใช เพื่ อการพาณิ ช ย แ ละอยู อาศั ย รว มด ว ย แบ ง ออกเปน 2 รูปแบบ อาคารพาณิ ชย ที่ เป น ตึ ก แถว สู ง 2-4 ชั้ น ซึ่ งแต ล ะคู ห าอาจจะใช พื้ น ที่ ทั้ งหมดโดย เจาของหรือผูเชาเพียงรายเดียว หรือมีการแบงเชา โดยมากพื้นที่ชั้นลางจะใชเพื่อการพาณิชย ชั้น บนๆจะใชเพื่ อเก็บ สิน คาและเป น ที่ อยู อาศั ย ที่ อยู อาศั ยที่เป น อาคารพาณิ ช ยจ ะมี ความแออั ด 0042012 การจัดที่อยูอาศัยเพื่อเสริมสรางคุณภาพชีวิต ผศ.สุรีพรรณ สุพรรณสมบูรณ บทที่ 1 บทนำ หนา 1-11 มากกวาที่อยูอาศัยรูปแบบอื่น เนื่องจากขอกำหนดทางกฎหมาย เปดโอกาสใหมีที่ วางนอยกวา อาคารพักอาศัย อาคารอยูอาศัยรวมที่ตั้งอยูในทำเลที่เปนยานพาณิชยกรรม หรืออาคารอยูอาศัยรวมที่มี ผูอยูอาศัยเปนจำนวนมาก พื้นที่ชั้นลางจะมีมูลคาสูงและเปนพื้นที่ที่ถูกรบกวนมากเนื่องจากมีการ สัญจรผานเปนประจำและหนาแนนบางชวงเวลา ทำใหนิยมใชเปนพื้นที่พาณิชยกรรมมากวาที่อยู อาศัย. ในบางโครงการที่มีขนาดใหญ จะมี ประเภทการใช งานหลากหลายประเภทอยู รวมกั น (Mixed Use Building) อาจเปนอาคารขนาดใหญพิเศษ หรือกลุมอาคารขนาดใหญ ที่ประกอบไป ดวย รานคาและบริก าร สำนั กงานให เช า และอาคารจอดรถ อยู ในโครงสรางอาคารเดี ยวกั น ขอเสียสำคัญสำหรับอาคารประเภทนี้คือสถานที่สวนกลางเพื่อการพักผอนเฉพาะผูอยูอาศัยจะมี จำกัด เพราะจะสูญเสียพื้นที่ชั้นลางใหกับพื้นที่พาณิชย ภาพที่ 1- 6 ตัวอยางอาคารอยูอาศัยทีม่ ีพื้นที่ชั้นลางใชเพื่อการพาณิชยกรรม ที่มา: http://prudentialrochesterrealty.com/ อาคารที่มีหลายประเภทการใชงานอยูรวมกั น จะมีโอกาสไดรับมลพิษ และสิ่งรบกวน มากกวาอาคารที่เปนที่พักอาศัยอยางเดียว ทั้งนี้ความมากนอยของผลกระทบตอสุขภาพจะขึ้นอยู กับกิจการที่อยูในอาคารเดียวกันเปนกิจการประเภทใด กิจการที่เกี่ยวกับอาหารและบริการ มักจะ นำมาซึ่งกลิ่น ควัน และ เสียง กิจการที่ตองเก็บสินคาจำนวนมากและกอขยะ มักจะเปนแหลงที่ 0042012 การจัดที่อยูอาศัยเพื่อเสริมสรางคุณภาพชีวิต ผศ.สุรีพรรณ สุพรรณสมบูรณ บทที่ 1 บทนำ หนา 1-12 อยูของสัตวและแมลงไมพึงประสงค กิจการบางประเภทอาจมีสารเคมีที่เป นพิษ ซึ่งจะสงผลตอ พื้นที่ในสวนพักอาศัยซึ่งอยูในอาคารเดียวกัน และใชงานระบบอาคารรวมกัน 1.2.1.1. การแบงประเภทตามกรรมสิทธิ กรรมสิ ท ธิ์ ข องการอยู อ าศั ย จะเป น สิ่ ง ที่ ส ามารถบอกความรู สึ ก เป น เจ า ของ และ ระยะเวลาในการอยูอาศัย ซึ่งเปนประเด็น สำคัญที่เกี่ยวของกับบริบทดานสิ่งแวดลอมในการอยู อาศัยที่ควรทราบ ในเอกสารนี้จะแบงกรรมสิทธิ์ของอาคารพักอาศัยออกเปน 3 ประเภท อาคารที่ผูอยูอาศัยเปนเจาของเอง โดยปกติอาคารที่ผูอยูอาศัยเปนเจาของอาคารที่อยูอาศัย มักจะอยูในลักษณะที่เปนบาน หรือที่ อยูอาศัยของครอบครัว หรืออยูลำพั ง อาคารที่ มีการครอบครองในลั กษณะนี้ ผูอยูอาศัย มักจะมีการผูกพันกับสถานที่ และใชเวลาอยูอาศัยมาก และเปนระยะเวลานาน ดังนั้นหากมีเหตุ รบกวนตางๆอันเปนผลตอสุขภาพ จะสรางความเดือดรอนแกผูอยูอาศัยเปนอยางมาก การสำรวจ เลือกทำเลที่ตั้ง และการรวมกันกับชุมชนในการทำใหพื้นทีปลอดมลพิษและสิ่งรบกวนตางๆจึงมี ความสำคัญ อาคารชุดที่เจาของอยูอาศัยเอง “อาคารชุด” หรือที่นิ ยมเรียกกันวา คอนโดมิ เนียม มีความหมายตามพระราชบัญญั ติ อาคารชุด (2522) คือ “อาคารที่บุคคลสามารถแยกการถือกรรมสิทธิ์ออกไดเปนสวน โดยแตละ ส ว นประกอบด ว ย กรรมสิ ท ธิ์ ในทรั พ ย ส ว นบุ ค คล และกรรมสิ ท ธิ์ รว มในทรั พ ย ส ว นกลาง” ยกตัวอยางเชน ในโฉนดกรรมสิทธิ์ของอาคารชุดจะระบุกรรมสิทธิ์สวนบุคคลในพื้นที่พื้นหองรวม ระเบียง และกรรมสิทธิ์สวนกลางที่เจาของหองชุดจะเปนสัดสวนพื้นที่ที่เปนกรรมสิทธิ์สวนตัวสวน พื้นที่ทั้งหมด ซึ่งนอกจากจะหมายถึงผู เป น เจา ของอาคารชุดมี สิ ท ธิ์ ในทรัพ ย สิ น ส วนกลางเป น สัดสวนตามขนาดหองของตัวเองแลว ยังตองรับผิดชอบตอคาใชจายตางๆที่เกิดขึ้นในสวนกลาง ดวย ในการควบคุมสภาวะแวดลอมกรรมสิทธิ์ในลักษณะนี้จะคลายกับกรรมสิทธิ์ของ อาคารที่ ผูอยูอาศัยเปนเจาของ โดยกรรมสิทธิ์ของพื้นที่หองจะคลายกรรมสิทธิ์ของบาน โดยผูอยูอาศัยใน อาคารชุดมีหนาที่รับ ผิดชอบตอสวนกลางซึ่งมี ลักษณะคลายการช วยกันดูแลชุม ชน แต ในกรณี อาคารชุดจะแตกตางตรงขอกำหนดตอสวนรวมนี้เปนขอตกลงที่มีผลตามกฎหมาย ที่เห็นไดชัดคือ การจายคาสวนกลางใหบริหารจัดการโดยนิติบุคคล เพื่อเปนคาบริการสวนกลางของนิติบุคคล คา สาธาณูปโภคและคาใชจายในการดูแลรักษาพื้นที่สวนกลาง เชน สระวายน้ำ ทางเดิน ซึ่งปญหาที่ 0042012 การจัดที่อยูอาศัยเพื่อเสริมสรางคุณภาพชีวิต ผศ.สุรีพรรณ สุพรรณสมบูรณ บทที่ 1 บทนำ หนา 1-13 จะเกิดขึ้นกับอาคารชุดในแงกรรมสิทธิ์ คือ ผูอยูอาศัยจะไมรสู ึกเปนเจาของพื้นที่สวนกลาง มักมี ขอ สงสั ย เรื่อ งความยุ ติ ธ รรมในการจ า ยค า ใช จ า ยส ว นกลางของผู ที่ ไ ม ได ใช พื้ น ที่ แ ละบริ ก าร สวนกลางมากกัน สงผลใหเกิดการละเลยการดูแลพื้นที่และงดเวนบริการสวนกลางบางประการ และอาจส ง ผลเสี ย ต อ คุ ณ ภาพการอยู อ าศั ย เช น การลดการเป ด ไฟทางเดิ น อาจจะที ผ ลต อ คุณภาพนการมองเห็นและความปลอดภัย นอกจากผูเปนเจาของอยูอาศัยเองแลว อาคารชุดยังเป นอาคารที่สามารถใหเชาได ซึ่ง จะตองสรางขอตกลงใหชัดเจนระหวางเจาของและผูเชา เนื่องจากตามกรรมสิทธิ์แลวเปนหนาที่ ของเจาของ ในขณะที่หากไมจายจะสงผลกระทบโดยทันทีตอผูอยูอาศัยที่เชาอยูในขณะนั้น ภาพที่ 1- 7 ตัวอยางเนื้อหาเรื่องพื้นที่กรรมสิทธิ์ในอาคารชุดหนึ่ง ที่มา: ทำสำเนาโดยผูเขียน อาคารใหเชาเพื่อการอยูอาศัย อาคารที่อยูอาศัยใหเชา เปนไดทั้งบาน ตึกแถว หอง ไปจนถึงอาคารพักอาศัยรวม ทั้ง รูปแบบเชาทั้งหลัง และแบงเชา นอกจากอาคารชุดแลว อาคารพักอาศัยรวมสวนใหญมีรูปแบบ เปนอาคารใหเชาเปนหลัก ในเอกสารนี้ขอยกตัวอยางคำจำกัดความของหอพักที่เปนอาคารพั ก อาศัยรวมที่ใหเชาที่มีขอกำหนดชั ดเจนตามกฎหมาย ดังนี้ “หอพั ก” หมายถึง สถานที่ รับ ผูพั ก 0042012 การจัดที่อยูอาศัยเพื่อเสริมสรางคุณภาพชีวิต ผศ.สุรีพรรณ สุพรรณสมบูรณ บทที่ 1 บทนำ หนา 1-14 อายุไมเกิน 25 ป ซึ่งอยูระหวางการศึกษาในสถานศึกษาในระดับไมสูงกวาปริญญาตรี โดยมีการ เรีย กเก็บ คาเช าจากผูป ระกอบกิ จการคื อสถานศึ กษาเองหรือเอกชน (พระราชบั ญ ญั ติ หอพั ก , 2558) เนื่องจากผูอยูอาศัยเปนผูเชา จึงอาจจะไมมีความรูสึกเปนเจาของ เปนการอยูอาศัยแบบ ไมถาวรมีโอกาสที่จะยายไปเชาพื้นที่อื่น จึงไมมีความผูกพันตอสถานที่มากนัก สงผลใหอาจจะไม ดูแลกายภาพของที่อยูอาศัย พื้นที่สวนกลาง หรือชุมชนแวดลอม มากเทาผูที่เปนเจาของ ดังนั้นจึง มีโอกาสที่จะทำใหมีความเดือดรอนรำคาญจากสุขภาวะและสิ่งรบกวน มากกวาอาคารพักอาศัยที่ ผูอยูอาศัยเปนเจาของ โดยเฉพาะในอาคารพั กอาศัยรวมที่ อยู กัน หลายครอบครัวปญหาจะเกิด รุนแรงขึ้น กรมอนามัย (สำนักอนามัยและสิ่งแวดลอม, 2554) ไดระบุไววา อาคารที่ใชประกอบ กิจการ หอพัก อาคารชุดใหเชา ห องเชา หองแบ งเชา หรือกิจการอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน เป น กิจการที่มีอันตรายตอสุขภาพ มีความเสี่ยงที่จะมีปญหาดานสังคม การลักขโมย ดานอาหาร และ ปญหายาเสพติด นอกจากนั้นอาคารดังกลาวอาจเปนอาคารรวมคนจำนวนมากที่ไมไดอยูในพื้นที่ จึงมีโอกาสที่จะกอปญหา มลพิษดานตางๆ เชน น้ำเสีย เปนแหลงเพาะพันธเชื้อโรค เสียงรบกวน ใหแกชุมชนที่อาศัยบริเวณใกลเคียง จึงตองมีการควบคุมสุขอนามัยในแงตางๆ ดังที่กลาวมา ภาพที่ 1- 8 ตัวอยางอาคารหอพักใหเชาในสิงคโปรที่จะมีพื้นที่ใชรวมกันในระดับตางๆ ที่มา: http://www.goodtime-edu.com/ 0042012 การจัดที่อยูอาศัยเพื่อเสริมสรางคุณภาพชีวิต ผศ.สุรีพรรณ สุพรรณสมบูรณ บทที่ 1 บทนำ หนา 1-15 1.2.2 ประเภทพื้นที่ใชสอย และพฤติกรรมการใชงาน พื้นที่ใชสอยในที่นี้ หมายถึง พื้น ที่ใช สอยภายในที่ พักอาศัย ประกอบดวย “ห อง” คือ พื้นที่ที่มีผนังลอมรอบทุกดานที่มีกิจกรรมเดียวหรือกิจกรรมที่ใกลเคียงกัน เชน หองนอน “สวน ของหอง” หมายถึงพื้นที่ทำกิจกรรมหนึ่งๆ ในกรณีที่หองๆหนึ่งมีกิจกรรมการใชงานหลายประเภท รวมอยูในหองเดียวกัน เชน โถงกลางของบางบา น จะประกอบดวย สวนรับ แขก พื้น ที่นั่งเล น พื้นที่ ทำงาน และพื้น ที่รับ ประทานอาหาร “พื้ น ที่ กึ่งในกึ่งนอกอาคาร” คือ พื้ น ที่ ที่ มี ผนังหรือ หลังคาบางสวน โดยมากพื้นที่ในส วนนี้ จะมี กิจกรรมเชื่ อมโยงกั บพื้น ที่ภายในอาคารจนอาจไม สามารถแยกขาดออกจากกันได เชน ที่จอดรถ ที่มักจะอยูใกลกับทางเขาบาน พื้นที่ซักลางที่มักจะ ใชงานรวมกับ ครัว เพื่อประโยชน ในการสรางคุณ ภาพชีวิตในการอยู อาศั ยเอกสารนี้ จะอธิบ าย ขอมูลเบื้องตน 2 ประเด็น คือ ประเภทพื้นที่ใชสอยและพฤติกรรมการใชงาน ในการจัดที่อยูอาศัยโดยคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของผูอยูอาศัย จำเปนตองแยกแยะพื้นที่ใช สอยทั้งหมดของที่อยูอาศัยออกเปนหมวดหมูใหเกิดความชัดเจน เนื่องจากมีระดับความตองการ ความสะดวกสบาย และมุมมองต อคุณภาพชี วิตแตกตางกัน ในหนังสือขอมู ลสำหรับสถาปนิ ก (Architect’s data) (Neufert, 1980) ได กล าวถึ ง องค ป ระกอบ ขอ งบ าน ไว ทั้ งห ม ด 10 องคประกอบ ซึ่งในเอกสารนี้จะจัดกลุมเปน 3 หมวดหมู ไดแก พื้นที่ใชสอยที่ใชในการอยูอาศัย พื้นที่ใชสอยที่ไมไดใชในการอยูอาศัย และ พื้นที่ใชสอยกึ่งในกึ่งนอกอาคาร 1.2.2.1 พื้นที่ใชสอยที่ใชในการอยูอาศัย พื้นที่ใชสอยที่ใชในการอยูอาศัยในที่นี้หมายถึง พื้นที่ที่ผูอยูอาศัยใชงานเปนเวลานาน ทั้ง ที่ใชติดตอกันเปนระยะเวลานาน และที่การใชงานบอยๆ โดยกิจกรรมที่เกิดขึ้นเปนกิจกรรมสำคัญ ในชี วิ ต ประจำวั น ของทุ ก คน ข อ มู ล สำหรั บ สถาปนิ ก (Architect’s data) (Neufert, 1980) กลาวถึงพื้นที่ใชสอยที่ใชในการอยูอาศัย 3 สวน ไดแก หองนอน หองสาธารณะ และหองน้ำ หองสาธารณะ (Public Room) หองสาธารณะในที่นี้ หมายถึงพื้นที่สวนกลางของที่อยูอาศัย ซึ่งผูอยูอาศัยจะใชรวมกัน มักจะมีการเชื่อมตอระหวางพื้นที่กิจกรรมที่แตกตางกัน บางพื้นที่เปนพื้นที่อเนกประสงคใชงาน หลายกิจกรรมในพื้นที่เดียวกัน โดยพื้นที่นี้ จะประกอบไปดวยองคประกอบตอไปนี้ โดยแตละที่ อาจจะแตกตางกันตามแตความตองการของที่อยูอาศัยนั้นๆ 0042012 การจัดที่อยูอาศัยเพื่อเสริมสรางคุณภาพชีวิต ผศ.สุรีพรรณ สุพรรณสมบูรณ บทที่ 1 บทนำ หนา 1-16 ภาพที่ 1- 9 หองสาธารณะประกอบดวยพื้นที่นั่งเลน รับแขกพักผอน และรับประทานอาหาร ของ BAAN KHUN BUNJUNG ที่มา: ภาพจากผูออกแบบ ศิลปากร ศรีโพธิ์ หจก.มหาดีไซน หองรับประทานอาหาร (Dining Room) หองรับประทานอาหารมีความสัมพันธดานกิจกรรมตอเนื่องกับครัว จึงมักจะตั้งอยูติดกับ ครัว แตแมจะใชทุกวันตามมื้ออาหารที่กินภายในที่อยูอาศัย แตจะใชเวลาตอครั้งเพียงประมาณ 1- 2 ชั่วโมงเทา นั้น พื้นที่ สวนนี้จึงมั กจะถู กใช อเนกประสงค เช น ใช โตะเก าอี กที่ มี อยู แล วในการ ทำงานในลักษณะตางๆ พื้นที่นี้อาจจะใชในการนั่งคุยและรับแขกดวย ซึ่งในความที่จะตองมีการ วางอาหารและการใชงานลักษณะอื่นๆดวย ความสะอาดจึงมีความสำคัญทั้งในแงอาหารที่ติดที่ พื้นผิวโตะจะทิ้งกลิ่นและเปนแหลงอาหารของสัตวไมพึงประสงคแลว การเนาเสียของอาหาร การ เคมี เชื้อโรค ที่เกิดจากการทำกิจกรรมอื่น ก็อาจจะปนเปอนกับภาชนะและอาหารที่บริโภค การ ทำความสะอาด การเปดใหแสงเขาและระบายอากาศจึงเปนสิ่งที่ตองใหความสำคัญมากที่สุด ใน ขอบเขตของการยศาสตร ข นาดโต ะ เก า อี้ ที่ เหมาะสมกั บ การรั บ ประทานอาหารยั ง ไม ถู ก ให ความสำคัญ เพราะนอกใชเวลาในการทำกิจกรรมนอยแลว กิจกรรมการกิน ยังเปนกิจกรรมที่ผอน คลายที่ ผู อ ยู อ าศั ย เปลี่ ย นอิ ริ ย าบถได ต ลอดเวลา อย า งไรก็ ต ามในกรณี ที่ ใช ห อ งนี้ เป น พื้ น ที่ อเนกประสงคก็อาจสามารถใชขอมูลเครื่องเรือนของพื้นที่ทำงานแทนพื้นที่สวนนี้ได หองนั่งเลน (Living Room/ Family Room) หองนั่งเลน เปนหองที่มีความสำคั ญคือเป น พื้ นที่ที่ถูกใช มากที่สุด ดวยจำนวนผูใชมาก ที่สุด ในการอยูอาศัยในชวงกลางวัน ลักษณะหองนี้มีความคลายคลึงกับหองรับประทานอาหารใน แงความความเป นอเนกประสงค และมีการใช ดวยความผ อนคลาย โดยห องนั่ งเล น จะมีความ อเนกประสงค ม ากกว า กล า วคื อ จะใช ในการนั่ ง เล น ดู โ ทรทั ศ น รั บ แขก ทำงาน ตลอดจน 0042012 การจัดที่อยูอาศัยเพื่อเสริมสรางคุณภาพชีวิต ผศ.สุรีพรรณ สุพรรณสมบูรณ บทที่ 1 บทนำ หนา 1-17 รับประทานอาหารวาง และมีความผอนคลายมากกวาตามรูปแบบของเครื่องเรือนที่มักเนนความ สบายในการใชงาน ในการพิจารณาดานการยศาสตรจึงอาจจะตองกลับมาพิจารณาเรื่องรูปแบบ เครื่องเรือนที่เหมาะสมกับแตละกิจกรรม โดยเฉพาะการทำงาน เนื่องจากลักษณะเครื่องเรือนที่ใช ในการพักผอนอาจจะไมเหมาะสำหรับนั่งทำงาน หองรับแขก (Guest Room) โดยทั่วไปหองรับแขกในชวงกลางวันจะมีลักษณะคลายกับหองนั่งเลน บานทั่วไปอาจจะ ไมมีหองรับแขกแยกออกมา แตในขอมูลสำหรับสถาปนิก (Architect’s data) (Neufert, 1980) ไดใหความสำคัญของหองแขกวาเปนหองที่สามารถปรับใหแขกสามารถนอนพักคางแรมได ตาม ความหมายนี้หองนี้จึงจะมีลักษณะคลายกับหองนอน ขอมูลตางๆที่เกี่ยวของกับสุขภาพของผูใชจึง จะใชขอมูลเดียวกันกับ หองนั่งเลน หรือ หองนอน ตามแตรูปแบบการใชงานของที่อยูอาศัยนั้นๆ พื้นที่ทำงาน (Study Area) และ หองสมุด (Library) พื้นที่ทำงานในที่นี้ จะหมายรวมถึง พื้นที่โตะอานหนังสือของเด็กนักเรียนดวย โดยทั่วไป จะมี โต ะ เก า อี้ นั่ ง ทำงานพรอ มที่ ว างอุ ป กรณ ก ารทำงาน ในป จ จุ บั น จะมี พื้ น ที่ ส ำหรั บ ใช ง าน คอมพิวเตอรดวย หองนี้มักจะเปนหองที่ผูใชงานใชงานในระยะเวลาตอเนื่องเปนเวลานาน และ อาจจะเกิดความเครียดจากงานที่ทำรวมดวย การจัดพื้นที่ใหเหมาะสมจึงมีความสำคัญ อยางมาก และเปนพื้นที่หลักที่ไดรับการใหความสำคัญอยางมากในหลักการทางการยศาสตร นอกจากหลัก ทางการยศาสตรแลว ในทางจิตวิทยา และสภาวะแวดลอมภายในอาคาร ก็ควรถูกจัดใหเหมาะสม เพื่อลดโอกาสการเกิดความเจ็บปวยและชวยใหผอนคลายจากความเครียด พื้นที่หองสมุด จะประกอบไปดวย พื้นที่เก็บหนังสือซึ่งอาจเปนชั้นหรือตู และพื้นที่อาน หนังสือ ซึ่งจะมีลักษณะคลายกับหองนั่งเลน โดยเนื่องจากความที่เปนพื้นที่เก็บหนังสือ และวาง อุป กรณ พิมพ ของหองทำงานและห องสมุ ดนี้ อาจจะเป น แหลงมลพิ ษ ได ตั วอย างมลพิ ษ จาก หนังสือ คือ ฝุนและกลิ่นจากการเสื่อมของหนังสือ สารเคมีจากกาว สัตวไมพึงประสงค และจุลชีพ สะสมในหนังสือ หองดนตรี (Music Room) หรือ หองดูหนังฟงเพลง (Home Theatre) ขอมูลสำหรับสถาปนิก (Architect’s data) (Neufert, 1980) ไดระบุพื้นที่ไววาเปนหอง ดนตรีซึ่งจะตองมีการเก็บเสียงไมใหรบกวนพื้นที่ใชสอยอื่น และจะตองทำใหคุณภาพเสียงภายใน หองดี ซึ่งในบานในประเทศไทยมักจะมีหองที่มีความตองการแบบเดียวกันคือหองที่ใชสำหรับดู หนังฟงเพลง ซึ่งหองลักษณะนี้จะมีความเฉพาะ กลาวคือไมไดมีหองนี้ในทุกบาน มักจะอยูในบาน ที่ผูอยูอาศัยเลนดนตรี หรือมีความชอบดูหนังและฟงเพลงที่บานเปนพิเศษ หองประเภทนี้จะเปน 0042012 การจัดที่อยูอาศัยเพื่อเสริมสรางคุณภาพชีวิต ผศ.สุรีพรรณ สุพรรณสมบูรณ บทที่ 1 บทนำ หนา 1-18 หองที่เน นเรื่องเสียง ทั้งในแงการป องกั น ไม ใหเสียงรบกวนพื้ น ที่ใชสอยอื่ น และในแงการปรับ คุณภาพแสงละเสียงใหมีคุณภาพ ซึ่งเนือ้ หาดังกลาวจะกลาวตอไปใน เนื่องจากหองดังกลาวจะตองมีการควบคุม แสงและเสียง มีความจำเป นตองป ดกั้น จึ ง เปนผลใหเกิดความทึบ และตองใชระบบปรับอากาศในการทำความเย็น หากหองใชวัสดุดูดซับ เสี ย งด วยก็ อ าจจะทำให เกิ ด การสะสมของจุ ล ชี พ ฝุ น เกิ ด ความอั บ ชื้ น ได งา ยกว า ห องทั่ ว ไป นอกจากนี้ในปจจุบันหองนี้อาจจะเปนหองที่ใชในกิจกรรมอื่น เชน ออกกำลังกาย ซึ่งเปนกิจกรรม ที่จะเกิดความชื้นจากเหงื่อ การปรับเปลี่ ยนใหหองสามารถเป ดรับ แสงธรรมชาติ และสามารถ ระบายอากาศได จะชวยใหหองนี้ถูกสุขลักษณะมากขึ้น หองเด็ก (Children Room) ห อ งเด็ ก ถู ก บรรจุ เป น พื้ น ที่ ใ ช ส อยใน ข อ มู ล สำหรั บ สถาปนิ ก (Architect’s data) (Neufert, 1980) และระบุวาเปน พื้นที่ที่แยกออกมาจากพื้นที่พักผอนสวนกลางอื่นๆ เนื่องจาก การเลี้ยงเด็กตองการพื้นที่เฉพาะ และเปนพื้นที่ที่จะมีเสียงและความวุนวายในตอนที่เด็กตื่น และ เปนหองที่ตองการความสงบเมื่อเด็กหลับ ในบริบทไทยที่สมาชิกในครอบครัวรวมกันเลี้ยงดูเด็ก อยางใกลชิด ทั้งในชวงกลางวันที่ผูใชมักจะอยูอาศัยที่พื้นที่สวนกลาง และในชวงกลางคืนที่ผูใช มักจะดูแลเด็กโดยนอนหองเดียวกัน หรือหองนอนเด็กที่ติดกัน หองนี้จึงอาจไมมีความจำเปนตอง กำหนดใหมีภายในบาน แตหากวามีก็จะตองระวังวาจะเปนพื้นที่ที่ทั้งเปนแหลงกำเนิดเสียง และ ตองการใหถูกสุขลักษณะมากกวาหองอื่น เนื่องจากเด็กจะมีภูมิคุมกันโรคนอยกวาผูใหญ หองนอน (Bedroom) ห อ งนอนเป น ห อ งที่ มี ก ารใช ง านทุ ก วั น ที่ มี ก ารอยู อ าศั ย และใช เป น ระยะเวลาต อ วั น ยาวนานที่สุด เปนหองที่ใชในการนอนเปนหลัก แตเนื่องจากในที่อยูอาศัยเปนหองที่ใชงานเพียง ไมกี่คน จึงเปนหองที่มีความเป น สวนตัวมากที่ สุดภายในบ าน หากหองนอนนั้ น ๆเป นที่ใชน อน สำหรับผูอยูอาศัยเพียงคนเดียว อาจจะเรียกวา หองสวนตัว ซึ่งอาจจะประกอบดวยพื้นที่อื่นๆดวย เชน พื้นที่ทำงาน พื้นที่นั่งเลนดูโทรศัพท ในที่พักอาศัยรวม ขนาดเล็กสวนใหญ หองนอน อาจจะ ใชงานเปนหองสาธารณะดวย กลาวคือ มีพื้นที่เตรียมอาหาร และรับประทานอาหาร พื้นที่เก็บ ของตางๆ รวมอยูในหองเดียวกัน เพื่อคุณภาพในการนอนที่ดี หองนอนควรตั้งอยูในที่ที่ปลอดมลพิษและสิ่งรบกวนตางๆ โดยผูอยูอาศัยก็ไมควรนำสิ่งที่เปนมลพิษเขามาในหองดวยเชนเดียวกัน ตัวอยางสิ่งที่เปนมลพิษ เชน กลิ่น แสง และเสียงรบกวน ความชื้น ความรอน จุลชีพในอากาศ ฝุน สารพิษ เปนตน ซึ่ ง ห อ งนอนสว นใหญ มั ก จะใชระบบปรับ อากาศ ซึ่ ง เป น แหล งสะสม จุ ลชี พ ในอากาศ และ ฝุ น 0042012 การจัดที่อยูอาศัยเพื่อเสริมสรางคุณภาพชีวิต ผศ.สุรีพรรณ สุพรรณสมบูรณ บทที่ 1 บทนำ หนา 1-19 หองนอนที่อยูติดกับหองน้ำ ก็มีความเสี่ยงตอ กลิ่น สัตวไมพึงประสงค และความชื้น วัสดุอุปกรณ บางอยาง เชน เครื่องพิมพ น้ำยาทำความสะอาด สามารถปลอยสารพิษเขาสูหองได ในที่พักรวมที่ ใชหองนอนกับ กิจกรรมทุกอยาง จะมีป จจัยที่สงผลเสียตอสุขภาพของผูอยูอาศัยมากที่สุดและ ปองกันแกไขไดยาก เชน เสื้อผามักจะทำใหเกิดฝุน การเตรียมและรับประทานอาหารกอใหเกิด ความรอน ไอน้ำ ไอน้ำมัน และกลิ่น เพื่อคุณภาพในการนอนที่ดี ควรพิจารณาแยกมลพิษและ สิ่งรบกวนตางๆ ออกจากหองนอน หรือหากไมสามารถทำได อาจจะตองกำหนดตำแหนงพื้นที่ ของกิจกรรมที่จะทำใหเกิดมลพิษแยกออกจากพื้นที่นอน ภาพที่ 1- 10 หองนอนภายใน BAAN KHUN BUNJUNG ที่มา: ภาพจากผูออกแบบ ศิลปากร ศรีโพธิ์ หจก.มหาดีไซน นอกจากนี้ แมหองนอนจะใชระบบปรับอากาศ และใชในเวลากลางคืนเปนหลัก แตการ เปดรับแสงธรรมชาติ และความสามารถในการระบายอาคารได ก็มีความสำคัญ สำหรับหองที่ใช ในการอยูอาศัยเปนระยะเวลานาน โดยเฉพาะการเปดรับแสงและบรรยากาศธรรมชาติในชวงเชา จะมีประโยชนตอสุขภาพ เนื่องจากจะไดรับวิตามินดีที่มีผลดีตอทั้งสุขภาพกายและใจ หองน้ำ (Bathroom/ WC/ Restroom/ Toilet) หองน้ำในที่พักอาศัย มักจะแบงออกเปน หองน้ำที่มีที่อาบน้ำ และหองน้ำที่ไมมีที่อาบน้ำ หองน้ำที่มีที่อาบน้ำมักใชรวมกับหองนอน ซึ่งจะเปนหองน้ำภายในหองนอน หรือเปนหองน้ำที่อยู ภายนอกใชรวมกันระหวางผูใชหลายคน หองน้ำที่ไมมีที่อาบน้ำมักจะเปนหองน้ำที่ใชสำหรับผูใช ห องสาธารณะ แตไมเสมอไปเพราะในบ านที่ มี ผูอ ยู อ าศั ยหลายคนอาจจะต อ งมี ห องสำรองที่ สามารถใชอาบน้ำ ไดหองน้ำที่ใชร วมกั บ หอ งสาธารณะอาจจะมี ที่อ าบน้ ำก็ ได. นอกจากนี้ ยั งมี หองน้ำอีกรูปแบบหนึ่ง เปนหองน้ำสาธารณะ (Toilet) ซึ่งใชในบ

Use Quizgecko on...
Browser
Browser