ระบบสารสนเทศ PDF
Document Details
Uploaded by PrestigiousQuasar441
Mahasarakham University
Tags
Summary
This document is about information systems and their management in organizations. It covers various topics such as the definition and importance of information systems, the difference between data and information, and different types of information systems used in organizations. It also details how to manage information systems in organizations and the use of information technology.
Full Transcript
บทที่ 2 ระบบสารสนเทศและการจัดการระบบสารสนเทศในองค์กร วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม 1. บอกความหมายและความสาคัญของระบบสารสนเทศได้ 2. อธิบายความแตกต่างระหว่างข้อมูลและสารสนเทศในองค์กรได้ 3. จาแนกชนิดของระบบสารสนเทศในองค์กรได้ 4. อธิบายการจัดการระบบสารสนเทศในองค์กรได้ 5...
บทที่ 2 ระบบสารสนเทศและการจัดการระบบสารสนเทศในองค์กร วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม 1. บอกความหมายและความสาคัญของระบบสารสนเทศได้ 2. อธิบายความแตกต่างระหว่างข้อมูลและสารสนเทศในองค์กรได้ 3. จาแนกชนิดของระบบสารสนเทศในองค์กรได้ 4. อธิบายการจัดการระบบสารสนเทศในองค์กรได้ 5. ระบุแนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพได้ วิธีการสอน/กิจกรรมการเรียนการสอน 1. บรรยายเนื้อหาโดยอาจารย์ผสู้ อน 2. ทาแบบฝึกหัดท้ายบท 3. ทบทวนเนื้อหาจากเอกสารและสไลด์ประกอบการสอน การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ 1. การตอบคาถามแบบฝึกหัดท้ายบท 2. ผลการสอบกลางภาค บทนา ปั จ จุ บั น มี การน าระบบสารสนเทศมาใช้ ในการจั ด การงานต่ า ง ๆ ภายในส านั กงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อองค์กรมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทางานให้กลายมาเป็นสานักงานดิจิทัล ทาให้ระบบสารสนเทศกลายเป็นสิ่งจาเป็นและช่วยให้ การดาเนินงานขององค์กรมีประสิทธิภาพ ปรับปรุงการทางานของแต่ละบุคคล มีการทางานร่วมกันเป็นทีม เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน เมื่อเทียบกับคู่แข่ง ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ รองรับการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า ช่วยในด้านการจัดการข้อมูลให้ทันต่อเหตุการณ์ และช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหารให้เป็นไปได้ อย่างถูกต้อง รวดเร็วยิ่งขึ้น จนทาให้บรรลุเป้าหมายที่องค์กรได้ตั้งไว้ เนื้อหา 1. ความหมายและความสาคัญของระบบสารสนเทศ 2. ข้อมูลและสารสนเทศในองค์กร 3. ชนิดของระบบสารสนเทศ 4. การจัดการระบบสารสนเทศในองค์กร 5. แนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ความหมายและความสาคัญของระบบสารสนเทศ ระบบสารสนเทศ (Information System: IS) หมายถึง กลุ่มของระบบงานที่ทาหน้าทีใ่ น การรวบรวมข้ อ มู ล แล้ ว ท าการประมวลผลข้ อ มู ล ให้ ไ ด้ ส ารสนเทศที่ ก่ อ ให้ เ กิ ด องค์ ค วามรู้ (Knowledge) และนาไปเผยแพร่เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป เช่น ระบบจาหน่ายสินค้า ระบบบริหาร จัดการโรงแรม ระบบบริหารการผลิต ระบบบริหารลูกค้าสัมพันธ์ เป็นต้น เทคโนโลยี ส ารสนเทศ (Information Technology: IT) จะประกอบด้ ว ย ฮาร์ด แวร์ ซอฟต์แวร์ และการสื่อสารโทรคมนาคม โดยเทคโนโลยี สารสนเทศถูกนามาใช้ในการรวบรวม วิเคราะห์ จัดเก็บ และเผยแพร่สารสนเทศ ดังนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นส่วนย่อย (subset) ของระบบสารสนเทศ เพราะ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการทาให้สารสนเทศมีคุณค่าและสามารถ นามาใช้ประโยชน์ได้ ส่วนระบบสารสนเทศต้องอาศัยบุคคลและเทคโนโลยีสารสนเทศในการ ดาเนินการจัดการประมวลผลข้อมูล เพื่อผลิตสารสนเทศตามที่ต้องการนาไปใช้งานในองค์กร ภาพประกอบ 2.1 ความสัมพันธ์ของระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ ความสาคัญของระบบสารสนเทศในองค์กร มี 3 ประการ คือ 1. เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานในองค์กร ยกตัวอย่างเช่น ร้านค้าแห่งหนึ่งได้นาระบบ สารสนเทศมาใช้ โดยมี โ ปรแกรมให้ พ นักงานบันทึกรายการซื้ อสินค้าที่ลูกค้าเข้ามาใช้บริการ สาหรับการบันทึกรายการซื้อขายสินค้าดังกล่าว จะส่งผลต่อการนาไปใช้ประโยชน์เพื่อตรวจสอบ ยอดสิ น ค้ า ในสต็ อ ก การพิ จ ารณาซื้ อ สิ น ค้ า ใหม่ เ พิ่ ม เติ ม และการประเมิ น ยอดขาย แต่ ก าร ดาเนินการดังกล่าว ยังเป็นเพียงขั้นตอนการเตรียมข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น เพื่อนาไปสู่การใช้งานใน ขั้นต่อไป ซึ่งถือว่าเป็นการนาระบบสารสนเทศมาใช้สนับสนุนกระบวนการดาเนินงานประจาวัน 2. เพื่ อสนั บ สนุน การตัด สิน ใจแก่พ นักงานและผู้บริหาร จากตั ว อย่ า งที่ กล่าวข้างต้น รายการซื้อสินค้าต่าง ๆ ที่ได้บันทึกในแต่ละวัน สามารถรวบรวมเพื่อนาไปประมวลผลผ่านระบบ สารสนเทศ เพื่อนาเสนอรายงานที่ผู้จัดการสามารถนาไปประกอบการตัดสินใจได้ว่า สมควรนา สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ประเภทใดเข้ามาขาย สินค้าใดที่ลูกค้าชื่นชอบเป็นพิเศษ ควรจัดโปรโมชั่น สินค้าใด ต้องสั่งสินค้ารายการใดเพิ่มเติม หรือสินค้าตัวใดที่จาเป็นต้องคัดออกไป เป็นต้น สิ่ง เหล่านี้ไม่ใช่แค่เพียงการสนับสนุนการตัดสินใจของผู้จัดการร้านค้าเท่านั้น แต่จะส่งผลดีต่อลูกค้า ว่า เมื่อเขาได้เข้ามาซื้อสินค้าที่ร้านแล้ว จะได้สินค้าที่เขาต้องการ ซึ่งเป็นการป้องกันการสูญเสีย โอกาสในการขาย เป็นที่มาของความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ 3. เพื่อนามาใช้เป็นกลยุทธ์ชิงความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ จากการใช้ข้อมูลที่ ได้ในระบบสารสนเทศไปตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ แล้ว ในขณะเดียวกันเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมาย มากยิ่งขึ้น ทางผู้จัดการร้านค้าจึงได้ใช้กลยุทธ์ด้วยการนานวัตกรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ ด้วยการติดตั้งตู้บริการอัตโนมัติ (Kiosks) ในทุก ๆ ร้านตามสาขาต่าง ๆ และเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ E-Commerce ผ่านการบริการช็อปปิ้งแบบออนไลน์ เพื่อดึงดูดลูกค้าใหม่พร้อมกับสร้างความ จงรักภักดีของลูกค้าที่มีต่อร้านค้าผ่านเครื่องมืออานวยความสะดวกในการช็อปปิ้งเพื่อซื้อสินค้าที่ จัดเตรียมไว้ให้อย่างเพียงพอ และจากกรณีดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ระบบสารสนเทศสามารถเข้ามา ช่วยจัดเตรียมผลิตภัณฑ์และการบริการ เพื่อดึงดูดลูกค้าและชิงความได้เปรียบกับคู่แข่งขันได้ องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ มีดังนี้ 1) ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง ชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการจัดการกับ ข้อมูล ทั้งที่เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ เป็น ต้ น ซึ่ ง อุ ป กรณ์ เหล่ า นี้ จ ะท างานร่ว มกัน เพื่ อน าไปสู่ การประมวลผล และแสดงผลข้อมู ล หรือ สารสนเทศ 2) ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง ชุดคาสั่งหรือโปรแกรม ที่สามารถสั่งการให้ฮาร์ดแวร์ ทางานในลักษณะที่ต้องการ ภายใต้ขอบเขตความสามารถที่อุปกรณ์ หรือโปรแกรมนั้น ๆ สามารถ ทาได้ 3) ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่อาจอยู่ในรูป แบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ตัวหนังสือ ข้อความ เสียง ภาพ วัตถุ สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ หรือข้อมูลหลาย ๆ อย่างผสมผสาน กัน ซึ่งอาจมีการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันให้เป็น ฐานข้อมูล (Database) 4) ผู้ใช้ (User) หมายถึง บุคคลที่ทางานหรือเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ เช่น ผู้บริหาร ผู้ดูแลระบบ นักออกแบบ นักพัฒนาระบบ ผู้ใช้งานระบบ และลูกค้า เป็นต้น ซึ่งบุคคลเหล่านี้มี บทบาทสาคัญต่อการสร้างความสาเร็จหรือความล้มเหลวให้แก่องค์กรได้ 5) ขั้น ตอนการท างาน (Procedure) หมายถึง ขั้น ตอน กระบวนการต่ า ง ๆ ในการ ปฏิบัติงานในระบบสารสนเทศ จะประกอบด้วย กลยุทธ์ นโยบาย วิธีการ และกฎระเบียบการใช้ ระบบสารสนเทศ อันได้แก่ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน วิธีการบารุงรักษา และการควบคุมความ ปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ขั้นตอนการทางานจะถูกนาไปใช้เป็นตัวแทนการดาเนินงาน จริงในแต่ละวัน ที่พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ ทุกคนในองค์กรจะต้องปฏิบัติตามคาสั่งและปฏิบัติตาม ขั้นตอนที่ระบุไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายขององค์กร 6) ระบบการสื่ อ สารโทรคมนาคม (Telecommunication) หมายถึ ง ระบบการส่ ง สัญญาอิเล็กทรอนิกส์เพื่อติดต่อสื่อสาร ผ่านสื่อกลางที่เชื่อมต่อระหว่างต้นทางกับ ปลายทางที่อยู่ ห่างไกลกัน ซึ่งมีทั้งระบบแบบใช้สายและไร้สาย (wireless) รวมถึงอาจใช้เทคโนโลยีดาวเทียมใน การสื่อสารข้ามทวีป ส่วนเครือข่าย (network) คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ที่ เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน เพื่อช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรร่ วมกัน และช่วยในการ ติดต่อสื่อสาร การทางานของระบบสารสนเทศ จะเกิดจากการประสานงานกันของทั้ง 6 องค์ประกอบ ข้างต้น ซึ่งมีขนั้ ตอนต่าง ๆ ดังนี้ - การนาเข้าข้อมูล (Input) เป็นการนาข้อมูลเข้าสู่ระบบเพื่อประมวลผลสามารถทาได้ หลายวิธีเช่นการรับข้อมูลเข้าผ่านแป้นพิมพ์ ผ่านเมาส์ ผ่านหน้าจอสัมผัส หรือสื่อบันทึกข้อมูลทีไ่ ด้ ทาการบันทึกไว้ก่อนหน้า นาข้อมูลออกมาเพื่อประมวลผล เช่น เพื่อให้ระบบทาการออกรายงาน สรุปยอดขายประจาไตรมาสที่สอง เป็นต้น - การประมวลผล (Process) ข้อมูลที่นาเข้าสู่ระบบแล้วจะเข้าสู่กระบวนการประมวลผล ข้อมูลของระบบสารสนเทศซึ่งสามารถทาได้หลายวิธี เช่น การแยกประเภทข้อมูล การจัดเรียง ข้อมูล การคานวณ การเปรียบเทียบข้อมูล การสรุปข้อมูล เป็นต้น - การจัดเก็บข้อมูล (Storage) เราสามารถจัดเก็บข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลเพื่อนา กลับมาใช้อีกครั้งด้วยสื่อบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) แฟลชไดร์ฟ (Flash Drive) เป็นต้น - การแสดงผลลัพธ์ (Output) การแสดงผลลัพธ์ที่เป็นสารสนเทศสามารถแสดงได้หลาย รูปแบบคือแสดงสารสนเทศบนกระดาษ (Hard Copy) เช่น พิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ (Printer) หรือ แสดงสารสนเทศแบบชั่วคราว (Soft Copy) เช่น แสดงบนจอภาพ แสดงบนโปรเจคเตอร์ หรือแสดงออกทางลาโพง เป็นต้น Process & Storage Input Output Users ภาพประกอบ 2.2 องค์ประกอบและการทางานของระบบสารสนเทศ ข้อมูลและสารสนเทศในองค์กร ข้อมู ล (Data) หมายถึง ความจริง ที่ เกิด ขึ้น เกี่ย วกับ คน สิ่ ง ของ เป็ น ได้ ทั้ ง ตั ว เลข ตัวอักษรข้อความ เสียง รูปภาพ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในการดาเนิน งานขององค์กร เช่น รายการฝากเงิน ถอนเงินของลูกค้าในแต่ละวันของธนาคาร รายการจองห้องพักโรงแรมของลูกค้า รายการสั่งซื้อสินค้ากับตัวแทนจาหน่ายสินค้า การบันทึกรายการขายสินค้าของร้านสะดวกซื้อ ยอดขายสินค้าในแต่ละวัน เป็นต้น สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมู ล ที่ ผ่ า นการประมวลผลแล้ว และน าไปใช้ ประโยชน์ในการทางานหรือช่วยในการตัดสินใจแก่ผู้ใช้งาน ซึ่งสารสนเทศจะถูกนามาใช้ให้เกิด ประโยชน์ ไ ด้ จ ริ ง ก็ ต่ อ เมื่ อ ข้ อ มู ล นั้ น มี ค วามถู ก ต้ อ ง เพราะถ้ า น าข้ อ มู ล ที่ ไ ม่ ถู ก ต้ อ งมาเข้ า สู่ กระบวนการประมวลผล ก็ย่อมได้ผลลัพธ์ที่ผิดพลาด ภาพประกอบ 2.3 ตัวอย่างการประมวลผลข้อมูลเป็นสารสนเทศ คุณสมบัติของสารสนเทศที่ดี มีดังนี้ 1. มีความถูกต้อง (Accurate) สารสนเทศต้องมีความถูกต้อง เพราะสารสนเทศที่ไม่ ถูกต้อง อาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ เช่น ข้อมูลผู้ป่วยไม่ถูกต้อง ทาให้คนไข้ได้รับยาที่ตนเคยแพ้ ยาชนิดนี้มาก่อน อาจทาให้แทนที่จะรักษาให้หายจากโรค กลับเป็นการทาให้คนไข้อาการหนักขึ้น 2. ครบถ้วนสมบูรณ์ (Complete) การได้รับสารสนเทศที่ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ อาจส่งผล ต่อการตัดสินใจที่ผิดพลาด เช่น สารสนเทศทางการตลาดที่วิจัยความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์หนึง่ บน พื้นที่เขตภาคกลาง อาจส่งผลต่อการตัดสินใจผิดพลาดได้เมื่อถูกนาไปใช้ เนื่องจากยังขาดข้อมูล เกี่ยวกับรายได้เฉลี่ยของกลุ่มเป้าหมาย ทาให้สารสนเทศไม่มีความสมบูรณ์เพียงพอ เป็นเหตุให้ยัง ไม่สามารถนาสารสนเทศนั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ 3. ตรงประเด็ น (Relevant) หมายถึ ง สารสนเทศที่ ไ ด้ มี ค วามสอดคล้ อ งหรื อ มี ความสัมพันธ์กับงานนั้น ๆ อย่างมีนัยสาคัญ หากสารสนเทศที่ได้ไม่สอดคล้องกับความต้องการ ของงาน แม้ว่าจะเป็นสารสนเทศที่ถูกต้องก็ถือว่าไร้ประโยชน์ เช่น ผู้บริหารต้องการรายงาน สารสนเทศเกี่ ย วกั บ เงิ น ปั น ผลในรู ป ของอั ต ราดอกเบี้ ย เพื่ อ การลงทุ น ระยะสั้ น แต่ ก ลั บ ได้ สารสนเทศจากการลงทุนระยะยาวแทน สิ่งที่ได้จึงไม่สอดคล้องกับประเด็นที่ต้องการ จึงถือว่า สารสนเทศนี้ไม่ตรงประเด็น 4. มีความเป็นปัจจุบัน (Current) ด้วยสภาวการณ์ของโลกในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็ว รายงานสารสนเทศที่ได้รับจากเมื่อวาน อาจไม่จริงแล้วสาหรับในวันนี้ก็เป็นได้ เช่น การลงทุนซื้อหุ้นของวันนี้ ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานข้อมูลตลาดหุ้นเมื่อวาน ผลการคาดคะเนอาจตรงกัน ข้ามกับความเป็นจริงก็เป็นได้ เนื่องจากความผันผวนของตลาดหุ้นมีความอ่อนไหวมาก ดังนั้น สารสนเทศที่จะมาใช้เพื่ อประกอบการตัดสินใจจะต้องทันเหตุการณ์แบบวันต่อวัน ซึ่งความเป็น ปัจจุบันในที่นี้คือ สารสนเทศต้องได้มาในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อก่อให้เกิดการตัดสินใจบน พื้นฐานที่มีความแม่นยามากขึ้น 5. มี ค วามคุ้ ม ค่ า (Economical) ระบบสารสนเทศที่ ถู ก น ามาใช้ ง านในองค์ ก รจะมี ค่าใช้จ่าย จึงควรคานึงถึงความคุ้มค่าในการจัดทาสารสนเทศด้วย เช่น บริษัทต้องการจาหน่าย ผลิตภัณฑ์ใหม่ลงสู่ท้องตลาด และเพื่อลดความเสี่ยงในการจาหน่ายผลิตภัณฑ์ จึงได้จัดทาผล ส ารวจความต้ องการของลูกค้า ตามกลุ่ ม เป้ าหมายทั่ วประเทศ เพื่ อจะได้ น าสารสนเทศมาใช้ ประโยชน์ต่อการตัดสินใจ แต่ถ้าการสารวจมีต้นทุนที่สูงมาก จะกลายเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องถูกนาไป หักลดกาไรจากยอดขายของผลิตภัณฑ์ ทาให้ไม่คุ้มค่าต่อการจัดทา ผู้บริหารก็ต้องกลับมาพิจารณา ใหม่ว่า จะดาเนินการต่อไปหรือหาแนวทางอื่นที่เหมาะสมกว่า ชนิดของระบบสารสนเทศ ระบบสารสนเทศที่นามาใช้สนับสนุนการทางานภายในองค์กรมีหลากหลายชนิด และ เมื่อพิจารณาบนพื้นฐานความต้องการสารสนเทศที่แตกต่างกันตามแต่ละระดับชั้นของผู้ใช้งานใน องค์กร ดังแสดงในแบบจาลองพีระมิดต่อไปนี้ Executives Executive Information System Senior Managers Decision Support System Middle Managers Management Information System Workers Transaction Processing System ภาพประกอบ 2.4 แบบจาลองพีระมิดของระบบสารสนเทศตามระดับชัน้ ของผู้ใช้ในองค์กร จากแบบจาลองพีระมิดตามระดับของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับ คือ 1. ผู้ใช้ระดับปฏิบัติการ (Workers) กลุ่มของผู้ใช้สารสนเทศระดับนี้ คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับ การปฏิบัติงานหลักขององค์กร เช่น หัวหน้างาน พนักงานฝ่ายผลิต พนักงานฝ่ายขาย พนักฝ่าย บัญชี เป็นต้น โดยมีลักษณะงาน ได้แก่ การผลิตหรือการประกอบสินค้า การจัดหาวัตถุดิบ งาน บันทึกบัญชี ข้อมูลหรือสารสนเทศในระดับนี้แหล่งข้อมูลเป็นเรื่องในภายในองค์กร มักจะเป็นการ บันทึกข้อมูลประจาวันแล้วถูกประมวลผลเพื่อนาไปใช้ในระดับกลางและระดับสูงต่อไป 2. ผู้ใช้ระดับผู้บริหารระดับกลาง (Middle Managers) กลุ่มของผู้ใช้สารสนเทศระดับนี้ คือ ผู้บริหารระดับกลาง เช่น ผู้จัดการฝ่ายขาย ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ผู้จัดการฝ่ายบัญชี เป็นต้น มีหน้าที่รับนโยบายจากผู้บริหารระดับสูงมาสานต่อเพื่ อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กาหนดไว้ ตาม แผนงานที่กาหนด ภายใต้งบประมาณ เวลาและข้อจากัดอื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งการใช้ งานระบบสารสนเทศของผู้บริหารระดับกลาง จะเน้น นาไปใช้ในการตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง (แนวทาง – ตรรกะที่แน่นอน) และใช้ข้อมูล ที่มาจากภายในองค์กร เช่น รายงานยอดขาย ข้อมูล สรุปการผลิต เป็นต้น 3. ผู้ใช้ระดับผู้บริหารระดับสูง (Senior Managers) กลุ่มของผู้ใช้สารสนเทศระดับนี้ คือ กรรมการผู้จัดการ หรือผู้จัดการทั่วไป ที่เน้นการตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi Structured Decision Making) มีการใช้ข้อมูลข่าวสารจากภายในองค์กร และข้อมูลจากภายนอกบางส่วนมา ช่วยในการปรับปรุง หรือกาหนดแผนงานที่จะต้องสนองเป้าหมายหลักขององค์กรให้มากที่สุด เพื่อ เป็นข้อมูลวิเคราะห์แนวโน้มและสถานการณ์ ซึ่งจะช่วยให้การตัดสินใจง่ายขึ้น เช่น ระบบ Data Mining เป็นต้น 4. ผู้ ใ ช้ ร ะดั บ ผู้ บ ริ ห ารสู ง สุ ด (Executives) หรื อ ที่ เ รี ย กว่ า Chief Executive Officer (CEO) ซึ่ ง จะเป็ น ประธานบริ ษั ท หรื อ เจ้ า ของธุ ร กิ จ ที่ มี ก ารตั ด สิ น ใจแบบไร้ โ ครงสร้ า ง (Unstructured Decision Making) เพราะเป็นผู้กาหนดนโยบาย กาหนดกลยุทธ์ เพื่อให้ธุรกิจ ดาเนินไปได้ ระบบสารสนเทศที่นามาใช้ควรจะพยากรณ์ค่าต่างๆ มีการแสดงข้อมูลในลักษณะของ กราฟ รูปภาพ แต่ไม่ต้องลงไปที่รายละเอียดมากนัก ช่วยให้ผู้บริหารมองเห็นแนวทาง ความเป็นไป ที่เป็นมา และกาลังจะมีแนวโน้มไปทางใด นอกจากนี้ควรนาเสนอข้อมูลของบริษัทคู่แข่ง ข้อมูล ทางการตลาดต่าง ๆ เป็นต้น ชนิดของระบบสารสนเทศเมื่อแบ่งตามระดับชั้นของผู้ใช้งาน จะมี 4 ชนิด ได้แก่ ระบบ ประมวลผลรายการประจาวัน (Transaction Processing System) ระบบสารสนเทศเพื่อการ จั ด การ (Management Information System) ระบบสนั บ สนุ น การตั ด สิ น ใจ ( Decision Support System) และระบบสารสนเทศสาหรับ ผู้บริหารระดั บสูง (Executive Information System) แต่เนื่องจากรูปแบบของธุรกิจในยุคปัจจุบัน มีความหลากหลายมากขึ้น จึงเกิดระบบ สารสนเทศชนิดใหม่ ๆ ที่มีความเฉพาะทางมากยิ่งขึ้น ทาให้มีชนิดของระบบสารสนเทศ ดังต่อไปนี้ 1. ระบบประมวลผลรายการประจาวัน (Transaction Processing System: TPS) ระบบสารสนเทศประมวลผลรายการเป็นระบบสารสนเทศที่ใช้ในการดาเนินกิจกรรม ทางธุรกิจที่เกิดขึ้นเป็นประจาในลักษณะซ้ากันทุกวัน (routine) เป็นระบบสารสนเทศพื้นฐาน ทั่วไปที่สนับสนุนการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ซึ่งเป็นระบบสารสนเทศประเภท แรกที่นิยมนามาใช้เพื่อการประมวลผลที่รวดเร็ว ลดค่าใช้จ่าย ปรับปรุงให้บริการลูกค้า ที่ทาหน้าที่ รวบรวม บันทึกข้อมูลในแฟ้มข้อมูลและประมวลผลข้อมูลที่เกิดจากการทาธุรกรรม และการ ปฏิบัติงานประจาขององค์กรเพื่อนาไปจัดทาระบบสารสนเทศ ซึ่งระบบสารสนเทศต่างๆ เหล่านั้น นามาใช้เพื่อการประมวลผลที่รวดเร็ว ลดค่าใช้จ่าย ปรับปรุงการให้บริการลูกค้า เน้นการใช้ในการ ปฏิบัติงานเป็นประจาซ้าๆ กันทุกวัน โดยข้อมูลประจาวันเหล่านี้จะทาการรวบรวมเพื่อนาไปจัดทา รายงานตามชนิดและความต้องการต่อไป ตัวอย่างระบบสารสนเทศประมวลผลธุรกรรม เช่น ระบบการบันทึกการขายสินค้า ของร้านสะดวกซื้อ ที่มีการใช้ระบบขาย ณ จุดขาย (Point of Sales: POS) ในการบันทึกยอดขาย แต่ละวัน หรือ ระบบบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงานแต่ละวัน ระบบสั่งซื้อสินค้ากับตัวแทนจาหน่าย ระบบสินค้าคงคลัง ระบบใบกากับสินค้า ระบบการขนส่ง ระบบฝาก–ถอนเงินจากเครื่องอัตโนมัติ (Automated Teller Machines :ATM) ของธนาคาร ระบบการจ่ายเงินเดือน ระบบจองห้องพัก โรงแรม ระบบลงทะเบียนเรียน ระบบเวชระเบียน เป็นต้น ภาพประกอบ 2.5 ตัวอย่างระบบบริหารจัดการโรงแรม 2. ระบบสานักงานอัตโนมัติ (Office Automation System: OAS) เป็นระบบสารสนเทศที่นาเทคโนโลยีทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพื่อมาใช้กั บ ระบบนี้กันมากขึ้นมา เพื่อช่วยในการสนับสนุนการทางานของงานสานักงานให้เป็นอัตโนมัติ และ เพิ่ ม ประสิทธิ ภาพในการท างานของพนักงาน ผู้ จั ด การระดั บกลาง และผู้ บริหารระดั บสูง ให้ สามารถทางานได้รวดเร็วขึ้น เช่น การจัดตารางเวลา การสื่อสารผ่านอีเมล์ ระบบจัดการทางด้าน เอกสาร (Document Management System) การประชุมทางเสียง (Tele Conference) การ ประชุมทางวีดิทัศน์ (Video Conference) เป็นต้น ภาพประกอบ 2.6 ตัวอย่างระบบสานักงานอัตโนมัติ 3. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System: MIS) ระบบสารสนเทศเพื่อการจัด การเป็นระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการทางานของ ผู้ใช้งานด้วยการจัดทารายงานที่ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหารระดับล่างและระดับกลาง ช่วยใน การตัดสินใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยและมีโครงสร้างที่แน่นอน เช่น การอนุมัติสินเชื่อของผู้บริหาร ระดับล่าง เป็นต้น และเป็นระบบสารสนเทศที่ประมวลผลและสรุปจากแฟ้มข้อมูลที่ได้จากระบบ สารสนเทศประมวลผลธุ รกรรม (TPS) เพื่ อจั ด ท าสารสนเทศตามความต้ องการของผู้บริหาร สาหรับนาไปใช้ในการวางแผนประกอบการตัดสินใจ เป็นรายงานสรุปค่าสถิติต่าง ๆ อาจนาเสนอ ในรูปของตาราง หรือกราฟเปรียบเทียบ เพื่อความสะดวก ง่ายต่ อการทาความเข้าใจ ซึ่งรายงาน ประเภทนี้มักเป็นรายงานประจาสัปดาห์ รายงานประจาเดือนและรายงานประจาปี เช่นรายงาน สรุ ป ยอดการขายรายเดื อ น รายงานเปรี ย บเที ย บการขายในแต่ ล ะไตรมาส หรื อ รายงาน เปรียบเทียบการขายแต่ละภูมิภาค เป็นต้น ภาพประกอบ 2.7 แบบจาลองการทางานของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ภาพประกอบ 2.8 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม 4. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System: DSS) เป็นระบบสารสนเทศที่นาข้อมูลจากฐานข้อมูลต่าง ๆ มาช่วยในการตัดสินใจแก้ไข ปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างซึ่งเป็นปัญหาที่มี การเปลี่ยนแปลงบ่อยอยู่เสมอ การวิเคราะห์ข้อมูลของ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจนามาจากระบบสารสนเทศประมวลผลรายการและระบบสารสนเทศ เพื่อการจัดการซึ่งเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในองค์กรและนาเอาข้อมูลจากภายนอกองค์กร เช่น ข้อมูลเศรษฐกิจโลก ข้อมูลคู่แข่ง มาใช้วิเคราะห์ปัญหาด้วย ระบบนี้เป็นการเน้นการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้สารสนเทศเป็นพื้นฐาน ช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจการดาเนินงานได้อย่างถูกต้อง ระบบจึงมักถูกออกแบบในรูปแบบตัว แบบจาลองทางคณิตศาสตร์ ส่วนติดต่อกับผู้ใช้ออกแบบให้ใช้งานง่าย สามารถหาคาตอบของ คาถามต่างๆ ได้ง่าย และสามารถตั้งคาถามใหม่หรือเพิ่มเติมข้อมูลใหม่ได้ ตัวอย่างระบบสนับสนุน การตัดสินใจ เช่น การตัดสินใจเกี่ยวกับการรวมบริษัทและการหาบริษัทร่วม การขยายโรงงานใหม่ การทาผลิตภัณฑ์ใหม่ เป็นต้น ตัวอย่างระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เช่น ระบบโลจิสติกส์ ระบบ วางแผนทางการเงิน และระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่ม (Group decision support system) ที่เป็นระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาของกลุ่ม ภาพประกอบ 2.9 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ 5. ระบบสารสนเทศสาหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System: EIS) เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์ปัญหา ศึกษาแนวโน้ม การกาหนด นโยบาย การวางแผนกลยุทธ์ และการจัดตั้งงบประมาณ ระบบจะช่วยแก้ไขและวิเคราะห์ปัญหา แบบไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน คือมีความเสี่ยงเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยมีซอฟท์แวร์สาเร็จรูปใช้ในการ วิเคราะห์ตัดสินใจ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการวางแผนระยะยาวในการตัดสินใจถึงอนาคตขององค์กร ดังนั้น สารสนเทศที่ได้จากระบบสารสนเทศสาหรับผู้บริหารระดับสูง จะแตกต่างจากสารสนเทศ ของระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่พัฒนาขึ้นเพื่อผู้บริหารระดับอาวุโส (Senior managers) ระบบสนับสนุนผู้บริหารระดับสูงควรออกแบบให้ใช้งานง่ายและมีรูปแบบที่เข้าใจง่าย ข้อมูลที่นามาวิเคราะห์จะเป็นข้อมูลทั้งภายในองค์กร (จากการจัดเก็บในระบบประมวลผลรายการ และระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ) และภายนอกองค์กร เช่น ข้อมูลคู่แข่งขัน ข้อมูลเศรษฐกิจ ภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งระบบจะนาเสนอสารสนเทศที่ ได้จากการวิเคราะห์ในรูปของ รายงาน ตาราง และกราฟ สรุปสารสนเทศให้ผู้บริหารได้เข้าใจง่ายและประหยัดเวลา ภาพประกอบ 2.10 ตัวอย่างสารสนเทศของระบบสารสนเทศสาหรับผู้บริหารระดับสูง 6. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System: ES) ระบบผู้เชี่ยวชาญ จัดเป็นสาขาหนึ่งของ ปั ญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ที่มุ่งเน้นเพื่อเลียนแบบการทางานมนุษย์หรือเลียนแบบการทางานสมองของมนุษย์ ซึ่งระบบ ผู้เชี่ยวชาญเป็นความพยายามที่จะพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ให้ สามารถปฏิบัติงานได้เหมือนกับมนุษย์ เพื่อเป็นการรักษาและต่อยอดความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร โดย ในองค์กรธุรกิจนามาประยุกต์ใช้งานเพื่อการรักษาความรู้ของผู้เชี่ยวชาญที่อาจสูญเสีย หรือสูญ หายไป ช่วยขยายฐานความรู้ขององค์กรในการให้คาแนะนาแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน และช่วยลด ภาระงานประจาที่มนุษย์ไม่มีความจาเป็นต้องทา ภาพประกอบ 2.11 ระบบผู้เชีย่ วชาญเป็นสาขาของปัญญาประดิษฐ์ ระบบผู้เชี่ยวชาญ เป็ น ระบบที่รวบรวมและจัด เก็บความรู้และประสบการณ์ของ ผู้เชี่ยวชาญในสาขาใดสาขาหนึ่ง ใช้ในการวิเคราะห์เหตุผลจากคาถามที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป โดยอาศัย ระบบฐานความรู้ (Knowledge-base system) และกลไกการอนุมาน (Inference Engine) ช่วย ในการวินิจฉัย เพื่อหาข้อสรุปและคาแนะนา เช่น การรักษาโรคของแพทย์ ระบบวิเคราะห์สินเชื่อ การขุดเจาะน้ามัน การวางแผนการเงิน การจัดทาภาษี การวิเคราะห์ทางเคมี การผ่าตัด การซ่อม เครื่องยนต์ การพยากรณ์อากาศ เป็นต้น ภาพประกอบ 2.12 ตัวอย่างโปรแกรมระบบผู้เชี่ยวชาญ 7. ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) เป็นระบบที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศเพื่อนาไปสู่แหล่งที่ตั้งจริงได้ มีการนา ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์มาประยุกต์เพื่อเข้าถึงฐานข้อมูล ทาให้ทราบถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับตึก อาคาร พื้นที่รอบข้าง สภาพแวดล้อมของตัวจังหวัดและประเทศ รวมถึงในโลกด้วย นอกจากนี้ยัง ทาให้ทราบถึงสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับขอบเขต บริเวณที่มักเกิดอุทกภัย ระดับประชากร จานวน สถานีตารวจที่ตั้งตามจุดพื้นที่ต่าง ๆ การค้นหาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ เช่น เหมื องแร่ และ น้ามัน การกาหนดเส้นทางการขนส่งเพื่อกระจายสินค้า การศึกษาอาณาเขตเพื่อวางเส้นทางใน การสร้างถนน เป็นต้น ภาพประกอบ 2.13 ตัวอย่างแผนที่ใช้ในการแบ่งโซนอาศัย สร้างโดยใช้ระบบ GIS ภาพประกอบ 2.14 ตัวอย่างระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ 8. ระบบธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence System: BI) ระบบธุรกิจอัจฉริยะ เป็นระบบที่ใช้ในการพยากรณ์อนาคตของธุรกิจ ช่วยในการ ตัดสินใจวางแผนกลยุทธ์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของธุรกิจ โดยการใช้ข้อมูลขององค์กรที่มีคุณค่ามา ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในการดาเนินธุรกิจ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการเข้าถึงข้อมูล การวิเคราะห์ ข้อมูล และการค้นพบโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจ BI เป็นเหมือนฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่รวบรวมข้อมูลไว้ในลักษณะที่เอื้อต่อการนาไปใช้ จะมีเทคนิคที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ ดึงข้อมูลที่โดดเด่น ตัวอย่างเช่น ยอดขาย หรือ สิ น ค้ า จากหน่ ว ยใดหน่ ว ยหนึ่ ง มาแสดงผลโดยใช้ รู ป แบบการวิ เ คราะห์ ข้ อ มู ล และน าเสนอ สารสนเทศในรูปแบบของแดชบอร์ด (Dashboard) ที่มีความน่าสนใจและดูง่าย เพื่อให้ผู้บริหาร สามารถเข้าใจได้ทันทีและนาไปตัดสินใจได้เร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น ภาพประกอบ 2.15 ตัวอย่างการแสดงผลของระบบธุรกิจอัจฉริยะในรูปแบบของ Dashboard ปัจจุบันระบบธุรกิจอัจฉริยะถูกนามาใช้เพื่อเสริมสร้างความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน ทางธุ ร กิ จ มากขึ้ น ด้ ว ยการน าข้ อ มู ล จาก คลั ง ข้ อ มู ล (Data Warehouse) ที่ จั ด เก็ บ อยู่ ใ น ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ แล้วนาเครื่องมือย่าง เหมืองข้อมูล (Data Mining) มาวิเคราะห์ความ เป็นไปได้ทางธุรกิจ การวิเคราะห์คู่แข่งขัน เพื่อนาไปสู่การตัดสินใจด้านการลงทุนของผู้ บริหาร กล่าวคือ ซอฟต์แวร์ระบบธุรกิจอัจฉริยะสามารถเรียกดูข้อมูลที่ เป็นข้อมูลภายในองค์กร ซึ่งเก็บไว้ ในคลังข้อมูลขององค์กร เช่น ข้อมูลการขาย ข้อมูลการผลิต และข้อมูลของลูกค้า รวมไปถึงข้อมูล ภายนอกองค์กร เช่น ข้อมูลคู่แข่งขัน และข้อมูล สถิติที่มาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ จากนั้นก็นามา วิ เคราะห์ ท างสถิติ เพื่ อหาความสั ม พั น ธ์ ของข้ อมู ล โดยระบบธุ รกิจ อั จ ฉริย ะสามารถจ าลอง สถานการณ์ต่าง ๆ และแสดงข้อมูลในลักษณะภาพรวมหรือแบบเจาะลึกที่สามารถเข้าถึงข้อมูลเชิง ลึกในรายละเอียดแต่ละระดับได้ เพื่อค้นหาสาเหตุของปัญหา และนาไปสู่การแก้ไขปัญหาได้ตรง จุด เช่น การเข้าถึงข้อมูลภายในเขตพื้นที่ขาย การจัดกลุ่ม หมวดหมู่ การสุ่ม การทานายพฤติกรรม กลุ่มเป้าหมาย และการคาดคะเนเหตุการณ์ในอนาคตเพื่อค้นหาโอกาสใหม่ ๆ ในทางธุรกิจ ภาพประกอบ 2.16 กระบวนการทางานของระบบธุรกิจอัจฉริยะ 9. แอปพลิเคชันระดับองค์กร (Enterprise Application) เป็นระบบสารสนเทศที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาระดับองค์กรเป็นหลัก ด้วยการบูรณาการ กระบวนการทางธุรกิจให้มีการเชื่อมโยงถึงกันแบบทั่วทั้งองค์กร สนับสนุนการทางานทั้งแบบข้าม สายงานและการดาเนิ นงานข้ามชาติ เพื่อมุ่งเน้นในเรื่องการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ร่วมกัน ช่วยให้ การทางานสะดวก และมีประสิทธิภาพมากขึ้น จะใช้ฐานข้อมูลและข้อมูล ร่วมกัน ซึ่งจะคอย จัดการระบบสารสนเทศ โดยรวมเอา Business Process หลัก ๆ ขององค์กรเข้ามารวมไว้ เป็น หนึ่งเดียว และทาการเชื่อมโยงองค์กรกับ ผู้ผลิต คู่ค้า และลูกค้า ซึ่ง แอปพลิเคชันระดับ องค์กร ประกอบด้วย 4 ระบบ ได้แก่ 9.1 ระบบวางแผนทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning: ERP) เป็นระบบที่ช่วยในการเชื่อมโยงประสานงาน แบ่งปันและแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างแผนกต่างๆ ภายในองค์กร ทาให้ข้อมูลสอดคล้อง สามารถดาเนินงานได้อย่างราบรื่น มี การเอาข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้เก็บในฐานข้อมูล เพื่อนามาประมวลต่อเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ โดยใช้ ชุดซอฟต์แวร์สาเร็จแบบบูรณาการที่สนับสนุนกระบวนการทางธุรกิจขั้นพื้นฐานภายในองค์กร ทั้ง การผลิ ต การเงิ น การบั ญ ชี ทรัพ ยากรมนุ ษ ย์ การขาย และการบริการลู กค้า จึ ง มั กเรีย กว่ า โปรแกรมวางแผนทรัพ ยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning Software: ERP) เป็ น โปรแกรมที่เชื่อมโยงระบบสารสนเทศของฝ่ายงานต่าง ๆ เข้าด้วยกันเป็นโปรแกรมเดียวกัน ช่วย โอนถ่ายข้อมูลระหว่างระบบสารสนเทศต่าง ๆ เข้าด้วยกัน การถ่ายโอนนั้นจะทาผ่านฐานข้อมูล รวมขององค์ กร ช่ ว ยให้ การติ ด ต่ อสื่ อสารและแลกเปลี่ ย นข้อมู ล ท าได้ ส ะดวก รวดเร็ว และมี ประสิทธิภาพมากขึ้น รวมไปถึงการมีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น โดยจะมีการนาอินเทอร์เน็ต เข้ามามีบทบาทในห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) โดยเป็นแหล่งจาหน่ายสินค้าที่ตอบสนองความ ต้องการของผู้บริโภคโดยตรง โดยการผลิตตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งจะมีการติดต่อระหว่าง สายการผลิตไปจนถึงช่องทางจาหน่ายทั้งนี้เพื่อที่จะลดขั้นตอนในห่วงโซ่ อุปทาน จะทาให้ลด ค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิต ตัวอย่างบริษัทที่จาหน่ายโปรแกรมวางแผนทรัพยากรองค์กร เช่น บริษัท SAP บริษทั Oracle บริษัท SSA Global และบริษัท Microsoft เป็นต้น ภาพประกอบ 2.17 ระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร 9.2 ระบบจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management: SCM) การจัดการในส่วนของกระบวนการเคลื่อนย้ายสินค้าหรือบริการ จากผู้ผลิต (supplier) ไปยังลูกค้า (customer) เพื่อช่วยลดต้นทุนในการผลิต เพิ่มผลกาไร เพิ่มโอกาสในการ ออกสินค้าใหม่ได้เร็ว ทาให้ธุรกิจเติบโต และนาไปสู่ความยั่งยืน ของธุรกิจได้ โดยกระบวนการจะ เริ่มตั้งแต่ การจัดซื้อ (Procurement) การผลิต (Manufacturing) การจัดเก็บ (Storage) การจัด จาหน่าย (Distribution) และการขนส่ง (Transportation) ทุ ก กระบวนการที่ อ ยู่ ในห่ ว งโซ่ อุป ทานต้ องแบ่ ง ปั น ข้ อ มู ล กัน มี การท างาน ร่ ว มกั น เช่ น บริ ษั ท Wallmart จะส่ ง ข้ อ มู ล การขายสิ น ค้ า ของบริ ษั ท ให้ กั บ supplier เพื่ อที่ supplier จะส่งสินค้าได้อย่างทันเวลาและไม่ต้องมีการเก็บสินค้าไว้ที่คลังสินค้าเป็นจานวนมาก เกินไป ระบบดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแผนการสร้างความร่วมมือ (Collaborative Planning) เป็นการออกแบบการจัดการสินค้า เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ลดจานวนสินค้าคงเหลือใน คลังสินค้า ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้น รวมทั้งผ่านการจัดการสินค้าคงคลังโดย ผู้ ขาย (Vendor Managed Inventory: VMI) ซึ่ ง เป็ น การจั ดการสินค้าคงเหลื อ ลดต้ น ทุ นการ จัดเก็บสินค้าคงเหลือ ทาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ภาพประกอบ 2.18 ระบบจัดการห่วงโซ่อุปทาน การจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management) เป็นกลยุทธ์สาคัญที่นามาใช้ ในการจัดการห่วงโซ่อุปทาน ที่จะเพิ่มมูลค่าของการใช้ประโยชน์ของเวลาและสถานที่ โดยเป็นการ ผสมผสานของ ข้อมูล การขนส่ง การบริหารวัสดุคงคลัง การจัดการวัตถุดิบ และการบรรจุหีบห่อ เข้าด้วยกัน ซึ่งมีจุดเชื่อมต่อของเครือข่ายกระจายสินค้าต่าง ๆ ได้แก่ โรงงานผลิต คลังสินค้า ศูนย์ กระจายสินค้า จุดโอนย้ายสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านค้าปลีก 9.3 ระบบจั ด การลู ก ค้ า สั ม พั น ธ์ (Customer Relationship Management: CRM) เป็นการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ มั่นคงและ ภักดีกับสินค้าและบริการของเรา และมีลูกค้ารายใหม่เข้ามาใช้ซื้อสินค้าหรือบริการ จะมีการ ติดตามงานขาย ตรวจสอบงานบริการลูกค้า และวิเคราะห์พฤติกรรมการบริโภคของลูกค้า บาง องค์กรอาจมีระบบศูนย์บริการลูกค้า (Call-center) ที่สามารถใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต และระบบ โทรศัพท์มือถือ ในปัจจุบันระบบจัดการลูกค้าสัมพันธ์มีการนาบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เข้า มาใช้เพื่อจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งอาจแบ่งการบริการเป็น 3 ลักษณะ คือ 1) การบริการแบบพื้นฐาน (Foundational Service) ประกอบด้วยการบริการ ขั้นต่าที่ควรมี เช่น มีเว็บไซต์เพื่อรองรับกระบวนการปฏิบัติตามคาสั่งซื้อของลูกค้า จนกระทั่งส่ง มอบสินค้าถึงมือลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจสูงสุด 2) การบริ ก ารแบบศู น ย์ บ ริ ก ารลู ก ค้ า ( Customer-Centered Service) ประกอบด้วย การติดตามการสั่งซื้อ การกาหนดข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและการจัดผลิตภัณฑ์ตามที่ ลูกค้าต้องการให้มีความปลอดภัยและน่าเชื่อถือ ซึ่งถือเป็นส่วนสาคัญที่สุดที่มอบให้แก่ลูกค้า 3) การบริการแบบเพิ่ ม มู ล ค่า (Value-Added Service) เป็ น การน าบริการ มาตรฐานมาพัฒนาให้เกิดมูลค่า เพื่อนาไปสู่การบริการแบบพิเศษ เช่น การประมูลออนไลน์ การ ฝึ กอบรมหรือการเรีย นรู้แบบออนไลน์ ซึ่ ง จั ด เป็ น โปรแกรมหนึ่ ง ในการสร้า งความจงรัก ภักดี (Loyalty Program) ให้แก่ลูกค้า เพื่อมุ่งหวังให้ลูกค้าเลือกใช้บริการหรือซื้อสินค้าจากเราในโอกาส ต่อไป เช่น การสะสมแต้มให้ครบเพื่อมีสิทธิ์ได้รับสินค้าฟรี เป็นต้น ภาพประกอบ 2.19 ระบบจัดการลูกค้าสัมพันธ์ผา่ นทางเครือข่ายเคลื่อนที่ 9.4 ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) หรือ อีคอมเมิร์ช หมายถึง การ ทาธุรกรรมต่าง ๆ เช่น การซื้อขายสินค้า การโฆษณา การบริการ และการชาระเงิน เป็นต้น ผ่าน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุก ๆ ช่องทาง ทั้งทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบอีคอมเมิร์ชจะมีการทาธุรกรรมที่เกิดขึ้นทั้งในระดับองค์กรที่เป็นภาค ธุรกิจ ภาครัฐบาล และในระดับบุคคล จึงจัดแบ่งชนิดของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้ดังนี้ 1) ผู้ประกอบการ กับ ผู้บริโภค (Business to Consumer - B2C) คือ การค้า ระหว่างผู้ค้าโดยตรงถึงลูกค้าซึ่งก็คือผู้บริโภค เช่น ขายเสื้อผ้า ขายเครื่องสาอาง เป็นต้น 2) ผู้ ป ระกอบการ กับ ผู้ ป ระกอบการ (Business to Business – B2B) คือ การค้าระหว่างผู้ค้ากับลูกค้า ที่เป็นผู้ประกอบการ จะครอบคลุมถึงเรื่อง การขายส่ง การทาการ สั่งซื้อสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain Management) เป็นต้น 3) ผู้บริโภค กับ ผู้บริโภค (Consumer to Consumer - C2C) คือ การติดต่อ ระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคนั้น มีหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ เช่น เพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยน ข้อมูล ข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจจะทาการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสอง เป็นต้น 4) ผู้ประกอบการ กับ ภาครัฐ (Business to Government – B2G) คือ การ ประกอบธุรกิจระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ ที่ใช้กันมากก็คือเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ หรือที่เรียกว่า e-Government Procurement 5) ภาครั ฐ กั บ ประชาชน (Government to Consumer -G2C) เป็ น การ บริการของภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การคานวณและเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีแนวทางการจัดแบ่งประเภทธุรกรรมอีคอมเมิร์ช โดยพิจารณา ตามแพลตฟอร์มที่นามาใช้ ได้แก่ โมบายพาณิชย์ (Mobile Commerce) หรือ เอ็มคอมเมิร์ช (M- Commerce) ก็คือ การทาธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยใช้อุปกรณ์พกพาไร้ สาย และทาในสภาพแวดล้อมแบบเคลื่อนที่ ซึ่งก็คือบนโทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ตโฟนนั่นเอง และ ในปัจจุบันยังมีโซเชียลคอมเมิร์ช (Social Commerce) เช่น Line, Facebook, Instagram ซึ่ง เป็นช่องทางที่เข้าถึงง่ายที่สุด แต่อาจมีข้อเสียของ Social commerce คือใช้เวลาในการปิดการ ขายนนานกว่าช่องทางอื่น แต่ก็เป็นตลาดที่เริ่มต้นง่ายที่สุด ภาพประกอบ 2.20 ตัวอย่างระบบอีคอมเมิร์ชและโซเชียลคอมเมิร์ช การจัดการระบบสารสนเทศในองค์กร การจัดการ (Management) คือ การบริหารอย่างเป็นระบบ เป็นการกาหนดเป้าหมาย และทิศทางการจัดการขององค์กรนั้น ซึ่งต้องมีการวางแผน กาหนดการ และจัดการทรัพยากร ภายในองค์กร เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ขององค์กรนั้น ๆ องค์กรต่างๆมีความจาเป็นต้องมีการจัดการระบบสารสนเทศให้เป็นหมวดหมู่เพื่อให้ง่าย และสะดวกในการนาระบบสารสนเทศไปใช้ในการตัดสินใจ เนื่องจากระบบสารสนเทศอาศัยระบบ การจัดการฐานข้อมูล ( Database ) ซึ่งเป็นแหล่งรวมข้อมูลขององค์กร และทาหน้าที่สนับสนุน ข้อมูลให้กับหน่วยงานต่างๆภายในองค์กร ระบบข้อมูลสารสนเทศจาเป็นต้องกระจายให้กว้างโดย อาศัยการสื่อสาร ซึ่งจะอยู่ในรูปของอุปกรณ์ที่ใช้ในองค์กร โดยการสร้างเป็นเครือข่ายเฉพาะที่หรือ เครือข่ายท้องถิ่น ( Local Area Network: LAN) เพื่อให้ภายในองค์กรสามารถใช้ข้อมูล ต่าง ๆ ร่วมกันได้ในรูปของเครือข่ายเฉพาะพื้นที่ และอินทราเน็ต ( Intranet ) และสามารถส่งข้อมูล สื่อสารกับเครือข่ายระยะไกลได้ การจัดการระบบสารสนเทศ จะต้องคานึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ 1. ความสามารถในการจัดการข้อมูล (Data Manipulation) ระบบสารสนเทศที่ ดี ต้ อ งสามารถปรั บ ปรุ ง แก้ ไ ขและจั ด การข้ อ มู ล เพื่ อ ให้ เ ป็ น สารสนเทศที่พร้อมสาหรับนาไปใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ปกติข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการ ดาเนินธุรกิจจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ข้อมูลที่ถูกป้อนเข้าสู่ ระบบสารสนเทศ ควรที่จะ ได้รับการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนารูปแบบ เพื่อให้ความทันสมัยและเหมาะสมกับการใช้งานอยู่ เสมอ ซึ่งการจัดการสารสนเทศ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ สามารถนาไปใช้งานได้ อย่างมีประสิทธิภาพนั้น จะต้องมีขั้นตอนการจัดการที่ดีและเป็นระบบ โดยเริ่มตั้งแต่ การรวบรวม ข้ อ มู ล การตรวจสอบข้ อ มู ล การประมวลผลข้ อ มู ล และการดู แ ลรั ก ษา ซึ่ ง มี ร ายละเอี ย ด ดังต่อไปนี้ 1) การรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งมีจานวนมาก จะต้องมีการดาเนินการที่รอบคอบและเป็น ระบบ ข้อมูลบางอย่างต้องเก็บให้ทันเวลา เช่น การลงทะเบียนเรียนของนักเรียน ประวัตินักเรียน ผลการเรียนของนักเรียน การมาเรียน ความประพฤติ การยืมคื นหนังสือห้องสมุด ซึ่งใน ปัจจุบัน จะมีการนาเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดเก็บ โดยการนาข้อมูลที่กรอกลงในแบบ กรอกข้อมูลที่เป็นกระดาษมาป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือการอ่านข้อมูลจากบัตร ประจาตัวนักเรียนที่มีรหัสแท่งเพื่อลงเวลามาเรียน ใช้ในการยืมคื นหนังสือ การป้อนข้อมูลความ ประพฤติของนักเรียนเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ 2) การตรวจสอบข้อมูล เมื่อมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วจาเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูล เพื่อตรวจสอบ ความถูกต้อง ข้อมูลที่เก็บเข้าในระบบจะต้องมีความเชื่อถือได้ หากพบที่ผิดพลาดต้องแก้ไข ทั้งนี้ข้อมูลที่ถูกต้องจะส่งผลทาให้สารสนเทศที่ได้มีความถูกต้องน่าเชื่อถือ นาไปใช้งานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ 3) การประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ การจัดข้อมูลเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะของข้อมูล ข้อมู ลที่จัดเก็บจะต้องมีการ แบ่งแยกกลุ่ม เพื่อเตรียมไว้สาหรับการใช้งาน เช่น ข้อมูลนักเรียนในโรงเรียนมีการแบ่งเป็น แฟ้มทะเบียนประวัตินักเรียน และแฟ้มรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียน แฟ้มความประพฤตินักเรียน แฟ้มการมาเรียน ข้อมูลในห้องสมุด ก็มีการแบ่งเป็น แฟ้มหนังสือ แฟ้มสมาชิกห้องสมุด แฟ้มการ ยืมคืนหนังสือ ทั้งนี้การจัดข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ ก็เพื่อสะดวกในการค้นหา สืบค้น เพื่อนาข้อมูล มาใช้งาน หรือประมวลผลให้เป็นสารสนเทศต่าง ๆ ตามที่ต้องการแนวทางในการประมวลผล ข้อมูล มีดังนี้ - การจัดเรียงข้อมูล การจัดเรียงข้อมูลส่วนใหญ่จะมี ก ารจั ดเรียงตามล าดั บ ตัวเลข หรือตัวอักษร หรือเพื่อให้เรียกใช้งานได้ง่ายประหยัดเวลา ข้อมูลที่จัดเก็บไม่ว่าจะเป็น ระบบงานข้อมูลด้านใดก็ตาม จะมีการจัดเรียงข้อมูลไว้เพื่อช่วยในการค้นหาข้อมูลเสมอ เช่น การ จัดเรียงบัตรข้อมูลผู้แต่งหนังสือในตู้บัตรรายการของห้องสมุดตามลาดับตัวอักษร การจัดเรียงชื่อ คนในสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ การจัดเรียงรายชื่อนักเรียนตามเลขประจาตัว ตามหมายเลขห้อง ตามเลขที่ของนักเรียน เป็นต้น - การสรุปผล ข้อมูลที่ปริมาณมากๆ อาจมีความจาเป็นต้องสรุปผลหรือสร้าง รายงานย่อ เพื่อนาไปใช้ประโยชน์ ทั้งนี้การสรุปผลจะขึ้นอยู่กับความต้องการใช้สารสนเทศว่า ต้องการแบบได้ ข้อมูลที่สรุปก็จะสรุปตามความต้องการนั้นๆ เช่น จานวนนักเรียนแยกตามชั้น เรีย นแต่ ล ะชั้ น และเพศ สรุป การมาเรีย นของนั กเรีย นแต่ สั ป ดาห์ สรุป รายงานคะแนนความ ประพฤติของนักเรียน สรุปรายชื่อนักเรียนที่ยืมหนังสือเกินกาหนด - การคานวณ ข้อมูลบางส่วนเป็นข้อมูลตัวเลขที่สามารถนาไปคานวณเพื่อหา ผลลัพธ์บางอย่างได้ สารสนเทศบางอย่างจะต้องมีการคานวณข้อมูลเหล่านั้นด้วย เช่น การหาค่า ผลการเรียนเฉลี่ยของนักเรียนรายภาคเรียน หรือ รายปี - การค้นหาข้อมูล บางครั้งในการใช้ข้อมูลจะต้องมีการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ เท่านั้น ดังนั้นการประมวลผลจะต้องมีการออกแบบการจัดเก็บข้อมูลให้สามารถค้นหาข้อมูลได้ โดยจะต้องค้นได้ถูกต้อง แม่นยาและรวดเร็ว เช่นการค้นหาข้อมูลหนังสือของห้องสมุด 4) การดูแลรักษาสารสนเทศ การดูแลสารสนเทศเพื่อการใช้งาน ประกอบด้วย การเก็บรักษาข้อมูล เมื่อมีการ บันทึกข้อมูลไว้ในระบบแล้วจะต้องมีการดูแลเก็บรักษาข้อมูลเหล่านั้นไว้เพื่อมิให้สูญหาย เพราะถ้า ดูแลรักษาไม่ดี จะต้องมีการรวบรวมใหม่ซึ่ งหมายถึงการสูญเสียเวลาในการทางาน การดูแลรักษา ข้อมูลจะต้องมีการ การนาข้อมูลมาบันทึกเก็บไว้ในสื่อบันทึกต่างๆ เช่น แผ่นบันทึกข้อมูล และ ทาสาเนาข้อมูล เพื่อให้ใช้งานต่อไปได้ 5) การสื่อสาร ข้อมู ล ที่ จั ด เก็บ จะต้ องกระจายหรือส่ ง ต่ อไปยั งผู้ ใช้ง านที่ ห่า งไกลได้ ง่ าย การ สื่อสารข้อมูลจึงเป็นเรื่องสาคัญและมีบทบาทที่สาคัญยิ่งที่จะทาให้การส่งข่าวสารไปยังผู้ใช้ทาได้ รวดเร็วและทันเวลา เช่น การสืบค้นข้อมูลหนังสือห้องสมุดผ่านระบบเครือข่าย ระบบสอบถามผล การเรียน การรายงานผลการเรียนของนักเรียนผ่านระบบเครือข่าย เป็นต้น 2. ความปลอดภัยของขัอมูล (Data Security) ระบบสารสนเทศเป็นทรัพยากรที่สาคัญขององค์กร ถ้าสารสนเทศบางประเภทรั่วไหล ออกไปสู่บุคคลภายนอก โดยเฉพาะคู่แข่งขัน อาจทาให้เกิดความเสียโอกาสทางการแข่งขัน หรือ สร้างความเสียหายแก่ธุรกิจ ความสูญเสียที่เกิดขึ้นอาจจะเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือการ ก่อการร้ายต่อระบบ จะมีผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพและความเป็นอยู่ขององค์กร ดังนั้น จึงต้องมี การรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลหรือสารสนเทศ โดยการใช้นโยบายหรือระเบียบปฏิบัติ จึง ต้องมีระบบที่ดูแลรักษาข้อมูล ป้องกันไม่ให้บุคคลที่ไม่มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลมาใช้งานหรือแก้ไขข้อมูล ได้ ความไม่ปลอดภัยของข้อมูลมักมีสาเหตุจาก 1) ความผิดพลาดของระบบ ซึ่งอาจมีสาเหตุจากตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่ เครื่อง คอมพิ ว เตอร์เกิด ขัด ข้องในระหว่ า งการประมวลผลข้ อมู ล ซึ่ ง อาจท าให้ ข้อมู ล เกิด สู ญ เสี ย ได้ นอกจากนี้อาจมีสาเหตุจากโปรแกรมที่ใช้ในการประมวลผลยังมีข้อผิดพลาดบางจุดซึ่งอาจทาให้ ข้อมูลมีความผิดพลาดหรือสูญเสียได้เช่นกัน 2) อุบัติเหตุ เช่น ไฟไหม้ น้าท่วม ทาให้ข้อมูลที่เก็บอยู่สูญเสียได้ 3) บุคคลอาจทาให้ข้อมูลสูญเสีย เช่น มีการสั่งลบข้อมูล หรือบันทึกข้อมูลทับของเดิม หรือบุคคลอาจมีเจตนาร้ายต้องการทาให้ข้อมูลสูญเสีย เนื่องจากความโกรธแค้นจงใจทาลาย ข้อมูล 4) การขโมยข้อมูลซึ่งเป็นความลับเพื่อนาไปขายหรือให้คู่แข่ง ซึ่งสามารถทาได้ง่าย โดยแอบสาเนาลงบนแผ่นบันทึก 5) การกระทาทุจริตต่อข้อมูล เช่น มีการแก้ไขข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับจานวนเงิน เพื่อ ประโยชน์ของตัวเองหรือมีผู้รับจ้างให้กระทาการทุจริต 6) สาเหตุอื่น ๆ เช่น ความร้อนชื่น ฝุ่นละออง และสนามแม่เหล็ก 3. ความยืดหยุ่น (Flexibility) สภาพแวดล้ อ มในการด าเนิ น ธุ ร กิ จ หรื อ สถานการณ์ ก ารแข่ ง ขั น ทางการค้ า ที่ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ระบบสารสนเทศที่ดีต้องมีความสามารถในการปรับตัว เพื่อให้ สอดคล้องกับการใช้งานหรือปั?