วิจัยอ.เปีย โรงเรียนอัลวาร์ด : งานวิจัยในชั้นเรียน PDF
Document Details
Uploaded by Deleted User
โรงเรียนอนุบาลอัลบานีย์
2567
นางสาว นิสพู สือแม,นางสาว ฟาตอนะห์ สะแลแม,นางสาว มีรา แวโดยี,นางสาว อนิตา เจ๊ะและ,นางสาว อมานี การะพิทักษ์,นางสาว พุทธธิดา คงเมือง,นางสาว ฟาร์มี ทองออน
Tags
Related
- Qué ciencias se enseñan y cómo se hace en las aulas de educación infantil? La visión de los maestros en formación inicial PDF
- Research Trends on the Use of Augmented Reality Technology in Teaching English as a Foreign Language PDF
- Brain Development and Cognitive-Behavioural Brain Reserve - PDF
- KiTa Fachtexte: Kindliche Interessen beobachten und fördern PDF
- Monografía: El problema de comprensión y producción de textos en el Perú PDF
- Teaching Through Play - PDF
Summary
งานวิจัยในชั้นเรียนครั้งนี้ศึกษาผลของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะต่อความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเด็กอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลอัลวาร์ด ในปีการศึกษา 2567. ทำการเปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์ก่อนและหลังการจัดกิจกรรม เพื่อตรวจสอบผลกระทบ.
Full Transcript
**งานวิจัยในชั้นเรียน** **จัดทำโดย** **เรื่อง ผลการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะที่มีต่อความฉลาดทางอารามณ์ของเด็กปฐมวัย\ \ คณะผู้จัดทำ** **นางสาว นิสพู สือแม 651109560** **นางสาว ฟาตอนะห์ สะแลแม 651112830** **นางสาว มีรา แวโดยี 651112848** **นางสาว อนิตา เจ๊ะและ 651112864** **นางสาว อมานี การ...
**งานวิจัยในชั้นเรียน** **จัดทำโดย** **เรื่อง ผลการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะที่มีต่อความฉลาดทางอารามณ์ของเด็กปฐมวัย\ \ คณะผู้จัดทำ** **นางสาว นิสพู สือแม 651109560** **นางสาว ฟาตอนะห์ สะแลแม 651112830** **นางสาว มีรา แวโดยี 651112848** **นางสาว อนิตา เจ๊ะและ 651112864** **นางสาว อมานี การะพิทักษ์ 651113022** **นางสาว พุทธธิดา คงเมือง 651113048** **นางสาว ฟาร์มี ทองออน 651116004** **ปีการศึกษา 2567** **โรงเรียนอนุบาลอัลวาร์ด อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา\ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1** **ชื่อเรื่อง** ผลการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะที่มีต่อความฉลาดทางอารามณ์ของเด็กปฐมวัย**ผู้ทำวิจัย** นางสาวนิสพู สือแม\ นางสาว ฟาตอนะห์ สะแลแม 651112830 นางสาว มีรา แวโดยี 651112848 นางสาว อนิตา เจ๊ะและ 651112864 นางสาว อมานี การะพิทักษ์ 651113022 นางสาว พุทธธิดา คงเมือง 651113048 นางสาว ฟาร์มี ทองออน 651116004\ **โรงเรียน** โรงเรียนอนุบาลอัลวาร์ด**\ ปีที่ทำวิจัย** พุทธศักราช 2567\ **\ ** **บทคัดย่อ** การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กปฐมวัยอายุ 4-5 ปี จำนวน 16 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล ปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลสาเกวิทยาคม จังหวัดสงขลา ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 10 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย และแบบสังเกตความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า ก่อนการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะเด็กปฐมวัยมีคะแนนความฉลาดทางอารมณ์เฉลี่ยเท่ากับ 9.63 และหลังการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เด็กปฐมวัย มีคะแนนความฉลาดทางอารมณ์เฉลี่ยเท่ากับ 20.86 แสดงว่าหลังการทดลองการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เด็กปฐมวัยมีความฉลาดทางอารมณ์สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05\ **คำสำคัญ : กิจกกรมการเคลื่อนไหวและจังหวะความฉลาดทางอารมณ์** **\ ** **กิตติกรรมประกาศ** การทำวิทยานิพนธ์ฉบับนี้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยความกรุณาเป็นอย่างยิ่งจาก อาจารย์ฐิติรัตน์ รอดทอง ที่ได้กรุณาให้คำแนะนำและติดตามการทำวิทยานิพนธ์นี้อย่างใกล้ชิดเสมอมา นับตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งสำเร็จเรียบร้อยสมบูรณ์ ผู้วิจัยรู้สึกซาบซึ้งในความกรุณาของท่านเป็นอย่างยิ่ง ขอกราบขอบพระคุณคณาจารย์ประจำสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ทุกท่านที่ได้กรุณาประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ ทักษะและประสบการณ์แก่ผู้วิจัย จนทำให้ประสบความสำเร็จในการศึกษาขอขอบคุณเพื่อนนักศึกษาปริญญาตรีวิชาเอกการศึกษาปฐมวัย และทุกท่านที่มิได้กล่าวนามไว้ ณ ที่นี้ที่กรุณาให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน และเป็นกำลังใจในการทำวิทยานิพนธ์ด้วยดีตลอดมา นิสพู สือแม **สารบัญ** **เรื่อง หน้า\ ** บทคัดย่อ\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\... ก กิตติกรรมประกาศ\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\... ข สารบัญ\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\... ค สารบัญตาราง\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\..... จ สารบัญรูปภาพ\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\... จ **บทที่ 1 บทนำ**\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\... 1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\.... 1 วัตถุประสงค์ของการวิจัย\...\...\.........\...\...................................................\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\... 2 ขอบเขตการวิจัย\...\...\...\.......................\...\.............\.................................\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\.... 2 สมมุติฐานการวิจัย\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\... 2 นิยามศัพท์เฉพาะ............\............\...\...................................................\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\... 2 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\... 3 **บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง**\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\.... 4 ทฤษฎีการเรียนรู้\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\....................................\...\...\.........\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\.... 4 แนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\... 8 แบบฝึกทักษะ\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\.... 10 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\..... 18 กรอบแนวคิดในการวิจัย\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\..... 19 **บทที่ 3 วิธีดำเนินการ**\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\... 20 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\..... 20 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\... 20 การสร้างและการหาคุณภาพของเครื่องมือ\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\... 20 แบบแผนการทดลองและขั้นตอนการดำเนินการทดลอง\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\.... 20 การจัดกระทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\..... 21 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\.... 21 **บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล**\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\.... 22 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล\...\...\...\...........................\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\.... 22 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล..............................................\...\.......\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\.... 22 **บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ**\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\..... 24 วัตถุประสงค์ของการศึกษา\.................................................................\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\..... 24 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\... 24 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\... 24 การดำเนินการศึกษา\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\.... 24 สรุปผล\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\.... 25 อภิปรายผล\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\... 25 ข้อเสนอแนะ\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\..... 26 **บรรณานุกรม**\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\..... 27 **สารบัญตาราง** **ตาราง หน้า** ตารางที่4.1 ระดับพฤติกรรมความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยจำแนกเป็นจำนวน และร้อยละ\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\... 21 ตารางที่4.2 ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย จำแนกเป็นรายด้าน และรวมทุกด้าน\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\..... 24 ตารางที่4.3 ผลการเปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยจำแนกรายด้าน ก่อนและหลังการทดลอง\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\.... 24 ตารางที่4.4 ผลการเปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ด้านที่ 1 การรับรู้อารมณ์และความรู้สึกของตนเอง ก่อนและหลังการทดลอง\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\... 24 ตารางที่4.5 ผลการเปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย\ ด้านที่ 2 การรับรู้อารมณ์และความรู้สึกของผู้อื่น ก่อนและหลังการทดลอง\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\... 24 ตารางที่4.6 ผลการเปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย\ ด้านที่ 3 การอยู่ร่วมกับผู้อื่น ก่อนและหลังการทดลอง\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\.... 24 ตารางที่4.7 ผลการเปรียบเทียบคะแนนพฤติกกรมความทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย\ ก่อนและหลังการทดลอง\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\.... 24 ตารางที่4.8 การเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนพฤติกกรรมความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยระหว่างสัปดาห์เป็นรายคู่\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\.... 24 **สารบัญภาพ** **ภาพ หน้า** ภาพที่4.1 คะแนนพฤติกรรมความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยรายด้าน ก่อนและหลังการทดลอง\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\.... 19 ภาพที่4.2 แนวโน้มพฤติกรมความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ก่อนระหว่างและหลังการทดลอง\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\...\.....20 **\ ** **\ บทที่ 1** **บทนำ** **1.ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา** เนื่องจากสภาพความเป็นอยู่ในสังคนปัจจุบันที่เห็นไปด้วยการต่อสู้ดิ้นรนสภาวะเศรษฐกิจ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ ดังนั้นจึงควรมีการส่งเสริมและพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในเด็กปฐมวัย เพื่อให้เติบโตเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เพราะความฉลาดทางอารมณ์เป็นสิ่งที่สามารถเรียนรู้และพัฒนาให้เกิดขึ้นในตัวบุคคลได้ ซึ่ง โกลเเมน (Goleman 1995: 6-7) เมเยอร์และสโลเวย์ (Mayer and Salovey 1997) ได้กล่าวสอดคล้องกันว่า เด็กที่ประสบความสำเร็จในชีวิตไม่ใช่เด็กที่มีความฉลาคทางสติปัญญาเพียงอย่างเดียว เเต่เด็กนั้นต้องมีความฉลาดทางอารมณ์ด้วยการที่เด็กรู้จักอารมณ์ของตนเองและเรียนรู้ที่จะจัดการกับอารมณ์ของตนเอง ไม่เก็บกด มีการระบายออกในทางที่เหมาะสม รู้จักรอคอย มีวินัย และรู้จักควบคุมตนเอง สามารถเข้าใจผู้อื่น รู้เขารู้เราเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เด็กเหล่านี้จะสามารถสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นในสังคม และอยู่ใด้อย่างมึความสุข พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 81 ระบุไว้ว่า รัฐต้องจัดการศึกษาอบรม และสนับสนุน ให้ผู้เรียนเกิดความรู้คู่คุณธรรม ซึ่งการปฏิรูปการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญอย่าย่างหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ สถานศึกษาต้องพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพและมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ คือเป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข เด็กปฐมวัยจึงเป็นวัยที่ต้องได้รับการพัฒนาในทุกค้านให้รวดเร็วที่สุด หากได้รับการพัฒนาอย่างถูกต้องเหมาะสมตามหลักการจะส่งผลต่อบุคลิกภาพ เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ความฉลาดทางอารมณ์นับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญจำเป็นต้องปลูกฝังและฝึกฝนให้เกิดกับเด็กปฐมวัย ทั้งนี้ อุสา สุทธิสาคร (2543: 16) ให้เหตุผลว่าความฉลาคทางอารมณ์เป็นสิ่งที่เรียนรู้และฝึกฝนได้ สามารถพัฒนาในวัยเด็กได้เหมือนเชาว์ปัญญาเช่นเดียวกับ คมเพชรฉัตรศุภกุล (2542: 32) กล่าวว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่ควรจะเน้นการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ให้แก่เด็กปฐมวัยเพราะความฉลาคทางอารมณ์สามารถนำมาสอนและพัฒนาได้ ส่วนเทอคศักดิ์ เคชคง(2544: 9) กล่าวว่า คนเราสามารถฝึกฝนอบรมเพิ่มพูนทักษะความฉลาดทางอารมณ์ได้ นอกจากนี้ ภานุ โคตรพิลา (2545: 20) กล่าวไว้เช่นกันว่า ความฉลาดทางอารมณ์เป็นสิ่งที่สามารถฝึกฝนให้เกิดกับเด็กได้ โดยผู้เกี่ยวข้องจะต้องฝึกให้เด็กรู้จักตนเอง มีความเข้าใจตนเอง สามารถควบคุมและแสดงอารมณ์ใด้อย่างเหมาะสม มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี มีทักษะในการติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น อมรวิชช์ นาครทรรพ (2543: 123) ให้ความสำคัญของการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ว่า ความฉลาคทางอารมณ์เป็นสิ่งสำคัญและไม่ใช่สิ่งที่ฟ้าประทานเหมือนเชาว์ปัญญา แต่ครูและพ่อแม่สามามารถช่วยพัฒนาให้เด็กได้ และ สุภัททา ปิณฑะแพทย์ (2542: 160) กล่าวว่าอารมณ์เป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ให้เกิดไม่ได้แต่สามารถควบคุมไม่ให้แสดงพฤติกรรมที่เกิดจากอารมณ์ออกมาให้เห็นได้ โดยเฉพาะพฤติกรรมในค้านลบของเด็กปฐมวัย เพราะเด็กวัยนี้ยังไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ เมื่อโกรธ อายไม่พอใจ จะแสดงออกทันทีบางครั้งเป็นพฤติกรรมที่ก้าวร้าว เด็กวัยนี้ยังยึดตนเองเป็นศูนย์กลางไม่ยอมรับความรู้สึกของผู้อื่นไม่รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา ไม่สามารถที่จะปรับตัวเมื่อเล่นกับเพื่อนได้\ การที่จะพัฒนาความฉลาดทางการมณ์ให้เกิดขึ้นในตึกปฐมขั้นนั้นสามารถทำให้หายวิธีซึ่งครูมีบทบาทสำคัญในการปลูกฝังความฉลาคทางอารมณ์ให้กับเด็กโดยการจัดประสบการณ์ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ สำหรับกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะเป็นกิจกรรมการเรียนรู้กิจกรรมหนึ่งของเด็กปฐมวัย ประสบการณ์จากกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะจะช่วยให้เด็กเรียนรู้การรอคอยช่วยหรือผู้อื่น รู้จักเคารพกฎกติกา ซึ่งกรณี คุรุรัตนะ กล่าวว่า เด็กปฐมวัยควรได้เรียนรู้ระเบียบวินัยต่างๆ โดยการเล่นและทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนเช่นเดียวกับ\ วราภรณ์ รักวิจัย (253535: 127)กล่าวไว้ว่า การเล่นและการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนสอนให้เด็กรู้จักเหตุผล รู้จักให้อภัยกัน ฝึกให้รู้จักความสามัคคี รู้จักเสียละ รู้จักการรอคอย มีความอดทน สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้เป็นอย่างดี และอยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุข ซึ่งสอดคล้องกับเยาวพา เคชะคุปต์ (2542:33) ได้กล่าวไว้ว่า กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัยเป็นกิจกรรมที่พัฒนาร่างกายและจิตใจให้มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อจังหวะโดยการแสดงท่าทางตามจินตนาการอย่างอิสระ สามารถสำรวจและเข้าใจในการทำงานของอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ ดังนั้น กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเด็ก โดยเฉพาะสภาพความเป็นอยู่ในสังคมปัจจุบันนั้นเต็มไปด้วยการต่อสู้ดิ้นรนควบคู่ไปกับความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ การส่งเสริมหรือการฝึกฝนการเคลื่อนไหวเพื่อพัฒนาร่างกายของเด็กควบคู่ไปกับกิจกรรมด้านความฉลาคทางอารมณ์จะช่วยให้เด็กได้ระบายความดึงเครียดทางจิตใจ รู้สึกผ่อนคลาย และสามารถพัฒนาการปรับตัวทางด้านสังคมโดยเด็กจะเล่นรวมกันเป็นกลุ่มกับเพื่อน ในระหว่างที่เล่นหรือทำกิจกรรม เด็กต้องช่วยเหลือเอื้ออาทร ปลอบโยนและให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ทำให้เด็กได้พัฒนาจิตใจ เป็นการปลูกฝังให้มีจิตใจที่ดีงามยิ่งขึ้น\ จากความสำคัญดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นจะเห็นได้ว่า ความฉลาดทางทางอารมณ์มีความสำคัญช่วยให้เด็กปฐมวัยเติบโตเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ จึงควรมีการส่งเสริมและพัฒนาให้เกิดขึ้นในตัวเด็กตั้งแต่ระดับปฐมวัยศึกษา โดยการจัดประสบการณ์ สถานการณ์ รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ ที่เหมาะสมและเอื้อต่อการเรียนรู้ กระตุ้นให้เด็กได้รู้จักควบคุมอารมณ์ตนเอง เข้าใจอารมณ์และความรู้สึกของคนอื่น ตลอดจนอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะทำการศึกษาว่าเมื่อนำการเคลื่อนไหวและจังหวะมาใช้ในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยแล้วจะมีผลช่วยให้เด็กมีความฉลาดทางอารมณ์สูงขึ้นหรือไม่ และมากน้อยเพียงใด เพื่อได้แนวทางและข้อเสนอแนะให้ครูผู้สอนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้นำผลจากการศึกษาข้อเสนอแนะให้ครูผู้สอนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการตอนได้นำผลจากการศึกษาไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมความฉลาคทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยต่อไป **2.วัตถุประสงค์ของการวิจัย** **3.ขอบเขตการวิจัย** ประชากร คือ เด็กปฐมวัยอายุ4-5ปี ศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา2567 จำนวน 120 คน จำนวนห้อง 3 ห้องเรียน โรงเรียนอนุบาลอัลวาร์ด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต1 จังหวัดสงขลา เด็กปฐมวัย อายุ4-5ปี ศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567จำนวน 30 คน โรงเรียนอนุบาลอัลวาร์ด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 จังหวัด สงขลา **3.3เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย\ **เนื้อหาที่ผู้วิจัยนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในครั้งนี้คือ กิจกกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะกิจกรรมกลุ่ม โดยมีการการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย มีทั้งหมด 2 แผน และระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมทั้งหมด 2 สัปดาห์ **3.4 ระยะเวลาในการวิจัย** การศึกษาครั้งนี้ใช้เวลาในการทดลอง 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 20 นาที **3.5 ตัวแปรที่ศึกษา** **3.5.1 ตัวแปรอิสระ** คือ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ **3.5.2 ตัวแปรตาม** คือ ความฉลาดทางอารมณ์ **4. สมมุติฐานการวิจัย** เด็กปฐมวัยที่ได้รับการเคลื่อนไหวและจังหวะมีความฉลาดทางอารมณ์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 **\ 5.คำนิยามศัพท์เฉพาะ** **5.1 เด็กปฐมวัย** หมายถึง เด็กที่มีอายุระหว่าง 4-5 ปี ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2\ ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนอนุบาลอัลวาร์ด สำนักงานเขตพื้นที่สงขลา เขต 1 จังหวัดสงขลา **5.2 กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ** หมายถึง การจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างอิสระในลักษณะต่างๆ ดังต่อไปนี้ **5.2.1 การเคลื่อนไหวพื้นฐาน** คือ การคลาน เดิน วิ่ง กระโดด เขย่ง ควบม้าก้าวกระโดด และสไลด์ **5.2.2 การเคลื่อนไหวตามบรรยาย** คือ การบรรยายเรื่องราวให้เด็กเกิดจินตนาการ ถ่ายทอด อารมณ์และความรู้สึกผ่านคำพูด สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง และเคลื่อนไหวร่างกายตอบสนองคำบรรยาย **5.2.3 การเคลื่อนไหวเลียนแบบ** คือ การให้เด็กแสดงท่าทางเลียนแบบอารมณ์ความรู้สึก ท่าทางการเคลื่อนไหวของผู้อื่น และสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวตามความรู้สึกของเด็ก **5.2.4 การเคลื่อนไหวเป็นผู้นำผู้ตาม** คือ การให้เด็กหมุนเวียนเป็นผู้นำ ผู้ตามแสดงท่าทางการเคลื่อนไหวตามอารมณ์และความรู้สึกของตนเองให้ผู้อื่นทำตาม และแสดงท่าทางการเคลื่อนไหวตามอารมณ์และความรู้สึกตามผู้อื่น **5.2.5 การเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์** คือ การให้เด็กเคลื่อนไหวแสดงอารมณ์ความรู้สึก ประกอบอุปกรณ์อย่างอิสระ โดยกระตุ้นด้วยคำถามปลายเปิด เพื่อให้เด็กคิดท่าทางการเคลื่อนไหวอย่างสร้างสรรค์\ **5.3 ความฉลาดทางอารมณ์** หมายถึง ความสามารถในการรับรู้อารมณ์และความรู้สึกของตนเอง การรับรู้อารมณ์และความรู้สึกของผู้อื่น และการอยู่ร่วมกับผู้อื่น โดยแยกเป็นรายละเอียดแต่ละด้าน ดังนี้ **5.3.1 ด้านการรับรู้อารมณ์และความรู้สึกของตนเอง** ประกอบด้วย\ 1) ร่าเริง ยิ้มแย้ม แจ่มใส ขณะเล่นกับเพื่อน\ 2) บอกความต้องการของตนเองให้ผู้อื่นรู้\ 3) พูดหรือแสดงท่าทางปฏิเสธเมื่อผู้อื่นชวนเล่นในสิ่งที่ไม่ชอบ\ 4) ยิ้มรับหรือปรบมือดีใจเมื่อได้รับคำชมเชย\ 5) รอคอยได้เมื่อเห็นเพื่อนกำลังเล่นของเล่นที่ตนเองต้องการจะเล่น **5.3.2 ด้านการรับรู้อารมณ์และความรู้สึกของผู้อื่น** ประกอบด้วย 1\) ยิ้มหรือปรบมือ แสดงความชื่นชมในความสำเร็จของผู้อื่น 2\) หยุคการกระทำเมื่อเห็นสีหน้าไม่พอใจของผู้อื่น 3\) เข้าไปช่วยเหลือหรือพูดปลอบใจเมื่อเห็นเพื่อนเสียใจหรือทุกข์ร้อน 4\) ไม่หยิบสิ่งของผู้อื่นมาเป็นของตนเองเมื่อมีโอกาส 5\) เข้าไปร่วมเล่นด้วยเมื่อเห็นเพื่อนเล่นสนุก **5.3.3 ด้านการอยู่ร่วมกับผู้อื่น** ประกอบด้วย 1\) แข่งปันสิ่งของหรืออุปกรณ์ให้ผู้อื่น 2\) พูดหรือแสดงท่าทางชักชวนผู้อื่นมาร่วมเล่นหรือทำกิจกรรมด้วยกัน 3\) พูดหรือแสดงท่าทางขอโทษผู้อื่นเมื่อตนเองทำผิด 4\) พูดหรือแสดงท่าทางขอบคุณเมื่อผู้อื่นให้ของหรือทำอะไรให้ตนเอง 5\) ปฏิบัติตามกติกาที่ตกลงไว้ **5.4 แผนการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย** หมายถึง แผนการจัดกิจกรรมที่มุ่งส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้แสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกที่มีต่อตนเองและผู้อื่น ผ่านคำพูด การกระทำ สีหน้า ท่าทาง และน้ำเสียง ในลักษณะการเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย การเคลื่อนไหวเลียนแบบ การเคลื่อนไหวเป็นผู้นำผู้ตาม และการเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์\ **6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ** 1.เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ด้านการรับรู้อารมณ์และความรู้สึกของตนเอง การรับรู้อารมณ์และความรู้สึกของผู้อื่น และการอยู่ร่วมกับผู้อื่น\ 2.เพื่อให้ครูได้แนวทางในการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ **บทที่ 2** **วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง** การวิจัยเรื่อง ผลการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นแนวทางในการทำงาน วิจัยให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยมีรายละเอียดตามหัวข้อดังต่อไปนี้\ **1. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ**\ 1.1 ความหมายของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ\ 1.2 ความสำคัญของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ\ 1.3 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ\ 1.4 องค์ประกอบของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ\ 1.5 ประเภทของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ\ 1.6 หลักการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ\ 1.7 บทบาทครูในการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ\ 1.8 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ\ **2. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความฉลาดทางอารมณ์**\ 2.1 ความหมายของความฉลาดทางอารมณ์\ 2.2 ความสำคัญของความฉลาดทางอารมณ์\ 2.3 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความฉลาดทางอารมณ์\ 2.4 ลักษณะของเด็กที่มีความฉลาดทางอารมณ์\ 2.5 แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์\ 2.6 การประเมินความฉลาดทางอารมณ์\ 2.7 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความฉลาดทางอารมณ์ **1. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ**\ **1.1 ความหมายของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ**\ กิจกรรมเคลื่อนไหวและอังหวะเป็นกิจกรรมที่ใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกายประสานสัมพันธ์กันซึ่งเป็นผลจากการที่เด็กได้รับประสบการณ์ ฝึกเคลื่อนไหวร่างกายและจังหวะ กิจกรรมนี้อาจจัดเป็นกิจกรรมเดี่ยวหรือผสมผสานกับเสียงเพลง ดนตรี ซึ่งได้มีผู้ให้ความหมายของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะไว้ดังนี้\ คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2538: 9) ได้ให้ความหมายของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะว่าหมายถึง กิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ ซึ่งจังหวะและคนตรีที่ใช้ประกอบการเคลื่อนไหวอาจใช้ เสียงตบมือ เสียงเพลงเสียงเคาะไม้ เคาะเหล็ก รำมะนา\ อัจฉราภรณ์ สุดจิตต์ (2540: 28) กล่าวว่า กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะเป็นกิจกรรมที่เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายอย่างอิสระตามเสียงเพลง โดยการเคลื่อนไหวนั้นจะฝึกให้เกิดการควบคุมกล้ามเนื้อ การมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อคนตรีและจังหวะ เพื่อสร้างความสามารถในการเคลื่อนไหวของตนเองและเพื่อความสุขจากการที่ได้มีโอกาสแสดงออก\ เยาวพา เดชะคุปต์ (2542: 32) ได้ให้ความหมายของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ว่า หมายถึง กิจกรรมที่ร่างกายและจิตใจมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อคนตรี เพลง จังหวะ หรืออุปกรณ์ต่างๆ โดยแสดงท่าทางตามจินตนาการอย่างอิสระและสร้างสรรค์ สามารถสำรวจเข้าใจการทำงานของอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย\ วรรณวิมล อกนิษฐ์ (2546: 12) กล่าวว่า กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หมายถึง กิจกรรมที่เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างอิสระ ตามเสียงเพลง ตอบสนองต่อคนตรีเสียงเพลงและจังหวะทำให้มีความสุข สนุกสนานในการแสดงออก\ สรุปได้ว่า กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หมายถึง การจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะและเสียงเพลง หรืออุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้เกิดความสุข และสนุกสนานจากการที่ได้มีโอกาสแสดงออก\ **1.2 ความสำคัญของกิจกรรมเคลื่อนไหวและอังหวะ**\ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับมนุษย์ในสังคมปัจจุบันซึ่งเต็มไปด้วยการต่อสู้ดิ้นรนควบคู่ไปกับความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่เพราะจะช่วยให้บุคคลได้ระบายความตึงเครียดของร่างกาย จิตใจ และส่งเสริมพัฒนาการทางสังคมการอยู่ร่วมกับผู้อื่น จึงมีผู้ให้ความสำคัญของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะไว้ดังนี้ ชมรมศิลป์วัฒนธรรมเพื่อเยาวชน \"มายา\" (2531: 7 อ้างถึงใน วรรณวิมล อกนิษฐ์ 2546: 12) ได้ให้ความสำคัญของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะว่าช่วยส่งเสริมการเคลื่อนไหวเกิดความคล่องแคล่วว่องไว ความแข็งแรง และควบคุมอวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้ดี รวมทั้ง ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ อัจฉราภรณ์ สุดจิตต์ (2540: 14) กล่าวว่า กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะมีความสำคัญ คือ ส่งเสริมทักษะทางกลไกของร่างกาย ซึ่งทักษะทางกลไกนี้เป็นหัวใจสำคัญของการเรียนรู้ การเคลื่อนไหวและจังหวะจะช่วยสร้างประสบการณ์ในการพัฒนาศักยภาพทางกลไกแก่เด็กได้อย่างมากมาย เพราะการเคลื่อนไหวเริ่มตั้งแต่แรกเกิด เป็นการเคลื่อนไหวเพื่อการค้นพบ สิ่งแวดล้อมใหม่ การเคลื่อนไหวของเด็กแต่ละครั้งเป็นการสะสมประสบการณ์ขั้นพื้นฐานให้ได้มาซึ่งความรู้ อันจะนำไปใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป เยาวพา เดชะคุปต์ (2542: 34) ได้กล่าวถึงกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะว่ามีความสำคัญต่อพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด กล้าแสดงออกตามความคิด อารมณ์ต่างๆ และพัฒนาการค้านสติปัญญาในการใช้จินตนาการของตนเองในการเคลื่อนไหว และการคิด กิจกรรมร่วมกับเพื่อนอีกด้วย แพง ชินพงศ์ (2548: 26) กล่าวถึงความสำคัญของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะว่าสามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาของเด็ก โดยตรง เวลาที่เด็กได้ทำ กิจกรรมเคลื่อนไหวประกอบคนตรีที่มีจังหวะสนุกสนานเร้าใจ สมองจะหลั่งสารแห่งความสุขออกมา ซึ่งช่วยพัฒนาความฉลาดทางปัญญา (IQ) ในส่วนความจำและเวลาที่เด็กทำกิจกรรมเคลื่อนไหวประกอบดนตรีร่วมกับผู้อื่นจะช่วยให้เด็กมีทักษะทางสังคมรู้จักใช้พื้นที่ร่วมกับผู้อื่น รู้จักแบ่งปัน ร่วมมือช่วยเหลือกัน มีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าแสดงออก ได้ระบายอารมณ์ และเปิดเผยความรู้สึก ซึ่งเป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคม และเป็นวิธีพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์วิธีหนึ่ง\ สรุปได้ว่า กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะมีความสำคัญต่อเด็กปฐมวัย เพราะเป็นกิจกรรมที่เด็กได้มีโอกาสเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างเป็นอิสระหรือตามจังหวะเป็นการ พัฒนาทักษะกลไกของร่างกายรวมถึงการควบคุมอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย และการเคลื่อนไหวแต่ละครั้งก่อให้เกิดพื้นฐานและการเรียนรู้ทักษะทางสังคมด้านกล้าแสดงออก แบ่งปัน ช่วยเหลือกันและเปิดเผยความรู้สึกซึ่งเป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม และเป็นวิธีการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยอีกด้วย\ **1.3 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ** ทฤษฎีที่ใช้เป็นแนวคิดในการศึกษาครั้งนี้ คือ 1.3.1 ทฤษฎีการเรียนรู้ของ ธอร์นไดค์ (Thorndike\'s Law of Learning) ซึ่งเน้นการเรียนรู้ที่สำคัญด้วยกฎ 3 ประการ (พิมพิกา คงรุ่งเรือง 2542: 28) ได้แก่\ 1) กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมี ความพร้อมทั้งกายและใจเกี่ยวกับร่างกาย (Physical) เพื่อเป็นการเตรียมการใช้กล้ามเนื้อและระบบประสาทให้สัมพันธ์กัน (Co-ordination) และเพื่อเป็นการฝึกทักษะเกี่ยวกับจิตใจ (Mental) เป็นความพร้อมทางด้านสมองหรือสติปัญญาและควรคำนึงถึงความพร้อมในวัยต่างๆ ด้วยว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เมื่อเด็กมีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ จะส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี 2\) กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) เด็กจะเรียนรู้จากการกระทำซ้ำๆกัน เกิดทักษะในแบบต่างๆ ซึ่งทำให้ระบบประสาทและกล้ามเนื้อทำงานสัมพันธ์กันดี 3\) กฎแห่งผล (Law of Effects) เด็กจะเรียนรู้ได้ดีขึ้น ถ้าผลของการกระทำนั้นเป็นไปในทางบวกหรือทางที่ดี ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดความสนใจ มีความสนุกสนานและความพอใจ 1.3.2 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจย์ (Piaget\'s CognitiveDevelopment Theory)\ เพียเจย์ ถือว่า การให้เด็กได้สัมผัสวัตถุต่างๆ จะส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัยซึ่งอาศัยการรับรู้เป็นสื่อในการกระตุ้นความคิดของเด็กจำเป็นต้องให้เด็กได้มีโอกาสเคลื่อนไหวและสัมผัสสิ่งต่างๆ ทฤษฎีนี้เป็นประโยชน์ในการจัดเนื้อหาและกิจกรรมทางการเคลื่อนไหว โดยให้เด็กได้สัมผัสกับวัตถุต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเด็กซึ่งจะช่วยให้เด็กเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ (คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 2528: 69)\ **1.4 องค์ประกอบของกิจกรรมเคลื่อนไหวและอังหวะ**\ ดุษฎี บริษัตร ณ อยุธยา (2535: 12-13 อ้างถึงใน เบญจมาศ หาญกล้า 2548: 32-33)\ ได้เสนอองค์ประกอบในการจัดกิจกรรมพื้นฐานการเคลื่อนไหวและจังหวะ ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญหลายประการ ดังนี้ 1\. การรู้จักส่วนต่างๆของร่างกาย\ การเตรียมร่างกายให้พร้อมทุกส่วน เพื่อให้มีความคล่องถือว่าเป็นการปูพื้นฐานเบื้องต้นที่สำคัญอย่างหนึ่ง เด็กจะต้องฝึกหัดให้เข้าใจถึงลักษณะสภาพและการใช้ร่างกายของตนเอง ว่าตนสามารถเคลื่อนไหวแต่ละส่วนได้อย่างไร ร่างกายส่วนไหนเรียกว่าอะไร อยู่ตรงไหน มีขนาด สั้นยาว เล็กใหญ่ แคบกว้างอย่างไร เช่น โค้ง งอ บิด เบี้ยว เอียงหรือขยับเบื้อนส่วนใดบ้าง การฝึกหัดเช่นนี้เป็นการเตรียมเด็กให้พร้อมที่จะเคลื่อนไหวได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2\. บริเวณและเนื้อที่\ การเคลื่อนไหวนั้นเป็นการขยับเขยื้อนร่างกายบางส่วนหรือการเคลื่อนตัวย่อมต้องการบริเวณและเนื้อที่ที่จะเคลื่อนไหวจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งอยู่ตลอดเวลา บริเวณเนื้อที่จึงเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการเคลื่อนไหวร่างกาย ในการฝึกควรให้เด็กทดลองหาเนื้อที่รอบๆ ตัวในอิริยาบถต่างๆ กัน เช่น ยืนกางขาเล็กน้อย กางขากว้างมากขึ้น หรือนั่งในหลายลักษณะ เป็นต้น 3\. ระดับของการเคลื่อนไหว\ การเคลื่อนที่ทุกชนิด หากไม่มีการเปลี่ยนระดับ ความสวยงาม ความสมดุล ความเหมาะสม และท่าทางที่หลากหลายจะไม่เกิดขึ้น จะปรากฏแต่ความจำเจซ้ำซาก ความแข็งกระค้างไม่น่าดู การเปลี่ยนระดับทำให้เกิดท่าทางและการเคลื่อนไหวที่แตกต่างกันออกไป การให้เด็กเคลื่อนตัวทั้ง 3 ระดับ คือ สูง กลาง และต่ำ นั้นควรเริ่มปูพื้นฐานโดยใช้เทคนิควิธีต่างๆ เช่นการสมมติให้เป็นสัตว์ประเภทต่างๆ 4\. ทิศทางของการเคลื่อนไหว\ การเคลื่อนไหวย่อมมีทิศทางไปข้างหน้า ไปข้างหลัง ไปข้างๆ หรือเคลื่อนตัวได้รอบทิศ ถ้าไม่ได้รับการฝึกเด็กจะเคลื่อนตัวไปข้างหน้าเพียงอย่างเดียว การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวสำหรับเด็ก โดยให้เด็กเปลี่ยนทิศทางต่างๆ ตลอดเวลาจะช่วยให้ทุกคนเคลื่อนตัวไปโดยอิสระด้วยความเชื่อมั่นเป็นตัวของตัวเอง 5.การฝึกจังหวะ\ การทำจังหวะด้วยวิธีต่างๆ อาจเป็นการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง การเปล่งเสียงออกมาจากลำคอ การทำให้ร่างกายส่วนต่างๆ เกิดเสียง แบ่งเป็น 4 วิธีดังนี้ 5.1 การทำจังหวะด้วยการใช้ร่างกายส่วนต่างๆ เริ่มต้นด้วยการให้ขยับเขยื้อนร่างกายตามจังหวะ เช่น พยักหน้า โค้งศีรษะ ขยับปลายจมูก เป่าแก้ม ขยับศอก ฯลฯ และฝึกให้ใช้ร่างกายที่ทำให้เกิดเสียงดังชัดเจนสี่แบบ คือ ตบมือ ตบตัก ตบเท้า ดีดมือ ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถให้เสียงประกอบจังหวะได้ดังชัดเจนกว่าส่วนอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีการแตะสัมผัสร่างกายล้วนๆหรือสลับกับทำร่างกายให้เกิดเสียง โดยให้เด็กคิดเองหรือช่วยกันคิด\ 5.2 การทำจังหวะด้วยการเปล่งเสียง คือ การใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการทำจังหวะ อาจเป็นพยางค์โดดที่มีความหมาย เช่น ตุ้ม ตุ๊บป่อง ฯลฯ หรือเป็นคำที่มีความหมายอาจเป็นชื่อคน สัตว์ สิ่งของ เช่น เด็กออกเสียงคำว่า มยุรี มยุรี ก็เกิดเป็นจังหวะขึ้นมาในตัวของมันเอง 5.3 การทำจังหวะด้วยการใช้เครื่องเคาะจังหวะทุกชนิด เคาะ ดี ขยับ เขย่า ใช้ทำจังหวะได้ ให้เด็กได้สำรวจ และหาเสียงจากเครื่องเคาะให้ได้เสียงมากที่สุด 5.4 การทำจังหวะด้วยการเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบหรือเคลื่อนไหวที่ไม่มีเสียงประกอบ เช่น การก้าวเท้าพร้อมปรบมือ การย่อเข่าหรือการโยกตัวสลับขวาซ้าย ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ทำช้ำๆ กันก็จะใช้เป็นจังหวะได้ จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบ 5 ประการ คือ การรู้จักส่วนต่างๆ ของร่างกาย การใช้บริเวณและเนื้อที่ ระดับ ทิศทาง และการฝึกจังหวะ มีส่วนสำคัญเป็นแนวทางส่งเสริมการเคลื่อนไหวและ จังหวะช่วยให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ เพราะองค์ประกอบต่างๆ ทำให้ทราบว่าร่างกายสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างไร ทำให้เกิดจินตนาคารและแสดงออกทางการเคลื่อนไหว **1.5 ประเภทของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ\ ** คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2546: 60) กล่าวถึงประเภทของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ\ ไว้ดังนี้\ 1. การเคลื่อนไหวพื้นฐาน ได้แก่ การเคลื่อนไหวตามธรรมชาติของเด็ก มี 2 ประเภท\ 1.1 การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ ได้แก่ ตบมือ ผงกศีรษะ ขยิบตา ชันเข่า เคาะเท้าเคลื่อนไหวมือและแขน มือและนิ้วมือ เท้าและปลายเท้า\ 1.2 การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่ ได้แก่ คลาน คืบ เดิน วิ่ง กระโดด ควบม้า ก้าวกระโคด 2\. การเคลื่อนไหวเลียนแบบ มี 4 ประเภท\ 2.1 เลี่ยนแบบท่าทางสัตว์\ 2.2 เลียนแบบท่าทางคน\ 2.3 เลียนแบบเครื่องยนต์กลไกและเครื่องเล่น\ 2.4 เลียนแบบปรากฏการณ์ธรรมชาติ 3.การเคลื่อนไหวตามบทเพลง ได้แก่ การเคลื่อนไหวหรือทำท่าทางประกอบเพลง เช่น เพลงไก่ เพลงข้ามถนน\ 4. การทำท่าทางกายบริหารประกอบเพลง ได้แก่ การทำท่าทางกายบริหารตาม จังหวะและทำนอง หรือคำคล้องจอง\ 5. การเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์ ได้แก่ การเคลื่อนไหวที่ให้เด็กคิดสร้างสรรค์ ท่าทางขึ้นเอง อาจชี้นำด้วยการป้อนคำถามเคลื่อนไหวโดยใช้อุปกรณ์ประกอบ เช่น ห่วงหวายแถบผ้า ริบบิ้น ถุงทราย\ 6. การเล่นหรือการแสดงท่าทางตามคำบรรยายเรื่องราว ได้แก่ การเคลื่อนไหวหรือแสดงท่าทางตามจินตนาการจากเรื่องราวหรือคำบรรยาย\ 7. การปฏิบัติตามคำสั่งและข้อตกลง ได้แก่ การเคลื่อนไหวหรือทำท่าทางตามสัญญาณ หรือคำสั่งตามที่ได้ตกลงไว้ก่อนเริ่มกิจกรรม\ 8. การฝึกทำท่าทางเป็นผู้นำ ผู้ตาม ได้แก่ การเคลื่อนไหวหรือทำท่าทางจากครู หรือให้เด็กออกแบบท่าทางเองตามความคิดสร้างสรรค์ของเด็กเอง แล้วให้เพื่อนปฏิบัติตาม\ สำหรับเขาวลิต ภูมิภาค (2532: 10-11 อ้างถึงใน เขาวพา เดชะคุปต์ 2542: 47-48) กล่าวถึงประเภทของการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่ว่าเป็นการเคลื่อนไหวจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ได้แก่\ 1. การเดิน (Walking) คือ การเคลื่อนที่ตามจังหวะโดยการก้าวเท้าสลับกันไปใน ทิศทางใดก็ได้ เท้าที่เป็นหลักจะสัมผัสอยู่กับพื้นตลอดเวลา จนกว่าการถ่ายน้ำหนักตัวไปยังอีกเท้าหนึ่งจะเสร็จสิ้น น้ำหนักตัวจะตกบนเท้าทั้งสองข้างเท่าๆ กัน ลำตัวตั้งตรงอยู่ในลักษณะสบายๆ ปล่อยแขนให้อยู่ตามธรรมชาติ การก้าวเท้าให้ก้าวเงียบๆ ไปตามจังหวะ\ 2. การวิ่ง (Running) คือ การเคลื่อนที่ตามจังหวะโดยการก้าวเท้าสลับกันไปพร้อมกับเปลี่ยนน้ำหนักตัวจากเท้าหนึ่งไปยังอีกเท้าหนึ่ง โดยในขณะที่ถ่ายน้ำหนักตัวนั้นเท้าทั้งสองจะไม่อยู่บนพื้นเลย จังหวะการลงสู่พื้นจะเร็วกว่าการเดิน\ 3. การกระโดด (Jumping) คือ การสปริงตัวขึ้นจากพื้นแล้วลงสู่พื้นด้วยเท้าทั้งสองพร้อมกัน 4\. การกระโดดเขย่ง (Hopping) คือ การสปริงตัวขึ้นจากพื้นแล้วลงสู่พื้นด้วยเท้าข้างใดข้างหนึ่งเพียงข้างเดียว 5\. การวิ่งโหย่ง (Leaping) คือ การทิ้งน้ำหนักตัวไว้บนเท้าหนึ่งแล้วสปริงตัวขึ้นจากพื้นด้วยเท้าเดิมนั้น สวิงฉีกเท้าหนึ่งไปข้างหน้า เพื่อที่จะรับน้ำหนักตัวในขณะลงสู่พื้น 6\. การก้าวกระโดด (Skipping) คือ การวิ่งช้าๆ ให้ตัวลอยอยู่ในกลางอากาศนานๆกว่าธรรมดา ลงสู่พื้นด้วยปลายเท้าก่อนฝ่าเท้า เป็นการรวมทั้งทักษะการเดินและการวิ่งเข้าด้วยกัน 7\. การลื่นไถล (Sliding) คือ การก้าวเท้าออกไปข้างๆ แล้วลากเท้าขวาไปชิดเท้าซ้าย หรือลากเท้าซ้ายไปชิดเท้าขวา การลากเท้าไปชิดแต่ละครั้งต้องให้เท้าพ้นพื้นและให้เข้ากับจังหวะดนตรี\ 8. การควบม้า (Galloping) คือ การเคลื่อนที่ไปข้างหน้าด้วยการก้าวแล้วตามชิด อีกเท้าหนึ่งเข้าไปชิดเท้าหน้า เท้าเดิมจะนำหน้าอยู่เสมอ 9\. การก้าวชิด (Two Step) คือ การเคลื่อนที่ไปข้างหน้าด้วยการก้าวเท้าซ้ายไป ข้างหน้าชิคเท้าขวาไปหาเท้าซ้ายทิ้งน้ำหนักตัวตามมาไว้ที่เท้าขวา ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้าอีกครั้งพักทำซ้ำด้วยเท้าขวา ชิดเท้าซ้าย (ก้าว-ชิด-ก้าว-พัก) จากข้างต้นที่กล่าวมาพอสรุปได้ว่า กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายในลักษณะการเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่ เช่น ตบมือ ผงกศรียะเคลื่อนไหวมือและแขน และการเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ เช่น การเดิน วิ่ง ควบม้า รวมทั้งการเคลื่อนไหวในรูปแบบการเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย การเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์ การเคลื่อนไหวเลียนแบบ และการเคลื่อนไหวเป็นผู้นำผู้ตาม **1.6 หลักการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ\ **คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2546: 61) ได้กล่าวถึงหลักในการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ไว้ดังนี้ 1. ควรเริ่มกิจกรรมจากการเคลื่อนไหวที่เป็นอิสระและมีวิธีการที่ไม่ยุ่งยากมากนัก เช่น ให้เด็กได้กระจายอยู่ภายในห้องหรือบริเวณที่ฝึก และให้เด็กเคลื่อนไหวไปตามธรรมชาติของเด็ก 2. ควรให้เด็กได้แสดงออกด้วยตนเองอย่างอิสระและเป็นไปตามความนึกคิดของเด็กเอง ผู้สอนไม่ควรชี้แนะ 3. ควรเปิดโอกาสให้เด็กคิดหาวิธีเคลื่อนไหวทั้งที่ต้องเคลื่อนที่และไม่ต้องเคลื่อนที่เป็นรายบุคคล เป็นคู่ เป็นกลุ่ม ตามลำดับและกลุ่มไม่ควรเกิน 5-6 คน 4\. ควรใช้สิ่งของที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก เศษวัสดุต่างๆ เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ เศษผ้าท่อนไม้ เข้ามาช่วยในการเคลื่อนไหวและให้จังหวะ 5\. ควรกำหนดจังหวะสัญญาณนัดหมายในการเคลื่อนไหวต่างๆ เช่น การเปลี่ยนท่าทาง หรือหยุดให้เด็กทราบเมื่อทำกิจกรรมทุกครั้ง 6\. ควรสร้างบรรยากาศอย่างอิสระ ช่วยให้เด็กรู้สึกอบอุ่นเพลิดเพลิน และรู้สึกสบายสนุกสนาน 7\. ควรจัดให้มีเกมการละเล่นบ้าง เพื่อช่วยให้เด็กสนใจมากขึ้น 8\. กรณีเด็กไม่ยอมเข้าร่วมกิจกรรม ผู้สอนไม่ควรใช้วิธีบังคับ ควรให้เวลาและโน้มน้าวให้เด็กสนใจเข้าร่วมกิจกรรมด้วยความสมัครใจ 9\. หลังจากเด็กได้ออกกำลังเคลื่อนไหวร่างกายแล้ว ต้องให้เด็กพักผ่อนโดยอาจให้นอนเล่นบนพื้นห้อง นั่งพัก หรือเล่นสมมติเป็นตุ๊กตา อาจเปิดเพลงจังหวะช้าๆ เบาๆ ที่สร้างความรู้สึกให้เด็กอยากพักผ่อน พัชรี ผลโยธิน (2523: 127-130) ได้เสนอหลักการในการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัย ไว้ดังนี้ 1. ให้เด็กได้แสดงออกด้วยตนเองอย่างอิสระและเป็นไปตามความนึกคิดของเด็กเองซึ่งเป็นการส่งเสริมให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ แสดงความนึกคิด ความรู้สึกต่างๆ 2. ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กคิดหาวิธีการเคลื่อนไหวทั้งแบบที่ต้องเคลื่อนที่เป็นรายบุคคล เป็นคู่ เป็นกลุ่มตามลำดับ 3\. ให้เด็กได้แสดงเลียนแบบในเรื่องต่างๆ เช่น 3.1 กิจกรรมตามธรรมชาติ เช่น ตกปลา พายเรือ ว่ายน้ำ การยก แบก หาม 3.2 ชีวิตรอบตัวเด็ก เช่น ชีวิตในบ้าน ในโรงเรียน 3.3 ชีวิตสัตว์ต่างๆ 3.4 ปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น ลม ฝน พายู 4\. ควรจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ วันละไม่น้อยกว่า 15-20 นาที 5\. ในระยะแรกควรให้เด็กออกมาร่วมกิจกรรมที่ละกลุ่ม กลุ่มละไม่เกิน 10 คน แต่ในระยะต่อไปเมื่อเด็กเข้าใจสัญญาณและกิจกรรม อาจเพิ่มจำนวนเด็กมากขึ้น 6\. ใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะสัมพันธ์กับทักษะทางคณิตศาสตร์ เช่น เมื่อได้ยินสัญญาณ \"หยุด\" ครูสั่งให้เด็กจับกลุ่ม จำนวน 3 คน เป็นต้น\ ดังนั้น ขณะดำเนินกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะครูควรเอาใจใส่ สนใจ สังเกตและศึกษาพฤติกรรมเด็กทุกคน ถ้าพบเด็กที่อายไม่ยอมพูดหรือไม่สามารถแสดงออก ครูไม่ควรบังคับครูควรให้ความเอาใจใส่เป็นพิเศษ พยายามส่งเสริมให้เด็กกล้าแสดงออก และมีส่วนร่วมในกิจกรรม ต่างๆ เช่น ใช้วิธีให้ตอบคำถามง่ายๆ ที่ครูมั่นใจว่าเด็กตอบได้ หรืออาจให้เข้าร่วมกิจกรรมการแสดงเป็นกลุ่ม จากความรู้สึกอายที่เด็กไม่กล้าแสดงออกในตอนแรกจะค่อยๆ เปลี่ยน เกิดความมั่นใจตัวเอง ขึ้นทีละน้อย เกิดความรู้สึกอยากเรียน อยากทำ และอยากแก้ปัญหามากขึ้น ทั้งนี้ครูควรสนับสนุนสร้างบรรยากาศที่เปิดโอกาสให้เด็กแสดงออกอย่างอิสระ โดยไม่ชี้แนะเด็กมากเกินไปและนำกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะมาบูรณาการกับกิจกรรมอื่น เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ **1.8 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ** 1.8.1 งานวิจัยในต่างประเทศ\ คาริช (Calitz 1988: 17) ได้ศึกษาถึงศักยภาพในการแก้ปัญหาด้านการใช้ภาษาในการสื่อความหมายของเด็กปฐมวัย ระหว่างการเตรียมกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะใน รูปแบบการสอนแบบไม่เป็นทางการของครู ในขณะที่เด็กสำรวจและเคลื่อนไหวไปในบริเวณต่างๆและค้นหาสิ่งแวคล้อม ผลการวิจัยพบว่า ครูมีบทบาทสำคัญในการแก้ไขข้อบกพร่อง เสนอแนะและปรับภาษาในการสื่อความหมายของเด็กให้ดีขึ้น\ เม็ทซ์ (Metz 1986 อ้างถึงใน พิรัฐา โพธินคร 2546:42) ได้ศึกษาสิ่งที่มี อิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวในสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย อายุ 2-4 ปีโรงเรียนอนุบาลในรัฐอริโซน่า โดยใช้แถบบันทึกภาพบันทึกข้อมูล และทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย จำนวน 7 ด้าน คือ ด้านอารมณ์ ลำดับขั้น พัฒนาการ การเป็นผู้นำ การแสดงเป็นตัวอย่าง การอธิบาย การแนะนำ และเสียงคนตรี ผลการวิจัยพบว่า เสียงคนตรีมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีธรรมชาติของการเคลื่อนไหว\ 1.8.2 งานวิจัยในประเทศ\ ศุภศี ศรีสุคนธ์ (2539: 64-67) ได้ศึกษาความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยอายุ 3-5 ปี ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะโดยใช้คนตรีไทย พบว่าเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะโดยใช้คนตรีไทยมีความเชื่อมั่นในตนเองสูงกว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะตามแผนการจัดประสบการณ์ปกติในชั้นอนุบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01\ ศิริรัตน์ ชูชีพ (2544: 36-39) ได้ศึกษาพฤติกรรมชอบสังคมของเด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์ พบว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด กิจกรรมเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์มีพฤติกรรมชอบสังคมก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.01 โดยหลังการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์เด็กปฐมวัยมีพฤติกรรมชอบสังคมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์\ วรรณวิมล อกนิษฐ์ (2546:47-49) ได้ศึกษาความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัย อายุ 3-5 ปี ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสพบว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะตามแบบนีโอฮิวแมนนิส มีความเชื่อมั่นในตนเองสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05\ ธนาภรณ์ ธนิตย์ธีรพันธ์ (2547: 66-70) ได้ศึกษาการพัฒนาสัมพันธภาพของเด็กปฐมวัย อายุ 3-4 ปี ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวประกอบเพลง พบว่ามีการพัฒนา สัมพันธภาพจำแนกรายด้าน ได้แก่ การพูด การแสดงท่าทาง การมีส่วนร่วมกับเพื่อน พบว่าคะแนนการพัฒนาสัมพันธภาพทั้ง 3 ด้านมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01\ จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจะเห็นได้ว่า กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะสามารถส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะด้านสังคม ในส่วนของการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม และด้านอารมณ์ จิตใจ ในส่วนของความเชื่อมั่นในตนเอง **2. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความฉลาดทางอารมณ์\ **2.1 ความหมายของความฉลาดทางอารมณ์ ความฉลาดทางอารมณ์มาจากคำในภาษาอังกฤษ คือ Emotional Intelligence หรือ Emotional Quotient เรียกย่อว่า EQ ส่วนในภาษาไทยยังไม่มีการบัญญัติศัพท์คำนี้อย่างเป็นทางการมีแต่ผู้แปลมาจาก Emotional Intelligece ใช้คำว่า เชาวน์ปัญญา หรือความฉลาดทางอารมณ์ และสมาคมจิตวิทยาแนะแนวแห่งประเทศไทยใช้คำว่า ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ อย่างไรก็ตามผู้วิจัยใช้เรียก Emotional Inteligence ในการวิจัยครั้งนี้ว่า ความฉลาดทางอารมณ์และใช้ชื่อย่อว่า EQ ทั้งนี้ในภาษาอังกฤษยังมีคำอื่นๆ ที่มีความหมายใกล้เคียงอีกมากมายและมีผู้?