ชีววิทยาของผึ้ง การเลี้ยงผึ้งและการอนุรักษ PDF

Summary

This document details the biology of bees, encompassing beekeeping and conservation practices. It explores the historical significance of bees and their relationship with humans, touching upon various aspects such as the different types of bees and their distribution, and the role of bees in pollination and the economy.

Full Transcript

ชีววิทยาของผึ้ง การเลี้ยงผึ้งและการอนุรักษ 1 บทที่ 1 บทนํา 1.1 บทนํา ผึ้งและมนุษยมีความสัมพันธเกี่ยวของกันมาชานานทั้งทางตรงและทางออม ผลิตภัณฑที่ได จากผึ้งนั้นไมวาจะเปนน้าํ ผึง้...

ชีววิทยาของผึ้ง การเลี้ยงผึ้งและการอนุรักษ 1 บทที่ 1 บทนํา 1.1 บทนํา ผึ้งและมนุษยมีความสัมพันธเกี่ยวของกันมาชานานทั้งทางตรงและทางออม ผลิตภัณฑที่ได จากผึ้งนั้นไมวาจะเปนน้าํ ผึง้ เรณูผึ้ง นมผึ้ง ไขผึ้ง หรือแมแตพิษผึ้ง ลวนเปนประโยชนตอ มนุษยทงั้ สิน้ นอกจากนี้ผึ้งยังชวยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรโดยการเขาไปผสมเกสรใหแกพืชพันธุตางๆ ทําให มนุษยมีอาหารและรายไดเพิ่มขึ้น ดอกไมและผึ้งเปนของคูกัน กวีนิพนธเกือบทุกภาษาในโลกมักเปรียบเทียบดอกไมกับผึ้ง เสมือนความรักของหนุมสาว นอกจากนั้นกวีบางทานยังมีการเปรียบเทียบน้ําผึ้งกับความรักและคูรัก เพราะน้ําผึ้งนั้นมีความหอมหวานชวนรับประทานเปนอยางยิ่ง คนนิยมเรียกการไปฉลองความรักวา ฮันนีมูน (honeymoon หรือ น้ําผึ้งพระจันทร คือการไปดื่มด่ํากับความรักหลังแตงงาน) และเรียก คนที่ตนเองรักวา “honey” นอกจากนี้ยังมีการใชประโยชนจากผึ้งในทางการแพทย เชน การใช น้ําผึ้งเปนสวนผสมของยา หรือแมแตการใชพิษผึ้งในการรักษาโรคบางชนิด 1.2 ความสําคัญและประวัติ ผึ้งและน้ําผึ้งมีมาเปนระยะเวลายาวนานประมาณ 10-20 ลานปแลว ซึ่งมีมากอนที่มนุษย จะถือกําเนิดเสียอีก จึงถือไดวาน้ําผึ้งอาจเปนสารใหความหวานอันดับตนๆ ที่มนุษยรูจักและนํามาใช ประโยชนเปนอาหาร ในตางประเทศมีหลักฐานเกี่ยวกับความสัมพันธระหวางคนกับผึ้งหลายอยาง เชน ภาพวาดผนังถ้ําและบนกอนหินที่พบทางใตของประเทศแอฟริกาที่แสดงใหเห็นภาพผึ้งและรังผึง้ และบางภาพยังแสดงใหเห็นถึงอุปกรณที่ใชในการตีผึ้งดวย เชน บันได การใชควัน เปนตน (ภาพที่ 1.1) ในประเทศสเปนพบภาพวาดบนกอนหินที่แสดงใหเห็นถึงการปนบันไดเพื่อตีรังผึ้ง ซึ่งภาพวาด ดังกลาวคาดวาวาดขึ้นเมื่อประมาณ 10,000-15,000 ป กอนคริสตกาล (ภาพที่ 1.2) อีกภาพที่พบใน ประเทศสเปนคนพบเมื่อป ค.ศ. 1924 เปนภาพแสดงคนกําลังแบกถุงในขณะที่ตีผึ้ง (ภาพที่ 1.3) และนอกจากนี้ยังพบภาพอื่นที่มีลักษณะเชนนี้ในบริเวณใกลเคียงกันอีกหลายภาพ ซึ่งคาดวาวาดขึ้น เมื่อประมาณ 7,000 ป กอนคริสตกาล (Crane, 1980) 2 ชีววิทยาของผึ้ง การเลี้ยงผึ้งและการอนุรักษ ภาพที่ 1.1 ภาพวาดการตีผึ้งที่พบบนผนังถ้ําในประเทศแอฟริกา (ที่มา: Crane, 1980) ภาพที่ 1.3 ภาพวาดการตีผึ้งที่พบบนผนังถ้ํา ในประเทศสเปนโดยในภาพแสดงการถื อ ถุ ง สําหรับใสน้ําผึ้ง (ที่มา: Crane, 1980) ภาพที่ 1.2 ภาพวาดการตีผึ้งที่พบบนผนังถ้ําในประเทศสเปน โดยในภาพแสดงการใชบันไดในการปนขึ้นไปเก็บน้ําผึ้ง (ที่มา: Crane, 1980) ชีววิทยาของผึ้ง การเลี้ยงผึ้งและการอนุรักษ 3 ในอดีตน้ําผึ้งไดมาจากรังธรรมชาติที่สวนใหญผึ้งมักสรางรังในโพรงไม ตอมาไดมีบันทึกไว วาเริ่มมีการเลี้ยงผึ้งเพื่อเก็บเกี่ยวน้ําผึ้งตั้งแตประมาณ 2,400 ป กอนคริสตกาล โดยในประเทศอียิปต มีภาพวาดการเลี้ยงผึ้งในหมอดิน (mud hive) (ภาพที่ 1.4) หลังจากนั้นจึงไดมีการพัฒนาวิธีการ เลี้ยงเรื่อยมา (Crane, 1980) ภาพที่ 1.4 ภาพวาดการเลี้ยงผึ้งในภาชนะทีส่ ามารถเคลื่อนยายไดในประเทศอียิปต (ที่มา: Crane, 1980) วิธีการเก็บน้ําผึ้งในยุคแรก ๆ ของคนยุโรปตะวันตกนั้นคลายกันกับที่อื่น ๆ คือ การจับผึ้ง จากรังผึ้งในธรรมชาติ (ภาพที่ 1.5) ตอมาไดมีการเลี้ยงผึ้งในรัง หรือภาชนะที่เคลื่อนยายได เชน รัง ผึ้งโบราณ (skep) (ภาพที่ 1.6) โดยจับกลุมผึ้งที่กําลังแยกรัง (swarm) จากธรรมชาติใสไวใน skep (ภาพที่ 1.7) จากนั้นไดมีการพัฒนาหีบเลีย้ งผึ้งเพื่อใหสามารถเลี้ยง จัดการ และเก็บเกี่ยวน้ําผึ้งไดงา ย แบบที่เห็น ในปจจุบัน เรียกวา Langstroth hive (ภาพที่ 1.8) (Crane, 1980) โดยรายละเอี ยด เกี่ยวกับรังผึ้งสมัยใหมจะกลาวอีกครั้งในบทที่ 8 การเลี้ยงผึ้งและการจัดการฟารมผึ้ง ภาพที่ 1.5 ภาพวาดการตีผงึ้ ในยุโรปตะวันตก (ที่มา: Crane, 1980) 4 ชีววิทยาของผึ้ง การเลี้ยงผึ้งและการอนุรักษ ภาพที่ 1.6 ภาพวาดการเลี้ยงผึ้งใน skep ภาพที่ 1.7 ภาพวาดการจับผึ้งในธรรมชาติไปเลี้ยง (ที่มา: Crane, 1980) (ที่มา: Crane, 1980) ภาพที่ 1.8 รังเลี้ยงผึ้งแบบ Langstroth hive (ที่มา: ภาพโดย ปยมาศ นานอก โสภาลดาวัลย) การศึกษาชีววิทยาของผึ้งไดเริ่มมีมาหลายทศวรรษแลว แตยังมีความเขาใจพฤติกรรมทาง เพศของผึ้งผิดกันอยู โดยในสมัยกอนคริสตกาล อริสโตเติลและนักธรรมชาติวิทยาคนอื่นเขาใจวารัง ผึ้งถูกปกครองดวยราชาผึ้ง (king bee) แตตอมามีผูศึกษาพบวา ผึ้งที่ทําหนาที่ปกครองรังคือผึ้งเพศ เมีย หรือผึ้งนางพญา (queen bee) โดยนักวิทยาศาสตรไดสนใจศึกษาชีววิทยาของผึ้ง ตั้งแตกอน ค.ศ. 1930 จนถึงปจจุบัน (สิริวัฒน วงษศิร,ิ 2555) ชีววิทยาของผึ้ง การเลี้ยงผึ้งและการอนุรักษ 5 ความสนใจในเรื่องผึ้งของคนไทยก็มีมานานหลายรอยปเชนกัน ดังมีหลักฐานจากหลักศิลา จารึกในสมัยพอขุนรามคําแหง ที่มีพยัญชนะ “ผ” แลว นอกจากนี้ยังมีการกลาวถึงเรื่องฝูงผึ้ง ใน นิทานชาดกตั้งแตสมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ. 1890-1920) ซึ่งในสมัยตนกรุงรัตนโกสินทรไดมีการเขี ยน รูป รังผึ้งไวที่บานประตู หนาตาง ของพระที่นั่ งหมูพระวิ มานในวังหนา ณ พิพิธภัณฑสถานแห งชาติ กรุงเทพมหานคร จํานวนหลายภาพ (ภาพที่ 1.9) และยั งพบว าตํารายาไทยหลายขนานที่เขี ยนไวที่ กํ าแพงโบสถวั ดโพธิ์ (วั ดพระเชตุ พนวิ มลมั งคลาราม) ได กล าวถึ งการผสมสมุ นไพรกั บน้ํ าผึ้ ง เป น องคประกอบที่สําคัญ แสดงใหเห็นวาคนสมัยนั้นตัดรังผึ้งเพื่อนําน้ําผึ้งมาบริโภคกันมาชานานแลว และ มีการนําไขผึ้ง (หรือที่เรียกกันทั่วไปวาขี้ผึ้ง) มาหลอมทําเทียนเพื่อประกอบพิธีศาสนกิจตางๆ (สิริวัฒน วงษศิริ และคณะ, 2549) ภาพที่ 1.9 ภาพวาดรังผึ้งและดอกไมที่พบ ณ บานประตู หนาตาง ของพระที่นงั่ หมูพระวิมาน ในวังหนา ณ พิพิธภัณฑสถานแหงชาติ (ที่มา: ภาพโดย ปยมาศ นานอก โสภาลดาวัลย) ดวยเหตุที่ผึ้งมีความสําคัญทางเศรษฐกิจ และมีความสําคัญตอชีวิตของมนุษยไมวาจะเปน อาหาร เปนสวนผสมของยา และประโยชนอันมหาศาลอีกประการหนึ่ง คือ ความอุดมสมบูรณของ พืชพันธุธัญญาหารที่มาจากผลงานซึ่งผึ้งชวยถายเรณูใหพืชนานาชนิดติดลูกผลดกเปนจํานวนมาก ดังนั้นการศึกษาชีววิทยาของผึ้งจึงเปนสิ่งจําเปนอยางมากไมวาจะเปนการรูจักชนิด การแพรกระจาย โครงสรางของผึ้ง สังคมของผึ้ง พฤติกรรมของผึ้ง โรคและศัตรูของผึ้ง การเลี้ยงและการจัดการฟารม ผึ้ ง การขยายพั นธุผึ้ ง รวมไปถึ งการอนุ รั กษ ผึ้ ง เนื่ อ งจากผูเลี้ ยงผึ้ งประสบป ญหาในการเลี้ยงผึ้ ง มากมาย หากผูเ ลี้ยงผึ้งเขาใจธรรมชาติและชีววิทยาของผึ้งแลว ความรูเหลานี้จะชวยใหลดปญหาใน การเลี้ยงผึ้งไดมาก 6 ชีววิทยาของผึ้ง การเลี้ยงผึ้งและการอนุรักษ 1.3 อนุกรมวิธานของผึ้ง ผึ้ งเป น แมลงสัง คมแท ชั้ น สู ง ที่ มีวิ วั ฒนาการสู ง สุ ดในกลุ ม ของแมลง ถู ก จั ดไว ในอั น ดั บ (order) เดียวกันกับแมลงพวก ตอ แตน มด แมลงภู การจัดเรียงลําดับขั้น (classification) ของผึ้งมี ดังตอไปนี้ Phylum Arthropoda Class Insecta Order Hymenoptera Superfamily Apoidea Family Apidae Subfamily Apinae Genus Apis (Ruttner, 1988) ลักษณะของแมลงกลุมผึ้งโดยสังเขปคือ มีปกที่เปนแผนบาง 2 คู โดยมีเสนปก (vein) ที่ สําคัญเห็นไดชัดเจน ปกคูหนามีขนาดใหญกวาปกคูหลังและมีเสนปกมากกวา มีสวนที่มีลักษณะเปน ตะขอ เรียกวา hamuli ที่บริเวณขอบบนของปกคูหลัง ใชสําหรับยึดปกคูหนาและคูหลังใหติดกันใน ขณะที่บิน เพื่อใหกระพือปกไปพรอมกันทําใหบินไดเร็ว มีปากเปนแบบกัดเลีย ที่หัวมีหนวดรูปหัก ขอศอก (geniculate) มีตาเดี่ยวและมีตาประกอบขนาดใหญ ขาหลังทั้งสองขางของผึ้งงานมีอวัยวะ ที่ใ ช สําหรับเก็บ เรณูเรียกว า ตะกร า เก็ บ เรณู (pollen basket) ผึ้ ง เพศเมี ยมี เหล็ กใน (sting) ใช สําหรับ ตอยซึ่งเปนอวัยวะที่ดัดแปลงมาจากอวัยวะวางไข (ovipositor) (สิ ริวัฒน วงษ ศิริ, 2532; Winston, 1987) การเลี้ยงผึ้ง 7 1.4 ลักษณะและวิธีการที่ใชในการวินิจฉัยและจัดจําแนกชนิดของผึ้ง 1.4.1 ลักษณะการสรางรัง (nest architecture) การสรางรังของผึ้ง มี 3 แบบคือ 1. รังขนาดเล็ก เปนรวงรังชั้นเดียวมีเสนผานศูนยกลางของรังประมาณ 10-20 เซนติเมตร มักสรางรังในที่โลงบนตนไม มีกิ่งไมเปนแกน หรือสรางรังในพุมไม (ภาพที่ 1.10 A) ผึ้งที่ มีการสรางรังลักษณะนี้ ไดแก ผึ้งมิ้ม (Apis florea) และ ผึ้งมิ้มดํา หรือ ผึ้งมาน (A. andreniformis) ถึงแมวาผึ้งสองชนิดนี้มีลักษณะการสรางรังที่คลายคลึงกัน แตลักษณะของการสรางหลอดรวง (cell) ของรังนั้นตางกัน จึงสามารถจําแนกผึ้งทั้งสองชนิดนี้ไดโดยสังเกตจากพฤติกรรมและลักษณะของรัง คือ รวงรังของผึ้งมิ้มมีลักษณะคอนขางกลมมน (ภาพที่ 1.11 A) ในขณะที่รังของผึ้งมิ้มดํามีรวงรัง คอนขางรี และผึ้งงานบริเวณดานลางของรวงรังเกาะกันในลักษณะที่ยอยแหลมลงมาคลายหางเรียกวา tail (ภาพที่ 1.11 B) และโครงสรางรวงรังของผึ้งทั้ง 2 ชนิดมีความแตกตางกัน โดยบริเวณหัวคอนที่ใช เก็บน้ําผึ้งของผึ้งมิ้มไมมีสวนที่เปนแกนกลางที่เรียกวา mid rib ซึ่งหมายถึงเสนกึ่งกลางที่เปนจุดกําเนิด ของการสรางหลอดรวงทุกหลอด ดังนั้นหลอดรวงของรังผึ้งมิ้มที่บริเวณหัวคอนจะเริ่มสรางจากกิ่งไมที่ เปนแกนของรวงรังโดยตรง (ภาพที่ 1.12 A) ในขณะที่รวงรังของผึ้งมิ้มดํานั้นมีสวนที่เรียกวา mid rib ชัดเจน (ภาพที่ 1.12 B) 2. รัง ขนาดใหญ เป น รวงรั ง ชั้ น เดีย วมี เส นผา นศู น ย ก ลางของรั งมากกว า 50 เซนติเมตร มัก สรา งรัง ในที่โลงบนต นไม สู ง หน า ผา หรื อ บนอาคารสูง เช น รั ง ของผึ้ ง หลวง (A. dorsata) (ภาพที่ 1.10 B) 3. รั งซ อนกันหลายชั้ นขนานกั น มักทํ ารังในโพรงไมหรือที่ปดมิดชิด เช น ใต หลังคาบาน ในโองน้ําที่ไมใชแลว ในลําโพง (ภาพที่ 1.10 C) ไดแก รังของผึ้งโพรง (A. cerana) และ ผึ้งพันธุ (A. mellifera) 10 ซม. 50 ซม. 10 ซม. A B C ภาพที่ 1.10 การสรางรังของผึ้ง (A) รังผึ้งมิ้ม (A. florea) (B) รังผึ้งหลวง (A. dorsata) และ (C) รังผึ้งโพรง (A. cerana) (ทีม่ า: ภาพโดย ปยมาศ นานอก โสภาลดาวัลย) 8 การเลี้ยงผึ้ง A B ภาพที่ 1.11 การสรางรังของผึ้งมิ้ม (A. florea) (A) และ การสรางรังของผึ้งมิ้มดํา (A. andreniformis) (B) (ที่มา: Wongsiri et al., 1996) mid rib A B ภาพที่ 1.12 ลักษณะการสรางหลอดรวงของรังผึ้งมิ้ม (A. florea) (A) และ การสรางหลอดรวงของ ผึ้งมิ้มดํา (A. andreniformis) ที่มีสวนที่เรียกวา mid rib (B) (ที่มา: ดัดแปลงจาก Oldroyd and Wongsiri, 2006) การเลี้ยงผึ้ง 9 1.4.2 ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของผึ้ง (morphology) ลักษณะทางสัณฐานวิทยา เชน ความยาวของลําตัว ปก ขา ลิ้น (ภาพที่ 1.13) และลักษณะ ของอวัยวะสืบพันธุเพศผู (ภาพที่ 1.14) เปนตน โดยในสวนของปกสามารถวินิจฉัยไดจากความยาว ความกวางของปก มุมของเสนปก ตําแหนงของเสนปก จํานวนตะขอที่บริเวณขอบบนของปกหลัง หรือ hamuli เปนตน (ภาพที่ 1.13 A) สวนของลิ้น (proboscis) สามารถวินิจฉัยไดจากการวัดความ ยาวของลิ้น (ภาพที่ 1.13 B) และสวนของขา (leg) สามารถวัดความยาวของสวนประกอบตางๆ ของ ขา คือ coxa, trochanter, femur, tibia และ tarsus นอกจากนี้ลักษณะขาหลังของเพศผูในผึ้งมิ้ม และผึ้งมิ้มดํา หรือ ผึ้งมาน ยังมีลักษณะที่แตกตางกันอยางชัดเจน (ภาพที่ 1.13 C) (Oldroyd and Wongsiri, 2006) วิธี การวั ดลักษณะทางสั ณฐานวิ ทยาในรู ปแบบของตั วเลข อั ตราส วน องศาของมุ ม ฯลฯ เหลานี้ แลวนําขอมูลที่ไดจากการวัดมาวิเคราะหผลทางสถิติ เพื่อจําแนกความแตกตางหรือวินิจฉัยชนิด ของสิ่งมีชีวิตหรือวัตถุที่กําลังทําการศึกษาอยู เรียกวา มอรโฟเมตริก (morphometric) (Koutecky, 2015) A B C ภาพที่ 1.13 อวัยวะที่ใชในการวินิจฉัยชนิดของผึ้ง ไดแก สวนปก (A) สวนลิ้น (B) และ สวนขาของผึ้งเพศผู (C) (ทีม่ า: Oldroyd and Wongsiri, 2006) 10 ชีววิทยาของผึ้ง การเลี้ยงผึ้งและการอนุรักษ สําหรับลักษณะสัณฐานวิทยาของอวัยวะสืบพันธุของผึ้งเพศผูแตละชนิดก็มีความแตกตาง กัน ดังภาพที่ 1.14 ทั้งนี้เพื่อปองกันการผสมพันธุขามชนิด A. andreniformis A. florea A. dorsata A. cerana ภาพที่ 1.14 อวัยวะสืบพันธุเพศผูของผึ้งมิ้มดํา (A. andreniformis) ผึ้งมิ้ม (A. florea) ผึ้งหลวง (A. dorsata) และผึ้งโพรง (A. cerana) (ที่มา: ภาพโดย สิริวัฒน วงษศิริ) 1.4.3 พฤติกรรมในการผสมพันธุ (mating behavior) กอนที่ผึ้งเพศผูจะผสมพันธุกับผึ้งนางพญา ผึ้งเพศผูจะบินมารวมกันที่ตําแหนงที่เรียกวา Drone Congregation Area (DCA) ซึ่งระดับความสูงของตําแหนงดังกลาวในผึ้งแตละชนิดมีความ แตกตางกัน นอกจากนี้ชวงเวลาในการบินออกมาผสมพันธุของผึ้งแตละชนิดก็แตกตางกัน ทั้งนี้เพื่อ ปองกันการผสมพันธุขามชนิด โดยรายละเอียดของพฤติกรรมการผสมพันธุจะกลาวในบทที่ 5 เรื่อง พฤติกรรมของผึ้ง (Hadisoesilo and Otis, 1996; Koeniger et al., 1994; 1996; 1988; Koeniger and Koeniger, 2000; Koeniger and Wijayagunasekara, 1976; Rinderer et al., 1993) 1.4.4 การใชขอมูลทางอณูพันธุศาสตร (molecular genetics) ในปจจุบันนิยมใชวิธีการนี้กันมาก เนื่องจากรวดเร็วและแมนยํา แตขอดอยของวิธีการนี้คือ คาใชจายสูงมาก โดยการวินิจฉัยชนิดของผึ้งนั้นสามารถทําไดตั้งแตการศึกษาโปรตีน (allozyme), nuclear DNA, mitochondrial DNA แ ล ะ DNA sequences ( Crozier and Pamilo, 1996; Deowanish et al., 1996; Estoup et al., 1995, Rattanawannee et al., 2020) ชีววิทยาของผึ้ง การเลี้ยงผึ้งและการอนุรักษ 11 1.5 ชนิดของผึ้งและการกระจาย มีรายงานวาพบผึ้งในสกุลเอปส (Apis) ทั้งหมด 9 ชนิด (species) โดยแบงออกเปน 3 กลุม คือ 1) กลุมผึ้งเล็ก (dwarf honey bees) ไดแก Apis florea และ A. andreniformis, 2) กลุมผึ้ง ใหญ (giant honey bees) ไดแก A. laboriosa และ A. dorsata และ 3) กลุมผึ้งที่สรางรังในโพรง ( cavity- nesting honey bees) ไ ด แ ก A. mellifera, A. koschevnikovi, A. nuluensis, A. nigrocincta และ A. cerana (Koeniger and Koeniger, 2000; Oldroyd and Wongsiri, 2006) ดังรายละเอียดตอไปนี้ 1.5.1 กลุมผึ้งเล็ก (dwarf honey bees) ผึ้งเล็ก ไดแก ผึ้งมิ้ม (red dwarf honey bee, A. florea) และ ผึ้งมิ้มดํา หรือผึ้งมิ้มเล็ก หรือผึ้งมาน (small dwarf honey bee, A. andreniformis) ผึ้งในกลุม นี้เปนผึ้งที่พบไดทั่วไปใน ทวีปเอเชีย โดยมักจะสรางรังบนตนไมและในพุมไมที่ไมสูงจนเกินไป ลักษณะรวงรังเปนรวงรังชั้น เดียว ผึ้งเล็กทั้ง 2 ชนิดนี้มีลักษณะที่คลายคลึงกันมาก ในระยะแรกมักเรียกรวมเปนผึ้งชนิดเดียวกัน วา Micrapis จนกระทั่งป 1987 Wu และ Kuang ไดจําแนกผึ้งทั้ง 2 ชนิดนี้ออกจากกัน 1. ผึ้งมิ้ม (A. florea) ลักษณะลําตัวของผึ้งงานมีปลองสีขาวคาดสม และสวนปลายทองเปนสีขาวสลับดํา (ภาพที่ 1.15) พบไดทั่วไปในประเทศไทยและทุกประเทศในแถบตะวันออกของภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉี ยงใตขึ้นไปถึงจี นตอนใต พมา อิ นเดีย ศรีลังกา ปากี สถาน จนถึ งประเทศโอมาน (ภาพที่ 1.17) (Oldroyd and Wongsiri, 2006; Ruttner, 1988; Wongsiri et. al. 1990) A B ภาพที่ 1.15 ผึ้งงานของผึ้งมิ้ม (A. florea) (A) และรังของผึ้งมิม้ (B) (ที่มา: ภาพโดย ปยมาศ นานอก โสภาลดาวัลย) 12 ชีววิทยาของผึ้ง การเลี้ยงผึ้งและการอนุรักษ 2. ผึ้งมิ้มดํา หรือ ผึ้งมาน หรือ ผึ้งมิ้มเล็ก (A. andreniformis) ผึ้งมิ้มดํามีขนาดลําตัวเล็กกวาผึ้งมิ้ม (A. florea) บริเวณทองของผึ้งงานมีแถบสี ขาวสลับดํา (ภาพที่ 1.16) แตในบางรังพบวามีผึ้งงานที่มีสีสมสลับดําอยูดวย ทั้งนี้อาจเกิดจากการมี ภาวะพหุสัณฐาน (polymorphism) ภายในชนิด นั่น เอง การกระจายของผึ้ งมิ้ มดํ า พบในประเทศ ฟ ลิป ปนส (เกาะ Palawan) อิ น โดนี เ ซี ย มาเลเซี ย ไทย ไปจนถึ ง ประเทศพม า และตอนใต ข อง ประเทศจีน (ภาพที่ 1.17) ในประเทศไทยนั้นมีรายงานวาพบที่จังหวัดจันทบุรี เชียงใหม (อ. เชียง ดาว) และตั้ ง แต จั ง หวั ด สงขลาลงไปจนถึ ง ประเทศมาเลเซี ย (Oldroyd and Wongsiri, 2006; Ruttner, 1988; Wongsiri et al., 1990) A B ภาพที่ 1.16 ผึ้งงานของผึ้งมิ้มดํา (A. andreniformis) (A) และรังของผึ้งมิ้มดํา (B) (ที่มา: Robinson, 2011) การเลี้ยงผึ้ง 13 A. florea A. andreniformis ภาพที่ 1.17 การกระจายของผึ้งมิ้ม (A. florea) และ ผึ้งมิ้มดํา (A. andreniformis) (ที่มา: Oldroyd and Wongsiri, 2006) 1.5.2 กลุมผึ้งใหญ (giant honey bee) มีรายงานการพบผึ้งใหญ 2 ชนิด ไดแก ผึ้งหลวง (giant honey bee, A. dorsata) และ ผึ้งหลวงหิมาลัย (himalayan giant honey bee, A. laboriosa) เปนผึ้งที่มีขนาดตัวและขนาดรัง ใหญที่สุด โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. ผึ้งหลวง (A. dorsata) สามารถพบผึ้ง หลวงได ทั่ว ไปในประเทศไทย ขนาดเส น ผ านศู น ย กลางของรัง ประมาณ 0.5-1.5 เมตร ผึ้งหลวงมักจะทํารังบนตนไมสูง หรือตามหนาผาบนภูเขา โดยลักษณะของ รังเปนแบบรังเดี่ยวรูปครึ่งวงกลมไมมีที่ปกปด (ภาพที่ 1.18) ซึ่งแตกตางจากการสรางรังของผึ้งโพรง และผึ้งพันธุ โดยบางครั้งพบผึ้งหลวงทํารังเดี่ยวติดกัน หรือใกลกันจํานวน 50-60 รังบนตนไมตน เดียวกัน (ภาพที่ 1.19 A) โดยมักพบในตางจังหวัดที่มีสภาพปาที่สมบูรณ เชน จังหวัดแมฮองสอน เปนตน แตในพื้นที่ในชุมชนเมืองกลับพบผึ้งหลวงทํารังบนสิ่งกอสรางสูง (ภาพที่ 1.19 B) โดยทั่วไปผึง้ หลวงมักเกาะทํารังอยูนานเพียง 3-4 เดือนเทานั้น เมื่ออาหารขาดแคลน (ดอกไมบานหมดไป) ผึ้ง หลวงจะบินอพยพไปหาที่ อยูใหม ผึ้งหลวงสามารถอพยพเปนระยะทางไกลได ประมาณ 150-200 กิโลเมตร โดยจะอพยพเขาสูบริเวณปาเขาในฤดูแลงเนื่องจากอาหารในที่ราบของผึ้งหลวงมีนอย และ 14 ชีววิทยาของผึ้ง การเลี้ยงผึ้งและการอนุรักษ อพยพกลับมาที่บริเวณพื้นราบในชวงปลายฤดูฝนเมื่อดอกไมเริ่มบานอีกครั้ง ถาพื้นที่ใดอุดมสมบูรณผึ้ง หลวงจะมาเกาะทํารังบริเวณนั้นเปนประจําทุกป รังผึ้งหลวงบางรังมีขนาดใหญมากถึง 1.5 เมตร X 1 เมตร และอาจมีประชากรผึ้งงาน (workers) ในรังมากกวา 50,000 ตัว ลําตัวของผึ้งงานมีความยาว ประมาณ 17 มิลลิเมตร ปกมีความยาวประมาณ 12.5-14.5 มิลลิเมตร ผึ้งนางพญา (queen) มีลําตัว ยาวกวาผึ้งงานเล็กนอยคือ 20 มิลลิเมตร และผึ้งเพศผู (drone) มีความยาวของลําตัวประมาณ 16 มิลลิเมตร (Oldroyd and Wongsiri, 2006) A B ภาพที่ 1.18 ผึ้งงานของผึ้งหลวง (A. dorsata) (A) และรังของผึง้ หลวง (B) (ที่มา: ภาพโดย ปยมาศ นานอก โสภาลดาวัลย) A B ภาพที่ 1.19 การสรางรังผึ้งหลวงจํานวนหลายรังบนตนยวนผึง้ (A) (ที่มา: สิริวฒ ั น วงษศิริ และคณะ, 2549) และ การสรางรังผึ้งหลวงบนถังเก็บน้ําประปา (B) (ที่มา: Oldroyd and Wongsiri, 2006) ชีววิทยาของผึ้ง การเลี้ยงผึ้งและการอนุรักษ 15 ผึ้งหลวง ประกอบไปดวย 3 ชนิดยอย (subspecies) ไดแก 1.1 A. dorsata dorsata พบกระจายอยูทั่วไปในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต (ภาพที่ 1.21) 1.2 A. dorsata breviligula พบกระจายอยู บ ริ เวณเกาะ Luzon ประเทศ ฟลิปปนส (ภาพที่ 1.21) 1.3 A. dorsata binghami พบกระจายอยู บ ริ เ วณเกาะ Sulawesi และ Butang ประเทศอินโดนีเซีย (ภาพที่ 1.21) 2. ผึ้งหลวงหิมาลัย (A. laboriosa) ผึ้งใหญอีกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะคลายกับผึ้งหลวง (A. dorsata) (ภาพที่ 1.20) โดย ผึ้งชนิดนี้มีขนาดลําตัวใหญกวา สีของลําตัวเขมกวา A. dorsata เล็กนอย โดยผึ้ง A. laboriosa มัก ทํารังบริเวณหนาผา ยังไมมีรายงานวาพบในประเทศไทย มักพบผึ้งหลวงหิมาลัยทํารังในบริเวณที่สูง จากระดับน้ําทะเลมากกวา 1,200 เมตร โดยมีการกระจายตั้งแตแคว น Uttar Pradesh ประเทศ อินเดีย ประเทศเนปาล ประเทศภูฏาน ประเทศจีน และทางตอนเหนือของประเทศลาว (ภาพที่ 1.21) A B ภาพที่ 1.20 ผึ้งงานของผึ้งหลวงหิมาลัย (A. laboriosa) (A) และการสรางรังของผึ้งหลวงหิมาลัย บนหนาผา (B) (ที่มา: ภาพโดย สิรวิ ัฒน วงษศิริ) 16 ชีววิทยาของผึ้ง การเลี้ยงผึ้งและการอนุรักษ A. dorsata A. dorsata breviligula A. dorsata binghami A. laboriosa ภาพที่ 1.21 การกระจายของผึ้งหลวง (A. dorsata) และผึ้งหลวงหิมาลัย (A. laboriosa) (ที่มา: ดัดแปลงจาก Oldroyd and Wongsiri, 2006) 1.5.3 กลุมผึ้งที่สรางรังในโพรง (cavity-nesting honey bee) ผึ้งที่สรางรังในโพรง ได แก A. koschevnikovi, A. nuluensis, A. nigrocincta, A. cerana และ A. mellifera โดยผึ้ ง 4 ชนิ ดแรกเป นผึ้ งพื้ นเมื องของทวี ป เอเชี ย ส วน A. mellifera เป น ผึ้ ง พื้นเมืองของทวีปยุโรป (Oldroyd and Wongsiri, 2006; Ruttner, 1988) ลักษณะเดนของผึ้งกลุมนี้คือ ผึ้งงานมีขนาดลําตัวเล็กกวาผึ้งหลวงแตใหญกวาผึ้งมิ้ม ปกคูหนา มีความยาวประมาณ 7-10 มิลลิเมตร มักทํารังอยูในโพรงไม บางครั้งพบทํารังอยูใตหลังคาบาน หรือใน ที่ปดมิดชิดมีทางเขา-ออก 1-2 ทาง ลักษณะมีรวงรังหลายๆ ชั้น เรียงขนานกัน ขนาดรวงรังมีเสนผาน ศูนยกลางประมาณ 30 เซนติเมตร ผึ้งในกลุมนี้สามารถนํามาเลี้ยงในหีบเลี้ยงไดเชนเดียวกับผึ้งพันธุ (A. mellifera) รายละเอียดของผึ้งแตละชนิดมีดังนี้ 1. A. koschevnikovi เปน ผึ้งที่มีสีของลํ าตั วคอนข างแดง สวนของปากที่เรียกว า labrum มีสีอําพั น ลําตัวมีขนาดยาวกวาผึ้งโพรง (A. cerana) ประมาณรอยละ 10-15 การกระจายของผึ้งชนิดนี้พบได ทั่ว ไปในเกาะ Borneo, Java, Sumatra ประเทศอิ น โดนี เซีย คาบสมุ ท รมลายู และตอนใตของ ประเทศไทย ชีววิทยาของผึ้ง การเลี้ยงผึ้งและการอนุรักษ 17 2. A. nuluensis ผึ้งชนิดนี้พบไดในบริเวณพื้ น ที่ที่ สูงกว า 1,500 เมตร จากระดับ น้ํา ทะเล โดยมี รายงานวาพบในเมือง Mount Kinabalu ในเกาะบอรเนียว 3. A. nigrocincta เปนผึ้งที่มีลักษณะคลายผึ้งโพรง (A. cerana) แตมีขนาดลําตัวใหญและมีสีเหลือง กวาผึ้งโพรง โดยการกระจายของ A. nigrocincta พบในบริเวณเกาะ Sulawesi และเกาะ Sagihe เนื่องจาก A. nigrocincta และ A. cerana มีลักษณะที่คลายคลึงกันและมีการกระจายอยูในบริเวณ เดียวกัน ดังนั้นนอกจากการใชลักษณะสัณฐานวิทยาในการจําแนกชนิดแลว ยังสามารถจําแนกได จากชวงเวลาในบินออกมาผสมพันธุ (mating time) ไดคือ ผึ้ง A. cerana บินออกมาผสมพันธุเวลา ประมาณ 12.30-15.00 น. สวนผึ้ง A. nigrocincta บินออกมาผสมพันธุในเวลาประมาณ 15.00- 18.00 น. ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการผสมพันธุ ขามชนิดกัน นอกจากนี้ อีกวิ ธีหนึ่งที่ สามารถใช ในการ จําแนก A. cerana และ A. nigrocincta คื อลักษณะของการปดหลอดรวงของผึ้งเพศผู (drone cell) คือฝาปดหลอดรวงผึ้งเพศผูของ A. cerana มีความนูนขึ้นและมีรูอยูตรงกลาง (ภาพที่ 1.22) ในขณะที่หลอดรวงผึ้งเพศผูของ A. nigrocincta ไมมีรูตรงกลางหลอด 4. A. cerana ผึ้งโพรงมีการกระจายอยูเกือบทั่วทุกประเทศในทวีปเอเชีย (ภาพที่ 1.23) ดังนั้น จึงมีชื่อสามัญวาผึ้งพันธุอาเซียน (Asian honey bee) หรือบางครั้งเรียกวา Eastern honey bee ปจจุบันสามารถจําแนกผึ้งโพรงออกเปน 4 ชนิดยอย ไดแก 4.1 A. cerana cerana หรือ ผึ้งโพรงจีน เปนผึ้งโพรงที่มีขนาดใหญที่สุด สีไม เขมเหมือนผึ้งโพรงไทย มีเขตแพรกระจายในประเทศจีนขึ้นไปถึงตอนเหนือทวีปเอเชีย 4.2 A. cerana indica หรือ ผึ้งโพรงอิน เดีย หรือ ผึ้งโพรงไทย มีขนาดเล็ก ที่สุด และมีสี เข ม พบกระจายทั่ ว ไปในประเทศอิ น เดี ย ศรี ลั ง กา ไทย อิ น โดจี น มาเลเซี ย และ อินโดนีเซีย 4.3 A. cerana japonica หรือ ผึ้งโพรงญี่ปุน มีเขตกระจายอยูตามเกาะญี่ปุน และทะเลจีนเหนือ ผึ้งโพรงญี่ปุนมีขนาดเล็กกวาผึ้งโพรงจีนเล็กนอยมีสีเขมกวาผึ้งจีน 4.4 A. cerana himalaya หรือ ผึ้งโพรงหิมาลัย พบกระจายอยูแถบเชิงเขา ของเทือกเขาหิมาลัย 18 ชีววิทยาของผึ้ง การเลี้ยงผึ้งและการอนุรักษ ภาพที่ 1.22 หลอดรวงของผึ้งโพรง (A. cerana) เพศผู (ที่มา: ภาพโดย ปยมาศ นานอก โสภาลดาวัลย) ภาพที่ 1.23 การกระจายของผึ้งโพรง (A. cerana): 1) A. c. cerana, 2) A. c. indica, 3) A. c. himalaya, 4) A. c. japonica (ที่มา: Ruttner, 1988) ชีววิทยาของผึ้ง การเลี้ยงผึ้งและการอนุรักษ 19 5. A. mellifera ผึ้ งพั นธุ (Western honey bee) เป น ผึ้ ง พื้ น เมื อ งของทวี ป แอฟริ กาและยุ โ รป นิยมนํามาเลี้ยงเปนอุตสาหกรรมเนื่องจากมี พฤติ กรรมไมดุ เลี้ยงงา ย สามารถผลิตน้ํ าผึ้งได มาก มีขนาดรังพอเหมาะและไมทิ้งรังงายเหมือนผึ้งโพรงไทย มีรายงานวาพบผึ้งพันธุมากกวา 26 ชนิด ยอย (subspecies) โดยผึ้งพันธุที่นิยมนํามาเลี้ยงเปนอุตสาหกรรมมี 4 ชนิดยอย (สิริวัฒน วงษศิริ, 2555) ไดแก 5.1 A. mellifera mellifera หรื อผึ้ ง พั น ธุ สี เข ม (dark bees) เป น ผึ้ ง พั น ธุ ยุโรป มีลําตัวขนาดใหญ ลิ้นสั้น ทองกวาง ขนยาว ลําตัวมีสีน้ําตาลเขมจนเกือบดํา ไมมีสีเหลืองเขมที่ ปลองทอง พบเลี้ยงมากที่สุดในประเทศรัสเซีย 5.2 A. mellifera ligustica หรือผึ้งพันธุอิตาเลียน (Italian bees) มีถิ่นเดิม อยูในประเทศอิตาลี มีทองยาวเรียว ขนาดลําตัวเล็กกวาผึ้งพันธุสีเขมเล็กนอยแตมีลิ้นที่ยาวกวา สี ของลําตัวออกสีน้ําตาลออนและสีเหลืองจนมีชื่อวาผึ้งสีเหลือง (yellow bees) ปจจุบันเปนผึ้งที่นิยม เลี้ยงกันทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย เนื่องจากมีพฤติกรรมสงบ และตอยนอย 5.3 A. mellifera carnica หรือผึ้งพั น ธุ คารนิ โอลานส (Carniolans bees) เปนผึ้งที่นิยมเลี้ยงกันมากในประเทศเยอรมนี ฮังการี โรมาเนีย บัลแกเรีย อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา มีลักษณะคลายผึ้งอิตาเลียนมาก ขนาดเทากัน มีทองเรียวและลิ้นยาวแตมีสีเขมกวาผึ้งอิตาเลียน บางทีจึงเรียกวาผึ้งสีเทา (grey bees) มีพฤติกรรมสงบไมดุมากนัก มีผูนํามาเลี้ยงในประเทศไทย เชนเดียวกัน 5.4 A. mellifera caucasica หรือผึ้งพั น ธุ คอเคเซียน (Caucasians bees) เปนผึ้งยุโรปแถบรัสเซียตอนใต เลี้ยงแพรหลายมากที่สุดในรัสเซียและทางตอนเหนือของประเทศจีน มีลักษณะคลายผึ้งพันธุคารนิโอลานสมาก แตลิ้นยาวกวาและมีสีเทาเขม นอกจากผึ้งที่สําคัญทั้ง 4 ชนิดยอยนี้แลว ยังมีผึ้ง A. mellifera ในทวีปแอฟริกาที่สําคั ญอี ก ชนิดยอยหนึ่งคือ A. mellifera scutellata หรือผึ้งพันธุแอฟริกัน (African honey bees) โดยในป ค.ศ. 1956 ไดมีการนําผึ้งชนิดนี้เขาไปทดลองเลี้ยงในประเทศบราซิล เนื่องจากเปนผึ้งที่ขยัน แตในระหวางการ ทดลองเลี้ยงนั้น ผึ้งสายพันธุแอฟริกันดังกลาวไดแยกรังออกไป ตอมาไดไปผสมพันธุกับผึ้งพันธุยุโรปที่ เลี้ยงกันอยูทั่วไปในประเทศบราซิล ทําใหเกิ ดผึ้ งสายพั นธุผสม (hybrids) ขึ้นมา เรียกผึ้งลูกผสมนี้วา Africanized bees ซึ่งเปนผึ้งที่ใหไขดก มีประชากรมาก ทําใหไดผลผลิตน้ําผึ้งในปริมาณมาก แตขอเสีย คือผึ้งลูกผสมดังกลาวมีนิสัยที่ดุมาก มีรายงานวาผึ้งลูกผสมนี้สามารถตอยสัตวเลี้ยงขนาดใหญและคน 20 ชีววิทยาของผึ้ง การเลี้ยงผึ้งและการอนุรักษ ตายได จึงเรียกผึ้งลูกผสมนี้วา ผึ้งเพชฌฆาต (killer bees) (Howard, 2012) จากงานวิจัยของ Suppasat et al. (2007) และ Rattanawannee et al. (2020) ยังไมพบวามีผึ้งเพชฌฆาตปรากฏในประเทศไทย 1.6 สรุป ผึ้งมีบทบาทความสําคัญตอสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศทั้งทางตรงและทางออม ซึ่งในปจจุบัน มีการใชประโยชนจากผึ้งในหลายดาน ไดแก การใชเปนอาหาร ยารักษาโรค การชวยถายเรณูใหกับ พื ช ดอก รวมถึ งการเลี้ย งเพื่อ เก็ บ ผลิ ตภั ณ ฑ จ ากผึ้ ง เพื่ อ จํา หนา ยสร างรายได ให กั บ ผูเลี้ ย ง ซึ่ ง ใน ประเทศไทยพบผึ้งในสกุลเอปส ทั้งหมด 5 ชนิด ไดแก ผึ้งหลวง (A. dorsata) ผึ้งโพรงไทยหรือผึ้ง โพรงอินเดีย (A. cerana) ผึ้งมิ้ม (A. florea) ผึ้งมิ้มดําหรือผึ้งมิ้มเล็กหรือผึ้งมาน (A. andreniformis) และผึ้ ง พันธุ (A. mellifera) โดยผึ้ ง 4 ชนิ ดแรกนั้ นเปน ผึ้งพื้ น เมื องของประเทศไทย แต ผึ้ งชนิ ด สุ ด ท า ยคื อ ผึ้ ง พั น ธุ เ ป น ชนิด ที่ มี ก ารนํ า เข า จากต า งประเทศเพื่ อ ใช ใ นอุ ต สาหกรรมการเลี้ ย งผึ้ ง เนื่องจากเปนผึ้งที่เลี้ยงงาย ใหน้ําผึ้งและผลิตภัณฑอื่นในปริมาณมาก การเรียนรูชีววิทยาของผึ้งใน ดานตางๆ จะทําใหสามารถใชประโยชนจากผึ้งควบคูไปกับการอนุรกั ษผึ้งอยางยั่งยืน ************************************************************************** คําถามทายบท 1. จงบอกลักษณะและวิธีการในการจําแนกผึ้งสกุล Apis 2. ผึ้งสกุล Apis จําแนกออกเปนกี่กลุม อะไรบาง

Use Quizgecko on...
Browser
Browser