ชีวะ เล่ม 4 PDF
Document Details
Uploaded by Deleted User
ศาสตราจารย์ชูกิจ ลิมปิจำนงค์
Tags
Summary
นี่คือคู่มือครูรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 4 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 มันครอบคลุมเนื้อหาตามผลการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) เนื้อหาประกอบด้วยตารางวิเคราะห์ผลการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม
Full Transcript
๕ คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ชีววิทยา เล่ม ๔ ตามผลการเรียนรู้ กลุม่ สาระการเรียนรูว้ ทิ ยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ชีววิทยา ชั้น มัธยมศึกษ...
๕ คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ชีววิทยา เล่ม ๔ ตามผลการเรียนรู้ กลุม่ สาระการเรียนรูว้ ทิ ยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ชีววิทยา ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๕ เล่ม ๔ ตามผลการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑ จัดทำ โดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๖๒ คำ นำ สถาบั น ส่ ง เสริ ม การสอนวิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี (สสวท.) ได้ รั บ มอบหมายจาก กระทรวงศึกษาธิการ ในการพัฒนามาตรฐานและตัวชีว้ ด ั ของหลักสูตรกลุม ่ สาระการเรียนรูค ้ ณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ และยังมีบทบาทหน้าที่ในการรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำ หนังสือเรียน คู่มือครู แบบฝึ ก ทั ก ษะ กิ จ กรรม และสื่ อ การเรี ย นรู้ ตลอดจนวิ ธี ก ารจั ด การเรี ย นรู้ แ ละการวั ด และ การประเมินผล เพื่อให้การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คู่มือครูรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ เล่มที่ ๔ นี้ จัดทำ ขึ้น เพื่อประกอบการใช้หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ เล่มที่ ๔ โดยครอบคลุ ม เนื้ อ หาตามผลการเรี ย นรู้ แ ละสาระการเรี ย นรู้ เ พิ่ ม เติ ม กลุ่ ม สาระการเรี ย นรู้ วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ในสาระชีววิทยา โดยมีตารางวิเคราะห์ผลการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เพื่อการ จัดทำ หน่วยการเรียนรูใ้ นรายวิชาเพิม ่ เติมวิทยาศาสตร์ มีแนวการจัดการเรียนรู้ การให้ความรูเ้ พิม ่ เติม ที่จำ เป็นสำ หรับครูผู้สอน รวมทั้งการเฉลยคำ ถาม และแบบฝึกหัดในหนังสือเรียน สสวท. หวั ง เป็ น อย่ า งยิ่ ง ว่ า คู่ มื อ ครู เ ล่ ม นี้ จ ะเป็ น ประโยชน์ ต่ อ การจั ด การเรี ย นรู้ และเป็ น ส่ ว นสำ คั ญ ในการพั ฒ นาคุ ณ ภาพและมาตรฐานการศึ ก ษา กลุ่ ม สาระการเรี ย นรู้ วิ ท ยาศาสตร์ ขอขอบพระคุ ณ ผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ บุ ค ลากรทางการศึ ก ษาและหน่ ว ยงานต่ า ง ๆ ที่ มี ส่ ว นเกี่ ย วข้ อ ง ในการจัดทำ ไว้ ณ โอกาสนี้ (ศาสตราจารย์ชูกิจ ลิมปิจำ นงค์) ผู้อำ นวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ คำ ชี้แจง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้จด ั ทำ ตัวชีว้ ด ั และสาระการเรียนรู้ แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึ ก ษา ขั้ น พื้ น ฐานพุ ท ธศั ก ราช ๒๕๕๑ โดยมี จุ ด เน้ น เพื่ อ ต้ อ งการพั ฒ นาผู้ เ รี ย นให้ มี ค วามรู้ ความสามารถที่ ทั ด เที ย มกั บ นานาชาติ ได้ เ รี ย นรู้ วิ ท ยาศาสตร์ ที่ เ ชื่ อ มโยงความรู้ กั บ กระบวนการ ใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้และแก้ปัญหาที่หลากหลาย มีการทำ กิจกรรมด้วยการลงมือปฏิบัติ เพือ ่ ให้ผเู้ รียนได้ใช้ทก ั ษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ซึง่ ในปีการศึกษา ๒๕๖๑ เป็ น ต้ น ไปโรงเรี ย นจะต้ อ งใช้ ห ลั ก สู ต รกลุ่ ม สาระการเรี ย นรู้ วิ ท ยาศาสตร์ (ฉบั บ ปรั บ ปรุ ง พ.ศ. ๒๕๖๐) สสวท. ได้มีการจัดทำ หนังสือเรียนที่เป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตรเพื่อให้โรงเรียนได้ใช้ สำ หรับจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน และเพื่อให้ครูผู้สอนสามารถสอนและจัดกิจกรรมต่าง ๆ ตามหนังสือเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดทำ คู่มือครูสำ หรับใช้ประกอบหนังสือเรียนดังกล่าว คู่มือครูรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ เล่ม ๔ นี้ ได้บอกแนว การจัดการเรียนการสอนตามเนื้อหาในหนังสือเรียนเกี่ยวกับ ระบบย่อยอาหาร ระบบหายใจ ระบบ หมุ น เวี ย นเลื อ ดและระบบน้ำ เหลื อ ง ระบบภู มิ คุ้ ม กั น รวมทั้ ง ระบบขั บ ถ่ า ย ซึ่ ง ครู ผู้ ส อนสามารถ นำ ไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ให้บรรลุจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยสามารถนำ ไป จัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ตามความเหมาะสมและความพร้อมของโรงเรียน ในการจัดทำ คู่มือครูเล่มนี้ ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งจากผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการอิสระ คณาจารย์ รวมทั้งครูผู้สอน นักวิชาการ จากทั้งภาครัฐและเอกชน จึงขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ สสวท. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือครูรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ เล่ ม ๔ นี้ จะเป็ น ประโยชน์ แ ก่ ผู้ ส อน และผู้ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งทุ ก ฝ่ า ย ที่ จ ะช่ ว ยให้ ก ารจั ด การศึ ก ษา ด้านวิทยาศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากมีขอ ้ เสนอแนะใดทีจ ่ ะทำ ให้คม ู่ อ ื ครูเล่มนีม ้ ค ี วามสมบูรณ์ ยิ่งขึ้น โปรดแจ้ง สสวท. ทราบด้วย จะขอบคุณยิ่ง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ ข้อแนะนำ ทั่วไปในการใช้คู่มือครู วิทยาศาสตร์มีความเกี่ยวข้องกับทุกคนทั้งในชีวิตประจำ วันและการงานอาชีพต่าง ๆ รวมทั้งมี บทบาทสำ คัญในการพัฒนาผลผลิตต่าง ๆ ที่ใช้ในการอำ นวยความสะดวกทั้งในชีวิตและการทำ งาน นอกจากนี้วิทยาศาสตร์ยังช่วยพัฒนาวิธีคิดและทำ ให้มีทักษะที่จำ เป็นในการตัดสินใจและแก้ปัญหา อย่ า งเป็ น ระบบ การจั ด การเรี ย นรู้ เ พื่ อ ให้ นั ก เรี ย นมี ค วามรู้ แ ละทั ก ษะที่ สำ คั ญ ตามเป้ า หมายของ การจัดการเรียนรูว้ ท ิ ยาศาสตร์จงึ มีความสำ คัญยิง่ ซึง่ เป้าหมายของการจัดการเรียนรูว้ ท ิ ยาศาสตร์ มีดงั นี้ 1. เพื่อให้เข้าใจหลักการและทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานของวิชาวิทยาศาสตร์ 2. เพื่อให้เกิดความเข้าใจในลักษณะ ขอบเขต และข้อจำ กัดของวิทยาศาสตร์ 3. เพื่อให้เกิดทักษะที่สำ คัญในการศึกษาค้นคว้าและคิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 4. เพื่อพัฒนากระบวนการคิดและจินตนาการ ความสามารถในการแก้ปัญหาและการจัดการ ทักษะ ในการสื่อสาร และความสามารถในการตัดสินใจ 5. เพื่อให้ตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี มวลมนุษย์ และสภาพแวดล้อม ในเชิงที่มีอิทธิพลและผลกระทบซึ่งกันและกัน 6. เพือ ่ นำ ความรูค ้ วามเข้าใจเรือ ่ งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ตอ ่ สังคมและการ ดำ รงชีวิตอย่างมีคุณค่า 7. เพือ ่ ให้มีจต ิ วิทยาศาสตร์ มีคณ ุ ธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้ความรูท ้ างวิทยาศาสตร์อย่าง สร้างสรรค์ คู่ มื อ ครู เ ป็ น เอกสารที่ จั ด ทำ ขึ้ น ควบคู่ กั บ หนั ง สื อ เรี ย น สำ หรั บ ให้ ค รู ไ ด้ ใ ช้ เ ป็ น แนวทางใน การจั ด การเรี ย นรู้ เ พื่ อ ให้ นั ก เรี ย นได้ รั บ ความรู้ แ ละมี ทั ก ษะที่ สำ คั ญ ตามจุ ด ประสงค์ ก ารเรี ย นรู้ ใ น หนังสือเรียน ซึง่ สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ รวมทัง้ มีสอ ื่ การเรียนรูใ้ นเว็บไซต์ทส ี่ ามารถเชือ ่ มโยงได้จาก QR code หรือ URL ที่อยู่ประจำ แต่ละบท ซึ่งครูสามารถใช้ส่งเสริมให้นักเรียนบรรลุเป้าหมายของ การจั ด การเรี ย นรู้ วิ ท ยาศาสตร์ ไ ด้ อย่ า งไรก็ ต ามครู อ าจพิ จ ารณาดั ด แปลงหรื อ เพิ่ ม เติ ม การจั ด การเรียนรู้ให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละห้องเรียนได้ โดยคู่มือครูมีองค์ประกอบหลักดังต่อไปนี้ ผลการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้เป็นผลลัพธ์ที่ควรเกิดกับนักเรียนทั้งด้านความรู้และทักษะ ซึ่งช่วยให้ครูได้ทราบ เป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ในแต่ละเนื้อหาและออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับ ผลการเรียนรูไ้ ด้ ทัง้ นีค ้ รูอาจเพิม ่ เติมเนือ ้ หาหรือทักษะตามศักยภาพของนักเรียน รวมทัง้ อาจสอดแทรก เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นได้ การวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ การวิ เ คราะห์ ค วามรู้ ทั ก ษะกระบวนการทางวิ ท ยาศาสตร์ ทั ก ษะแห่ ง ศตวรรษที่ 21 และ จิตวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องในแต่ละผลการเรียนรู้ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ ผังมโนทัศน์ แผนภาพที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างความคิดหลัก ความคิดรอง และความคิดย่อย เพื่อช่วย ให้ครูเห็นความเชื่อมโยงของเนื้อหาภายในบทเรียน สาระสำ คัญ การสรุปเนื้อหาสำ คัญของบทเรียน เพื่อช่วยให้ครูเห็นกรอบเนื้อหาทั้งหมด รวมทั้งลำ ดับของ เนื้อหาในบทเรียนนั้น เวลาที่ใช้ เวลาที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งครูอาจดำ เนินการตามข้อเสนอแนะที่กำ หนดไว้ หรืออาจปรับ เวลาได้ตามความเหมาะสมกับบริบทของแต่ละห้องเรียน ความรู้ก่อนเรียน คำ สำ คัญหรือข้อความทีเ่ ป็นความรูพ ้ น ้ื ฐาน ซึง่ นักเรียนควรมีกอ ่ นทีจ่ ะเรียนรูเ้ นือ ้ หาในบทเรียนนัน ้ ตรวจสอบความรู้ก่อนเรียน ชุดคำ ถามและเฉลยที่ใช้ในการตรวจสอบความรู้ก่อนเรียนตามที่ระบุไว้ในหนังสือเรียน เพื่อให้ ครูได้ตรวจสอบและทบทวนความรู้ให้นักเรียนก่อนเริ่มกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ในแต่ละบทเรียน การจัดการเรียนรู้ในแต่ละหัวข้ออาจมีองค์ประกอบแตกต่างกัน โดยรายละเอียดของแต่ละ องค์ประกอบมีดังนี้ - จุดประสงค์การเรียนรู้ เป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ที่ต้องการให้นักเรียนเกิดความรู้ หรือทักษะหลังจากผ่าน กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ในแต่ละหัวข้อ ซึ่งสามารถวัดและประเมินผลได้ ทั้งนี้ครูอาจตั้ง จุดประสงค์เพิ่มเติมจากที่ให้ไว้ ตามความเหมาะสมกับบริบทของแต่ละห้องเรียน - ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น เนื้อหาที่นักเรียนอาจเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่พบบ่อย ซึ่งเป็นข้อมูลให้ครูได้พึงระวังหรือ อาจเน้นย้ำ ในประเด็นดังกล่าวเพื่อป้องกันการเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนได้ - แนวการจัดการเรียนรู้ แนวทางการจัดการเรียนรูท ้ ส ี่ อดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ โดยมีการนำ เสนอทัง้ ในส่วนของ เนือ ้ หาและกิจกรรมเป็นขัน ้ ตอนอย่างละเอียด ทัง้ นีค ้ รูอาจปรับหรือเพิม ่ เติมกิจกรรมจากทีใ่ ห้ไว้ ตามความเหมาะสมกับบริบทของแต่ละห้องเรียน กิจกรรม การปฏิ บั ติ ที่ ช่ ว ยในการเรี ย นรู้ เ นื้ อ หาหรื อ ฝึ ก ฝนให้ เ กิ ด ทั ก ษะตามจุ ด ประสงค์ ก ารเรี ย นรู้ ข อง บทเรียน โดยอาจเป็นการทดลอง การสาธิต การสืบค้นข้อมูล หรือกิจกรรมอื่น ๆ ซึ่งควรให้นักเรียนลงมือ ปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง โดยองค์ประกอบของกิจกรรมมีรายละเอียดดังนี้ - จุดประสงค์ เป้าหมายที่ต้องการให้นักเรียนเกิดความรู้หรือทักษะหลังจากผ่านกิจกรรมนั้น - วัสดุและอุปกรณ์ รายการวัสดุ อุปกรณ์ หรือสารเคมี ทีต ่ อ ้ งใช้ในการทำ กิจกรรม ซึง่ ครูควรเตรียมให้เพียงพอสำ หรับ การจัดกิจกรรม - การเตรียมล่วงหน้า ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่ครูต้องเตรียมล่วงหน้าสำ หรับการจัดกิจกรรม เช่น การเตรียมสารละลายที่มี ความเข้มข้นต่าง ๆ การเตรียมตัวอย่างสิ่งมีชีวิต - ข้อเสนอแนะสำ หรับครู ข้อมูลที่ให้ครูแจ้งต่อนักเรียนให้ทราบถึงข้อควรระวัง ข้อควรปฏิบัติ หรือข้อมูลเพิ่มเติมใน การทำ กิจกรรมนั้น ๆ - ตัวอย่างผลการทำ กิจกรรม ตัวอย่างผลการทดลอง การสาธิต การสืบค้นข้อมูล หรือกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อให้ครูใช้เป็นข้อมูล สำ หรับตรวจสอบผลการทำ กิจกรรมของนักเรียน - อภิปรายและสรุปผล ตั ว อย่ า งข้ อ มู ล ที่ ค วรได้ จ ากการอภิ ป รายและสรุ ป ผลการทำ กิ จ กรรม ซึ่ ง ครู อ าจใช้ คำ ถาม ท้ายกิจกรรมหรือคำ ถามเพิม ่ เติม เพือ ่ ช่วยให้นก ั เรียนอภิปรายในประเด็นทีต ่ อ ้ งการ รวมทัง้ ช่วย กระตุ้นให้นักเรียนช่วยกันคิดและอภิปรายถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำ ให้ผลของกิจกรรมเป็นไปตามที่ คาดหวัง หรืออาจไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง นอกจากนี้อาจมีความรู้เพิ่มเติมสำ หรับครู เพื่อให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งไม่ควรนำ ไปเพิ่มเติมให้นักเรียน เพราะเป็นส่วนที่เสริมจากเนื้อหาที่มีในหนังสือเรียน แนวทางการวัดและประเมินผล แนวทางการวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ ซึ่งประเมินทั้งด้านความรู้ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนทีค ่ วรเกิด ขึ้ น หลั ง จากได้ เ รี ย นรู้ ใ นแต่ ล ะหั ว ข้ อ ผลที่ ไ ด้ จ ากการประเมิ น จะช่ ว ยให้ ค รู ท ราบถึ ง ความสำ เร็ จ ของ การจัดการเรียนรู้ รวมทั้งใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับ นักเรียน เครือ ่ งมือวัดและประเมินผลมีอยูห ่ ลายรูปแบบ เช่น แบบทดสอบรูปแบบต่าง ๆ แบบประเมินทักษะ แบบประเมินคุณลักษณะด้านจิตวิทยาศาสตร์ ซึ่งครูอาจเลือกใช้เครื่องมือสำ หรับการวัดและประเมินผล จากเครือ ่ งมือมาตรฐานทีม ่ ผ ี พ ู้ ฒ ั นาไว้แล้ว ดัดแปลงจากเครือ ่ งมือทีผ ่ อ ู้ น ื่ ทำ ไว้แล้ว หรือสร้างเครือ ่ งมือใหม่ ขึ้นเอง ตัวอย่างของเครื่องมือวัดและประเมินผล ดังภาคผนวก เฉลยคำ ถาม แนวคำ ตอบของคำ ถามระหว่างเรียนและคำ ถามท้ายบทเรียนในหนังสือเรียน เพือ ่ ให้ครูใช้เป็นข้อมูล ในการตรวจสอบการตอบคำ ถามของนักเรียน - เฉลยคำ ถามระหว่างเรียน แนวคำ ตอบของคำ ถามระหว่ า งเรี ย นซึ่ ง มี ทั้ ง คำ ถามชวนคิ ด ตรวจสอบความเข้ า ใจ และ แบบฝึกหัด ทั้งนี้ครูควรใช้คำ ถามระหว่างเรียนเพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของนักเรียน ก่อนเริ่มเนื้อหาใหม่ เพื่อให้สามารถปรับการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมต่อไป - เฉลยคำ ถามท้ายบทเรียน แนวคำ ตอบของแบบฝึกหัดท้ายบท ซึ่งครูควรใช้คำ ถามท้ายบทเรียนเพื่อตรวจสอบว่า หลังจาก เรียนจบบทเรียนแล้ว นักเรียนยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องใด เพื่อให้สามารถวางแผน การทบทวนหรือเน้นย้ำ เนื้อหาให้กับนักเรียนก่อนการทดสอบได้ สารบัญ บทที่ 13 - 17 บทที่ เนื้อหา หน้า 13 13 ระบบย่อยอาหาร 1 ผลการเรียนรู้ 1 การวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ 2 ผังมโนทัศน์ 4 สาระสำ คัญ 6 ระบบย่อยอาหาร เวลาที่ใช้ 6 เฉลยตรวจสอบความรู้ก่อนเรียน 7 13.1 การย่อยอาหารของสัตว์ 11 13.2 การย่อยอาหารของมนุษย์ 18 เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบทที่ 13 30 14 14 ระบบหายใจ 37 ผลการเรียนรู้ 37 การวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ 38 ผังมโนทัศน์ 40 สาระสำ คัญ 42 ระบบหายใจ เวลาที่ใช้ 12 เฉลยตรวจสอบความรู้ก่อนเรียน 43 14.1 การแลกเปลี่ยนแก๊สของสัตว์ 46 14.2 อวัยวะและโครงสร้างในระบบหายใจของมนุษย์ 56 14.3 การแลกเปลี่ยนแก๊สและการลำ เลียงแก๊ส 60 14.4 การหายใจ 65 เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบทที่ 14 80 สารบัญ บทที่ 13 - 17 บทที่ เนื้อหา 15 15 ระบบหมุนเวียนเลือดและระบบน้ำ เหลือง 87 ผลการเรียนรู้ 87 การวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ 88 ผังมโนทัศน์ 92 สาระสำ คัญ 93 ระบบ หมุนเวียนเลือด เวลาที่ใช้ 94 และระบบน้ำ เหลือง เฉลยตรวจสอบความรู้ก่อนเรียน 95 15.1 การลำ เลียงสารในร่างกายของสัตว์ 96 15.2 การลำ เลียงสารในร่างกายของมนุษย์ 99 15.3 ระบบน้ำ เหลือง 130 เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบทที่ 15 133 16 16 ระบบภูมิคุ้มกัน 141 ผลการเรียนรู้ 141 การวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ 142 ผังมโนทัศน์ 144 สาระสำ คัญ 146 ระบบภูมิคุ้มกัน เวลาที่ใช้ 146 เฉลยตรวจสอบความรู้ก่อนเรียน 147 16.1 กลไกการต่อต้านหรือทำ ลายสิ่งแปลกปลอม 148 16.2 การสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน 161 16.3 ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน 168 เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบทที่ 16 173 สารบัญ บทที่ 13 - 17 บทที่ เนื้อหา หน้า 17 17 ระบบขับถ่าย 179 ผลการเรียนรู้ 179 การวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ 180 ผังมโนทัศน์ 182 สาระสำ คัญ 184 ระบบขับถ่าย เวลาที่ใช้ 184 เฉลยตรวจสอบความรู้ก่อนเรียน 185 17.1 การขับถ่ายของสัตว์ 187 17.2 การขับถ่ายของมนุษย์ 190 17.3 การทำ งานของหน่วยไต 196 17.4 ไตกับการรักษาดุลยภาพของน้ำ และสารต่าง ๆ ในร่างกาย 203 17.5 ความผิดปกติของระบบขับถ่าย 211 เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบทที่ 17 216 ตัวอย่างเครื่องมือวัดและประเมินผล 224 ภาคผนวก บรรณานุกรม 236 คณะกรรมการจัดทำ คู่มือครู 239 ชีววิทยา เล่ม 4 บทที่ 13 | ระบบย่อยอาหาร 1 13 บทที่ | ระบบย่อยอาหาร ipst.me/8816 ผลการเรียนรู้ 1. สืบค้นข้อมูล อธิบาย และเปรียบเทียบโครงสร้างและกระบวนการย่อยอาหารของสัตว์ทไี่ ม่มี ทางเดินอาหาร สัตว์ที่มีทางเดินอาหารแบบไม่สมบูรณ์ และสัตว์ที่มีทางเดินอาหารแบบ สมบูรณ์ 2. สังเกต อธิบาย การกินอาหารของ ไฮดรา และพลานาเรีย 3. อธิบายเกี่ยวกับโครงสร้าง หน้าที่ และกระบวนการย่อยอาหาร และการดูดซึมสารอาหาร ภายในระบบย่อยอาหารของมนุษย์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2 บทที่ 13 | ระบบย่อยอาหาร ชีววิทยา เล่ม 4 การวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ 1. สืบค้นข้อมูล อธิบาย และเปรียบเทียบโครงสร้างและกระบวนการย่อยอาหารของสัตว์ทไี่ ม่มี ทางเดินอาหาร สัตว์ที่มีทางเดินอาหารแบบไม่สมบูรณ์ และสัตว์ที่มีทางเดินอาหารแบบ สมบูรณ์ จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. สืบค้นข้อมูล อธิบาย และเปรียบเทียบโครงสร้างและกระบวนการย่อยอาหารของสัตว์ทไี่ ม่มี ทางเดินอาหาร สัตว์ที่มีทางเดินอาหารแบบไม่สมบูรณ์ และสัตว์ที่มีทางเดินอาหารแบบ สมบูรณ์ 2. อธิบายการย่อยอาหารภายนอกเซลล์และภายในเซลล์ ทักษะกระบวนการ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์ ทางวิทยาศาสตร์ 1. การสังเกต 1. การสื่อสารสารสนเทศและ 1. ความเชื่อมั่นต่อหลักฐาน 2. การจำ แนกประเภท การรู้เท่าทันสื่อ เชิงประจักษ์ 3. การลงความเห็นจากข้อมูล สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชีววิทยา เล่ม 4 บทที่ 13 | ระบบย่อยอาหาร 3 ผลการเรียนรู้ 2. สังเกต อธิบาย การกินอาหารของไฮดรา และพลานาเรีย จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. สังเกตและอธิบายการกินอาหารของไฮดรา และพลานาเรีย ทักษะกระบวนการ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์ ทางวิทยาศาสตร์ 1. การสังเกต 1. ความร่วมมือ การทำ งานเป็นทีม 1. ความเชื่อมั่นต่อหลักฐาน 2. การจำ แนกประเภท และภาวะผู้นำ เชิงประจักษ์ 3. การลงความเห็นจากข้อมูล ผลการเรียนรู้ 3. อธิบายเกี่ยวกับโครงสร้าง หน้าที่ และกระบวนการย่อยอาหาร และการดูดซึมสารอาหาร ภายในระบบย่อยอาหารของมนุษย์์ จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายเกีย ่ วกับโครงสร้างและหน้าทีข ่ องอวัยวะในกระบวนการย่อยเชิงกลและทางเคมีของ มนุษย์ 2. อธิบายเกีย ่ วกับโครงสร้างและหน้าทีข ่ องอวัยวะในการดูดซึมสารอาหารและการถ่ายอุจจาระ ของมนุษย์ ทักษะกระบวนการ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์ ทางวิทยาศาสตร์ 1. การสังเกต 1. ความร่วมมือ การทำ งานเป็นทีม 1. ความอยากรู้อยากเห็น 2. การจำ แนกประเภท และภาวะผู้นำ 2. ความเชื่อมั่นต่อหลักฐาน 3. การลงความเห็นจากข้อมูล เชิงประจักษ์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 4 บทที่ 13 | ระบบย่อยอาหาร ชีววิทยา เล่ม 4 ผังมโนทัศน์ บทที่ 13 ระบบย่อยอาหาร ศึกษาเกี่ยวกับ กระบวนการย่อยอาหาร การย่อยอาหารของสัตว์ แบ่งเป็น แบ่งเป็น การย่อยภายนอกเซลล์ สัตว์ที่ไม่มีทางเดินอาหาร พบใน การย่อยภายในเซลล์ ฟองน้ำ สัตว์ที่มีทางเดินอาหาร แบบไม่สมบูรณ์ พบใน ไฮดรา พลานาเรีย สัตว์ที่มีทางเดินอาหารแบบสมบูรณ์ พบใน สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังส่วนใหญ่ เช่น ไส้เดือนดิน แมลง สัตว์มีกระดูกสันหลัง เช่น ปลา นก กระต่าย มนุษย์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชีววิทยา เล่ม 4 บทที่ 13 | ระบบย่อยอาหาร 5 การย่อยอาหารของมนุษย์ ศึกษาเกี่ยวกับ ทางเดินอาหาร กระบวนการเปลี่ยนแปลงอาหาร ประกอบด้วย ประกอบด้วย ปาก การกิน หลอดอาหาร การย่อย แบ่งเป็น กระเพาะอาหาร การย่อยเชิงกล ลำ ไส้เล็ก การย่อยทางเคมี ลำ ไส้ใหญ่ การดูดซึม ทวารหนัก การถ่ายอุจจาระ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 6 บทที่ 13 | ระบบย่อยอาหาร ชีววิทยา เล่ม 4 สาระสำ คัญ อาหารที่สัตว์กินเข้าไปจะถูกย่อยให้มีโมเลกุลขนาดเล็กที่เซลล์นำ ไปใช้ได้ สัตว์มีโครงสร้างและ กระบวนการในการย่อยอาหารแตกต่างกัน แบ่งเป็น สัตว์ที่ไม่มีทางเดินอาหาร สัตว์ที่มีทางเดินอาหาร แบบไม่สมบูรณ์ และสัตว์ที่มีทางเดินอาหารแบบสมบูรณ์ การย่อยอาหารมีทั้งการย่อยภายนอกเซลล์ และการย่อยภายในเซลล์ มนุษย์มีทางเดินอาหารประกอบด้วย ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำ ไส้เล็ก ลำ ไส้ใหญ่ และทวารหนัก กระบวนการเปลีย ่ นแปลงอาหารประกอบด้วย การกิน การย่อยซึง่ มีการย่อยเชิงกลและ การย่อยทางเคมี การย่อยเกิดขึ้นที่ปาก กระเพาะอาหาร และลำ ไส้เล็ก การดูดซึมซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้น ที่ลำ ไส้เล็ก และการถ่ายอุจจาระ เวลาที่ใช้ บทนี้ควรใช้เวลาสอนประมาณ 14 ชั่วโมง 13.1 การย่อยอาหารของสัตว์ 8 ชั่วโมง 13.2 การย่อยอาหารของมนุษย์ 6 ชั่วโมง รวม 14 ชั่วโมง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชีววิทยา เล่ม 4 บทที่ 13 | ระบบย่อยอาหาร 7 เฉลยตรวจสอบความรู้ก่อนเรียน ให้นักเรียนใส่เครื่องหมายถูก (√) หรือผิด (×) หน้าข้อความตามความเข้าใจของนักเรียน 1. สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีโครงสร้างในการย่อยอาหารเหมือนกัน 2. คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และลิพิดเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย เซลล์สามารถ นำ ไปใช้ได้ทันที 3. ทางเดินอาหารของมนุษย์ประกอบด้วยอวัยวะต่าง ๆ ได้แก่ ปาก หลอดอาหาร กระเพาะ อาหาร ลำ ไส้เล็ก ลำ ไส้ใหญ่ ทวารหนัก และมีอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการย่อยอาหาร คือ ต่อมน้ำ ลาย ตับ และตับอ่อน 4. ฟันช่วยบดเคี้ยวอาหารให้มีขนาดเล็กลงจัดเป็นการย่อยเชิงกลและมีลิ้นช่วยคลุกเคล้า อาหาร 5. ภายในกระเพาะอาหารมีการย่อยโปรตีนโดยใช้เอนไซม์ในภาวะที่เป็นกรด 6. การย่อยอาหารในลำ ไส้เล็กอาศัยเอนไซม์ที่สร้างจากตับอ่อนเท่านั้น 7. การดูดซึมสารอาหารส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ลำ ไส้เล็ก 8. น้ำ ดีสร้างจากถุงน้ำ ดีแล้วส่งไปที่ลำ ไส้เล็กช่วยให้ลิพิดแตกตัว 9. ไตรกลีเซอไรด์เมื่อถูกย่อยแล้วจะได้กรดไขมันและกลีเซอรอล 10. เอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการย่อยอาหารจัดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 8 บทที่ 13 | ระบบย่อยอาหาร ชีววิทยา เล่ม 4 แนวการจัดการเรียนรู้ ครูทบทวนเรื่องสารอาหารที่ได้จากอาหารชนิดต่าง ๆ โดยมีแนวคำ ถามดังนี้ อาหารที่นักเรียนรับประทานในแต่ละวันประกอบด้วยสารอาหารประเภทใดบ้าง ร่างกายสามารถนำ อาหารที่รับประทานนั้นไปใช้ได้ทันทีหรือไม่ เพราะเหตุใด นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อสรุปว่า อาหารที่รับประทานมีหลากหลายชนิดประกอบด้วยสาร อาหารทัง้ ประเภททีใ่ ห้พลังงานและไม่ให้พลังงาน ประเภททีม ่ โี มเลกุลขนาดใหญ่และโมเลกุลขนาดเล็ก แต่สารอาหารที่ร่างกายจะนำ ไปใช้ได้นั้นต้องมีโมเลกุลขนาดเล็กจนเซลล์สามารถดูดซึมไปใช้ได้ ครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตพวกเห็ดราในรูป 13.1 ว่ามีการดำ รงชีวิตแบบใด เพื่อให้ นักเรียนสรุปได้ว่า เห็ดราดำ รงชีวิตเป็นผู้สลายสารอินทรีย์โดยปล่อยเอนไซม์ออกมาย่อยอาหาร ภายนอกเซลล์ แล้วดูดซึมสารอาหารที่ย่อยเป็นโมเลกุลขนาดเล็กเข้าสู่เซลล์ ครูอาจใช้คำ ถามเพิ่มเติมซึ่งมีแนวคำ ตอบดังนี้ สิง่ มีชวี ต ิ ทีม ่ ก ี ารย่อยอาหารภายนอกเซลล์มผ ี ลต่อการดำ รงชีวต ิ ของมนุษย์ และสิง่ แวดล้อม อย่างไร ช่วยย่อยสลายขยะที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติทำ ให้ขยะไม่ล้นโลก เช่น เห็ดสามารถย่อย ขอนไม้ให้ผพ ุ งั ได้ หรือราก็สามารถย่อยเศษอาหาร ผัก ผลไม้ท ำ ให้เกิดการย่อยสลาย ไม่เป็น ขยะที่ล้นโลก ขณะที่ขยะจำ พวกพลาสติกซึ่งไม่สามารถย่อยสลายได้ทำ ให้เกิดปัญหาขยะ ล้นโลก ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการปล่อยเอนไซม์มาย่อยอาหารภายนอกเซลล์ ดังนี้ สิ่ ง มี ชี วิ ต ที่ มี ก ารปล่ อ ยเอนไซม์ ม าย่ อ ยอาหารภายนอกเซลล์ ทำ ให้ ไ ด้ ผ ลผลิ ต บางชนิ ด ที่ มี ประโยชน์ต่อมนุษย์ ปัจจุบันมีการนำ เอนไซม์ของจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์มากขึ้น โดยเฉพาะในด้าน อุตสาหกรรม เช่น จุลน ิ ทรียท ์ เี่ กีย ่ วข้องกับกระบวนการหมักของอาหารทีท ่ ำ ให้ได้ผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ สามารถเก็บได้นาน เช่น ยีสต์ซึ่งใช้ในการหมักน้ำ ผลไม้เพื่อทำ ไวน์ ทำ ข้าวหมาก พวกแบคทีเรียใช้ใน การทำ แหนม ทำ นมเปรี้ยว แต่จุลินทรีย์บางชนิดที่เจริญในอาหารอาจทำ ให้เกิดการเน่าเสีย บางชนิด ผลิตสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น โบทูลินัมทอกซิน (botulinum toxin) ที่พบในหน่อไม้ที่ดองใน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชีววิทยา เล่ม 4 บทที่ 13 | ระบบย่อยอาหาร 9 ภาชนะปิดสนิท อะฟลาทอกซิน (aflatoxin) ที่พบในถั่วลิสงและธัญพืช จุลินทรีย์บางชนิดยังทำ หน้าที่ เป็ น ผู้ ส ลายสารอิ น ทรี ย์ ใ นซากพื ช ซากสั ต ว์ เช่ น เห็ ด บางชนิ ด ที่ ขึ้ น บนขอนไม้ ส ามารถย่ อ ยสลาย ขอนไม้ให้ผุพัง จึงจัดว่าสิ่งมีชีวิตเหล่านี้มีบทบาทสำ คัญในระบบนิเวศที่ทำ ให้เกิดการหมุนเวียนสาร บางชนิด แต่ก็อาจทำ ให้สภาพแวดล้อมเสียหายสำ หรับมนุษย์ได้ เช่น ราที่ขึ้นตามผนัง เครื่องใช้หรือ ภาชนะ ครูให้นักเรียนศึกษารูป 13.2 ในหนังสือเรียน เพื่อให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายและสรุปได้ว่า อะมีบาและพารามีเซียมมีการย่อยอาหารภายในเซลล์ โดยอะมีบามีการนำ อาหารเข้าสู่เซลล์ด้วยวิธี ฟาโกไซโทซิส และพิโนไซโทซิส ส่วนพารามีเซียมใช้ซิเลียโบกพัดอาหารเข้าสู่เซลล์ที่บริเวณร่องปาก เกิดเป็นฟูดแวคิวโอล กากอาหารถูกกำ จัดออกนอกเซลล์ด้วยวิธีเอกโซไซโทซิส ตรวจสอบความเข้าใจ การย่อยอาหารภายนอกเซลล์และการย่อยอาหารภายในเซลล์แตกต่างกันอย่างไร การย่อยอาหารภายนอกเซลล์เป็นการปล่อยเอนไซม์ออกมาย่อยอาหารภายนอกเซลล์แล้ว ดูดซึมสารอาหารเข้าสู่เซลล์ ส่วนการย่อยอาหารภายในเซลล์นั้น อาหารจะเข้าสู่เซลล์เกิด เป็นฟูดแวคิวโอลแล้วถูกย่อยด้วยเอนไซม์จากไลโซโซม ครู อ าจให้ นั ก เรี ย นทำ กิ จ กรรมเสนอแนะเพื่ อ เสริ ม ความเข้ า ใจเกี่ ย วกั บ การกิ น อาหารของ พารามีเซียม สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 10 บทที่ 13 | ระบบย่อยอาหาร ชีววิทยา เล่ม 4 กิจกรรมเสนอแนะ : การกินอาหารของพารามีเซียม จุดประสงค์ 1. สังเกตการกินอาหารของพารามีเซียม 2. อธิบายการเปลี่ยนแปลงของอาหารเมื่อเข้าสู่ภายในเซลล์ของพารามีเซียม วัสดุและอุปกรณ์ รายการ ปริมาณต่อกลุ่ม 1. ยีสต์ 1 ขวด ต่อห้อง 2. พารามีเซียม 1 ขวด ต่อห้อง 3. สารละลายสีคองโกเรด ความเข้มข้น 1% 1 ขวด ต่อห้อง 4. เมทิลเซลลูโลส ความเข้มข้น 5% 1 ขวด ต่อห้อง 5. น้ำ 250 mL 6. หลอดทดลองขนาดกลาง 1 หลอด 7. สไลด์ และกระจกปิดสไลด์ 2 แผ่น 8. กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงเชิงประกอบ 1 กล้อง 9. บีกเกอร์ ขนาด 250 mL 1 ใบ 10. ตะเกียงแอลกอฮอล์ 1 ชุด เฉลยคำ ถามท้ายกิจกรรม พารามีเซียมมีวิธีการกินยีสต์อย่างไร พารามีเซียมจะใช้ซิเลียที่อยู่บริเวณรอบ ๆ ร่องปากพัดโบกเอายีสต์เข้าไปทางร่องปาก ต่อจากนั้นยีสต์จะเข้าสู่ภายในเซลล์ของพารามีเซียมเกิดเป็นฟูดแวคิวโอล ยีสต์เมื่อเข้าสู่ภายในเซลล์ของพารามีเซียมแล้วมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหรือไม่ อย่างไร มีการเปลี่ยนแปลง โดยยีสต์ถูกย่อยสลายในฟูดแวคิวโอลด้วยเอนไซม์จากไลโซโซม สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชีววิทยา เล่ม 4 บทที่ 13 | ระบบย่อยอาหาร 11 13.1 การย่อยอาหารของสัตว์ จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. สืบค้นข้อมูล อธิบาย และเปรียบเทียบโครงสร้างและกระบวนการย่อยอาหารของสัตว์ทไ่ี ม่มี ทางเดินอาหาร สัตว์ทม ่ี ท ี างเดินอาหารแบบไม่สมบูรณ์ และสัตว์ทม ่ี ท ี างเดินอาหารแบบสมบูรณ์ 2. อธิบายการย่อยอาหารภายนอกเซลล์และภายในเซลล์ 3. สังเกต อธิบาย การกินอาหารของไฮดรา และพลานาเรีย ครูใช้คำ ถามเพิ่มเติมเพื่อนำ เข้าสู่หัวข้อการย่อยอาหารของสัตว์ ดังนี้ สิง่ มีชวี ต ิ สามารถย่อยอาหารทีม ่ โี มเลกุลขนาดใหญ่เป็นโมเลกุลขนาดเล็กด้วยวิธก ี ารอย่างไร สิ่ ง มี ชี วิ ต แต่ ล ะชนิ ด มี วิ ธี ก ารเปลี่ ย นแปลงสารอาหารโมเลกุ ล ขนาดใหญ่ เ ป็ น โมเลกุ ล ขนาดเล็กเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร สัตว์ที่ไม่มีทางเดินอาหาร ครูให้นก ั เรียนศึกษารูป 13.3 เพือ ่ ให้นก ั เรียนสรุปได้วา่ ฟองน้ ำ เป็นสัตว์ทไี่ ม่มท ี างเดินอาหาร แต่ มีช่องน้ำ เข้าและช่องน้ำ ออก มีโคเอโนไซต์และอะมีโบไซต์ทำ หน้าที่ย่อยอาหารซึ่งเกิดขึ้นภายในเซลล์ จากนั้นครูให้นักเรียนตอบคำ ถามในหนังสือเรียน ซึ่งมีแนวคำ ตอบดังนี้ การย่อยอาหารของฟองน้ำ เหมือนหรือแตกต่างกับอะมีบา และพารามีเซียม อย่างไร เหมือนกัน คือ มีการย่อยอาหารภายในเซลล์ ครูอาจเพิม ่ เติมความรูว้ า่ ฟองน้ ำ มีชอ ่ งน้ ำ เข้าทางด้านข้าง อาหารทีม ่ ากับน้ ำ จะถูกนำ เข้าสูเ่ ซลล์ ไม่มีการย่อยอาหารในช่องลำ ตัว เพราะถ้าเซลล์ของฟองน้ำ ปล่ อยเอนไซม์ ออกมาย่ อยอาหารใน ช่องลำ ตัว เอนไซม์จะถูกกระแสน้ำ ที่เข้าและออกพัดพาออกไปทางช่องน้ำ ออก สัตว์ที่มีทางเดินอาหารแบบไม่สมบูรณ์ และสัตว์ที่มีทางเดินอาหารแบบสมบูรณ์ ครูให้นักเรียนเปรียบเทียบรูป 13.4 กับ 13.8 เพื่อให้นักเรียนสรุปได้ว่า สัตว์ที่มีทางเดินอาหาร ทีม ่ ช ี อ ่ งเปิดทางเดียว จัดเป็นสัตว์ทม ี่ ท ี างเดินอาหารแบบไม่สมบูรณ์ ส่วนสัตว์ทม ี่ ท ี างเดินอาหารทีม ่ ช ี อ ่ ง เปิด 2 ทาง คือ มีปากและทวารหนัก จัดเป็นสัตว์ทม ี่ ท ี างเดินอาหารแบบสมบูรณ์ จากนัน ้ ครูให้นก ั เรียน ทำ กิจกรรม 13.1 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 12 บทที่ 13 | ระบบย่อยอาหาร ชีววิทยา เล่ม 4 กิจกรรม 13.1 การกินอาหารของไฮดรา จุดประสงค์ 1. สังเกตการกินอาหารและทางเดินอาหารของไฮดรา 2. สืบค้นข้อมูลและอธิบายกระบวนการย่อยอาหารของไฮดรา เวลาที่ใช้ (โดยประมาณ) 1 ชั่วโมง วัสดุและอุปกรณ์ รายการ ปริมาณต่อกลุ่ม 1. ไฮดรา 1 ตัว 2. ไรแดง 3 ตัว 3. น้ำ 25 mL 4. หลอดหยด 2 อัน 5. สไลด์หลุม 1 แผ่น 6. แว่นขยาย หรือกล้องจุลทรรศน์ใช้แสงเชิงประกอบ 1 กล้อง การเตรียมตัวล่วงหน้าสำ หรับครู ครูควรเตรียมไฮดรา โดยปล่อยให้อดอาหารประมาณ 2 วันก่อนการทำ กิจกรรมการกิน อาหารของไฮดรา และในการศึกษานีอ ้ าจใช้แว่นขยาย หรือกล้องจุลทรรศน์ใช้แสงเชิงประกอบ สังเกตขั้นตอนการกินอาหาร อภิปรายและสรุปผล จากการทำ กิจกรรมพบว่า ไฮดราใช้เทนทาเคิลจับไรแดงเข้าสู่ปาก ซึ่งเป็นช่องเปิดเข้าสู่ ภายในลำ ตัวเพียงช่องเดียว และขับกากไรแดงที่เหลือจากการย่อยออกทางปาก เฉลยคำ ถามท้ายกิจกรรม ไฮดรามีการย่อยอาหารภายนอกเซลล์หรือภายในเซลล์ ไฮดรามีการย่อยอาหารทั้งภายนอกเซลล์และภายในเซลล์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชีววิทยา เล่ม 4 บทที่ 13 | ระบบย่อยอาหาร 13 เขียนแผนผังแสดงการกินและกระบวนการย่อยอาหารของไฮดรา ไฮดราปล่อยเข็มพิษแทงไรแดง ไรแดงเป็นอัมพาต ไฮดราใช้เทนทาเคิลจับไรแดงเข้าปาก เซลล์ที่อยู่บริเวณเนื้อเยื่อชั้นในปล่อยเอนไซม์ออกมาย่อยไรแดง ในช่องภายในลำ ตัว อาหารที่ย่อยแล้วบางส่วนจะถูกนำ เข้าสู่เซลล์ด้วยวิธี ฟาโกไซโทซิสและย่อยภายในเซลล์ กากอาหารที่ไม่ถูกย่อยจะขับออกทางปาก วิธีการนำ อาหารเข้าสู่ร่างกายของฟองน้ำ และไฮดราแตกต่างกันอย่างไร ฟองน้ำ จะใช้ วิ ธี นำ อาหารเข้ า สู่ ร่ า งกายโดยการกรองอาหารที่ ม ากั บ น้ำ ทางช่ อ งน้ำ เข้ า ส่วนไฮดราจะใช้เทนทาเคิลจับเหยื่อแล้วส่งเข้าปากเพื่อเข้าสู่ช่องภายในลำ ตัว ครูให้นักเรียนศึกษารูป 13.5 เพื่อสรุปให้ได้ว่า ไฮดรามีเซลล์ทผ ่ี นังด้านในของลำ ตัวซึง่ ทำ หน้าที่ สร้างเอนไซม์เพื่อปล่อยออกสู่ทางเดินอาหารมาย่อยอาหารภายในช่องลำ ตัวซึ่งจัดเป็นการย่อยอาหาร ภายนอกเซลล์ ส่วนเซลล์บางเซลล์สามารถนำ อาหารเข้าสูเ่ ซลล์และมีการย่อยอาหารภายในเซลล์อก ี ด้วย ครูให้นักเรียนศึกษารูป 13.6 เพื่อสรุปให้ได้ว่า พลานาเรียมีทางเดินอาหารแบบไม่สมบูรณ์เช่น เดียวกับไฮดรา โดยมีการปล่อยเอนไซม์ออกมาย่อยอาหารให้เป็นชิ้นเล็กลงภายนอกตัวและอาหาร ทีย ่ อ ่ ยแล้วบางส่วนจะนำ เข้าเซลล์และถูกย่อยต่อภายในเซลล์จนสมบูรณ์ ส่วนกากอาหารก็จะขับออก ทางปาก จากนั้นครูให้นักเรียนทำ กิจกรรม 13.2 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 14 บทที่ 13 | ระบบย่อยอาหาร ชีววิทยา เล่ม 4 กิจกรรม 13.2 การกินอาหารของพลานาเรีย จุดประสงค์ 1. สังเกตการกินอาหารและทางเดินอาหารของพลานาเรีย 2. สืบค้นข้อมูลและอธิบายกระบวนการย่อยอาหารของพลานาเรีย เวลาที่ใช้ (โดยประมาณ) 1 ชั่วโมง วัสดุและอุปกรณ์ รายการ ปริมาณต่อกลุ่ม 1. พลานาเรีย 1 ตัว 2. ตับไก่ดิบ หรือไข่แดงสุก 1 ชิ้นเล็ก 3. ผงถ่านคาร์บอน 1 แคปซูลต่อห้อง 4. น้ำ 25 mL 5. หลอดหยด 1 อัน 6. ปากคีบ 1 อัน 7. สไลด์หลุม 1 แผ่น 8. แว่นขยาย หรือกล้องจุลทรรศน์ใช้แสงเชิงประกอบ 1 กล้อง การเตรียมตัวล่วงหน้าสำ หรับครู ครูควรเตรียมพลานาเรีย โดยปล่อยให้อดอาหารประมาณ 2 วันก่อนการทำ กิจกรรมการกิน อาหารของพลานาเรีย และในการศึกษานี้อาจใช้แว่นขยาย หรือกล้องจุลทรรศน์ใช้แสงเชิง ประกอบ สังเกตขั้นตอนการกินอาหาร อภิปรายและสรุปผล จากการทำ กิจกรรมพบว่า เมื่อปล่อยพลานาเรียให้กินตับที่ผสมผงถ่านคาร์บอนประมาณ 5-10 นาที จะสามารถสังเกตเห็นทางเดินอาหารของพลานาเรียได้ชัดเจนซึ่งจะมีลักษณะเป็น สีด ำ โดยพลานาเรียจะยืน ่ คอหอยซึง่ เป็นกล้ามเนือ ้ ออกจากปากมาดูดอาหารเข้าสูท ่ างเดินอาหาร ซึ่งมีลักษณะเป็นแขนงแยกออกไปตามลำ ตัว สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชีววิทยา เล่ม 4 บทที่ 13 | ระบบย่อยอาหาร 15 เฉลยคำ ถามท้ายกิจกรรม วิธีการกินอาหารของพลานาเรียแตกต่างจากไฮดราอย่างไร พลานาเรียยื่นคอหอยออกจากปากมาดูดอาหารเข้าสู่ทางเดินอาหาร ส่วนไฮดราจะใช้ เทนทาเคิลจับเหยื่อแล้วส่งเข้าปากเพื่อเข้าสู่ช่องภายในลำ ตัว ทางเดินอาหารของพลานาเรียที่สังเกตได้มีลักษณะแตกต่างจากไฮดราอย่างไร พลานาเรียมีทางเดินอาหารที่แตกแขนงไปทั่วร่างกาย ส่วนไฮดรามีทางเดินอาหารเป็น ช่องกลางลำ ตัว ซึ่งสัตว์ทั้งสองชนิดมีทางเดินอาหารแบบมีช่องเปิดทางเดียว ชวนคิด เพราะเหตุใดสัตว์ทม ่ี ท ี างเดินอาหารแบบไม่สมบูรณ์จงึ ต้องมีการย่อยอาหารทัง้ ภายนอกเซลล์ และภายในเซลล์ สัตว์ที่มีทางเดินอาหารแบบไม่สมบูรณ์ ส่วนใหญ่มีทางเดินอาหารสั้น ทำ ให้การย่อยอาหาร ภายนอกเซลล์มีเวลาน้อย การย่อยจึงเกิดขึ้นไม่สมบูรณ์ต้องมีการย่อยภายในเซลล์ต่อเพื่อ ให้ได้สารอาหารที่เซลล์สามารถนำ ไปใช้ได้ ครูให้นักเรียนศึกษารูป 13.9 จากนั้นให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับทางเดินอาหารของ ไส้เดือนดิน ตั๊กแตน นก และกระต่าย จากนั้นครูให้นักเรียนตอบคำ ถามในหนังสือเรียน ซึ่งมีแนว คำ ตอบดังนี้ จากรูป 13.9 สัตว์แต่ละชนิดมีทางเดินอาหารเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร เหมือนกัน คือ มีทางเดินอาหารแบบสมบูรณ์ แตกต่างกัน คือ สัตว์บางชนิดมีโครงสร้างที่ช่วย ในการย่อยอาหาร โดยไส้เดือนดินมีกระเพาะพักอาหารและกึน ๋ ตัก ๊ แตนมีตอ ่ มน้ ำ ลาย ต่อมสร้าง เอนไซม์และโพรเวนทริคิวลัส นกมีกระเพาะพักอาหารและกึ๋น กระต่ายมีฟัน ต่อมน้ำ ลาย ตับ และตับอ่อน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 16 บทที่ 13 | ระบบย่อยอาหาร ชีววิทยา เล่ม 4 ครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับหน้าที่ของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหารของสัตว์ ได้แก่ กระเพาะพักอาหาร กึ๋น และโพรเวนทริคิวลัส ในรูป 13.9 เพื่อสรุปให้ได้ว่า กระเพาะพักอาหาร เป็ น ส่ ว นของหลอดอาหารที่ ข ยายตั ว ออกเป็ น กระเปาะ เป็ น ที่ พั ก อาหารชั่ ว คราว ส่ ว นกึ๋ น และ โพรเวนทริคิวลัส เป็นส่วนที่มีกล้ามเนื้อหนาและเหนียวช่วยในการบดอาหารให้ละเอียดมากขึ้น ครูให้นักเรียนศึกษารูป 13.10 เพื่อสรุปให้ได้ว่า ในสัตว์กลุ่มเดียวกันที่กินอาหารต่างกันอาจมี ลักษณะของทางเดินอาหารแตกต่างกัน พร้อมทั้งให้นักเรียนตอบคำ ถามในหนังสือเรียน ซึ่งมีแนว คำ ตอบดังนี้ ทางเดินอาหารของปลากินพืชกับปลากินเนื้อมีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร ทางเดินอาหารของปลากินพืชจะมีความยาวมากกว่ า ทางเดิ นอาหารของปลากิ นเนื้ อ เมื่ อ เปรียบเทียบกับขนาดของตัวปลา ทางเดินอาหารของกระต่ายและสุนัขจิ้งจอกมีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดของลำ ตัว กระต่ายมี ทางเดิ นอาหารที่ ย าวและมี ซีกั มขนาดใหญ่ ส่วนสุนัขจิ้งจอกมีทางเดินอาหารสั้นและมีซีกัมขนาดเล็ก สัตว์กินพืชกับสัตว์กินเนื้อมีความยาวของทางเดินอาหารแตกต่างกันอย่างไร สัตว์กินพืชมีความยาวของทางเดินอาหารมากกว่าสัตว์กินเนื้อ ครูอาจให้นักเรียนทำ กิจกรรมเสนอแนะ ดังนี้ กิจกรรมเสนอแนะ : ทางเดินอาหารของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ศึกษาทางเดินอาหารของสัตว์มีกระดูกสันหลังซึ่งตายแล้วที่หาซื้อได้จากตลาด เช่น กบ ไก่ เป็ด ปลาช่อน ปลาตะเพียน โดยผ่าเพื่อศึกษาลักษณะของปาก ความยาวลำ ไส้ ความหนา และ ขนาดของกระเพาะอาหาร แล้วเขียนแผนภาพทางเดินอาหารตามที่ได้จากการสังเกต จากนั้นครูให้นักเรียนตอบคำ ถามท้ายกิจกรรม ซึ่งมีแนวคำ ตอบดังนี้ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชีววิทยา เล่ม 4 บทที่ 13 | ระบบย่อยอาหาร 17 สัตว์มก ี ระดูกสันหลังทีน ่ ก ั เรียนนำ มาศึกษามีทางเดินอาหารเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร และมีความสัมพันธ์กับอาหารที่สัตว์นั้นกินอย่างไร ทางเดิ น อาหารของสั ต ว์ มี ก ระดู ก สั น หลั ง จะคล้ า ยคลึ ง กั น คื อ เริ่ ม จากปาก คอหอย หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำ ไส้เล็ก ลำ ไส้ใหญ่ และทวารหนัก แต่ในสัตว์บางชนิด เช่น เป็ด ไก่ จะมีกระเพาะพักอาหารสำ หรับเก็บอาหาร แล้วส่งต่อไปยังกึ๋นซึ่งทำ หน้าที่ช่วยบด อาหารให้มข ี นาดเล็กลง แล้วส่งต่อไปยังกระเพาะอาหาร ลำ ไส้เล็ก ลำ ไส้ใหญ่และทวารหนัก ตามล?