บทที่ 4 ทักษะการสอน PDF
Document Details
Uploaded by Deleted User
Tags
Summary
เอกสารนี้มุ่งเน้นการสอนและทักษะการสอน 6 ทักษะ รวมถึงกิจกรรมการเรียนการสอนและประโยชน์
Full Transcript
บทที่ 4 ทักษะการสอน เนื้ อหาในการสอน 1. ความหมายของทักษะการสอน 2. ความสำคัญของทักษะการสอน 3. ลักษณะครูที่มีทักษะการสอน 4. ทักษะการสอน 6 ทักษะ - ทักษะการใช้วาจา กิริยาท่าทางเสริมบุคลิกภาพ และสื่อความหมาย - ทักษะการใช้คำถาม - ทักษะการใช้สื่อการสอน...
บทที่ 4 ทักษะการสอน เนื้ อหาในการสอน 1. ความหมายของทักษะการสอน 2. ความสำคัญของทักษะการสอน 3. ลักษณะครูที่มีทักษะการสอน 4. ทักษะการสอน 6 ทักษะ - ทักษะการใช้วาจา กิริยาท่าทางเสริมบุคลิกภาพ และสื่อความหมาย - ทักษะการใช้คำถาม - ทักษะการใช้สื่อการสอน - ทักษะการใช้กระดานดำ - ทักษะการอธิบายและเล่าเรื่อง - ทักษะการเร้าความสนใจ กิจกรรมก่อนเรียน (เก็บคะแนน) แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน และให้หาทักษะการสอนที่เหมาะสมกับรายวิชา ภาษาไทยกลุ่มละ 1 ทักษะ (ห้ามซ้ำกัน) และออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน ความหมายของทักษะการสอน ทิศนา แขมมณี (2555 : 386) ทักษะการสอน หมายถึง ความสามารถใน ปฏิบัติการสอนด้านต่าง ๆ อย่างชำนาญ ซึ่งจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อผู้สอนมีความรู้ความ เข้าใจเกี่ยวกับการสอน ได้แก่ ความเข้าใจในเรื่องทฤษฎี หลักการสอน ระบบการ สอน รูปแบบการเรียนการสอน วิธีสอน เทคนิคการสอน และลงมือปฏิบัติตาม ความรู้ ความเข้าใจนั้น จนสามารถปฏิบัติได้ผลดีอย่างคล่องแคล่วชำนาญ ความสาคัญของทักษะการสอน 1. ส่งเสริมความชำนาญ 2. ช่วยให้เกิดความมั่นใจ 3. ช่วยไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการสอน 4. ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ 5. ทำให้เกิดความชื่นชมในตนเองและผู้อื่น ผู้เรียนจะต้องเกิดการเรียนรู้ครบ ทั้ง 3 ด้าน คือ ความรู้ ทักษะ เจตคติ ลักษณะครูที่มีทักษะการสอน สอนด้วยความ สอนแล้วบรรลุผลสาเร็จ สอนด้วยความถูกต้อง คล่องแคล่ว อย่างมีประสิทธิภาพใน แม่นยา กระฉับกระเฉง เวลาที่เหมาะสม มีความมั่นใจในการ ทั้งด้านเนื้อหาสาระและ ผู้เรียนเกิดความรู้ ความ แสดงออกของพฤติกรรม วิธีการ ต้องมีความถูกต้อง เข้าใจ เกิดทักษะ เกิดเจต ต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ตรงตามหลักการและทฤษฎี คติที่ดีต่อวิชาที่เรียนและต่อ ราบรื่น ไม่ติดขัด เช่น การ ผู้สอน พูด การใช้กระดานดำ การ ใช้สื่อการสอน การ แก้ปัญหาฯ ทักษะการใช้วาจา กิริยา ท่าทางเสริมบุคลิกภาพ ทักษะการใช้คำถาม ทักษะการใช้สื่อการสอน และสื่อความหมาย ทักษะการอธิบายและ ทักษะการใช้กระดานดำ ทักษะการเร้าความสนใจ เล่าเรื่อง ทักษะการใช้วาจา กิรยิ าท่าทางเสริมบุคลิกภาพ และสือ่ ความหมาย ทักษะการใช้วาจา กิริยาท่าทางเสริมบุคลิกภาพ และสื่อความหมาย หมายถึง ความสามารถในวิธีการพูด น้ำเสียง จังหวะ ประกอบกับการใช้กิริยาท่าทางที่สื่อ ความเข้าใจได้กระจ่างชัดเจน แนบเนียน ไม่เคอะเขิน และเหมาะกับบุคลิกภาพของผู้ เป็นครู ประโยชน์ของการใช้วาจา กิรยิ าท่าทางเสริมบุคลิกภาพ และสือ่ ความหมาย 1. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเคารพศรัทธา และเกิดเจตคติที่ดีต่อผู้สอน เกิดความ กระตือรือร้นที่จะร่วมกิจกรรม 2. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในบทเรียนอย่างชัดเจน 3. ช่วยให้การควบคุมชั้นเรียนมีประสิทธิภาพ เพราะผู้เรียนยอมรับผู้สอน พฤติกรรมของทักษะการใช้วาจา กิรยิ าท่าทาง 1. การเคลื่อนไหวและเปลี่ยนอิริยาบถ 2. การใช้มือและแขน 3. การแสดงออกทางสีหน้า สายตา 4. การทรงตัว การวางท่าทาง 5. การใช้น้ำเสียง 6. การแต่งกาย 1. การเคลื่อนไหว และเปลี่ยนอิรยิ าบถ 1.1. เดินดูให้ทั่วขณะคุมชั้นเรียนหรือให้งานนักเรียนทำ 1.2. เดินเข้าใกล้นักเรียนเมื่อเห็นนักเรียนไม่สนใจบทเรียน 1.3. เดินอย่างสง่า ไม่ช้าหรือเร็วเกินไปจนลุกลนระหว่าการสอน 1.4. เปลี่ยนที่ยืนขณะอธิบาย พฤติกรรมที่ไม่ดีของการเคลื่อนไหว และเปลี่ยนอิริยาบถ มีดังนี้ 1. เดินวนเวียนหน้าชั้นเรียนเวียนศีรษะ 2. เดินเอามือล้วงกระเป๋าแบบนักเลงโต 3. ดินกระแอม กระไอ ตลอดเวลา 4. ยืนเกาะอยู่กับที่ตลอดเวลา 5. ยืนเขย่าขาไปมาตลอดเวลา 6. ยืน-เดิน แคะขี้ตาขณะสอน 7. ชอบสะบัดผม เสยผม ปัดผม เกาผม 8. ปัดมือไปมาตลอดเวลาขณะยืนสอน 9. เคาะหรือหักชอล์ก/ปากกาเล่นหรือโยนชอล์กไปที่กระดานเมื่อเขียนเสร็จ 10. เล่นหรือบิดของต่างๆ ขณะสอน เช่น กระดาษ สมุด ฯลฯ 11. ขยับกางเกงหรือเสื้อผ้าขณะสอน 12. ท่าทางเอียงอาย เช่น ไม่สบตาผู้เรียน ฯลฯ 13. มีกิริยาท่าทางรีบเร่งลุกลน หรืออ้อยอิ่งในขณะสอน 2. การใช้มือและแขน 2.1 ใช้มือส่งสัญญาณ เช่น กวักมือเรียก โบกให้ถอย ปรบมือ แสดงความยินดี ชมเชย 2.2 ครูใช้นิ้วแตะริมฝีปากเพื่อให้นักเรียนเงียบ 2.3 เคาะโต๊ะเบา ๆ เมื่อนักเรียนใจลอย 2.4 ใช้นิ้วแตะที่ขมับในเชิงใช้ความคิด 2.5 แตะไหล่นักเรียนเบา ๆ เมื่อนักเรียนเหม่อลอย 2.6 เคาะโต๊ะเบา ๆ เพื่อเรียกความสนใจใจบางโอกาส 2.7 กอดอกขณะรอให้นักเรียนคิดหาคำตอบ 2.8 ใช้มือประกอบท่าทางตามเนื้อเรื่อง ตามระดับเสียง ตามจังหวะ ฯลฯ พฤติกรรมที่ไม่ดีของการใช้มือและแขนประกอบการสอน มีดังนี้ 1. ใช้นิ้วหรือมือลบกระดาน 2. ตบหรือใช้ไม้ฟาดโต๊ะแรง ๆ 3. ผลักนักเรียนให้ถอยห่าง 4. ใช้ศอกกระทุ้งนักเรียน 5. ตบศีรษะนักเรียนแรง ๆ 6. เขย่าชอล์กตลอดเวลา 7. หักชอล์กโยนไปที่นักเรียน 8. โยนสิ่งของให้นักเรียนรับ 9. ขยับพนักเก้าอี้ไปมาอยู่เสมอ 10. เท้าเอวเมื่อไม่พอใจ 11. แกะ เกา ส่วนต่าง ๆ ขณะกำลังสอน 12. ดึงกระโปรงหรือกางเกงเวลาสอน 13. ทุบศีรษะตนเองเมื่อไม่ถูกใจหรือคิดไม่ออก 14. หักนิ้วมือเล่นให้เกิดเสียงดัง 15. ชอบถูมือไปมาขณะอธิบาย 16. เอาหัวแม่มือใส่ที่ขอบกางเกง 3. การแสดงออกทางสีหน้า สายตา 3.1 ยิ้มพร้อมพยักหน้ารับเมื่อนักเรียนทำความเคารพ หรือขอโทษ หรือขอบคุณ 3.2 เมื่อนักเรียนตอบคำถามหรือข้อคิดเห็นที่ขบขัน ครูควรมีอารมณ์ร่วมด้วย 3.3 เมื่อนักเรียนตอบคำถามนอกประเด็ก ควรแสดงสีหน้าเฉยหรือนิ่ง 3.4 เมื่อนักเรียนตอบถูกต้องหรือแสดงความคิดเห็นที่ดี ครูควรพยักหน้าพร้อมกับยิ้ม 3.5 เมื่อนักเรียนตอบผิด ครูควรส่ายหน้าพร้อม ๆ กับยิ้มน้อย ๆ เพื่อไม่ให้นักเรียนเสีย กำลังใจหรืออาย 3.6 ขณะสอนควรมีสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส 3.7 แสดงสีหน้าตั้งใจฟังขณะนักเรียนถาม ตอบหรือแสดงความคิดเห็น 3.8 แสดงสีหน้าประกอบให้เหมาะสมกับบทเรียนนั้น ๆ 3.9 ใช้สายตากวาดไปให้ทั่วห้อง และประสานสายตากับผู้เรียน พฤติกรรมที่ไม่ดีของการแสดงออกทางสีหน้า ใบหน้า สายตา มีดังนี้ 1. สีหน้าบึ้งตึง เคร่งเครียด เย็นชา เมื่อเดินเข้าห้องสอน 2. เมื่อนักเรียนตอบผิด ครูแสดงสีหน้าไม่พอใจหรือยิ้มเยาะหยันหรือทำท่าล้อเลียน 3. มองนักเรียนด้วยหางตา มองตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า 4. แสดงสีหน้ารำคาญเมื่อนักเรียนถาม 5. ไม่เก็บความรู้สึก เช่น หน้างอ เม้มริมฝีปาก หน้าบึ้ง เมื่อโกรธนักเรียนหรือแสดงความรู้สึกเหน็ดเหนื่อย 6. แสดงสีหน้าเฉยเมย เมื่อนักเรียนมีไมตรีจิตด้วย เช่น ทักทายหรือทำความเคารพ 7. ทำตาหวานกรุ้มกริ่มกับนักเรียน 8. หาวอย่างเปิดเผย 9. แลบลิ้นออกเลียริมฝีปากเสมอ 10. พูดไปหัวเราะไปอย่างไม่มีเหตุผลหรืออย่างไม่สมควร 11. ชอบระบายความรู้สึกเหน็ดเหนื่อยทางสีหน้าเป็นประจำ 12. ดูนาฬิกาบ่อย ๆ จนเป็นที่สังเกตได้ 4. การวางท่าทางและการทรงตัวในขณะที่สอน 4.1 ไม่วางท่าตามสบายเกินไปหรือตึงเครียดมากเกินไป 4.2 เท้าทั้งสองข้างอยู่ห่างกันพอสมควร 4.3 มีความเป็นตัวของตัวเอง 4.4 ไม่ยืนด้วยท่าทางนางแบบ 4.5 ยืนอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่เกร็ง พฤติกรรมที่ไม่ดีของการวางท่าทางและการทรงตัว มีดังนี้ 1. ตัวงอ หลังโก่ง ท้องป่อง 2. ยืนเกร็ง ยืนไหล่เอียงไปข้างหนึ่ง หรือไหล่ห่อ 3. ยืนพิงกระดานดำ ผนังห้องเรียน หรือกระดิกเท้า 4. ยืนมองเพดาน หรือมองไปนอกห้องตลอดเวลา 5. ยืนที่โต๊ะครู ถอดรองเท้าเข้า–ออกตลอดเวลา 6. ยืนชิดโต๊ะนักเรียนมากเกินไปขณะอธิบาย 7. นั่งหลับเวลานักเรียนทำแบบฝึกหัด 8. นั่งบนโต๊ะนักเรียน หรือโต๊ะครู 9. นั่งเขย่าเท้า 10. จับเนกไทเล่นไปมาขณะกำลังอธิบาย 11. ทำท่าทางเหมือนไม่มีชีวิต จิตใจ อ่อนเพลีย 12. ทำท่าทางแสดงตนเหนือนักเรียน เช่น เท้าสะเอว เอามือชี้กราด เป็นต้น 5. การใช้นาเสียง 5.1 เสียงดังฟังชัดเจน 5.2 ออกเสียง ร/ ล และคำควบกล้ำได้ถูกต้อง 5.3 น้ำเสียงมีเสียงสูง ต่ำ ตามเนื้อหาที่สอน 5.4 เน้นเสียงพอสมควร 5.5 มีหางเสียงพอสมควร 5.6 ใช้คำสุภาพ นุ่มนวล ไพเราะ 5.7 ใช้ภาษาพูดกับนักเรียนได้เหมาะสม 5.8 ใช้น้ำเสียงแสดงอารมณ์ได้ดี 5.9 ใช้ถ้อยคำถูกต้องตามความนิยม 5.10 น้ำเสียงแจ่มใส นุ่มนวลชวนฟัง 5.11 เสียงที่พูดนั้นเข้ากับกาลเทศะ พฤติกรรมที่ไม่ดีของน้ำเสียง มีดังนี้ 1. เสียงค่อยเกินไปจนเด็กไม่ได้ยินทั่วห้อง พูดไม่เต็มเสียง และขาดความหนักแน่น 2. สำเนียงไม่ชัดเจน เสียงเหน่อ 3. พูดเสียงกระแทกดุดัน กระโชกโฮกฮาก เสียงแข็งกระด้างหรือตวาดนักเรียน 4. พูดเสียงระดับเดียวกันตลอด ไม่มีการเปลี่ยนระดับเสียง 5. พูดเร็วมากเกินไปจนนักเรียนฟังไม่ทัน 6. พูดคำหยาบคาย เสียดสีประชดประชัน สบถให้นักเรียนฟังเมื่อไม่สบอารมณ์ 7. ออกเสียงควบกล้ำตัว ร/ล ไม่ชัด 8. เสียงดังจนเกินไป จนเกือบจะเป็นตะโกน 9. พูดติด ๆ ขัด ๆ เหมือนคนติดอ่าง เสียงสั่นเครือ เพราะประหม่า ไม่มั่นใจตนเอง 10. ใช้ภาษาเขียนมาพูดกับนักเรียนเหมือนท่องมาสอน 11. พูดไม่มีจังหวะหยุดหรือบางทีหยุดนานเกินไป 12. พูดเสียงสูงเกินไป และต่ำจนเกินไป 6. การแต่งกาย 6.1 เสื้อผ้าสุภาพเรียบร้อยตามสมัยนิยม 6.2 เสื้อผ้าสะอาดไม่ยับยู่ยี่ 6.3 เสื้อผ้าไม่รัดรูป ไม่คับ กระโปรงไม่สั้น 6.4 ไม่สวมเครื่องประดับแวววาวมากเกินไป 6.5 แต่งหน้าและผมแต่พอควร 6.6 รองเท้าสะอาด สุภาพและส้นไม่สูงจนเกินไป ลักษณะการแต่งกายที่ไม่เหมาะสม มีดังนี้ 1. สวมเสื้อผ้าที่สกปรก มีกลิ่นเหม็น 2. สวมเสื้อผ้าที่ไม่รีดหรือรีดไม่เรียบ 3. ปล่อยชายเสื้อให้หลุดลุ่ยจากกระโปรงหรือกางเกง 4. สวมเสื้อผ้าคอกว้างมากเกินไป 5. สวมเสื้อผ้าที่คับหรือหลวมมากเกินไป 6. สวมเสื้อผ้าที่ไม่เหมาะสมกับวัย 7. ใส่เครื่องประดับแวววาวมากเกินไป 8. สวมรองเท้าไม่สุภาพเข้าสอน เช่น รองเท้าแตะ สีฉูดฉาด สกปรก 9. กระเป๋าถือมีลวดลายและสีฉูดฉาด ไม่สุภาพ 10. ใช้เครื่องสำอางมากเกินไป วิธีการฝึ กใช้วาจา กิรยิ าท่าทาง 1. ฝึกด้วยตัวเอง โดยใช้กระจกเป็นครู กระจกที่ใช้ส่องควรเป็นกระจกบานใหญ่สามารถ มองเห็นการแสดงพฤติกรรมการแสดงออกได้ทั้งตัว 2. ฝึกโดยมีเพื่อนเป็นครู ผู้ฝึกควรมีความกล้าที่จะแสดงออกอย่างสมจริงต่อหน้าเพื่อน และ กล้าที่จะรับฟังข้อควรปรับปรุงแก้ไขเพื่อพัฒนาตนเอง 3. ฝึกโดยใช้เทปบันทึกภาพ/วิดีโอเป็นครู ขณะที่ฝึกการแสดงออกทางด้านการพูด การใช้ กริยาท่าทางต่าง ๆ จะมีการบันทึกภาพไว้ หลังจากนั้นนำแถบบันทึกภาพ/วิดีโอมาเปิดดู ผู้ฝึก จะได้เห็นบุคลิกลักษณะท่าทีการแสดงออกของตน ทำให้ผู้ฝึกสามารถปรับปรุงบุคลิกของตนได้ ทักษะการใช้คาถาม ทักษะการใช้คำถาม หมายถึง ความสามารถในการตั้งคำถามและในวิธีถาม เพื ่ อ ให้ น ั ก เรี ย นตอบโดยใช้ ก ารสั ง เกต ความคิ ด เห็ น เหตุ ผ ล และอื ่ น ๆ ที ่ ใ ช้ ความสามารถในระดับสูงกว่าความจำ รวมทั้งให้ผู้ สอนและผู้เรียนมีปฏิสัมพัน ธ์ ระหว่างกันและกันอีกด้วย ประโยชน์ของคาถาม 1. เพื่อส่งเสริมสร้างความสามารทางการคิดให้แก่ผู้เรียน 2. ใช้คำถามเป็นส่วนเร้าความสนใจ ทำให้ผู้เรียนตื่นตัวและสนใจเรียน 3. คำถามที่ดี ทำให้เกิดการขยายความคิดและแนวทางในการเรียน 4. ทำให้ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน 5. ใช้เป็นสื่อกลางเชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ 6. ก่อให้เกิดการค้นคว้า และสำรวจความรู้ใหม่ 7. ใช้คำถามทบทวนบทเรียน หรือสรุปเรื่องราวที่สอนให้กะทัดรัดยิ่งขึ้น 8. ใช้วัดผล ความเข้าใจและความสมารถของผู้เรียนว่าตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ ประเภทของคาถาม พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ (2544 : 91-93) คำถามมีหลายประเภท สามารถจำแนกได้โดยใช้เกณฑ์ต่าง ๆ เช่น คำถามระดับต้น คำถาม ระดับสูง คำถามแบบปิด คำถามแบบเปิด แต่ถ้าใช้การแบ่งประเภทของคำถามตามระดับขั้นของการ ใช้ความคิดในพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) ตามแนวความคิดของบลูม (Benjamin Bloom) จะได้ เป็น 6 ประเภท เรียงตามลำดับการคิดต่ำสุด ดังนี้ 1) ถามความจำ 2) ถามความเข้าใจ 3) ถามการนำไปใช้ 4) ถามการวิเคราะห์ ถือเป็นคำถามระดับสูง เพราะผู้เรียนได้คิด วิเคราะห์ 5) ถามการสังเคราะห์ ครูควรใช้คำถามประเภทนี้ให้มาก 6) ถามการประเมินค่า 1. คาถามแบบปิ ด เป็นคำถามที่มีคำตอบเพียงอย่างเดียวหรือให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เหมาะสมสำหรับ ข้อมูลเนื้อหาสาระที่เป็นความรู้ ลักษณะคำถามมักใช้คำว่า อะไร (What) ที่ไหน (Where) เมื่อไร (When) ใคร (Who) ใช่หรือไม่ (Yes-No Question) เป็นต้น ตัวอย่างคาถาม..... - ประเทศไทยมีประชากรกี่ล้านคน - สุนทรภู่เกิดเมื่อไร - ผลงานของสุนทรภู่มีอะไรบ้าง - ใครเป็นผู้ประดิษฐ์อักษรไทย เป็นต้น 2. คาถามแบบเปิ ด เป็นคำถามที่มีคำตอบหลายอย่าง ผู้ตอบต้องใช้ความรู้ผนวกความคิด ให้เหตุผล ประกอบการอธิบาย ลักษณะของคำถามจะใช้คำว่า ทำไม เพราะเหตุใด (Why) อย่างไร (How) ถ้าไม่เป็นอย่างนี้แล้วจะเป็นอย่างไร เป็นต้น ตัวอย่างคาถาม..... - ทำไมน้ำทะเลจึงเค็ม - เพราะเหตุใดหนังสือเล่มนี้จึงได้รับรางวัล - นักเรียนคิดว่าตัวละครใดเป็นผู้มีคุณธรรม *** ครูผู้สอนควรใช้คำถามแบบเปิดให้มากกว่าแบบเปิด ซึ่งเป็นการพัฒนาความคิดของนักเรียน ได้ดี เทคนิ คการถามคาถาม 1. ไม่ควรเจาะจงผู้ตอบหรือถามผู้เรียนตามลำดับ เพราะผู้ที่ยังไม่ถูกถามจะไม่สนใจคำถามอื่น ๆ 2. ไม่ควรถามผู้เรียนคนเดิมซ้ำบ่อยครั้ง เพราะคนอื่นอาจน้อยใจหรือไม่สนใจบทเรียน 3. ไม่ควรเร่งรัดคำตอบจากผู้เรียน ควรให้เวลาในการคิดบ้างเล็กน้อย 4. การถามคำถามควรใช้น้ำเสียงเร้าใจผู้ตอบ เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากตอบคำถาม 5. ขณะที่ผู้เรียนหยุดคิดหรือลังเลในการที่จะตอบคำถาม ครูควรให้กำลังใจ ไม่ควรคาดคั้นตำตอบ 6. ในการตอบคำถาม 1 ข้อ ครูสามารถให้ผู้เรียนช่วยกันคิดหาคำตอบร่วมกันหลาย ๆ คนได้ 7. หากผู้เรียนตอบคำถามได้ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงหรือไม่ค่อยมีเหตุผลมากนัก ครูควรมีการอธิบาย เพิ่มเติม 8. คุณค่าของการสอนโดยใช้คำถามจะหมดไป ถ้าครูเป็นผู้ถามเอง-ตอบเอง 9. สร้างบรรยากาศที่เป็นกันเองในห้องเรียน เพื่อให้ผู้เรียนรู้สึกอยากจะมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม 10. ในการตอบคำถามหนึ่ง ๆ ควรให้ผู้เรียนช่วยกันหาคำตอบในหลาย ๆ แนวไม่ควรจำกัดเฉพาะ คำตอบเดียว 11. ใช้คำถามที่ผู้เรียนมีความรู้และประสบการณ์เพียงพอ 12. ควรวิเคราะห์คำถามที่ถามไปแล้ว เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข เพื่อใช้ในโอกาสอื่น ๆ ต่อไป ข้อควรคานึ งถึงในการถามคาถาม ถามคำถามให้ตรง ใช้ภาษาทีง่ ่าย ควรมีการเสริม ประเด็น ชัดเจน กำลังใจ ถ้าไม่มีคำตอบควร ควรกระตุ้นผู้ที่ไม่ ใช้คำถามให้ ถามใหม่ สนใจ กลมกลืนขณะสอน ทักษะการใช้สอ่ื การสอน ทักษะการใช้สื่อการสอน หมายถึง ความสามารถในการเลือกสื่อการสอนให้ เหมาะสมกับขั้นตอนของการสอน และสามารถใช้สื่อการสอนได้อย่างถูกต้องตาม ลักษณะวิธีที่ดีของการใช้ สื่อการสอนเปรียบได้กับมือที่สามของครูเพราะครูสามารถนำมาใช้เป็นเครื่อง ทุนแรง ช่วยเสริมให้การสอนน่าสนใจ และลดพลังงานที่ครูต้องพูดอธิบายให้น้อยลง ได้ สื่อการสอนจะช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้เรีย น ช่วยสร้างความเข้าใจให้ชัด เจน ขึ้น และช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้เร็วขึ้น ตลอดจดจำได้นานขึ้น ประโยชน์ของสือ่ การสอน 1. สื่อกับผู้เรียน ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่ย่งุ ยากซับซ้อนได้ง่ายขึ้นในระยะอันสั้น 1. สื่อจะช่วยกระตุ้นและสร้างความสนใจของผู้เรียน ทำให้เกิดความสนุกและไม่เบื่อหน่าย 2. ทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนมากขึ้น และเกิดประสบการณ์ร่วมกันในวิชาที่เรียน 3. ทำให้เกิดมนุษยสัมพันธ์อันดีในระหว่างผู้เรียนด้วยกันเองและกับผู้สอน 4. ช่วยสร้างเสริมลักษณะนิสัยที่ดีในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ และเกิดความคิด 5. สร้างสรรค์จากการใช้สื่อ ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยการจัดให้มีการใช้สื่อในการเรียน 6. การสอนรายบุคคล 2. สื่อกับผู้สอน 1. ทำให้ผู้สอนมีความสนุกสนานในการสอนมากกว่าวิธีการที่เคยใช้การบรรยายแต่เพียงอย่างเดียว เป็นการสร้างความเชื่อมั่นในตัวเองให้เพิ่มขึ้น 2. สื่อจะช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอนในด้านการเตรียมเนื้อหา เพราะบางครั้งอาจให้ผู้เรียน ศึกษาเนื้อหาจากสื่อได้เอง 3. เป็นการกระตุ้นให้ผู้สอนตื่นตัวอยู่เสมอในการเตรียมและผลิตวัสดุใหม่ ๆ เพื่อใช้เป็นสื่อการสอน ทักษะการใช้กระดานดา ทักษะการใช้กระดานดำ หมายถึง ความสามารถในการกระดานดำให้เป็น ประโยชน์ต่อการสอน ทั้งด้านการเขียน การวาดภาพ การให้นักเรียนมีส่วนร่วมใน การใช้ ฯลฯ คุณสมบัติเด่นของกระดานดา อาภรณ์ ใจเที่ยง กล่าวถึง คุณสมบัติเด่นของกระดานดำไว้ดังนี้ 1. สามารถใช้ได้ทุกเวลาและทุกโอกาส 2. ไม่ชำรุดเสียหายได้ง่าย 3. นักเรียนสามารถมองเห็นได้ง่าย 4. เขียนและลบได้ง่าย 5. นำเสนอข้อคิดใหม่ได้ทันที 6. ใช้ได้ทั้งครูและนักเรียน วัตถุประสงค์ของการใช้กระดานดา กระดานดำเป็นสื่อที่เสริมให้นักเรียนเข้าใจบทเรียนได้ดียงิ่ ขึ้น โดยครูมีวัตถุประสงค์ในการใช้กระดานดำ ดังนี้ เพื่อใช้ประกอบการอธิบาย สรุป และทบทวนบทเรียน 1. ใช้เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความรู้ ความคิดเห็น และศักยภาพด้านอื่น ๆ 2. ใช้เพื่อเสริมการใช้สื่ออุปกรณ์ด้านอื่น ๆ เช่น เครื่องแอลซีดีโปรเจกเตอร์และเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ 3. ใช้เพื่อประกอบการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ในชั้นเรียน เช่น เล่มเกม ติดภาพ 4. เทคนิคการใช้กระดานดา 1. ก่อนใช้กระดานดำควรคำนึงถึงความสะอาด 2. ฝึกเขียนอยู่เสมอ รวมทั้งเขียนให้ถูกต้องและรวดเร็ว 3. ทดลองเขียนตัวอักษรที่มีขนาดที่เหมาะสม อ่านง่าย 4. การเขียนให้จับชอล์กทำมุม 45 องศากับกระดานดำ 5. ขณะฝึกเขียนใหม่ ๆ อาจใช้ชอล์กทำเส้นประให้เป็นแนวตรง 6. ควรเขียนชื่อเรื่องไว้กลางกระดานดำ ในกรณีที่เน้นคำ ข้อความสำคัญหรือภาพ 7. ควรฝึกการเขียนลายเส้นบนกระดานดำ เพื่อช่วยในการบรรยายของครู 8. เลือกเขียนเฉพาะหัวข้อและใจความสำคัญ ไม่ควรเขียนให้มากและแน่นเกินไป 9. เมื่อเขียนกระดานดำเสร็จทุกครั้ง ควรตรวจสอบข้อความที่เขียนบนกระดาน 10. หากกระดานดำมีความยาวมาก ๆ ควรขีดเส้นแบ่งเป็นสองหรือสามส่วนตามความ เหมาะสม 11. ควรเริ่มเขียนจากด้านบนซ้ายของกระดานดำไปทางขวา 12. ชอล์กบางสี เช่น สีน้ำเงิน สีเขียว ไม่เหมาะที่จะใช้เขียนบนกระดานดำเพราะสีอาจ กลมกลืนกับกระดานดำ 13. ขณะอธิบายข้อความบนกระดานดำ ครูควรยืนชิดไปข้างใดข้างหนึ่งของกระดานดำ 14. ไม่ทิ้งเศษชอล์กบนพื้น 15. การเขียนกระดานที่อยู่ด้านล่าง ให้ย่อตัวลงไปเขียน ไม่ใช้โค้งตัวไปเขียน ข้อแนะนาเกี่ยวกับการใช้กระดานดา 1. ครูควรทำความสะอาดกระดานดำทุกครั้งที่สอน 2. ในการเขียนกระดานดำควรแบ่งครึ่ง แบ่งเป็น 3 ส่วน 3. ในการเขียนกระดานดำควรเขียนจากซ้ายมือไปขวามือ 4. หัวข้อเรื่องควรเขียนไว้ตรงกลางกระดานดำ 5. ขณะเขียนต้องยืนห่างกระดานดำพอประมาณ แขนเหยียดตรง ควรทำมุม ประมาณ 45 องศา 6. ในการเขียนตัวหนังสือ ต้องให้เป็นเป็นเส้นตรงไม่คดเคี้ยว 7. ถ้าต้องการอธิบายข้อความบนกระดานไม่ควรยืนบัง 8. ถ้ามีข้อความสำคัญควรใช้ชอล์กขีดเส้นใต้ 9. ควรใช้ชอล์กสีเมื่อต้องการเน้นข้อความ 10. เขียนคำตอบลงนกระดานเพื่อเป็นการเสริมกำลังใจ 11. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเขียนกระดานดำ 12. ถ้าจะขึ้นเรื่องใหม่ควรลบของเก่าให้หมดเสียก่อน 13. การลบกระดานต้องลบจากบนลงล่าง ข้อควรคานึงในการใช้กระดานดา ขอบล่างของกระดานดำควรอยู่ในระดับสายตาของผู้ดู ที่นั่งของผู้ดูควรอยู่ในระดับ 60 องศา วัดจากกึ่งกลางของกระดาน คนที่นั่งหน้าชั้นควรอยู่ห่างจากกระดานดำอย่างน้อย 3 เมตร มีแสงสว่างที่กระดานดำเพียงพอ เขียนกระดานดำอย่างเป็นระเบียบ เขียนตัวอักษรให้มีหัว อ่านง่าย ไม่ควรเขียนกระดานดำนานเกินไป ทำให้เสียเวลา ผู้สอนควรศึกษาหลักการสำคัญในการเขียนกระดานดำ ครูควรฝึกเขียนกระดานดำให้ถูกต้องตามหลักการที่ได้ศึกษา ปรับปรุงแก้ไขเมื่อพบข้อบกพร่อง ทักษะการอธิบายและเล่าเรื่อง ทั ก ษะการอธิ บ ายและเล่ า เรื ่ อ ง หมายถึ ง ความสามารถในการอธิ บ าย เปรีย บเที ย บ เล่านิ ทาน เล่าประวัต ิ หรือยกตัว อย่ า ง โดยลำดับเรื่องใช้ท ่า ทาง น้ำเสียงในการอธิบายหรือในการเล่าเรื่องแต่ละตอนได้อย่างเหมาะสม ชวนให้ติดตาม ตั้งแต่ต้นจนจบ ทักษะการอธิบายและเล่าเรื่องกับผู้สอน 1. บุคลิกของผู้อธิบายมีส่วนส่งเสริมความเข้าใจของผู้เรียน 2. ความรู้ ความสามารถของผู้อธิบายทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจอย่างชัดเจน 3. หากผู้สอนมีทักษะการอธิบายและการใช้วาจากริยาท่าทาง จะสามารถ สร้างความเข้าใจและกระตุ้นผู้เรียนได้ 4. ผู้สอนต้องเตรียมการอธิบายและเล่าเรื่องมาเป็นอย่างดี 5. ใช้สื่อประกอบการอธิบายและเล่าเรื่อง หลักการเลือกเรื่องที่จะเล่า เรื่องควรมีคุณค่าต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญาและการใช้ภาษาของผู้เรียน ควรเป็นเรื่องที่มีคุณค่าทางศีลธรรม และส่งเสริมเจตคติที่ดี ควรเลือกเรื่องที่เหมาะสมกับวัย และสติปัญญาของผู้เรียน ควรเป็นเรื่องที่หลากหลาย เรื่องที่อธิบายหรือเล่าไม่ยาว หรือสั้นจนเกินไป ไม่ควรเล่าเรื่องที่ทำให้เด็กหวาดกลัว เสียสุขภาพจิต ควรเป็นเรื่องที่สนุกสนาน แฝงไปด้วยคติสอนใจ ไม่ควรเป็นเรื่องงมงาย เพ้อฝัน ขาดเหตุผล ประโยชน์ของการอธิบายและเล่าเรื่อง ช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้ ข้อมูลหรือรายละเอียดอย่างสมบูรณ์ 1. ช่วยให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้เรียนเกิดเจตคติที่ดีต่อผู้สอน 2. ช่วยเพิ่มพูนความรู้ทางภาษาและช่วยฝึกทักษะทางภาษาแก่ผู้เรียน ทั้งด้านการฟังและการพูด 3. ช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีระหว่างการจัดการเรียนการสอน 4. ถ้าครูนำเรื่องที่แฝงไปด้วยข้อคิดมาเล่า จะช่วยเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมให้แก่ 5. ผู้เรียนได้ ช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน 6. ช่วยส่งเสริมจินตนาการให้แก่ผู้เรียน 7. ข้อควรคานึงในการอธิบายและเล่าเรื่อง ผู้สอนควรมีบุคลิกภาพที่เป็นกันเองกับผู้เรียน เรื่องและวิธีการเล่าต้องไม่ยืดเยื้อ ซ้ำไปมา หรือสับสน ควรเตรียมตัวให้พร้อมก่อนไปอธิบายหรือเล่าเรื่อง ใช้ภาษา น้ำเสียง และท่าทางให้เหมาะสมกับเรื่องที่พูด บรรยากาศหรือสภาพแวดล้อมของชั้นเรียนควรมีความเหมาะสม เตรียมความพร้อมของผู้เรียนก่อนอธิบายหรือเล่าเรื่อง ทักษะการเร้าความสนใจ ทักษะการเร้าความสนใจ หมายถึง ความสามารถในการกระตุ้นให้ผู้เรียนมี ความกระตือรือร้นหรือพร้อมที่จะเรียนโดยการเปลี่ยนวิธีสอนหรือเปลี่ยนกิจกรรมไป ในลักษณะต่าง ๆ เพื่อเร้าความสนใจในแต่ละขั้นตอนของการสอน วัตถุประสงค์ของการเร้าความสนใจ มุ่งให้ผู้เรียนเรียนด้วยความสนุกสนาน เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ มุ่งกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้วิธีการเรียนหลาย ๆ แบบ และเกิดประสบการณ์ที่หลากหลาย มุ่งให้ผู้เรียนเกิดความพร้อมที่จะเรียน มุ่งให้ผู้เรียนสนใจบทเรียนตั้งแต่ต้นจนจบ มุ่งให้ผู้สอนและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มุ่งให้กิจกรรมการเรียนการสอนในแต่ละครั้งมีความหมาย มุ่งสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนการสอน มุ่งให้การควบคุมชั้นเรียนเกิดผลดี มุ่งช่วยให้ครูสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพและตามแผนที่ตั้งไว้ ช่วยสร้างและพัฒนาผู้เรียนให้มีพฤติกรรมที่พงึ ประสงค์ เป็นเครื่องมือ เทคนิควิธีการหรือองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยให้ผู้สอนและผู้เรียนประสบ ความสำเร็จตามจุดประสงค์ เป็นเครื่องชี้ให้เห็นการการสอนเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ประโยชน์ของการเร้าความสนใจ 1. เป็นการเตรียมความพร้อมของผู้เรียน 2. ทำให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้ง่ายขึ้น 3. ทำให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ 4. เป็นการสร้างบรรยากาศให้แก่ผู้เรียน 5. ทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้น หลักในการเร้าความสนใจ การเตรียมความพร้อม การใช้สีหน้า ท่าทางประกอบการสอน เช่น การมอง ยิ้ม ส่ายหน้า โบกมือ ผงกศีรษะ ชี้ กวักมือ เป็นต้น การใช้ถ้อยคำและน้ำเสียง เป็นสิ่งที่กระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจเรียน ควรมีการเน้นหนักเบาในคำพูด การเคลื่อนไหวของครู ครูควรเปลี่ยนจุดนั่งและจุดยืนของตนบ้าง ความตั้งใจในการสอนของผู้สอน เทคนิคการเร้าความสนใจ การใช้ท่าทาง การใช้สื่อการสอน การร้องเพลง ประกอบ การเล่นคำสัมผัส การเล่านิทาน เรื่องสั้น การตั้งปัญหาและ การแสดงบทบาท การเล่นเกม สนทนาซักถาม สมมุติ การใช้เหตุการณ์ การสาธิต การศึกษานอกชั้นเรียน ปัจจุบัน สรุป ทักษะสอนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับครู การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจะทำอย่างไรจึง จะสามารถดึงดูด ความสนใจของผู้เรียนในระหว่างทำกิจกรรมการเรียนการสอน และครูจะใช้ ทักษะการสอนใด จึงช่วยการเรียนการสอนเป็นไปในทิศทางที่ต้องการทักษะการสอนต่าง ๆ ที่ ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ที่ทำให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติ ความสำคัญ ของทักษะการสอนส่งเสริมความชำนาญ ช่วยให้เกิดความมั ่นใจ ช่วยไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดใน การสอน ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดความชื่นชมในตนเองและผู้อื่น ผู้เ รียน จะต้องเกิดการเรียนรู้ 3 ด้าน คือ ความรู้ ทักษะ เจตคติ ได้แก่ ทักษะการใช้วาจา กิริยาท่าทาง เสริมบุคลิกภาพ และสื่อความหมาย ทักษะการใช้คำถาม ทักษะการใช้สื่อการสอน ทักษะการ ใช้กระดานดำ ทักษะการอธิบายและเล่าเรื่อง ทักษะการเร้าความสนใจ คาถามท้ายบท ถ้านักศึกษาได้รับมอบหมายให้เตรียมการสอนทักษะใดทักษะหนึ่ง จงเขียน ขั้นตอนการใช้ทักษะ โดยเลือกเอาเนื้อหาสาระการเรียนรู้ระดับใดก็ได้ คนละ 1 ทักษะ