Personality Development for leader PDF

Document Details

OptimalDystopia

Uploaded by OptimalDystopia

Mahasarakham University

รศ. ดร. เดือนเด่น นาคสีหราช อาจารย์ ดร. ชินวัตร เชื้อสระคู

Tags

leadership development personality development communication skills social skills

Summary

This document details the importance of personality development for leaders. It examines aspects such as attitudes, social skills, and communication, and emphasizes the need for leaders to understand their own personalities and how to improve them. It also covers topics like good conduct, communication skills, and social abilities.

Full Transcript

การพัฒนาบุคลิกภาพสาหรับผู้นา (Personality Development for leader) บทที่ 5 การพัฒนาบุคลิกภาพสาหรับผู้นา (Personality Development for leader) รศ. ดร. เดือนเด่น...

การพัฒนาบุคลิกภาพสาหรับผู้นา (Personality Development for leader) บทที่ 5 การพัฒนาบุคลิกภาพสาหรับผู้นา (Personality Development for leader) รศ. ดร. เดือนเด่น นาคสีหราช - น.บ. (นิติศาสตรบัณฑิต) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - น.ม. (นิติศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - น.ด. (นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์ ดร. ชินวัตร เชื้อสระคู - ร.บ. (รัฐประศาสนศาสตร์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - ศศ.ม. (จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - รป.ด. (รัฐประศาสนศาสตร์) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 1 การพัฒนาบุคลิกภาพสาหรับผู้นา (Personality Development for leader) แผนบริหารการสอน บทที่ 5 หัวข้อเนื้อหา 1. บทนา 2. ทัศนคติ 3. การสร้างไมตรีที่ดี 4. เสื้อผ้าและการแต่งกาย 5. ท่าทาง การยืน เดิน นั่ง 6. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพและผู้นาการเปลี่ยนแปลง วัตถุประสงค์การสอน 1. ผู้เรียนเข้าใจบุคลิกภาพของตน และสามารถวิเคราะห์บุคลิกภาพของตนได้ 2. ผู้เรียนทราบวิธีการพื้นฐานในการปรับปรุงตนเองให้ดูดี 3. ผู้เรียนสามารถทาใจให้มีความสุข มองโลกในแง่ดี มีความเชื่อมั่นในตนเอง 4. ผู้เรียนได้ฝึกฝนกิริยามารยาท การคิด การพูด การวางตัวต่าง ๆ กิจกรรมการเรียนการสอน 1. บรรยายประกอบโดยใช้โปรแกรมการนาเสนอ (Power point) 2. อภิปรายโดยใช้คาถามนาเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาบุคลิกภาพ 3. กรณีศึกษา 4. แบบฝึกหัด สื่อการเรียนการสอน 1. โปรแกรมการนาเสนอ (Power point) 2. เอกสารคาสอน 3. มิลติมีเดียด้านการพัฒนาบุคลิกภาพ การประเมินผล 1. การสังเกตจากการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียนของนิสิต 2. การตอบคาถามแบบฝึกหัดท้ายบทของนิสิต 3. การมอบหมายงานเดี่ยว 2 การพัฒนาบุคลิกภาพสาหรับผู้นา (Personality Development for leader) 1.บทนา การที่มีคนไม่ละสายตาไปจากเราเพราะรู้สึกประทับใจในอากัปกิริยาที่สง่างาม คล่องแคล่ว มีชีวิตชีวา มั่นใจ และ เหมาะสมกับ กาลเทศะ อยากเข้ามาใกล้ ชิด อยากฟัง สิ่งที่เราคุ ย ชอบในสิ่งที่เราแสดงออก มีมนุษย์สัมพันธ์ดี และมี ความสามารถในหลายๆด้าน คุณลักษณะที่พึงประสงค์ดังกล่าวเรียกว่าการมี “บุคลิกภาพดี” และเรากาลังถูกประเมินว่า เป็นคนที่มคี วามเป็นผู้นา (Pellegrino and Vanhagan, 1985; สุเทพ, 2548; Stogdill, 1981; Ruch, 1965) ในบทเกี่ยวกับ การพัฒนาบุคลิกภาพสาหรับผู้นาหากเราได้สารวจตรวจตรา ฝึกฝน และปฏิบัติตามขั้นตอนและ หัวข้อต่างๆ ดังที่จะได้กล่าวต่อไป และรู้จักปรับประยุกต์ให้เข้ากับวาระและโอกาสหรื อสถานการณ์ที่พบเจอ เชื่อว่า นิสิต จะเป็นผู้หนึ่งที่อยู่ในสายตาของผู้อื่นแน่นอน หลักสาคัญที่สุดคือ บุคลิกภาพที่ดึงดูดใจ เสน่ห์ และมารยาทต่างๆ นั้น รากฐานที่แข็งแรงที่สุดต้องมาจาก ‘ข้างใน’ ซึ่งหมายถึง นิสิตไม่จาเป็นต้องเป็นคนสวย หล่อ หุ่นดี สูงโปร่ง ผิวขาว ในอีก ด้านหนึ่งเพียงแค่นิสิตเป็นผู้ที่มีความงามและความดีที่มาจากข้างในเช่น การคิดบวก การมีรอยยิ้มที่เป็นมิตร การรัก เคารพตัวเองและพัฒนาตนเองให้ดีที่สุดย่อมสามารถสร้างเสน่ห์ให้ใครต่อใครชื่นชมได้ สิ่งที่สาคัญที่เราต้องเข้าใจตนเองและมองข้ามความสมบูรณ์แบบภายนอกนั้นมีองค์ประกอบดังนี้ 1. รู้ธรรมชาติของคน คนแต่ละคนมีธรรมชาติที่เหมือนกันอยู่หลายอย่าง ธรรมชาติที่ว่านั้นต้องการการตอบสนองและยอมรับการเข้าใจ ธรรมชาติของมนุษย์จะช่วยให้เราปรับตัวเข้ากับคนง่าย ไม่ขัดแย้ง ประสบความสาเร็จในการอยู่ร่วมกัน ทางานร่วมกัน ฯลฯ มนุษย์มีสิ่งที่เป็นลักษณะพื้นฐานตามธรรมชาติ ดังนี้ 1.1 มีความแตกต่างกันเป็นพื้นฐาน ไม่เพียงแต่ลักษณะภายนอกเช่น รูปร่างหน้าตา ท่าทาง นิสัยใจคอ เท่านั้น การรู้จักควบคุมอารมณ์ที่ไม่เท่ากัน บางคนชอบแข่งขัน บางคนชอบสันโดษ เป็นต้น การที่บุคคลมีความแตกต่าง กันแต่สามารถปรับตัวและใช้ชีวิตร่วมกันได้ เพียงแต่เราเข้าใจยอมรับในความต่างและเคารพในความต่างนั้นๆ 1.2 แต่ละคนมีคุณค่ามากกว่าทีม่ องเห็น การมองหรือประเมินคนอื่นๆ ด้วยสายตาธรรมดานั้น บ่อยครั้ง ที่เราพบว่ามีความผิดพลาดเกิดขึ้น เพราะบางคนหน้าบึ้งตึง แต่เมื่อเอ่ยปากพูด เราก็รู้สึกได้ทันทีว่าเขาพูดจาอ่อนหวาน ไม่ ดูถูกเหยียดหยามใคร ไม่ประชดเหน็บแนม มีทัศนคติที่ดี มองโลกในแง่บวก น่าคบหา ดังนั้น จงอย่าด่วนตัดสินใครเพราะ เพียงแค่จากการมอง 1.3 ไม่มีใครอยากโดนตาหนิ ดังเช่นสานวนที่ว่า สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง เมื่อเราทาผิด เรา ไม่อยากให้ใครมาตาหนิเรา ผู้อื่นก็เช่นเดียวกัน คนทุกคนชอบการชมเชย เล็กน้อยด้วยความจริงใจ เพราะฉะนั้นเราต้อง เริ่มต้นมองกันและกันโดยไม่คิดตาหนิ เพราะการตาหนิเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งและการสร้างศัตรู 1.4 อยากได้รับการยกย่อง บุคคลใดๆ ชอบได้รับการยกย่อง เพราะการยกย่องเป็นเครื่องหมายของ การยอมรับหรือการได้รับการยืนยัน การรับรอง ทาให้เกิดความภูมิใจ ความมั่นใจขึ้นมา 3 การพัฒนาบุคลิกภาพสาหรับผู้นา (Personality Development for leader) 2. ควรรู้ว่าชีวิตต้องการอะไร นิสิตควรมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าเราจะเปลี่ยนแปลงอะไร จะเรียนรู้อะไร เพื่ออะไร เป้าหมายจะเหนี่ยวนาให้เรามี วินัย หนักแน่น และมีกาลังใจที่จะฝึกฝนเปลี่ยนแปลง หากทาอย่างเลื่อนลอย ไร้จุดหมาย จะท้อแท้ง่าย ยอมแพ้ และไม่มี การพัฒนาในที่สุด 3. รู้กติกาของสังคม สังคมมีระเบียบ กฎเกณฑ์ และกติกา เช่น มหาวิทยาลัย การลงทะเบียน การ ต้องรู้เงื่อนไขที่ว่านี้ แล้วปฏิบัติให้ เหมาะสมถูกต้อง การศึกษาเพื่อรู้จักตนเอง ตามหลักหน้าต่างของโจฮารี Luft และ Ingham (1955) ได้เสนอตัวแบบหน้าต่างโจฮารี (Johari Window) ซึ่งกล่าวถึงคุณลักษณะของ แต่ละบุคคลซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหรือหน้าต่าง 4 บาน ได้แก่ Known to self (ตัวเรารู้) Not known to self (ตัวเราไม่รู้) Known to others Open Area Blind Area (ผู้อื่นรู้) (บริเวณเปิดเผย) (บริเวณที่มองไม่เห็น) Not Known to others Hidden Area Unknown Area (ผู้อื่นไม่รู้) (บริเวณที่ซ่อนเร้น) (บริเวณที่มืด) 1. บริเวณเปิดเผย (Open Area) คือ เรารู้ คนอื่นรู้ หมายถึง เรารู้ว่าตัวเองมีจุดบกพร่อง และเปิดเผยให้ คนอื่นรับรู้ เป็นการเปิดเผยตนเองเพื่อให้คนอื่นแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับจุดบกพร่องของเราแล้ วนามาแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาบุคลิกภาพ 2. บริเวณจุดบอด (Blind Area) คือ เราไม่รู้แต่คนอื่นรู้ หมายถึง เราไม่รู้จุดบกพร่องของตนเอง แต่คนอื่นรู้ การที่ เราไม่รู้จุดบอดหรือข้อเสียของตนเองทาให้เราหลงทางและไม่ช่วยให้เกิดการแก้ไขและปรับบุคลิกภาพ 3. บริเวณที่ซ่อนเร้น (Hidden Area) คือ เรารู้แต่คนอื่นไม่รู้ หมายถึง เรารู้ว่าตัวเองมีจุดบกพร่อง แต่ปิดบังเปิน ความลับไม่ให้ผู้อื่นรู้ เราควรลดความลับ เนื่องจากการปกปิด มีความลับทาให้เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยว และไม่ช่วยให้เกิด การปรับปรุงและพัฒนาบุคลิกภาพ 4. บริเวณที่มืด (Unknown Area) คือ ทั้งตัวเราและผู้อื่นไม่รู้จุดบกพร่องที่เรามี เราควรลด ปริศนา เนื่องจากทั้ง เราและคนอื่นไม่มีใครรู้ ทาให้ไม่รู้จักตนเองไม่ช่วยให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาบุคลิกภาพ 4 การพัฒนาบุคลิกภาพสาหรับผู้นา (Personality Development for leader) การรู้จักตนเองและเข้าใจผู้อื่น Harris (1969) นักจิตวิทยาได้เสนอแนวคิดการมองชีวิต 4 แบบ (4 life positions) โดยอธิบายสาเหตุที่คนส่วน ใหญ่แสดงพฤติกรรมเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมส่วนหนึ่งเกิดจากภูมิหลังในวัยเด็กซึ่ง ทาให้แต่ละคนมีจุดยืนแห่งชีวิต ที่ แตกต่างกัน โดยแบ่งออกเป็น 4 แบบคือ 1.ตัวเราแน่ คนอื่นก็แน่ (I’m O. K. You’re O.K.) 2.ตัวเราแน่ คนอื่นแย่ (I’m O.K. You’re not O.K.) 3.ตัวเราแย่ คนอื่นแน่ (I’m not O.K. You’re O.K.) 4.ตัวเราก็แย่ คนอื่นก็แย่ (I’m not O.K. You’re not O.K.) แบบแรก I’m OK, You’re OK เป็นมุมมองที่ดีกล่าวคือ มองตนเองว่าเป็นคนมีความสามารถ มีความมั่นใจใน ตนเอง รวมทั้งยังมองคนอื่นว่าเป็นคนที่เก่ง เช่นกัน คนที่มีความคิดแบบนี้จะเป็นคนที่มีความสุข รู้จักให้เกียรติคนอื่น ที่ สาคัญเป็นคุณสมบัติที่ดีของคนที่จะเป็นผู้นา แบบที่สอง I’m OK, You’re Not OK เป็นความคิดว่าตนเองเหนือกว่าผู้อื่น เช่น รูปร่าง หน้าตา ฐานะ ความสามารถ เป็นต้น โดยที่คนอื่นไม่สามารถเปรียบเทียบหรือสู้เราได้ คนที่มองตนเองแบบนี้ จะเป็นคนที่ยกตนข่มท่าน และจะไม่ค่อยยอมให้คนอื่นมาดีกว่าตนเองได้ แบบที่สาม I’m Not OK, You’re OK เป็นการมองว่าตนเองไม่ดี ไม่เก่ง แต่คนอื่นสูงส่ง เก่งกว่า ดีกว่า ความคิด แบบนี้ทาให้ตนเองรู้สึกต่าต้อยไร้ค่า ไม่มีความมั่นใจในตนเอง จะมีปัญหาด้านบุคลิกภาพคือคิดว่าตนเองไม่คู่ควรหรือเข้า กับสังคมได้ยาก สาหรับคนที่เป็นหัวหน้า มุมมองแบบนี้ไม่ดีเพราะมองว่าตนเองไม่เก่งเลย จะทาให้ไม่สามารถสร้างความ น่าเชื่อถือให้กับลูกน้องของตนเองได้ และทาให้เพื่อนร่วมทีมไม่ค่อยจะยอมรับและเชื่อถือเรา แบบสุดท้าย I’m not O.K. You’re not O.K. เป็นความคิดในด้านลบ ไม่มีใครถูกใจทั้งตัวเราเองและผู้อื่น กล่าวคือมองว่าตนเองไม่ดี ไม่เก่ง แถมยังมองคนอื่นว่าไม่ได้ดี ไปกว่าตัวเองซักเท่าไร แบบนี้เป็นคุณสมบัติที่ไม่ดีสาหรับคน ที่จะเป็นหัวหน้า หรือผู้นาเพราะไม่เชื่อใจใครแม้แต่ตนเอง องค์ประกอบของบุคลิกภาพ 1. บุคลิกภาพทางกาย หมายถึงลักษณะทางกายภายทั้งหมดของเราซึ่งเป็นสิ่งที่ติดตัวมาแต่กาเนิด เช่น ความสูง ต่า ดา ผอม สีผิว เส้น ผม รูปหน้าจมูก สะโพก ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ หากไม่พอใจ อาจมีวิธีทางการแพทย์ช่วยแก้ไขให้ได้ แต่ก็ต้องศึกษาให้เข้าใจถึง ผลดีผลเสียในระยะยาว เพราะบางอย่างเมื่อเปลี่ ยนแปลงแล้วก็เปลี่ยนแปลงถาวร วิธีที่ดีคือใช้การอาพรางส่วนด้อย แล้ว เน้นส่วนที่ดูเด่นให้ดีขึ้นมา เช่น หากเตี้ยก็ใช้รองเท้า ท่าเดิน หรือเสื้อผ้าเข้าช่วย ใช้ทรงผมปรับแต่งรูปหน้าให้ดูดีขึ้น บวก กับการแต่งหน้าเพื่อปรับสีผิวให้สวยน่ามอง เลือกเสื้อผ้าที่เหมาะกับรูปร่างของตนเอง เป็นต้น 5 การพัฒนาบุคลิกภาพสาหรับผู้นา (Personality Development for leader) 2. คุณภาพของอารมณ์ รูปร่างหน้าตาดีไม่ช่วยให้อารมณ์ที่เลวร้ายถูก มองข้ามไปได้ คนเราชอบอยู่ใกล้ผู้ที่อารมณ์ดี จิตใจดี เราจึงต้อง หมั่นฝึกฝนการควบคุมอารมณ์ การใช้อารมณ์ และการรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง ไม่ปล่อยให้อารมณ์เป็นฝ่ายบงการเรา บุคคลที่จะเปลี่ ยนแปลงปรับปรุงตนเองได้ดี ต้องมีความหนักแน่นในอารมณ์ ไม่เพียงแต่รู้จักใช้อารมณ์อย่งมีคุณ ภาพ เท่านั้นแต่ยังต้องรู้จักสร้างอารมณ์ที่มีคุณภาพดีให้แก่ผู้อื่นด้วย 3. ทัศนคติ ต้องมีทัศนคติที่ดีทั้งต่อตนเองและผู้อื่น มีทัศนคติที่ดีต่อโลกและต่อชีวิต ทัศนคติเป็นตัวกาหนดท่าทีภายนอกของ คนเรา และเป็นตัวกาหนดหรือขับเคลื่อนอารมณ์ด้วย ต่อให้เราพยายามควบคุมอารมณ์สักเท่าไหร่ หากเรามีทัศนคติที่ เลวร้าย ถึงที่สุดเราก็ต้องปล่อยอารมณ์และท่าทีที่เลวร้ายออกมา เช่น หากเรามีทัศนคติที่เลวร้ายกับชีวิตของตนเอง แม้ เราพยายามจะหาสิ่งที่ช่วยให้เรามีอารมณ์ที่ดีไม่ว่าจะดูหนัง ฟังเพลง พูดคุยกับเพื่อนฝูง หรืออะไรก็ตาม ในที่สุดเราก็ ต้อง กลับมาจมอยู่ หดหู่ หมดหวัง โกรธเกลียดตัวเองอยู่ดี เพราะทัศนคติคืออารมณ์ที่แท้จริงที่สุดที่เรามี จงสร้างทัศนคติที่ดีๆ ไว้เป็นแกนสาหรับหมุนชีวิตของเรา 4. การเข้าสังคม หลักในการเข้าสังคมนั้น เพียงแค่ปฏิบัติตนให้ถูกกาลเทศะและกติกาที่สังคมเขานิยมปฏิบัติ หรือกาหนดเป็น กฎเกณฑ์ไว้ ก็เพียงพอแล้ว และต้องปฏิบัติอย่างพอเหมาะสม รู้จักปรับเปลี่ยนพลิกแพลงไปตามสถานการณ์ด้วยความสด ชื่น ผ่อนคลาย วิธีการประเมินบุคลิกภาพ : บุคลิกภาพที่ดีควรเป็นอย่างไร คนเราทุกคนอยากจะมีคุณค่าในสายตาผู้อื่นไม่น้อยไปกว่าการที่เรารู้สึกกับตัวเองว่าเรามีคุณค่า คุ ณ ค่ า ที่ ว่ า นั้ น ได้แก่รูปร่างหน้าตา ท่าทาง การพูดการจา ลักษณะของความเป็นผู้นา การเคลื่อนไหวหรือมีอิริยาบถที่สง่างาม น่ามอง ความสุขุม เยือกเย็น แววตาที่เป็นมิตร กิริยามารยาทที่เหมาะควรแก่ทุกกาลเทศะ ทัศนคติ ฯลฯ คนเราทุกคนล้วนมี ‘คุณสมบัติ’ ที่มีคุณค่าอยู่ในตัวทุกคน มากน้อยบ้างต่างกันไป บางคนมีแต่แสดงออกผิดหรือ แสดงออกไม่เป็น คุณค่าจึงไม่ปรากฏในสายตาผู้อื่น ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า ‘บุคลิกภาพ’ แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ บุคลิกภาพภายนอก : ประตูแห่งความประทับใจ เป็นส่วนที่เราสามารถมองเห็นหรือได้ยินกันอย่างชัดเจน ส่วนนี้ เป็นส่วนที่สาคัญมาก เพราะเมื่อเรามีโอกาสได้พบกับใครสักคนหนึ่ง สิ่งที่เราหรือเขามองเห็นด้วยตา กับได้ยินด้วยหูนั้น จะ เป็นสิ่งแรกที่ถูกประเมินค่าและตัดสิน สังเกตได้จากหนังสือจานวนมากกล่าวไว้ว่า 1-7 วินาทีแรกที่คนเราเจอกัน ต่างฝ่าย ต่างก็ประเมินและให้คะแนนกันและกันไปแล้ว ช่วงเวลา 7 วินาทีนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ช่วงเวลาแห่งความประทับใจ แรก” (First Impression) ช่วงเวลาเพียงแค่สั้นๆ นั้นคือ ‘ภาพลักษณ์เฉพาะตน’ ของเรา ที่คนอื่นประเมินโดยที่ไม่ จาเป็นต้องรู้ว่าเรานิสัยใจคออย่างไร รักชอบอะไร ซึ่งนั่นเป็น ‘บุคลิกภาพภายใน’ 6 การพัฒนาบุคลิกภาพสาหรับผู้นา (Personality Development for leader) ภาพที่ 1 การแต่งการนิสิตวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยามหาสารคาม (ที่มา : http://www.copag.msu.ac.th) การประเมินบุคลิกภาพภายนอกนั้น อย่างแรกที่เราจะเห็นหรือสะดุดตาก็คือ มาด เราชอบมองคนที่ดูเท่ ดูสง่า งาม คาว่า “มาด” จึ งประกอบด้วยบุคลิกท่าที อากัปกิริยา การเดิน ยืน นั่ง และการเคลื่อนไหวร่างกายทั้งหมด ประการถัดมาที่คนจะมองก็คือ การแต่งตัว เราอาจเคยพบบางคนมาดดี แต่แต่งตัวไม่สุภาพ ผิดเวลา ผิดงาน ผิดสถานที่ อย่างนี้ ทาให้เกิดความไม่ประทับใจใน 7 วินาทีทอง คนจะมองแล้วว่า‘ไม่รู้จักกาลเทศะ’ การแต่งกายที่ดี มิได้ขึ้นอยู่กับยี่ห้อหรือราคา แต่เราจะดูว่าเหมาะกับกาลเทศะหรือไม่ และเหมาะกับรูปร่างและ บุคลิกหรือไม่ นอกจากนั้นคือการทักทายโอภาปราศรัย มารยาทในการเข้าสังคม ฯลฯ เป็นรายละเอียดปลีกย่อยที่จะ กล่าวถึงในเรื่องต่อๆไป บุคลิกภาพภายใน : ใจซึ่งเผยอยู่หน้าประตู เป็นบ่อเกิดของท่าทีหรือบุคลิกภาพภายนอก หลายคนเอาแต่สนใจ ตกแต่งแค่บุคลิกภาพภายนอก โดยลืมไปว่านิสัยหรือทัศนคติในตัวคนนั้น สามารถส่งผ่านท่าที คาพูด การแสดงความ คิดเห็นหรือการวิพากษ์วิจารณ์ แววตา รอยยิ้ม ซึ่งสิ่งเหล่านี้มันไม่อาจปั้นแต่งกันขึ้นมาได้ หรือต่อให้มีความสามารถในการ เสแสร้งแกล้งทาได้จริงๆ มันก็มีโอกาสเผลอไผล ถึงที่สุดคนเขาก็รู้ว่าเราเสแสร้ง ใน 7 วินาทีแรกเห็นซึ่งเรียกว่าเป็น 7 วินาทีทองนั้น นอกเหนือ จากการแต่งตัวหรืออากัปกิริยาแล้ว บุคลิกภาพ ภายในก็มีโอกาสช่วยสร้างความประทับใจจากคนรอบข้างได้เช่นกัน เพราะบุเพราะรอยยิ้ม แววตา หรือคาพูด ล้วนมี แหล่งกาเนิดมาจาก ‘ใจ’ หรือ ‘ความรู้สึกข้างใน’ นั่นเอง หากน้าเสียงในการพูดคุยทักทายไพเราะเสนาะหู ระดับของการ เปล่งเสียงค่อยหรือดังในระดับที่น่าฟัง บวกกับคาพูดที่แสดงทัศนคติในการมองโลกในแง่บวก มี มิตรจิตรมิตรใจ ดูเปิดเผย จริงใจ ไม่เสแสร้ง ไม่มีแววของการซ่อนเร้นความรู้สึกในแววตา หรือแววตาไม่ขัดกับท่าทางที่เป็นมิตร เหล่านี้ล้วนเป็น ‘เสน่ห์’ ที่จะทาให้คนประทับใจในตัวเราได้ทั้งสิ้น 7 การพัฒนาบุคลิกภาพสาหรับผู้นา (Personality Development for leader) 2. ทัศนคติ วิลเลี่ยม เจมส์ (1981) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด กล่าวว่าหากคุณไปถามผู้บริหารระดับสูงด้วยคาถาม ว่า “ถ้าคุณมีคทาวิเศษ และมีสิ่ งหนึ่ งที่คุณอยากให้เปลี่ ยนแปลง แล้ ว สิ่ งนั้นจะทาให้ คุณเกิดความได้เปรียบ ทางการแข่งขันในตลาด เพิ่มผลผลิตและผลกาไร สิ่งนั้นคืออะไร”คาตอบเป็นเอกฉันท์ ทุกคนล้วนตอบว่า ถ้าคน มีทัศนคติดีขึ้น เขาจะเป็นทีมงานที่ดีขึ้น ลดความสูญเสียน้อยลง ความจงรักภักดีในการทางานและองค์กรดีขึ้น และโดยรวมๆ แล้วพวกเขาจะทาให้บริษัทกลายเป็นสถานที่ทางานที่เยี่ยมยอดมาก นั่นคือ “ทัศนคติส่งผลถึง ความสาเร็ผลการศึ จ” กษาค้นคว้าของมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดคราวหนึ่งระบุว่าเมื่อคนได้งานทา 85 % ของปัจจัย ทั้งหมดที่ทาให้บุคคลนั้นได้งาน เป็นผลมาจากทัศนคติ และ 15 % ของจานวนคนที่ได้งานทา ได้จากตัวเองฉลาด แค่ไหน (ไอคิว) พวกเขามีความรู้ข้อเท็จจริงและตัวเลขข้อมูลมากเพียงใด ที่น่าแปลกใจก็คือ เงินที่ใช้ในการสอน ข้อเท็จจริงและข้อมูลเหล่านี้ในระบบการศึกษา 100% มีผลต่อความสาเร็จในการทางาน คิดเป็นแค่ 15% เท่านั้น ผู้บริหารระดับสูง จะเป็นผู้บริหารที่ดีได้ นักเรียนจะเป็นนักเรียนที่ดีได้ พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ พนักงาน นายจ้าง ลูกจ้าง จะแสดงบทบาทของตัวเองได้ดี ล้วนมาจากทัศนคติที่ดี รากฐานของความสาเร็จทุ กสาขาวิชาชีพที่คุณ เลือกจึงอยู่ที่ทัศนคติ ผลดีของการมีทัศนคติดมองโลกในแง่ดี 1. เพิ่มประสิทธิภาพทางการผลิตให้สูงขึ้น 2. สนับสนุนการทางานเป็นทีม 3. แก้ปัญหาได้ 4. คุณภาพดีกว่าเดิม 5. สร้างบรรยากาศกระฉับกระเฉงมีชีวิตชีวา 6. ทาให้เกิดความรู้สึกภักดี 7. เพิ่มผลกาไร 8. ส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีกับลูกค้า พนักงาน และนายจ้าง 9. ลดความเครียด 10. ช่วยให้คนทาตนเป็นประโยชน์กับสังคม และเป็นบุคลากรมีค่า 11. มีบุคลิกภาพที่ดีน่าคบหา ผลลัพธ์จากการมีทัศนคติมองโลกในแง่ร้าย 8 การพัฒนาบุคลิกภาพสาหรับผู้นา (Personality Development for leader) ชีวิตมนุษย์ไม่มีใครพบความราบรื่นตลอดกาล ตัวเราเองจะกลายเป็นอุปสรรคใหญ่ที่สุดของชีวิตตัวเอง ด้วยการมี ทัศนคติในแง่ลบ คนที่มีทัศนคติในแง่ลบ มักจะรักษาสัมพันธภาพกับผู้อื่น รักษางาน ชีวิตสมรส และความสัมพันธ์กับคน อื่นไว้ได้ยาก เพราะทัศนคติในแง่ลบที่พวกเขามี จะนาไปสู่ ความรู้สึกขมขื่น ความไม่พอใจ โมโห ขุ่นเคือง ชีวิตที่ไร้จุดหมาย สุขภาพไม่ดี ตัวเองมีความเครียดสูง และสร้างความเครียดสูงให้คนอื่น 3. การสร้างไมตรีที่ดี ในหัวข้อที่ผ่านมา นิสิตเริ่มต้นจากการสารวจตัวเองว่า เราจะควรปรับเปลี่ยนอะไรในตัวเราบ้าง มากน้อ ย เพียงใด และอย่างไร นั่นคือการปรับบุคลิกภาพของเราให้ดึงดูดใจ และเข้ากันได้กับคนอื่น หัวข้อนี้จะเป็นเรื่องการที่เรา ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นหรือการสร้างไมตรี การทักทายและการแนะนาตัวในสถานการณ์ต่างๆ หลังฝึกตนเองให้เป็นคนมีอัธยาศัยและมีใจเบิกบาน พร้อมที่จะส่งยิ้มทักทาย เปิดประตูสู่ไมตรีจนกลายเป็นเรื่อง ธรรมชาติ ไม่ประหม่าเคอะเขิน และไม่แสแสร้งทาได้แล้ว เรียนรู้ที่จะเปิดการสนทนาเป็นคาพูดบ้างแล้ว สิ่งที่สาคั ญคือ ต้องนาไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ (จิตตินันท์, 2551) ดังนี้ เมื่อต้องติดต่อธุรกิจ หลังรอยยิ้มและกล่าวสวัสดีแล้ว ควรแนะนาตัวเองก่อนว่า “ผม/......(บอกชื่อ นามสกุล) จากบริษัท/หน่วยงาน (ชื่อองค์กร) ครับ/ค่ะ” จากนั้นพูดคุยหรือทักทายด้วยเรื่องทั่วๆ ไป ก่อน เช่น “ช่วงนี้อากาศเย็นจริงๆ นะครับไม่รู้ว่าจะ เย็นอย่างนี้ไปสักอีกกี่วัน” หรือ “ที่ออฟฟิศฝนตกไหม ออฟฟิศผมตกตั้งแต่เช้าเลยเชียว” ส่วนใหญ่จะคุยกันเรื่องดินฟ้า อากาศหรือข่าวสารที่เป็นที่สนใจ เพราะหากเราจู่โจมเข้าไปเรื่องธุ รกิจเลย ดูขาดมิตรจิตมิตรใจ การสนทนาในทุกๆ เรื่องมีหลักการเดียวกันคือ ต้องมีบทเริ่มต้น เนื้อหา แล้วก็คาพูดปิดท้าย อารัมภบทถือเป็ นจุดเริ่มต้นที่จะนาไปสู่การ สนทนาขั้นต่อๆ ไปด้วยบรรยากาศที่ดี ผ่อนคลายและเป็นกันเอง เมื่อพบผู้ใหญ่ ได้แก่ญาติ ครูอาจารย์ หรือเพื่อนคุณพ่อคุณแม่ที่ เรารู้จัก เจอกันเริ่มต้นที่การไหว้และแนะนาตัวเอง เหตุผลที่ ผู้เยาว์เป็นฝ่ายทักผู้ใหญ่เนื่องจากสังคมไทยเป็นสังคมที่เคารพความอาวุโส ซึ่งจะถูกนาไปชื่นชมต่อและจากันได้ ต่อไป 9 การพัฒนาบุคลิกภาพสาหรับผู้นา (Personality Development for leader) หากพบกันในงานเลี้ยง ให้กล่าวทักทายต่อคนที่เรารู้จัก และต้องแนะนาตัวเพิ่มด้วยในกรณีที่เราทักทายคนที่เรารู้จักเขา แต่เขาไม่รู้จัก เรา แล้วเราเป็นผู้เอ่ยปากทักทาย หากเป็นผู้ใหญ่กว่าให้ยกมือไหว้ทาความเคารพด้วย (ในกรณีที่มือทั้งสองว่าง) หรือ ค้อมศีรษะเล็กน้อยเป็นการให้เกียรติ กรณีที่ต้องร่วมโต๊ะอาหาร ควรแนะนาตัวเองต่อผู้ที่นั่งอยู่ก่อน โดยเฉพาะโต๊ะจีนซึ่งต้องรับประทานอาหาร ร่วมกัน การจะไม่พูดจาทาความรู้จักกันเลยก็ ดูจะแปลก แนะนาตัวเองแล้วชวนสนทนาเล็กน้อย ความแปลกหน้าก็จะ หายไป บรรยากาศของการรับประทานอาหารร่วมกันนั้น จะได้อร่อยขึ้นและอึดอัดหรือเคอะเขินน้อยลง การแนะนาผู้อื่นให้รู้จักกัน วิธีที่ดีคือ มีใครสักคนเป็นตัวกลางเพื่อทาหน้าที่แนะนา หน้าที่ของคนกลางในการแนะนานั้น มีวัตถุประสงค์ใหญ่ๆ แค่เพียง 2 ข้อเท่านั้นคือ 1. ลดอาการเก้อ ความรู้สึกแปลกหน้า และความรู้สึกเป็นส่วนเกินของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งลง 2. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้น ในการแนะนาให้ผู้อื่นรู้จักกันเป็นหน้าที่ของผู้ที่รู้จักอยู่ก่อนจะต้องแนะนา โดย - ระหว่างชายกับหญิง ให้แนะนาฝ่ายหญิงก่อน - ระหว่างผู้เยาว์กับผู้ใหญ่ ให้แนะนาผู้ใหญ่ก่อน - หากอาวุโสเสมอกันให้แนะนาผู้หญิงก่อน - หากตาแหน่งหน้าที่การงานต่างกัน แนะนาผู้ที่มีตาแหน่งสูงกว่าก่อน - ระหว่างคนโสดกับคนมีครอบครัว ให้แนะนาคนที่มีครอบครัวก่อน (ในกรณีที่อยู่ในวัยเดียวกัน) วิธีการแนะนา ให้เอ่ยชื่อสุภาพสตรีก่อนสุภาพบุรุษ เอ่ยชื่อผู้ใหญ่ก่อนผู้เยาว์ เช่น “คุณสมหญิงครับ ผมขอแนะนาให้รู้จักคุณ สมชาย” จากนั้นแนะนาชื่อ นามสกุล และตาแหน่งหน้าที่หรือส่วนขยายอื่นๆ แต่เพียงสั้นๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ทั้งสอง ฝ่ายได้ทักทาย ทาความเคารพ หรือสนทนากัน 4. เสื้อผ้าและการแต่งกาย การแต่งกายเป็นศาสตร์ และศิลป์ (การพัฒนาบุคลิกภาพ, 2559) ซึ่งมีความสาคัญอย่างยิ่งสาหรับมนุษย์ ในยุค ก่อนมนุษย์ต้องการเพียงแค่เครื่องนุ่งห่มปกคลุมร่างกายเพื่อความอบอุ่น แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไปเครื่องนุ่งห่มหรือ เครื่องแต่งกายเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับผู้สวมใส่ บ่งบอกถึงบุคลิกภาพ รสนิยม และบทบาทหน้าที่การงาน เมื่อเราแต่งกายอย่างมีศิลปะ ถูกต้อง เหมาะสมกับตัวเราและสถานการณ์ ก็จะช่วยเสริมสร้างให้เราเป็นผู้มีบุคลิกภาพที่ดี ดังนั้น จึงควรแต่งกายให้มีความเหมาะสมกับอาชีพและสถานภาพของตนเอง นอกจากนั้นการแต่งกายที่ดีจะช่วยสร้าง 10 การพัฒนาบุคลิกภาพสาหรับผู้นา (Personality Development for leader) ความประทับใจให้เกิดแก่ผู้พบเห็น เพราะการแต่งกายที่ดีนั้นเป็นสิ่งแรกที่จะสร้างความพอใจ ความสนใจ ความน่าเชื่อถือ ความศรัทธาและความไว้วางใจได้ โดยหลักสาคัญของการแต่งกายได้แก่ 1. ความสะอาด (Clean) 2. ความสุภาพเรียบร้อย (Politeness) 3. ถูกต้องตามโอกาสและกาลเทศะ (Be temperate) 4. ความเหมาะสมกับอาชีพ (Appropriate to the profession) 5. ความเหมาะสมกับวัย (Age Appropriate) 6. ความเหมาะสมกับรูปร่าง (The Shape) ภาพที่ 2 การแต่งกายที่เหมาะสมกับอาชีพ ที่มา : http://www.baterk.com/ 5. ท่าทาง การยืน การเดิน การนั่ง การเสริมสร้างบุคลิกภาพ โดยการเคลื่อนไหว การทรงตัว การพูด การยืน การเดิน การนั่งสามารถฝึกฝนได้ดังตัว ต่อไปนี้ การยืน ควรยืนตัวตรง อกผายไหล่ผึ่ง ขาตรง เท้าชิดกันหรือเบี่ยงเล็กน้อย การยืนบิดตัวมากเกินไปและนาน เกินไป ทาให้กระดูกสันหลังคดงอ เสียบุคลิกและเสียสุขภาพ การเดินและการเคลื่อนไหว ควรเดินตัวตรง ศีรษะตั้งตรง (แต่มิใช่เชิดหน้า) แกว่งแขน การแสดงสีหน้า แสดงสีหน้าละมุนละไม ไม่แสดงความรู้สึกยินดี หรือโกรธมากเกินงาม แต่ก็ไม่ทาสีหน้าเย็นชา จนเกินไป 11 การพัฒนาบุคลิกภาพสาหรับผู้นา (Personality Development for leader) การพูด พูดด้วยจังหวะที่ดี ใช้น้าเสียงจริงใจ ให้ความรู้สึกเป็นมิตร ไม่พูดเสียงกรรโชก ไม่ตะโกน การนั่งควรนั่งไหล่ตั้ง หลังตรง วางมือไว้ในที่อันควร การนั่งหลังงอหรือเอนตัวมากเกินไปทาให้เสียบุคลิก อีกทั้ง เสียสุขภาพอีกด้วย ภาพที่ 3-4 ท่าทางการพูดและการนั่ง ทีม่ า : Diaz Speech and Personality Development Academy จุดมุ่งหมายหลักของการมีการพัฒนาบุคลิกภาพก็คือ เวลาที่เราเห็นใครสักคนที่ดูดี ท่าทางดีๆ อิริยาบถ ดีๆ ก็ย่อมเป็นที่ชื่นชอบ น่าสนใจอยากพูดคุยหรือคบค้าสมาคม ไม่ว่าเขาจะพูดอะไรออกมาก็ล้วนแต่น่ายอมรับ น่าเลื่อมใส เชื่อถือได้ มันมีผลตอบสนอง ฉะนั้น การพยายาม เรียนรู้เพื่อสร้างอิริยาบถหรือท่าทางของเราให้ดูดี หรือมีมาดที่ดีนั้น ก็เพื่อสร้างความประทับใจให้เกิดขึ้นกับอีกฝ่ายหนึ่งที่เราได้พบนั้นเอง ดังนั้นเมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น คนเราจะเริ่มสร้างบุคลิก ภาพเพื่อแสดงความเป็นตัวเอง ในวัยนี้ สามารถทาให้ตนดูดีได้ง่ายด้วยการดูแลรูปร่าง ร่างกายให้แข็งแรง มีสุขภาพที่ดี ซึง่ หมายถึงทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ 6. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพและผู้นาการเปลี่ยนแปลง Burns (1978, อ้างถึงใน ยศศักดิ์, 2018) เสนอทฤษฏีผู้นาการเปลี่ยนแปลง(Transformational Leadership) ซึ่งมีองค์ประกอบ 4 ด้านหรือ 4I ได้แก่ 1. Idealized Influence (เป็นแบบอย่างและตัวอย่างที่ดี) ผู้นาจาเป็นต้องเป็นต้นแบบที่ดี ทั้งด้านการ แสดงออก การคิด ความเชื่อมั่นให้กับทีมงาน โดยคุณลักษณะนี้สะท้อนให้เห็นว่า ผู้นาการเปลี่ยนแปลงต้องเป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพที่ดีทั้งภายนอกและภายใน 12 การพัฒนาบุคลิกภาพสาหรับผู้นา (Personality Development for leader) 2. Inspirational Motivation (เป็นนักสร้างแรงบันดาลใจ) หมายถึงผู้นาต้องความสามารถสร้างพลัง บวกเพื่อกระตุ้นศักยภาพให้เกิดพลัง เกิดแรงบันดาลใจให้เอาชนะทุกปัญหาและอุปสรรคเพื่อพาทีม พาองค์กร ไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ให้ได้ 3. Intellectual Stimulation (กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ทุกสถานการณ์)" หมายถึง ผู้นาต้องสร้าง บรรยากาศโดยการกระตุ้นให้ทีมงานกล้าที่จะคิด กล้าที่จะนาเสนอทางแก้ไขปัญหาต่างๆ 4. Individualized Consideration (เข้าใจลักษณะเฉพาะแต่ละบุคคล) หมายถึง ผู้นาต้องเข้าใจ ลักษณะส่วนบุคคลที่มีความเฉพาะ แตกต่าง หลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ รู้จุดแข็ง จุดอ่อนจึงจะสามารถ มอบหมายงานหรือรูปแบบหรือวิธีบริหารจัดการที่ยืดหยุ่นไปตามคุณลักษณะเฉพาะแต่ละบุคคล ดังคากล่าวที่ว่า “Put the right man into the right job” หรือจัดคนให้เหมาะสมกับงานได้ ภาพที่ 5 องค์ประกอบของผู้นาการเปลี่ยนแปลง Transformational Leadership Model Source: Burns (1978) 13 การพัฒนาบุคลิกภาพสาหรับผู้นา (Personality Development for leader) แบบสารวจบุคลิกภาพตนเอง ให้นิสิตกาเครื่องหมาย √ หรือ X ใน ที่ตรงกับตนเองมากที่สุด คะแนนการประเมินตนเอง คุณลักษณะ อ่อน(0) พอใช้(1) มาก(2) มากที่สุด(3) การสื่อสารทางการพูดและน้าเสียง ความสามารถด้านการเขียน ความสามารถด้านการนาเสนอ มารยาททั่วไปและมารยาททางสังคม การรับประทานอาหาร(มารยาทบนโต๊ะอาหาร) สุขอนามัยทั่วไป เช่น ผม ผิว มือฯลฯ การแต่งกาย ท่าทาง ได้แก่ การยืน การเดิน การนั่ง ฯลฯ การประสานสายตา (Eye Contact) การไหว้และการทักทายผู้อื่น ความสมบูรณ์ของสุขภาพ ความมั่นใจในตนเอง รวมที่กา √ (ถูก) หรือ X (กากบาท) 14 การพัฒนาบุคลิกภาพสาหรับผู้นา (Personality Development for leader) รวมคะแนนตนเอง ให้นิสิตนาตัวเลขในแถวสุดท้ายหน้าข้างบนมาใส่ในบรรทัดด้านหน้าและคูณ แล้วจึงรวมคะแนนทั้งหมด อ่อน _____ X 0 คะแนน = ปานกลาง _____ X 1 คะแนน = มาก _____ X 2 คะแนน = มากที่สุด _____ X 3 คะแนน = คะแนนรวมทั้งสิ้น อธิบายคะแนน คะแนน ต่ากว่า 8 คะแนน หมายถึง มีหลายมิติที่นิสิตต้องปรับปรุง โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อที่ได้ 0 หรือ 1 หมายถึง เป็นคุณลักษณะที่ต้องพัฒนามากยิ่งขึ้นเพราะส่งผลต่อภาพลักษณ์และการรับรู้ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น คะแนน ระหว่าง 9 – 12 คะแนน หมายถึง นิสิตอยู่ในกลุ่มคนทั่วไป โดยมุ่งความสาคัญไปที่มิติที่มีคะแนนน้อย และปรับปรุงแก้ไขให้สูงยิ่งขึ้น คะแนน ระหว่าง 13 – 24 คะแนน หมายถึง นิสิตเพียงเพิ่มความพยายามในข้อที่ได้ 1 หรือ 2 พัฒนาให้สูงขึ้นจะ สามารถเปลี่ยนเป็นคนที่มีบุคลิกภาพดีได้ไม่ยาก คะแนน 25 - 36 คะแนนขึ้นไป ขอแสดงความยินดีกับกลุ่มนี้ นิสิตเป็นผู้ที่เห็นความสาคัญของการมีภาพลักษณ์ที่ ดี นิสิตมีคุณลักษณะต่างๆที่พึงประสงค์นอกจากตนเองจะรับรู้ได้แล้ว ผู้อื่นที่ได้พบหรือมีปฏิสัมพันธ์ด้วยก็เข้าใจถึงการเป็น ผู้มีลักษณะภายนอกที่ดูดีและมีทักษะตลอดจนความสามารถหลายอย่างที่น่าชื่นชม เช่น การพูด การเขียน การนาเสนอ และการวางตัวในสังคมเป็นต้น * อย่าลืมว่า บุคลิกภาพเป็นคุณลักษณะที่สามารถพัฒนาได้ ประโยชน์ที่เกิดขึ้นก็คือ นิสิตจะได้รับการยอมรับ นับถือ สร้างความประทับใจให้กับบุคคลอื่นและมีความเป็นมืออาชีพในการทางานต่อไปในอนาคต ขอให้นิสิตจง พัฒนาบุคลิกภาพของตนให้ดียิ่งๆขึ้นต่อไป 15 การพัฒนาบุคลิกภาพสาหรับผู้นา (Personality Development for leader) เอกสารอ้างอิง ภาษาไทย การพัฒนาบุคลิกภาพ (2559). ศิลปะการแต่งกาย. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กรกฏาคม 2563 จาก http://personalitydevelopment111.blogspot.com/p/blog-page.html จิตตินันท์ นันทไพบูลย์.(2551).จิตวิทยาการบริการ.กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น บ้านจอมยุทธ. (2543). องค์ประกอบของบุคลิกภาพ. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2563 จาก http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/introduction_to_personality/03.html ยศศักดิ์ มงคลปัญญาเลิศ. (2018). ผู้นาการเปลี่ยนแปลง. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2563 จาก https://www.gotoknow.org/posts/645277#0 สุเทพ พงศ์ศรีโรจน์. (2548). ภาวะผู้นา. กรุงเทพมหานคร : เอ็กซเปอร์เน็ท. ภาษาอังกฤษ Burns, J. M. (1978). Leadership. New York: Harper & Row, Floyd L. Ruch. (1965). Psychology and Life. New York : Mcgraw hill Co. HARRIS, T. A. (1969). I'm OK, you're OK: a practical guide to transactional analysis. James, William. (1981). The Principles of Psychology, Cambridge, MA: Harvard University Press J.W. Pellegriono and C.W. Varnhagan. (1985). Abilities and Aptitudes. The international Encylopedia of Education : Research and Studies. V.I.P.I. (Oxford : Pergamon Press. Luft, J.; Ingham, H. (1955). The Johari window, a graphic model of interpersonal awareness. Proceedings of the Western Training Laboratory in Group Development. Los Angeles: University of California, Los Angeles. Ralph M. Stogdill. (1981). Handbook of Leadership. A Survey of Theory and Research. New York : the Free Press, 75-76. 16

Use Quizgecko on...
Browser
Browser