มาตรฐานจริยธรรมของศาล และองค์กรอิสระ พ.ศ. 2561 PDF
Document Details
Uploaded by HandsomePiccolo
Nakhon Pathom Rajabhat University
2561
Tags
Related
- สรุปสาระสำคัญของพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 PDF
- สรุปสาระสำคัญของพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 PDF
- สรุปสาระสำคัญของพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 PDF
- สรุปสาระสำคัญของพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 PDF
- Thai Public Law ELI6008 PDF
- แนวข้อสอบ พ.ร.บ.มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ.2562 PDF
Summary
เอกสารนี้เป็นมาตรฐานจริยธรรมของศาลและองค์กรอิสระ พ.ศ. 2561 ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับหลักจริยธรรมและแนวทางปฏิบัติสำหรับตุลาการและบุคลากร ในองค์กรอิสระ เอกสารได้กำหนดกรอบการปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้องตามกฎหมายและจรรยาบรรณ
Full Transcript
หน้า ๑๓ เล่ม ๑๓๕ ตอนที่ ๕ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๐ มกราคม ๒๕๖๑ มาตรฐานทางจริยธรรมของ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและ...
หน้า ๑๓ เล่ม ๑๓๕ ตอนที่ ๕ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๐ มกราคม ๒๕๖๑ มาตรฐานทางจริยธรรมของ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยที่ รัฐธรรมนู ญ แห่ งราชอาณาจั ก รไทย พุ ท ธศั ก ราช ๒๕๖๐ มาตรา ๒๑๙ บั ญ ญั ติ ให้ ศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระร่วมกันกําหนดมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนู ญ และผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินและหัวหน้าหน่วยงานธุรการของ ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ ซึ่งจะต้องครอบคลุมถึงการรักษาเกียรติภูมิและผลประโยชน์ของชาติ และต้องระบุให้ชัดแจ้งด้วยว่าการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมใดมีลักษณะร้ายแรง เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินและหัวหน้าหน่วยงานธุรการของ ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระยึดถือปฏิบัติ มาตรฐานทางจริยธรรมนี้ให้ใช้บังคับแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และคณะรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๑๙ วรรคสอง ด้วย อาศัยอํานาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๑๙ ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ จึงร่วมกันจัดทํามาตรฐานทางจริยธรรมซึ่งได้รับฟังความคิดเห็นของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิ สภา และ คณะรัฐมนตรีประกอบแล้ว ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ มาตรฐานทางจริยธรรมนี้เรียกว่า “มาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินและหัวหน้าหน่วยงานธุรการของ ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ. ๒๕๖๑” ข้อ ๒ มาตรฐานทางจริยธรรมนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ ๓ มาตรฐานทางจริยธรรมนี้ให้ใช้บังคับแก่บุคคล ดังต่อไปนี้ (๑) ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หน้า ๑๔ เล่ม ๑๓๕ ตอนที่ ๕ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๐ มกราคม ๒๕๖๑ (๒) ผู้ ดํ ารงตํ า แหน่ งในองค์ ก รอิ ส ระ ได้ แ ก่ ประธานกรรมการและกรรมการการเลื อ กตั้ ง ประธานผู้ ต รวจการแผ่ น ดิ น และผู้ ต รวจการแผ่ น ดิ น ประธานกรรมการและกรรมการป้ อ งกั น และ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประธานกรรมการและกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และประธานกรรมการ และกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (๓) ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (๔) หัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ ได้แก่ เลขาธิการสํานักงาน ศาลรั ฐ ธรรมนู ญ เลขาธิ ก ารคณะกรรมการการเลื อ กตั้ ง เลขาธิ ก ารสํ า นั ก งานผู้ ต รวจการแผ่ น ดิ น เลขาธิ ก ารคณะกรรมการป้ อ งกั น และปราบปรามการทุ จ ริต แห่ งชาติ และเลขาธิ ก ารคณะกรรมการ สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มาตรฐานทางจริ ย ธรรมนี้ ให้ ใช้ บั ง คั บ แก่ ส มาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎร สมาชิ ก วุ ฒิ ส ภา และ คณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๑๙ วรรคสอง ด้วย ข้อ ๔ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ร่วมกันรักษาการตามมาตรฐานทางจริยธรรมนี้ หมวด ๑ มาตรฐานทางจริยธรรมอันเป็นอุดมการณ์ ข้อ ๕ ต้ อ งยึ ด มั่ น และธํารงไว้ซึ่ งการปกครองระบอบประชาธิ ป ไตยอั น มี พ ระมหากษั ต ริ ย์ ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ข้อ ๖ ต้ อ งพิ ทั ก ษ์ รั ก ษาไว้ ซึ่ ง สถาบั น พระมหากษั ต ริ ย์ เอกราช อธิ ป ไตย บู ร ณภาพ แห่งอาณาเขตและเขตที่ประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย เกียรติภูมิและผลประโยชน์ของชาติ ความมั่นคงของรัฐ และความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อ ๗ ต้องถือผลประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน ข้อ ๘ ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ เพื่อตนเอง หรือผู้อื่น หรือมีพฤติการณ์ที่รู้เห็นหรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้ตําแหน่งหน้าที่ของตนแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ข้อ ๙ ต้องไม่ขอ ไม่เรียก ไม่รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดในประการ ที่อาจทําให้กระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่ หน้า ๑๕ เล่ม ๑๓๕ ตอนที่ ๕ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๐ มกราคม ๒๕๖๑ ข้อ ๑๐ ต้ อ งไม่ รั บ ของขวั ญ ของกํ านั ล ทรั พ ย์ สิ น หรื อ ประโยชน์ อื่ น ใด เว้ น แต่ เป็ น การรั บ จากการให้โดยธรรมจรรยา และการรับที่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับให้รับได้ หมวด ๒ มาตรฐานทางจริยธรรมอันเป็นค่านิยมหลัก ข้อ ๑๑ ไม่กระทําการอันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวม ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ข้อ ๑๒ ยึดมั่นหลักนิติธรรม และประพฤติตนอยู่ในกรอบศีลธรรมอันดีของประชาชน ข้อ ๑๓ ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ด้ ว ยความยุ ติ ธ รรม เป็ น อิ ส ระ เป็ น กลาง และปราศจากอคติ โดยไม่หวั่นไหวต่ออิทธิพล กระแสสังคม หรือแรงกดดันอันมิชอบด้วยกฎหมาย โดยคํานึงถึงสิทธิและ เสรีภาพของประชาชน ทั้งนี้ ตามความเหมาะสมแห่งสถานภาพ ข้อ ๑๔ รักษาไว้ซึ่งความลับ ในการประชุม การพิ จารณาวินิ จฉัย รวมทั้ งเคารพต่ อมติของ ที่ประชุมฝ่ายข้างมาก และเหตุผลของทุกฝ่ายอย่างเคร่งครัด ข้อ ๑๕ ให้ข้อมูลข่าวสารตามข้อเท็จจริงแก่ประชาชนหรือสื่อมวลชนอันอยู่ในความรับผิดชอบ ของตน ถูกต้องครบถ้วนและไม่บิดเบือน ข้อ ๑๖ ไม่ให้คําปรึกษาแก่บุคคลภายนอก หรือแสดงความคิดเห็น หรือข้อมูลต่อสื่อสาธารณะ หรือสาธารณชนในเรื่องที่ อยู่ในระหว่างการพิ จารณา อั นอาจก่ อให้ เกิ ดความเสี ยหายหรือเสี ยความเป็ นธรรม แก่การปฏิบตั ิหน้าที่ เว้นแต่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายขององค์กร ข้อ ๑๗ ไม่กระทําการใดที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อเกียรติศักดิ์ของการดํารงตําแหน่ง ข้อ ๑๘ ไม่ปล่อยปละละเลยหรือยินยอมให้บุคคลในครอบครัวหรือบุคคลที่อยู่ในกํากับดูแลหรือ ความรับผิดชอบของตน เรียก รับหรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากคู่กรณี หรือจากบุคคลอื่นใด ในประการที่อาจทําให้กระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตน ข้อ ๑๙ ไม่คบหาสมาคมกับคู่กรณี ผู้ประพฤติผิดกฎหมาย ผู้มีอิทธิพล หรือผู้มีความประพฤติ หรื อ ผู้ มี ชื่ อ เสี ย งในทางเสื่ อ มเสี ย อั น อาจกระทบกระเทื อ นต่ อ ความเชื่ อ ถื อ ศรั ท ธาของประชาชน ในการปฏิบัติหน้าที่ หน้า ๑๖ เล่ม ๑๓๕ ตอนที่ ๕ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๐ มกราคม ๒๕๖๑ ข้อ ๒๐ ไม่กระทําการอันมีลักษณะเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ จนเป็นเหตุทําให้ ผู้ถูกกระทําได้รับความเดือดร้อนเสียหายหรือกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ โดยผู้ถูกกระทําอยู่ในภาวะ จําต้องยอมรับในการกระทํานั้น ไม่นําความสัมพันธ์ทางเพศที่ตนมีต่อบุคคลใดมาเป็นเหตุหรือมีอิทธิพลครอบงําให้ใช้ดุลพินิจ ในการปฏิบัติหน้าที่อันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่บุคคลใด หมวด ๓ จริยธรรมทั่วไป ข้อ ๒๑ ปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างเต็มกําลังความสามารถ และยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรม โปร่งใสและตรวจสอบได้ และปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ โดยคํานึงถึง ผลประโยชน์ของชาติ และความผาสุกของประชาชนโดยรวม ข้อ ๒๒ อุทิศเวลาแก่ทางราชการ ไม่เบียดบังเวลาราชการไปประกอบธุรกิจ เพื่อประโยชน์ ส่วนตัวหรือผู้อื่น ข้อ ๒๓ ปฏิบัติต่อประชาชนด้วยความเต็มใจ ให้บริการด้วยความรวดเร็ว เสมอภาค ถูกต้อง โปร่งใส ปราศจากอคติ และเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ข้อ ๒๔ ดูแลรักษาและใช้ทรัพย์สินของทางราชการอย่างประหยัด คุ้มค่า โดยระมัดระวังมิให้ เสียหายหรือสิ้นเปลืองโดยไม่จําเป็น ข้อ ๒๕ รักษาความลับของทางราชการตามกฎหมาย และระเบียบแบบแผนของราชการ ข้อ ๒๖ ปฏิบัติ กํากับดูแลหรือบังคับบัญชาเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดํ าเนิ น การอื่ น ให้ เป็ น ไปตามกฎหมาย ระเบี ยบ และระบบคุ ณ ธรรม รวมทั้ งส่ งเสริม และ สนับสนุนให้เกิดความสามัคคีในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนรวม หมวด ๔ การฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม ข้อ ๒๗ การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมในหมวด ๑ ให้ถือว่ามีลักษณะร้ายแรง หน้า ๑๗ เล่ม ๑๓๕ ตอนที่ ๕ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๐ มกราคม ๒๕๖๑ การฝ่ าฝื น หรือ ไม่ ป ฏิ บั ติ ต ามมาตรฐานทางจริย ธรรมในหมวด ๒ และหมวด ๓ จะถื อ ว่ า มีลักษณะร้ายแรงหรือไม่ ให้พิจารณาถึงพฤติกรรมของการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ เจตนาและความร้ายแรง ของความเสียหายที่เกิดจากการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ นั้น ข้อ ๒๘ การดําเนินการแก่บุคคลตามข้อ ๓ ว่ากระทําการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน ทางจริยธรรมนี้ให้เป็นไปตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ กฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับว่าด้วยการนั้น ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ นุรักษ์ มาประณีต ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ศุภชัย สมเจริญ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง พลเอก วิทวัส รชตะนันทน์ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ปฏิบัติหน้าที่แทน ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน พลตํารวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พลเอก ชนะทัพ อินทามระ ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน วัส ติงสมิตร ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ